ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "หนทางแห่งความเสื่อม 4 จาก วิชชา และ จรณะ ผู้ภาวนาพึ่งทราบไว้"  (อ่าน 3729 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค  [๓.อัมพัฏฐสูตร]
    ทางเสื่อม  ๔  ประการแห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติ


พระไตรปิฏกเล่มที่ 9 หน้าที่ 102

 ทางเสื่อม ๔ ประการแห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติ
            [๒๘๐]    อัมพัฏฐะ    วิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้มีทางเสื่อมอยู่ ๔    ประการ    ๔    ประการอะไรบ้าง    คือ
     (๑)    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้    เมื่อยังไม่บรรลุวิชชาสมบัติ และจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้    จึงหาบหิ้วบริขารดาบสเข้าไปสู่ราวป่าด้วยตั้งใจว่าจักบริโภคผลไม้หล่น    เขาต้องเป็นคนรับใช้ ของท่านที่เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้    ข้อนี้เป็นทาง เสื่อมประการที่    ๑    แห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม
      (๒)    อีกอย่างหนึ่ง    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้    เมื่อยังไม่บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้    ทั้งไม่สามารถจะหาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้    จึงถือเสียมและตะกร้าเข้าไปสู่ราวป่า ด้วยตั้งใจว่าจักบริโภคเหง้า    ราก    และผลไม้    เขาต้องเป็นคนรับใช้ของท่านที่เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้    ข้อนี้เป็นทาง เสื่อมประการที่    ๒    แห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม
      (๓)    อีกอย่างหนึ่ง    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้    เมื่อยังไม่ บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้    ไม่สามารถจะ หาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้    ทั้งไม่สามารถจะหาเหง้า    ราก    และผลไม้บริโภคได้    จึงสร้างเรือนไฟไว้ใกล้บ้านหรือนิคมแล้วบูชาไฟอยู่เขาต้องเป็นคนรับใช้ของท่านที่เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้    ข้อนี้เป็นทางเสื่อมประการที่    ๓    แห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม
      (๔)    อีกอย่างหนึ่ง    สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้    เมื่อยังไม่ บรรลุวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมนี้    ไม่สามารถจะ หาผลไม้ที่หล่นบริโภคได้    ไม่สามารถหาเหง้า    ราก    และผลไม้ บริโภคได้    ทั้งไม่สามารถจะบูชาไฟได้    จึงสร้างเรือนมีประตู    ๔ ด้านไว้ที่หนทางใหญ่สี่แพร่งแล้วพักอยู่ด้วยตั้งใจว่า    เราจะบูชา ท่านผู้ที่เดินทางมาจากทิศทั้ง    ๔    ตามสติกำลัง    ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม    เขาต้องเป็นคนรับใช้ของท่านที่เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะโดยแท้    ข้อนี้เป็นทางเสื่อมประการที่ ๔    แห่งวิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยม
    อัมพัฏฐะ    วิชชาสมบัติและจรณสมบัติอันยอดเยี่ยมมีทางเสื่อมอยู่    ๔    ประการนี้แล




    อธิบายให้เข้าใจง่ายสำหรับท่านที่อ่านแล้ว ยังไม่เข้าใจ คือ พระพุทธเจ้าพระองค์ตรัสแสดงไว้ว่า สมณะพราหม์ ผู้ที่ยังไม่บรรลุ วิชชาและจรณะ มีความปรารถนา เพืื่อ ลาภ เพื่อ ยศ เพื่อ สรรเสริญ เพื่อ สุข(อันเจือด้วยตัณหา )ปรารถนาลามก เพื่อให้ผู้อื่น ยอมรับใช้ ด้วยคิดว่าตนเองเพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ที่ไม่มีในตน ข้อนี้เป็นทางแห่งความเสื่อม ของผู้ภาวนา เป็นด่านสำคัญของผู้ภาวนา ที่ไปไม่รอดเพราะเจือด้วย ปณิธานอันลามก ไม่ประกอบด้วยกุศล ดังนั้น อยากให้ท่านทั้งหลายที่เป็นทั้งศิษย์ สมาชิกธรรม ผู้ติดตามอ่านเมื่อเวลาจะภาวนาให้ตั้งปณิธาน เพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลส และไม่ภาวนาเพื่อ โลกธรรม ทั้ง 8 เมื่อท่านคิดได้เห็นได้อย่างนี้จิตของท่านจะผ่องใส ด้วยปฏิบัติบูชา และความเสื่อม ด้วย วิชชา 3 และ จรณะ 15 จักไม่เกิดแก่ท่านทั้งหลาย

    ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย ตระหนักปณิธานในการภาวนา และ ปฏิบัิติบูชา ต่อ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อย่างยิ่งยวด


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2012, 10:53:40 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ กับพระอาจารย์ด้วยคะ

  รู้สึกว่า ช่วงนี้เนื้อหาที่พระอาจารย์โพสต์ให้อ่าน รู้สึกเริ่มหนักขึ้นกับ โยมบ้างแล้ว คือเริ่มจะอ่านไม่ค่อยจะเข้าใจแล้วคะ หรือเป็นเพราะโยมอ่อนการภาวนาลง จึงอ่านไม่ค่อยจะรู้เรื่องคะ

   แต่อย่างน้อยเรื่องนี้ก็ยังพอเข้าใจ คะ พระอาจารย์ต้องการให้ศิษย์ผู้ปฏิบัติทุกท่านรักษาปณิธาน การภาวนา และ เมื่อภาวนาก้ให้ถวายเป็นพุทธบูชา

   ขอบคุณพระอาจารย์คะที่นำเนื้อหาพระไตรปิฏก มาช่วยประกอบเมื่อก่อนก็เคยสงสัยอยู่เหมือนกันว่าหัวข้อนี้ในพระไตรปิิฏกมีหรือไม่ แต่ยิ่งได้อ่านข้อความธรรม ที่ประกอบกับเนื้อหาพระไตรปิฏกจึงมั่นใจในหลักพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ คะว่า ไม่ได้สอนออกนอกลู่ นอกทาง ล้วนแล้วแต่มีเนื้อหาในพระไตรปิฏกทั้งสิ้น คะ  ขอบคุณมากคะ

    :25: :c017: :25: :c017:

 
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นด้วยครับ ตั้งแต่ต้นเดือนมานี้ เห็นพระอาจารย์โพสต์บทความแล้ว ต้องตั้งใจอ่านมากครับ พระสูตรก็อ่านยากอยู่แล้ว แต่คำอธิบายสั้น ๆ ด้วย จัดได้ว่าช่วงนี้พระอาจารย์ออกบทความประเภทที่ไม่เอื้อเฟื้อแก่การงานนะครับ คือต้องไม่คิดว่า จะเอาธรรมนั้นมาใช้ในชีิวิตประจำวันนะครับ มิฉะนั้นยุ่งหมดเลย แค่วันนี้ออกเรื่องอุเบกขา ก็นับว่าทำให้ความกระตือรือร้นในงานผม ลดลงเลยครับ ปรุงแต่งอยู่แต่พอเพียง ไม่ต้องมากด้วยความขยัน ... อะไรประมาณนี้นะครับ พูดง่าย ๆ ช่วงนี้พระอาจารย์ออกบทความ แนวพ้นโลกนะครับ.... ผู้อื่นต้องตรวจสอบสภาวะตนเองด้วยนะครับ พร้อมที่จะพ้นจากโลกนี้แล้วหรือยัง ..นะครับ

  สาธุ สาธุ สาธุ
 ถึงแม้จะเข้าใจยาก แต่ก็ผมก็ยังตั้งใจตามอ่านต่อไปนะครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

hiso

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 63
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คิดว่า กรรมฐาน สมถวิปัสสนานั้น ไม่ใช่เรื่องเล่นนะคะ จึงมาเรียนและทำอย่างฉาบฉวยไม่ได้ หรือทำอย่างเล่นไม่ได้เพราะเป็นเรื่องที่ อยู่เหนือโลก และ วิัสัยของปุถุชชนคนทั่วไปคะ

  :s_hi: :49: :58:
บันทึกการเข้า

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
" ผู้เป็นมุนี (มีปัญญา) ไม่
 ประมาท เที่ยวไปผู้เดียว ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและ
สรรเสริญ ไม่สะดุ้งหวาดเพราะโลกธรรม เหมือนราชสีห์
ไม่สะดุ้งหวาดเพราะเสียง ไม่ข้องอยู่ในตัณหาและทิฐิ
 เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในตาข่าย ไม่ติดอยู่กับโลก เหมือน
  ดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ เป็นผู้นำ ไม่ใช่ผู้ที่ใครๆ อื่นจะพึง
 นำไปได้ นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี


 หรือแม้ผู้ใดไม่ถึง
 ความยินดีหรือยินร้าย ในเรื่องที่ผู้อื่นกล่าววาจาด้วยอำนาจ
 การชมหรือการติ เหมือนเสามีอยู่ที่ท่าเป็นที่ลงอาบน้ำ ผู้นั้น
 ปราศจากราคะ มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว นักปราชญ์ย่อมประกาศ
 ว่าเป็นมุนี "

อ่านพระะพุทธดำรัสนี้ทั้งหมดได้จาก -

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ 
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
มุนีสูตรที่ ๑๒
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=7600&Z=7661&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=313



ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7623.0
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน