ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: แก่นธรรม ที่ควรสนใจ มาก ๆ  (อ่าน 2029 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
แก่นธรรม ที่ควรสนใจ มาก ๆ
« เมื่อ: กันยายน 16, 2010, 07:40:34 am »
0
ตัดข้อความมาจากกระทู้นี้
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=429.msg1598#msg1598

คาถา โอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
สพฺพปาปสฺส อกรณํกุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริ โยทปนํเอตํ พุทธาน สาสนํฯ
แปล : การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของ
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

3 ข้อ เบื้องต้นมาตรฐาน ใหญ่ของชาวพุทธ


1.ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
2.นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
3.น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
4.สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโตฯ
แปล : ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่านิพพาน เป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต,ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

4 ข้อนี้เพื่อธรรม 2 ข้อแรก คือ ไม่เบียด เบียน การทำกุศลให้ถึงพร้อม

5.อนูป วาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
6.มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
   อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํฯ
แปล : การ ไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่ง
นอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

2 ข้อหลัีง เพื่อข้อที่ 3 คือการชำระจิตของตนให้ผ่องใส สอนให้รักสันโดษ กินอยู่ แต่พอเพียง

ที่เข้าใจกัน โดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส


ถ้าเป็นชาวพุทธ จะเป็น นิกายใด ๆ ก็ต้องยึดหลักทั้ง 3 ประการนี้
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: แก่นธรรม ที่ควรสนใจ มาก ๆ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 21, 2010, 08:52:18 am »
0
เรื่องของแก่นธรรมะ นั้น เป็นเรื่องที่ควรเข้าใจ

แต่อย่างไรเสีย

  การเกิดอุบัติ ของสรรพสัตว์ ไม่เท่ากัน

    บ้างก็ติดอยู่ที่กระพี้ และดำเนินชีวิตในวิืถี กระพี้นั้น

    บ้างก็ติดอยู่เปลือก และดำเนินชีวิตในวิุถี เปลือกนั้น

    บ้างก็ติดที่แก่น และดำเนินชีวิตในวิถี แก่นนั้น

 ดังนั้น ระดับ การสั่งสมบารมี ของสรรพสัตว์ ไม่เท่ากันด้วยเหตุนี้

   บ้างก็บรรลุธรรมได้ ง่าย ด้วยปฏิบัติ แบบ ง่าย ๆ

   บ้างก็บรรลุธรรมได้ ยาก ด้วยการปฏิบัติ แบบ ง่าย ๆ

   บ้างก็บรรลุธรรมได้ ง่าย ด้วยการปฏิบัติ แบบ ยาก ๆ

   บ้างก็บรรลุธรรมได้ ยาก ด้วยการปฏิบัติ แบบ ยาก ๆ

อนุโมทนา กุศลห้วข้อหลักธรรมนี้

เจริญพร

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ