ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม โยชนา กัจจายนะ ไม่มี มูลกรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ  (อ่าน 730 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม โยชนา กัจจายนะ ไม่มี มูลกรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ
ตอบ ใช่ โยชนา กัจจายนะ หรือ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า มูลกัจจายน์ ไม่ใช่ วิชากรรมฐาน แต่เป็น วิชาเกี่ยวกับศึกษา เขียน อ่าน พูด ภาษา มาคธี ( บาลี )
โดย โยชนา กัจจายนะ มีข้อความระบุที่ชัดเจน ว่า พระญาณกิตติ ( สมัยสุโขทัย ) ได้เรียบเรียง มุขปาฐะ มาจาก อาจารย์ผู้สอน โยชนา ในสมัยนั้น หลาย ๆ ท่าน มาเป็นแบบเรียน เปรียญ ซึ่งทำการบันทึกลงไว้ในแผ่นจาร
แต่ต่อมาแผ่นจารเหล่านั้น สมบูรณ์บ้าง ขาดบ้าง ตกหล่นบ้าง จนมาถึงสมัยรัชกาลที่ 2 - 4 จึงได้มีการทำสังคายนา มูลกัจจายน์ใหม่ จึงมี โยชนา เกิดขึ้นเป็นทางการ ชัดเจน ใกล้เคียงกัน หลายฉบับ ในยุค ร.2 - 4
ฉบับแรก ที่ได้สังคายนา โดย พระสังฆราช องค์ที่ 3 และ 4
ฉบับนี้ได้สังคายนาครั้งแรกในสมัย ปลาย ร1 และ ยุค ร2
ชื่อโยชนา เมื่อทำเสร็จแล้ว เรียกว่า โยชนา ฉบับรดน้ำดำโท มาจารสมบูรณ์ ในสมัย ร3
และอีกฉบับหนึ่งที่ทำขึ้นในสมัย ปลาย ร1 และ ยุค ร2
ชื่อ โยชนา เมื่อทำเสร็จแล้ว เรียกว่า โยชน ฉบับบเทพชุมนุม มาจารสมบูรณ์ในสมัย ร3 เข่นกัน
ต่อมาใน สมัย ร3 ก็ได้เรียบเรียง ข้อความของ 2 ฉบับให้ตรงกัน จึงเกิดโยชนลูกผสม ขึ้นคาดว่าสมบูรณ์ จาก 2 ฉบับร่วมกัน
โยชนฉบับนี้ เมื่อ จารเสร็จในสมัย ร3 ชื่อว่า โยชนา ทองทึบ
ในสมัย ร3 เช่นกัน ฉบับทองทึบ ก็ได้ทำออกมาแบบย่อแต่คล้ายกัน อีก 1 ฉบับ จารเสร็จในสมัย ร3 เมื่อจารเสร็จได้ชื่อว่า โยชนา ฉบับทองน้อย
ต่อมาในสมัย ร4 ก็ได้มีการสังคายนา อีกครั้ง โดยนำฉบับทองทึบ ออกมาสังคายนา เป็น ฉบับสมบูรณ์ ชื่อว่า โยชนา สังขจายน์ จารเสร็จ สมัย ร4
ส่วนฉบับทองน้อย ก็ได้จารเสร็จในสมัย ร4 เป็นฉบับใหม่ชื่อว่า โยชนา ฉบับล่องชาด
ดังนั้นคัมภีร์ โยชนา สมบูรณ์ที่สุด ใน สมัย ร4 มี  2 ฉบับ คือ ฉบับวัดสังข์กระจาย หรือ โยชนา สังขจายน์  และ โยชนา ฉบับ ล่องชาด นั่นเอง โดยมีต้นทางที่มาชัดเจน จาก โยชนา ที่พระญาณกิตติได้รวบรวมครั้งแรกในสมัย สุโชทัย มาสมบูรณ์มากที่สุด ในยุครัตนโกสินทร์
สรุป โยชนา กัจจายนะ ไม่ใช่ตัว วิชากรรมฐาน แต่เป็นแบบเรียนภาษาบาลี
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ