ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อภิสัมมานสักการะ แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ชมภาพ)  (อ่าน 17984 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

นี่เป็นครั้งแรกของผม ที่มาวัดบวรฯอย่างเป็นทางการ โชคดีได้ที่จอดรถที่ถนนพระสุเมรุ
โชคดีอีกครับ ได้จอดตรงประตูเข้าตำหนักเพ็ชรพอดี

เดินผ่านซุ้มประตูเข้ามา

มาไม่ตรงเวลา ทหารปิดประตูเข้าตำหนักเพ็ชร และแจ้งว่าจะเปิดประตูอีกครั้งเวลา 12.30 น.
ทางวัดเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถวายสักการะพระศพ ณ ตำหนักเพ็ชร จนกว่าจะถึงวันพระราชทานเพลิงพระศพ
โดยมีกำหนดเวลาเป็น 3 วาระ ของแต่ละวัน คือ
วาระที่ 1 เวลา 09.00 - 10.30 น. วาระที่ 2 เวลา 12.30 - 17.00 น. และวาระที่ 3 เวลา 20.00 - 21.00 น.



ต้องนั่งรอครับ ทางวัดได้จัดศาลา จัดเก้าอี้ และจัดพัดลมเอาไว้


ขอถวายอภิสัมมานสักการะ
แด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ด้วยเศียรเกล้า...ศิษย์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

dragon-1

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 3
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยู่ ตจว. ว่าจะเข้าไป อย่างน้อยก็รู้ว่า ต้องเข้าไปให้ถูกเวลา ด้วย

  สาธุ สาธุ สาธุ ขอบคุณมากครับ

  thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
กว่าเจ้าหน้าที่จะอนุญาตให้เข้า ก็เป็นเวลา 12.40 น.

หลังจากกราบพร้อมกันครบสามครั้งตามคำบอกนำของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่แจ้งว่า อนุญาตให้ถ่ายรูปหนึ่งนาที



เกิดโกลาหลเล็กๆ หลายคนแย่งกันถ่ายรูป เจ้าหน้าที่ท่านเดิมบอกว่า
อนุญาตให้เฉพาะคนที่ใส่เสื้อสีดำและขาวเท่านั้น ที่จะถ่ายคู่กับพระโกศของพระสังฆราชได้




      อาจด้วยเหตุที่เจ้าหน้าที่อนุญาตให้ถ่ายได้แค่หนึ่งนาที เลยได้ภาพมาอย่างขาดคุณภาพ บางภาพโฟกัสไม่ทำงาน แต่ก็นำมาให้ดูทั้งหมด เพื่อให้เปรียบเทียบกัน อยากบอกว่า ถ่ายติดเทวดาครับ มีดวงเทวดาหลายดวง เพื่อนๆ ลองสังเกตเอาเองนะครับ แม้แต่ภาพเบลอๆ ก็ถ่ายติดดวงเทวดา
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
หลังจากสักการะพระศพ ก่อนลงจากตำหนักเพ็ชร เจ้าหน้าที่จะแจกของสามสิ่งนี้ครับ
พระฉายาลักษณ์พระสังฆราช หนังสือความเข้าใจเรื่องชีวิต และพระผงไพรีพินาศ





คำบูชาพระไพรีพินาศ ของวัดบวรฯนำมาฝากครับ


      ขอบอกก่อนว่า วันที่ผมไปสักการะพระศพ
เป็นวันอาทิตย์ที่ ๙ พศจิกายน ๒๕๕๗ ไปถึงตำหนักเพ็ชรเวลาประมาณ ๑๑.๓๐ น.


      .....ยังมีต่อ โปรดติดตาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 12, 2014, 12:01:35 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 st11           :s_good:           st12           :s_good:           thk56
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

soulring

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 21
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12 st12

 ผมยังไม่มีโอกาส ไปเลยครับ

  :smiley_confused1: :character0029:
บันทึกการเข้า

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0







       นำบรรยากาศหน้าตำหนักเพ็ชรมาให้ชม เจ้าหน้าที่บอกว่า การถ่ายรูปกับพระสังฆราช ให้สำรวม ห้ามยิ้ม เพื่อเป็นการถวายความเคารพ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 13, 2014, 10:28:25 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0







ประวัติตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร
พระตำหนักเพ็ชร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระตำหนักเพ็ชร ถวายเป็นท้องพระโรงแด่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ ที่ตั้งพระตำหนักนี้ เคยเป็นที่ตั้งโรงพิมพ์ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งทรงครองวัดนี้ สำหรับพิมพ์บทสวดมนต์ และหนังสือพุทธศาสนาอื่นๆแทนหนังสือใบลาน โดยใช้ตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่

_____________________________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watbowon.com/travel/phatamnukpet.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





      ขยายภาพมาให้ชมครับ ผมถ่ายมาได้แค่รายการที่ ๑ (พระเจดีย์วัดบวรฯ) เท่านั้นครับ รายการที่ ๒ และ ๓ ห้ามถ่าย ส่วนรายการที่ ๔ ไม่ได้ถ่าย เพราะมีกระจกกั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 13, 2014, 11:22:02 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0







      นำภาพพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหารมาให้ชม วันที่ไปแดดดีมาก ทำให้อากาศร้อนมาก คนไม่ค่อยขึ้นไป เพราะพื้นจะร้อนเดินไม่สบายเท้า โชคดีที่ผมใส่ถุงเท้าขอรับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เก๋งจีนที่เห็นเป็นที่ประดิษฐานของพระไพรีพินาศ

หน้าเก๋งจีนจะมีแผ่นหินแกรนิตสลักคำบูชาพระไพรีพินาศ


ภาพนี้ถ่ายตอนนั่งพักอยู่ใต้ต้นไม้ครับ ต้นไม้นี้ปลูกโดยรัชกาลที่ ๙


ประวัติพระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร
พระเจดีย์ใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหารก่อพระฤกษ์เมื่อเดือน ๑๐ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีเถาะ ตรีศก จ.ศ.๑๑๙๓ (วันเสาร์ที่ ๑๗ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๗๔) ในสมัยรัชกาลที่๓ และใช้เวลาก่อสร้างต่อมาจนถึงสมัยรัชกาลที่๔ องค์พระเจดีย์มีสัณฐานกลม มีคูหาภายในเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ

มีทักษิณ ๒ ชั้นเป็นสี่เหลี่ยม ที่องค์พระเจดีย์มีซุ้มเป็นทางเข้าสู่คูหา ๔ ซุ้ม กลางคูหาพระเจดีย์ประดิษฐานพระเจดีย์กาไหล่ทองบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีพระเจดีย์องค์ประดิษฐานอยู่โดยรอบพระเจดีย์กาไหล่ทองอีก ๔ องค์ คือ ด้านตะวันตก พระไพรีพินาศเจดีย์ ด้านใต้ พระเจดีย์บรมราชานุสรณ์พระชนมพรรษา ๕ รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ด้านตะวันออก เป็นพระเจดีย์ไม้ปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ ด้านตะวันตก พระเจดีย์โลหะปิดทอง ไม่ปรากฏประวัติ

___________________________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watbowon.com/travel/great_chedi.htm


   .......ยังมีต่อ โปรดติดตาม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 13, 2014, 11:25:15 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ป้ายนี้มีชื่อว่า "วันทาพระพุทธรูปคู่พระบารมี" มี ๕ รายการ คือ วิหารเก๋ง พระพุทธวชิรญาณ พระพุทธปัญญาอัคคะ
พระพุทธมนุสสนาค และพระพุทธทีฆายุมหมงคล(ที่ถูกต้องคือ พระพุทธปฏิมาทีฆายุมหมงคล)
ผมถ่ายมาให้ชมแค่รายการเดียวครับ เป็นรายการสุดท้าย

พระพุทธปฏิมาทีฆายุมหมงคล ชาวบ้านเรียกว่า "หลวงพ่อดำ" องค์นี้เป็นองค์จำลอง
ภาพนี้ผมชอบมาก ดูท่านยิ้มอย่างสบายใจ แม้จะถูกแดดส่อง ก็ไม่รู้ร้อนรู้หนาว




จุดไหว้หลวงพ่อดำนี้ เป็นที่เสี่ยงเซียมซีของวัดบวรฯ ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตมีว่า หลายเสียงบอกว่าแม่น
ที่สำค้ญเข้าใจกันว่า เซียมซีนี้ถูกประพันธ์โดยพระสังฆราช(ไม่ทราบองค์ไหน) จึงทำให้มีคนพลุกพล่าน


สองภาพล่างนี้ ถ่ายจากหน้าต่าง วิหารพระศาสดา


ประวัติ พระพุทธปฏิมาทีฆายุมหมงคล
ประดิษฐานที่มุขด้านทิศตะวันออกของวิหารเก๋ง พระพุทธปฏิมาทีฆายุมหมงคล นี้ประชาชนส่วนใหญ่เรียกว่า “หลวงพ่อดำ” เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในวโรกาสที่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเจริญพระชนมายุ ๘๐ พรรษา และเป็นที่บรรจุพระอังคาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ซึ่งนับเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์อดีตเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารเป็นองค์ที่ ๔

____________________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watbowon.com/all/index7.htm


หลวงพ่อดำองค์จริง ภาพจาก http://www.watbowon.com/all/index7.htm


ข้อมูลจาก จากคุณ : qazse เว็บพันธุ์ทิพย์
ตามความเชื่อของชาวบ้าน เดิมเป็นพระพุทธรูปลงรักสีดำ อยู่หลายปี ชาวบ้านจึงเรียกว่า "หลวงพ่อดำ" เวลามากราบไหว้ บนบาล เสี่ยงเซียมซี มักจะถวาย โภชนาหารสีดำ เช่น โอยั๊วะ มีความเชื่อว่าท่านโปรด ตามสีรูปพระองค์ท่าน(รักสีดำ) ภายหลังได้มีการลงรักปิดทองพระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์ จึงมีสีทองอย่างที่เห็น แต่ชาวบ้านก็ยังเรีียก "หลวงพ่อดำ" สืบกันมา

ตามประวัติ ในหนังสือศิลปกรรมวัดบวรนิเวศ พระพุทธรูปมีพระนามว่า "พระทีฆายุมหมงคล" เป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญานวงศ์ (องค์พระอุปัชฌาย์จาย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน) ประดิษฐานอยู่ที่มุขด้านตะวันออกด้านนอกของวิหารเก๋ง (อยู่ข้างวิหารพระศาสดา)

เรื่องเซียมซี หากไปอ่านดีๆ จะเห็นการแสดงธรรมะ ตามนัยะต่างๆ เพียงคนรับโน้มไปทางโลกธรรม จึงมองไม่เห็นกัน

_________________________________________________________________
ที่มา http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums/http/www.pantip.com/cafe/library/topic/K3166706/K3166706.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



    ท่านเห็นอะไร.? จากภาพนี้
   ผมนึกถึงประโยคนี้ครับ "สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดวงดาวอยู่พราวพราย"

 
    ask1 ans1 ask1 ans1 ask1 ans1

    คติสอนใจภาษาไทย
   "สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดวงดาวอยู่พราวพราย"
    แปลโดย ฟ. ฮีแลร์ จากสุภาษิตของ Frederick Langbridge

   "Two men look out the same prison bars; one sees mud and the other stars."
    บางแห่งว่า
   "Two folks look through same hole, one sees mud, one sees stars."
     ฟ. ฮีแรห์
     ฟ. ฮีแลร์ (Frere Helaire) บาทหลวงชาวฝรั่งเศส
     Frere ภาษาอังกฤษว่า Brother, ภาษาไทยว่า ภราดา เจษฎาจารย์

     สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดวงดาวอยู่พราวพราย หมายความว่า คนเหมือนกัน แต่ระดับการรับรู้แตกต่างกัน ความคิดและสติปัญญาตลอดจนถึงภูมิรู้แตกต่างกัน ระดับการรับรู้แตกต่างกัน เป็นเหตุให้มีความขัดแย้งกัน ไม่ลงรอยกัน ไม่ไปด้วยกัน ไม่เห็นพ้องต้องกัน ความคิดเห็นไม่สอดคล้องกัน มีความเห็นต่างกัน จึงมักจะโต้แย้งกันเสียงขรมแทบทุกเรื่อง

     แต่มีบางเรื่องที่ทำให้สองคนยลตามช่อง มองเห็นดวงดาวอยู่พราวพราย เหมือนกันคือ ความพอใจในผลประโยชน์ที่ได้รับจากมติเอกฉันท์ ไม่ว่าจะแบ่งฝักแบ่งฝ่ายก็ตาม จะเงียบกริบกันหมด การเห็นต่าง ตามปกติมักจะได้ยินเสียงขรม
     แต่การเห็นต่างในความหมายของภาษาถิ่นใต้ทำให้เงียบกริบได้
     เพราะ เห็นต่าง ภาษาถิ่นใต้ว่า เฮ้นต๋าง มี 2 นัย
     ต๋าง ที่หมายถึง แตกต่าง กับ ต๋าง ที่หมายถึง สตางค์
(ภาษาถิ่นใต้จะพูดคำว่า สตางค์ สั้น ๆ ว่า ต๋าง เช่น ยังต๋างมาย คือ มีสตางค์หรือไม่ บ้างก็จะพูดว่า ยังเบียมาย คือ มีเบี้ยหรือไม่)


ที่มา http://www.royin.go.th/th/webboardnew/answer.php?GroupID=&searchKey=&searchFrom=&searchTo=&PageShow=27&TopView=&QID=13703
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ป้ายนี้ชื่อว่า "อภิวาทพระศรีศาสดา" มีสามรายการ คือ วิหารพระศาสดา พระศาสดา พระพุทธไสยา

พระศาสดา ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระศาสดา

พระศาสดา เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของวัดบวรฯ

ถ่ายติดดวงเทวดาครับ ขอให้สังเกตตรงเอวของพระพุทธรูป

ภาพนี้ระบบโฟกัส ทำงานไม่สมบูรณ์ นำมาให้ดูเพื่อเปรียบเทียบกับภาพบน

พระศาสดานี้เคยประดิษฐานอยู่วัดเดียวกันกับพระพุทธชินราช คือ วัดใหญ่ พิษณุโลกนั่นเอง


ประวัติพระศาสดา
เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๔ ศอก ๑ คืบ ๘ นิ้ว เดิมประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก  ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ เจ้าอาวาสวัดบางอ้อยช้าง จังหวัดนนทบุรี ให้อัญเชิญพระศาสดาจากเมืองพิษณุโลกมาไว้ที่วัด  ครั้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) ทราบเรื่อง จึงให้อัญเชิญพระศาสดาจากวัดบางอ้อยช้างมาไว้ที่วัดประดู่ฉิมพลี ซึ่งเป็นวัดที่ท่านสร้างขึ้น

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบและมีพระราชดำริว่า  พระศาสดานั้นสร้างขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินสีห์ซึ่งสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพทรงให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร  พระศาสดาก็ควรประดิษฐานอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหารที่เดียวกับพระพุทธชินสีห์  เป็นเสมือนพระพุทธรูปผู้พิทักษ์พระพุทธชินสีห์ แต่ยังมิได้สร้างสถานที่ประดิษฐาน  จึงโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังมุขหน้าพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวรารามไปพลางก่อนเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ ครั้นสร้างพระวิหารพระศาสดาจวนแล้วเสร็จจึงโปรดให้อัญเชิญพระศาสดามาประดิษฐาน เมื่อพุทธศักราช  ๒๔๐๗ 


ข้อมูลจาก http://www.watbowon.com/all/index6.5.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระพุทธไสยา ประดิษฐานในวิหารพระศาสดา ตอนถ่ายเป็นกังวลว่า จะถ่ายติดเทวดาไหมหนอ.?
ปรากฏว่า ติดครับ ขอให้สังเกตตรงปลายพระหัตถ์ของพระนอน



พระพุทธไสยา มีอายุเก่าแก่มาก อยู่ในสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปองค์สำคัญ อีกองค์หนึ่งของวัดบวรฯ


พระวัติ พระพุทธไสยา
เป็นพระพุทธรูปสำริดลงรักปิดทองปางไสยาสน์ สมัยสุโขทัย ยาวตั้งแต่พระบาทถึงพระจุฬา ๖ ศอก ๑ คืบ ๕ นิ้ว สร้างขึ้นราว พุทธศักราช ๑๘๐๐ – ๑๘๙๓  เดิมประดิษฐาน ณ วัดพระพายหลวง จังหวัดสุโขทัย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ ได้เสด็จประพาสเมืองสุโขทัย เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๖ ทอดพระเนตรว่ามีลักษณะงามกว่าพระไสยาองค์อื่นๆ 

ครั้นเมื่อเสด็จประทับจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร จึงได้โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๐ ครั้นสร้างวิหารพระศาสดาแล้วจึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วิหารพระศาสดาห้องทิศตะวันตก ที่ฐานพระพุทธไสยาบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระยาวชิรญาณวโรรส


ข้อมูลจาก http://www.watbowon.com/all/index6.5.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



พระพุทธไสยาสน์องค์นี้งดงามจริงแท้ครับ เห็นด้วยเลย ผมเกิดวันอังคารต้องขวนขวายไหว้ขมาพระนอนเป็น
สำคัญเนื่องเพราะคนอังคารมักเดือดเลือดร้อนโทสะง่าย
        :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 15, 2014, 05:07:03 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0





    ภาพเหล่านี้อยู่ข้างกำแพงโบสถ์วัดบวรฯ ประทับใจพระฉายาลักษณ์ที่อยู่ในภาพ สมเด็จพระญาณสังวร ท่านไม่ใส่ฉลองพระบาท หากถามว่า ท่านฉายพระรูปที่ไหน ตอบว่าไม่ทราบ เท่าที่พอค้นได้ อาจเป็นที่ญี่ปุ่น ในวาระที่ท่านเสด็จไปวัดพุทธรังษี โตเกียว
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
     
ป้ายนี้มีชื่อว่า "ไหว้พระคู่บวร" มีหกรายการ คือ พระอุโบสถ พระสุวรรณเขต พระพุทธชินสีห์
พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ 
พระรูปหล่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส 
และ พระรูปหล่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์

พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร

พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร


ทำบุญที่โต๊ะ หน้าพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร หนึ่งร้อยบาทจะได้รับเหรียญ ฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี

ทำบุญ ๑๐๐ บาทที่หน้าพระอุโบสถ ได้รับเหรียญฉลองพระชันษา หนึ่งร้อยปี แบบนี้เลยครับ

ขยายให้ดูครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 16, 2014, 01:45:35 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



เหรียญสมเด็จฯ ร้อยปี พระสังฆราช หากได้มีไว้เป็นมงคลแน่แท้ครับ! (อยากได้มีไว้สักองค์)
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระประธานในพระอุโบสถวัดบวรฯ มี ๒ องค์
องค์หลังเป็นองค์ใหญ่ คือ พระสุวรรณเขต (พระโต) ส่วนองค์หน้าองค์เล็ก งดงามมาก คือ พระพุทธชินสีห์
สิ่งที่ภูมิใจก็คือ ถ่ายติดดวงเทวดาหลายดวง ที่สำคัญภาพออกมาชัดเจนมาก


ภาพนี้เป็นอีกหนึ่งภาพที่ภูมิใจมาก ถ่ายติดดวงเทวดา ดวงใหญ่มาก
เพื่อนๆเห็นรึเปล่า อยู่เหนือพานสีเงินอันใหญ่ บอกตรงๆ ประทับใจจริงๆ มีปิติครับ



ประวัติพระสุวรรณเขต (พระโต) โดยสังเขป
พระสุวรรณเขต (พระโต) เป็นพระพุทธรูปหล่อโบราณ ลักษณะแบบพระขอมเรียกกันว่า “พระโต” หน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพได้ทรงอัญเชิญจากสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรีมาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร


ประวัติพระพุทธชินสีห์ โดยสังเขป
ตามตำนานเล่าว่า พระเจ้าศรีธรรมปิฎก เจ้าเมืองนครเชียงแสน ทรงหล่อขึ้นพร้อมกับพระพุทธชินราชและพระศาสดา เมื่อประมาณปีพุทธศักราช ๑๕๐๐ ลักษณะพิเศษของพระพุทธรูปทั้ง ๓ องค์ คือ นิ้วพระหัตถ์ และนิ้วพระบาทเสมอกัน พระพุทธชินสีห์มีหน้าตักกว้าง ๕ ศอกคืบ ๗ นิ้ว สูงตั้งแต่ฐานถึงพระจุฬา ๖ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว พระรัศมี ๑ ศอก พระพุทธชินสีห์เป็นพระพุทธรูปสำคัญองค์หนึ่งในหัวเมืองฝ่ายเหนือ ทั้งโดยฐานะเป็นพระพุทธรูปที่งดงามและโดยฐานะเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพทรงอัญเชิญมาประดิษฐานในมุขหลังพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร ถึงรัชกาลที่ ๔ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐาน เป็นพระพุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถดังปรากฏทุกวันนี้ (องค์หน้า)

_____________________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watbowon.com/travel/upos.htm
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ประวัติพระสุวรรณเขต

พระสุวรรณเขตหรือเรียกว่าหลวงพ่อโต หรือ “หลวงพ่อเพชร” คือ พระประธานองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ด้านในสุด เป็นพระประธานองค์แรกของพระอุโบสถนี้ สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ อัญเชิญมาจากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นพระพุทธรูปโลหะ ลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา  หน้าตักกว้าง ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว พระยาชำนิหัตถการได้ปั้นพอกพระศกให้มีขนาดดังที่เห็นในปัจจุบันแล้วลงรักปิดทอง ด้านข้างพระพุทธรูปองค์นี้มีพระอัครสาวกปูนปั้นหน้าตัก ๒ ศอก ข้างละ ๑ องค์

       พระพุทธรูปวัดสระตะพานองค์นี้ เป็นพระหล่อ หน้าพระเพลา (ตัก) ๙ ศอก ๒๑ นิ้ว เป็นพระพุทธรูปโบราณ เรียกว่า พระโต แต่ นายอ่อน เจตนาแจ่ม ผู้รักษาพระอุโบสถเล่าว่า เคยได้ยินสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานิศรานุวัดติวงศ์ ตรัสกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่า "พระโตองค์นี้ ชาวพื้นเมืองเรียกกันว่า "หลวงพ่อเพชรๆ" ชื่อท่านมีอยู่แล้วว่า "พระสุวรรณเขต" ไม่เรียก

       เมื่อเชิญมา รื้อออกเป็นท่อนๆ ตามรอยประสานเดิม อัญเชิญลงแพ มาคุมเข้าเป็นองค์เดิมอีก ลักษณะที่คุมเข้าใหม่เป็นฝีมือของช่างกรุงเทพฯ โดยมาก แต่ยังพอสังเกตได้ว่าเดิมเป็นลักษณะพระขอม พระศกของพระพุทธรูปนี้ เดิมโตอย่างของพระพุทธชินสีห์
       พระยาชำนิหัตถการ นายช่างกรมพระราชวังบวรฯ เลาะออกเสีย ทำพระศกของพระโตนี้ใหม่ด้วยดินเผาให้เล็ก ตามที่เห็นว่างามในเวลานั้น ประดับเข้าที่แล้วลงรักปิดทอง พระองค์ใหญ่ มีพระสาวกใหญ่นั่งคู่หนึ่ง หน้าตักสองศอกถ้วนเป็นพระปั้น





ประวัติพระพุทธชินสีห์

พระพุทธชินสีห์ ประดิษฐานอยู่ข้างหน้าพระพุทธสุวรรณเขต  เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๕ ศอก ๔ นิ้ว สองข้างพระพุทธชินสีห์มีรูปพระอัครสาวกคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่า สมเด็จพระธรรมราชาลิไทแห่งกรุงสุโขทัย โปรดให้สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันกับพระพุทธชินราช และพระศรีศาสดา เดิมประดิษฐานอยู่ที่พระวิหารด้านทิศเหนือของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ต่อมาวิหารชำรุดทรุดโทรมลง สมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาศักดิพลเสพ จึงโปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่มุขหลังของพระอุโบสถจัตุรมุข วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพุทธศักราช ๒๓๗๔

      ครั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงผนวช  ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถหน้าพระพุทธสุวรรณเขต เมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๐ แล้วได้ติดทองกะไหล่พระรัศมี  ฝังพระเนตร และฝังเพชรที่พระอุณาโลมใหม่ พร้อมทั้งปิดทององค์พระพุทธรูป 

      ต่อมาเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว  ในพุทธศักราช ๒๓๙๔   โปรดเกล้าฯ ให้แผ่แผ่นทองคำลงยาราชาวดีประดับพระรัศมีเดิม  ถวายฉัตรตาด ๙ ชั้น ถวายผ้าทรงสะพักตาด ต้นไม้เงินทอง และกลองมโหระทึกสำหรับประโคมในเวลาพระสงฆ์บูชาเช้าค่ำเป็นเกียรติยศ พุทธศักราช ๒๓๘๙  โปรดเกล้าฯให้หล่อฐานสำริดปิดทองใหม่มีการสมโภช  พุทธศักราช ๒๔๐๙  ทรงสมโภชอีครั้งและถวายพระธำมรงค์หยกสวมนิ้วพระอังคุฐซ้าย



      พระพุทธชินสีห์นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ซึ่งพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์เสด็จมาถวายสักการบูชาในโอกาสต่างๆ เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครทางสถลมารคมานมัสการและถวายต้นไม้เงินและต้นไม้ทองเมื่อคราวประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองแต่ครั้งสุโขทัย นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามมากที่สุดพระองค์หนึ่ง

      สมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรงอัญเชิญพระพุทธชินสีห์มาจากพระวิหารทิศเหนือวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก มาประดิษฐานไว้ในมุขหลังของพระอุโบสถ ซึ่งก่อขึ้นใหม่ อัญเชิญลงแพมาทั้งพระองค์ เมื่อฤดูน้ำ พ.ศ. ๒๓๗๒ แต่ได้ยินกันมาโดยมากว่ามุขหลังคามีมาแต่เดิม จึงรวมเป็น ๔ มุข ตามรูบเมรุของเจ้าจอมมารดา ของพระองค์เจ้าดาราวดี พระราชชายา สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ผู้ทรงรจนาตำนานวัด ทรงสันนิษฐานว่า มุขหลังก่อทีหลัง ในเมื่อปรารภว่าจะเชิญพระพุทธชินสีห์ลงมา เดิมคงมีแต่หลังหน้าซึ่งเป็นพระอุโบสถ หลังขวางซึ่งเป็นพระวิหาร แต่สร้างติดกันจึงดูเป็น ๓ มุข



พระพุทธชินสีห์นี้ มีตำนานกล่าวไว้ในพงศาวดารเหนือว่า
พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก เจ้าเมืองนครเชียงแสน สร้างขึ้นพร้อมกับพระชินราชและพระศาสดาเมื่อก่อน พ.ศ. ๑๕๐๐ มีเรื่องโดยย่อว่า พระศรีธรรมไตรปิฎก เจ้านครเชียงแสนยกกองทัพมาตีเมืองศรีสัชนาลัย (อยู่ในเมืองสวรรคโลกสมัยนั้น) แล้วสร้างเมืองพิษณุโลก พร้อมกับพระพุทธรูป ๓ พระองค์ โดยให้พวกช่างที่มีฝีมือในเมืองต่างๆมาประชุม ช่วยกันปั้นหุ่นเพื่อจะให้ได้งดงามผิดกับพระพุทธรูปสามัญแต่ท่านสันนิษฐานว่า พระเจ้าพระศรีมหาธรรมไตรปิฎกผู้สร้าง คือ พระมหาะรรมราชาที่ ๑ รัชการที่ ๕ แห่งราชวงศ์พระร่วง สมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี เรียกโดยพระนามว่า พระเจ้าลือไทหรือลิไท

ข้อที่ทำให้สันนิษฐานเช่นนั้นมีหลายประการ คือ สอบสวนไม่ได้ความจริงว่า มีเจ้านครเชียงแสนองค์ใด มีความรู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก จนควรแก่พระนามนั้น และได้แผ่อำนาจลงมาทางใต้ในสมัยที่อ้างนั้น พระมหาธรรมราชาที่ ๑ ปรากฏว่า ทรงรอบรู้เชี่ยวชาญในพระไตรปิฎก ทรงแต่งหนังสือเรื่องไตรภูมิ ซึ่งในทุกวันนี้เรียกันว่าไตรภูมิพระร่วง พระเกียรติยศที่ทรงรอบรู้พระไตรปิฎก คงเลื่องลือแพร่หลาย จึงเรียกพระนามเฉลิมพระเกียรติว่า พระศรีธรรมไตรปิฎก

 :25: :25: :25: :25: :25:

และเมื่อก่อนแต่ทรงเถลิงถวัลยราชสมบัติ ได้เป็นพระมหาอุปราชอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย เมื่อพระเจ้าเลอไทพระราชบิดาสวรรคต เกิดจราจลขึ้นในพระนครสุโขทัย ต้องยกทัพลงมาปราบปรามจนราบคาบแล้วจึงได้เสวยราชย์ เรื่องนี้ตรงกับเค้าเรื่องพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกกองทัพลงมาตีเมืองศรีสัชนาลัยในพงศาวดารเหนือ

อีกประการหนึ่ง ลักษณะพระชินราช พระชินสีห์ ก็ด่างจากพระพุทธรูปอื่น ในบางอย่างเช่น มีนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ นิ้ว พระบาททั้ง ๔ นิ้วยาวเสมอกัน ต้องตามคัมภีร์มหาปุริสลักษณะแสดงว่าผู้สร้างได้ทราบคัมภีร์นั้น พระพุทธรูปที่ได้สร้างกันขึ้นชั้นหลัง ได้ถือเป็นแบบสืบมาทุกวันนี้ พระพุทธรูปที่สร้างในเมืองเมืองไทยแต่ก่อนนั้น ทั้งทางเมืองเหนือและเมืองใต้ ทำปลายนิ้วพระหัตถ์เป็นหลั่นกันเหมือนกับนิ้วมือคนสามัญ

อนึ่งมีทรวดทรงและชายจีวรยาวแบบลังกา แสดงให้เห็นว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเลอไทยหรือลือไทย เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๐



พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช มีลักษณะงดงามอย่างน่าพิศวง และนับถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ปรากฏในประวัติศาสตร์ว่าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินในกรุงสยาม ได้เสด็จฯไปถวายนมัสกาหลายพระองค์ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาป็นราชธานี กล่าวเฉพาะพระพุทธชินสีห์

เมื่อเมื่ออัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่มุขหลังของพระอุโบสถวัดนี้แล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า ฯ เมื่อทรงเสด็จมาผนวชอยู่ครองวัดนี้ ได้ทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อัญเชิญย้ายจากมุขหลังออกสถิตหน้าพระพุทธรูปองค์ใหญ่หรือพระโต เมื่อ พ.ศ.๒๓๘๐ ปิดทองก้าไหล่พระรัศมีฝั่งพระเนตรใหม่ และติดพระอุนาโลม ส่วนมุขหลังอัญเชิญพระไสยาสน์เข้าไว้แทน

 st12 st12 st12 st12 st12

ต่อมาได้รื้อมุขหลัง น่าจะเพื่อขยายทักษิณพระเจดีย์ออกมาอีกชั้นหนึ่ง ส่วนพระไสยาสน์น่าจะคงยังอยู่หลังพระอุโบสถ ณ ที่ติดพระบาทจำลองในบัดนี้ ต่อมาได้อัญเชิญไปไว้ในวิหารพระศาสดาเมื่อทรงลาผนวชเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ตรัสให้แผ่ทองคำทำพระรัศมีลงยาราชาวดีประดับพระรัศมีเดิมอีกชั้นหนึ่ง ถวายฉัตรตาด ๙ ชั้นถวายผ้าทรงสพักตาด ต้นไม้ทองเงิน เมื่อพ.ศ. ๒๓๙๔ โปรดหล่อ ด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทองใหม่

มีการสมโภช เมื่อ พ.ศ.๒๓๙๘ ทรงสมโภชอีกและถวายพระธำมรงค์หยกสวมนิ้วพระอังคุฐซ้าย ( แหวนที่นิ้วหัวแม่มือซ้าย) เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ในรัชการที่ ๕ก็ได้ทรงปิดทองและโปรดให้มีการสมโภช พร้อมด้วยการฉลองพระอารามที่ทรงปฎิสังขรณ์ใหม่ และทรงสร้างเพิ่มเติมเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ พระพุทธชินสีห์ มีพระอัครสาวกยืนคู่หนึ่ง สันนิษฐานว่าสร้างภายหลัง

____________________________________________
ข้อมูลจาก http://www.watbowon.com/all/index1.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 17, 2014, 11:30:00 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

pongsatorn

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 242
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
วันที่ไป ภายในพระอุโบสถวัดบวรฯ มีคนไปกราบพระประธาน พระพุทธสุวรรณเขตและพระพุทธชินสีห์ จำนวนมาก
หากถามว่า พระประธานสององค์นี้ องค์ไหนมาก่อน ตอบว่า พระพุทธสุวรรณเขต(อ่านประวัติจากเว็บวัดบวรฯ)

คนที่มานั่งติดผนังโบสถ์นี้ บางคนก็สวดมนต์ บางคนก็สำรวมกาย บางคนก็ทำสมาธิ
ใจจริงผมอยากนั่งสมาธิครับ แต่โอกาสไม่อำนวย

ภายในพระอุโบสถจะมีการแจกน้ำมนต์ น้ำมนต์ขวดแบบนี้จะวางอยู่ในพาน

น้ำมนต์ขวดดังกล่าว หยิบได้จากพานที่เห็นในภาพ พานสีเงินใบใหญ่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 18, 2014, 10:02:01 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ดวงเทวดา อยู่ด้านบนสุดของภาพ เยื้องไปทางขวา

    การไปสักการะพระศพของพระสังฆราช ที่วัดบวรฯในครั้งนี้ เดิมไม่มีความประสงค์ที่จะไปเลย แต่เนื่องด้วยพระอาจารย์ได้เคยปรารภว่าจะไปสักการะ ประกอบกับผมเคยฝันถึงพระสังฆราชองค์นี้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องไปสักการะสักครั้ง บอกตรงๆว่า ไม่เคยสนใจ ไม่เคยขวนขวายที่จะไปสักการะท่านเลย ทั้งก่อนและหลังการสิ้นพระชนม์ แม้แต่การไปเที่ยวที่วัดบวรฯ ก็ไม่เคยรู้สึกว่าอยากไป

    การฝันของผมเกิดขึ้นหลังท่านสิ้นพระชนม์ ในฝันนั้นเห็นพระเดินกันขวักไขว่ ดูเหมือนจะมีงานอะไรสักอย่าง ในฝันนั้นเห็นท่านเดินเข้ามาหา ยื่นย่ามให้ผม ผมก็รับเอาไว้ ตอนนั้นผมรู้สึกว่า ท่านต้องการให้ผมช่วยถือและให้ติดตามท่านไป ย่ามใบนั้นดูแล้วมีของอยู่ภายในไม่น้อย มีลักษณะตุงๆกลมๆ คล้ายกับว่ามีของอยู่เยอะ แต่ความรู้สึกในตอนนั้น เมื่อย่ามอยู่ในมือผม ผมไม่รู้หนักแต่ประการใด

    พระลักษณะของท่านในฝันนั้น ท่านดูไม่หนุ่ม แต่ก็ไม่แก่มาก ยังเดินได้อย่างคล่องแคล่ว
    เท่าที่ผมจำได้ ก็มีเท่านี้ครับ


ภาพนี้เป็นภาพที่ผมประทับใจสุดๆ ดวงเทวดาใหญ่มาก

    กลับมาเรื่องการสักการะพระศพในครั้งนี้ ก่อนไปมีความหวังว่า จะต้องถ่ายภาพให้ติดเทวดา แต่ก็เป็นกังวลว่าจะติดไม๊น้อ.? ขณะถ่ายภาพต่างๆ ก็ไม่ได้ดูว่า ติดเทวดารึเปล่า แต่พอกลับบ้านมา เอารูปขึ้นคอมพ์ ดีใจมาก ถ่ายติดครับ หลายรูปด้วย สมใจปรารถนาทุกอย่าง

    วัดบวรฯนั้น ตามความเข้าใจของผม มีพระพุทธรูปที่สำคัญอยู่ ๕ องค์ คือ พระพุทธสุวรรณเขต พระพุทธชินสีห์ พระศาสดา พระพุทธไสยา และพระไพรีพินาศ ผมถ่ายมาแค่ ๔ องค์แรก ปรากฏว่าทุกองค์ที่ถ่าย ถ่ายติดเทวดาทั้งหมด ที่สำคัญเหนืออื่นใด ถ่ายพระโกศของพระสังฆราช ก็ถ่ายติดเทวดาเช่นกัน
    ภารกิจของผมในทริปนี้ สมบูรณ์ครับ สมใจปรารถนาของผม เป็นปลื้ม มีปิติมาก


พระพุทธสุวรรณเขต และพระพุทธชินสีห์ ให้สังเกตดวงเทวดาที่ด้านบนของภาพ

พระศาสดา ให้สังเกตดวงเทวดาทีเอวของพระพุทธรูป

พระพุทธไสยา ให้สังเกตดวงเทวดาที่ปลายพระหัตถ์


ทริปนี้ มีภาพให้ชมเท่านี้ครับ ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชม
thk56 :25: st12 st11
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 18, 2014, 09:59:49 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ