ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...  (อ่าน 10061 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีการกล่าว ถึงประโยคนี้มากคือ

   "เมื่อจิตสงบ แล้่วจะเห็นตามความเป็นจริง"

อยากทราบว่า จะรู้ได้อย่างไร ว่าเราจะเห็นตามความเป็นจริง

และความเป็นจริง ในพระพุทธศาสนา มีพุทธวิธี ในการเห็๋นหรือป่าวคร้า..

หรือ จะเป็นปัจจัตตัง ...อีก

  มีหลัีกการในการตามเห็น หรือ ป่าวคร้า.... ในสมาธิ .....

 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2010, 08:13:04 am »
0
เห็นตามนี้นะจ๊ะ อ่านจากพระสูตร ก่อนไม่ผิด มีหลักการกรรมฐาน วิปัสสนา พร้อมแล้ว

ยุคนัทธวรรค สัจจกถา
            นิทานในกถาบริบูรณ์
    [๕๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็น
อย่างอื่น ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย

       สัจจะว่านี้ทุกข์ เป็นของแท้เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
       สัจจะว่านี้ทุกขสมุทัย เป็นของแท้เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
       สัจจะว่านี้ทุกขนิโรธ เป็นของแท้เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
       สัจจะว่านี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้แลเป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ฯ

[๕๔๕] ทุกข์เป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
    สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิดไม่เป็นอย่างอื่น คือ
สภาพที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ๑ สภาพแห่งทุกข์ อันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ สภาพที่ให้เดือดร้อน ๑ สภาพ
ที่แปรไป ๑ สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น
 ทุกข์เป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ
    สมุทัยเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
    สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิดไม่เป็นอย่างอื่น
 คือ สภาพที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ๑ สภาพที่เป็นเหตุ ๑สภาพที่ประกอบไว้ ๑ สภาพพัวพัน ๑
สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด ๔ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สมุทัย
เป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ
    นิโรธเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
    สภาพดับแห่งนิโรธ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น คือ
สภาพสลัดออกแห่งนิโรธ ๑ สภาพสงัด ๑ สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ๑ สภาพเป็นอมตะ ๑
สภาพดับแห่งนิโรธ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น นิโรธเป็นสัจจะ
ด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ
    มรรคเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ
    สภาพเป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิดไม่เป็นอย่างอื่น
คือ สภาพนำออกแห่งมรรค ๑ สภาพเป็นเหตุ ๑ สภาพที่เห็น ๑สภาพเป็นใหญ่ ๑ สภาพเป็น
ทางแห่งมรรค ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น มรรคเป็นสัจจะด้วย
อรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ


เอาเท่านี้ก่อน เดี๋ยวยังมีตอนยาวอีก

เจริญพร

 ;)


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 06:33:45 am »
0
๕๔๖] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๔ คือ

ด้วยความเป็นของแท้ ๑
 ด้วยความเป็นอนัตตา ๑
 ด้วยความเป็นของจริง ๑
 ด้วยความเป็นปฏิเวธ ๑


สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งสัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคล
ย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ

    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้อย่างไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๔ คือ
    สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์เป็นสภาพแท้ ๑      สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัยเป็นสภาพแท้ ๑     สภาพดับแห่งนิโรธเป็นสภาพแท้ ๑     สภาพเป็นทางแห่งมรรคเป็นสภาพแท้ ๑

     สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นของแท้ด้วยอาการ ๔ นี้สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะ
หนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น  สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ

    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตาอย่างไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยอาการ ๔ คือ
    สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑     สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑    สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑     สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑
    สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์
เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น
สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ

    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของจริงอย่างไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของจริง ด้วยอาการ ๔ คือ
  สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพจริง ๑   สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพจริง ๑   สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพจริง ๑  สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพจริง ๑

สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งด้วยความเป็นของจริง ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง
สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้นสัจจะ ๔ จึงมี
การแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ

    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธอย่างไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธด้วยอาการ ๔ คือ
    สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพแทงตลอด ๑     สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพแทงตลอด ๑     สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพแทงตลอด ๑     สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพแทงตลอด ๑
สัจจะ ๔ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว
เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ

ค่อย ๆ อ่านกันไปนะจ๊ะ นี่เป็นคำตอบเรื่อง รู้เห็นตามความเป็นจริง ( สัจจะ ความจริง ) เห็นการอย่างนี้
ตอนนี้อาตมา ยังจะยังไม่ใส่ อรรถกถา ส่วนตัวเพราะต้องการแสดงพระสูตร จนหมดก่อน

เพราะเป็นระบบ ระเบียบ เป็นขั้นเป็นตอน ในกรรมฐาน มัชฌิมา จริง ๆ เป็นข้อความในส่วน ปฏิสัมภิทามรรค


ติดตามต่อไป นะจ๊ะ

เจริญพร

 ;) [/]
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

pakorn

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 10, 2010, 08:31:25 pm »
0
เข้าใจเพิ่มขึ้นแล้วครับ ไม่ต้องไปนึกเอง ปฏิบัติตามพระสูตรนี้เลย

กับเรื่องมองเห็นตามความเป็นจริง  :banghead:

 :25:
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤศจิกายน 12, 2010, 03:38:30 pm »
0
ผมว่า หัวข้อนี้ เป็นหัวข้อน่าสนใจ ครับ เหมือนกำลังตีโจทย์ ปริศนา ที่ว่ามองเห็นตามความเป็นจริง นั้น

มองเห็นอย่างไร ?

  ผมว่า การมองเห็นตามความเป็นจริง นั้น จะเห็นได้ สติ สมาธิ ต้องไปคู่กันนะครับ เพราะเป็น ญาณ วิปัสนา

คงแต่จะมีสมาธิ ไม่ใช่ สมาธิ หน้าจะเป็นเพียงกำลังในการส่ง สติ สัมปชัญญะ ให้เห็นตามความเป็นจริง

จากข้อความพระสูตร ผมเองได้พิจารณา ตามระบบ ความจริง คือ สัจจะ ซึ่งพระอาจารย์กำลังแนะนำด้วยพระสูตร

คงต้องติดตามพระสูตร นี้ต่อไป ครับ...

 :25:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 06:14:12 pm »
0
[๕๔๗] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ
    สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ๑ สิ่งใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา ๑
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเป็นของแท้ ๑สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น
อนัตตาและเป็นของแท้ สิ่งนั้นเป็นของจริง ๑สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของ
แท้และเป็นของจริง สิ่งนั้นท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สิ่งใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สิ่งนั้นเป็น
หนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอด
ด้วยญาณเดียว ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๙ คือ ด้วยความเป็นของแท้ ๑
ด้วยความเป็นอนัตตา ๑ ด้วยความเป็นของจริง ๑ ด้วยความเป็นปฏิเวธ ๑ ด้วยความเป็นธรรม
ที่ควรรู้ยิ่ง ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรละ ๑ ด้วยความเป็น
ธรรมที่ควรเจริญ ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งด้วย
อาการ ๙ นี้สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่ง
ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
    [๕๔๘] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้อย่างไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๙ คือ
สภาพทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพ
ดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งอภิญญา
เป็นสภาพที่ควรรู้ยิ่งเป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งปริญญาเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ เป็นสภาพแท้ ๑
สภาพแห่งปหานะเป็นสภาพที่ควรละ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งภาวนาเป็นสภาพที่ควรเจริญ
เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งสัจฉิกิริยา เป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง เป็นสภาพแท้ ๑ สัจจะ ๔ ท่าน
สงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๙ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง
สัจจะนั้นเป็นหนึ่งบุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมี
การแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตาด้วยความเป็นของจริง
ด้วยความเป็นปฏิเวธ อย่างไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธด้วยอาการ ๙ คือ สภาพ
แห่งทุกข์เป็นสภาพที่ทนได้ยาก เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด เป็น
สภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งนิโรธเป็นที่ดับ เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งมรรค
เป็นทางดำเนิน เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งอภิญญาเป็นสภาพที่ควรรู้ยิ่ง เป็นสภาพ
ควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งปริญญาเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพ
แห่งปหานะเป็นสภาพที่ควรละ เป็นสภาพที่ควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งภาวนาเป็นสภาพที่ควร
เจริญ เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งสัจฉิกิริยาเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง เป็นสภาพควร
แทงตลอด ๑ สัจจะ ๔ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยอาการ ๙ นี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอด สัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว
 เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
    [๕๔๙] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๑๒ คือ ด้วยความเป็นของแท้ ๑
ด้วยความเป็นอนัตตา ๑ ด้วยความเป็นของจริง ๑ ด้วยความเป็นปฏิเวธ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องรู้
ยิ่ง ๑ ด้วยความเป็นเครื่องกำหนดรู้ ๑ด้วยความเป็นธรรม ๑ ด้วยความเป็นเหมือนอย่างนั้น ๑
ด้วยความเป็นธรรมที่รู้แล้ว ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๑ ด้วยความเป็นเครื่องถูกต้อง ๑
ด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว
 เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ อย่างไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๑๖ คือ
สภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพบีบคั้น ๑ เป็นสภาพที่ปัจจัยปรุงแต่ง ๑เป็นสภาพให้เดือดร้อน ๑ เป็น
สภาพแปรปรวน ๑ เป็นสภาพแท้ สภาพแห่งสมุทัยเป็นสภาพประมวลมา ๑ เป็นเหตุ ๑ เป็น
เครื่องประกอบไว้ ๑ เป็นสภาพกังวล ๑ เป็นสภาพแท้ สภาพแห่งนิโรธเป็นที่สลัดออก ๑ เป็น
สภาพสงัด๑ เป็นสภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ๑ เป็นอมตะ ๑ เป็นสภาพแท้ สภาพแห่งมรรคเป็น
เครื่องนำออก ๑ เป็นเหตุ ๑ เป็นทัสนะ ๑ เป็นใหญ่ ๑ เป็นสภาพแท้ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์
ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๑๖ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะ
นั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ
แทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตา ฯลฯ ด้วยความเป็น
ของจริง ด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยความเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ด้วยความเป็นเครื่องกำหนดรู้ ด้วยความ
เป็นธรรม ด้วยความเป็นเหมือนอย่างนั้น ด้วยความเป็นธรรมที่รู้แล้ว ด้วยความเป็นธรรมที่ควร
ทำให้แจ้ง ด้วยความเป็นเครื่องถูกต้องด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ อย่างไร ฯ
    สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ด้วยอาการ ๑๖ คือ
 สภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพบีบคั้น ... เป็นสภาพแปรปรวนเป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งสมุทัย
เป็นสภาพประมวลมา ... เป็นสภาพกังวลเป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งนิโรธเป็นที่สลัดออก ...
เป็นอมตะ เป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งมรรคเป็นเครื่องนำออก ... เป็นใหญ่ เป็นสภาพ
เครื่องตรัสรู้ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ด้วยอาการ ๑๖ นี้
สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว
 เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2010, 04:34:43 am »
0
สนใจเรื่องนี้ มากคะ ถึงแม้จะเป็นการตอบแบบพระสูตร ก็ตามสิ่งที่ หมวยจ้า มองเห็น

คือ หลักการอันประเสริฐ ที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสไว้ดีแล้ว เวลาที่ภาวนาิวปัสสนาจึงว่าไปตามหลักการนี้ เลยคะ

สาธุ สาูธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

วรรณา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 158
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 03:31:40 pm »
0
ตั้งใจอ่าน แล้ว แต่ก็ยังไม่เข้าใจ คะ

คงต้องรอพระอาจารย์ อธิบายแล้ว คะ

 :25:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 04:42:46 pm »
0
พระสูตร นี้ ยังไม่จบนะ อ่านต่อก็แล้ว กัน ที่อ่านไม่เข้าใจ ก็เพราะว่ายังอ่านไม่หมด

 ;)


[๕๕๐] สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๒ คือสังขตลักษณะ ๑ อสังขต
ลักษณะ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๒ นี้ ฯ
    สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๖ คือ สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเกิด
ปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิด
ไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรไม่ปรากฏ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๖ นี้ ฯ
    สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๑๒ คือ ทุกขสัจ มีความเกิดขึ้นปรากฏ ๑
ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑สมุทัยสัจมีความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความ
เสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑ มรรคสัจมีความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อม
ปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑ นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ๑
เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรไม่ปรากฏ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๑๒ นี้ ฯ
    [๕๕๑] สัจจะ ๔ เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็นอัพยากฤตเท่าไร ฯ
    สมุทัยสัจเป็นอกุศล มรรคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจ เป็นกุศลก็มี
เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ  ๓ นี้ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์
ด้วยสัจจะ ๓ ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยปริยาย ฯ
    คำว่า พึงมี คือ ก็พึงมีอย่างไร ฯ
    ทุกขสัจเป็นอกุศล สมุทัยสัจเป็นอกุศล สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑
 สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอกุศลพึงมีอย่างนี้ ทุกขสัจเป็นกุศล มรรคสัจ
เป็นกุศล สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๒ ด้วย
ความเป็นกุศล พึงมีอย่างนี้ ทุกขสัจเป็นอัพยากฤต นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์
ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอัพยากฤต  พึงมีอย่างนี้
สัจจะ ๓ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑ ด้วยสามารถแห่ง
วัตถุ โดยปริยาย ฯ
    [๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มี
ความคิดว่า อะไรหนอแลเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งรูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลายเรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุข โสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น
นี้เป็นคุณแห่งรูป  ความกำจัดฉันทราคะ ความละฉันทราคะในรูป นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง
รูป ... สุขโสมนัส อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มี
ความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณความกำจัดฉันทราคะ ความละฉันทราคะใน
วิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ ฯ
    [๕๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ  ซึ่งโทษโดยความ
เป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกโดยเป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ นี้
ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก
พร้อมทั้งเทวโลกมารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
เพียงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใด เราได้รู้ทั่วถึงซึ่งคุณโดยความเป็นคุณซึ่งโทษโดยความ
เป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกโดยเป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ นี้
ตามความจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลกในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แล ญาณทัสนะ
เกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ความเกิดอีกมิได้มี ฯ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 04:43:16 pm »
0
[๕๕๔] การแทงตลอดด้วยการละว่า สุข โสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น  นี้เป็นคุณแห่ง
รูป ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่ารูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน
เป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ดังนี้เป็นทุกขสัจ การแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งว่า การ
กำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในรูป นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ดังนี้ เป็นนิโรธสัจ
 การแทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ  สมาธิ
ในฐานะทั้ง ๓ นี้ เป็นมรรคสัจ การแทงตลอดด้วยการละว่า สุขโสมนัส อาศัยเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ การแทงตลอดด้วยการ
กำหนดรู้ว่า วิญญาณไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ
 ดังนี้เป็นทุกขสัจ การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในวิญญาณ
 นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นนิโรธสัจการแทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฐิ
สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะสติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้ เป็นมรรคสัจ ฯ
    [๕๕๕] สัจจะด้วยอาการเท่าไร ฯ
    สัจจะด้วยอาการ ๓ คือ ด้วยความแสวงหา ๑ ด้วยความกำหนด ๑ ด้วยความแทง
ตลอด ๑ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างไร ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นสมุทัย
มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ฯ
    สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติเป็นสมุทัย มี
ชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด ญาณย่อมรู้ชัดซึ่งชราและมรณะเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ
ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ สัจจะด้วยความ
แทงตลอดอย่างนี้ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ชาติมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะ
ด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ ... มีภพเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่ง
ชาติ ความดับแห่งชาติ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งชาติ สัจจะด้วยความแทงตลอด
อย่างนี้ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ภพมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะ
ด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ ...มีอุปาทานเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งภพ เหตุ
เกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพและข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งภพ สัจจะด้วยความแทง
ตลอดอย่างนี้ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า อุปาทานมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็นแดนเกิด
 สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ ...มีตัณหาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่ง
อุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่งอุปาทาน และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่ง
อุปาทาน สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ตัณหามีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะ
ด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ ...มีเวทนาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งตัณหา
 เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่งตัณหา และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งตัณหา สัจจะด้วย
ความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า เวทนามีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะ
ด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ ...มีผัสสะเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งเวทนา
เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่งเวทนา และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สัจจะด้วย
ความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะ
ด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ... มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่ง
ผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับแห่งผัสสะ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งผัสสะ
สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า สฬายตนะมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็นแดนเกิด
สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ ...มีนามรูปเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัด
ซึ่งสฬายตนะ เหตุเกิดสฬายตนะ ความดับสฬายตนะ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสฬายตนะ
สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า นามรูปมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะ
ด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ ...มีวิญญาณเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งนามรูป
เหตุเกิดนามรูป ความดับนามรูปและข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับนามรูป สัจจะด้วยความแทง
ตลอดอย่างนี้ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า วิญญาณมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะ
ด้วยความกำหนัดอย่างนี้ว่า วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ ...มีสังขารเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งวิญญาณ
 เหตุเกิดวิญญาณ ความดับวิญญาณและข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับวิญญาณ สัจจะด้วยความ
แทงตลอดอย่างนี้ ฯ
    สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า สังขารมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็นแดนเกิด สัจจะ
ด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ ...มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งสังขาร
เหตุเกิดสังขาร ความดับสังขารและข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสังขาร สัจจะด้วยความแทง
ตลอดอย่างนี้ ฯ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤศจิกายน 15, 2010, 04:51:32 pm »
0
[๕๕๖] ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นสมุทัยสัจ ความสลัดชรามรณะและชาติ
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นสมุทัยสัจ การ
สลัดชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจการรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ อุปาทานเป็นทุกขสัจ ตัณหา
เป็นสมุทัยสัจการสลัดอุปาทานและตัณหาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ
ตัณหาเป็นทุกขสัจ เวทนาเป็นสมุทัยสัจ การสลัดตัณหาและเวทนาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้
จักความดับเป็นมรรคสัจ เวทนาเป็นทุกขสัจ ผัสสะเป็นสมุทัยสัจ การสลัดเวทนาและผัสสะแม้
ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ผัสสะเป็นทุกขสัจ สฬายตนะเป็นสมุทัยสัจ
การสลัดผัสสะและสฬายตนะแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ สฬายตนะ
เป็นทุกขสัจ นามรูปเป็นสมุทัยสัจ การสลัดสฬายตนะและนามรูปแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้
จักความดับเป็นมรรคสัจ นามรูปเป็นทุกขสัจ วิญญาณเป็นสมุทัยสัจ การสลัดนามรูปและวิญญาณ
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ วิญญาณเป็นทุกขสัจ สังขารเป็นสมุทัยสัจ
 การสลัดวิญญาณและสังขารแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ สังขารเป็น
ทุกขสัจ อวิชชาเป็นสมุทัยสัจ การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความ
ดับเป็นมรรคสัจ ชรามรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มี การสลัดชรามรณะ
และชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นทุกขสัจ
ก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มีการสลัดชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ
 ฯลฯสังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มี การสลัดสังขารและอวิชชา
แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ฉะนี้แล ฯ
             จบสัจจกถา
            จบภาณวาร ฯ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 07:58:08 am »
0
ผมอ่าน แล้ว ก็ยัง งง กับบัญญัติ ที่ใช้อธิบาย สำนวน พระไตรปิฏก พอสมควร

แต่ก็พยายาม ทำใจในการอ่าน ว่า บัญญัติ ส่วนนี้คงทำให้เราได้ดวงตาเห็นธรรม สักอย่าง

สุดท้าย ที่ผมเข้าใจ จริง ๆ ตอนนี้ ก็คือ สัจจะ 4 ประการในการมองเห็นความจริง

   คือ 1. ทุกข์ มีใน สัจจะ

       2. กิจที่ต้องทำ คือ นำออก ซึ่งทุกข์ ในสัจจะ

           แต่พออ่านไป กลับเข้าใจว่า ทุกข์ ในสัจจะนั้น ไม่สามารถนำออกได้ เพราะเป็นกฏตายตัว

           คือ มี อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

           ผมก็เลยได้ปัญญา ขึ้นว่า นั้นทุกข์ คือการยอมรับ ความจริงว่ามันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

           พอผมนำจิตอย่างนี้ ก็มองเห็นความจริง ขึ้นอีกชั้นหนึ่งว่า ทุกข์ ไม่จำเป็นต้องยอมรับว่าเป็นอย่างนั้น

          เพราะว่าเรา จะยอมรับ หรือ ไม่ยอมรับ ทุกข์ก็ยังคงเป็นอย่างนั้น และอีกอย่างการยอมรับ ก็ใช่ว่า

          เราจะพ้นทุกข์จาก กาย และ ใจ ได้ สมมุติ นะครับว่า ทุกข์ เกิดเพราะการเจ็บป่วย เรายอมรับว่า

          เจ็บป่วย ทุกข์ ก็ไม่ได้หมดไป มันเหมือนคำท่องว่ายอมรับชะตากรรม ถ้าเป็นอย่างนี้ ธรรม ที่

          พระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ชอบนั้น ก็หาได้ดับทุกข์ จริงไม่ ซึ่งเราจะไปเอาความคิดอย่างนี้ใส่ไป ใน

          โพธิญาณ ของพระธรรม ผมก็ยังมีความคิดว่าผิดอยู่ ดังนั้นการยอมรับความจริงนั้นก็ยังไม่สามารถ

          ดับกิเลสลงได้  ผมจึงหันกลับไปภาวนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มากขึ้นและเมื่อจิตเป็นสมาธิ

         แล้ว ก็เข้าิวิปัสสนา อีกหลายครั้ง หลายหน แต่ที่ลำบากมาก ๆ คือ ใจที่หน่วงกับสภาวะ เมื่อก่อนที่ผม

         สะสมมาจากเมืองจีน คือใจที่เข้าเห็นว่า สมมุติ เป็นสิ่งที่สร้าง ยึดถือ ออกจาก สมมุติ คือความว่าง

         ความว่าง คือ สุญญตา การภาวนารู้สึกว่าตีกัน ในด้่านสมมุิติ กับ บัญญัติ อย่างมาก ๆ

           ดังนั้น ผมเห็นอะไรตอนนี้ ผมก็ตอบว่ายังไม่เห็น สิ่งที่ผมรู้ก็ คือ สมาธิ ผมยังแกร่งไม่พอ ที่จะรู้แจ้ง

        ซึ่ง โพธิ อันนี้ ดังนั้นอุปสรรค ที่เกิดในเรื่องของความว่าง มักจะทำให้ผมถอยจาก สมาธิ ทุกครั้ง

         อันนี้ ผมรู้ได้เลยว่า เป็นข้อเสีย อย่างมาก ๆ  ที่เราไปเรียน วิปัสสนา มาก่อน โดยเฉพาะ วิปัสสนา สาย

        เซ็น เป็นอุปสรรคในการภาวนาจริง ๆ

        แต่อย่างไร  ผมก็จะพยายามอ่าน ทบทวน ให้มากขึ้น ในพระสูตรบทนี้

                เพราะผมยังตั้งความหวังไว้ในใจว่า

                  เมื่อใด บุคคล เห็นด้วยปัญญาว่า ธรรม ทั้งปวง เป็นอนัตตา เมื่อนั้นเราย่อมเหนื่อยหน่าย

               ย่อมเป็นทางแห่งพระนิพพาน


 :c017:
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤศจิกายน 16, 2010, 08:40:19 am »
0
ลำดับธรรม การมองเห็นตามความเป็นจริง มาจากจิตใจ ที่สงบ ตั้งมั่น เป็นหลัก

  ลำดับ คือ เข้าใจ ใน อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เบื้องต้น

  ลำดับ การยอมรับ เป็นชั้นพระโยคาวจร

  ลำดับ การเห็นจริงแท้ ในกาย รู้ ละ วาง เป็นพระโสดาบัน ผู้ละสักกายทิฏฐิ ( ผู้ปฏิบัติดี )

  ลำดับ การเห็นจริงแท้ ในจิต รู้ ละ วาง ในจิต เป็น พระสกิทาคามี (ผู้รู้ตรง )

  ลำดับ การเห็นจริงแท้ ในกาย ในเวทนา ในจิต เ็ป็น พระอนาคามี ( ผู้รู้ด้วยญาณ )

  ลำดับ การเห็นจริงแท้ ในธรรม เป็น พระอรหันต์ ( ผู้ปฏิบัติชอบ )

  การรู้แจ้ง เห็นจริง เกิดขึ้นตามลำดับ เป็นไปตามลำดับ ด้วย ธรรมคือสมาธิ ด้วยญาณคือปัญญา  อันนับเนื่อง

ด้วย สติ เรียกว่า สติปัฏฐาน การรู้ ก็คือ รู้ มิใช่ สติ เป็นผู้รู้ การเห็นแจ้งจริงแท้ มีฐานคือสติ จึงเรียกว่า

  สติปัฏฐาน

 เรียนตามลำดับ รู้ตามลำดับ เห็นผลตามลำดับ

 เจริญพร

   ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2012, 04:52:55 pm »
0
แนะนำให้อ่านครับ  สาธุ  สาธุ   :25:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2012, 11:21:07 am »
0
อนุโมทนา เป็นเนื้อหาพระสูตร นำมาโพสต์ ไว้ ว่าขั้นตอนของการเข้าถึง สัจจะเป็นอย่างนั้น ถ้ามีเวลาเดี๋ยวจะปรับขนาดตัวอักษรให้ใหม่ นะจีะ

   สาธุ กับ Mr.งังจัง ทีได้รื้อเรื่องนี้ออกมาให้เพื่อนได้อ่านกันอีกครั้ง

    ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

Jiraiya

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 115
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2012, 01:23:56 am »
0
เรื่องนี้ผมว่า อ่านเข้าใจดีนะครับ ถ้าจัดรูปแบบ ตัวหนังสือ เรียบเรียงให้อ่านขึ้นน่าจะเป็นประโยชน์ นะครับ หรือเปิดอีกกระทู้หนึ่ง โดยตรงเลยดีหรือไม่ครับ

  เกี่ยวกับเรื่อง ยถาภูตญาณทัศศนะ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สมาธิ โดยตรง

  ขอบคุณครับ

   :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า
ซาบซึ้ง ถึงใจ ภาวนาเข้มข้น ไม่หวลคืนกลับ ดับแล้ว ดับจริง

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2012, 09:51:39 am »
0
น่าจัดเรียง การเข้าไปพิจารณา ตามลำดับใหม่ ให้อ่านง่าย ขึ้นนะคะ

 :25: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เห็นอย่างไร ถึงจะชื่อว่าเห็นตามเป็นจริง คร้า...
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2012, 12:03:10 pm »
0
หากไม่ขัดข้องจะช่วยจัดให้สักนิดคะ เปิดเป็นหัวข้อใหม่เลยหรือไม่คะ
ขอบคุณคะที่ได้ความรู้ดี ๆ เสริมการปฏิบัิติด้วยดีมาตลอดคะ

  :49:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี