ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - montra
หน้า: [1]
1  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ทำไม พระอาจารย์จึงไม่ค่อยสอน ลูกศิษย์ หรือ แนะนำกรรมฐาน เมื่อ: ธันวาคม 19, 2012, 08:46:24 pm
คือ เคยพบท่านอยู่ สองครั้ง ที่วัดราชสิทธาราม แต่ ดูท่านนั่งเฉย ๆ ไม่สนทนากับใคร และไม่มีแววนักสอน ผมเองก็ยังไม่ได้เข้าไปทักทายเป็นทางการ แต่ดูท่าน ไม่มีลักษณะเป็นนักสอน และหรือไม่สอนกรรมฐาน เลยครับ

  หรือ ว่าท่านอยู่ในช่วงวิเวก ก็เลยไม่สอน ใครเลยตอนนี้

   :s_hi: :c017: :smiley_confused1:
2  เรื่องทั่วไป / IT สาระประโยชน์ชาวธรรม / ขอความรู้เรื่อง การ์ดจอ เครื่อง notebook รุ่น AMD 7670 เทียบ กับ Nvidia รุ่นไหน เมื่อ: ธันวาคม 03, 2012, 02:45:56 pm
ขอความรู้เรื่อง การ์ดจอ เครื่อง notebook รุ่น AMD 7670 เทียบ กับ Nvidia รุ่นไหน

คำถามนี้ไปถามในห้อง ผู้ชำนาญ คอมพิวเตอร์ มาแล้ว แต่ไม่ได้รับคำตอบครับ กับโดยพูดประชดเรื่องไม่รู้อีก คิดว่าชาวธรรม น่าจะไม่มีเรื่องนี้ นะครับ

 ใครรู้ขอความรู้ด้วยครับ กำลังจะซื้อ notebook ครับ

  ขอบคุณล่วงหน้าครับ

  :c017:
3  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เมื่อฝึกจิต ด้วยกรรมฐาน แล้ว มีอาการวูบ ๆ ๆ อย่างนี้จะแก้อย่างไร ครับ เมื่อ: ตุลาคม 24, 2012, 01:09:26 am
เมื่อฝึกจิต ด้วยกรรมฐาน แล้ว มีอาการวูบ ๆ ๆ อย่างนี้จะแก้อย่างไร ครับ
คือ มีอาการ วูบ เหมือน หลับ เหมือน ตื่น ไม่ทราบว่าจะแก้อย่างไรดีครับ

  :25: :smiley_confused1:
4  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / อยากได้เสียงบรรยาย เรื่อง เดินจงกรม ครับ เมื่อ: เมษายน 25, 2012, 01:04:41 pm
คือฟังในรายการ มีเสียงบรรยาย เรื่องการเดินจงกรม อยู่ตอนละ 10 นาที เสียงพระอาจารย์ ฟังดีครับ ผมอยากได้เสียงชุดนี้ไว้ฟัง ไม่ทราบว่า ดาวน์โหลดได้ที่ไหนครับ

 คือ เท่าที่ผมฟัง ในรายการ กรรมฐาน 10 นาที เสียงพระอาจารย์ นั้นเปิดยังไม่เป็นเวลา ครับ เมื่อวานผมได้ฟัง ตอน บ่าย สอง วันก่อน ตอนค่ำ วันนี้รุ้สึกจะเป็นตอนเช้า ครับ
เลยคิดว่า มีช่วงที่ไม่ได้ติดตาม เสียงครับ

 ขอบคุณมากครับ

  :c017: :25:
5  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เมื่อได้ฟัง เรื่อง ปฏาจารา เมื่อ: มีนาคม 31, 2012, 12:07:06 pm
ฟังแล้ว เห็นความทุกข์อันมี ตัณหาประกอบเป็นเครื่องร้อยรัด

    มีอยู่ประโยคหนึ่งจำได้ว่า การเห็นความเกิดดับในขณะนั้น ดีกว่าการมีชีวิตอยู่เป็นร้อยปี

  ประโยคนี้แสดงให้เห็นว่า แท้ที่จริงพระพุทธเจ้าพระองค์ตรัสสรรเสริญธรรมที่เรียกว่า การเห็นความเกิดดับ


   การเห็นการเกิดดับ  มีความสำคัญมากขนาดนี้ เราท่านทั้งหลายเพื่อนสมาชิกมีความเป็นประการใด กันบ้าง

    :s_good: :s_good: :s_good:

6  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญร่วมทำบุญฉลองวัดศรีวนาราม วันอาทิตย์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2012, 08:54:53 pm
ขอเชิญร่วมทำบุญฉลองวัดศรีวนาราม

วันอาทิตย์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕



 ฉลองวัดศรีวนาราม ๕๐ ปี

ทำบุญอายุวัฒนะเจ้าอาวาส ๕๒ ปี



เวลา ๑๐.๐๐ น. พระสงฆ์เจริญพุทธมนต์

เวลา ๑๑.๐๐ น. ถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์ 200 รูป

เวลา ๑๓.๐๐ น. มอบของที่ระลึกผู้ร่วมงาน พระปิดตารุ่น ๕*๕.



วันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕   ๕๐ ปี

(มีเลข ๕ อยู่ ๕ ตัว ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า)

ความหมาย ความสำเร็จ สมความปรารถนา

มีความสุข หัวเราะได้ วันเวลาที่รอคอยจากวันนั้นถึงวันนี้

๕๐ ปี แห่งการสร้างวัดใหม่บ้านนา วัดบ้านนอกสร้างแล้วเสร็จ

ขอให้ทุกคนจงมีความสุข ตลอดไป



วัดศรีวนาราม ต.บางละมุง อ.บางละมุง จ.ชลบุรี

โทร. 038-241370, 089-7505478

รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ครับ ขอร่วมบุญประกาศข่าวงานบุญบ้างครับ
http://www.sripai.com/public_html
7  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ธรรมะ วันพระ การไม่คบคนพาล ครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 25, 2011, 03:04:00 pm
อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา พระพุทธพจน์
*ผู้ที่ไม่รู้ และไม่รู้"ว่าตนไม่รู้" คือ คนโง่* จงห่างๆไปจากเขา
*ผู้ที่ไม่รู้ แต่รู้ว่า "ตนไม่รู้" คือ คนซื่อ* จงแนะนำเขา
*ผู้ที่รู้ และไม่รู้"ว่าตนรู้" คือ คนหลับ* จงปลุกเขาให้ตื่นขึ้น
*ผู้ที่รู้ และรู้ว่า "ตนรู้" คือ คนฉลาด*


จากเมล ครับ



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.nattapun.ob.tc
8  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อยากทราบวิบากกรรม โทษ ของการ ยักยอกของบริจาคครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 08, 2011, 02:02:51 pm
ไปเป็นอาสามาครับ เห็น ..... พวกที่นำของไปแจก โดยเฉพาะ กลุ่ม .... ได้ยักยอกของใส่รถตนเองไว้ บอกว่าจะนำไปแจก ผู้ประสบภัยแถวบ้าน แรก ๆ พวกผมก็ไม่นึกเอะใจ เพราะพี่แกเป็น ส... ด้วย หน.อ... ด้วย จนกระทั่งวันหนึ่ง คนที่ช่วยขนมาน้อยก็เลย ให้พวกผมช่วยขนไป เมื่อไปถึงก็ไม่เห็น บ้าน แก ท่วมอะไรเลยครับ แต่ของบริจาคที่แกขนมาทุกวัน นั้น ตั้งร้าน ซูเปอร์มาเก็ต ได้ขนาดย่อมเลยครับ
 
  อยากทราบว่า วิบากกรรม ของคนพวกนี้ ต้องไปเกิดเป็นอะไรกันครับ

   :c017: :'(
9  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / เครื่องกรองน้ำฉุกเฉิน ในภาวะที่หาซื้อน้ำขวดไม่ได้ น้ำประปาบริโภคได้ไม่ได้ เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 06:32:11 pm
เครื่องกรองน้ำฉุกเฉิน ในภาวะที่หาซื้อน้ำขวดไม่ได้ น้ำประปาบริโภคได้ไม่ได้



ชมวีดีโอแล้ว รีบไปหาซื้อ ซะเลย
10  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / วิธีป้องกันรถจากน้ำท่วม ครับ หลายแบบ วีดีโอ เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2011, 06:26:37 pm
ซ่อมรถกันเป็นแสนนะครับ ถ้ารถจมน้ำ อย่าเสียดายเงินพัน หมื่นครับ

วิธีเตรียมและป้องกันรถจากน้ำท่วม ควรดูอย่างยิ่ง
http://www.madchima.org/forum/index.php?action=post;board=21.0

ผ้าคลุมรถกันน้ำ น้ำท่วมก็กันได้ ซือได้ข้างทาง ตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป


ป้องกันน้ำท่วมรถ


ถุงกันน้ำท่วมรถ Homepro Expo โทร. 02-719-0120
11  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นั่งสมาธิ ได้ไม่เกิน 20 นาที เอาดีทางนี้ไม่ได้ เลยเปลี่ยนเป็นทำบุญอย่างอื่นแทน เมื่อ: ตุลาคม 03, 2011, 10:57:20 am
คือพยายามนั่งแล้ว ก็ไม่สามารถ กำหนด สำรวมใจ อะไรได้ ซ้ำยังทรมานจากท่านั่งอีก ปวดเหน็บขาชาทำไม่ไหว

ลองหลายหน ก็รู้สึก ท้อคิดว่าคงไม่มีวาสนา บารมีมาทางนี้แน่ เปลี่ยนเป็นอ่านหนังสือ กำหนด สติแทน ทำบุญ

ตักบาตร แทน อย่างนี้จะไปสู่ นิพพาน สิ้นกิเลสได้หรือไม่ครับ

  :25: :25: :25:
12  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / วิญญาณมีจริง เรื่องที่ ๗ กาหลงบ้านบางมอญ เมื่อ: กันยายน 02, 2011, 11:24:11 am
                 ความรักความใคร่ที่ยังเกิดขึ้นในใจของชายหญิง  เป็นกิเลสอารมณ์อันยิ่งใหญ่ และทรงพลังสุดจะประมาณได้  เพราะอารมณ์แห่งความรักอันเป็นโลกียวิสัย  เป็นพลังที่ธรรมชาติกำหนดให้แก่สัตว์โลก เพื่อสืบทอดสายพันธุ์ต่อเนื่องกันไปตราบกาลนาน

                ในอารมณ์แห่งความรัก......  คล้ายมีความสุขยั่งยื่นเป็นนิรันดร์  ไม่เสื่อมคลาย  และ...... คล้ายมีความทุกข์ยั่งยืนเป็นนิรันดร์  ไม่เสื่อมคลาย  สุขและทุกข์คลุกเคล้าผสมผสานกันอยู่ในรักนั้น  แต่มีใครเล่าที่หยั่งรู้ว่า  สัจจะแห่งความรักไม่เคยเป็นนิรันดร์  มันเกิดขึ้น.....  ทรงอยู่...... แล้วก็เสื่อมสลายไปในที่สุด   เป็นเช่นนี้เอง

                ที่บ้านบางมอญ,   สิงห์บุรี

                หนุ่มสาวคู่หนึ่งตกอยู่ในห้วงแห่งความรัก  แล้วสืบสานความสัมพันธ์นั้นไปสู่การร่วมชีวิตคู่เพื่อครองรัก  เชื่อมั่นและมุ่งหวังให้รักนี้เป็นนิรันดร์  ฝ่ายชายเป็นหนุ่มหน้าตาคมสัน  ฝ่ายหญิงผิวคล้ำขำคม  สวยไม่เป็นรองใคร  ชื่อ “กาหลง” อายุไล่เลี่ยกันประมาณ ๒๐ กว่าปี

                หลังจากแต่งงานกันแล้ว  ผัวหนุ่มเมียสาวก็มาเช่าบ้านหลังหนึ่งอยู่ด้วยกัน  บ้านหลังนั้นค่อนข้างใหญ่โตกว้างขวาง  ปลูกสร้างแบบทรงไทยเป็นเรือนแฝด  เป็นบ้านพักอาศัยของอดีตนายอำเภอ  ซึ่งเกษียณอายุราชการไปแล้ว  และย้ายไปอยู่ในกรุงเทพมหานครกับลูก ๆ  เมื่อบ้านทิ้งว่าง  จึงให้ผู้อื่นเช่าอาศัย

                เริ่มแรกชีวิตคู่ระหว่างหนุ่มสาว  ประหนึ่งมีแต่ความสุขความรื่นรมย์อบอวลทุกอณูอากาศ  ฝ่ายชายทำงานที่เทศบาลเมือง  ฝ่ายหญิงเป็นแม่บ้านดูแลครัวเรือน  กาลเวลาล่วงไป  จากวันเป็นเดือน แล้วเลยไปเป็นปี  สัจจะแห่งความรักก็เริ่มประกาศธาตุแท้ของมัน

                ไม่เคยมีความสุขในความรักอันเป็นโลกียวิสัยเป็นนิรันดร์

                ฝ่ายชาย  สามีแม่กาหลง  ก็เริ่มออกลายเจ้าชู้  อาศัยว่ามีรูปร่างหน้าตาคมสัน  เป็นคนรื่นเริง  มีวาจาไพเราะ  หญิงอื่นก็ยอมสนิทเสน่หาด้วย  ความทุกข์ก็พลันบังเกิดแก่แม่กาหลง  เพราะความหึงหวง  จากที่เคยพูดจาอ่อนหวาน  โอนอ่อนยอมความกันง่าย ๆ  ก็กลับกลายเป็นปากเสียง ทะเลาะเบาะแว้งคำต่อคำไม่ยอมใคร

                แม่กาหลงร้อนรุ่มกลุ้มใจหนักขึ้นทุกวัน  ความผูกพันกระสันแน่นระหว่างชีวิตผัวเมียก็เริ่มคลายเกลียว  เพราะไม่มีลูกด้วยกันเป็นโยงใยสายหนึ่ง

                ติด ๆ  กับบ้านของแม่กาหลง คือ บ้านผู้ใหญ่บ้านชื่อ กลีบ  ภรรยาผู้ใหญ่คือ คุณป้ายุพิน  บำเรอจิต  ซึ่งเป็นอุบาสิกาผู้ฝักใฝ่ในธรรม  ประกอบการบุญการกุศลมิได้เว้น  คุณป้ายุพินก็พอจะรู้อยู่บ้างว่า  แม่กาหลงกับสามีมิได้กลมเกลียวกันเช่นเก่าก่อน  แต่เรื่องผัว ๆ เมีย ๆ  นั้นจะไปยุ่งเกี่ยวก้าวก่ายเกินไปไม่สมควร  กระทำได้เพียงให้ข้อแนะนำเตือนสติ เวลาแม่กาหลงมาปรึกษาระบายความทุกข์ให้ฟัง

                แม่กาหลงขื่นขมอมทุกข์กับสามีจนย่างเข้าปีที่ ๓  ความรักความหวานที่จืดจางไป  ก็เพราะความประพฤติของสามีเป็นสำคัญ  ประกอบกับแม่กาหลงเอง  เป็นคนอารมณ์แรง  ความหึงหวงยิ่งทำร้ายจิตใจตัวเองหนักเข้าไปอีก

                วันนั้น......  เป็นวันที่แม่กาหลงจะสิ้นอายุขัย  แม่กาหลงนุ่งผ้าถุงกระโจมอกลงจากเรือนมาทำปลา  คุณป้ายุพินก็เดินไปทักทายที่ข้างรั้ว  เพราะรั้วติดกัน  สังเกตเห็นผิวพรรณแม่กาหลงหมองคล้ำ  หน้าตาไม่มีริ้วรอยความแจ่มใสเอาเสียเลย  จึงถามว่า

                “กาหลง ทำอะไรจ๊ะ”

                “จะทำปลาจ้ะ วันนี้เป็นอะไรไม่รู้ป้า มันร้อน มันกลุ้ม”

                แล้วแม่กาหลงก็คว้าปลาช่อน ขังไว้ในโอ่งออกมาพาดกับเขียง  ใช้สันมีดทุบหัวปลาดิ้นพราด ๆ ก่อนจะขอดเกล็ด  ปากก็บ่นให้ป้ายุพินได้ยิน

                “หนูเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ มันกลุ้มเหลือเกิน”

                คุณป้ายุพินถามว่ากลุ้มเรื่องอะไร  แม่กาหลงก็ไม่ตอบ  คุณป้ายังพูดเย้าว่า ทำไมไม่นุ่งผ้านุ่งผ่อนให้เรียบร้อยล่ะ  แม่กาหลงก็บอกว่า มันร้อน วันนี้รู้สึกร้อนเหลือเกิน ไม่รู้จะทำอย่างไรให้หายร้อนหายกลุ้ม

                คุณป้ายุพินเห็นแม่กาหลงมีท่าทางหงุดหงิดไม่สบายใจ  จึงได้เลี่ยงออกมาเสีย  กระทั่งเวลาล่วงไปประมาณบ่าย  ๔  โมงเย็น  คุณป้ายุพินสังเกตเห็นที่บ้านแม่กาหลงมีคนพลุกพล่าน  พูดคุยกันฟังไม่ได้ศัพท์  จึงเดินไปที่ข้างรั้ว  ถามว่ามีอะไรกันหรือ  คนในบ้านก็บอกว่า

                แม่กาหลงตายแล้ว  เป็นอะไรตายไม่รู้  กาฬดำขึ้นหมดทั้งตัวเลย....

                คุณป้ายุพินพอรู้ว่าแม่กาหลงจากไปไม่มีวันกลับก็ใจหาย หวนนึกย้อนตอนพูดคุยกันที่แม่กาหลงบอกว่า ร้อนไปทั้งตัว  ไม่รู้ว่าเป็นอะไร  ตอนนั้นคงกำลังเป็นไข้กาฬอยู่แน่ ๆ  แต่แม่กาหลงไม่รู้ตัว  และไม่บอกให้รู้ จึงช่วยเหลืออะไรไม่ทัน

                ศพแม่กาหลงตั้งสวดครบ ๔  วัน  ก็นำไปเผาตามประเพณี  ระหว่างที่รอคอยให้ครบ ๗ วัน เพื่อทำบุญอีกครั้ง  สามีนอนคนเดียวไม่ได้ ต้องให้เพื่อน ๆ มานอนเป็นเพื่อน  เพราะมีปรากฎการณ์หลายอย่างที่ทำให้อกสั่นขวัญกระเจิง  เมื่อทำบุญ ๗ วัน แล้ว  สามีก็รีบขนของโยกย้ายไปอยู่บ้านแม่ของตนตามเดิม  ปล่อยบ้านทิ้งร้างตั้งแต่นั้น

                และตั้งแต่นั้นอีกเช่นกัน  บ้านเช่าซึ่งเคยเป็นโรงรักเรือนหอของแม่กาหลง  ก็มีปรากฎการณ์ซึ่งแสดงว่าวิญญาณของแม่กาหลงยังสิงสู่ไม่ยอมไปไหน  ทำให้ไม่มีใครกล้าเข้ามาเช่าอยู่ต่อ  หรือ..... แม้แต่ย่างกรายผ่านหน้าบ้านกลางวันแสก ๆ  ก็ยังไม่ค่อยกล้าเสียด้วยซ้ำ

ขณะ นั้น  พระเดชพระคุณหลวงพ่อจรัญ  ฐิตธัมโม  เป็นเจ้าอาวาสวัดอัมพวันแล้ว  ระยะแรก ๆ ที่ท่านมาปกครองวัด  มีพระภิกษุสามเณรจำพรรษาอย่างมากไม่เกิน ๑๕ รูป  พื้นที่วัดอัมพวัน  มีประชาชนอยู่อาศัยไม่มากนัก  ชาวบ้านมีฐานะอัตคัดขาดแคลน ประกอบอาชีพทำสวน ทำนา เป็นพื้น  มีรายได้เล็ก ๆ น้อย ๆ พอประทังชีพไปวัน ๆ

                เวลานั้นวัดอัมพวันไปมายากลำบาก  ด้านหลังวัด (ปัจจุบันเป็นหน้าวัด)  เป็นป่าดงรกเรื้อเต็มไปด้วยป่าไผ่  วัชพืช มีต้นตาลระเกะระกะนับร้อยต้น  ทางถนนต่อเชื่อมจากวัดกับทางหลวงสายเอเซียยังไม่มี  และคลองชลประทานก็ยังมาไม่ถึง

                การทำนาอาศัยน้ำหลากไหลเข้าทุ่ง  คือ เดือน ๑๑  น้ำนอง  เดือน ๑๒  น้ำทรง  เดือนอ้ายเดือนยี่น้ำลง  ชาวนาก็ทำนาข้าวหนัก  ข้าวกลาง   ตามแบบอย่างโบราณกาลสืบเนื่องกันมา         ทางสัญจรสะดวกที่สุดเวลาไปวัด  อัมพวันขณะนั้น  อาศัยทางน้ำเป็นสำคัญ  เพราะวัดอัมพวันเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา  เมื่อหลวงพ่อจรัญ เป็นสมภารเจ้าวัด  วัดอัมพวันก็เริ่มเจริญขึ้นเป็นลำดับ  มีกุลบุตรมาอุปสมบทบรรพชาเป็นพระภิกษุสามเณรเพิ่มขึ้นพรรษาละ ๔๐ – ๕๐ รูป ญาติโยมลูกศิษย์เก่า ๆ ตั้งแต่ท่านสอนวิปัสสนากรรมฐานที่วัดพรหมบุรี ต่างพากันตามมานมัสการหลวงพ่อ เพิ่มจำนวนมากขึ้น เรื่อย ๆ เวลามีญาติโยมศรัทธามาวัดจำนวนมาก ๆ หลวงพ่อก็จำเป็นต้องไปขอบิณฑบาตอาหารหวานคาวบ้านเหนือบ้านใต้มาเลี้ยงดู เพราะวัดอยู่ในพื้นที่ทุรกันดารเหลือเกิน

                หลวงพ่อจรัญท่านมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะให้วัดอัมพวัน  ประกอบด้วย สัปปายะทั้ง ๔ ครบถ้วน คือ

๑.       อาวาสสัปปายะ

๒.     อาหารสัปปายะ

๓.     บุคลากรสัปปายะ

๔.     ธรรมสัปปายะ

ทั้ง  ๔  ประการนี้  ต้องอาศัยเนื่องกัน  วัดวาอารามจึงจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นมาได้  หลวงพ่อก็คิดจะตั้งโรงครัวของวัดขึ้นมา  เพราะเกรงใจชาวบ้านเหลือเกินที่ต้องขอบิณฑบาตข้าวหม้อแกงหม้อ  บ้านเหนือบ้านใต้บ่อย ๆ  เสมือนไปสร้างความลำบากให้โดยปริยาย

หลวง พ่อจรัญมีปัจจัยส่วนตัวติดตัวมาเพียง  ๓,๐๐๐  บาท  เงินน้อยนิดเพียงเท่านี้  จะซื้อเสาซื้อไม้ใหม่มาปลูกสร้างโรงครัวคงไม่พอแน่  ครั้นจะบอกบุญเรี่ยไรขอบริจาคชาวบ้านญาติโยมละแวกนี้ก็ลำบากใจ  เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่สุขสบายเหลือเฟือนัก  เมื่อไตร่ตรองรอบคอบแล้ว  หลวงพ่อจึงตัดสินใจเสาะหาซื้อบ้านเก่าเพื่อรื้อเอาไปปลูกเป็นโรงครัวของวัด อัมพวันต่อไป  โดยตั้งงบประมาณจัดซื้อไว้ ๓,๐๐๐ บาท  เท่าทุนที่หลวงพ่อมีอยู่

                จากนั้นหลวงพ่อจรัญได้บอกฝากลูกศิษย์ญาติโยมไปว่า  มีใครจะขายบ้านเก่าบ้าง  ก็ให้นำความมาบอก  จะได้ไปติดต่อขอซื้อมาสร้างโรงครัววัด  ลูกศิษย์ดั้งเดิมซึ่งมาปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อตั้งแต่ ท่านอยู่วัดพรหมบุรี (หลวงพ่อจรัญเริ่มสอนกรรมฐาน พ.ศ. ๒๔๙๕)  ก็พากันแยกย้ายไปเสาะหาบ้านเก่าที่เขาอยากจะขาย  แต่ยังหาไม่ได้

                วันหนึ่งคุณป้ายุพิน  บำเรอจิต  ซึ่งเป็นศิษย์กรรมฐานของหลวงพ่อจรัญมาที่วัดอัมพวัน  หลวงพ่อก็ถามว่า  “โยมพิน ใครมีบ้านจะขายในราคาย่อมเยาบ้าง”

                คุณป้ายุพินบอกว่า “ขอดูก่อนเจ้าค่ะ ถ้ามีที่ไหน ดิฉันจะมากราบเรียนให้ทราบเจ้าค่ะ”

                พอดีคิดขึ้นมาได้ว่า  บ้านนายอำเภอซึ่งอยู่ติดกัน  เป็นบ้านที่แม่กาหลงสิ้นชีวิต  และบ้านนี้ก็ถูกทิ้งร้างไว้หลายปี  เพราะไม่มีใครกล้ามาขอเช่าอยู่อาศัย  จึงกราบเรียนถวายหลวงพ่อพร้อมกับบอกท่านว่า หากเจ้าของบ้านกลับมา จะสอบถามให้ทันที ว่าเขาจะขายหรือไม่ คุณป้ายุพินกลับจากวัดไปถึงบ้าน พอดีกับคุณนายนายอำเภอมาจากกรุงเทพ ฯ มาดูบ้าน  ท่านจึงถามคุณนายว่า บ้านหลังนี้จะขายไหม ?  คุณนายก็บอกว่าขายซิ  เพราะเก็บไว้ก็ไม่มีใครมาเช่า คุณนายบอกราคาขายไว้ ๕,๐๐๐ บาท

                คุณป้ายุพินรีบนำความมากราบเรียนถวายหลวงพ่อจรัญ  ท่านก็ให้ไปถามคุณนายนายอำเภออีกว่า  พอจะลดราคาลงอีกได้ไหม ?  คุณป้ายุพินจึงย้อนไปหาคุณนาย พร้อมกับอธิบายให้ทราบว่า หลวงพ่อจรัญจะซื้อบ้านไปปลูกเป็นโรงครัวของวัด  มิได้เอาไปทำประโยชน์อย่างอื่น  เมื่อคุณนายทราบเรื่องเช่นนี้ก็บอกว่า  เมื่อหลวงพ่อจะเอาไปไว้วัด  ขอคิดแค่ ๓,๐๐๐ บาท

                ซึ่งพอดิบพอดีกับเงินส่วนตัวของหลวงพ่อไม่ขาดไม่เกิน

                คุณนายนายอำเภอมอบอำนาจให้คุณป้ายุพิน จัดการเรื่องการตกลงซื้อขายแทนแล้วก็กลับเข้ากรุงเทพ ฯ  คุณป้ายุพินจึงนำความมากราบเรียนถวายหลวงพ่อ  พร้อมกับบอกหลวงพ่อว่า “นิมนต์พระเดชพระคุณไปดูก่อนเถอะค่ะ ถ้าชอบใจค่อยซื้อ ถ้าไม่ชอบใจก็แล้วกันไป”

                หลวงพ่อก็ตกลงไปดูบ้าน  นัดวันเวลาเรียบร้อย  เมื่อถึงวันนัด  หลวงพ่อจรัญก็นั่งเรือสำปั้น  เก่า ๆ  ของวัด มีเครื่องยนต์ติดท้าย เก่าพอ ๆ กับสภาพเรือ  มีคนถือท้าย เดินทางไปบ้านคุณป้ายุพินกับผู้ใหญ่กลีบที่บ้านบางมอญ

                ไปถึงบ้านผู้ใหญ่กลีบกับคุณป้ายุพินร่วมเพล  สองสามีภรรยาได้จัดภัตตาหารเพลถวาย  ฉันเสร็จเรียบร้อย  ผู้ใหญ่กลีบก็พาหลวงพ่อจรัญไปดูบ้านของคุณนายนายอำเภอที่จะซื้อซึ่งอยู่ติด ๆ กัน บ้านนั้นเป็นบ้านทรงไทยเรือนแฝด  ฝาบ้านเป็นฝาประกนแบบโบราณ  มีรางน้ำรองน้ำฝนอยู่ตรงกลาง  สภาพภายนอกดูยังดีอยู่  เสียแต่ว่ามีหยากไย่รุงรังและฝุ่นละอองจับอยู่เต็ม  เพราะไม่มีใครดูแลรักษา

                ผู้ใหญ่กลีบนิมนต์หลวงพ่อให้ขึ้นไปดูบนบ้าน  แต่ตัวเองไม่ยอมขึ้นไป  คงเกาะอยู่ตีนบันไดแน่น  แล้วบอกแก่หลวงพ่อว่า  “ท่านขึ้นไปดูแล้ว นิมนต์มาที่บ้านนะครับ จะได้คุยกัน”

                พูดเพียงเท่านี้ผู้ใหญ่กลีบก็ไม่ยอมตามหลวงพ่อขึ้นไป  เพราะรู้อยู่แก่ใจตัวเองดีกว่า บ้านที่แม่กาหลงตาย เฮี้ยนขนาดไหน  หลวงพ่อจรัญไม่ได้คิดติดใจอะไร  เพราะไม่มีใครบอกกล่าวเล่าเรื่องที่แม่กาหลงมาเช่าบ้านอยู่กับสามี แล้วเป็นไข้กาฬสิ้นใจตายกระทันหัน

                หลวงพ่อจรัญขึ้นไปบนบ้าน  พอก้าวผ่านประตู  เรือนทั้งหลังก็พลันเกิดอาการโยกสะท้านประหนึ่งเกิดแผ่นดินไหว  แต่หลวงพ่อมิได้หวั่นหวาดต่อสิ่งใด  เพียงแต่สัมผัสความผิดปกติที่ไม่ชอบมาพากล  และรู้สึกขนลุกเกรียวอย่างไม่มีสาเหตุ

                ท่านจึงลงบันไดมาถามผู้ใหญ่บ้านกลีบซึ่งคอยอยู่ตรงตีนบันไดว่า  “เอ...บ้านหลังนี้ทำไมดูพิกลล่ะท่านผู้ใหญ่ ดูโยนไปโยนมาได้”

                ผู้ใหญ่กลีบทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้  บอกกับหลวงพ่อหน้าตาเฉยว่า  เรือนหลังนี้บางทีมันจะเก่า  ไม่มีคนอยู่  ขึ้นไปกระดานเรือนอาจโยนไปโยนมาก็ได้  หรือหลวงพ่อจะเป็นลมวิงเวียน...ผู้ใหญ่ว่าเข้าไปโน่น

                ที่ผู้ใหญ่กลีบไม่ยอมเล่าเรื่องแม่กาหลงให้ฟัง  คงเป็นเพราะกลัวว่า หลวงพ่อจรัญจะไม่ซื้อบ้านนี้ไป  และตัวเองน่าจะเจอฤทธิ์แม่กาหลงจนเข็ดเขี้ยว  ถึงได้อยากให้หลวงพ่อรื้อไปให้พ้นเสียที

                หลวงพ่อจรัญรับฟังผู้ใหญ่พูดมีเหตุผลพอฟังได้  ท่านจึงย้อนกลับขึ้นไปอีกครั้ง  พอก้าวเข้าไปในเขตเรือน  ความผิดปกติเช่นครั้งแรก ได้เกิดขึ้นอีก  หลวงพ่อจึงกำหนดจิตแผ่เมตตาออกไปบอกกล่าวแก่บางสิ่งบางอย่างซึ่งสิงสถิตอยู่ ว่า

                “ผู้ที่อยู่ในบ้านนี้ขอให้รับรู้ อาตมาจะรื้อบ้านหลังนี้ไปปลูกเป็นโรงครัว เพื่อทำอาหารถวายแด่พระสงฆ์องค์เณร และช่วยเลี้ยงพุทธศาสนิกชน ให้ได้รับความสะดวกในการบำเพ็ญกุศลของเขาต่อไป พวกท่านจะอยู่ที่นี่ทำไม ไปอยู่ด้วยกันนะ ไปอยู่วัดอัมพวัน ไปเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่วัดอัมพวันด้วยกันดีกว่า อย่าหลงอยู่ในอบายเป็นเปรตวิสัยอย่างนี้ ไม่ดีแน่ เมื่อถึงเวลารื้อก็มาช่วยกันรื้อกันปลูกนะ”

                เรือนซึ่งโยกไหว พลันหยุดนิ่งเป็นปกติ

                กลับลงมา  หลวงพ่อได้ไปบ้านผู้ใหญ่กับคุณป้ายุพิน  บอกตกลงจะซื้อบ้าน  แล้วนัดหมายวันรื้อถอน  ฝ่ายคุณป้ายุพินก็รับอาสาจะหาคนพื้นบ้านนี้มาช่วยรื้อ สมทบกับคนของหลวงพ่อที่นำมาจากวัดอัมพวัน  เรื่องอาหารการกินจะจัดเตรียมไว้ให้พร้อม

                หลวงพ่อจรัญกลับมาถึงวัด  ได้จัดเตรียมถางที่ซึ่งจะปลูกโรงครัว  เรียกช่างมาจัดการขุดหลุมฝังเสาเอาไว้ล่วงหน้า  เมื่อถึงวันกำหนดนัดหมายรื้อบ้านเก่านายอำเภอ ซึ่งหลวงพ่อจรัญซื้อไว้แล้ว  หลวงพ่อก็ได้เรือขนข้าวลำใหญ่ซึ่งลูกศิษย์นำมาช่วย  เดินทางล่องไปที่บ้านผู้ใหญ่กลีบพร้อมกับช่าง  และพระเณร ตลอดจนญาติโยมข้างวัด

                ไปถึงบ้านผู้ใหญ่กลีบ-คุณป้ายุพิน  ก็เริ่มรื้อบ้านกันเลย  เวลารื้อตัวบ้านออกทีละส่วน  ไม่มีอุปสรรคขัดข้องแม้แต่น้อย  พื้นไม้ฝาแบบฝาปะกนถอดออกง่ายเป็นแบะ ๆ ทะยอยลงเรือไปเรื่อย ๆ ทั้งหน้าจั่ว เครื่องบน เครื่องล่าง และเสาไม้แก่นไม้จริง  จะถอนส่วนใดดูสะดวกง่ายดายไปเสียหมด  ใช้เวลาแค่ค่อนวันก็เสร็จเรียบร้อย  ทุกส่วนที่ประกอบเป็นตัวเรือน  ไม่มีสิ่งใดแตกหักเสียหาย

                เป็นเรื่องแปลก  เพราะการรื้อถอนบ้านเรือนเก่า ๆ  ต้องมีการเสียหายไม่มากก็น้อย  และไม่สามารถรื้อให้เสร็จเรียบร้อยภายในวันเดียวได้

                เมื่อขนวัสดุตัวบ้านใส่เรือขนข้าวลำใหญ่หมดทุกชิ้น  หลวงพ่อจรัญก็เดินทางกลับวัดอัมพวันในเย็นวันนั้น  เช้าวันรุ่งขึ้น.... ก็เริ่มปลูกโรงครัวกันเลย  ฝังเสา วางคาน ปูพื้น ขึ้นจั่ว ประกอบฝา มุงหลังคาเสร็จสรรพเรียบร้อย  ไม่ขาดไม่เกินภายในวันเดียว

                เป็นเรื่องแปลก...!  ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้อีกเช่นกัน !

                โรงครัวปลูกเสร็จเรียบร้อย  เวลากลางคืนไม่มีใครกล้าไปอยู่  เพราะบริเวณที่ปลูกอยู่ทางทิศใต้ของวัด   ค่อนไปทางเปลี่ยววังเวง เนื่องจากยังเป็นป่ารกครึ้ม  มีกอไผ่โอบล้อมหลายสิบกอ  ยิ่งเป็นเวลากลางคืน  ก็ยิ่งน่ากลัวทีเดียว

                วันหนึ่ง  หลวงพ่อจรัญมีกิจไปที่อำเภออินทร์บุรี  พบกับ คุณป้าหมากดิบ  ภรรยาอดีตปลัดอำเภอเมืองสิงห์บุรี บวชเป็นชี  ท่านผู้นี้หลวงพ่อถือว่าเป็นผู้มีพระคุณ  เนื่องจากสมัยที่ท่านเป็นเด็กไปเรียนหนังสือชั้นมัธยม ที่จังหวัดสิงห์บุรี  ก็ได้พักอาศัยบ้านท่านปลัดอำเภอ  คุณป้าหมากดิบท่านเมตตาหุงหาอาหารให้รับประทานเรื่อยมา  ตั้งแต่หลวงพ่ออุปสมบทแล้ว ไม่เคยพบปะรู้ข่าวคราวคุณป้าหมากดิบอีกเลย  มาพบคราวนี้ คุณป้าบวชเป็นชีแล้ว  หลวงพ่อจรัญพบแม่ชีคุณป้าหมากดิบ  จึงเข้าไปทักทายไต่ถามสารทุกข์สุกดิบ  ได้ความว่า คุณป้าถูกเขาโกงสิ้นเนื้อประดาตัว  ไม่เหลือบ้านช่องห้องหอไว้อาศัยยามแก่ชราอีกแล้ว  หลวงพ่อจรัญจึงบอกแม่ชีคุณป้าหมากดิบว่า  “มาอยู่ด้วยกันเถอะ อาตมาจะรับเลี้ยงจนกว่าชีวิตจะหาไม่” แม่ชีคุณป้าหมากดิบ ก็ตามหลวงพ่อมาอยู่วัดอัมพวันตั้งแต่นั้น

                แม่ชีหมากดิบจึงเป็นแม่ชีคนแรกที่มาพำนักกุฏิโรงครัวหลังใหม่  โดยไม่มีสิ่งใดมารบกวนให้ท่านเกิดตระหนกตกใจแม้แต่ครั้งเดียว  แต่แม่ชีหมากดิบมีลูกหลานมาก  และท่านก็ยังผูกพันห่วงใย   ลูก ๆ  หลาน ๆ  อยู่  เลยไม่ค่อยอยู่ติดวัด

                เวลาผ่านไปพระภิกษุสามเณรวัดอัมพวันได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  ศรัทธาญาติโยมก็มาวัดอัมพวันจำนวนมาก  หลวงพ่อจรัญอาศัยโรงครัวซึ่งปลูกสร้างไว้แล้ว เป็นที่หุงข้าว ทำกับข้าวถวายพระเณร และเลี้ยงดูผู้มาเยือน

                ผู้มาช่วยหุงข้าวทำกับข้าวถวายพระสงฆ์องค์เณรตลอดจนเลี้ยงคน  ก็คือญาติโยมบ้านเหนือบ้านใต้ซึ่งอยู่ใกล้ ๆ วัด ผลัดเปลี่ยนวนเวียนกันมาช่วยหลวงพ่อทุกวัน  พอถึงเวลาเย็นก็จะพากันกลับบ้านใครบ้านมัน  ไม่มีใครนอนค้างอ้างแรมอยู่ดูแลโรงครัวเลย  สำหรับหลวงพ่อนั้น  เมื่อมอบหน้าที่ให้ฝ่ายใดไปจัดการแล้ว  ท่านก็ไม่จู้จี้จุกจิก ปล่อยให้เป็นหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคน แต่ละฝายไป

                เวลานั้น  ไม่มีใครนึกถึงแม่กาหลงกันแล้ว  แทบจะลืมไปเลยว่า  โรงครัวนี้เป็นบ้านเก่าของแม่กาหลงที่หลวงพ่อจรัญซื้อมาปลูกขึ้นใหม่  ขณะนั้น  โรงเรียนประชาบาลวัดอัมพวันได้รับการก่อสร้างขึ้นแล้วเช่นกัน  และเปิดทำการสอนแก่เด็ก ๆ ที่อยู่อาศัยในละแวกตำบลนั้นเป็นส่วนใหญ่

                นายสงวน  ศรีพวงวงษ์  เป็นภารโรงประจำโรงเรียนวัดอัมพวัน  มีภรรยาชื่อ บุญชู หลวงพ่อจรัญเห็นว่านางบุญชูอยู่บ้านเฉย ๆ ลูก ๆ ไปเรียนหนังสือกันหมด  ท่านจึงขอแรงนางบุญชูมาช่วยงานวัด  ทำหน้าที่เป็นแม่ครัวที่โรงครัวร่วมกับคนอื่น ๆ  ช่วยกันหุงข้าวทำกับข้าว เลี้ยงพระและเลี้ยงคนทุกวัน

                นางบุญชูมาช่วยโรงครัวตั้งแต่เช้า  และกลับบ้านช่วงเวลาบ่าย ๆ  ก่อนลูกผัวจะกลับจากโรงเรียน  เพื่อเตรียมหุงหาอาหารมื้อเย็นไว้ให้คนในครอบครัวกลับมากิน  สำหรับแม่ครัววัดอัมพวันทุกคน  หลวงพ่ออนุญาตให้เอาข้าวกลับไปบ้านได้  ส่วนกับข้าว หากมีเหลือจะนำไปกินก็ได้  เป็นการผ่อนคลายภาระเรื่องอาหารการกินในครอบครัวของทุกคน

                นางบุญชูก็หิ้วปิ่นโต ใส่ข้าว ใส่กับ กลับบ้านเหมือนกับทุกคน  แต่บางวันถือวิสาสะ หยิบหอม กระเทียม  พริกแห้ง  ใส่ไปด้วย  หรือวันไหนมีหมู มีปลาเหลือจากทำอาหารถวายพระเณร  ก็จัดแจงยัดใส่ปิ่นโตโดยพลการ  มิได้บอกกล่าวขออนุญาตต่อหลวงพ่อเสียก่อน  คงคิดว่า เป็นของกินเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่สำคัญอะไร

                คนที่อยู่ใกล้วัด  ใกล้พระ จำนวนไม่น้อย มักจะหาบาปเวรกรรมใส่ตัวเองเพราะความมักง่าย  และรู้เท่าไม่ถึงการณ์  พอใจสิ่งของในวัดวาอารามอย่างไหน ถ้าหยิบฉวยไปง่าย ๆ ก็จะคว้าไปเลย หารู้ไม่ว่า แม้จะเป็นสิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือไม่มีราคาค่างวดอะไรนัก  แต่ก็เป็นของสงฆ์  ถ้าพระสงฆ์ไม่อนุญาต  จะนำไปเป็นของตนไม่ได้  เพราะเท่ากับลักขโมยของสงฆ์โดยเจตนา

                เป็นอกุศลกรรมอันหนักหนาสาหัสทีเดียว

                นางบุญชูคงจะหยิบฉวยของในครัววัดอัมพวันไปเป็นอาจิณ  ด้วยความมักง่าย  และรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ได้  และไม่เพียงแต่นางบุญชูเท่านั้นที่ประพฤติเช่นนี้  คนอื่น ๆ ที่มาช่วยงานโรงครัวก็พลอยกระทำตามไปด้วย  คราวนี้วิญญาณแม่กาหลงซึ่งเงียบเชียบประหนึ่งสูญหายสลายไปนานแล้ว  ก็พลันแสดงฤทธิ์ให้ขนพองสยองเกล้ากันทั่วหน้า

                บ่ายวันนั้น.... ที่โรงครัววัดอัมพวัน

                ขณะที่นางบุญชูกำลังอยู่ที่โรงครัว  จู่ ๆ  ก็หงายหลังล้มตึง  มีอาการผิดปกติอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  เล่นเอาคนที่อยู่ตรงนั้นตื่นตระหนกตกใจ  พอนางบุญชูยกตัวขึ้นมานั่ง  ลักษณะท่าทางได้ผิดไปเป็นคนละคน  พวกที่อยู่โรงครัวถามกันขรมว่า “แม่ชูเป็นอะไร แม่ชูเป็นอะไร”

                นางบุญชูก็พูดเสียงดังฟังชัดว่า  “ฉันไม่ใช่บุญชู ฉันคือกาหลง เป็นวิญญาณอยู่ที่โรงครัวนี่”

                พอรู้ว่านางบุญชูถูกผีเข้า  แต่ละคนก็ถอยกรูดไปคนละทาง  ไม่กล้าเข้าไปจับต้องประคองตัวนางบุญชูเช่นตอนแรก  คนหนึ่งถามผีแม่กาหลงที่แฝงร่างนางบุญชูว่า

                “นี่.... มาเข้าแม่ชูทำไม เป็นผีแล้วมาอยู่กุฏิโรงครัวได้ยังไง ที่นี่เป็นวัดนะ”

                วิญญาณก็ตอบผ่านร่างนางบุญชูเป็นเรื่องเป็นราวชัดเจนว่า  “หลวงพ่อวัดอัมพวัน เชิญให้เรามาเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่วัดนี้ เราก็ตามมา ติดมากับบ้านที่หลวงพ่อไปซื้อแล้วรื้อมาปลูกโรงครัวนี่แหละ เรายังช่วยรื้อบ้าน ปลูกโรงครัวให้ท่านด้วย”

                “เป็นอะไรตาย ทำไมถึงตาย” มีคนถามอีก

                “เราเป็นไข้ตาย ตอนจะตายยังห่วงสมบัติห่วงผัว ผัวเราเจ้าชู้ มีผู้หญิงมากหน้าหลายตา สิ้นใจตายไปแล้วก็ไปไหนไม่รอด เพราะห่วงสมบัติ ห่วงผัว เลยเป็นเปรตสิงอยู่ที่บ้าน ด้วยอำนาจ โลภะ โทสะ โมหะ หลวงพ่อวัดอัมพวันไปที่บ้าน เราก็นั่งใกล้ ๆ ท่านไม่รู้”

                “แล้วมาที่นี่ทำไม มารบกวนแม่ชูเขาทำไม” แม่ครัวคนหนึ่งเจรจาขึ้นบ้าง

                “เรามาช่วยหลวงพ่อท่านดูแลโรงครัว ก็เห็นมานานแล้ว เห็นหลายวันแล้ว พวกเธอที่มาทำครัวนี่แหละ เม้มเอาของวัดไป ลักกะปิ หอม กระเทียมไป หมู ปลาก็ไม่เว้น ลักไปบ้านกันบ่อย ๆ เราทนดูไม่ไหวถึงต้องมาเตือน อย่าลักขโมยของวัดไปอีก ตายเมื่อไหร่จะกลายเป็นเปรตด้วยอำนาจโลภะ เป็นบาปกรรมเพราะโลภ เป็นเปรตเหมือนอย่างเรา”

                คราวนี้ พวกที่แอบหยิบฉวยของในโรงครัววัดติดมือกลับบ้าน มองหน้ากันล่อกแล่ก เกิดกลัวบาปเวรขึ้นมาทันที

                ระหว่างที่วิญญาณแม่กาหลงเข้าสิงนางบุญชู  มีญาติโยม  พระเณร พากันมามุงดูเป็นกลุ่ม  พระรูปหนึ่งเห็นนางบุญชูถูกผีเข้าสิงไม่ยอมออกง่าย ๆ  ก็รีบไปหาหลวงพ่อ  บอกกล่าวเรื่องราวว่า นางบุญชูถูกผีเข้า  นิมนต์ไปเจรจากับผีให้ออกไปเสีย  หลวงพ่อจริญหัวเราะบอกว่า ไม่ไปหรอก ให้เขาพูดกันเองก็แล้วกัน

                ทางฝ่ายวิญญาณแม่กาหลงที่สิงนางบุญชู  ก็สอนให้พวกแม่ครัววัด  ควรปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานกันเสียบ้าง  ไปใช่ทำแค่หุงข้าวต้มแกงไปวัน ๆ ก็ได้กุศลแค่ทำครัว ไม่ทำกรรมฐานก็ปิดประตูอบายไม่ได้  วิญญาณแม่กาหลงเตือนสติบรรดาแม่ครัววัดพอสมควรแล้ว ก็ออกจากร่างนางบุญชู

                เมื่อนางบุญชูรู้สึกตัวเป็นปกติ  เห็นคนรายล้อมรอบตัวเป็นกลุ่ม ก็มองซ้ายมองขวาเลิ่กลั่ก  เพราะไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ  เพื่อน ๆ จึงเล่าให้ฟังว่ามีอะไรเกิดขึ้น  นางบุญชูก็เกิดความหวาดเสียวในการกระทำของตัวเองเป็นกำลัง

                ตั้งแต่วันนั้น  พวกที่เป็นแม่ครัววัด  ไม่มีใครกล้ามักง่ายหยิบฉวยของในครัวกลับบ้านอีกเลย  เพราะกลัววิญญาณแม่กาหลงจับจิตจับใจ

                หลวงพ่อจรัญ  ฐิตธัมโม  ไม่เคยรู้เรื่องแม่กาหลงแม้แต่น้อย  เนื่องจากไม่มีใครเล่าให้ท่านฟัง  กระทั่งถึงวันธรรมสวนะ  ผู้ใหญ่กลีบกับคุณป้ายุพิน  ก็นั่งเรือยนต์มาปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน  เมื่อเจริญกรรมฐานแล้ว  หลวงพ่อจรัญได้ถามคุณป้ายุพินว่า

                “โยมพิน เจ้าของบ้านที่อาตมาซื้อมาทำโรงครัวนี่ ชื่อ กาหลง จริงไหม เป็นผี เคยแสดงอะไรไหม “

                คุณป้ายุพินกับผู้ใหญ่กลีบ ก็หัวเราะ นมัสการกราบเรียนถวายท่านว่า “เขาชื่อกาหลง จริง ๆ เจ้าค่ะ อยู่ที่บ้านนั้นแล้วเป็นไข้ตาย กาฬดำผุดขึ้นเต็มตัวเลย แต่ฉันไม่บอกหลวงพ่อเองแหละ เดี๋ยวท่านจะไม่ซื้อบ้าน เขาก็แสดงให้เห็นเหมือนกัน คนอื่น ๆ ถึงไม่ซื้อบ้านไป”

                วิญญาณแม่กาหลงที่วัดอัมพวัน  ไม่เพียงแต่ปรากฎเข้าสิงร่างนางบุญชู  ภรรยาภารโรงซึ่งมาช่วยงานครัวให้วัดเท่านั้น  ยังแสดงฤทธิ์อภินิหารปรากฎไว้อีกหลายครั้ง  ดังจะนำมาถ่ายทอดให้ได้รับรู้ต่อไปนี้

                ครั้งนั้น มีแม่ฉาบ แม่เขียว อยู่บ้านโคกล้วง  แม่ฉาบเป็นอุบาสิกาช่วยงานบุญวัดดาวดึงส์  แม่เขียวเป็นอุบาสิกาช่วยงานบุญวัดประสิทธิ์  ต่อมาได้มาเจริญธรรมวิปัสสนากรรมฐานที่วัดอัมพวัน

                วัดอัมพวันสมัยแรก ๆ ยังไม่มีกุฏิกรรมฐานหรือศาลาปฏิบัติธรรม  แยกเป็นสัดส่วนเช่นปัจจุบัน  ผู้มาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน หลวงพ่อจรัญจะให้ปฏิบัติและพักผ่อนหลับนอนที่ศาลาการเปรียญ  อาหารการกินของผู้ปฏิบัติ ธรรม  ต้องหุงหากินกันเอง  ไม่สะดวกสบายเช่นทุกวันนี้  ซึ่งทางวัดอนุเคราะห์ให้ทุกอย่าง

               
หน้า: [1]