ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เราสามารถ ฝึกสมาธิ โดยไม่ใช้คำภาวนา ได้หรือ ไม่  (อ่าน 6591 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

samathi

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 93
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เราสามารถ ฝึกสมาธิ โดยไม่ใช้คำภาวนา ได้หรือ ไม่

คือ นั่งสมาธิ แล้วไม่ต้องภาวนาอะไร แต่ให้เป็นสมาธิ ทำได้หรือป่าวครับ

บันทึกการเข้า

ISSARAPAP

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 129
  • โดดเดี่ยว แต่ไม่เดียวดาย สัจจะธรรมแท้ ไม่มีสูตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เราสามารถ ฝึกสมาธิ โดยไม่ใช้คำภาวนา ได้หรือ ไม่
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 16, 2010, 10:51:06 pm »
0
ผมก็เคยคิดเช่นนี้ มาเหมือนกัน ว่าทำไม ต้องใช้ สมมุติบัญญัติ มาเป็นตัวกำหนดภาวนา

แท้ที่จริง สมมุติบัญญัติ ไม่ใช่สัจจะ สัจจะแท้ไม่มี สมมุติบัญญัติ ในเมื่อจะฝึกวิปัสสนาขั้นสูง

ก็ไ่ม่จำเป็นต้องใช้ สมมุติบัญญัติ ให้ยุ่งยาก


   แต่พอเอาเข้าจริง ๆ สมมุติบัญญัติ ก็ยังไม่หายไปไหน เพราะสมมุติ บัญญัติ อยู่กับเรามาตั้งแต่จำความได้

ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ล้วนแล้วก็เป็นสมมุติบัญญัติ หากไม่มีสมมุติบัญญัติ  แล้วก็ไม่มีทาง

ที่เราจะเข้าใจอะไรได้เลย ดังนั้น

   สมมุติบัญญัติ จึงยังมีความจำเป็นกับการภาวนา หากจิตเรายังไม่เข้าสู่ สภาะปรมัตถ์ ได้ เพราะั ปรมัตถ์ นั้น

ไม่มีอะไรมาแทนค่า หรือ อธิบายได้ครับ

   :25:
บันทึกการเข้า
ความสันโดษ เป็นบรมสุข

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เราสามารถ ฝึกสมาธิ โดยไม่ใช้คำภาวนา ได้หรือ ไม่
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 04:07:51 pm »
0
ถ้ามี บุญญฤทธิ์ บารมีมาก็ไม่ต้องใช้คำบริกรรมในการภาวนาใด ๆ ทั้งสิ้น ก็สามารถบรรลุธรรมได้

เพียงให้จิต ที่เป็นสมาธิด้วยบุญญฤทธิ์ เห็นตามความเป็นจริง

เห็นอะไร ? ..... ก็บอกไม่ได้ นะจ๊ะ ส่วนนี้เป็น ปัจจัตตัง รู้แท้เฉพาะตน

 เช่น สามเณร สังกิจจะ ปลงผมครั้งที่ 1 เป็นพระโสดาบัน 2 เป็นพระสกิทาคามี 3 เป็นพระอนาคา 4 เป็นพระอรหันต์ เห็นอะไรก็ไม่รู้ เป็นส่วนตัวของท่าน เราวิจารณ์กันไป ก็ไม่รู้ภาวะท่านหรอก มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้น

เพราะการบรรลุคุณธรรม ไม่ได้ใช้เวลาอะไรมาก เพียงชั่วแว่บเดียว ปัญญา ก็มองเห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ
ดับไปเป็น ล้าน ๆ ขณะ

ที่กล่าวเป็นตัวอย่าง เป็นต้นนะ


ดังนั้น สมมุติบัญญัติ มีความจำเป็นเพราะเป็นการสื่อสารระหว่างเรา กับ คนอื่น อ่านให้ดี ๆ นะตรงนี้

ส่วน สภาวะธรรม ที่สื่อสารกับจิตนั้น มีแต่เราเท่านั้นที่รู้ ดังนั้นวิปัสสนาอย่า พยายามถอดออกเพืื่่อสื่อสาร

ให้คนอื่นรู้ แต่จงให้ใจของเรารู้


ระดับการใช้ บัญญัต นั้นบางท่านคิดว่า มีอยู่ แค่ ฌาน 2 เพราะเชื่อว่า คำภาวนา คือ วิตก กับ วิจาร

อันนี้คือความเข้าใจผิด นะจ๊ะ เพราะิวิปัสสนาก็ต้องอาศัย บัญญัติด้วยใจ ด้วยอารมณ์ ก็ยังเป็น คำสมมุติบัญญัติทางใจ ที่เรารู้

แต่ วิตก วิจาร นั้นหมดที่ บัญญัติโลกียะเท่านั้น


ยกตัวอย่าง ผู้เจริญ ฌาน 3 ย่อมเจริญสุข สุขก็คือ บัญญัติ ปรมัตถ์บัญญัติทางจิต

             ผู้เจริญ ฌาน 4 ย่อมเจริญสุข เอกัคคตา ๆ ก็คือ บัิญญัติ ปรมัตถ์บัญญัติทางจิต

             ผู้เจริญ ปัญจมฌาน ย่อมเจริญ อุเบกขา ๆ ก็คือ บัญญัติ แต่เป็น ปรมัตถ์บัญญัติทางจิต

             ผู้เจริญ อากาสานัญจายตะูธาตุ ก็เจริญ ธาตุอัน อนันต์ หาที่สุดมิได้ เป็นอารมณ์ ก็เป็น บัญญัติอีก แต่เป็นปรมัตถ์ บัญญัติ


  ดังนั้น ผู้ที่กล่าว วิตก วิจาร ดับ นั้นเป็น บัญญัตโลก ดับ ยังมี ปรมัตถ์บัญญัติด้วยใจอยู่ นะจ๊ะ

  ถ้าจะกล่าวว่า บัญญัติดับทั้งหมด ต้องเป็น สัญญาเวทยิตนิโรธ เท่านั้นที่ดับหมดจริง


  จะเข้าใจหรือป่าวนี่ ทำความเข้าใจหน่อย เพราะเห็นถามเรื่อง บัญญัติโดยตรง

  เจริญธรรม

   ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

VongoleX

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 402
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีประโยชน์ ครับ ถึงแม้จะค่อยจะเข้าใจกับคำว่า บัญญัติ กับ ไม่ใช่ บัญญัติ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ผู้พิทักษ์รุ่นที่ 10 แห่ง Vongole จับมือกับ แก็งค์ อ๊บ อ๊บ

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมกำลังลองทำอยู่เหมือนกัน สมาทานกรรมฐานเสร็จ กำหนดพุทโธ สามครั้ง แล้วกำหนดดูจิต อย่างเดียว
ตั้งใจไว้ว่าจะฝึกสติให้กำลังเข้มแข็งหน่อย บางครั้งถ้าสติตามทัน จะเห็นมันมาคุยกับเราสนุกดี
การฝึกแบบนี้เดาเอาว่าน่าจะเป็นวิปัสสนามากกว่าสมถะ แต่บางครั้งถ้าสติตามรู้ไม่ทัน มันก็จะเข้าฌาณโดยอัตโนมัติ ถ้าชอบแบบนี้ลองไปที่หลวงพ่อจรัลดูครับ จะครบถ้วนกว่า
บันทึกการเข้า

Sitti

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การปฏิบัติภาวนา เท่าที่ได้ศึกษาจากพระอาจารย์ เป็นเวลา 2 ปีมานี้ทั้งสอบถามทางเมล และ กระทู้ ท่านจะสรุปว่า การภาวนาคือการรวม อริยมรรคให้เป็นองค์เดียวกัน การฝึกสมาธิ เป็นเพียงขั้นสุดท้าย ที่ก่อนจะรวมอริยมรรคให้สมบูรณ์เป็นองค์เดียวกัน

   ดังนั้นผมคิดว่า ถ้ากายจิตเราพร้อม ตั้งแต่ อริยมรรคองค์ที่ 1 แล้ว จนถึงองค์ สุดท้ายแล้ว จิตก็คงจะเห็นทาง ส่วนคำภาวนา จะใช้หรือไม่ใช้ ผมว่าตอนนั้นน่าจะเป็นปัจจัตตัง ของผู้ภาวนาครับ
 
  สาธุ ได้อ่านกระทู้นี้แล้ว ทำให้คิดอะไรบางอย่างได้แบบฉับพลัน ขอบคุณทุกท่านที่ได้นำกระทู้นี้มาให้อ่านครับ

   :25: :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า
สิทธิ มาแว๊ว มาตามคำเชิญ แก๊งค์  อ๊บ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เราสามารถ ฝึกสมาธิ โดยไม่ใช้คำภาวนา ได้หรือ ไม่


ก็ขอย้อนตอบคำถาม ให้ใหม่ก็แล้ว กันนะจ๊ะ พิจารณาดูแล้ว ความสงสัยของทุกท่านยังไม่หายกันไป ยังมีความสงสัยอยู่ ในเรื่องการภาวนา

    สำหรับการภาวนา ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดสติ หรือ การกำหนดสมาธิ ล้วนแล้วต้องอาศัยบริกรรม สำหรับผู้ฝึกเริ่มต้นจนกว่าจะได้นิมิต ( ที่ยึดเกาะอารมณ์ใหม่ )

    สำหรับใน อุปจาระสมาธิขึ้นไป ก็จะมี นิมิต เรียกว่า อุคคหะนิมิติ คือนิมิตที่ได้ในอารมณ์สมาธิ ซึ่งนิมิตจะเป็นบริกรรมแทน การบริกรรมเริ่มต้น ซึ่งกว่าจะได้ อุคคหะนิมิต นั้นทุกท่านต้องอาศัยบริกรรม ร่วมด้วยทุกกรรมฐาน

    ดังนั้นจะเห็นได้ว่า เมื่อจิตผู้ใดได้เจริญถึง ปฐมฌาน พอเปลี่ยนเป็น ทุติยฌาน องค์แห่งสมาธิ จะหายไป 2 ประการ คือ วิตก วิจาร ผู้ฝึกสมาธิทั่วไปมือใหม่จึงพยายามใช้การบริกรรมแบบไม่มี คือ ความว่างแทน ทำให้อารมณ์ตกเข้าไปในภวังคจิต ทำให้ไม่ได้สมาธิ จิตตก ภวังค์อยู่อย่างนั้น บ่อย ๆ จนกว่าจะมีบริกรรมเป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ในสายกรรมฐานในเมืองไทย จากประสบการณ์ที่ได้เดินทาง ขึ้นเหนือลงใต้ ไปตะวันออก ตะวันตก ทุกสำนักส่วนใหญ่ จะใช้ บริกรรมเหมือนกัน คือ พุทโธ ดังนั้น พุทโธ จึงเป็นบริกรรม ที่ใช้กันทั่วรวมทั้ง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับด้วย ก็อาศัยอารมณ์กรรมฐาน บริกรรมกรรมฐาน คือ พุทโธ


    สรุป ท่านทั้งหลายจักภาวนาไม่ว่าจะเป็น สติ หรือ สมาธิ ต้องมีการกำหนดบริกรรมด้วย เว้นแต่ท่านได้ นิมิต เช่น โอภาส เป็นต้นแล้ว ไม่ต้องใช้คำบริกรรมก็ได้ แต่ตรงนี้ไม่ต้องบอกจะเป็นไปโดยธรรมชาติของจิตเอง จะรู้เองเห็นเอง ว่าควรทำอย่างไร ในสภาวะนั้น เพราะสภาวะพระกรรมฐาน แบบพุทธะ เป็นไปเพื่อการส่งเสริม การรู้เห็นตามความเป็นจริง เพราะท่านที่มาเจริญ สมาธิ ก้คือ สัมมาสมาธิ เป็นการรวมอริยะมรรคเป้นหนึ่งเดียว ด้วยภูมิธรรม คุณธรรม ปัญญาของผู้ภาวนา

   เจริญพร /เจริญธรรม

 ;)



 
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

magicmo

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 122
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ขอบพระคุณข้อมูลครับผม
บันทึกการเข้า
ขายส่งชุดชั้นในราคาไม่แพงเครื่องกรองน้ำ ดื่มสะอาดสนามกีฬา ฟุตบอลหญ้าเทียม เช่าราคาถูก

แสงดาว

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 14
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าอย่างนั้น เราควรใช้ คำภาวนา ว่าอย่างไรดีคะ ถ้าเราไม่สามารถที่จะขาดคำภาวนาลงไปได้คะ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สำหรับ เราชาวพุทธ ผู้กล่าวถึง ไตรสรณคมน์ คือ พระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกแล้ว ควรกล่าวคำภาวนาว่า

  พุทโธ  จะดีที่สุด


 เจริญพร

  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา