ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบความหมายของคำว่า รูป และ นาม ในการภาวนากรรมฐาน ครับ  (อ่าน 12416 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบความหมายของคำว่า รูป และ นาม ในการภาวนากรรมฐาน ครับ
เท่าที่ฟังในรายการ วิทยุ จะมีการกล่าวเรื่อง รูป และ นาม

1. ในกรรมฐาน มัชฌิมา นั้น รูป และ นาม คือ อะไรครับ

2. รูป และ นาม มีความสำคัญอย่างไรครับ ในกรรมฐาน

3. รูป และ นาม อะไรสำคัญกว่ากัน ครับ

 :c017: :25:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุญาตตอบคำถาม อาจจะไม่ตรง ไม่ถูกต้อง ก็ขออภัยด้วยนะครับ ตามสิ่งที่ผมพอจะมีปัญญาอันน้อยนิดรู้ได้ วิถีทางผมอาจจะไม่ใช่ในแบบมัชฌิมากัมมัฏฐาน แต่คิดว่าศาสนาเดียวกันน่าจะความหมายไม่ต่างกันกับที่ผมเข้าใจในสายพระป่าดังนี้คือ

1. นามรูป
   - รูป คือ สิ่งที่ถูกรู้ ไม่มีความรู้สึกนึกคิดหรือตอบกลับใดๆคืนมา มีเอกลักษณ์ ลักษณะเฉพาะ ที่สามรถรับรู้ หรือ รู้สึกถึงสภาพนั้นๆได้ หากเปรียบในขันธ์ ๕ รูปนั้นก็คือ กายเรานี้ อันมีเกิดจากการประกอบรวมกันของธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นต้น ซึ่งธาตุ ไฟ มีลักษณะเฉพาะคือ ร้อน เย็น ดิน มีลักษณะเฉพาะคือ อ่อน แข็ง ลม มีลักษณะเฉพาะคือ เคลื่อนไหว ตรึงไหว น้ำ มีลักษณะเฉพาะคือ การรวมตัวผสมของธาตูทั้งหลายข้างต้น เช่น เวลาเรากระทบน้ำด้วยความเร็วและแรง น้ำจะแข็งมากใช่ไหมครับ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่เป้นธาตุดิน เป็นต้น สี เสียง กลิ่น รส ก็เป็น รูป เพราะเป็นสิ่งที่ถูกรู้

   - นาม คือ สภาพที่รับรู้ สภาพที่รู้อารมณ์ นั่นคือ จิต เจตสิก (อารมณ์ในทางธรรม หมายความว่า สิ่งใดที่จิตรู้ สิ่งนั้นคืออารมณ์ เช้นคุณได้ยินเสียง คุณก็มีเสียงเป้นอารมณ์ คุณมองเห็น คุณก็มีรูปสีเป็นอารมณ์ คุณรู้กระทบทางกาย คุณก็มีโผฐฐัพะเป็นอารมณ์) นามในขันธ์๕ ก็คือ วิญญาณขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เวทนาขันธ์

   - ซึ่งทั้ง รูป และ นาม คือ สภาพจริงๆ ที่มีอยู่จริง โดยสามารถรู้สึกได้ รับรู้ได้ ทุกคน ทุกชาติ ทุกชนชั้น มีสภาพจริง มีลักษณะเฉพาะที่รู้สึกได้ นี่คือความมีอยู่จริงโดยตัดขาดจาดสมมติบัญญัติ หากเข้าถึงสภาพที่แยกขาดเป็นเพียง รูป นาม จะมองเห็นว่า ทุกอย่างเกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์ ไม่ควรติดข้อง หาประโยชน์มิได้ จนหมดความติดข้องใจใดๆอีก ไม่มีความต้องการใดๆอีก มีวางแค่ความเป็นอัพยกตธรรม

2. รูป และ นาม สิ่งใดที่เรียกว่าสิ่งใดสำคัญกว่า
   - ผมไม่เข้าใจในความหมายของคำว่า สำคัญ ของคุณน่ะครับอาจให้คำตอบที่ไม่ตรงประเด็นที่คุณต้องการนะครับ ที่ผมรู้ๆก็คือทั้ง รูป และ นาม ต่างก็เป็นทุกข์
   - รูป จะเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ถูกกระทบ ไม่มีความรู้สึกนึกคิด มีความเสื่อมเป็นธรรมดา ไม่เที่ยง ไม่คงอยู่ หากมีแต่กายไม่มีจิตทีอยู่ด้วย ก็ไม่มีความรู้สึก เช่นคนตาย เอามีดฟันก็ไม่รู้สึกเจ็บใช่ไหมครับ รูปขันธ์ นั้น ย่อมเป็นไปจามที่ สภาพของใจปรุงแต่งบังคับให้เป็นไป เช่นปวดท้อง ท้องร้อง จิตสมมติเข้าใจว่าหิว เมื่อหิว จิตก็สั่งว่าต้องกิน ร่างกายเราก็ต้องไปหาอาหารกิน เป็นต้น
   - นาม จะเป็นตัวปรุงแต่ง นึกคิด ตรึกตรอง คำนึง จดจำ ความรู้กระทบสัมผัส รู้อารมณ์ รู้เจ็บ รู้ปวด ความเสพย์เสวยอารมณ์ความรู้สึก วิญญาณขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เวทนาขันธ์ เป้นตัวรับรู้ และ สั่งการให้กายดำเนินไปตามที่ต้องการ

ลองทบทวนพิจารณาดูครับ สิ่งใดสำคัญกว่ากันที่จะก่อให้เกิด กรรม คือการกระทำโดยเจตนา

ผมมีความรู้เข้าใจแค่นี้ หากบิดเบือน ผิดเพี้ยน ไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ผมก็ขอความอโหสิกรรมแก่เจ้าของกระทู้และท่านทั้งหลายด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2012, 01:41:48 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าถาม รูป นาม คือ อะไร ส่วนนี้ผมว่าเป็น วิปัสสนาแล้วนะครับ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับยังอยู่ส่วนเบื้องต้น ก็คือ ปีติ ยุคล สุข อยุ่เลยนะครับ

    วิปัสสนากรรมฐาน
   บัดนี้จักกล่าวในพระวิปัสสนา ให้พระโยคาวจรเจ้า แจ้งไซร้ ซึ่งวิปัสสนาญาณบริหารไว้ ตามได้สังเกตอันมีมา ในพระบาลี
   พระธรรมเป็นนัยสาคร  บวรวิภังค์รังษี
   ลึกลับละเอียดแสนทวี  อันมีในห้องวิปัสสนา
   ยากที่จะว่าให้เข้าใจ จะรู้ไปที่สังขาร
   ถึงผู้รู้วิปัสสนาปัญญา  โลกีย์มีมลทิน
   จะพิจารณาไปในสังขาร เห็นว่าญาณจะรู้ไปไม่สิ้น 
  เพราะว่าสังขารเสร้าหมอง  ไปด้วยมลทิน 
  ไม่สิ้นในทางวิปัสสนา เปรียบดังกระต่ายตัวเพลีย  ไ
  ด้เลียแต่น้ำค้างบนใบหญ้า น้ำในสมุทรคงคา
   ลึกกว้างหนักหนาเป็นอนันต์ดร

    พระวิปัสสนานี้รู้ยาก บุญมากจึงจะรู้ในเบญจขันธ์
   ลึกลับสิ้นสรรพทุกอัน ผูกพันซับซ้อนในสันดาน
  เกรงกลัวที่ชั่วแต่ทุเหตุ  คืออุปกิเลสอันไพศาล
   จะเศร้าหมองในคลองญาณ จะป่วยการเกินไปมิใช้ทาง
   ให้เห็นว่าดีเป็นที่รัก ยิ่งนักแม่นมั่นไม่อางขนาง
   ให้เพียรผูกไว้ที่ใช่ทาง จะหมองหมางมลทินในวิญญาณ
   จะให้เกิดทุกข์ในขันธ์มาร สันดานเดือดร้อนเป็นทุกขา
    ให้รกรื้อรุงรังในวิญญาณ์ วิปัสสนาใช่ทางแห่งญาณแล 
     
         (หลวงวิศาลดรุณกร)  ในวิปัสสนา มี............ 
 
  ห้องวิปัสสนา ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
๑.พระวิสุทธิ ๗ ประการ
๒.อนิจจลักษณะ ๓
๓.อนุวิปัสสนา ๓
๔.วิปัสสนาญาณ ๑๐
๕.วิโมกข์มุข ๓
๖.อนุวิปัสสนาวิโมกข์มุข ๓
๗.โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
๘.สัญโญชน์ ๑๐
๙.ออกบัวบาน พรหมวิหาร
๑๐.การประหานกิเลส

วิปัสสนาภูมิ ๖
๑.ขันธ์ ๕
๒.อายตนะ ๑๒
๓. ธาตุ ๑๘
๔.อินทรีย์ ๒๒
๕.อริยสัจ ๔
๖.ปฏิจจสมุปบาท ๑๒



 ที่มาจากหนังสือ คู่มือสมถะวิปัสสนากรรมฐาน
 เรียบเรียง โดยพระครูสิทธิสังวร ผช.จล.วัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5

 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=55.msg79#msg79
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2012, 10:18:24 pm โดย นักเดินทาง »
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ทิฏฐิวิสุทธิ
   ทิฎฐิวิสุทธิ นั้นคือ  พระโยคาวจรเจ้าตั้งอยู่ในสมถะยานิกะแล้ว  คือมีจิตวิสุทธิแล้วพึงกำหนดวิปัสสนาปัญญาลงให้เห็น ซึ่งนามธรรม และรูปธรรม อันเป็นลักษณะแห่ง จิตกามาวจร(อุปจารสมาธิ) จิต รูปาวจร(อัปปนาสมาธิ)  และกำหนดเอาซึ่งองค์แห่งปฐมฌาน มีวิตกเป็นต้น และเจตสิกอันสัมปยุตธรรม  เกิดพร้อมดับ พร้อมกับจิตนั้น นั่นพึงพิจารณาเนืองๆ ว่าจิตนี้มีลักษณะดังฤา อาศัยซึ่งอันใด จึงประพฤติเป็นไป  ให้เห็นว่าจิตอาศัยหทัยรูป แลหทัยรูปนั้นอาศัยอยู่ใน  มหาภูตรูปบังเกิด เป็นที่อาศัย แลกำหนดเอาซึ่ง อุปาทายรูป ๒๔ อันอาศัย มหาภูตรูป ๔ และวัณณะ คันถะ รส โอชา ประสาทรูป ๕ แลวัตถุภาวะรูป อินทรีย์รูป แลเสียงสอง ประการ แลอากาศธาตุโดยสังเขป ในรูป ๒๔ แล ให้กำหนดเบญจขันธ์ทั้ง ๕ แล นามรูปทั้ง ๒ คู่กันเหมือนดังทะลายตาลทั้งคู่นั้น พึงให้เข้าใจว่า ใช่สัตว์ใช่บุคคล นามรูปพากันท่องเที่ยวอยู่ในภพทั้ง ๓ นี้   ดังมนุษย์ขี่สำเภาลอยไปในมหาสมุทร  อาศัยแก่กันทั้งสอง จึงเที่ยวไปได้ ถ้าเห็นโดยแท้ด้วยวิปัสสนาญาณดังนี้ชื่อว่า ทิฎฐิวิสุทธิ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า  นามรูปปริจเฉทญาณ
   หทัยรูป คือน้ำเลี้ยงหัวใจประมาณซองมือหนึ่ง ขังอยู่ในช่องพอบรรจุเมล็ดบุนนาค อยู่ในเนื้อหัวใจเป็นที่อาศัยของมโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ เป็นลักษณะมีการ รองรับธาตุ
   มหาภูตรูป  ๔  คือ ปฐวีธาตุ ๑  อาโปธาตุ ๑ เตโชธาตุ ๑ และวาโยธาตุ ๑
   อุปาทายรูป  ๒๔  ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส อัตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ หทัยวัตถุ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ อากาสาตุ รูปัสสะ ลหุตา ความเบาแห่งรูป  รูปัสสะ มุทุตา  ความอ่อนแห่งรูป  รูปัสสะ กัมมัญญตา ความคล่องแห่งกาย  รูปปัสสะ อุปจยตา ความเติบแห่งรูป  รูปัสสะ สันตติ ความสืบต่อแห่งรูป รูปัสสะ ชรตา ความทรุดโทรมแห่งรูป  รูปัสสะ อนิจจตา ความไม่ยั่งยืนแห่งรูป และ กวฬิงการาหาร อาหารเป็นคำๆ
   โอชา   คือ กวฬิงการาหาร นั้นเอง
   ประสาทรูป ๕  คือ จักษุประสาท โสตประสาท ฆานประสาท ชิวหาประสาท กายประสาท ธาตุทั้ง ๔ บำรุงประสาททั้งห้าไว้
วัตถุภาวรูป ๒  อัตถินทรีย์ ความเป็นหญิง  ปุริถินทรีย์  ความเป็นชาย
เบญจขันธ์  คือ รูป  เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ภพ ๓   นรก  มนุษย์  สวรรค์


 ที่มาจากหนังสือ คู่มือสมถะวิปัสสนากรรมฐาน หน้า 133
 เรียบเรียง โดยพระครูสิทธิสังวร ผช.จล.วัดราชสิทธาราม เจ้าคณะ 5

 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=55.msg79#msg79
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 16, 2012, 10:19:56 pm โดย นักเดินทาง »
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่คุณเดินทางไกล กำลังจะบอกก็คือ ถ้าศึกษาเรื่องนามรูปแสดงว่า กำลังเป็น วิปัสสนา ใช่หรือไม่ครับ
 
   ว่าแต่ผมมีข้อสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ห้องวิปัสสนา ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ต้องเป็นไปตามนั้นหรือครับ

ห้องวิปัสสนา ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
๑.พระวิสุทธิ ๗ ประการ
๒.อนิจจลักษณะ ๓
๓.อนุวิปัสสนา ๓
๔.วิปัสสนาญาณ ๑๐
๕.วิโมกข์มุข ๓
๖.อนุวิปัสสนาวิโมกข์มุข ๓
๗.โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ
๘.สัญโญชน์ ๑๐
๙.ออกบัวบาน พรหมวิหาร
๑๐.การประหานกิเลส

   หรือเริ่มฝึกที่ห้องตนเองชอบครับ

 เพราะผมเข้าใจว่า ห้องวิสุทธิ 7 ประการ ก็น่าจะจบแล้ว เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้า น่าจะเป็นธรรมต่อเนื่อง นะครับ  :coffee2: :coffee2:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
รูปนาม มีอยู่ในปีติทั้งห้า สมถะวิปัสสนา มีอยู่ในปีติทั้งห้า การศึกษาปีติห้าคือการศึกษาธาตุ คือการเรียนร้รูปและนาม
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อธิบายกันได้ ดี

  โดยเฉพาะ คุณ midnight เริ่มมาถูกทางในกระบวนกรรมฐาน
 
   พอจะบอกเป็นแนวทาง ไว้ให้ได้ ภาวนากันต่อนะจีะ
   สิ่งสำคัญ ก่อนที่รู้จัก รูป ต้องรู้จัก นาม ก่อน รู้จักนาม ก็จะรู้จัก รูป
   รูป จะปรากฏ ต้อง มีนาม จะมาเดี่ยวไม่ได้

   ดังนั้นจะกล่าวได้ว่า รูป อาศัย นาม และ นาม อาศัย รูป
   
   รูป เกิดขึ้น นาม เกิดขึ้น
   รูป ตั้งอยู่ นาม ตั้งอยู่
   รูป ดับไป นาม ดับไป

   ที่นี้มาิิพิจารณา สมการ ดูสิว่า

    คนตาย ที่เราบอกว่าเป็น รูป  รูป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปหรือไม่  ก็จะเข้าใจเรื่องรูป เพราะบุคคลเข้าใจรูป คือ มหาภูตรูป 4 รูปเบื้องต้นเป็นรูป รูปอย่างนี้จัดเป็นรูปภายนอก เห็นเกิดขึน ตั้งอยู่ ดับไป พร้อมกับนามไม่ได้

    รูปขันธ์ มิใช่หมายถึง มหาภูตรูป 4 ที่ประชุมกัน แต่หมายถึง มหาภตรูป 4 ที่มีนามอาศัยอยู่ จากที่ คุณ midnigth เริ่มใกล้เคียงแล้ว

     ดังนั้นขอให้ท่าน พิจารณา ตาม

     1. หทัยรูป ส่วนนี้ต้องรู้ก่อน
     2. มหาภูตรูป 4 ที่มีนามอาศัย ( ก็คือหทีัยรูป )นั่นเอง
     3. อุปาทายรูป
     4. โอชา
     5. ประสาทรูป
     6. วัตถุภาวะรูป

     รู้ รูป ก็รู้อย่างนี้ นะจ๊ะ ถูกต้องแล้ว ในกระบวนการกรรมฐาน ดังนั้นสังเกตให้ดี ว่า
   
      พระธรรมปีติ แบ่ง ธาตุ ไว้ 5 ธาตุ มากกว่า มหาภูตรูป 4 แต่ ประกอบด้วย 6 รูป ที่กล่าวมานั้นทั้งหมด

      1.พระขุททกาปีติ เป็น ธาตุดิน มี 21 รูป  ประสาทรูป ...... วัตถุภาวะรูป .....
     
       เป็นต้น

     สาธุ สาธุ สาธุ

      :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

keyspirit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านที่พระอาจารย์ อธิบายเรื่อง รูปแล้วรู้สึกเรื่องรูป ยังเข้าใจไม่พอครับ
แต่อ่านก็พอจะเข้าใจครับ ว่าการภาวนาของเรานั้น ทำให้ยังไม่เห็นจริงครับ เป็นไปตามปรุงแต่งเสียมากกว่าครับ
 :34: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า