ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ปัญญสโก ภิกขุ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8
81  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / เรื่องยมกปาฏิหาริย์ พระศาสดาเสด็จไปโปรดพระมารดาชั้นดาวดึงส์ เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 08:57:51 am
พระศาสดาเสด็จไปโปรดพระมารดาชั้นดาวดึงส์               
               ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางเทวบริษัท ทรงปรารภพระมารดาเริ่มตั้งอภิธรรมปิฎกว่า "กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา, อพฺยากตา ธมฺมา" ดังนี้เป็นต้น. ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโดยนัยนี้เรื่อยไปตลอด ๓ เดือน.
               ก็แลทรงแสดงธรรมอยู่ ในเวลาภิกษาจาร ทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิต ด้วยทรงอธิษฐานว่า "พุทธนิรมิตนี้จงแสดงธรรมชื่อเท่านี้ จนกว่าเราจะมา" แล้วเสด็จไปป่าหิมพานต์ ทรงเคี้ยวไม้สีฟันชื่อนาคลตา บ้วนพระโอษฐ์ที่สระอโนดาต นำบิณฑบาตมาแต่อุตตรกุรุทวีป ได้ประทับนั่งทำภัตกิจในโรงกว้างใหญ่แล้ว.
               พระสารีบุตรเถระไปทำวัตรแด่พระศาสดาในที่นั้น.
               พระศาสดาทรงทำภัตกิจแล้ว ตรัสแก่พระเถระว่า "สารีบุตร วันนี้ เราภาษิตธรรมชื่อเท่านี้ เธอจงบอกแก่ (ภิกษุ ๕๐๐) นิสิตของตน." ได้ทราบว่า กุลบุตร ๕๐๐ เลื่อมใสยมกปาฏิหาริย์ บวชแล้วในสำนักของพระเถระ.
               พระศาสดาตรัสแล้วอย่างนั้น ทรงหมายเอาภิกษุเหล่านั้น. ก็แลครั้นตรัสแล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรงแสดงธรรมเอง ต่อจากที่พระพุทธนิรมิตแสดง. แม้พระเถระก็ไปแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่ในเทวโลกนั้นแล ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ แล้ว.
               ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ภิกษุเหล่านั้นเป็นค้างคาวหนู ห้อยอยู่ที่เงื้อมแห่งหนึ่ง เมื่อพระเถระ ๒ รูปจงกรมแล้วท่องอภิธรรมอยู่ ได้ฟังถือเอานิมิตในเสียงแล้ว
               ค้างคาวเหล่านั้นไม่รู้ว่า "เหล่านี้ ชื่อว่าขันธ์, เหล่านี้ ชื่อว่าธาตุ" ด้วยเหตุสักว่าถือเอานิมิตในเสียงเท่านั้น จุติจากอัตภาพนั้น แล้วเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในเรือนตระกูลในกรุงสาวัตถี เกิดความเลื่อมใสในยมกปาฏิหาริย์ บวชในสำนักของพระเถระแล้ว ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ ก่อนกว่าภิกษุทั้งปวง. แม้พระศาสดาก็ทรงแสดงอภิธรรมโดยทำนองนั้นแล ตลอด ๓ เดือนนั้น.
               ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดา ๘ หมื่นโกฏิ.
               แม้พระมหามายาก็ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.

               พระโมคคัลลานเถระขึ้นไปทูลถามข่าวเสด็จลง               
               บริษัทมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แม้นั้นแล คิดว่า "แต่บัดนี้ไปในวันที่ ๗ จักเป็นวันมหาปวารณา" แล้วเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานเถระ กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ควรจะทราบวันเสด็จลงของพระศาสดา เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายไม่เห็นพระศาสดาแล้ว จักไม่ไป." ท่านพระมหาโมคคัลลานะฟังถ้อยคำนั้นแล้วรับว่า "ดีละ" แล้วดำลงในแผ่นดินตรงนั้นเอง อธิษฐานว่า "บริษัทจงเห็นเรา ผู้ไปถึงเชิงเขาสิเนรุแล้วขึ้นไปอยู่" มีรูปปรากฏดุจด้ายกัมพลเหลืองที่ร้อยไว้ในแก้วมณีเทียว ขึ้นไปแล้วโดยท่ามกลางเขาสิเนรุ. แม้พวกมนุษย์ก็แลเห็นท่านว่า "ขึ้นไปแล้ว ๑ โยชน์ ขึ้นไปแล้ว ๒ โยชน์" เป็นต้น แม้พระเถระขึ้นไปถวายบังคมพระบาทยุคลของพระศาสดา ดุจเทินไว้ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลอย่างนี้ว่า "พระเจ้าข้า บริษัทประสงค์จะเฝ้าพระองค์ก่อนแล้วไป พระองค์จักเสด็จลงเมื่อไร?"
               พระศาสดา. โมคคัลลานะ ก็สารีบุตร พี่ของเธอ อยู่ที่ไหน.
               โมคคัลลานะ พระเจ้าข้า ท่านจำพรรษาอยู่ในสังกัสสนคร.
               พระศาสดา. โมคคัลลานะ ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ (ไป) เราจักลงที่ประตูเมืองสังกัสสะ ในวันมหาปวารณา ผู้ใคร่จะพบเรา ก็จงไปที่นั้นเถิด ก็แลสังกัสสนครจากกรุงสาวัตถี มีประมาณ ๓๐ โยชน์ ในทางเท่านั้น กิจที่จะต้องเตรียมเสบียง ย่อมไม่มีแก่ใครๆ เธอพึงบอกแก่คนเหล่านั้นว่า ‘ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้รักษาอุโบสถไป ดุจไปสู่วิหารใกล้เพื่อฟังธรรมเถิด.’

               พระพุทธองค์ทรงเปิดโลก               
               พระเถระทูลว่า "ดีละ พระเจ้าข้า" แล้วได้บอกตามรับสั่ง. พระศาสดาเสด็จจำพรรษาปวารณาแล้ว ตรัสบอกแก่ท้าวสักกะว่า "มหาบพิตร อาตมภาพจักไปสู่ถิ่นของมนุษย์."
               ท้าวสักกะทรงนิรมิตบันได ๓ ชนิด คือบันไดทองคำ บันไดแก้วมณี บันไดเงิน. เชิงบันไดเหล่านั้นตั้งอยู่แล้วที่ประตูสังกัสสนคร หัวบันไดเหล่านั้นตั้งอยู่แล้วที่ยอดเขาสิเนรุ. ในบันไดเหล่านั้น บันไดทองได้มีในข้างเบื้องขวา เพื่อพวกเทวดา บันไดเงินได้มีในข้างเบื้องซ้าย เพื่อมหาพรหมทั้งหลาย บันไดแก้วมณีได้มีในท่ามกลาง เพื่อพระตถาคต.
               พระศาสดาประทับยืนอยู่บนยอดเขาสิเนรุ ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ทรงแลดูข้างบนแล้ว สถานที่อันพระองค์ทรงแลดูแล้วทั้งหลาย ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก ทรงแลดูข้างล่าง. สถานที่อันพระองค์ทรงแลดูแล้ว ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงอเวจี ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียงทั้งหลาย จักรวาลหลายแสนได้มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาเห็นพวกมนุษย์, แม้พวกมนุษย์ก็เห็นพวกเทวดา. พวกเทวดาและมนุษย์ทั้งหมด ต่างเห็นกันแล้วเฉพาะหน้าทีเดียว.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีไปแล้ว. มนุษย์ในบริษัทซึ่งมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แม้คนหนึ่ง เมื่อแลดูสิริของพระพุทธเจ้าในวันนั้นแล้ว ชื่อว่าไม่ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า มิได้มีเลย.
               พวกเทวดาลงทางบันไดทอง พวกมหาพรหมลงทางบันไดเงิน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงทางบันไดแก้วมณี. เทพบุตรนักฟ้อนชื่อปัญจสิขะ ถือพิณสีเหลืองดุจผลมะตูมยืนอยู่ ณ ข้างเบื้องขวา ทำบูชาด้วยการฟ้อนแด่พระศาสดาลงมา มาตลิสังคาหกเทพบุตรยืน ณ ข้างเบื้องซ้าย ถือของหอมระเบียบและดอกไม้อันเป็นทิพย์ นมัสการอยู่ ทำบูชาแล้วลงมา. ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร, ท้าวสุยามถือพัดวาลวิชนี. พระศาสดาเสด็จลงพร้อมด้วยบริวารนี้ หยุดประทับอยู่ที่ประตูสังกัสสนคร.
               แม้พระสารีบุตรเถระมาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว เพราะพระศาสดาเสด็จลงด้วยพุทธสิริเห็นปานนั้น อันท่านไม่เคยเห็นแล้ว ในกาลก่อนแต่นี้ เพราะฉะนั้น จึงประกาศความยินดีของตน ด้วยคาถาทั้งหลายเป็นต้นว่า :-
                                   พระศาสดา ผู้มีถ้อยคำอันไพเราะ ทรงเป็น
                         อาจารย์แห่งคณะ๑- เสด็จมาจากดุสิตอย่างนี้ เรายัง
                         ไม่เห็น หรือไม่ได้ยินต่อใคร ในกาลก่อนแต่นี้
               แล้วทูลว่า "พระเจ้าข้า วันนี้เทวดาและมนุษย์แม้ทั้งหมดย่อมกระหยิ่ม ปรารถนาต่อพระองค์."
               ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า "สารีบุตร ชื่อว่าพระพุทธเจ้าผู้ประกอบพร้อมด้วยคุณเห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายโดยแท้."
               เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๒.    เย ฌานปฺปสุตา ธีรา       เนกฺขมฺมูปสเม รตา
                            เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ      สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ.
                                      พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใด เป็นปราชญ์ ขวน
                            ขวายในฌาน ยินดีแล้วในธรรมที่เข้าไปสงบด้วย
                            สามารถแห่งการออก, แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
                            ก็ย่อมกระหยิ่มต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีสติ.

____________________________
๑- คณิมาคโต ตัดบทเป็น คณี อาคโต. อรรถกถาว่า...คณาจริยตฺตา คณี...

               แก้อรรถ               
               บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เย ฌานปฺปสุตา ความว่า ประกอบแล้ว ขวนขวายแล้วในฌาน ๒ อย่างเหล่านี้ คือ ลักขณูปนิชฌาน อารัมมณูปนิชฌาน ด้วยการนึกการเข้าการอธิษฐานการออกและการพิจารณา.
               บรรพชา อันผู้ศึกษาไม่พึงถือว่า "เนกขัมมะ" ในคำว่า เนขมฺมูปสเม รตา นี้, ก็คำ "เนกขัมมะ" นั่น พระองค์ตรัส หมายเอาความยินดีในนิพพาน อันเป็นที่เข้าไปสงบกิเลส.
               บทว่า เทวาปิ ความว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมกระหยิ่ม คือปรารถนาต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น.
               บทว่า สตีมตํ ความว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าว่า "น่าชมจริงหนอ แม้เราพึงเป็นพระพุทธเจ้า" ดังนี้ ชื่อว่าย่อมกระหยิ่มต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีพระคุณเห็นปานนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยสติ.
               ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ประมาณ ๓๐ โกฏิ.
               ภิกษุ ๕๐๐ สัทธิวิหาริกของพระเถระ ตั้งอยู่แล้วในพระอรหัต.

               สังกัสสนครเป็นที่เสด็จลงจากดาวดึงส์               
               ได้ยินว่า การทำยมกปาฏิหาริย์แล้วจำพรรษาในเทวโลก แล้วเสด็จลงที่ประตูสังกัสสนคร อันพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ไม่ทรงละแล้วแล, ก็สถานที่พระบาทเบื้องขวาประดิษฐาน ณ ที่เสด็จลงนั้น มีนามว่าอจลเจติยสถาน. พระศาสดาประทับยืน ณ ที่นั้น ตรัสถามปัญหาในวิสัยของปุถุชนเป็นต้น, พวกปุถุชนแก้ปัญหาได้ในวิสัยของตนเท่านั้น ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระโสดาบันได้. พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระสกทาคามีเป็นต้น. พระมหาสาวกที่เหลือไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระมหาโมคคัลลานะ. พระมหาโมคคัลลานะไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระสารีบุตรเถระได้. แม้พระสารีบุตรเถระก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน.
               พระศาสดาทรงแลดูทิศทั้งปวงตั้งต้นแต่ปาจีนทิศ. สถานที่ทั้งปวงได้มีเนินเป็นอันเดียวกันทีเดียว เทวดาและมนุษย์ใน ๘ ทิศ และเทวดาเบื้องบนจดพรหมโลก และยักษ์นาคและสุบรรณผู้อยู่ ณ ภาคพื้นเบื้องต่ำ ประคองอัญชลีกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ชื่อว่าผู้วิสัชนาปัญหานี้มิได้มีในสมาคมนี้ ขอพระองค์โปรดใคร่ครวญในสมาคมนี้ทีเดียว."
82  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / เรื่องยมกปาฏิหาริย์ ลักษณะของยมกปาฏิหาริย์ เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 08:56:28 am
ลักษณะของยมกปาฏิหาริย์               
               "๑- ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต เป็นไฉน?
               ในญาณนี้พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ไม่ทั่วไปด้วยพวกสาวก; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องบน, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องล่าง; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องล่าง, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องบน; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องหน้า, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องหลัง; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องหลัง, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องหน้า; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระเนตรเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่พระเนตรเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระเนตรเบื้องซ้าย; สายน้ำไหลออกแต่พระเนตรเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระหัตถ์เบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่พระหัตถ์เบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระหัตถ์เบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระหัตถ์เบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระปรัศว์เบื้องขวา; สายน้ำไหลออกแต่พระปรัศว์เบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระปรัศว์เบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระปรัศว์เบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระบาทเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่พระบาทเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระบาทเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระบาทเบื้องขวา, ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระองคุลี, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระองคุลี; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระองคุลี สายน้ำไหลออกจากพระองคุลี; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ขุมพระโลมาขุมหนึ่งๆ, สายน้ำไหลออกแต่พระโลมาเส้นหนึ่งๆ, ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระโลมาเส้นหนึ่งๆ, สายน้ำไหลออกแต่ขุมพระโลมาขุมหนึ่งๆ. รัศมีทั้งหลาย ย่อมเป็นไปด้วยสามารถแห่งสี ๖ อย่าง คือ เขียว เหลือง แดง ขาว หงสบาท ปภัสสร;
               พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรม พระพุทธนิรมิตย่อมยืนหรือนั่งหรือสำเร็จการนอน; (พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม นั่งหรือสำเร็จการนอน, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม ยืนหรือสำเร็จการนอน; พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จสีหไสยา พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม ยืนหรือนั่ง; พระพุทธนิรมิตจงกรม, พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงยืน ประทับนั่ง หรือสำเร็จสีหไสยา; พระพุทธนิรมิตทรงยืน, พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงจงกรม ประทับนั่งหรือทรงสำเร็จสีหไสยา). พระพุทธนิรมิตประทับนั่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงจงกรม ประทับยืน หรือสำเร็จสีหไสยา พระพุทธนิรมิตสำเร็จสีหไสยา, พระผู้มีพระภาคย่อมทรงจงกรม ประทับยืน หรือประทับนั่ง.
               นี้เป็นญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต."
____________________________
๑- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๒๘๔.

               ก็พระศาสดาเสด็จจงกรมบนที่จงกรมนั้น ได้ทรงทำปาฏิหาริย์นี้แล้ว. เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น "ท่อไฟย่อมพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องบนด้วยอำนาจเตโชกสิณสมาบัติของพระศาสดานั้น, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องล่าง ด้วยอำนาจอาโปกสิณสมาบัติ; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ที่ๆ สายน้ำไหลออกแล้วอีก, และสายน้ำก็ไหลออกแต่ที่ๆ ท่อไฟพลุ่งออก"
               พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า "เหฏฺฐิมกายโต อุปริมกายโต. นัยในบททั้งปวงก็เช่นนี้. ก็ในยมกปาฏิหาริย์นี้ ท่อไฟมิได้เจือปนกับสายน้ำเลย, อนึ่ง สายน้ำก็มิได้เจือด้วยท่อไฟ, ก็นัยว่าท่อไฟและสายน้ำทั้งสองนี้ พลุ่งขึ้นไปตลอดถึงพรหมโลก แล้วก็ลุกลามไปที่ขอบปากจักรวาล. ก็เพราะเหตุที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า "ฉนฺนํ วณฺณานํ" พระรัศมีพรรณะ ๖ ประการของพระศาสดานั้น พลุ่งขึ้นไปจากห้องแห่งจักรวาลหนึ่ง ดุจทองคำละลายคว้าง ซึ่งกำลังไหลออกจากเบ้า และดุจสายน้ำแห่งทองคำที่ไหลออกจากทะนานยนต์ จดพรหมโลกแล้วสะท้อนกลับมาจดขอบปากจักรวาลตามเดิม. ห้องแห่งจักรวาลหนึ่ง ได้เป็นดุจเรือนต้นโพธิที่ตรึงไว้ด้วยซี่กลอนอันคด มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน.
               ในวันนั้น พระศาสดาเสด็จจงกรมทรงทำ (ยมก) ปาฏิหาริย์แสดงธรรมกถาแก่มหาชนในระหว่างๆ และเมื่อทรงแสดงไม่ทรงทำให้มหาชนให้หนักใจ๑- ประทานให้เบาใจยิ่ง. ในขณะนั้น มหาชนยังสาธุการให้เป็นไปแล้ว.
____________________________
๑- นิรสฺสาสํ ให้มีความโล่งใจออกแล้ว.

               ในเวลาที่สาธุการของมหาชนนั้นเป็นไป พระศาสดาทรงตรวจดูจิตของบริษัทซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น ได้ทรงทราบวาระจิตของคนหนึ่งๆ ด้วยอำนาจอาการ ๑๖ อย่าง. จิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้, บุคคลใดๆ เลื่อมใสในธรรมใด และในปาฏิหาริย์ใด พระศาสดาทรงแสดงธรรม และได้ทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลนั้นๆ.
               เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม และทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอาการอย่างนี้ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่มหาชนแล้ว.
               ก็พระศาสดาทรงกำหนดจิตของพระองค์ ไม่ทรงเห็นคนอื่นผู้สามารถจะถามปัญหาในสมาคมนั้น จึงทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิต. พระศาสดาทรงเฉลยปัญหาที่พระพุทธนิรมิตนั้นถามแล้ว. พระพุทธนิรมิตนั้นก็เฉลยปัญหาที่พระศาสดาตรัสถามแล้ว. ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรม พระพุทธนิรมิตสำเร็จอิริยาบถมีการยืนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในเวลาที่พระพุทธนิรมิตจงกรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จพระอิริยาบถ มีการประทับยืนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.
               เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรมบ้าง" เป็นต้น.
               ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๒๐ โกฏิในสมาคมนั้น เพราะเห็นปาฏิหาริย์ของพระศาสดาผู้ทรงทำอยู่อย่างนั้น และเพราะได้ฟังธรรมกถา.

               พระศาสดาเสด็จจำพรรษาชั้นดาวดึงส์               
               พระศาสดากำลังทรงทำปาฏิหาริย์อยู่นั่นแล ทรงรำพึงว่า "พระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายทำปาฏิหาริย์นี้แล้ว จำพรรษาที่ไหนหนอแล?" ทรงเห็นว่า "จำพรรษาในภพดาวดึงส์ แล้วทรงแสดงอภิธรรมปิฎกแก่พระพุทธมารดา" ดังนี้แล้ว ทรงยกพระบาทขวาเหยียบเหนือยอดภูเขายุคันธร ทรงยกพระบาทอีกข้างหนึ่งเหยียบเหนือยอดเขาสิเนรุ วาระที่ย่างพระบาท ๓ ก้าว ได้มีแล้วในที่ ๖๘ แสนโยชน์อย่างนี้. ช่องพระบาท ๒ ช่อง ได้ถ่างออกเช่นเดียวกันกับการย่างพระบาทตามปกติ.
               ใครๆ ไม่พึงกำหนดว่า "พระศาสดาทรงเหยียดพระบาทเหยียบแล้ว. เพราะในเวลาที่พระองค์ทรงยกพระบาทนั่นแหละ ภูเขาเหล่านั้นก็มาสู่ที่ใกล้พระบาทรับไว้แล้ว ในเวลาที่พระศาสดาทรงเหยียบแล้ว ภูเขาเหล่านั้นก็ตั้งประดิษฐานในที่เดิม."
               ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาแล้ว ทรงดำริว่า "พระศาสดาจักทรงเข้าจำพรรษานี้ ในท่ามกลางบัณฑุกัมพลสิลา อุปการะจักมีแก่เหล่าเทพดามากหนอ แต่เมื่อพระศาสดาทรงจำพรรษา ที่นั่น เทพดาอื่นๆ จักไม่อาจหยุดมือได้ ก็แลบัณฑุกัมพลสิลานี้ ยาว ๖๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ แม้เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว ก็คงคล้ายกับว่างเปล่า."
               พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท้าวเธอ ทรงโยนสังฆาฏิของพระองค์ไปให้คลุมพื้นศิลาแล้ว. ท้าวสักกะทรงดำริว่า "พระศาสดาทรงโยนจีวรมาให้คลุมไว้ก่อน ก็พระองค์จักประทับนั่งในที่นิดหน่อยด้วยพระองค์เอง." พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท้าวเธอ จึงประทับนั่งทำบัณฑุกัมพลสิลาไว้ภายในขนดจีวรนั่นเอง ประหนึ่งภิกษุผู้ทรงผ้ามหาบังสุกุล ทำตั่งเตี้ยไว้ภายในขนดจีวรฉะนั้น.
               ขณะนั้นเอง แม้มหาชนแลดูพระศาสดาอยู่ ก็มิได้เห็น. กาลนั้นได้เป็นประหนึ่งเวลาพระจันทร์ตก และได้เป็นเหมือนเวลาพระอาทิตย์ตก. มหาชนคร่ำครวญกล่าวคาถานี้ว่า :-
                         พระศาสดาเสด็จไปสู่เขาจิตรกูฏ หรือสู่เขาไกรลาส หรือสู่
                         เขายุคันธร, เราทั้งหลายจึงไม่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                         ผู้โลกเชษฐ์ ผู้ประเสริฐกว่านระ.
               อีกพวกหนึ่งกำลังคร่ำครวญว่า "ชื่อว่าพระศาสดา ทรงยินดีแล้วในวิเวก พระองค์จักเสด็จไปสู่แคว้นอื่น หรือชนบทอื่นเสียแล้ว เพราะทรงละอายว่า ‘เราทำปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ แก่บริษัทเห็นปานนี้’ บัดนี้ เราทั้งหลายคงไม่ได้เห็นพระองค์" ดังนี้ กล่าวคาถานี้ว่า :-
                         พระองค์ผู้เป็นปราชญ์ ทรงยินดีแล้วในวิเวกจักไม่เสด็จกลับ
                         มาโลกนี้อีก, เราทั้งหลายจะไม่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                         ผู้โลกเชษฐ์ ผู้ประเสริฐกว่านระ ดังนี้.
               ชนเหล่านั้นถามพระมหาโมคคัลลานะว่า "พระศาสดาเสด็จไปที่ไหน? ขอรับ" ท่านแม้ทราบอยู่เอง ก็ยังกล่าวว่า "จงถามพระอนุรุทธเถิด" ด้วยมุ่งหมายว่า "คุณแม้ของสาวกอื่นๆ จงปรากฏ" ดังนี้. ชนเหล่านั้นถามพระเถระอย่างนั้นว่า "พระศาสดาเสด็จไปที่ไหน? ขอรับ."
               อนุรุทธ. เสด็จไปจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลสิลา ในภพดาวดึงส์ แล้วทรงแสดงอภิธรรมปิฎกแก่พระมารดา.
               มหาชน. จักเสด็จมาเมื่อไร? ขอรับ.
               อนุรุทธ. ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกตลอด ๓ เดือนแล้ว จักเสด็จมาในวันมหาปวารณา.
               ชนเหล่านั้นพูดกันว่า "พวกเราไม่ได้เห็นพระศาสดา จักไม่ไป" ดังนี้แล้ว ทำที่พักอยู่แล้วในที่นั้นนั่นเอง.
               ได้ยินว่า ชนเหล่านั้นได้มีอากาศนั่นเอง เป็นเครื่องมุงเครื่องบัง ชื่อว่าเหงื่อที่ไหลออกจากตัวของบริษัทใหญ่ถึงเพียงนั้น มิได้ปรากฏแล้ว. แผ่นดินได้แหวกช่องให้แล้ว พื้นแผ่นดินในที่ทุกแห่งได้เป็นที่สะอาดทีเดียว.
               พระศาสดาได้ตรัสสั่งพระมหาโมคคัลลานะไว้ก่อนทีเดียวว่า "โมคคัลลานะ เธอพึงแสดงธรรมแก่บริษัทนั่น จุลอนาถบิณฑิกะจักให้อาหาร."
               เพราะเหตุนั้น จุลอนาถบิณฑิกะแลได้ให้แล้วซึ่งข้าวต้ม ข้าวสวย ของเคี้ยว ของหอม ระเบียบและเครื่องประดับแก่บริษัทนั้น ทุกเวลาทั้งเช้าและเย็นตลอดไตรมาสนั้น.
               พระมหาโมคคัลลานะแสดงธรรมแล้ว วิสัชนาปัญหาที่เหล่าชนผู้มาแล้วๆ เพื่อดูปาฏิหาริย์ถามแล้ว.

               พระสัมพุทธเจ้าไพโรจน์ล่วงเหล่าเทวดา               
               เทวดาในหมื่นจักรวาลแวดล้อมแม้พระศาสดาผู้ทรงจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลสิลา เพื่อทรงแสดงอภิธรรมแก่พระมารดา
               เหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า :-
                                   ในกาลใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดบุรุษประทับ
                         อยู่เหนือบัณฑุกัมพลสิลา ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในภพ
                         ดาวดึงส์, ในกาลนั้น เทพดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ
                         ประชุมพร้อมกันแล้วเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้
                         ประทับอยู่บนยอดเขา, เทพดาองค์ไหนๆ ก็หาไพโรจน์
                         กว่าพระสัมพุทธเจ้าโดยวรรณะไม่, พระสัมพุทธเจ้า
                         เท่านั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงปวงเทพดาทั้งหมด.
               ก็เมื่อพระศาสดานั้นประทับนั่งครอบงำเทพดาทุกหมู่เหล่า ด้วยรัศมีพระสรีระของพระองค์อย่างนี้ พระพุทธมารดาเสด็จมาจากวิมานชั้นดุสิต ประทับนั่ง ณ พระปรัศว์เบื้องขวา.
               แม้อินทกเทพบุตรก็มานั่ง ณ พระปรัศว์เบื้องขวาเหมือนกัน. อังกุรเทพบุตรมานั่ง ณ พระปรัศว์เบื้องซ้าย. อังกุรเทพบุตรนั้น เมื่อเทพดาทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน ร่นออกไปแล้ว ได้โอกาสในที่มีประมาณ ๑๒ โยชน์. อินทกเทพบุตรนั่งในที่นั่นเอง.
               พระศาสดาทอดพระเนตรดูเทพบุตรทั้งสองนั้นแล้ว มีพระประสงค์จะยังบริษัทให้ทราบ ความที่ทานอันบุคคลถวายแล้วแก่ทักขิไณยบุคคล ในศาสนาของพระองค์ เป็นกุศลมีผลมาก จึงตรัสอย่างนี้ว่า "อังกุระเธอทำแถวเตาไฟยาว ๑๒ โยชน์ให้ทานเป็นอันมาก ในกาลประมาณหมื่นปี ซึ่งเป็นระยะกาลนาน. บัดนี้ เธอมาสู่สมาคมของเรา ได้โอกาสในที่ไกลตั้ง ๑๒ โยชน์ ซึ่งไกลกว่าเทพบุตรทั้งหมด อะไรหนอแล เป็นเหตุในข้อนี้?"
               แท้จริง พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า :-
                         พระสัมพุทธเจ้าทอดพระเนตรอังกุรเทพบุตรและ
                         อินทกเทพบุตรแล้ว เมื่อจะทรงยกย่องทักขิไณย
                         บุคคล ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ‘อังกุระ เธอให้
                         ทานเป็นอันมากในระหว่างกาลนาน เธอเมื่อมา
                         สู่สำนักของเรา นั่งเสียไกลลิบ.

               พระศาสดาตรัสได้ยินถึงมนุษยโลก               
               พระสุรเสียงนั้น (ดัง) ถึงพื้นปฐพี. บริษัททั้งหมดนั้นได้ยินพระสุรเสียงนั้น.
               เมื่อพระศาสดาตรัสอย่างนั้นแล้ว อังกุรเทพบุตร อันพระศาสดาผู้มีพระองค์อันอบรมแล้ว ตรัสเตือนแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ว่า :-
                         ข้าพระองค์จะต้องการอะไร ด้วยทานอันว่างเปล่า
                         จากทักขิไณยบุคคล ยักษ์๑- ชื่ออินทกะนี้นั้นถวาย
                         ทานแล้วนิดหน่อย ยังรุ่งเรืองยิ่งกว่าข้าพระองค์
                         ดุจพระจันทร์ในหมู่ดาว.
____________________________
๑- เทพบุตรผู้อันบุคคลพึงบูชา.

               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทชฺชา แก้เป็น ทตฺวา ( แปลว่า ให้แล้ว).
               เมื่ออังกุรเทพบุตรกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาตรัสกะอินทกเทพบุตรว่า "อินทกะ เธอนั่งข้างขวาของเรา ไฉนจึงไม่ต้องร่นออกไปนั่งเล่า?"
               อินทกเทพบุตรกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้ทักขิไณยสมบัติแล้ว ดุจชาวนาหว่านพืชนิดหน่อยในนาดี" ดังนี้แล้ว
               เมื่อจะประกาศทักขิไณยบุคคล จึงกราบทูลว่า :-
                         พืชแม้มาก อันบุคคลหว่านแล้วในนาดอน ผลย่อมไม่ไพบูลย์
                         ทั้งไม่ยังชาวนาให้ยินดี ฉันใด, ทานมากมาย อันบุคคลตั้งไว้
                         ในหมู่ชนผู้ทุศีล ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังทายกให้ยินดี
                         ฉันนั้นเหมือนกัน; พืชแม้เล็กน้อย อันบุคคลหว่านแล้วในนา
                         ดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำถูกต้อง (ตามกาล) ผลก็ย่อมยังชาวนา
                         ให้ยินดีได้ ฉันใด, เมื่อสักการะแม้เล็กน้อยอันทายกทำแล้ว
                         ในเหล่าท่านผู้มีศีล ผู้มีคุณคงที่ผลก็ย่อมยังทายกให้ยินดีได้
                         ฉันนั้นเหมือนกัน.

               ทานที่ให้ในทักขิไณยบุคคลมีผลมาก               
               ถามว่า "ก็บุรพกรรมของอินทกเทพบุตรนั้น เป็นอย่างไร?"
               แก้ว่า "ได้ยินว่า อินทกเทพบุตรนั้นได้ให้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งที่เขานำมาแล้วเพื่อตน แก่พระอนุรุทธเถระผู้เข้าไปบิณฑบาตภายในบ้าน. บุญของเธอนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุรเทพบุตร ทำแถวเตาไฟยาวตั้ง ๑๒ โยชน์ ให้แล้วตั้งหมื่นปี เพราะเหตุนั้น อินทกเทพบุตรจึงกราบทูลอย่างนั้น."
               เมื่ออินทกเทพบุตรกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาตรัสว่า "อังกุระ การเลือกเสียก่อนแล้วให้ทานจึงควร ทานนั้นย่อมมีผลมากด้วยอาการอย่างนี้ ดุจพืชที่เขาหว่านดีในนาดีฉะนั้น แต่เธอหาได้ทำอย่างนั้นไม่ เหตุนั้น ทานของเธอจึงไม่มีผลมาก"
               เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสว่า :-
                                   ทานอันบุคคลให้แล้วในเขตใด มีผลมาก,
                         บุคคลพึงเลือกให้ทานในเขตนั้น; การเลือกให้อัน
                         พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว, ทานที่บุคคลให้แล้ว
                         ในทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ที่มีอยู่ในโลก คือหมู่
                         สัตว์ที่ยังเป็นอยู่นี้ มีผลมาก เหมือนพืชที่บุคคล
                         หว่านแล้วในนาดีฉะนั้น.
               เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
                                   นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย
                         หมู่สัตว์นี้มีราคะเป็นเครื่องประทุษร้าย, เพราะ
                         เหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้ว ในท่านที่มีราคะ
                         ไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก.
                                   นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย
                         หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นเครื่องประทุษร้าย, เพราะ
                         เหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้วในท่านผู้มีโทสะ
                         ไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก.
                                   นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย
                         หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็นเครื่องประทุษร้าย, เพราะ
                         เหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้วในท่านผู้มีโมหะ
                         ไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก.
                                   นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย
                         หมู่สัตว์นี้มีความอยากเป็นเครื่องประทุษร้าย
                         เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้ว ในท่านผู้
                         มีความอยากไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก.
               ในกาลจบเทศนา อังกุรเทพบุตรและอินทกเทพบุตรดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. (ธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว).
83  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / เรื่องยมกปาฏิหาริย์ : พระศาสดาทรงประสงค์จะทำปาฏิหาริย์ เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 08:55:07 am
 พระศาสดาทรงประสงค์จะทำปาฏิหาริย์               
               พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว เสด็จไปยังสำนักพระศาสดา กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ได้ทราบว่าพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่เหล่าสาวก เพื่อต้องการไม่ให้ทำปาฏิหาริย์เสียแล้วหรือ?"
               พระศาสดา. ขอถวายพระพร มหาบพิตร.
               พระราชา. บัดนี้ พวกเดียรถีย์พากันกล่าวว่า ‘พวกเราจักทำปาฏิหาริย์กับด้วยพระองค์’ บัดนี้ พระองค์จักทรงทำอย่างไร?
               พระศาสดา. เมื่อเดียรถีย์เหล่านั้นกระทำ อาตมภาพก็จักกระทำ มหาบพิตร.
               พระราชา. พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ?
               พระศาสดา. มหาบพิตร อาตมภาพมิได้บัญญัติสิกขาบทเพื่อตน สิกขาบทนั้นนั่นแล อาตมภาพบัญญัติไว้เพื่อสาวกทั้งหลาย.
               พระราชา. สิกขาบท เป็นอันชื่อว่าอันพระองค์ทรงบัญญัติในสาวกทั้งหลายอื่น เว้นพระองค์เสียหรือ? พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักย้อนถามพระองค์นั่นแหละในเพราะเรื่องนี้ มหาบพิตร ก็พระอุทยานในแว่นแคว้นของพระองค์มีอยู่หรือ?
               พระราชา. มี พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. มหาบพิตร ถ้าว่ามหาชนพึงบริโภคผลไม้ เป็นต้นว่า ผลมะม่วงในพระอุทยานของพระองค์, พระองค์พึงทรงทำอย่างไร แก่เขา?
               พระราชา. พึงลงอาชญา พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. ก็พระองค์ย่อมได้เพื่อเสวยหรือ?
               พระราชา. พระเจ้าข้า อาชญาไม่มีแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันย่อมได้เพื่อเสวยของๆ ตน.
               พระศาสดา. มหาบพิตร อาชญาแม้ของอาตมภาพย่อมแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล เหมือนอาชญาของพระองค์ที่แผ่ไปในแว่นแคว้นประมาณ ๓๐๐ โยชน์ อาชญาไม่มีแก่พระองค์ผู้เสวยผลไม้ทั้งหลายเป็นต้น ว่าผลมะม่วงในพระอุทยานของพระองค์ แต่มีอยู่แก่ชนเหล่าอื่น ขึ้นชื่อว่า การก้าวล่วงบัญญัติ คือสิกขาบท ย่อมไม่มีแก่ตน แต่ย่อมมีแก่สาวกเหล่าอื่น อาตมภาพจึงจักทำปาฏิหาริย์.
               พวกเดียรถีย์ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ปรึกษากันว่า "บัดนี้ พวกเราฉิบหายแล้ว ได้ยินว่า พระสมณโคดมทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อเหล่าสาวกเท่านั้น ไม่ทรงบัญญัติไว้เพื่อตน ได้ยินว่า ท่านปรารถนาจะทำปาฏิหาริย์เองทีเดียว พวกเราจักทำอย่างไรกันเล่า?" พระราชาทูลถามพระศาสดาว่า "เมื่อไร พระองค์จักทรงทำปาฏิหาริย์? พระเจ้าข้า."
               พระศาสดา. มหาบพิตร โดยล่วงไปอีก ๔ เดือนต่อจากนี้ไป วันเพ็ญเดือน ๘ จักทำ.
               พระราชา. พระองค์จักทรงทำที่ไหน? พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. อาตมภาพจักอาศัยเมืองสาวัตถีทำ มหาบพิตร.
               มีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็ทำไม พระศาสดาจึงอ้างที่ไกลอย่างนี้?
               แก้ว่า เพราะที่นั้นเป็นสถานที่ทำมหาปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ อีกอย่างหนึ่ง พระองค์อ้างที่ไกลทีเดียว แม้เพื่อประโยชน์จะให้มหาชนประชุมกัน.
               พวกเดียรถีย์ฟังถ้อยคำนั้นแล้วกล่าวว่า "ได้ยินว่า ต่อจากนี้โดยล่วงไป ๔ เดือน พระสมณโคดมจักทำปาฏิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถี บัดนี้ พวกเราไม่ละเทียว จักติดตามพระองค์ไป มหาชนเห็นพวกเราแล้ว จักถามว่า "นี่อะไรกัน?" ทีนั้น พวกเราจักบอกแก่เขาว่า "พวกเราพูดไว้แล้วว่า ‘จักทำปาฏิหาริย์กับพระสมณโคดม’ พระสมณโคดมนั้นย่อมหนีไป พวกเราไม่ให้พระสมณโคดมนั้นหนี จึงติดตามไป"
               พระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ออกมาแล้ว. ถึงพวกเดียรถีย์ก็ออกมาข้างหลังของพระองค์นั่นแล อยู่ใกล้ที่ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำภัตกิจ ในวันรุ่งขึ้นพวกเดียรถีย์บริโภคอาหารเช้าในที่ๆ ตนอยู่แล้ว. เดียรถีย์เหล่านั้นถูกพวกมนุษย์ถามว่า "นี่อะไรกัน?" จึงบอกโดยนัยแห่งคำที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
               ฝ่ายมหาชนคิดว่า "พวกเราจักดูปาฏิหาริย์" ดังนี้แล้วได้ติดตามไป.
               พระศาสดาบรรลุถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ.

               เดียรถีย์เตรียมทำปาฏิหาริย์แข่ง               
               แม้พวกเดียรถีย์ก็ไปกับพระองค์เหมือนกัน ชักชวนอุปัฏฐากได้ทรัพย์แสนหนึ่งแล้ว ให้ทำมณฑปด้วยเสาไม้ตะเคียน๑- ให้มุงด้วยอุบลเขียว นั่งพูดกันว่า "พวกเราจักทำปาฏิหาริย์ในที่นี้."
____________________________
๑- ขทิร ในที่บางแห่งแปลว่า ไม้สะแก.

               ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า "พวกเดียรถีย์ให้ทำมณฑปแล้ว พระเจ้าข้า, แม้ข้าพระองค์จะให้ทำมณฑปเพื่อพระองค์."
               พระศาสดา. อย่าเลยมหาบพิตร ผู้ทำมณฑปของอาตมภาพมี.
               พระราชา. คนอื่นใครเล่า เว้นข้าพระองค์เสีย จักอาจทำได้ พระเจ้าข้า?
               พระศาสดา. ท้าวสักกเทวราช.
               พระราชา. ก็พระองค์จักทรงทำปาฏิหาริย์ที่ไหนเล่า? พระเจ้าข้า.
               พระศาสดา. ที่ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์ มหาบพิตร.
               พวกเดียรถีย์ได้ยินว่า "ได้ข่าวว่า พระสมณโคดมจักทำปาฏิหาริย์ที่ควงไม้มะม่วง" จึงบอกพวกอุปัฏฐากของตน ให้ถอนต้นมะม่วงเล็กๆ โดยที่สุดแม้งอกในวันนั้น ในที่ระหว่างโยชน์หนึ่ง แล้วให้ทิ้งไปในป่า.
               ในวันเพ็ญเดือน ๘ พระศาสดาเสด็จเข้าไปภายในพระนคร. ผู้รักษาสวนของพระราชา ชื่อคัณฑะ เห็นมะม่วงสุกผลใหญ่ผลหนึ่ง ในระหว่างกลุ่มใบที่มดดำมดแดงทำรังไว้ ไล่กาที่มาชุมนุมด้วยความโลภในกลิ่นและรสแห่งมะม่วงนั้น ให้หนีไปแล้ว ถือเอาเพื่อประโยชน์แด่พระราชา เดินไปเห็นพระศาสดาในระหว่างทาง คิดว่า "พระราชาเสวยผลมะม่วงนี้แล้ว พึงพระราชทานกหาปณะแก่เรา ๘ กหาปณะ หรือ ๑๖ กหาปณะ กหาปณะนั้นไม่พอเพื่อเลี้ยงชีพในอัตภาพหนึ่งของเรา ก็ถ้าว่า เราจักถวายผลมะม่วงนี้แด่พระศาสดา นั่นจักเป็นคุณนำประโยชน์เกื้อกูลมาให้แก่เราตลอดกาลไม่มีสิ้นสุด."
               เขาน้อมถวายผลมะม่วงนั้นแด่พระศาสดา.
               พระศาสดาทอดพระเนตรดูพระอานนทเถระแล้ว. ลำดับนั้น พระเถระนำบาตรที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถวายออกมาแล้ว วางที่พระหัตถ์ของพระองค์.
               พระศาสดาทรงน้อมบาตรเข้าไปรับมะม่วงแล้ว ทรงแสดงอาการเพื่อประทับนั่งในที่นั้นนั่นแหละ. พระเถระได้ปูจีวรถวายแล้ว. ลำดับนั้น เมื่อพระองค์ประทับนั่งบนจีวรนั้นแล้ว พระเถระกรองน้ำดื่ม แล้วขยำมะม่วงสุกผลนั้น ได้ทำให้เป็นน้ำปานะถวาย. พระศาสดาเสวยน้ำปานะผลมะม่วงแล้วตรัสกะนายคัณฑะว่า "เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นแล้ว ปลูกเมล็ดมะม่วงนี้ในที่นี้นี่แหละ." เขาได้ทำอย่างนั้นแล้ว.

               ประวัติคัณฑามพพฤกษ์               
               พระศาสดาทรงล้างพระหัตถ์บนเมล็ดมะม่วงนั้น. พอเมื่อพระหัตถ์อันพระองค์ทรงล้างแล้วเท่านั้น ต้นมะม่วงมีลำต้นเท่าศีรษะไถ (งอนไถ) มีประมาณ ๕๐ ศอก โดยส่วนสูงงอกขึ้นแล้ว กิ่งใหญ่ ๕ กิ่ง คือใน ๔ ทิศๆ ละกิ่ง เบื้องบนกิ่งหนึ่ง ได้มีประมาณกิ่งละ ๕๐ ศอกเทียว. ต้นมะม่วงนั้นสมบูรณ์ด้วยช่อและผล ได้ทรงไว้ซึ่งพวงแห่งมะม่วงสุกในที่แห่งหนึ่ง ในขณะนั้นนั่นเอง.
               พวกภิกษุผู้มาข้างหลัง มาขบฉันผลมะม่วงสุกเหมือนกัน.
               พระราชาทรงสดับว่า "ข่าวว่า ต้นมะม่วงเห็นปานนี้เกิดขึ้นแล้ว" จึงทรงตั้งอารักขาไว้ด้วยพระดำรัสว่า "ใครๆ อย่าตัดต้นมะม่วงนั้น." ก็ต้นมะม่วงนั้นปรากฏชื่อว่า "คัณฑามพพฤกษ์ " เพราะความที่นายคัณฑะปลูกไว้. แม้พวกนักเลงเคี้ยวกินผลมะม่วงสุกแล้วพูดว่า "เจ้าพวกเดียรถีย์ถ่อยเว้ย พวกเจ้ารู้ว่า ‘พระสมณโคดมจักทรงทำปาฏิหาริย์ที่โคนต้นคัณฑามพพฤกษ์’ จึงสั่งให้ถอนต้นมะม่วงเล็กๆ แม้ที่เกิดในวันนั้นในร่วมในที่โยชน์หนึ่ง ต้นมะม่วงนี้ ชื่อว่าคัณฑามพะ" แล้วเอาเมล็ดมะม่วงที่เป็นเดนประหารพวกเดียรถีย์เหล่านั้น.

               ท้าวสักกะทำลายพิธีของพวกเดียรถีย์               
               ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับวาตวลาหกเทวบุตรว่า "ท่านจงถอนมณฑปของพวกเดียรถีย์เสียด้วยลม แล้วให้ลม (หอบไป) ทิ้งเสียบนแผ่นดินที่ทิ้งหยากเยื่อ." เทวบุตรนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ท้าวสักกะสั่งบังคับสุริยเทวบุตรว่า "ท่านจงขยายมณฑลพระอาทิตย์ ยัง (พวกเดียรถีย์) ให้เร่าร้อน." แม้เทวบุตรนั้นก็ได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับวาตวลาหกเทวบุตรอีกว่า "ท่านจงยังมณฑลแห่งลม (ลมหัวด้วน) ให้ตั้งขึ้นไปเถิด." เทวบุตรนั้นทำอยู่เหมือนอย่างนั้น โปรยเกลียวธุลีลงที่สรีระของพวกเดียรถีย์ที่มีเหงื่อไหล. พวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้เป็นเช่นกับจอมปลวกแดง. ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับแม้วัสสวลาหกเทวบุตรว่า "ท่านจงให้หยาดน้ำเม็ดใหญ่ๆ ตก." เทวบุตรนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ทีนั้น กายของพวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้เป็นเช่นกับแม่โคด่างแล้ว. พวกเขาแตกหมู่กัน หนีไปในที่เฉพาะหน้าๆ นั่นเอง.
               เมื่อพวกเขาหนีไปอยู่อย่างนั้น ชาวนาคนหนึ่งเป็นอุปัฏฐากของปูรณกัสสป คิดว่า "บัดนี้ เป็นเวลาทำปาฏิหาริย์แห่งพระผู้เป็นเจ้าของเรา เราจักดูปาฏิหาริย์นั้น" แล้วปล่อยโค ถือหม้อยาคูและเชือก ซึ่งตนนำมาแต่เช้าตรู่เดินมาอยู่ เห็นปูรณะหนีไปอยู่เช่นนั้น จึงกล่าวว่า "ท่านขอรับ ผมมาด้วยหวังว่า ‘จักดูปาฏิหาริย์ของพระผู้เป็นเจ้า’ พวกท่านจะไปที่ไหน?"
               ปูรณะ. ท่านจะต้องการอะไรด้วยปาฏิหาริย์ ท่านจงให้หม้อและเชือกนี้แก่เรา.
               เขาถือเอาหม้อและเชือกที่อุปัฏฐากนั้นให้แล้ว ไปยังฝั่งแม่น้ำ เอาเชือกผูกหม้อเข้าที่คอของตนแล้ว กระโดดลงไปในห้วงน้ำ ยังฟองน้ำให้ตั้งขึ้นอยู่ ทำกาละในอเวจีแล้ว.
               พระศาสดาทรงนิรมิตจงกรมแก้วในอากาศ. ที่สุดด้านหนึ่งของจงกรมนั้น ได้มีที่ขอบปากจักรวาลด้านปาจีนทิศ, ด้านหนึ่งได้มีที่ขอบปากจักรวาลด้านปัศจิมทิศ. พระศาสดาเมื่อบริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์ประชุมกันแล้ว ในเวลาบ่ายเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ด้วยทรงดำริว่า "บัดนี้ เป็นเวลาทำปาฏิหาริย์" แล้ว ได้ประทับยืนที่หน้ามุข.

               สาวกสาวิการับอาสาทำปาฏิหาริย์แทน               
               ครั้งนั้น อนาคามีอุบาสิกาคนหนึ่งผู้นันทมารดา ชื่อฆรณี เข้าไปเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า เมื่อธิดาเช่นหม่อมฉันมีอยู่ กิจที่พระองค์ต้องลำบากย่อมไม่มี หม่อมฉันจักทำปาฏิหาริย์."
               พระศาสดา. ฆรณี เธอจักทำอย่างไร?
               ฆรณี. พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักทำแผ่นดินใหญ่ในห้องแห่งจักรวาลหนึ่งให้เป็นน้ำ แล้วดำลงเหมือนนางนกเป็ดน้ำ แสดงตนที่ขอบปากแห่งจักรวาลด้านปาจีนทิศ ที่ขอบปากแห่งจักรวาลด้านปัศจิมทิศ อุตรทิศและทักษิณทิศก็เช่นนั้น ตรงกลางก็เช่นนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น มหาชนเห็นหม่อมฉันแล้ว เมื่อใครๆ พูดขึ้นว่า ‘นั่นใคร?’ ก็จะบอกว่า ‘นั่นชื่อนางฆรณี อานุภาพของหญิงคนหนึ่งยังเพียงนี้ก่อน ส่วนอานุภาพของพระพุทธเจ้า จักเป็นเช่นไร?’ พวกเดียรถีย์ไม่ทันเห็นพระองค์เลย ก็จักหนีไปด้วยอาการอย่างนี้.
               ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า "ฆรณี เราย่อมทราบความที่เธอเป็นผู้สามารถทำปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ได้ แต่พวงดอกไม้นี้ เขามิได้ผูกไว้เพื่อประโยชน์แก่เธอ" แล้วทรงห้ามเสีย.
               นางฆรณีนั้นคิดว่า "พระศาสดาไม่ทรงอนุญาตแก่เรา คนอื่นผู้สามารถทำปาฏิหาริย์ยิ่งขึ้นไปกว่าเราจะมีแน่แท้" ดังนี้ แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
               ฝ่ายพระศาสดาทรงดำริว่า "คุณของสาวกเหล่านั้นจักปรากฏด้วยอาการอย่างนี้แหละ" ทรงสำคัญอยู่ว่า "พวกสาวกจะบันลือสีหนาท ณ ท่ามกลางบริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์ ด้วยอาการอย่างนี้" จึงตรัสถามสาวกแม้พวกอื่นอีกว่า "พวกเธอจักทำปาฏิหาริย์อย่างไร?" สาวกเหล่านั้นก็กราบทูลว่า "พวกข้าพระองค์จักทำอย่างนี้และอย่างนี้ พระเจ้าข้า" แล้วยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดานั่นแหละ บันลือสีหนาท.
               บรรดาสาวกเหล่านั้น ได้ยินว่า ท่านจุลอนาถบิณฑิกะคิดว่า "เมื่ออนาคามีอุบาสกผู้เป็นบุตรเช่นเรามีอยู่ กิจที่พระศาสดาต้องลำบากย่อมไม่มี" จึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์" ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า "เธอจักทำอย่างไร?"
               จึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักนิรมิตอัตภาพเหมือนพรหมมีประมาณ ๑๒ โยชน์ จักปรบดุจดังพรหมด้วยเสียงเช่นกับมหาเมฆกระหึ่มในท่ามกลางบริษัทนี้ มหาชนจักถามว่า 'นี่ชื่อว่าเสียงอะไรกัน?' แล้วจักกล่าวกันเองว่า ‘นัยว่า นี่ชื่อว่าเป็นเสียงแห่งการปรบดังพรหมของท่านจุลอนาถบิณฑิกะ’ พวกเดียรถีย์จักคิดว่า ' อานุภาพของคฤหบดียังถึงเพียงนี้ก่อน อานุภาพของพระพุทธเจ้าจะเป็นเช่นไร? ยังไม่ทันเห็นพระองค์เลยก็จักหนีไป."
               พระศาสดาตรัสเช่นนั้นเหมือนกัน แม้แก่ท่านจุลอนาถบิณฑิกะนั้นว่า "เราทราบอานุภาพของเธอ" แล้วไม่ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์.
               ต่อมา สามเณรีชื่อว่าวีรา มีอายุได้ ๗ ขวบ บรรลุปฏิสัมภิทารูปหนึ่ง ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักทำปาฏิหาริย์."
               พระศาสดา. วีรา เธอจักทำอย่างไร?
               วีรา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักนำภูเขาสิเนรุ ภูเขาจักรวาล และภูเขาหิมพานต์ตั้งเรียงไว้ในที่นี้ แล้วจักออกจากภูเขานั้นๆ ไปไม่ขัดข้องดุจนางหงส์ มหาชนเห็นหม่อมฉันแล้วจักถามว่า ‘นั่นใคร?’ แล้วจักกล่าวว่า ‘วีราสามเณรี, พวกเดียรถีย์คิดกันว่า อานุภาพของสามเณรีผู้มีอายุ ๗ ขวบ ยังถึงเพียงนี้ก่อน อานุภาพของพระพุทธเจ้าจักเป็นเช่นไร?’ ยังไม่ทันเห็นพระองค์เลยก็จักหนีไป.
               เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบคำเห็นปานนี้ โดยทำนองดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
               พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแม้แก่สามเณรีนั้นว่า "เราทราบอานุภาพของเธอ" ดังนี้แล้ว ก็ไม่ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์.
               ลำดับนั้น สามเณรชื่อจุนทะผู้เป็นขีณาสพ บรรลุปฏิสัมภิทารูปหนึ่ง มีอายุ ๗ ขวบแต่เกิดมา เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า "ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า" ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า "เธอจักทำอย่างไร?" จึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักจับต้นหว้าใหญ่ที่เป็นธงแห่งชมพูทวีปที่ลำต้นแล้วเขย่า นำผลหว้าใหญ่มาให้บริษัทนี้เคี้ยวกิน และข้าพระองค์จักนำดอกแคฝอยมาแล้ว ถวายบังคมพระองค์." พระศาสดาตรัสว่า "เราทราบอานุภาพของเธอ" ดังนี้แล้ว ก็ทรงห้ามการทำปาฏิหาริย์ แม้ของสามเณรนั้น.
               ลำดับนั้น พระเถรีชื่ออุบลวรรณา ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "หม่อมฉันจักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า" ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า "เธอจักทำอย่างไร?" จึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักแสดงบริษัทมีประมาณ ๓๒ โยชน์โดยรอบ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อันบริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์โดยกลมแวดล้อมแล้วมาถวายบังคมพระองค์."
               พระศาสดาตรัสว่า "เราทราบอานุภาพของเธอ" แล้วก็ทรงห้ามการทำปาฏิหาริย์ แม้ของพระเถรีนั้น.
               ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า "ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า" ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า "เธอจักทำอะไร?" จึงกราบทูลว่า " ข้าพระองค์จักวางเขาหลวงชื่อสิเนรุไว้ในระหว่างฟัน แล้วเคี้ยวกินภูเขานั้นดุจพืชเมล็ดผักกาดพระเจ้าข้า."
               พระศาสดา. เธอจักทำอะไร? อย่างอื่น.
               มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักม้วนแผ่นดินใหญ่นี้ดุจเสื่อลำแพนแล้วใส่เข้าไว้ (หนีบไว้) ในระหว่างนิ้วมือ.
               พระศาสดา. เธอจักทำอะไร? อย่างอื่น.
               มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักหมุนแผ่นดินใหญ่ ให้เป็นเหมือนแป้นหมุนภาชนะดินของช่างหม้อ แล้วให้มหาชนเคี้ยวกินโอชะแผ่นดิน.
               พระศาสดา. เธอจักทำอะไร? อย่างอื่น.
               มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักทำแผ่นดินไว้ในมือเบื้องซ้ายแล้ว วางสัตว์เหล่านี้ไว้ในทวีปอื่นด้วยมือเบื้องขวา.
               พระศาสดา. เธอจักทำอะไร? อย่างอื่น.
               มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักทำเขาสิเนรุให้เป็นด้ามร่ม ยกแผ่นดินใหญ่ขึ้นวางไว้ข้างบนของภูเขาสิเนรุนั้น เอามือข้างหนึ่งถือไว้ คล้ายภิกษุมีร่มในมือ จงกรมไปในอากาศ.
               พระศาสดาตรัสว่า "เราทราบอานุภาพของเธอ" ดังนี้แล้วก็ไม่ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์ แม้ของพระเถระนั้น.
               พระเถระนั้นคิดว่า "ชะรอยพระศาสดาจะทรงทราบผู้สามารถทำปาฏิหาริย์ยิ่งกว่าเรา" จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
               ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า "โมคคัลลานะ พวงดอกไม้นี้ เขามิได้ผูกไว้เพื่อประโยชน์แก่เธอ ด้วยว่า เราเป็นผู้มีธุระที่หาผู้เสมอมิได้ ผู้อื่นที่ชื่อว่าสามารถนำธุระของเราไปได้ไม่มี การที่ผู้สามารถนำธุระของเราไปได้ไม่พึงมีในบัดนี้ไม่เป็นของอัศจรรย์ แม้ในกาลที่เราเกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานที่เป็นอเหตุกกำเนิด ผู้อื่นที่สามารถนำธุระของเราไป ก็มิได้มีแล้วเหมือนกัน" อันพระเถระทูลถามว่า "ในกาลไรเล่า? พระเจ้าข้า" จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสกัณหอุสภชาดก๑- นี้ให้พิสดารว่า :-
               ธุระหนักมีอยู่ในกาลใดๆ ทางไปในที่ลุ่มลึก มีอยู่ในกาลใด
               ในกาลนั้นแหละ พวกเจ้าของย่อมเทียมโคชื่อกัณหะ,
               โคชื่อกัณหะนั้นแหละ ย่อมนำธุระนั้นไป.
               เมื่อจะทรงแสดงเรื่องนั้นนั่นแหละให้พิเศษยิ่งขึ้นไปอีก จึงตรัสนันทวิสาลชาดก๒- นี้ให้พิสดารว่า :-
               บุคคลพึงกล่าวคำเป็นที่พอใจเท่านั้น ไม่พึงกล่าวคำไม่เป็นที่พอใจ
               ในกาลไหนๆ (เพราะ) เมื่อพราหมณ์กล่าวคำเป็นที่พอใจอยู่,
               โคนันทวิสาลเข็นภาระอันหนักไปได้ ยังพราหมณ์นั้นให้ได้ทรัพย์
               และพราหมณ์นั้นได้เป็นผู้มีใจเบิกบาน เพราะการได้ทรัพย์นั้น.
____________________________
๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๙; อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๙
๒- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๘; อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๘

               ก็แล พระศาสดาครั้นตรัสแล้ว จึงเสด็จขึ้นสู่จงกรมแก้วนั้น. ข้างหน้าได้มีบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ข้างหลัง ข้างซ้าย และข้างขวาก็เหมือนอย่างนั้น ส่วนโดยตรง มีประมาณ ๒๔ โยชน์. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ในท่ามกลางบริษัท.
               ยมกปาฏิหาริย์นั้น บัณฑิตพึงทราบตามพระบาลีอย่างนี้ก่อน.
84  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / เรื่องยมกปาฏิหาริย์ อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 08:53:41 am
๒. เรื่องยมกปาฏิหาริย์ [๑๔๙]               
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดาทรงปรารภเทวดาและพวกมนุษย์เป็นอันมาก ที่พระทวารแห่งสังกัสสนคร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เย ฌานปฺปสุตา ธีรา" เป็นต้น.
               ก็เทศนาตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์.

               เศรษฐีได้ไม้จันทน์ทำบาตร               
               ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ให้ขึงข่ายมีสัณฐานคล้ายขวด เพื่อความปลอดภัย๑- และเพื่อรักษาอาภรณ์เป็นต้น ที่หลุดไปด้วยความพลั้งเผลอแล้ว เล่นกีฬาทางน้ำในแม่น้ำคงคา.
____________________________
๑- เพื่อเปลื้องอันตราย.

               ในกาลนั้น ต้นจันทน์แดงต้นหนึ่ง เกิดขึ้นที่ริมฝั่งตอนเหนือของแม่น้ำคงคา มีรากถูกน้ำในแม่น้ำคงคาเซาะโค่นหักกระจัดกระจายอยู่บนหินเหล่านั้นๆ. ครั้งนั้น ปุ่มๆ หนึ่งมีประมาณเท่าหม้อ ถูกหินครูดสี ถูกคลื่นน้ำซัด เป็นของเกลี้ยงเกลา ลอยไปโดยลำดับ อันสาหร่ายรวบรัดมาติดที่ข่ายของเศรษฐีนั้น.
               เศรษฐีกล่าวว่า "นั่นอะไร?" ได้ยินว่า "ปุ่มไม้" จึงให้นำปุ่มไม้นั้นมาให้ถากด้วยปลายมีด เพื่อจะพิจารณาว่า "นั่นชื่ออะไร?"
               ในทันใดนั่นเอง จันทน์แดงมีสีดังครั่งสดก็ปรากฏ. ก็เศรษฐียังไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ วางตนเป็นกลาง. เขาคิดว่า "จันทน์แดงในเรือนของเรามีมาก เราจะเอาจันทน์แดงนี้ทำอะไรหนอแล?" ทีนั้น เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "ในโลกนี้ พวกที่กล่าวว่า ‘เราเป็นพระอรหันต์’ มีอยู่มาก เราไม่รู้จักพระอรหันต์แม้สักองค์หนึ่ง เราจักให้ประกอบเครื่องกลึงไว้ในเรือน ให้กลึงบาตรแล้ว ใส่สาแหรกห้อยไว้ในอากาศประมาณ ๖๐ ศอก โดยเอาไม้ไผ่ต่อกันขึ้นไปแล้ว จะบอกว่า ‘ถ้าว่า พระอรหันต์มีอยู่ จงมาทางอากาศแล้ว ถือเอาบาตรนี้’ ผู้ใดจักถือเอาบาตรนั้นได้ เราพร้อมด้วยบุตรภรรยาจักถึงผู้นั้นเป็นสรณะ."
               เขาให้กลึงบาตรโดยทำนองที่คิดไว้นั่นแหละ ให้ยกขึ้นโดยเอาไม้ไผ่ต่อๆ กันขึ้นไปแล้ว กล่าวว่า "ในโลกนี้ ผู้ใดเป็นพระอรหันต์ ผู้นั้นจงมาทางอากาศ ถือเอาบาตรนี้."

               ครูทั้ง ๖ อยากได้บาตรไม้จันทน์               
               ครูทั้งหกกล่าวว่า "บาตรนั้นสมควรแก่พวกข้าพเจ้า ท่านจงให้บาตรนั้นแก่พวกข้าพเจ้าเสียเถิด."
               เศรษฐีนั้นกล่าวว่า "พวกท่านจงมาทางอากาศแล้ว เอาไปเถิด."
               ในวันที่ ๖ นิครนถ์นาฏบุตรส่งพวกอันเตวาสิกไปด้วยสั่งว่า "พวกเจ้าจงไป จงพูดกะเศรษฐีอย่างนี้ว่า ‘บาตรนั่นสมควรแก่อาจารย์ของพวกข้าพเจ้า ท่านอย่าทำการมาทางอากาศ เพราะเหตุแห่งของเพียงเล็กน้อยเลย นัยว่า ท่านจงให้บาตรนั่นเถิด." พวกอันเตวาสิกไปพูดกะเศรษฐีอย่างนั้นแล้ว.
               เศรษฐีกล่าวว่า "ผู้ที่สามารถมาทางอากาศแล้วถือเอาได้เท่านั้น จงเอาไป."

               นาฏบุตรออกอุบายเอาบาตร               
               นาฏบุตรเป็นผู้ปรารถนาจะไปเอง จึงได้ให้สัญญาแก่พวกอันเตวาสิกว่า "เราจักยกมือและเท้าข้างหนึ่ง เป็นทีว่าปรารถนาจะเหาะ พวกเจ้าจงร้องบอกเราว่า ‘ท่านอาจารย์ ท่านจะทำอะไร? ท่านอย่าแสดงความเป็นพระอรหันต์ที่ปกปิดไว้ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้แก่มหาชนเลย’ ดังนี้แล้ว จงพากันจับเราที่มือและเท้าดึงไว้ ให้ล้มลงที่พื้นดิน." เขาไปในที่นั้นแล้ว กล่าวกะเศรษฐีว่า "มหาเศรษฐีบาตรนี้สมควรแก่เรา ไม่สมควรแก่ชนพวกอื่น ท่านอย่าชอบใจการเหาะขึ้นไปในอากาศของเรา เพราะเหตุแห่งของเพียงเล็กน้อย จงให้บาตรแก่เราเถิด."
               เศรษฐี. ผู้เจริญ ท่านต้องเหาะขึ้นไปทางอากาศแล้ว ถือเอาเถิด.
               ลำดับนั้น นาฏบุตรกล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงหลีกไปๆ" กันพวกอันเตวาสิกออกไปแล้ว กล่าวว่า "เราจักเหาะขึ้นไปในอากาศ" ดังนี้แล้ว ก็ยกมือและเท้าขึ้นข้างหนึ่ง. ทีนั้น พวกอันเตวาสิกกล่าวกับอาจารย์ว่า "ท่านอาจารย์ ท่านจะทำชื่ออะไรกันนั่น? ประโยชน์อะไรด้วยคุณที่ปกปิดไว้ อันท่านแสดงแก่มหาชน เพราะเหตุแห่งบาตรไม้นี้" แล้วช่วยกันจับนาฏบุตรนั้นที่มือและเท้า ดึงมาให้ล้มลงบนแผ่นดิน. เขาบอกกะเศรษฐีว่า "มหาเศรษฐี อันเตวาสิกเหล่านี้ไม่ให้เหาะ ท่านจงให้บาตรแก่เรา."
               เศรษฐี. ผู้เจริญ ท่านต้องเหาะขึ้นไปถือเอาเถิด.
               พวกเดียรถีย์ แม้พยายามด้วยอาการอย่างนี้สิ้น ๖ วันแล้ว ยังไม่ได้บาตรนั้นเลย.

               ชาวกรุงเข้าใจว่าไม่มีพระอรหันต์               
               ในวันที่ ๗ ในกาลที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระปิณโฑลภารทวาชะไปยืนบนหินดาดแห่งหนึ่งแล้วห่มจีวร ด้วยตั้งใจว่า "จักเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์" พวกนักเลงคุยกันว่า "ชาวเราเอ๋ย ในกาลก่อน ครูทั้ง ๖ กล่าวว่า ‘พวกเราเป็นพระอรหันต์ในโลก’ ก็เมื่อเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ให้ยกบาตรขึ้นไว้แล้วกล่าวว่า ‘ถ้าว่า พระอรหันต์มีอยู่, จงมาทางอากาศแล้ว ถือเอาเถิด’ วันนี้เป็นวันที่ ๗ แม้สักคนหนึ่งชื่อว่าเหาะขึ้นไปในอากาศด้วยแสดงตนว่า ‘เราเป็นพระอรหันต์’ ก็ไม่มี วันนี้ พวกเรารู้ความที่พระอรหันต์ไม่มีในโลกแล้ว."
               ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ยินถ้อยคำนั้นแล้ว จึงกล่าวกะท่าน พระปิณโฑลภารทวาชะว่า "อาวุโส ภารทวาชะ ท่านได้ยินถ้อยคำของพวกนักเลงเหล่านี้ไหม? พวกนักเลงเหล่านี้พูดเป็นทีว่าจะย่ำยีพระพุทธศาสนา ก็ท่านมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ท่านจงไปเถิด จงมาทางอากาศแล้วถือเอาบาตรนั้น."
               ปิณโฑลภารทวาชะ. อาวุโส โมคคัลลานะ ท่านเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาสาวกผู้มีฤทธิ์ ท่านจงถือเอาบาตรนั้น แต่เมื่อท่านไม่ถือเอา ผมจักถือเอา.

               พระปิณโฑลภารทวาชะแสดงปาฏิหาริย์               
               เมื่อพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านจงถือเอาเถิดผู้มีอายุ" ท่านปิณโฑลภารทวาชะก็เข้าจตุตถฌาน มีอภิญญาเป็นบาท ออกแล้ว เอาปลายเท้าคีบหินดาดประมาณ ๑ คาวุต ให้ขึ้นไปในอากาศเหมือนปุยนุ่น แล้วหมุนเวียนไปในเบื้องบนพระนครราชคฤห์ ๗ ครั้ง. หินดาดนั้นปรากฏดังฝาละมีสำหรับปิดพระนครไว้ประมาณ ๓ คาวุต. พวกชาวพระนครกลัว ร้องว่า "หินจะตกทับข้าพเจ้า" จึงทำเครื่องกั้นมีกระด้งเป็นต้นไว้บนกระหม่อม แล้วซุกซ่อนในที่นั้นๆ. ในวาระที่ ๗ พระเถระทำลายหินดาด แสดงตนแล้ว.
               มหาชนเห็นพระเถระแล้ว กล่าวว่า "ท่านปิณโฑลภารทวาชะผู้เจริญ ท่านจงจับหินของท่านไว้ให้มั่น อย่าให้พวกข้าพเจ้าทั้งหมดพินาศเสียเลย."
               พระเถระเอาปลายเท้าเหวี่ยงหินทิ้งไป. แผ่นหินนั้นไปตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง. พระเถระได้ยืนอยู่ในที่สุดแห่งเรือนของเศรษฐี. เศรษฐีเห็นท่านแล้ว หมอบลงแล้ว กราบเรียนว่า "ลงเถิด พระผู้เป็นเจ้า" นิมนต์พระเถระผู้ลงจากอากาศให้นั่งแล้ว ให้นำบาตรลง กระทำให้เต็มด้วยวัตถุอันมีรสหวาน ๔ อย่างแล้ว ได้ถวายแก่พระเถระ. พระเถระรับบาตรแล้วบ่ายหน้าสู่วิหาร ไปแล้ว.
               ลำดับนั้น ชนเหล่าใดที่อยู่ในป่าบ้าง อยู่ในบ้านบ้าง ไม่เห็นปาฏิหาริย์ของพระเถระ ชนเหล่านั้นประชุมกันแล้ววิงวอนพระเถระว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงปาฏิหาริย์แม้แก่พวกผม" ดังนี้แล้ว ก็พากันติดตามพระเถระไป.
               พระเถระนั้นแสดงปาฏิหาริย์แก่ชนเหล่านั้นๆ พลางได้ไปยังพระวิหารแล้ว.

               พระศาสดาทรงห้ามไม่ให้ภิกษุทำปาฏิหาริย์               
               พระศาสดาทรงสดับเสียงมหาชนที่ติดตามพระเถระนั้นอื้ออึงอยู่ จึงตรัสถามว่า "อานนท์ นั่นเสียงใคร?" ทรงสดับว่า "พระเจ้าข้า พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นไปในอากาศแล้ว ถือเอาบาตรไม้จันทน์ นั่นเสียงในสำนักของท่าน"
               จึงรับสั่งให้เรียกพระปิณโฑลภารทวาชะมา ตรัสถามว่า "ได้ยินว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ?" เมื่อท่านกราบทูลว่า "จริง พระเจ้าข้า"
               จึงตรัสว่า "ภารทวาชะ ทำไม เธอจึงทำอย่างนั้น?" ทรงติเตียนพระเถระ แล้วรับสั่งให้ทำลายบาตรนั้น ให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่แล้ว รับสั่งให้ประทานแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่อันบดผสมยาตา แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย เพื่อต้องการไม่ให้ทำปาฏิหาริย์.
               ฝ่ายพวกเดียรถีย์ได้ยินว่า "ทราบว่า พระสมณโคดมให้ทำลายบาตรนั้นแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อต้องการมิให้ทำปาฏิหาริย์" จึงเที่ยวบอกกันในถนนในพระนครว่า "สาวกทั้งหลายของพระสมณโคดม ไม่ก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ถึงพระสมณโคดมก็จักรักษาสิกขาบทที่ทรงบัญญัตินั้นเหมือนกัน บัดนี้ พวกเราได้โอกาสแล้ว" แล้วกล่าวว่า "พวกเรารักษาคุณของตน จึงไม่แสดงคุณของตนแก่มหาชน เพราะเหตุแห่งบาตรไว้ในกาลก่อน เหล่าสาวกของพระสมณโคดมแสดงคุณของตนแก่มหาชน เพราะเหตุแห่งบาตร พระสมณโคดมรับสั่งให้ทำลายบาตรนั้นแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่เหล่าสาวก เพราะพระองค์เป็นบัณฑิต บัดนี้ พวกเราจักทำปาฏิหาริย์กับพระสมณโคดมนั่นแล."
85  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ภาพเก่าๆ ของครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 08:38:58 am


ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล และสานุศิษย์บรรพชิต
บันทึกภาพร่วมกัน ณ สำนักวัดป่าข่าโคม หรือวัดป่าหนองอ้อ
บ้านข่าโคม ต.หนองขอน อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
เมื่อออกพรรษาในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
สานุศิษย์บรรพชิตขององค์หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล...





นั่งหน้าสุด : พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย)
นั่งแถวกลาง จากซ้าย : พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ),
พระธรรมไตรโลกาจารย์ (หลวงปู่รักษ์ เรวโต),
พระจันโทปมาจารย์ (หลวงปู่จันโท กตปุญฺโญ), ...





หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล กับ หลวงปู่มี ญาณมุนี
ภาพนี้ถ่ายเมื่อครั้งหลวงปู่เสาร์ เมตตามาเยี่ยมหลวงปู่มี
ณ วัดป่าสูงเนิน (วัดญาณโศภิตวนาราม)
บ้านญาติเจริญ ต.สูงเนิน อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา
86  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ปัญญา...เป็นอย่างไร ? พจนานุกรมพุทธศาสน์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 08:32:36 am
‪‎ปัญญา...เป็นอย่างไร?
ปัญญา แปลว่า ‪‎ความรู้โดยประการต่างๆ‬
อธิบายว่า
ปรีชาหยั่งรู้เหตุผล, ความรู้เข้าใจชัดเจน,
ความรู้เข้าใจแยกได้ในเหตุผล ดีชั่ว คุณโทษ ประโยชน์มิใช่ปะโยชน์ เป็นต้น และรู้ที่จะจัดแจง จัดสรร จัดการ ดำเนินการ ทำให้ลุผล ล่วงพ้นปัญหา,
ความรอบรู้ในกองสังขารมองเห็นตามเป็นจริง



ปัญญา มี ๓ คือ
๑. ‪‎จินตามยปัญญา‬ ปัญญาเกิดจากการคิดพิจารณา (โยนิโสมนสิการ)
๒. ‪‎สุตมยปัญญา‬ ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียน (ปรโตโฆสะ)
๓. ‪‎ภาวนามยปัญญา‬ ปัญญาเกิดจากการปฏิบัติบำเพ็ญ (หมายถึง ญาณอันเกิดขึ้นแก่ผู้อาศัยจินตามยปัญญา [ได้แก่พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า] หรือญาณอันเกิดขึ้นแก่ผู้อาศัยทั้งสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญาขะมักเข้นมนสิการในสภาวธรรมทั้งหลาย) (ที.ปา.๑๑/๒๒๘/๒๓๑, อภิ.วิ.๓๕/๗๙๗/๔๒๒)
เรียบเรียงและสรุปความจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
87  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ช่วยแนะวิธี หน่อยครับ เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 08:25:22 am
ทางด้านกายภาพ
   
      สามารถแกร็งกล้ามเนื้อในส่วนบริเวณที่เป็น เหมือนวิธียืดหยุ่นกล้ามเนื้อทางยิมนัสติก

   แต่สุดท้าย ก็คือ ทน  ทน  อดทน (ตะบะ)

    :'(
88  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปฏิบัติธรรมจำเป็นต้องนั่งอย่างเดียวหรือป่าว เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 08:20:55 am
ท่าในอริยาบททั้งสี่สามารถปฏิบัติได้
  แต่ที่มีปรากฏในพระสูตร ส่วนใหญ่แล้ว จะกล่าวว่านั่งตัวตรง

 
89  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ภาพจิตรกรรมภายในคูหาหมู่ถ้ำพระตุนหวง สมัยราชวงศ์เป่ยเว่ย ราวศตวรรษที่ 5 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 08:11:04 am
ภาพจิตรกรรมภายในคูหาหมายเลขที่ 254 ของหมู่ถ้ำพระตุนหวง สร้างขึ้นสมัยราชวงศ์เป่ยเว่ย ราวศตวรรษที่ 5 ชมภาพแบบอินเตอร์แอ็กทีฟได้จากลิ้งก์นี้ http://imlab.tw/dunhuang/en/vr/254/zhushi.html














ที่มา FACEBOOK คลังพุทธศาสนา
90  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / อันซีนวัดไทย พ.ค. 2559 เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 07:53:06 am
วัดโพรงอากาศ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา
สิ่งที่โดดเด่นภายในวัด คือ อุโบสถมหาเจดีย์ขนาดใหญ่ สีทองอร่าม ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย และ องค์พระพิฆเนศปางนั่งประทานพรองค์ใหญ่ โดดเด่นมองเห็นได้แต่ไกลจากถนน
www.unseentourthailand.com



ภาพจากแฟนเพจ: Nongpoo Phungkhon
www.facebook.com/profile.php?id=100002280338185


วัดโพรงอากาศ  ตั้งอยู่ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นอีกหนึ่งวัดที่สวยงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชน  สิ่งโดดเด่นของวัดก็คือ พระอุโบสถมหาเจดีย์ขนาดใหญ่สีทองอร่ามซึ่งหลวงพ่อสมชายเจ้าอาวาสคนปัจจุบันตั้งใจสร้างเพื่อ ให้เป็น สถานที่สำคัญของเมืองแปดริ้ว รวมถึงอุทยานพระพิฆเนศของวัดโพรงอากาศ ซึ่งมีองค์พระพิฆเนศปางนั่งประทานพรองค์ใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดมองเห็นโดดเด่นมาแต่ไกลจากถนน เป็นภาพที่สวยงามอย่างมาก โดยใช้เสาทั้งหมด 196 ต้น  ชั้นล่างมี และยังเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศอินเดีย นอกจากนี้วัดโพรงอากาศ ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกหลายอย่างไม่ว่าจะเป็น การสักการะพระพุทธรูปจำลอง ทั้งหลวงพ่อโสธร  หลวงพ่อวัดบ้านแหลม  หลวงพ่อโต หลวงพ่อวัดไร่ขิง และหลวงพ่อวัดเขาตะเครา เมื่อเข้ามาถึงบริเวณวัดจะสัมผัสได้ถึงอากาศที่ค่อนข้างปลอดโปร่งเย็นสบายเนื่องจากมีลมพัดเย็นตลอดเวลา มีศาลาริมน้ำสำหรับ นั่งพักผ่อน เป็นอีกหนึ่งวัดที่เมื่อมาถึงแล้วให้ความรู้สึกร่มเย็นและอากาศค่อนข้างดีมาก



การเดินทางไปวัดโพรงอากาศ
หากเดินทางมาจากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์หรือเส้นทางมีนบุรีเข้าสุ่จังหวัดฉะเชิงเทรา ก่อนเข้าตัวจังหวัดฉะเชิงเทราจะมีป้ายไป ฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ ตรงไปจนเห็นทางไปฉะเชิงเทรา ให้ขึ้นสะพานลอยไปกรุงเทพ ตรงไปจะเจอสามแยก ให้เลี้ยวขวาเข้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว วิ่งไปประมาณ 6 กม. จะเจออีกสามแยกให้เลี้ยวซ้าย วิ่งไปอีกประมาณ 3.5 กมอีกเส้นทางหนึ่ง หากมาจาก รังสิตให้ใช้ถนนหมายเลข 305 (ถนนรังสิต-นครนายก) มาจนถึง สามแยกไฟแดงอำเภอองครักษ์ (เลยมหาวิยาลัยศรินครินทร วิโรฒประมาณ 1,500 ม.)ให้เลี้ยวขวาเข้าถนนหมายเลข 3001 (ถนนองครักษ์างน้ำเปรี้ยว) ตรงเข้าตัวจังหวัดฉะเชิงเทรา ระยะทางประมาณ50 กิโลเมตรจะถึงวัดโพรงอากาศพอดี เมื่อเราขับรถมาไกล้ระยะทางที่จะถึงวัดแล้วจะ สามารถมองเห็น พระอุโบสถมหาเจดีย์องค์สีทองขนาดใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ด้านหน้า



เครดิตเนื้อหาและรูปภาพ http://www.paiduaykan.com/province/central/chachoengsao/watprongarkad.html
91  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / อะไรคือ มงคลของชีวิต ชีวิตที่เป็นมงคล เป็นอย่างไร ? เมื่อ: พฤษภาคม 28, 2016, 06:25:36 am
อะไรคือ มงคลของชีวิต ชีวิตที่เป็นมงคล เป็นอย่างไร ?
(๑) การไม่คบคนพาล
(๒) การคบแต่บัณฑิต
(๓) การบูชาคนที่ควรบูชา นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
(๔) การอยู่ในถิ่นที่เหมาะสม
(๕) การได้สร้างบุญไว้ในปางก่อน
(๖) การตั้งตนไว้ชอบ นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
(๗) ความเป็นพหูสูต
(๘) ความเป็นผู้มีศิลปะ
(๙) วินัยที่ศึกษามาดี
(๑๐) วาจาสุภาษิต นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
(๑๑) การบำรุงมารดาบิดา
(๑๒) การสงเคราะห์บุตร
(๑๓) การสงเคราะห์ภรรยา
(๑๔) การงานที่ไม่อากูล C นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
(๑๕) การให้ทาน
(๑๖) การประพฤติธรรม
(๑๗) การสงเคราะห์ญาติ
(๑๘) การงานที่ไม่มีโทษ นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
(๑๙) การงดเว้นจากบาป
(๒๐) การเว้นจากการดื่มน้ำเมา
(๒๑) ความไม่ประมาทในธรรม นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
(๒๒) ความเคารพ
(๒๓) ความถ่อมตน
(๒๔) ความสันโดษ
(๒๕) ความกตัญญู
(๒๖) การฟังธรรมตามกาล นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
(๒๗) ความอดทน D
(๒๘) ความเป็นคนว่าง่าย
(๒๙) การพบเห็นสมณะ
(๓๐) การสนทนาธรรมตามกาล นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
(๓๑) การเผาผลาญบาป
(๓๒) การประพฤติพรหมจรรย์ E
(๓๓) การเห็นอริยสัจ
(๓๔) การทำนิพพานให้แจ้ง นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
(๓๕) จิตของผู้ที่ถูกโลกธรรมกระทบแล้วไม่หวั่นไหว
(๓๖) จิตไม่เศร้าโศก
(๓๗) จิตปราศจากธุลี
(๓๘) จิตเกษม นี้เป็นมงคลอันสูงสุด
http://pratripitaka.com/25-005/

<iframe width="640" height="360" src="https://www.youtube.com/embed/EuSGX6PoKBI" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
92  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ข่าวพระประจำเดือน พ.ค. 2559 จี้ พศ.เพิ่มยอดพระ-เณรเรียนบาลี เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2016, 05:52:58 pm
จี้ พศ.เพิ่มยอดพระ-เณรเรียนบาลี | เดลินิวส์
„สมเด็จวัดปากน้ำ ฝาก พศ.เพิ่มยอดพระ-เณร เรียนบาลี สืบต่อพระพุทธศาสนา พร้อมเตือนครูบาลีต้องรักการสอน นักเรียน เสริมความรู้ ด้านแม่กองบาลีสนามหลวง เน้นนโยบายเข้มการเรียนการสอน รุกแก้ปัญหาลดผู้ขาดสอบ เพิ่มยอดผู้สอบให้มากขึ้น“

จี้ พศ.เพิ่มยอดพระ-เณรเรียนบาลี | เดลินิวส์
„23 พ.ค.) ที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ  สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช กล่าวในการเปิดการอบรมครูสอนพระปริยัติ แผนกบาลี สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง ว่า พระพุทธศาสนาจะอยู่ได้ ด้วยพระภิกษุ สามเณร ให้ความสนใจการศึกษาบาลี ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการศึกษาพระพุทธศาสนา จึงขอฝากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.)ให้ส่งเสริมการศึกษาบาลีของคณะสงฆ์ให้มีความเข้มแข็งและมีจำนวนผู้เรียนมากขึ้น สำหรับครูสอนบาลีก็ต้องมีใจรัก 3 ประการ คือ ประการแรก รักการสอน ต้องมีการเตรียมการสอน ทบทวนความรู้ให้ชำนาญการ ต้องให้ความรู้แก่นักเรียน เมื่อแปลแล้วต้องอธิบายให้เข้าใจด้วย โดยเฉพาะคำศัพท์ ประการที่สอง รักนักเรียน ต้องเอาใจใส่ แนะแนวพร่ำสอน ต้องมีดุ ว่า กล่าว ตักเตือน เพื่อให้ลูกศิษย์มีคุณภาพ อย่าปล่อยนักเรียนเล่นแต่โทรศัพท์ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพของการเรียนบาลีได้ และ ประการที่สาม รักเสริมความรู้ โดยต้องมีการพัฒนาความรู้ ติดตามข่าวให้รอบด้านด้วย พระพรหมโมลี(สุชาติ ธมฺมรตโน) แม่กองบาลีสนามหลวง กล่าวว่า นโยบายการสอนบาลีจากนี้ไป จะเน้นความเข้มในการเรียนการสอน โดยแนวทางชี้วัด คือ ผู้เรียนต้องมีความรู้จริงในการสอบ รวมถึงสามารถเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้ ที่สำคัญตนตั้งเป้าหมายว่า ต้องลดจำนวนผู้ขาดสอบและเพิ่มจำนวนคนเข้าสอบให้ได้ ด้านนายพนม ศรศิลป์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(พศ.) กล่าวว่า ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกบาลี มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาขับเคลื่อนการศึกษาภาษาบาลีให้มีความเจริญมั่นคง ซึ่งในปี 2559 สำนักแม่กองบาลีสนามหลวงได้คัดเลือกครูใหม่ที่ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักเรียนและสำนักศาสนศึกษาที่มีผลการสอบประโยคบาลีสนามหลวงอยู่ในเกณฑ์ดี และครูสอนพระปริยัติธรรมในสังกัดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญจำนวน 240 รูป/คน มาอบรมแล้วขึ้นทะเบียนตามบัญชีของพศ.และได้รับถวายค่าตอบแทนเป็นรายปีต่อไปด้วย“

ที่มา : http://www.dailynews.co.th/education/399491
93  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: บาลีวันละคำ กลัว ! เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2016, 05:43:09 pm
ตอนนี้จะเริ่มทยอยเขียน แต่...  เน็ตไม่นิ่งเลย มามั่ง ไม่มามั่งขนาดใช้ตั้งสามระบบ ทรูไวไฟ 3bb MY บางครั้งที่ควระจ 10-20 นาที ก็กลายเป็น 2 ชม.

แต่ยังไตอนนี้ว่าจะพยายาม

 :welcome:
94  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ข่าวพระประจำเดือน พ.ค. 2559 ภารกิจปลูกต้นไม้รอบวัด วัดป่ารักษ์น้ำสกลนคร เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2016, 04:53:40 pm
ภารกิจปลูกต้นไม้รอบวัด ไผ่ 8 ชนิด มะฮอกกานี คูน ชัยพฤกษ์ มะขาม กล้วย มะไฟ ลีลาวดี สัก มะม่วง พิกุล กันเกรา ตะไคร้ สารภี พุด จำปี โกสน







ที่มา FACEBOOK วัดป่ารักษ์น้ำสกลนคร
95  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ข่าวพระประจำเดือน พ.ค. 2559 ชาวมุสลิมนราธิวาสทอดผ้าป่าบูรณะที่พักพระสงฆ์ เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2016, 04:45:08 pm
ชาวมุสลิมนราธิวาสร่วมใจทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อบูรณะที่พักพระสงฆ์

เรื่องราวนี้เกิดขึ้นที่พักสงฆ์แก้วศิริธรรม บ้านเจาะบากง ม.3 ต.ปูโยะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส บรรยากาศเป็นไปด้วยความชื่นมื่น มีประชาชนที่นับถือศาสนาพุทธ และนับถือศาสนาอิสลาม จำนวนกว่า 300 คน หอบลูกจูงหลานมาร่วมกันเดินแห่ขบวนผ้าป่าสามัคคี



ด้วยแรงศรัทธาจากการบริจาคเงินของประชาชนทั้ง 2 ศาสนา เพื่อนำมาบูรณปฏิสังขรณ์ ศาลา โรงเลี้ยงและกุฏิ ที่ชำรุดทรุดโทรม โดยมีนายปรีชา นวลน้อย นายอำเภอสุไหงโกลก และพระขจรวุฒิ เขมธัมโม เจ้าสำนักที่พักสงฆ์แก้วศิริธรรม คอยให้การต้อนรับ



สำหรับบรรยากาศแบบนี้ถือว่าพบเห็นได้ยาก โดยเฉพาะ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่เงียบหายไปนานกว่า 12 ปี หลังจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ โดยประชาชนทั้ง 2 ศาสนา ต่างทำกิจกรรมร่วมกัน และถือโอกาสพูดคุยสอบถามถึงความเป็นอยู่ด้วยความห่วงใยจากใจจริง โดยทั้ง 2 ฝ่าย ได้แสดงออกทาง สีหน้า แววตา และรอยยิ้มที่เห็นได้ชัดเจน



ประการสำคัญงานทอดผ้าป่าสามัคคีในครั้งนี้ ถือเป็นบันไดก้าวแรกสำหรับหมู่บ้านเจาะบากง ที่จะกลายเป็นหมู่บ้านตัวอย่างแห่งแรกของ จ.นราธิวาส ซึ่งประชาชนชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข รวมทั้งให้การช่วยเหลือกิจกรรมซึ่งกันและกัน

ข่าว.รพี มามะ/นราธิวาส
ที่มา FACEBOOK รวมพลังต่อต้านคอร์รัปชั่น
96  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ข่าวพระประจำเดือน พ.ค. 2559 รูปหล่อสมเด็จเกี่ยวประดิษฐาน ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2016, 04:38:47 pm
พระสงฆ์วัดอมราวดี นำโดย พระวิเทศพุทธิคุณ-พระอาจารย์อมโร เจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ ร่วมกันนำรูปหล่อเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) ขึ้นประดิษฐาน ณ วัดอมรวาดี
วัดอมราวดีก่อกำเนิดโดยอาจารย์สุเมโธ ซึ่งมาจากความเห็นพร้องต้องกันของสหายธรรมทั้งสอง คือ หลวงพ่อชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง กับ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ที่ปรึกษากัน และลงความเห็นกันว่า ต้องให้อาจารย์สุเมโธ เป็นหลักสายหนองป่าพง ในต่างประเทศ



เมื่อครั้งที่อาจารย์สุเมโธยังเป็นฆราวาสท่านเป็นอาจารย์สอนนักศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวีซ่าท่านหมดอายุ ท่านต้องเดินทางไปต่อวีซ่าที่ประเทศลาว และได้ไปคุ้นเคยกับพระผู้ใหญ่ที่หนองคาย จึงเดินทางโดยรถไฟ เพื่อไปยัง จ.หนองคาย บ่อยครั้ง



บนรถไฟวันหนึ่ง ท่านได้พบกับพระภิกษุรูปหนึ่ง เห็นกิริยาแล้วเลื่อมใสจึงเข้าไปกราบสนทนาพูดคุยด้วย พระภิกษุรูปนั้นให้ความเป็นกันเองพูดคุยสนทนากับท่านดีมากๆ ซึ่งต่อมาเมื่อท่านได้บวชที่หนองคาย ถามพระอุปัชฌาย์ จึงได้ทราบว่า พระภิกษุรูปนั้น คือ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) ในสมัยนั้นท่านมีราชทินนามเป็นพระพรหมคุณาภรณ์



ครั้งหนึ่ง หลวงพ่อชา ได้นำคณะพระสงฆ์ในสายวัดหนองป่าพงไปกราบเจ้าประคุณสมเด็จฯ ฝากวัดและพระสงฆ์ในสายหนองป่าพงไว้กับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ซึ่งท่านก็รับปากว่าจะช่วยดูแล
นั่นคือ เหตุผลที่ความเคารพศรัทธาและเกื้อกูลกันถูกถ่ายทอดถึงรุ่นศิษย์

ที่มา FACEBOOK สนง. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ วัดสระเกศ
97  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ข่าวพระประจำเดือน พ.ค. 2559 โครงการฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์ คณะสงฆ์ภาค ๖ เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2016, 04:23:27 pm
๒๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๙
เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ประธานคณะกรรมการศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม กรุงเทพมหานคร ได้เมตตาเดินทางมาให้โอวาทและบรรยายพิเศษ ในโครงการฝึกอบรมพระวิปัสสนาจารย์ คณะสงฆ์ภาค ๖ (จังหวัดเชียงราย จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน และจังหวัดลำปาง) เป็นเวลา ๔๕ วัน ระหว่างวันที่ ๒๓ พฤษภาคม - ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ณ วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย









ที่มา FACEBOOK วัดพระธาตุผาเงา จังหวัดเชียงราย
98  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ข่าวพระประจำเดือน พ.ค. 2559 ก่อสร้างเจดีย์หลวงศรีนันทจริม(ชเวดากอง) เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2016, 04:16:03 pm
หลวงปูทอง วัดน้ำพาง อายุ 96 เกจิอาจารย์แห่งเมืองน่าน ท่านได้เมตตามาอธิฐานจิตเยียมชม สถานที่ก่อสร้างเจดีย์หลวงศรีนันทจริม(ชเวดากอง) ซึ่งก่อนทำการก่อสร้างเจดีย์นี้หลวงปูท่านได้เมตตาบอกจุดตรงนี้ให้เป็นที่สร้างเจดีย์ ท่านบอกว่าสถานที่แห่งนี้เคยสร้างเจดีย์มาครั้งหนึ่งแล้วแต่สร้างไม่สำเร็จ ณ เวลานี้ผ่านมากึงพุทธกาลแล้วจึงจำเป็นต้องสร้างให้สำเร็จลุลวง เพื่อถวายเป็นสมบัติของศาสนาและประเทศชาติต่อไป








ที่มา FACEBOOK วัดห้วยซ้อ อ.แม่จริม จ.น่าน
99  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ข่าวพระประจำเดือน พ.ค. 2559 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2016, 04:12:06 pm
การกลับมาบิณฑบาตอีกครั้งโดยพระสงฆ์ไทยในอินโดนีเซีย หลังจากที่พุทธศาสนา สูญหายไปจากเกาะชวา 500 ปี ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน และประชาชนเป็นอย่างมาก









ที่มา FACEBOOK ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย
ภาพประกอบ: การบิณฑบาตรในเมือง YogYa ในสัปดาห์ Wisak
Photos by คุณ ทศพร ศุภศิริภิญโญ
100  พระไตรปิฏก / พระธรรมตามพระไตรปิฏก / คนค่อมแต่คุณธรรมสูง เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2016, 03:51:53 pm
คนค่อมแต่คุณธรรมสูง
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ เชตวนารามของนาถปิณฑิกคฤหบดี ใกล้กรุงสาวัตถี. สมัยนั้นท่านพระภิททิยะผู้ค่อม (เรียกชื่อติดกันว่า ลกุณฏกภัททิยะ) เดินตามหลังภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค. พระผู้มีพระภาคได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระลกุณฏกภัททิยะเดินตามหลังภิกษุหลายรูปมาแต่ไกล เป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยต่ำมาก อันภิกษุทั้งหลายบังเสียโดยมาก. ครั้นทอดพระเนตรเห็นแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเห็นภิกษุรูปนั้นหรือไม่ ผู้เดินตามหลังภิกษุหลายรูปมาแต่ไกล เป็นผู้มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เตี้ยต่ำมาก อันภิกษุทั้งหลายบังเสียโดยมาก." ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "เห็น พระเจ้าข้า" พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นแหละ เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมาบัติที่ภิกษุนี้ไม่เคยเข้า หาได้ยากมาก กุลบุตรทั้งหลายออกจากเรือนบวชเป็นอนาคาริยะโดยชอบ เพื่อประโยชน์อันใด ภิกษุนี้ ทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์นั้น อันยอดเยี่ยม อันเป็นที่สุดแห่งการประพฤติพรหมจรรย์แล้ว ด้วยความรู้ยิ่งด้วยตนเองอยู่ในปัจจุบัน."





ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
"รถที่ไม่มีส่วนบกพร่อง มีหลังคาขาว มีกำข้างเดียว กำลังแล่นอยู่ ท่านจงดูรถคันนั้น อันไม่สะเทือน มีกระแสอันขาด ไม่มีเครื่องผูก กำลังมาอยู่.๑"
อุทาน ๒๕/๒๐๐
พระไตรปิฎกฉบับประชาชน
101  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / APK มนต์พิธี บทสวดชาวพุทธ เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2016, 03:39:30 pm
มนต์พิธี บทสวดชาวพุทธ



ดาวน์โหลด https://play.google.com/store/apps/details?id=com.nongohm.magazine.prabook1

บทสวดชาวพุทธ มนต์พิธี
บทสวดมนต์ที่ใช้สวดประจำวัน มีบทสวดมนต์ทำวัตรเช้า, ทำวัตรเย็น, เจ็ดตำนาน, สิบสองตำนาน, บทสวดพระอภิธรรม, ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร, พุทธชัยมงคลคาถา(พาหุง), คำแผ่เมตตา และส่วนกุศล และคำอาราธนา และคำถวายทานต่างๆ ,คำอุปสมบท, พระปาติโมกข์ฯ

หนังสือ มนต์พิธี ฉบับสำนักเรียน วัดราษฎร์บำรุง จังหวัดชลบุรี ซึ่งรวบรวมจัดทำขึ้น โดย พระครูสมุห์เอี่ยม สิริวณฺโณ นั้น เป็นหนังสือที่อำนวยประโยชน์แก่ชาวพุทธมากพอสมควรทีเดียว ด้วยภิกษุสามเณร ตลอดพุทธศาสนิกนิยมชมชอบ แม้พิมพ์มาหลายครั้งแล้ว ก็ยังไม่เพียงพอ เป็นเรื่องน่าอนุโมทนาอยู่ ด้วยผู้รวบรวมคัดเอาเฉพาะที่เห็นว่ามนต์ที่นิยมสวดจริง ๆ จึงเอาเข้ามารว





102  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม เมื่อ: เมษายน 30, 2016, 11:23:56 pm
หนังสือมี พระอาจารย์คิดถึง ยังดูได้
จับต้องหมาย สัมพัด ใจถึง
จิตถึงจิต ใจคิดคำนึง
หนังสือบุญ ร่วมทำ ธรรมะแผ่ไป

ผมขอร่วมบริจาคสร้างหนังสือเล่มนี้ 1,000 บาท ครับ

 st11 st12 thk56
103  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สภาวะนิพพาน เป็นอย่างไร ! ตามที่ระบุ มี เมื่อ: มีนาคม 09, 2016, 04:06:26 pm
 นิพพาน เป็นสภาวะที่สิ้นกิเลส พ้นจากกิเลส เช่น อวิชชา ตัณหา ราคะโทสะ โมหะ (ธาตุสูตร)
-----------
นิพพาน เป็นสุข อย่างยิ่ง (นิพพานัง ปรมัง สุขัง)
--------------
นิพพาน ไม่ใช่ตัวตน
[ อนิจฺจา สพฺพสงฺขารา ทุกฺขานตฺตา จ สงฺขตา นิพฺพานญฺเจว ปณฺณตฺติ อนตฺตา อิติ นิจฺฉยา "สังขารทั้งปวงอันปัจจัยปรุงแต่ง ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา นิพพานและบัญญัติเป็นอนัตตา วินิจฉัยมีดังนี้" (วิ.ป.บาลี 8/257/194) ]
-------------------
ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะวิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้นว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ
จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
(นิพพานสูตรที่ 1)
-----------------------
ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยากชื่อว่านิพพาน ไม่มีตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดยง่ายเลย ตัณหาอัน บุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่ ฯ
(นิพพานสูตรที่ 2)
-----------------------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้วอันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้วจึงปรากฏ ฯ
(นิพพานสูตรที่ 3)
------------------------
ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและทิฐิอาศัย ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยเมื่อความหวั่นไหวไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อมีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีความยินดีเมื่อไม่มีความยินดี ก็ย่อมไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็ไม่มีการจุติ
และอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์ ฯ
(นิพพานสูตรที่ 4)
---------------------------
"ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพานธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใดพราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนีเพราะรู้ (สัจจะ 4) รู้แล้วด้วยตนเอง เมื่อนั้นพราหมณ์ย่อมหลุดพ้นแล้วจากรูปและอรูป จากความสุขและความทุกข์..." จาก พาหิยสูตร (ขุ.ขุ.อ.25/50)
-----------------
ธรรมชาติที่รู้แจ้ง ไม่มีใครชี้ได้ ไม่มีที่สุด แจ่มใส โดยประการทั้งปวง ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในธรรมชาตินี้. อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น ละเอียดและหยาบ ที่งามและไม่งาม ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน
ธรรมชาตินี้. นามและรูปย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้. เพราะวิญญาณดับ นามและรูปนั้นย่อมดับไม่มีเหลือในธรรมชาตินี้ ดังนี้.
(เกวัฏฏสูตร)
-----------------
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑
ก็ ‪#‎สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ‬ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำ กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวย อารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง
โมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
‪#‎อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ‬ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของ ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมี
ตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรา เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
(ธาตุสูตร)
-----------
คติที่ไปของผู้สิ้นกิเลส เช่น พระพุทธเจ้า หรือ พระอรหันตสาวก
-----------
ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้วเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้วผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.
(พรหมชาลสูตร) (ที.สี.14/90)
---------------
คติของพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้หลุดพ้นแล้วโดยชอบ ข้ามเครื่องผูกคือกามและโอฆะได้แล้ว ถึงแล้วซึ่งความสุขอันหา ความหวั่นไหวมิได้ ไม่มีเพื่อจะบัญญัติ เหมือนคติแห่งไฟลุกโพลงอยู่ที่ภาชนะสัมฤทธิ์เป็นต้น อันนายช่างเหล็กตีด้วยค้อนเหล็ก ดับสนิท ย่อมรู้ไม่ได้ ฉะนั้น ฯ
(ทัพพสูตร ที่ 1 และ ที่ 2)
---------------
[๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน?
ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร.
[๒๕๐] ดูกรวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้ เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วย ความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยาก
พระพุทธเจ้า :: ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึง รู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา.
วัจฉะ :: ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ ต่อหน้าเรา.
พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร จึงลุกโพลง ?
วัจฉะ :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกโพลงอยู่.
พระพุทธเจ้า :: ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว?
วัจฉะ :: ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.
พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศ ไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ
วัจฉะ :: ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับ ไปแล้ว.
พระพุทธเจ้า :: ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ
บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ ใด รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ นั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่า รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น
ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด
ไม่ควรจะ กล่าวว่าไม่เกิด
ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี
ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด ก็หามิได้.
(อัคคิวัจฉโคตสูตร)
-------------
พระพุทธเจ้า :::: ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นมารผู้มีบาป เที่ยวแสวงหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ด้วยคิดว่า วิญญาณของโคธิกกุลบุตรตั้ง อยู่ ณ ที่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย โคธิกกุลบุตร มีวิญญาณอันไม่ตั้งอยู่แล้ว ปรินิพพานแล้ว ฯ
มารผู้มีบาปถือพิณมีสีเหลืองเหมือนมะตูมสุก :::: ข้าพระองค์ได้ค้นหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ทั้งในทิศเบื้องบน ทั้งทิศเบื้องต่ำ ทั้งทางขวาง ทั้งทิศใหญ่ ทิศน้อยทั่วแล้ว มิได้ประสบ โคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหน ฯ
พระพุทธเจ้า :::: นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยธิติ มีปรกติเพ่งพินิจ ยินดีแล้วในฌานทุกเมื่อ พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่มีความอาลัยในชีวิต ชนะเสนาของมัจจุราชแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่ นักปราชญ์นั้นคือโคธิกกุลบุตร ได้ถอนตัณหาพร้อม ด้วยราก ปรินิพพานแล้ว ฯ
(โคธิกสูตร)
-----------------------
ก็สมัยนั้นแล ปรากฏเป็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไป ทางทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ.
ลำดับนั้นเอง พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็น กลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไปทางทิศบูรพา ฯลฯ และอนุทิศหรือไม่?
ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละคือมารใจหยาบช้า ค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ด้วยคิดว่าวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งไหนหนอ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรมีวิญญาณไม่ได้ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้ว.
(วักกลิสูตร)
------------------
พระสารีบุตร ::: ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุ ผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้
ว่าอย่างไร?
พระยมกะ ::::: ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่า
รูปแลไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไป แล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้
ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้
(ยมกสูตร)
----------------
อ้างอิง
นิพพานสูตรที่ 1
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
นิพพานสูตรที่ 2
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
นิพพานสูตรที่ 3
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
นิพพานสูตรที่ 4
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
พรหมชาลสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php
ธาตุสูตร
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php
ทัพพสูตรที่ 1
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
ทัพพสูตรที่ 2
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
เกวัฏฏสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=09&A=7317&Z=7898
ยมกสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
โคธิกสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
วักกลิสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
อัคคิวัจฉโคตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php
https://www.facebook.com/vajiramedhi/posts/10151425097236167
http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi

พระสารีบุตร ::: ดูกรท่านยมกะ ถ้าชนทั้งหลาย พึงถามท่านอย่างนี้ว่า ท่านยมกะ ภิกษุ ผู้ที่เป็นพระอรหันตขีณาสพ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเป็นอะไร ท่านถูกถามอย่างนั้น จะพึงกล่าวแก้ (กล่าวตอบ) ว่าอย่างไร?
พระยมกะ ::::: ข้าแต่ท่านสารีบุตร ถ้าเขาถามอย่างนั้น ผมพึงกล่าวแก้อย่างนี้ว่า

รูปแลไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไปแล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นดับไป แล้ว ถึงแล้วซึ่งการตั้งอยู่ไม่ได้

ข้าแต่ท่านสารีบุตร ผมถูกเขาถามอย่างนั้น พึงกล่าวแก้อย่างนี้

(ยมกสูตร)

 พระพุทธเจ้า :::: ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นมารผู้มีบาป เที่ยวแสวงหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ด้วยคิดว่า วิญญาณของโคธิกกุลบุตรตั้ง อยู่ ณ ที่ไหน ดูกรภิกษุทั้งหลาย โคธิกกุลบุตร มีวิญญาณอันไม่ตั้งอยู่แล้ว ปรินิพพานแล้ว ฯ

มารผู้มีบาปถือพิณมีสีเหลืองเหมือนมะตูมสุก :::: ข้าพระองค์ได้ค้นหาวิญญาณของโคธิกกุลบุตร ทั้งในทิศเบื้องบน ทั้งทิศเบื้องต่ำ ทั้งทางขวาง ทั้งทิศใหญ่ ทิศน้อยทั่วแล้ว มิได้ประสบ โคธิกะนั้นไป ณ ที่ไหน ฯ

พระพุทธเจ้า :::: นักปราชญ์ผู้ใดสมบูรณ์ด้วยธิติ มีปรกติเพ่งพินิจ ยินดีแล้วในฌานทุกเมื่อ พากเพียรอยู่ตลอดวันและคืน ไม่มีความอาลัยในชีวิต ชนะเสนาของมัจจุราชแล้ว ไม่กลับมาสู่ภพใหม่ นักปราชญ์นั้นคือโคธิกกุลบุตร ได้ถอนตัณหาพร้อม ด้วยราก ปรินิพพานแล้ว ฯ
(โคธิกสูตร)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=15&A=3885...

พระผู้มีพระภาคเสด็จไปยัง วิหารกาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ พร้อมด้วยภิกษุเป็นจำนวนมาก. ได้ทอดพระเนตรเห็น ท่านพระวักกลินอนคอบิดอยู่บนเตียงแต่ไกลเทียว.

ก็สมัยนั้นแล ปรากฏเป็นกลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไป ทางทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และอนุทิศ.

ลำดับนั้นเอง พระผู้มีพระภาคก็ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายมองเห็น กลุ่มควัน กลุ่มหมอก ลอยไปทางทิศบูรพา ฯลฯ และอนุทิศหรือไม่?

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นแหละคือมารใจหยาบช้า ค้นหาวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ด้วยคิดว่าวิญญาณของวักกลิกุลบุตร ตั้งอยู่ ณ ที่แห่งไหนหนอ? ดูกรภิกษุทั้งหลาย วักกลิกุลบุตรมีวิญญาณไม่ได้ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้ว.
(วักกลิสูตร)
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=2680...

 [๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน?
ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร.

[๒๕๐] ดูกรวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้ เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วย ความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยาก

พระพุทธเจ้า :: ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึง รู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา.

วัจฉะ :: ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ ต่อหน้าเรา.

พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร จึงลุกโพลง ?

วัจฉะ :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกโพลงอยู่.

พระพุทธเจ้า :: ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว?

วัจฉะ :: ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.

พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศ ไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ

วัจฉะ :: ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับ ไปแล้ว.

พระพุทธเจ้า :: ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ

บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ ใด รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ นั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่า รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น

ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด
ไม่ควรจะ กล่าวว่าไม่เกิด
ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี
ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด ก็หามิได้.
(อัคคิวัจฉโคตสูตร)

[๒๔๘] ข้าแต่ท่านพระโคดม ก็ภิกษุผู้มีจิตพ้นวิเศษแล้วอย่างนี้ จะเกิดในที่ไหน?
ดูกรวัจฉะ คำว่าจะเกิดดังนี้ ไม่ควรเลย.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น จะไม่เกิดขึ้นหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่า ไม่เกิดดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มี ไม่เกิดก็มีหรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี ดังนี้ ก็ไม่ควร.
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าเช่นนั้น เกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่หรือ?
ดูกรวัจฉะ คำว่าเกิดก็มิใช่ ไม่เกิดก็มิใช่ ดังนี้ ก็ไม่ควร.

[๒๕๐] ดูกรวัจฉะ ควรแล้วที่ท่านจะไม่รู้ ควรแล้วที่ท่านจะหลง เพราะว่าธรรมนี้ เป็นธรรมลุ่มลึก ยากที่จะเห็น ยากที่จะรู้ สงบระงับ ประณีต ไม่ใช่ธรรมที่จะหยั่งถึงได้ด้วย ความตรึก ละเอียด บัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นอันท่านผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของอาจารย์อื่น รู้ได้โดยยาก

พระพุทธเจ้า :: ดูกรวัจฉะ ถ้าเช่นนั้น เราจักย้อนถามท่านในข้อนี้ ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน ท่านจะพึง รู้หรือว่า ไฟนี้ลุกโพลงต่อหน้าเรา.

วัจฉะ :: ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่า ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ ต่อหน้าเรา.

พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร จึงลุกโพลง ?

วัจฉะ :: ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าเรานี้ อาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุกโพลงอยู่.

พระพุทธเจ้า :: ถ้าไฟนั้นพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านพึงรู้หรือว่า ไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว?

วัจฉะ :: ถ้าไฟนั้นดับไปต่อหน้าข้าพเจ้า ข้าพเจ้าพึงรู้ว่าไฟนี้ดับไปต่อหน้าเราแล้ว.

พระพุทธเจ้า :: ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ไปยังทิศ ไหนจากทิศนี้ คือทิศบูรพา ทิศปัจจิม ทิศอุดร หรือทิศทักษิณ

วัจฉะ :: ข้อนั้นไม่สมควร เพราะไฟนั้นอาศัยเชื้อ คือหญ้าและไม้จึงลุก แต่เพราะเชื้อนั้นสิ้นไป และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึงถึงความนับว่าไม่มีเชื้อ ดับ ไปแล้ว.

พระพุทธเจ้า :: ฉันนั้นเหมือนกัน วัจฉะ

บุคคลเมื่อบัญญัติว่าเป็นสัตว์ พึงบัญญัติเพราะ รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ ใด รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ นั้นตถาคตละได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มี มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ตถาคตพ้นจากการนับว่า รูป/เวทนา/สัญญา/สังขาร/วิญญาณ มีคุณอันลึก อันใครๆ ประมาณ ไม่ได้ หยั่งถึงได้โดยยาก. เปรียบเหมือนมหาสมุทรฉะนั้น

ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิด
ไม่ควรจะ กล่าวว่าไม่เกิด
ไม่ควรจะกล่าวว่าเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี
ไม่ควรจะกล่าวว่า เกิดก็หามิได้ ไม่เกิด ก็หามิได้.
(อัคคิวัจฉโคตสูตร)

ขอขอบคุณ ผู้ใช้เฟสบุ๊ค ชื่อ Ronbanchob Ron Apiratikul เป็นผู้รวบรวม (สาธุ)
104  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถึงท่าน นักโพสต์ ที่เป็นศิษย์ อาจารย์ทุกท่าน เมื่อ: พฤศจิกายน 02, 2015, 11:36:33 am
สาธุ ภันเต  :25:
105  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอบคุณ "ที่คิดถึง" แต่การภาวนา "นั้นไม่เกี่ยว" เมื่อ: กันยายน 07, 2015, 06:02:06 pm

อาม ภันเต

 :25: st11 st12
106  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / Re: ช่วยแสดงความคิดเห็น เรื่องการปรับปรุง รายการ สถานี ออนไลน์ ด้วย เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2015, 04:13:11 pm
จาก ประสบการณ์ งานเบื้องหลัง วิทยุ เห็นควร จัดรายการเวียน คือ

         ใน ๑ วัน แบ่งเป็น ๓ ช่วง ในแต่ละช่วง จะเป็นรายการประจำ(เป็นรายการหลักก่อน)

          จากนั้น เปิด สลับช่วง คือ
                                       นำรายการ ในช่วงที่ ๑ ไปเปิด  ในช่วงที่ ๒  และ
                                          รายการ ในช่วงที่ ๒ ไปเปิด  ในช่วงที่ ๓  และ
                                          รายการ ในช่วงที่ ๓ ไปเปิด  ในช่วงที่ ๑ 
                         เวียนไป เพื่อคนที่มีเวลาฟัง เฉพาะช่วง จักได้ฟัง รายการที่ได้เปิด ในช่วง อื่น ๆ ด้วย (เป็นการ รีรัน / เป็นรายการเสริม จากรายการหลัก)  หากแต่ เมื่อผู้ฟัง ว่างที่จะสะดวกฟัง แต่เฉพาะ ในเวลานี้ นี้ ประจำ แล้ว ก็จักไม่สามารถได้ฟังเนื้อหารายการ ในช่วงเวลา อื่น ๆ ได้เลย

 :25: :25: :25:
107  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เณรทุบหัวเจ้าอาวาสแตก ฉุนห้ามเล่น 'เฟซบุ๊ก-ไลน์' เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2015, 06:46:21 pm
โทษของการ มิได้ ขอ ให้ เป็น อาจารย์
   - ไม่มีความเคารพ ศรัทธา
   - ว่ากล่าว บอก เตือน ไม่ได้
   - เป็นผู้ว่ายาก ดื้อ
   - มิได้มีศรัทธา ในการ เข้ามา บวช เรียน ประพฤติ ปฏิบัติ
      (มีมาก ที่เพียงแค่ ที่บ้านให้บวช)

    ดังนี้ จึงต้องมีการ เข้ามาขอ เป็นศิษย์ เป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นอุปัชชาย์ กันก่อน
   
                อาจริยํ เม ภนฺเต โหหิ
      ทุติยมฺปิ อาจริยํ เม ภนฺเต โหหิ
      ตติยมฺปิ อาจริยํ เม ภนฺเต โหหิ
108  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: แนะนำ หัวข้อ ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม รวมเป็นเล่ม เมื่อ: มิถุนายน 02, 2015, 08:00:32 pm
ส่านตัวนั้น เห็นว่า ค่ามากมี ถ้าจะให้ดี  ทำเป็นหนังสือออกมา
     
      เบื้อนต้น พิมพ์ ตามจำนวน สั่ง   มากตามที่ท่านเห็นค่า
       สองเพิ่ม ด้วยบุญ บอกต่อ ศรัทธาขอร่วมด้วย ช่วยสร้าง

      หากพิมพ์ตามสั่ง  ธรรมคงเฉพาะ  คงที่(เรา) ก็ด้วย เท่านี้ต้องการ
       บอกต่อได้จะดี  ธรรมไม่เพียงอยู่ที แต่จะเคลื่อนไป(สู่คนอื่น ๆ ได้ด้วย)

      เป็นหนังสือ ศักสิทธิ์มี แสดงธรรม  มี แบกขึ้นพาน
       ขนาดขรัวโต  ยังกราบเณร  เข้าใจ เช่นนี้  ไม่ผ่าน
      เนื่อด้วย พุทธะธรรม ใบลาน ที่กราบ  หนังสือธรรมนั้นเอย

     ก่อนที่จะไม่ได้ทำอีก
       
109  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ควายแสนรู้ตามพระบิณฑบาต-หลวงพ่อไถ่จากโรงฆ่าสัตว์ตั้งแต่เล็ก (คลิป) เมื่อ: มิถุนายน 02, 2015, 01:36:53 pm






110  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: 2558 ปีนี้ทำไมไป กทม. ในช่วง งาน วิสาขบูชา ก็มีสาเหตุ ดังนี้ เมื่อ: มิถุนายน 02, 2015, 11:43:21 am
    วันทามิ  ภันเต
 สัพพัง     อะปะราธัง ขะมะถะ เม   ภันเต
 มะยา กะตัง ปุญญัง 
 สามินา อะนุโมทิตัพพัง
 สามินา กะตัง ปุญญัง   มัยหัง ทาตัพพัง
     สาธุ  สาธุ     อะนุโมทามิ
                 สัพพัง    อะปะราธัง ขะมะถะเม   ภันเต

     สัพพัง    อะปะราธัง ขะมะถะเม   ภันเต
 อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
            สัพพัง    อะปะราธัง ขะมะถะเม   ภันเต
                            อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ


 :25: :25: :25:



 
111  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ความเป็นผู้จริญราตรีเตียว เมื่อ: มิถุนายน 02, 2015, 08:45:52 am
112  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ ธรรมชาติ เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 10:03:21 pm
‪#‎บาลีวันละคำ‬ (1,102)
ธรรมชาติ
อ่านว่า ทำ-มะ-ชาด
บาลีเป็น “ธมฺมชาติ” อ่านว่า ทำ-มะ-ชา-ติ
ประกอบด้วย ธมฺม + ชาติ
(๑) “ธมฺม”
รากศัพท์มาจาก ธรฺ (ธาตุ = ทรงไว้) + รมฺม (ปัจจัย) ลบ รฺ ที่สุดธาตุ และ ร ต้นปัจจัย = ธมฺม
: ธรฺ > ธ + รมฺม > มฺม : ธ + มฺม = ธมฺม แปลตามศัพท์ว่า “สภาพที่ทรงไว้”
ธมฺม สันสกฤตเป็น ธรฺม เราเขียนอิงสันสกฤตเป็น ธรรม
“ธมฺม - ธรรม” มีความหมายหลายหลาก ดังต่อไปนี้ -
สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
“ธรรม” คำง่ายๆ เหมือนหญ้าปากคอก แต่แปลทับศัพท์กันจนแทบจะไม่ได้นึกถึงความหมายที่แท้จริง
ในภาษาไทย พจน.54 บอกความหมายของ “ธรรม” ไว้ดังนี้ -
(1) คุณความดี เช่น เป็นคนมีธรรมะ เป็นคนมีศีลมีธรรม
(2) คําสั่งสอนในศาสนา เช่น แสดงธรรม ฟังธรรม ธรรมะของพระพุทธเจ้า
(3) หลักประพฤติปฏิบัติในศาสนา เช่น ปฏิบัติธรรม ประพฤติธรรม
(4) ความจริง เช่น ได้ดวงตาเห็นธรรม
(5) ความยุติธรรม, ความถูกต้อง, เช่น ความเป็นธรรมในสังคม
(6) กฎ, กฎเกณฑ์, เช่น ธรรมะแห่งหมู่คณะ
(7) กฎหมาย เช่น ธรรมะระหว่างประเทศ
(8) สิ่งของ เช่น เครื่องไทยธรรม
(๒) “ชาติ” (ชา-ติ)
รากศัพท์มาจาก ชนฺ (ธาตุ = เกิด) + ติ ปัจจัย
กระบวนการทางไวยากรณ์ :
แบบที่ 1 แปลง ชนฺ เป็น ชา : ชน > ชา + ติ = ชาติ
แบบที่ 2 แปลง “น” ที่ (ช-)นฺ เป็น อา : (ช)น > อา (> ช + อา) = ชา + ติ = ชาติ
“ชาติ” แปลตามศัพท์ว่า “การเกิด” ในภาษาบาลีใช้ในความหมายดังต่อไปนี้ -
(1) การเกิด, การเกิดใหม่, กำเนิด (birth, rebirth, possibility of rebirth)
(2) ชาติกำเนิด, เชื้อชาติ, ชั้น, วงศ์วาน (descent, race, rank, genealogy)
(3) จำพวก, ชนิด (a sort of, kind of)
(4) ตามธรรมชาติ (ตรงข้ามกับของที่ตกแต่งขึ้น); แท้จริง, บริสุทธิ์, วิเศษ (ตรงกันขามกับปนเจือ เลว) (by birth or nature, natural [opp. artificial]; genuine, pure, excellent [opp. adulterated, inferior])
ในภาษาไทย พจน.54 บอกความหมายของคำว่า “ชาติ” ไว้ดังนี้ -
(1) การเกิด, กำเนิด, มักใช้ว่า ชาติเกิด หรือ ชาติกำเนิด เช่น ถ้าทำไม่ดีก็เสียชาติเกิด,
(2) ความมีชีวิตอยู่ตั้งแต่เกิดจนตาย เช่น สบายทั้งชาติ.
(3) เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาตินักรบ ชาติไพร่.
(4) ประเทศ เช่น รู้คุณชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์.
(5) ประชาชนที่เป็นพลเมืองของประเทศ; ประชาชาติ ก็ว่า.
(6) กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกัน หรืออยู่ในปกครองรัฐบาลเดียวกัน.
(7) ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่.
(8) คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิม เช่น รสชาติ หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ.
ธมฺม + ชาติ = ธมฺมชาติ ในภาษาบาลีมีความหมายเท่ากับ “ธมฺม” คำเดียว (แบบเดียวกับความหมายในข้อ (8) ของภาษาไทย)
“ธมฺมชาติ” ใช้ในภาษาไทยเป็น “ธรรมชาติ” พจน.54 บอกไว้ว่า -
“ธรรมชาติ : (คำนาม) สิ่งที่เกิดมีและเป็นอยู่ตามธรรมดาของสิ่งนั้น ๆ, ภาพภูมิประเทศ. (คำวิเศษณ์) ที่เป็นไปเองโดยมิได้ปรุงแต่ง เช่น สีธรรมชาติ.”
คำว่า “ธรรมชาติ” เราใช้คำอังกฤษว่า nature
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล nature เป็นบาลีว่า -
(1) pakati ปกติ (ปะ-กะ-ติ) = ปกติ, เป็นไปตามเคย
(2) dhammatā ธมฺมตา (ทำ-มะ-ตา) = ธรรมดา, เรื่องที่ต้องเป็นไปเช่นนั้นเอง
(3) sabhāva สภาว (สะ-พา-วะ) = “ความเป็นของตน”, ความเป็นเองตามธรรมดาหรือตามธรรมชาติ, สภาพ
(4) lokanimmāna โลกนิมฺมาน (โล-กะ-นิม-มา-นะ) = สิ่งอันธรรมดาสร้างไว้ประจำโลก
: รู้อะไรในพิภพจบจักรวาล
: ก็ยังโง่ดักดานถ้าไม่รู้จักธรรมชาติของตัวเอง
113  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อะไรคือ มุขปาฐะ ? เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2015, 10:00:42 pm
มุขปาฐะ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เขียนว่า “มุขบาฐ” (มุก-ขะ-บาด)และ “มุขปาฐะ” (มุก-ขะ-ปา-ถะ) และให้ความหมายไว้ว่า :

“การต่อปากกันมา, การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ”

“มุขปาฐะ” เขียนแบบบาลีเป็น “มุขปาฐ” อ่านว่า มุ-ขะ-ปา-ถะ ประกอบด้วยคำว่า มุข + ปาฐ = มุขปาฐ

“มุข” แปลตามรากศัพท์ว่า (1) “อวัยวะอันเขาเปิดเผย” (2) “อวัยวะเป็นเครื่องผูก” (3) “อวัยวะเป็นเครื่องเป็นไปแห่งประโยชน์สุข”

“มุข” หมายถึงอวัยวะ 2 อย่าง คือ “ปาก” และ “หน้า” จะหมายถึงอะไรต้องสังเกตที่บริบท

“ปาฐ” แปลว่า การอ่าน, การสวด, บทสวด, ข้อความในตัวบท, ถ้อยคำในคัมภีร์

“มุขปาฐ” จึงแปลว่า “ถ้อยคำที่จำมาจากปาก” เป็นคำบาลีที่เราคิดขึ้นตามวัฒนธรรมการเรียนรู้สำหรับคนที่ไม่รู้หนังสือ คือครูบอกข้อความให้ศิษย์ท่องโดยไม่ต้องเห็นลายลักษณ์อักษร

สำหรับเด็กวัด มีคำเรียกการเรียนแบบนี้ว่า “ต่อหนังสือค่ำ” เพราะมักทำกันในเวลาเย็นถึงค่ำ

ระบบ “มุขปาฐ” ทำให้เกิดคำเดียวกัน ออกเสียงเหมือนกัน แต่เอาไปเขียนต่างกัน เช่น

ชินสีห์ หรือ ชินศรี
แก่นจันทน์ หรือ แก่นจันทร์ หรือ แก่นจัน

ที่กลายไปจนจำไม่ได้ก็มี เช่น พระเพชฉลูกรรม (เพ็ด-ฉะ-หฺลู-กํา) ก็คือ พระวิศวกรรม หรือ พระวิษณุกรรม

ชาวบ้านไทยสมัยก่อนจึงมีชื่อเรียกง่ายๆ เขียนง่ายๆ เพราะได้ยินเสียงอย่างไรก็เขียนอย่างนั้น

ระวัง : สตรีสมัยนี้ไม่พึงตั้งชื่อแปลกๆ สะกดยาก เช่น “ณมญาณ” (ผู้นอบน้อมความรู้) เพราะอาจถูกเปลี่ยนชื่อโดยระบบ “มุขปาฐ” ได้ง่ายๆ

บาลีวันละคำ (232)

27-12-55

เพชฉลูกรรม [เพ็ดฉะหฺลูกํา] น. พระวิศวกรรม.

มุข = ปาก, หน้า (ศัพท์วิเคราะห์)
- มุขิยติ วิวริยตีติ มุขํ อวัยวะอันเขาเปิดเผย
มุข ธาตุ ในความหมายว่าเปิด อ ปัจจัย
- มุนนฺติ พนฺธนฺติ เอเตนาติ มุขํ อวัยวะเป็นเครื่องผูก
มุ ธาตุ ในความหมายว่าผูก ข ปัจจัย
- หิตสุขํ มุขติ ปวตฺตติ เอเตนาติ มุขํ อวัยวะเป็นเครื่องเป็นไปแห่งประโยชน์สุข
มุข ธาตุ ในความหมายว่าเป็นไป อ ปัจจัย

ปาฐ = การอ่าน, การสวด, บทสวด, พระบาลี (ศัพท์วิเคราะห์)
ปาฐียเตติ ปาโฐ อาการอันเขาสวด, บทอันเขาสวด
ปฐ ธาตุ ในความหมายว่าสวด, พูด ณ ปัจจัย

ปาฐ (บาลี-อังกฤษ)
การอ่าน, การอ่านตัวบท,ข้อความในตัวบท, ตัวบท
reading, text-reading, passage of a text, text

มุข, มุข-
[มุก, มุกขะ-] น. หน้า, ปาก; ทาง; หัวหน้า; ส่วนของตึกหรือเรือนที่ยื่นออกมาจากส่วนใหญ่ มักอยู่ด้านหน้า. (ป., ส.).

มุขบาฐ, มุขปาฐะ
 [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา, การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร, เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
114  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อะไรคือ มุขปาฐะ ? เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2015, 04:54:44 pm
 ask1

อะไรคือ มุขปาฐะ ?
115  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ยกถาด ขึ้นกรรมฐาน - ใช่ ไหว้ครู หรือไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2015, 04:49:19 pm
ก็อย่าง ที่คุณ  fasai  กล่าว ก็ไม่ผิด

      1.ไหว้ครู
      2.ถวายอามิสบูชา
      3.ปวารณา ต่อพระรัตนตรัย
      4.มอบตัวเป็นศิษย์ แก่ผู้บอกพระกรรมฐาน
      5.ปวารณาตัวต่อครูอาจารย์ ในการรับรอง เป็น ศิษย์ และ ครู
      6.สืบทอดประเพณีอันดีงามแต่ครั้งโบราณเอาไว้ พร้อมทั้งความหมาย
      7.ถ้าเป็นศิษย์สายนี้จริง ต้อง ขึ้นกรรมฐาน ถวายถาด
116  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ยกถาด ขึ้นกรรมฐาน - ใช่ ไหว้ครู หรือไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2015, 04:45:52 pm
สาธุ จ๊ะ !
 :25:    :25:    :25:
117  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ยกถาด ขึ้นกรรมฐาน - ใช่ ไหว้ครู หรือไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2015, 02:03:41 pm
 ask1

ยกถาด ขึ้นกรรมฐาน  -  ใช่ ไหว้ครู หรือไม่ ?
118  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ กลัว ! เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2015, 09:05:12 am

กลัว

----

ผมไม่เคยศึกษาตำราพิชัยสงคราม
แต่อยู่มาวันหนึ่งมีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นที่จังหวัดบ้านผม
 ผมก็เกิด insight ขึ้นมาเฉยๆ


-------------

insight ของผมก็คือ-
วิธีที่จะชนะศึกได้ มีหลากหลาย
 หนึ่งในจำนวนหลากหลายวิธีที่ผมมองทะลุไปเห็นนั้นสรุปลงได้ในคำเดียว คือ

“กลัว”

หมายความว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดอาการ “กลัว” ขึ้นมา

-------------

ในการรบกันด้วยอาวุธ การเอาอาวุธออกมาแสดงพลังข่มขู่อีกฝ่ายหนึ่ง เป็นกลยุทธ์ที่นิยมทำกันทุกสนาม ตั้งแต่โบราณกาลจนถึงปัจจุบัน

-------------

ตอนเสียกรุงครั้งที่ ๒ มีบันทึกไว้ว่า ข้าศึกมาล้อมกรุง

(ข้าศึกคือชาติไหนก็รู้กันอยู่ แต่ระบุไปตรงๆ ไม่ได้ - กลัว !)

ฝ่ายเราเอาปืนใหญ่ยิงออกไป
 นางในทั้งหลายเกิดอาการขวัญอ่อนตกใจกลัว ขึ้นไปเพ็ดทูลผู้มีอำนาจ
 ผู้มีอำนาจออกคำสั่งว่าจะยิงปืนใหญ่ต้องขออนุญาตก่อน
 ทหารก็เลยหมดกำลังใจสู้

สุดท้ายกรุงก็แตก

-------------

ผู้ร้ายปล้น เอาปืนขู่เจ้าทรัพย์
 ทั้งๆ ที่ยังไม่ยิงสักโป้ง
 บางทีเป็นแค่ปืนพลาสติกด้วยซ้ำ !
เจ้าทรัพย์ก็ยอมให้มันขนทรัพย์ไปแต่โดยดี

นี่ก็เพราะทำให้กลัว

-------------

ความจริงแล้ว การทำให้กลัวเป็นวิธีธรรมชาติ
 ดูได้จากสัตว์ที่มันขู่กัน เวลาจะสู้กัน หรือเวลาหวงอาหาร หวงถิ่น หรือหวงคู่

สิงโตคำรามอยู่ห่างๆ ยังไม่ได้ไล่ตะปบอะไรเลย สัตว์เล็กสัตว์น้อยก็วิ่งกันป่าราบ

-------------

เพราะฉะนั้น อยากได้ชัยชนะ ใช้สูตรง่ายๆ -

จงทำให้ฝ่ายตรงข้ามกลัว

ทำให้กลัวได้มากเท่าไร ชัยชนะยิ่งมาถึงเราได้แน่นอนเท่านั้น

การทำให้กลัวเป็นวิธีที่เหนื่อยน้อย ไม่ต้องสู้กันจริง แต่ชนะแน่

-------------

วิธีทำให้กลัวที่ลงทุนน้อย แต่ได้ผลมากและได้ผลแน่นอนก็คือ ทำให้กลัวแบบกระทบชิ่ง

คือทำให้จุดเล็กๆ กลัว แล้วจุดเล็กๆ นั้นจะเอาความกลัวไปขยายผลต่อไปอีก โดยที่เราไม่ต้องทำอะไรเลย

คู่ต่อสู่ช่วยทำให้เราเอง
 เหมือนเหตุการณ์ตอนกรุงแตกครั้งที่ ๒ ที่กล่าวข้างต้น

ยิ่งถ้าอยู่ๆ คู่ต่อสู้เป็นฝ่ายสร้างความกลัวให้พวกเดียวกันเองด้วยแล้ว เรายิ่งสบาย

นั่งกระดิกขาอยู่เฉยๆ เดี๋ยวก็จะมีคนเอาชัยชนะใส่พานมาประเคนให้ถึงมือ

-------------

กลยุทธ์ “กลัว” นี้จะมีในตำราพิชัยสงครามหรือเปล่า ผมไม่ทราบเพราะไม่ได้ศึกษาดังที่บอกแล้ว แต่ผมเกิด insight ขึ้นมาจากเหตุการณ์บางอย่าง

เห็นไหมครับ “เหตุการณ์บางอย่าง” คืออะไร ผมยังไม่กล้าพูดตรงๆ เลย

ก็ผมกลัวนี่ครับ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
 ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๘
119  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ ตอนหน้าที่ใครหน้าที่มัน !!!! เมื่อ: พฤษภาคม 11, 2015, 04:27:03 pm
หน้าที่ใครหน้าที่มัน

-------------------

เมื่อคืนผมค้างที่กรุงเทพฯ
เช้าขึ้นมาก็ออกไปเดินตลาดตามที่เคยเดิน


วันนี้ผมบำเพ็ญทานมัยบุญกิริยาตามปกติ
 แต่ตั้งใจว่าเจอพระ ก็จะเลี่ยงการซื้ออาหารใส่บาตร เพราะเห็นคนใส่กันคึกคักมาก พระคุณท่านย่อมจะไม่ขัดสนด้วยอาหารบิณฑบาตแน่นอน

ผมอนุโมทนากับทุกคนที่ใส่บาตรด้วยหัวใจที่ผ่องแผ้ว

ผมไหว้พระทุกรูปที่ผ่านและที่เห็นตลอดทางด้วยหัวใจที่ผ่องแผ้วเช่นกัน

ผมไม่ได้แยกแยะว่าเป็นพระวัดมหาธาตุ
 หรือวัดปากน้ำ
 หรือวัดอ้อน้อย
 หรือวัดพระธรรมกาย
 ฯลฯ

ผมไหว้ธงชัยของพระอรหันต์โดยปลอดจากความกังวลว่าท่านผู้เอาธงชัยของพระอรหันต์มาทรงนั้นๆ จะปฏิบัติถูกต้องตรงตาม- หรือผิดเพี้ยนไปจาก-คำสอนของพระอรหันต์หรือไม่

หน้าที่ใครหน้าที่มัน

ผมไม่เอาความบกพร่องของชาวพุทธบางคนมาเป็นเหตุให้ตัวเองต้องบกพร่องต่อหน้าที่ของชาวพุทธไปอีกคนหนึ่ง

วิธีทำบุญมีหลายวิธี
 โปรดเลือกทำกันด้วยสติปัญญาตามความเหมาะสมเถิด

อนุโมทนาบุญโดยทั่วกันนะครับ

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
 ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๘


120  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / นำกรรมฐาน มาใช้ ไม่หมด จาก จิตภาวนา จากกรรมฐาน40 โดยพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ ปยุตฺโต เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2015, 11:38:08 am
นำกรรมฐาน มาใช้ ไม่หมด
ส่วนหนึ่ง มาจากความชำนาญ และความพอใจของพระอาจารย์
จาก " จิตภาวนา จากกรรมฐาน40 โดยพระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ ปยุตฺโต 1 "


https://www.youtube.com/watch?v=i57_fTHOm_g&list=PLaX_qQrLHwENd_wEd3-_Xsrv-kgPGvh2M
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 8