ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560  (อ่าน 15305 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2017, 09:14:25 am »
0

เข้าพรรษา วันที่ ๑
การอธิษฐาน และ การทำสัจจะ

ส่วนวันนี้เป็นวันที่ ๒
กิจวัตร และ การพิจารณาตนเอง
( กิจจํ วัตตัง เป็นกิจที่ต้องรักษาไว้ ด้วย ระเบียบแบบแผน
สมาทานัง อารักขกัมมัฏฐานัง เป็นกิจแห่งจิตเฉพาะตน เกิดจาก สติ เป็นที่ตั้ง สัมปชัญญะ เป็นตัวรู้ วิริยะ เป็นเครื่องกระทำ อุปสมะ เป็นไปเพื่อความสงบ อัปปมาเทนะ ประกอบด้วยความไม่ประมาท สมาธิปัตติยา มีสมาธิสมาบัติ วิปัสสนานัง สู่การทำวิปัสสนา )

เจริญพร


ทบทวนกรรมฐาน
ควรทบทวนกรรมฐาน ในอดีตที่ผ่านมานั้น มีความบกพร่องอันใดที่ทำให้ตนเอง ยังไม่ถึงเป้าหมายในกองพระกรรมฐาน
ดังนั้นสัปดาห์ที่ ๑ ให้ทุกท่าน จงทบทวนตนเอง ในวิชากรรมฐาน แน่วแน่ อย่างไร ขั้นตอนทราบดีแล้วหรือยัง หรือเป็นเพราะตนไม่ภาวนา ขี้เกียจ ควรจะต้องหาคำตอบออกมาให้ได้ ชัดเจนแจ่มแจ้ง เสียก่อนมิฉะนั้น มันจะเหมือนคนตาบอดที่คลำทางไปตามเสียง
เปรียบคนตาบอด จูงคนตาบอด
หรือตาบอด คลำทางที่ไม่เคยไป
การทบทวนกรรมฐาน
ย่อมเป็นการดีในการฝึกเริ่มจากศูน คือไม่มีอะไรมาก่อน
แต่สำหรับคนที่เคยผ่านการขึ้นกรรมฐาน แล้ว ควรทบทวนอารมณ์ในขณะที่ได้ขึ้นกรรมฐาน กับพระอาจารย์ ต้องถามตนเองว่า ทำไม เราจึงทำกรรมฐาน สำเร็จขั้นที่ ๑ ในตอนขึ้นกรรมฐาน กับพระอาจารย์ และ มีความรู้สึกว่า เวลาในกรรมฐาน นิดเดียว แต่ผ่านไปอย่างยาวนาน นั่นเพราะอะไร ?
ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2017, 01:24:11 pm »
0
 :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ถาม ทบทวนกรรมฐาน จะทบทวนอย่างไร ครับเป็นประการแรก
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2017, 09:46:52 am »
0
ถาม ทบทวนกรรมฐาน จะทบทวนอย่างไร ครับเป็นประการแรก
ตอบ การทบทวนกรรมฐาน ว่าตนเองนั้นมีความบกพร่องตรงส่วนไหน มีอยู่ 5 ประการ
1. ศรัทธา ให้ตรวจสอบศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใส ในวิธีการ ในอุบาย ในกัลยาณมิตร ในเป้าหมาย และ เสริม ศรัทธา 4 ให้มั่นคง นี่คือ ข้อแรก ที่ต้องตรวจ
2.วิริยะ ให้ตรวจสอบ วิริยะ ความเพียร ความบากบั่น การทำติดต่อ ต่อเนื่อง ได้กระทำมากน้อยขนาดไหน นี่คือ ข้อที่สอง
3.สติ ให้ตรวจสอบ การระลึกนึกถึง องค์พระ พุทโธ คาถา กระทำมากน้อยขนาดไหน ระลึกได้ อย่างน้อย 4 ครั้งหรือยัง คือ ตื่นนอน ก่อนไปทำงาน หลังทำงาน และ ก่อนนอน 4 ครั้งนี้ไม่ควรขาดการระลึกนึกถึง องค์พระ กันเลย นื่คือ ข้อที่สาม
4.สมาธิ ให้ตรวจสอบ การทำใจเป็นหนึ่งเดียว กับองค์ พระ พักช่วงความวุ่นวาย ด้วยอารมณ์ เดียว กับองค์พระ อย่างน้อย วันละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ได้กระทำอย่างแยบคายหรือยัง อันนี้คือ ข้อที่สี่
5.ปัญญา ให้ตรวจสอบ ทิฏฐิ ความเห็นถูก และ เห็นผิด ขาดการฟัง เรียนศึกษา หลักธรรมส่งเสริม ตรงส่วนนี้หรือไม่ การทำทิฏฐิให้ตรง ชื่อว่า การอบรมตนเอง ไม่ว่า จะฟัง หรือ เทศนา นี่คือข้อที่ ห้า ในการตรวจสอบตนเอง
ธรรม 5 ประการนี้ คือ พละ อยู่กับคุณธรรมข้อใดก็เป็นกำลังยิ่งยวด ถ้าไม่มีก็ขาดกำลัง เหมือน คนไม่มี อาหาร น้ำ เครื่องบำรุง หาก องค์ธรรมพละใด มั่นคง มีมากยิ่งยวด ก็เรียกว่า สมบูรณ์ ความสมบูรณ์ ขององค์ธรรมนี้ ชื่อว่า อินทรีย์ ในโพธิปักขิยธรรม
ธรรม 5 ประการ จัดออกเป็นสองระดับ คือ เป็น พละ ชื่อว่า พละ 5 เมื่อสมบูรณ์ เป็น ใหญ่ ชื่อ ว่า อินทรีย์ 5
ผู้ใดมี พละ 5 และ อินทรีย์ 5 ชื่อว่าเป็นผู้มีกรรมฐาน มั่นคง มีทางไปสู่ประตูอมตะ คือ พระนฤพาน อย่างแท้จริง
ของดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2017, 09:47:38 am »
0
ถาม คนจน จะภาวนา ได้หรือ ไม่ ? คนไม่มีเงิน ไม่มีเงินเดือน จะภาวนาได้หรือไม่
ตอบ ทำได้เป็นไปตามสถานะ ยิ่งยากจน ยิ่งต้องภาวนาให้แกร่ง เพราะความยากจน ความลำบากจิปาถะ จะดึงลงไปในทางอกุศล ( ชั่ว ) อย่างรวดเร็ว ดังนั้น คนที่มีฐานะ ยากจน ข่นแค้น ลำบาก บาดเจ็บ ขัดสน ยากไร้ ยิ่งต้องมีคุณธรรม เฉพาะหน้าในที่เฉพาะหน้า ขณะนั้น อย่างสูง การภาวนา ก็ต้องลดหลั่นลงไปที่ การมีสติ สัมปชัญญะ และ หิริ โอตตัปปะ การเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม จะทำให้ เขาพอกพูนคุณธรรม ขึ้นมาได้
คิดดูสิ ถ้าคนยากไร้ ขัดสน จนเงิน ทอง ไม่มีงานทำ อดมื้อกินมื้อ ถ้าเขาไม่รักษาคุณธรรม ไว้ เขาก็ต้องตกต่ำ เพราะ ความชั่วที่เขาจะต้องทำ ไม่ว่า จะเป็นการผิดศีล เป็นต้น
แต่คนเหล่านี้จะรักษาคุณธรรม ด้วย การภาวนา ไม่ใช่ด้วยกฏหมาย เพราะหลายคนที่ยังไม่ผิดศีล เพราะเกรงกลัว กฏหมายอาญาบ้านเมือง ดังนั้นโอกาสทำชั่วผิดศีล มีมากกว่า แต่ถ้าเป็นคนที่รักษาคุณธรรม ภาวนาอยู่ สังคมจะปลอดภัยมากกว่า นั่นเอง
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เรียนธรรม จากเพลง แบบชาวบ้าน
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2017, 09:49:16 am »
0
 เรียนธรรม จากเพลง แบบชาวบ้าน
การฟังดนตรี แม้เป็นปัจจัยขัดขวางคุณธรรม ขั้นสูง แต่ข้อคิดดี ๆ บางเพลงก็มาจาก คนแต่งที่เราคาดไม่ถึง บางเพลง ที่ พอจ.รู้ไหม ประสบมากับเป็นเพลงที่ ครูอาจารย์ ท่านแต่งเป็นกลอนไว้ ก็มีหลายท่าน บางท่านก็หยิบเนื้อหาของกลอนไปเป็นเพลง แนวให้กำลังใจ ก็มีหลาย บทกลอน เช่นกัน

เพลงนี้ได้ชมในรายการขณะนั่งรอรถ ที่ สถานีรถไฟ เวลา 17.00 น. ขับร้องโดย ดญ.คนหนึ่งนั่งดูเธอแล้วสีหน้า แววตา มีความสงบ มากจึงจดจำรายการนี้ไว้ ก็อยากให้คนที่เสียกำลังใจ และ สิ้นหวังได้ชมไว้ บางครั้งเราให้เหตุผลกับความต้องการมากไป จึงทำให้ลำบาก บางคนจะขายของก็อาย จะค้าขายก็กลัวเขาว่าต่ำไม่มีเกียรติ อ้างโน่น อ้างนี่ สารพัด ก้เพราะปิดกั้นตนเอง

เพลง ชีวิตลิขิตเอง อาจจะเป็นกำลังใจ จาก ด.ญ. ตัวน้อย ๆ ได้
ก่อนเคยเชื่อในลิขิตฟ้าดิน
ปล่อยชีวิตไปตามโชคชะตา
แต่ฝันไม่เคยถึงฝั่ง
ผิดหวังในใจเรื่อยมา
เพราะฟ้าไม่มี หัว ใจ
.จะเลวหรือดีมันอยู่ที่คน
จะมีหรือจนมันอยู่ที่ใจ
ดินฟ้าไม่เคยลิขิต
ชีวิตจะเป็นเช่นไร
อย่าเลยอย่าไปถามฟ้า
บินไปให้สูงที่สุด
อย่างที่คิดฝันไว้กับใจ
จะยากเย็นเท่าไหร่
บอกใจว่าจะไม่กลัว
ไม่รอให้ฟ้าให้ดินลิขิต
ไม่ปล่อยชีวิตให้ผ่านไป
ไม่ว่าจะสูงจะไกลเท่าไร
จะไขว่จะคว้า จะฝ่าฟัน
ไม่ยอมให้ฟ้าหรือใครลิขิต
อยากมีชีวิตที่ใฝ่ฝัน
ตั้งแต่ วันนี้
นี่คือ ชีวิต ลิขิตของเรา.
.เปรียบชีวิตเป็นดังบทละคร
จะยอมให้ใครเขียนบทของเรา
ชีวิตจะเป็นเช่นไร
ก็ขอให้เป็นเพราะเรา
เรื่องราวที่เราต้องเขียน
ไม่รอให้ฟ้าให้ดินลิขิต
ไม่ปล่อยชีวิตให้ผ่านไป
ไม่ว่าจะสูงจะไกลเท่าไหร่
จะไขว่จะคว้า จะฝ่าฟัน
ไม่ยอมให้ฟ้าหรือใครลิขิต
อยากมีชีวิตที่ใฝ่ฝัน
ตั้งแต่ วันนี้
นี่คือ ชีวิต ลิขิตของเรา
ดนตรี......
ไม่รอให้ฟ้าให้ดินลิขิต
ไม่ปล่อยชีวิตให้ผ่านไป
ไม่ว่าจะสูงจะไกลเท่าไหร่
จะไขว่จะคว้า จะฝ่าฟัน
ไม่ยอมให้ฟ้าหรือใครลิขิต
อยากมีชีวิตที่ใฝ่ฝัน
ตั้งแต่ วันนี้
นี่คือ ชีวิต ลิขิตของเรา

https://youtu.be/lOMagGXEQkk
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ถาม ทำไม พอจ เน้นเรื่องกฏแห่งกรรม ในช่วงนี้
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2017, 09:30:33 am »
0
ถาม ทำไม พอจ เน้นเรื่องกฏแห่งกรรม ในช่วงนี้
ตอบ กฏแห่งกรรม เป็นเหตุให้กระทำกุศล ถ้าทุกคนมองเห็นโทษแห่งกรรมอกุศลแล้ว ก็จะไม่ทำอกุศล แต่ จะสร้าง กุศลให้มากขึ้น ที่จริง คนทุกวันนี้ ที่สร้างอกุศล เพราะเขาไม่คิดว่า เขาจะได้รับ วิบาก ของอกุศล จึงกระทำการผิดศีล ผิดธรรม ถึงแก่ฐานะ แห่งความยากจน ข่นแค้น ทุรพล ทุรภาพ พิกล พิการ ล้วนแล้วแต่เกิดจากกรรม ที่ตนเองได้สร้างไว้ พระทศพลญาณจึงทรงตรัสไว้ว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา และ หรือในตรัสแสดงในพระธรรมจักรว่า นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ดังนี้
ดังนั้นเรื่องกรรม เป็นเรื่อง ศรัทธาถึง 3 อย่างในศรัทธา ทั้ง 4 พระติดความปรารถนา ในจีวร ไปเกิดเป็น เล็นในจีวร พระพูดมาก ไม่ภาวนา เที่ยวติเตียนพระภาวนา ไปเกิดเป็นปลาปากเน่า สำเร็จเป็นพระอรหันต์ แต่ก็ถูกแม่วัวขวิดตาย และ ถูกโจรฆ่า ทั้งหมดนี้ก็คือ เรื่องราวแสดงวิบากกรรม ที่คนทั้งหลายไม่ค่อยใส่ใจกัน
ปาฏิหาริย์ มีครั้งเดียว ที่พระพุทธเจ้า กระทำให้ชนทั้งหลาย ไม่มากนักได้เห็น ได้ทราบ คือ คนที่รับเสด็จพระองค์ ลงจากการโปรดพุทธมารดา ด้วยการเปิดโลก ทั้งสามให้แลเห็นซึ่งกันและกันได้ คือ โลกเทวดา โลกมนุษย์ และโลกนรก ชนทั้งหลายจึงได้เห็นทั้งสามโลกนั้น ที่ประตูสังกัสสะ นคร อันเป็นที่ประทับรอยพระพุทธบาทเปิดโลก เป็นทางการ เป็นรอยพระพุทธบาทอันเกิดด้วยฤทธิ์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นรอยที่ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่ต้องเห็นด้วย ตาแห่งพระอริยะ
เรื่องของกรรม กฏแห่งกรรม วิบากแห่งกรรม ศรัทธาในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ สำหรับผู้ภาวนา ที่ พละสัทธา อ่อนลง
ทำไมกรรมฐาน สายกัจจายนะ มูลกรรมฐาน แต่โบราณมาจึงนำชัยด้วย พุทธานุสสติ กรรมฐาน มาตลอดเพราะว่า พุทธะ ย่อมเบ่งบาน เกิดขึ้นงอกงาม เจริญให้ความสุขแก่ผู้ภาวนา
ขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งมั่นในภาวนา พุทโธ อรหัง สัมมาสัมพุทโธ คาถาพญาไก่แก้ว เถิด คุณธรรมจักงอกงามได้ในไม่ช้าไม่นาน
ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่านเถิด
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่านเถิด
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ไม่ใช่เรามีศีล แล้ว จะมีความสุข นะ หากคนที่เกี่ยวข้องกับเรา ผิดศีล เราเองก็ไม่มีความสุข นะ ที่ไม่มีความสุข เพราะ ความรัก ความรับผิดชอบ ต่อคนรอบข้าง มี พ่อแม่บุตรธิดา เป็นต้น ดังนั้นถึงเรามีศีล ก็ต้องทำให้คนรอบข้างมีศีลไปด้วย ดังนั้น ศีล จึงเป็นเรื่องสำคัญมากในการอยู่ร่วมกัน เพราะ ศีล คือ การไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน การจะทำให้สังคมรอบตัวเรามีศีล ก็ต้องมอบ การสดับธรรม การแสดงธรรม เป็นช่วง ๆ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย
สามีภรรยา หย่าร้าง กันก็เพราะว่า ผิดศีล นอกใจกัน
คนติดคุกตาราง ก็เพราะว่า ผิดศีลปาณาติบาต ลักทรัพย์
ลูกหลานพ่อแม่เป็นทุกข์ เพราะสุรา ของมึนเมา ยาเสพติด
ทำการค้าขาย ไม่รุ่งเรือง เพราะหลอกลวง ฉ้อโกง
ปฏิบัติธรรมไม่ก้าวหน้า เพราะมัวแต่เพ้อเจ้อ
ตกงานบ่อยครั้ง เพราะกลั่นแกล้ง คนดีให้ลำบาก
นั่งเป็นทุกข์ จะมีหรือจน ก็ทุกข์ เพราะว่าไม่สร้างธรรมทาน ไม่อนุโมทนา ในความดี ที่คนอื่นทำ
เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่าง ทุกคนเจอกันมาทั้งนั้น เพราะเราอยู่ในสังคม ซึ่งมีทั้งคนดี และคนไม่ดี ร่วมกันไม่ว่าเราจะดีขนาดไหน ก็หลบคนที่ไม่ดีไม่ได้ ดังนั้นการตั้งมั่นในคุณงามความดี ต้องสดับธรรมฟังธรรม และศึกษาพระธรรมบ้าง
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กรกฎาคม 15, 2017, 08:58:26 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2017, 10:34:05 am »
0


สัจจะบารมี อธิษบารมี มีความสัมพันธ์ ในปฏิบัติเป็นอย่างมาก
ขออวยพรให้ท่านทั้งหลาย ที่ตั้งใจรักษาสัจจะ อธิษฐาน ทำกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ในช่วงเข้าพรรษา ถึงแม้เวลามีไม่มาก ก็อย่างน้อยเป็นกุศลที่ได้ ท่านได้สัจจะอธิษฐาน กระทำ
ขอให้ท่านทังหลาย จงอดกลั้น อดทน ชนะใจตน ในกิจที่ตั้งใจ อธิษฐาน สัจจะ
จงถึงซึ่งความสวัสดี ทุกท่าน ทุกคนเทอญ เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2017, 08:09:44 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2017, 10:41:18 am »
0




บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2017, 10:44:01 am »
0


ผู้ไม่วางจิต ปล่อยวาง ทางโลกธรรม ย่อมไม่ได้เรียน ธรรมที่ไปสู่นิพพาน เพราะเขามัวแต่วุ่นวาย ในโลกธรรม
ครูอาจารย์ จึงไม่สอนให้เขา เจริญ โลกุตตรธรรม เพราะ โลกุตรธรรม นั้น จะทำให้เขารู้สึกว่า เหมือนคนโง่ ที่มองผู้อื่นกอบโกย ได้ดิบ ได้ดี ร่ำรวย เป็นเศรษฐี ในขณะที่เขาต้อง แผ่เมตตา ต้องสละ ละ ปล่อยวาง ความรู้สึกพวกนี้ จะมีกับคนที่ยังมีจิตเกาะเกี่ยว กับ โลกียะธรรม ซึ่งมีเรื่อง ได้ เรื่อง เสีย
โดยปกติ การสอนกรรมฐาน ในสายกัจจายนะ นั้นจะไม่มาสอนวิธีการดำรงจิต ในโลกธรรมเลย จะมุ่งสอนแต่ ทางแห่งพระนิพพาน วิธีการไปสู่พระนิพพาน นั่นหมายถึงว่า ผู้มาเรียน จะต้องมีจิตมุ่งตรง ต่อพระนิพพาน มาแล้ว และ เข้าใจหลักธรรมพื้นฐานมาแล้ว
แต่ทุกวันนี้ ธรรมชื่อว่า ปรมัตถ์ และ โลกุตตรธรรม นั้น พอจ ยังไม่ได้สอนใครเลยเหตุเพราะว่า แต่ละท่าน ยังหมกหมุ่น ในเรื่อง ได้ เรื่อง เสีย ไมแสดงวัตถุประสงค์ ตรงต่อพระนิพพาน นั่นจึงเป็นสาเหตุ ที่วันนี้ยังไม่ได้สอนใคร ในระดับ วิปัสสนา อริยะ เลย
เวลา พอจ. ให้ข้อความในระดับ ปรมัตถ์ ท่านอ่านกันไม่เข้าใจ เพราะไม่ทิ้งคำว่า ได้ และ เสีย ออกจากจิต ทำจิตให้เป็นกลาง ดั่งพระกรรมฐาน ชื่อว่า มัชฌิมา เสียก่อน
ก็หวังว่า ในชีวิตฉัน คงจะมีศิษย์ สักคนสองคนที่ มุ่งหวัง เป็นพระอริยะ ในชาตินี้จริง ๆ มาเรียน ธรรมปรมัตถ์ ส่วนนี้ไป
ถาม การวางจิตเป็นกลาง คือ อะไร ?
ตอบ การกระทำไว้ในใจด้วยสติ ไม่ให้เพลิดเพลิน ยินดีในในการได้กามคุณ และ ไม่ให้ยินร้าย ต่อความเสื่อมจากกามคุณ
ถาม วิธีทำจิตให้เป็นกลาง ทำอย่างไร ?
ตอบ เจริญพระกรรมฐาน มัชฌิมา ปฏิปัตตา ทำอนุโลม และ ปฏิโลม จนได้สุขสมาธิ จึงจะได้จิตที่เป็นกลาง
ถาม ถ้าไม่เจริญพระกรรมฐาน จะได้จิตเป็นกลางไหม ?
ตอบ ไม่ได้ เพราะว่า วิปัสสนา ไม่อาศัย สังขาร ( การปรุงแต่ง มโน คิดไปเอง )
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2017, 10:53:40 am »
0


เป็นแม่บท ว่าด้วยองค์คุณแห่ง สมาธิ ( ทำสมาธิเพื่อ อะไร ?)
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้
๔ ประการ เป็นไฉน คือ
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป
เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบันมีอยู่ ๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ ๑
สมาธิภาวนาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะมีอยู่ ๑
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ดังนั้น ท่านที่มาภาวนา สมาธิ จะเป็นแนวไหน ทางไหน แบบไหน สายอะไร เลือกอย่างไร ก็มีเพียง 4 วัตถุประสงค์ ตามที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสแสดงไว้อย่างนี้
คำถามกลับ แล้วตอนนี้ทำนกำลังทำการภาวนา สมาธิ เพื่อแบบไหน กันอยู่ ? นี่เป็นคำถามที่ฉันให้ท่านทั้งหลาย ทบทวนมาตั้งแต่ สัปดาห์ ที่ 1 มันควรจะต้องมีคำตอบ ไม่สะเปะสะปะ อีกต่อไป ควรจะต้องฟันธง แน่วแน่เสียที ว่า ฉันจะทำสมาธิไปเพื่ออะไร ? มันจะได้ถูกทาง ถูกวัตถุประสงค์ในการภาวนา ของตนเอง
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2017, 10:33:14 am »
0


โลกนี้ต้องการความรัก ต้องการชีวิตคู่ ดังนั้นองค์ประกอบ ในโลก จึงมุ่งไปสู่เรือ่งทั้งหลายเหล่านี้ ธรรมดา ของ บุคคลผู้ยังผูกพัน ย่อม เวียนวนไปในสังสารวัฏ แบบใด แบบหนึ่ง
คุณยายท่านหนึ่ง อายุ 80 แตยังต้องเลี้ยงลูกสาวพิการ ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
คุณแม่ท่านหนึ่ง กำลังชื่นชมกับความสำเร็จ ของลูก ที่เรียนจบมีงานทำ
คุณพ่อท่านหนึ่ง กำลังง่วนยินดี กับชีวิตใหม่ คือ ลูกสาวที่เกิดมา
คุณตาท่านหนึ่ง นั่งขอทานบนสะพาน ฝนตกพรำ ๆ เอาพลาสติกคลุมหัว
หญิงชายคู่หนึ่งกำลังเดินทาง สำรวจรอบโลก ยินดีในทัศนียภาพ และประสบการณ์ แห่งความทรงจำ
เด็กหญิงคนหนึ่ง กำลังถูกทารุณกรรม ทางเพศ จิตใจชอกช้ำ รันทดหาคนช่วยเหลือไม่ได้
ตาแป๊ะร้านก๋วยเตี๋ยวกำลังง่วน กับการปรุงก๋วยเตี๋ยว และนังนับเงิน
อาตี๋ด้านข้างในห้อง กำลังนั่งเล่นเกมส์ อย่างเมามัน
เด็กชายพิการ ตาบอดกำลังฝึกอ่านหนังสือ
นี่เป็นเหตุการณ์จริงทั้งหมดเวลาท่านทั้งหลาย ได้สมาธินิมิต จาก เมตตาสมาธิ ภาพเหล่านี้มันจะเกิดไปตามจิตที่วิ่งไป ถ้ากระทบกับจิตที่ดีมีความสุข ท่านก็จะสุขตามอินตามเขา แต่ถ้าไปกระทบกับคนที่ลำบาก จิตของเราก็จะทุกข์ ตาม
โลกนี้มีแต่ความทุกข์ ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านี้ที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านี้ ที่ดับไป
พระพุทธเจ้า ท่านรักใคร ท่านก็จะพาออกจากทุกข์ แต่การพาออกจากทุกข์ของพระองค์ นั้น เป็นที่ขัดเคืองของบรรดาญาติ เช่น ท่านรักน้องชายต่างมารดาท่าน วันนั้นน้องชายท่าน อภิเษก กับเจ้าหญิงรูปงาม พระพุทธเจ้า ก็ไปร่วมงานเสร็จแล้ว ก็ให้อุ้มบาตรตามกลับ มาที่อาราม พอมาถึงที่อาราม ท่านก็พูดว่า นันทะ เธอจะบวชใช่ไหม น้องชายท่านก็รับปากว่าจะบวช ก็เลยให้บวชในวันนั้น เจ้าสาวโวยวาย ร้องไห้น้ำตาฟู
ใครจะเข้าใจ เรื่องเหล่านี้
ดังนั้นเรื่องของโลก กับพระอริยะ ไปด้วยกันไม่ได้
เรื่องของโลก ไปกับพระอริยะ เพียงเรื่องเดียว คือ สนับสนุน บารมี เท่านั้น
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: สิงหาคม 08, 2017, 08:12:02 pm »
0
สาธุ สาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2017, 10:04:54 am »
0


กิจ ในพระพุทธศาสนา ใน พุทธโอวาท นั้น เป็นกิจที่มุ่ง ไปสู่ พระนิพพาน

แต่การเจริญกิจ ให้ได้ผลนั้น เกิดจากบารมี สั่งสมด้วย คนที่มีบารมีมาก่อน จิตใจของเขา จะรักพุทธศาสนา และมองเห็นแต่เรื่องกุศล ในชีวิต เป็นคนชอบฟังธรรม มีเหตุผล ไม่เคยมีอคติ นี่แสดงให้เห็นว่า ชาติ ก่อน ๆ นั้น มีคุณธรรม ในพุทธศาสนา มาก่อนแล้ว ศรัทธาของเขาจึงไม่ง่อนแง่นคลอนแคลน

ส่วนคนที่ เดี๋ยวก็ปรามาส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คือ คนที่สร้างบารมีมาไม่ดี ในชาติก่อนด้วย แม้ในปัจจุบัน อุปนิสัย ก็ยังจะมีต่อไป จนกว่า จิตของเขาจะฝึกฝนไว้ดี ดังนั้น บางคนก็ด่า พระพุทธเจ้า คุ้มดี คุ้มร้าย ไม่ต้องพูด พระธรรม พระสงฆ์ อย่างไรหัวโดน ท้ายโดนแน่นอน ดังนั้นคนที่ บารมีอ่อน ยังปรามาส พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์อยู่ ก็ให้ศึกษาหลักธรรม พิจารณาความจริงในชีวิต และเหตุผลในการทำความดี กุศลให้มี

ถ้ากุศลหายไปจากจิต ก็เป็นมาร
ถ้ากุศลอยู่ในจิต อยู่ โอกาสจะเป็นเทพ ก็ยังมีอยู่
เรารักตัวเรา อยากให้คนอื่นรักตัวเรา เอ็นดูตัวเราฉันใด
ก็ต้องสร้างนิสัย สร้างกุศลให้มากขึ้น เพราะกุศลจะทำให้เป็นที่รัก

ทำอย่างไร ให้ กุศล และ ศรัทธา ในพระรัตนตรัย มีมากขึ้น

สวด บทพระพุทธคุณ ให้บ่อยขึ้น ให้มากขึ้น

บทพุทธคุณ มีทั้งแบบ ย่อ แบบกลาง แบบใหญ่ เอาแค่ ย่อ กลาง พอ สำหรับผู้เริ่มต้น

บทย่อ ก็คือ นโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ  คนไทยเรา ถูกสอนโดยสายกรรมฐาน นี้มาแต่ไหนแต่ไร ดังนั้นเวลาจะทำพิธิ อะไรก็ตาม จะเป็นบุญกุศล ตามพระวินัย ก็จะต้องว่า บทพุทธคุณย่อ เสมอ ๆ

เข่นจะรับศีล ก็ต้องว่า บทนี้
จะถวายทาน ก็ต้องว่า บทนี้
จะสวดมนต์ ก็ต้องว่า บทนี้
แม้พิธิกรรม ต่าง ของสงฆ์ ก็ต้องว่า บทนี้

ดังนั้น การสวดบทพุทธคุณ ย่อ นี้ก็สำคัญ ให้สวดเป็นนิสัย นึกอะไรไม่ออก นึกคาถา พญาไก่แก้ว ก็สวดบทนี้

บท นโม ฉันเคยเข้าไปอยู่ในถ้ำ แล้ว ถูกวิญญาณ รบกวน ล็อกมือขาขยับไม่ได้ ตอนนั้นฉันนึกอะไรไม่ออก ก็ร้องตะโกนดัง ๆ ว่า บท นโม ไปสี่ห้ารอบ ทุกอย่างก็กลับมาเป็นปกติ ใช้เวลาไม่นาน และก็มีอีกหลายครั้ง ดังนั้น บท พุทธคุณ ย่อ ก็เป็น มนต์ บทหนึ่ง ที่ผู้ภาวนา ในสายกัจจายนะ มูลกรรมฐาน จะต้องระลึกไว้เสมอ ๆ

เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2017, 10:20:21 am »
0
ถาม ผม หนู โยม ไม่รู้จะภาวนาอะไร เลย วันหนึ่ง ภาวนากับเขาไม่เป็น ต้องการวิธีการภาวนา ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก มีบ้างไหม ครับ / คะ จ๊ะ

ตอบ นั้นทำอย่างนี้
วิธีกการภาวนา ในพุทธศาสนา แบ่งออกเป็นภาคปฏิบัติ สองส่วน
1. ภาคการเจริญ สติ ไปสู่ สมาธิ และ วิปัสสนา ( โยนิโสมนิสิการ )
2. ภาคการเจริญ สมาธิ ไปสู่ วิปัสสนา ( นิสัมมะกรณังเสยโย )

สำหรับการเจริญ วิธีการที่ 1 นั้น มี สองรูปแบบ
1. ไม่จำกัด อิริยาบถ ทั้ง 18 ดังนั้น อิริยาบถไหน ถ้านึกได้ ก็ให้ทำ วิธีการง่าย คือ นึกได้ก็สวด ท่อง บ่น วิธีการนี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ดังนั้น สวด ท่อง บ่น นั้น เป็นวิธีการที่ง่ายที่สุด

บทสวด ที่ขอแนะนำ และขอให้ท่านทั้งหลาย สวด กันให้มากขึ้น บ่อย ๆ ไม่ต้องรอคนบอก คนนำ นั้นก็คือ บท นโม หรือ บทพุทธคุณย่อ ตามภาพ สวดแค่นี้ วันหนึ่ง คืนหนึ่ง นึกได้ก็สวด ๆ ให้มันมากขึ้น สวดแล้วได้ ดี สมัยครั้งพุทธกาล มีอุบาสิการ ท่านหนึ่ง สวดทุกเวลาที่นึกได้ คือ นางธนัญชานี ( ไปอ่านเรื่องราวของเธอเอาเอง )

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ธนัญชานีสูตร
[๖๒๗] ครั้งนั้นแล นางธนัญชานีพราหมณี กำลังนำภัตเข้าไปเพื่อ
พราหมณ์ภารทวาชโคตร ก้าวเท้าพลาดจึงเปล่งอุทาน ๓ ครั้งว่า ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ... ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ฯ

ดังนั้น ถ้าจะภาวนาแบบง่าย และ ง่ายที่สุด ก็ สวด ท่อง บ่น บทนี้ให้มาก คนที่สวด ท่อง บ่น มนต์บทนี้ จะทำชั่วไม่เป็น ยิ่งสวดมาก ยิ่งไม่กล้าทำชั่ว ดังนั้น เพราะไม่ทำชั่ว ก็มีแต่สร้างกุศล สร้างกุศลมาก ๆ ก็จะเป็นบารมีไปสู่ การภาวนา ระดับ ที่สูงต่อไป นั่นเอง

เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: สิงหาคม 10, 2017, 09:14:03 pm »
0
ผมเชื่อในอำนาจพุทธคุณ

ผมศรัทธาในพุทธคุณ

ผมฝากลมหายใจนี้เพื่อ พระรัตนตรัย

และเป้าหมาย แห่งใจ อธิฐาน

ที่เป็น ความสุขอันงดงาม
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2017, 11:35:32 am »
0



ในสายกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้น พระสารีบุตร ก็เป็นยอดกตัญญู พระราหุล ก็เป็นผู้กตัญญู ศิษย์ในสายนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นผู้กตัญญู แม้เป็นครูอาจารย์ ก็ไม่เคยลืมคุณ คนที่ช่วยเหลือ เพียงใส่บาตรแค่ ข้าวทัพพีหนึ่ง ก็ยังช่วยเหลือ
ดังนั้น ศิษย์ฉันทุกคน ผู้อุปถัมภ์ ทุกท่าน ครูอาจารย์ ไม่เคยลืมท่านในกุศลที่ท่านทำ ถ้าสมควรช่วยเหลือ ก็จะช่วยเหลือ แต่ถ้าเกินกว่า กำลัง ก็ช่วยทางจิต ให้มากที่สุด
การที่ครูอาจารย์ ยิ่งเป็นพระอริยะ จะเสือกไส ลูกศิษย์ ผู้อุปถัมถ์ ลงไปนรกเป็นไปไม่ได้
ดังนั้น ทุกวันฉันพยายาม พาคนไปสู่ ความสุข คือ ประตูอมตะ และไม่ปรารถนา ให้ใคร ๆ เลยลงไป อยู่ในอบายภูมิ 4 สักคน ต้องการให้ทุกท่าน มีความสุข อย่างน้อยก็แดนมนุษย์
วันนี้เป็น วันกตัญญู ของคนไทยอีกวันหนึ่ง นั่นก็คือการะลึกถึงผู้ให้กำเนิด
ดังนั้นใครอยู่ใกล้ ผู้ให้กำเนิด ก็ควรจะไปเคารพ ท่านดูแลเอาใจใส่ท่านเถิด เพราะ การดูแล เอาใจใส่ ให้ความเคารพ เป็นคุณธรรมของคนดี
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: สิงหาคม 12, 2017, 09:29:47 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: สิงหาคม 14, 2017, 03:51:24 am »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2017, 09:56:29 am »
0


ยถาภูตญาณทัศนะ
การมองเห็นตามความเป็นจริง

    พระพุทธดำรัส “สมาธึ ภิกขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ”
ภิกษุทั้งหลาย เธอจงยังสมาธิให้เกิดเถิด ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง

ยถาภูตญาณ ความรู้ความเป็นจริง, รู้ตามที่มันเป็น

ยถาภูตญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง

ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๘ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๐
สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค
สมาธิสูตร

            [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง

          รู้อะไรตามความเป็นจริง
          รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง
          รู้ตามความเป็นจริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง
          รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยง
          รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่เที่ยง
          รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
          ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ

          รู้ตามความเป็นจริงว่า ใจไม่เที่ยง
          รู้ตามความเป็นจริงว่า ธรรมารมณ์ทั้งหลายไม่เที่ยง
          รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนวิญญาณไม่เที่ยง
          รู้ตามความเป็นจริงว่า มโนสัมผัสไม่เที่ยง
          รู้ตามความเป็นจริงว่าสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา
          ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยไม่เที่ยง

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเจริญสมาธิเถิด
     ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุ ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ฯ

     จบสูตรที่ ๖
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: สิงหาคม 17, 2017, 05:46:44 pm »
0
 :25: :25: :25: thk56  กราบนมัสการ  สาธุ สาธุ ค่ะ
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560 ( อาทีนวกถา )
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2017, 10:28:03 am »
0
ทานกถา สีลกถา สัคคกถา ได้กล่าวมาพอสมควร
ช่วงนี้จะเป็นช่วงของการกล่าวแสดง เรื่องของ อาทีนวกถา ( โทษแห่งกามคุณ และโทษแห่งการเวียนว่ายตายเกิด )
ผู้ที่เหมาะแก่การ ฟังอ่านตรงนี้ ต้องมีมากกว่า คำว่า ศรัทธา
คุณสมบัติอะไรที่ต้องการ สำหรับ อาทีนวกถา
คุณสมบัติที่ต้องการ คือ
๑.เชื่อกฏแห่งกรรม เชื่อ เรื่องกรรม
๒ ตั้งมั่นในการภาวนาแล้ว
๓.ได้นิมิต สมาธิ
๔. มีความปรารถนานิพพาน ในชาตนี้
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
กามคุณ เกิดขึ้นได้ ๕ ทาง มีที่เสพทางเดียว
ตา กระทบ รูป ใจเป็นผู้เสพ
หู กระทบ เสียง ใจเป็นผู้เสพ
จมูก กระทบ กลิ่น ใจเป็นผู้เสพ
ลิ้น กระทบ รส ใจเป็นผู้เสพ
กาย กระทบ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ใจเป็นผู้เสพ
ผลของการเสพ ก็คือ ความพอใจ ( ยินดี นิฏฐารมณ์ ) ความไม่พอใจ ( ไม่ยินดี อนิฏฐารมณ์ ) ความเฉย ๆ ( อุเบกขา )
ดังนั้นเวทนา ที่เกิด ในสมาธิ มี 6 ตัว
๑ สุข
๒ ทุกข์
๓ อทุกขมสุข
สามตัวแรกมีอยู่ทั่วไป
๔ โสมนัส
๕ โทมนัส
๖ อุเบกขา
สามตัวหลัง มีอยู่ด้วย การสัมปยุตธรรม
อะไรเป็นเหตุ กิเลส
อะไรเป็นแป กรรม
อะไรเป็นที่สุด วิบาก
กิเลส กรรม วิบาก สามอันนี้คือ วัฏฏะสงสาร เมื่อขยายไปใน สมาธิ ก็จะแตกออกเป็น ๑๒ ประการเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท
ท่าน โปฏฐิละ ไปเรียนกรรมฐาน กับ สามเณร ผู้เป็นศิษย์ เพราะละอายใจ ต่อ พระพุทธเจ้า ว่าสอนศิษย์เป็นพระอรหันต์ จำนวนมาก แต่ตนไม่ได้คุณธรรม จึงถึงความละอายใจ ไปขอเรียนกรรมฐาน กับศิษย์ แต่ไม่มีใครรับสอนเหลือ เพียงสามเณรอรหันต์รูปเดียว ที่เป็นศิษย์ สามเณร พิจารณาว่า หากตนเองปฏิเสธอีก อาจารย์จักไม่ถึงคุณธรรม จึงรับปากสอน กรรมฐาน
กรรมฐานที่ สามเณรสอน ก็คือ ให้อาจารย์ไปจับ ตัวตะกวด ที่จอมปลวก ท่านโปฏฐิละ ก็พยายามจับแต่จับไม่ได้ เพราะจอมปลวก มีรูเข้าออก อยู่ หกทางด้วยกัน
สามเณรจึงบอกใบ้ว่า ให้ พอจ อุดรทั้ง 5 ทางเสีย แล้วรอจับแค่ทางเดียว ท่านโปฏฐิละจึงเข้าใจในกลวิธีของกรรมฐาน ปฏิบัติไม่ช้าไม่นาน ก็สำเร็จ คุณธรรม เช่นกัน
การปฏิบัติพระกรรมฐาน มุ่งหมายให้ท่านทั้งหลาย อุดรูแห่งการคุณทั้งห้า ลงเสียก่อน เพื่อให้จิต พ้นจากพอใจ และ ความไม่พอใจ พ้นจากความฟุ้งซ่าน และ มานั่งเฝ้าระวังใจ ไม่ให้ พอใจ และ ไม่พอใจ นั่นคือ กลอุบายในกรรมฐาน
พอท่านทั้งหลาย เข้ามาปิดตา ปิดหู ปิดปาก ด้วยการสำรวมจิต ลงใน พุทโธ พุทโธ พุทโธ บ้าง ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก บ้าง นิมิตสมาธิบ้าง จิตของท่านจึงรู้ถึงความแปรปรวน ในภายในที่อดีต เป็นภาพขึ้นมา ที่เป็นปัจจุบัน เป็นภาพขึ้นมา ที่เป็นอนาคต เป็นภาพขึ้นมา เมื่อภาพเหล่านี้ปรากฏ ต้องรู้จักควบคุม ภาพเหล่านี้ก็คือ นิมิต แต่เพราะไม่รู้จักควบคุม จิตไหลไปตามภาพเหล่านั้น จึงถึงความฟุ้งซ่านในภายใน เพราะไม่มีกรรมฐาน ควบคุม เปิดติด แต่คุมไม่ได้ ดังนั้นจะบอกว่า นิมิตสมาธิ ไม่มีไม่ใช่ มีแล้วแต่มันกลายเป็นความฟุ้งซ่าน ไปก่อนเพราะไม่อยู่กับการโคจรกรรมฐาน นั่นเอง ภาพ สมาธินิมิต ก็เกิดจากจิตรับเอา ปัจจุบัน เป็นอารมณ์ ที่เรียกว่า อุคคหนิมิต ถือเอาภาพนิมิตปัจจุบันเป็นอารมณ์ ที่นี้บางท่านก็ได้ภาพแล้ว แต่ไม่สามารถควบคุมภาพได้ ก็ตกนิวรณ์เช่นกัน การควบคุมอยู่ที่ บริกรรมวิจาร คือการพิจารณาสังเกตในขณะบริกรรม ว่า มีภาพอย่างไร เปลี่ยนอย่างได้ เกิดอย่างไร ดับอย่างไร ต้องเรียนรู้ ด้วย บริกรรมวิจาร หลายท่านส่วนใหญ่ ยังไม่ได้ทำพิจารณา บริกรรมวิจาร พอภาพเกิดจิตหยุดนิ่ง ก็ได้ปีติ จิตก็โลดไปตามปีติ และไปแช่อยู่ที่ ปีติ อย่างเดียว เข้าใจว่า ปีติคือ สุข และเข้าใจว่า สุขนั้น คือ สมาธิ ก็หลงอยู่ตรงนั้น ไม่สามารถไปสู่ ปฐมฌาน และ ฌาน อื่น ๆ ได้
การเรียนรู้บริกรรมวิจาร ต้องทำอนุโลม ต้องทำปฏิโลม ถ้าไม่หัดทำอนุโลม ปฏิโลม เวลาเข้าปฏิจจสมุปบาท จักทำตามขั้นตอนไม่ได้เลย ดังนั้นซ้ำอยู่กับ ที่ ๑ -๒๐ ปีก็ไม่สาย เพราะถ้าได้แล้ว เป็นบารมีติตตัว เกิดใหม่ก็มีติตตัว ตายไปก็เป็นพรหม ไม่ตกอบาย ถึงแม้ยังไม่สำเร็จเป็น พระโสดาบัน ก็มี รูปพรหม ๑๐ ชั้นรองรับ
ตา กระทบ กับ รูป ใจเสพ ก็พอใจ ไม่พอใจ
ถ้าทรงกรรมฐาน ตา กระทบกับ รูป ใจไม่เสพ ก็พ้นจากความพอใจ และไม่พอใจ
ใจที่เสพการคุณอยู่ ไม่สามารถเจริญ วิปัสสนา
ส่วนใจที่ไม่เสพเป็นกลางอยู่ ย่อมสามารถ เจริญวิปัสสนา
ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน ในการทุกเมื่อเทอญ
เจริญธรรม / เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 23, 2017, 10:30:04 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


กรรมฐาน อะไร ที่เป็นคู่ปรับ กับ กามคุณทั้ง ๕
ตอบ พุทธานุสสติ ธาตุกรรมฐาน และ กายคตาสติ เป็นกรรมฐานคู่ปรับ ของ กามคุณ ทั้ง ๕ โดยตรง
ส่วน อสุภกรรมฐาน พระพุทธเจ้าไม่ให้สอนถ้าไม่อยู่ในการควบคุม คนที่ฝึก อสุภกรรมฐาน โดยที่ไม่มีครูอาจารย์ ส่วนมากจะเป็นโรคจิต ชมชอบการดูศพจับต้องศพ หมักดองศพไว้เฉพาะตน หรือเก็บสะสมอวัยวะศพ หรือ แสวงหา ฆาตกรรม ได้ อันนี้มีโทษแสดงมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล แล้ว ว่าภิกษุ ๕๐๐ รูป ล้วนแล้ว แต่ทำอัตวินิบาตกรรม ฆ่ากันเองบ้าง ให้ผู้อื่นฆ่าบ้าง เพราะปฏิบัติ อสุภกรรมฐาน
ดังนั้น อสุภกรรมฐาน ต้องอยู่ในการควบคุม ของครูอาจารย์ มิใช่ปฏิบัติด้วยตนเอง ได้ เพราะมีเรื่องหมิ่นเหม่ ทางด้านกฏหมาย และ วินัยสงฆ์ ถึงขึ้นขาดจากความเป็นพระ ด้วย มี ตัวอย่างมากมาย แต่ให้ท่านทั้งหลาย ที่เป็นศิษย์สายกัจจายนะ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ มัชฌิมา แบบลำดับ ทั้งหมดรับทราบว่า อสุภกรรมฐาน จักสอนได้ ต้องมีปฐมฌาน แล้ว เท่านั้นจึงจักสอน เพราะเอือ้ประโยชน์ ในการเดินทางของ พระธุดงค์ในสมัยก่อน เป็นอย่างมาก แต่สมัยปัจจุบันไม่มีความจำเป็นมากนัก
สรุป อสุภกรรมฐานไม่ถ่ายทอดแก่บุคคลที่ไม่มีปฐมฌาน
คู่ปรับของกามคุณ ๕ จึงใช้ พุทธานุสสติกรรมฐาน ในระดับ มัชฌิมา ปฏิปัตตา ที่มีธาตุกรรมฐาน ( กายคตาสติ ) ควบคู่ไปด้วย นั่นเอง ถ้าผู้ใดฝึก มัชฌิมา ปฏิปัตตา ด้วยพุทธานุสสติ อยู่ก็ชื่อว่า ปฏิบัติ กรรมฐาน ๒ กองกรรมฐาน คือ พุทธานุสสติ และ กายคตาสติ ในตัว
ขอให้ท่านทั้งหลาย จงมั่นคง ในกองกรรมฐาน อย่าได้มีใจรวนเร จงฝึกกองกรรมฐาน เพื่อให้เข้าถึง พระลักษณะ พระรัศมี จงหมั่นฝึกฝน การเข้าวัด ออกวัด ( อนุโลม ปฏิโลม ) ให้มากขึ้น กรรมฐานต้องการ ความแคล่วคล่อง ( วสี ) ไปด้วย เรียกว่า ความฉลาดในการ โคจรสมาธิ
การโคจรสมาธิ มีผลมาก มีอานิสงค์ มาก อย่าได้แคลนว่า หายใจเข้า หายใจออก ระลึกรู้แค่ วินาที เดียว หรือ สองสามวินาที ไม่มีประโยชน์ แค่เพียงท่านเดินโคจรสมาธิ แม้เพียง ชั่วช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น ก็ชือ่ว่า ประเสริฐแล้วในขณะนั้น ดังนั้นความประเสริฐเล็กน้อยนี้ ให้ทำสะสมให้มากขึ้นเป็น อนันตจักรวาล ไป จะยิ่งดีขึ้นมาก ๆ
การไม่ฝึกโคจร สมาธิ ย่อมไม่สามารถ ทรง สมาธิ ได้ทุกขณะ
การฝึกโคจร ในสมาธิ ย่อมทำสมาธิ ให้ตั้งมั่นมากยิ่งขึ้น
เจริญพร
๖. โคจรสูตร
ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในโคจรในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
[๕๙๐] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ฌาน ๔ จำพวกนี้. ๔ จำพวกเป็นไฉน?
คือ
ผู้ได้ฌานบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ๑.
บางคนฉลาดในโคจรในสมาธิ แต่ไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ ๑.
บางคนไม่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิ และไม่ฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑.
บางคนฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในโคจรในสมาธิ ๑.
ใน ๔ จำพวกนั้น ผู้ที่ได้ฌานฉลาดในการตั้งจิตมั่นในสมาธิและฉลาดในโคจรในสมาธิ.
นับว่าเป็นผู้เลิศ ประเสริฐที่สุด เป็นประธาน สูงสุด และดีกว่าผู้ได้
ฌานทั้ง ๔ จำพวกนั้น เปรียบเหมือนนมสดเกิดจากแม่โค นมส้มเกิดจากนมสด ฯลฯ
จบ สูตรที่ ๖.
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๖๗๘๙ - ๖๗๙๘. หน้าที่ ๓๐๒ - ๓๐๓.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2017, 10:03:30 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: สิงหาคม 23, 2017, 09:01:08 pm »
0
สาธุ สาธุ

ขออนุโมทนาสาธุ

เข้าใจดีนักแล
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560 สัปดาห์ที่ ๗
« ตอบกลับ #28 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2017, 09:52:03 am »
0


ถาม ทำไม เวลาไม่สบายใจ กับฝึกกรรมฐาน ไม่ได้คะ
ตอบ เวลา ทุกข์ เกิดจึงจะมาฝึกจิต ถ้าคิดอย่างนี้ ไม่เข้าใจวิถีธรรม
เวลา ทุกข์ เป็นยามที่คนเราแสวงหาความสุข อยู่แล้ว และต้องการละจากทุกข์ ดังนั้นเวลามีทุกข์นั้น คนส่วนใหญ่ จะเห็นธรรม แม้ไม่สอนก็มองเห็นธรรม เพราะความทุกข์บีบคั้น
เวลา สุข ต่างหากที่ต้อง ฝึกธรรมะ ภาวนา เวลานี้เท่านั้น ที่ควรจะต้องภาวนาให้มากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในสมาธิ ไม่ได้อาศัย ความทุกข์ เลยในการเข้าสมาธิ และ ความทุกข์ ก็ไม่ได้เป็นผล ในสมาธิ แต่ให้สุขเป็นผล เรียกว่า สุขสมาธิ
เวลา คนมีความทุกข์ นึกพุทโธ ไม่ได้ กำลังไม่พอ ต้องกลับไปเจริญสติ ให้ตั้งมั่นในกุศล นั่นคือย้อนรอยกลับไปที่ สัมมาสติ
ผู้ใด มีความสุขอยู่ เข้าสมาธิ ก็ทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยาก เพราะไม่มีความทุกข์นั่นเอง อันนี้หมายถึง ทุกข์ทางจิต ต้องไม่มี
ฉะนั้นผู้ใด มีทุกข์ทางจิตอยู่ก็ให้ไปเจริญสติ ก่อน ให้อารมณ์ทุกข์ หมดลงก่อน แล้วมาภาวนา สุขสมาธิ อันนี้จึงจะควร
เจริญพร

วิธีฝึกจิต แบบ เริ่มต้น ก็คือการเจริญ สติ

การเจริญสติ ก็คือ การทำจิตให้ระลึกรู้ตาม ใน 19 อิริยาบถ

สติสัปชัญญะ การประกอบสติด้วยการรู้สึกตัว ใน 19 อิริยาบถย่อย
1.ก้าวไป 2. ถอยกลับ 3. แลดู 4. เหลียวดู(หัน) 5. คู้เข้า ( ตึง) 6. เหยียดออก ( ผ่อน ) 7.นุ่งห่ม 8. กิน 9.ดื่ม 10. เคี้ยว 11. ลิ้ม 12.ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ 13.เดิน 14. ยืน 15.นั่ง 16.นอน 17. ตื่น 18.พูด 19.นิ่ง

ระลึกรู้ ไม่ใช่ตัวอิริยาบถ ก้าวไป ไม่ต้องไปรู้ว่า ก้าวไป อย่างนี้ไม่ใช่การระลึกรู้ การภาวนา ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ตรงนี้

แต่การระลึกรู้หมายถึงขณะที่ก้าวไป เจริญธรรมที่เข้าไปกำหนด ได้ว่า การก้าวไป เกิดขึ้น การก้าวไป ตั้งอยู่ การก้าวไป ดับไป และวิบากกุศลกลับมาเป็น ญาณสติ ว่า การก้าวไป ก็เป็นธรรมดา

คำว่า ธรรมดา หมายถึง การก้าวไป มีความเกิดตั้งอยู่ เสื่อมไปเป็นธรรมดา จิตเห็นอย่างนี้ก็ละความยึดมั่นถือมั่นในขณะก้าวไป เป็นก้าวไป ที่ประกอบด้วยสติ ว่างจากเรา ว่างจากของเรา ว่างจากตัวจากตนของเรา ดังนี้ อันนี้จึงถูกต้อง

ถ้าทำอย่างนี้ การกำหนดอิริยาบถ ก็จักได้ คุณธรรม ขั้นต่ำเป็นพระโสดาบัน แต่ถ้ามัวแต่ไปกำหนด เพียงแต่รูป อิริยาบถ เท่านั้น ความรู้แจ้งจักเกิดไม่ได้ หรือ เกิดได้ช้ามาก เพราะว่า เป็นโมหะ ตามเพียงรูปภายนอก เท่านั้น

เจริญพร

ถาม ขอหลักภาวนา ง่าย ๆ ด้วยครับ
ตอบ การสำรวมระวัง อินทรีย์ ก็ชื่อว่าปฏิบัติ ธรรมแล้ว เป็นทั้ง สมถะ เป็นทั้ง วิปัสสนา
ถ้าใครถามฉันว่า จะเริ่มปฏิบัติธรรมเมื่อไหร่ ก็ต้องบอกว่า เพียงท่านเริ่มสำรวมระวัง อินทรีย์ ทั้ง 6 ก็ชื่อว่า เหยี่ยบเท้าเข้าสู่ มรรค แล้ว นั่นเอง ไม่ต้องรอวันพรุ่งนี้ หรือ เวลาไหน ?
ตา มองเห็น รูป สำรวมระวังในรูป สักว่า นั่นคือ รูป ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในรูป ว่าสวย ว่าไม่สวย ไม่สวย ไม่ถือเอารูปที่เห็นมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
หู ฟัง เสียง สำรวมระวังใน เสียง สักว่า นั่นคือ เสียง ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในรูป ว่าไพเราะ ว่าไม่ไพเราะ ไม่ถือเอาเสียงที่ฟังมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
จมูก ดม กลิ่น สำรวมระวังใน กลิ่น สักว่า นั่นคือ กลิ่น ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในกลิ่น ว่าดี ว่าไม่ดี ไม่ถือเอากลิ่นที่ดมมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
ลิ้น รับ รส สำรวมระวังใน รส สักว่า นั่นคือ รส ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในรส ว่าอร่วย ว่าไมอร่อย ไม่ถือเอารสที่รับมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
กาย กระทบ โผฏฐัพผะ สำรวมระวังใน โผฏฐัพผะ สักว่า นั่นคือ โผฏฐัพพะ ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในโผฏฐัพผะ ว่าดี ว่าไม่ดี ไม่ถือเอาโผฏฐัพผะที่กระทบมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
ใจ กระทบ อารมณ์ สำรวมระวังใน อารมณ์ สักว่า นั่นคือ อารมณ์ ระงับอภิชาฌาโทนัส
( ความเพ่งเล็งในอารมณ์ ว่าพอใจ ว่าไม่พอใจ ไม่ถือเอาอารมณ์ที่กระทบมาเป็นอารมณ์ ระวังสำรวม ไม่ยินดี หรือ ยินร้าย )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2017, 10:01:55 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ถาม การฝึกสติ ไปสู่สัมปชัญญะ เป็นสมาธิได้อย่างไร
ตอบ สัมปปชัญญะ หมายถึงการตื่นรู้ ไม่ได้มีญาณใด ๆ แต่เป็นการรู้ขณะนั้น ว่า ทำอะไรอยู่เท่านั้น พระพุทธเจ้าสรุปไว้ 19 อย่าง
1.ก้าวไป 2. ถอยกลับ 3. แลดู 4. เหลียวดู(หัน) 5. คู้เข้า ( ตึง) 6. เหยียดออก ( ผ่อน ) 7.นุ่งห่ม 8. กิน 9.ดื่ม 10. เคี้ยว 11. ลิ้ม 12.ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ 13.เดิน 14. ยืน 15.นั่ง 16.นอน 17. ตื่น 18.พูด 19.นิ่ง
ซึ่งทั้งหมดนั้น เป็นสภาวะสอดคล้องในชีวิตประจำวัน ลำดับก่อนหลัง ก็คือ 1 - 18 นั้น มีเกิดขึ้นก่อนหลังได้ แต่ อันดับที่ 19 เป็นอันดับสุดท้าย และ ก่อน เสมอ คือปิดหัว ปิดท้าย ถ้าเป็นสุดท้าย ก็เตรียมเป็นการเจริญจิตเป็นสมาธิ ถ้าเป็นอันดับก่อน ก็จะเป็นการเจริญจิตเป็นสติ
ความต่างก็ตรงนี้เท่านั้น เพราะถ้า ตุณฺหีภาเว ( การนิ่ง ) มีก่อน ก็จะนำไปสู่ อิริยาบถ ต้องดำเนินวิถีธรรมด้วย สติ
แต่ ถ้า ตุณฺหีภาเว จบท้ายของการ อิริยาบถ หมายความว่าป็นการเข้าสู่สภาวะ สมาธิ
เห็นไหม ว่า จบ ลง ตรงจุดเดียว ไปต่อ หรือ หยุด มันทำให้รู้ว่า จะเป็น สติ หรือ สมาธิ
ถ้าเป็น สติ ก็ทำให้เกิด สัมปชัญญะ ( การตื่นรู้ตัว )
ถ้าเป็น สมาธิ ก็ทำให้เกิด ยถาภูตญาณทัศศนะ ( รู้แจ้งเห็นตามความจริง )
คุณสมบัติทั้งสองประการจึงไม่เหมือนกัน แต่ นับเนื่องซึ่งกันและ ตรง ตุณฺหีภาเว ( นิ่ง ) เท่านั้น
เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 24, 2017, 10:02:38 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #30 เมื่อ: สิงหาคม 24, 2017, 08:53:01 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560 สัปดาห์ที่ ๘
« ตอบกลับ #31 เมื่อ: สิงหาคม 28, 2017, 11:54:09 am »
0


ในสายกรรมฐาน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ เรียนอุเบกขา 10 ประการนี้

1. ฉฬงฺคุเปกขา อุเบกขาประกอบด้วย องค์ 6
    เมื่อภิกษุเจริญภาวนา ด้วยดำนาจสติ ไปใน อายตนะ 12 ประการ จับคู่แล้ววางเฉยได้ ใน อายตนะ ทั้ง 6 ส่วน

2. พฺรหฺมวิหารุเปกฺขา อุเบกขาในพรหมวิหาร
    เมื่อภิกษุเจริญภาวนา อุเบกขาอัปปมัญญา ว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของ ๆ ตน ย่อมประสบสุข และ ทุกข์ ด้วยผลของกรรมของตน และวางเฉยด้วยอำนาจ จตุตถุฌานอันประกอบด้วย อุเบกขาอัปปมัญญา

3. โพชฺฌงฺคุเปกฺขา อุเบกขาในโพชฌงค์
     เมื่อพระอริยะตั้งแต่พระโสดาบัน เขา เจริญโพชฌงค์ เป็น ผลสมาบัติ

4. วิริยุเปกฺขา อุเบกขา คือ วิริยะ
     เมื่อพระอริยะตั้งแต่พระโสดาบัน เข้าเจริญ วิริยะโพชฌงค์และ วางเฉยในที่สุด เป็นท่ามกลางของโพชฌงค์

5. สงฺขารุเปกขา อุเบกขาในสังขาร
     เมื่อพระโยคาวจร เข้าเจริญวิปัสสนาญาณ แล้ววางเฉย ต่อสังขาร ที่ประสบด้วย เวทนา มีทุกข์เป็นต้น เป็นท่ามกลางของ วิปัสสนา

6. เวทนูเปกฺขา อุเบกขาในเวทนา
     เมื่อพระโยคาวจร วางเฉยด้วย สังขารุเปกชาญาณ ครบทั้ง 5 ส่วนคือ ทุกข์ สุข อทุกขมสุข โสมนัส โทมนัส มีที่สุด คือ อุเบกขา

7. วิปสฺสนูเปกขา อุเบกขาในวิปัสสนา
     เมื่อพระโยคาวจร เข้า เข้าถึง เวทนูเปกขา ในที่สุด

8. ตตฺรมชูฌตฺตุเปกขา อุเบกขาในเจตสิก หรืออุเบกขา ที่ยังธรรมทั้งหลาย ที่เกิดพร้อมกันให้เป็นไปเสมอกัน
    เมื่อพระโยคาวจร เข้ารวม มรรคสมังคี ใน โคตรภูญาณ

9. ฌานุเปกฺขา อุเบกขาในฌาน
    เมื่อพระโยคาวจร เข้าถึง ปัญญจมฌาณ

10. ปาริสุทฺธุเปกฺขา อุเบกขาบริสุทธิ์จากข้าศึก
    เมื่อพระโยคาวจร ถึงที่สุดแห่งปัญจมฌาน อันประกอบด้วย วิปัสสนา
( หนังสือ วิสุทธิมรรค 1 / 84 - 89 / 473 - 179 )

ธรรมะสาระวันนี้ "พึงพอกพูน อุเบกขา เพื่อการภาวนาที่สมบูรณ์"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7665.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 28, 2017, 11:55:58 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #32 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2017, 09:54:47 am »
0
ผู้ที่ได้ นิมิต มีสมาธิ บ้างแล้ว ระดับกลาง พึ่งพอกพูน วสี ทั้ง ๕ ไว้ให้บ่อยขึ้น ความสามารถใน สมาธิ ก็คือ โคจรสมาธิ ถ้าได้สมาธิ แล้ว ไม่ฝึกโคจร สมาธิ ก็จักเสื่อม ฌาน ได้ แล้ว ก็เสื่อมลงได้ ถ้าจะไม่ให้เสื่อม ก็ต้อง บรรลุเป็นพระอริยะ เท่านั้น ถึงจะไม่เสื่อม ดังนั้น คนมีสมาธิ บางครั้งได้สมาธิ แล้ว เสื่อม ตอนที่เสื่อม อารมณ์จะเป็นทุกข์ มากยิ่งกว่า คนรักตายจากเสียอีก เมื่อก่อน พอจ ไม่เข้าใจ ก็สงสัยว่า ทำไม พระสมัยก่อน ได้ฌาน พอเสื่อม ฌาน กันแล้ว ก็ฆ่าตัวตายบ้าง หรือ ร้องห่มร้องไห้ เป็นทุกข์กันหลายวัน ครั้นพอตนเอง มาได้ และเสื่อมลง จึงเห็นความทุกข์นั้นเป็นอย่างมาก แต่ในเมื่อมันเสื่อมได้ ก็ต้องทำให้มีขึ้นมาใหม่ได้เช่นกัน ดังนั้น การโคจรสมาธิ มีความสำคัญ คนที่ปฏิบัติ ไม่มีขั้นตอน จะลำบากเพราะ ฌาน สมาธิ นั้นเสื่อมลง จะหาวิธีการเรียกที่เสื่อมลงนั้นกลับมาได้ยากกว่า การมีขั้นตอน
ดังนั้น วสี ทั้ง ๕ นี้ ถึงแม้จะยังไม่สำเร็จสมาธิ ก็ต้องฝึกฝนไปด้วยกัน
๑. อาวัชชนวสี ความชำนาญในการนึกขั้นตอน และ อารมณ์แห่งสมาธิ อันตนได้แล้ว จะมาก จะน้อย ย่อมนึกขึ้นได้ รู้ว่า อะไรเป็น วิตก อะไร เป็นวิจาร อะไรเป็น ปีติ อะไรเป็นสุข อะไรเป็น เอกัคตา
๒. สมาปัชชนวสี ความชำนาญในการเข้า สมาธิ ตามขั้นตอน
๓.อธิษฐานวสี ความชำนาญในการอธิษฐาน ในสมาธิ
กำกับขั้นตอนเพื่อให้สมาธิ มีการงานต่อเนื่อง ไปสู่วิปัสสนา
๔.วุฎฐานวสี ความชำนาญในการออกจากสมาธิ ตามขั้นตอน เมื่อคลายจากสมาธิ ก็ได้ผลแห่งสมาธิ ไม่ติดในอารมณ์ องค์แห่งสมาธิ จิตปลอดโปร่ง แจ่มใส ด้วยอำนาจ สมาธิ
๕.ปัจจเวกขณวสี ความชำนาญในการนึกหน่วง ในสุขสมาธิ และ เอกัคตาสมาธิ หมายเฉพาะสองอันนี้ การนึกหน่วงด้วยการการพิจารณา สุข และ เอกัคตารมณ์ จะทำให้ได้ อุเบกขาสมาธิ จัดเป็น ปริสุทธุเปกขา ในยามออกจากสมาธิ ปัจจเวกขณวสี เป็นการตรวจสอบข้อผิดพลาดด้วย ไม่ได้หมายถึงการเข้าพิจารณา ในสมาธิ เพราะการพิจารณาในสมาธิ เป็น อธิษฐานวสี
ขอให้ท่านทั้งหลาย จงหมั่นทบทวน อำนาจสมาธิ ที่ตนเองมีขึ้นไม่ว่า จะมากจะน้อย ก็ควรจะต้อง ทำปัจจเวกขณวสี ไม่ใช่ เที่ยวพูดอยู่แต่ว่า ฉันไม่ได้สมาธิ แท้ที่จริง ทำน้อยก็ได้น้อย ทำมากก็ได้มาก อำนาจสมาธิมีทุกคน ได้ทุกคนที่ทำ จะมากจะน้อย ขึ้นอยู่ที่ความขยันการฝึก
สังเกตให้ดีว่า เดี่ยวนี้จิต เราตั้งมั่น กว่าเมื่อก่อน ขึ้นใช่หรือไม่ นั่นเป็นเพราะผลแห่งสมาธิ ที่ได้จะมากหรือน้อย มันก็ได้อยู่ ไม่ใช่ไม่ได้
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #33 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2017, 09:07:23 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #34 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2017, 10:00:27 am »
0
24 ชม ของ พอจ กับ ศิษย์ ผู้อุปถัมภ์ เท่ากัน หรือ ไม่เท่ากัน
ถ้าตอบทฤษฏี แล้ว เท่ากัน
ถ้าตอบเรื่อง สุขสมาธิ แล้ว ไม่เท่ากัน ในสุขสมาธิ มีเวลากำหนดไม่ได้ เรื่องราวบางเรื่องใช้เวลารู้ ถึง 200 - 300 ปี แต่ในสมาธิ ยาวนานมาก แต่ ในชีวิตจริงแล้ว อาจจะแค่ 10 นาที เท่านั้น นั่นก็คืออำนาจจิต ที่ได้ในสมาธิ
พระพุทธเจ้า ระลึกรู้ชาติของพระองค์ ในยามที่ หนึ่ง เก้า แสนอสงไขยชาติ ใช้ระลึกรู้ที่ละชาต ในขณะบำเพ็ญเพียร เป็นโพธิสัตว์ ใช้เวลาเพียง 2 ชมกว่า ๆ เท่านั้น
ดังนั้น ในสุขสมาธิ เวลายาวนานมากกว่า ผู้ใดได้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกชาตได้ ก็จะเข้าใจ ในนั้นเวลาไม่มี ไม่มีความแก่ ความเจ็บ และความตาย อย่างในโลกปัจจุบัน
ข้อห้าม การไป เทวโลก ด้วย กายหยาบ จึงมีคำสอนจากครูอาจารย์ ไว้เสมอ ๆ ว่าไม่ควรอธิษฐานกายหยาบ ไป เทวโลก เพราะกายหยาบ นั้น จะผันเวลาโลกมนุษย์ได้ ผู้ที่จะนำกายหยาบไปเทวโลก มีเพียงแต่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ผู้มีมหาอภิญญา เท่านั้น จึงจักทำได้
ดังนั้นการไปเทวโลก สมควรไปด้วย กายทิพย์
กายทิพย์ นั้น มีสภาพเป็น โอปปาติกะ แบบเชื่อมกายหยาบ ถ้ากายทิพย์ กระเทือน กายหยาบ ก็กระเทือนเช่นกัน ถ้ากายหยาบ กระเทือน กายทิพย์ก็กระเทือนเช่นกัน เป็น สิ่งที่ผูกกัน มีอยู่เกื้อกูลกันทั้งสองกาย
การเดินทางด้วยกายทิพย์ เหมือน การนอนหลับฝันเพียงแต่ผู้ถอดกายทิพย์ ถอดออกด้วยอำนาจสมาธิ มีสติสัมปชัญญะ ไปสู่เป้าหมายปลายทางได้ดั่งใจ
การนอนหลับฝัน เป็นกายถอดกายหยาบ ออกไปเป็นบางครั้ง ดังนั้น ผู้ฝันจึงไม่มีสติ บางครั้งก็รู้ บางครั้งก็ไม่รู้ หลายคนจึงมีความรู้สึกว่า เหมือนผ่านเหตุการณ์ นั้นมา เหมือนไปที่นั้นมา เหมือนรู้จักคนนั้น เพราะกายหยาบ เกิดจากการพักของ สังขาร จึงทำให้เข้าสู่สภาวะหลับ เป็น ขณิกะสมาธิ ขั้นละเอียด
คนที่ชอบการนอนก็เพราะว่า การนอนนั้นได้สุขสมาธิ อ่อนจากกายหยาบ จึงชมชอบการนอน และนอนมากขึ้น เพราะเหตุนั้น เพราะได้สุขอ่อน ๆ นั่นเอง
เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #35 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2017, 10:00:52 am »
0
เมื่อพระพุทธเจ้า ตรัสถาม พระปัญจวัคคีย์ ทั้งห้า ว่า
( พ = พระพุทธเจ้า ป = ภิกษุปัญจวัคคีย์ )
ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
พ = ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
รูปัง นิจจัง วา อนิจจัง วา ติ
รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
อนิจจัง ภันเต
ป = ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
พ = สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ทุกขัง ภันเต
ป = เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง
พ = สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
วิปะริณา มะธัมมัง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง
พ = ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
โน เหตัง ภันเต
ป = หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า
ความสุข ก็ไม่เที่ยง
ความทุกข์ ก็ไม่เที่ยง
ดังนั้น เวลา มีความสุข ก็พึงตั้งสุขนั้น และ ภาวนาให้มากเวลามีความสุข
ส่วนเวลา มีความทุกข์ ก็เป็นช่วงที่ท่านทั้งหลายพึงต้องตระหนัก หลักธรรม เพื่อบรรเทาใจ ให้มากขึ้น จิตจะได้เข้มแข็ง
เวลาได้ดวงตาเห็นธรรม ไม่ใช่เวลาในยามทุกข์
แต่เป็นเวลาที่ ทุกข์ นั้นจางคลายลงไปเพราะเห็นตามความเป็นจริง จนสุขด้วยทิฏฐิ เกิดขึ้นมองเห็น ตามความเป็นจริง ว่า
รูป ไม่เที่ยง
เวทนา ไม่เที่ยง
สัญญา ไม่เที่ยง
สังขาร ไม่เที่ยง
วิญญาณ ไม่เที่ยง
รูป เป็น อนัตตา
เวทนา เป็นอนัตตา
สัญญา เป็นอนัตตา
สังขาร เป็นอนัตตา
วิญญาณ เป็นอนัตตา
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์
ผู้มีปัญญา ได้ดวงตาเห็นธรรม ย่อมมองเห็นตามความเป็นจริง ว่า
สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา
ใช้ชีวิตให้เป็น ท่านที่ต้องการพ้นจากสังสารวัฏ ก็อย่ามัวแต่เพลิดเพลินในสังสารวัฏกันเลย
ส่วนท่านใดยังปรารถนา โลดแล่นในสังสารวัฏ ก็ควรใช้เวลาช่วงนี้ เตรียมเสบียง ไว้เดินทางเถิด หนทางข้างหน้า ยังมีอุปสรรคมากมาย รอผู้เดินทาง การเตรียมตัว ที่ดี ย่อมทำให้เดินทางได้สะดวก
ที่มันจนก็เพราะไม่รู้จักเตรียมตัวเดินทาง เกิดใหม่ก็ต้องจน
ที่มันลำบาก ก็เพราะไม่สร้างบารมี เดินทางใหม่ ก็ลำบากอัตคัต
กรรมกุศลไม่สร้าง ชีวิตใหม่ ก็จะอัตคัตไปตามสัดส่วน
ผู้ใดเห็นความลำบากแล้ว พึงเหนื่อยหน่าย ในการเกิดเสีย มุ่งสู่ความไม่เกิดเถิด
ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน
เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #36 เมื่อ: สิงหาคม 30, 2017, 07:59:16 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560
« ตอบกลับ #37 เมื่อ: สิงหาคม 31, 2017, 10:14:08 am »
0
หัวข้อที่เยี่ยม ที่ติดตามอยู่ คะ

 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ปิดทองหลังพระ เข้าพรรษา พ.ศ. 2560 สัปดาห์ที่ ๙
« ตอบกลับ #38 เมื่อ: กันยายน 05, 2017, 07:28:39 am »
0


เอา เยี่ยงครู แต่อย่าเอา อย่างครู
โอวาทสำหรับท่านที่เป็นศิษย์ตรง ทุกท่าน วันนี้เป็นวันที่ สอง คืน ที่สอง ที่ พอจ เข้า เนสัชชิกธุดงค์ สมาทาน การไม่นอนเป็นเวลา 30 วันก่อนออกพรรษา สุขภาพตอนนี้ ดีมาระดับหนึ่ง แล้ว เห็นสมควรว่า ควรจะต้องรักษา จริยาวัตร ของ ครูสายกรรมฐาน ในพรรษา ไว้บ้าง ดังนั้นจึงได้สมาทาน วัตรธุดงค์นี้ โดยถือเอา สัปดาห์ที่ 9 อันเป็น สัปาดาห์ ระลึกถึง พ่อหลวง ผู้สวรรคตด้วย ประการหนึ่ง
เอา เยี่ยงครู คือ การรักษาสัจจะ จริยวัตร อันเหมาะสม รักษากุศลอันดีงามเอาไว้ สิ่งใดที่ ครูอาจารย์ ทำเป็นแบบแผนก็ต้องช่วยกันรักษาไว้ ส่งทอดกันต่อไป อันนี้เรียกว่า เอาเยี่ยงครู
แต่ อย่าเอาอย่างครู เพราะว่า ครูอาจารย์ ไม่เหมือนท่าน ระดับการฝึกฝนจิต ทางด้านกรรมฐาน ย่อมดีกว่าพวกท่าน ปณิธาน การภาวนา ก็ดีกว่าพวกท่าน เข้มแข็งกว่า และมุ่งตรงพระนิพพาน เป็นหลัก โดยไม่สนใจเรื่องโลก เท่าไหร่ นัก ดังนั้นชีวิต ของครูจึงอยู่อย่างสันโดษ อยู่ง่าย กินง่าย จะได้ตายอย่างง่ายด้วย ซึ่งการเป็นอยู่ของครูอาจารย์ ไม่ใช่วิสัยคนทั่วไป จะทำตามได้เพราะอาศัย วิเวก และ กรรมฐาน ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ มากหลายประการ โดยเฉพาะ ผลของการภาวนา ที่ได้แล้ว เป็น วิหารธรรม ดังนั้นชีวิตการเป็นอยู่ของครูอาจารย์ แม้จะอัตคัตขัดสน มีคนเบียดเบียน หลากรูปหลายแบบ ครูอาจารย์ ก็อยู่ได้ โดยที่ไม่ได้ ทำร้ายใคร เลย ซึ่งไม่ใช่วิสัยคนทั่วไป จะมาอดทนอยู่อย่างนี้ได้ แม้การอยู่กับที่ไม่ไปไหนเลย ในพื้นที่จำกัด เป็นระยะเวลานาน ก็ไม่ใช่เรื่องที่ใครจะทำได้ง่าย ๆ ดังนั้นชีวิตการเป็นอยู่ ของ ครูอาจารย์ นั้น จะหนักหนาสาหัส ไม่อิงกับทางโลก จึงไม่ใช่วิสัยที่ จะทำตามได้ ง่าย ดังนั้น ตรงนี้ถ้าใครยังเพลิดเพลิน กับชีวิต โลก ยังต้องการสรรเสริญ เยินยอ อยู่สุขสบาย ไม่อัตคัต ขัดสน ก็ไม่ควรจะเอาการวิเวกของครูอาจารย์ ไปทำตามให้เดือดร้อน ตนเอง
ตรงนี้จึงขอเตือนท่านทั้งหลายว่า ไม่ควรเอาอย่างฉัน เพราะว่าถ้าท่านยังต้องประคองตนอยู่ในสังคม มีหน้าที่การงาน การทำอย่างครูอาจารย์ นั้น เป็นไปไม่ได้ เพราะถ้าท่านมาทำตามเลียนแบบโดยที่ท่านไม่ได้ ถึงคุณธรรม ใด ๆ เลย ก็จะเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ตัดพ้อต่อว่า ชีวิตตนเองปล่าว ๆ
การภาวนา ต้องเลือกคุณธรรม ที่เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน ของท่านกันด้วยทำงานอยู่ จะมา ถือศีล 8 ทุกวันคงไม่ได้ ก็นาน ๆ ครั้ง สมาทานสักที ทำเงียบ ๆ ไม่ต้องไปโพทะนา ให้ใครทราบ เพราะในสังคมการทำงาน เขาจะว่าเราบ้า มากกว่า อนุโมทนา ดังนั้นต้องฉลาด
เมื่อจะภาวนา ก็บอกว่าขอสวดมนต์ นั่งสมาธิหน่อย ไม่ต้องพูดย้ำกันมากว่า จะภาวนา ๆ อย่างนี้ บางคนที่ยังมีกิเลสเขาฟังแล้วหมั่นไส้ แทนที่จะอนุโมทนา กับพูดขัดใจ ท่านกัน ทำให้จิตตกอีก ดังนั้น ภาวนาก็ทำเงียบๆ สมาทานศีล นั่งสมาธิ พูดแค่นี้พอ ไม่ต้องพูดอะไรไปให้มากนัก ที่สำคัญจัดเวลา แบ่งเวลาให้เหมาะสม ครูอาจารย์ ฟังพวกท่านบ่นมาหลายปี แล้ว ว่า ภาวนา นั่งกรรมฐาน ง่วงนอน ทำงานไม่ได้ไม่ไหว ดึก อย่างนี้ไม่ถูกต้อง ต้องแก่ไข ให้มันเหมาะสม
ผู้ภาวนาในการเข้าฌาน นั้น จำเป็นต้องออกมาสมาทาน ศีล 8 บ้าง เข้าอุโบสถ สักสองสามวัน ในที่ ๆ เหมาะสม สองเดือนสักครั้งกำลังดี ไม่ลำบากเกินไป นี่ถ้าฉันมีอาศรม คงเรียกมาสอบหลายคนแล้ว แต่นี่เพราะว่า ไม่มี จึงได้แค่ ดูฟังทางอ้อมไม่ใช่ทางตรง
ฝากทุกท่าน ทำอะไรรู้จักคิด
สิ่งใดที่ครูอาจารย์ไม่ได้สั่งให้ทำ ก็อย่าไปมัวสาระวนทำกันอยู่
ยินดีที่ศิษย์ทุกท่าน ยังทรงความดี กันเป็นส่วนใหญ่ ก็ขอให้รักษาความดีนี้ไว้ เพื่อเป็นบารมีของท่าน ในการเข้าสู่ วิถีธรรม อันเป็นมรรค ผล นิพพาน นั้นไว้
ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสวัสดี จงมีแกท่าน ในกาลทุกเมื่อ เทอญ เจริญพร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 05, 2017, 07:31:20 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม ภวังค์ คือ อะไร คะ ตก ภวังค์ บ่อย ดีหรือไม่ คะ
ตอบ ภวังค์ คือ สภาวะ จิตเข้าสู่ความเคลิบเคลิ้ม มีอาการคล้ายการหลับ กึ่งรู้สึกตัว และไม่รู้สึกตัว ( คำอธิบายอยู่ในหนังสือ หน้า 34- 37 )
ภวังค์ หมายถึง ตามความหมายง่าย ๆ
ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว หรือ ภาวะหลับลึก ( เหมือนคนไข้ ที่ถูกยานอนหลับ )
ภวังค์ ในขั้นตอนของจิต ที่ฝึก สมาธิ มีไม่กี่อย่าง แต่ ลำดับของ ภวังค์ ถูกแบ่ง ไว้ 10 ประการ โดยจะให้ความหมายแก่ท่านผู้อ่าน ที่ง่าย ที่สุด ดังนี้
1.อตีตะภวังคะ หมายถึง จิตสู่ภาวะหลับ ที่เป็นไปในอดีต
( อตีตะ + ภวังคะ )
2.ภวังคะจลนะ หมายถึง ิจิตที่พยายามเคลื่อนออกจาก ภวังค์
( ภวังคะ + จลนะ )
3.ภวังคุปัจเฉท หมายถึง จิตที่ไม่สามารถรับรู้อะไรเลยในภวังค์นั้น
( ภวังคะ + อุปัจเฉท )
4.ปัญจะทวาราวัชชนะ หมายถึง จิตที่นึก และ รู้ ด้วย มโนธาตุ ( มโนทวาราวัชชนะจิต )
( ปัญจะ + ทวารา + วัชชนะ )
จิตที่ทำกิจ นึก และ รู้ ใน ทวารทั้ง 5 เป็นกิจในจิต ( อาวัชชนะจิต )
กิจเห็น (ทัสสนกิจ)
กิจได้ยิน (สวนกิจ)
กิจได้กลิ่น (ฆายนกิจ)
กิจลิ้มรส (สายนกิจ)
กิจรู้โผฏฐัพพารมณ์ (ผุสสนกิจ)
5.สันตีรณะ หมายถึง จิตต่อเนื่องในปัญจะทวารา ด้วยการพิจารณา ในการรู้
( สันตติ + จรณะ )
6.สัมปฏิจจฉันนะ หมายถึง จิตต่อเนื่องใน การน้อมรับอารมณ์ที่พิจารณาไว้แล้ว
( สัมมปฏิจจะ+ ฉันนะ )
7.โวฏฐัพพนะ หมายถึง จิตต่อเนื่องใน ที่ถือเอาอารมณ์ ที่พิจารณาไว้แล้ว
( วิถี + ฐานะ ( วุฏฐานะ ) + ขณะ )
8.กามาพจรชวนะ หมายถึง จิตแล่นไปกามาวจร จิต 7 ขณะจิต
( กามาวจร + ชวนะ )
9.ตทาลัมพนะ หมายถึง จิตรับเอาอารมณ์ได้สำเร็จ ( วิบากอารมณ์ คือ โสมนัส โทมนัส อุเบกขา ยินดี ไม่ยินดี เฉย ๆ กลาง )
( ตัง + อารัมมณะ )
10.ภวังคะปาทะ หมายถึง จิตย้อนกลับไปสู่ ภวังค์เก่าอีก
( ภวังคะ + ปท )
อันนี้นำไว้แบบ พระอภิธรรม ตามแม่บท เพราะการอธิบาย ภวังคะจิต นั้นมีอธิบาย เฉพาะในแบบ พระอภิธรรม แต่สำหรับสายปฏิบัติ แล้ว ไม่ต้องไปกำหนด เพราะไม่สามารถกำหนดทัน ในภวังค์ แบบนี้ เพราะมันเกิดดับ เป็นล้าน ๆ ครั้ง ซึ่งไม่ใช่แนวปฏิบัติ ดังนั้นอันนี้แค่ปูพื้นฐาน ให้เข้าใจเรื่อง ภวังค์ แบบ สายอภิธรรม ก็เป็นอย่างนั้น

อ่านต่อ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=16299.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ