ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน (วิถี Admax)  (อ่าน 7439 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอนอบน้อมแด่ พระพุทธเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
ขอนอบน้อมแด่พระธรรม ที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ พระเถระ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย  ผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ที่ควรแก่การเคารพนพน้อม

ธรรมทั้งหลายทั้งปวงที่ผมโพสท์กล่าวทั้งหมด เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสไว้ดีแล้ว ประเสริฐแล้ว หาประมาณมิได้ พึงปฏิบัติและให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมเพื่อให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์ จนถึงที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ผมได้นำธรรมอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นมาพิจารณาปฏิบัติ กรรมฐาน สมถะ และ วิปัสนา ทำให้ผมได้รู้เห็นและขยายความข้อธรรมและแนวปฏิบัติต่างๆตามจริต และ สติกำลังร่วมกับปัญญาของผมได้ดังนี้...หากธรรมที่ผมได้โพสท์กล่าวนั้นมีความผิดพลาด ผิดเพี้ยน ไม่เป็นจริงด้วยประการใดๆ ขอท่านทั้งหลายพึงรู้ว่าธรรมนั้นมาจากความคิดพิจารณาด้วยสติปัญญาอันน้อยนิดของผมแล้วกลั่นกรองออกมาเป็นแนวทางปฏิบัตินั้นๆ หากเป็นคุณประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายให้พึงระลึกรู้โดยจริงว่า ธรรมอันประเสริฐทั้งหลายทั้งปวงเหล่านั้นแล เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้และตรัสสอน ไม่ใช่ธรรมของผมแต่อย่างใด

บัดนี้ข้าพเจ้าขอแสดงธรรมเรื่อง วิธีการปฏิบัติ และ พิจารณา ใน สมถะ-วิปัสนากัมมัฏฐาน ตามวิธีที่ผมศึกษาเรียนรู้ปฏิบัติมา เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินไปในธรรมดังนี้


ก. การเจริญสมาธิ (ตามวิถี Admax)

          การทำสมาธิตามแนววิถีทางของผมนั้น เริ่มต้นไม่ว่าท่านทั้งหลายจะเรียนรู้อะไรมา ถึงจะเรียนจบอภิธรรมครบจนหมด หรือ เรียนปริยัติจบเปรียญ ปธ. ๙ ก็ตามแต่ ให้ท่านทั้งหลายทิ้งความเป็นมหานั้นไปให้หมด (เพราะคนเรานั้น ยิ่งเรียนมามาก ยิ่งรู้มาก ยิ่งเอาความรู้ทั้งหลายมาคิดสับไปสับมาวุ่นวายไปหมดจน เกิดข้อสงสัยไม่เกิดความว่าง เกิดความติดข้องใจ ถกเถียงขึ้นในจิต ทำให้เป็นปัญหาแก่การทำสมาธิเป็นอย่างมาก) แล้วเริ่มปฏิบัติพิจารณาดังนี้

- เริ่มแรกในการเข้าสู่การกัมมัฏฐานนั้นให้เริ่มต้นดังต่อไปนี้
๑. ให้ตั้งจิตระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้าที่มีคุณเป็นเอนกอนันต์ ที่ทรงสละทุกอย่างแสวงหาโมกขธรรมเพื่อเป็นทางแห่งการพ้นทุกข์แล้วเผยแพร่ให้เราทั้งหลายได้เห็นทางพ้นทุกข์อันประเสริฐนั้น
๒. ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระธรรมที่องค์ตถาคตนั้นได้ตรัสรู้มาโดยชอบแล้ว ดีแล้ว งดงามแล้ว ไพเราะแล้ว ทั้งเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด เป็นธรรมที่ประกอบไปด้วยประโยชน์เป็นอันมากให้ผลได้ไม่จำกัดกาล เป็นธรรมแห่งการพ้นทุกข์
๓. ให้ตั้งจิตระลึกถึงพระสงฆ์ พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ผู้ควรแก่การนอบน้อมอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกได้สละแล้วซึ่งกิเลสทั้งหลาย และ ได้นำพระธรรมของพระตถาคตเจ้านั้นมาเผยแพร่และคงอยู่ให้เราได้ร่ำเรียนศึกษาจนเห็นทางพ้นทุกข์อันชอบนั้น
๔. ให้ตั้งจิตระลึกถึงคุณบิดา-มารดา และ บุพการีทั้งหลาย ที่ได้คลอด และ เลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ เป็นผู้มีความเมตตา กรุณา มุทิตา แก่เรา เป็นผู้ให้ทานอันประเสริฐทั้งหลายเหล่านั้นแก่เรา เพื่อให้เราได้รับประโยชน์สุขด้วยใจที่ประเสริฐยิ่ง จนทำให้เราได้มารู้จักพระธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วในพระพุทธศาสนานี้เพื่อปฏิบัติตนให้พ้นจากกองทุกจ์ทั้งสิ้นนี้
๕. ให้ตั้งจิตระลึกถึงคุณของครูอุปัชฌา-อาจารย์ทั้งหลาย ที่ได้สั่งสอน อบรม ได้ชี้แนะแนวทาง และ พระธรรมในพระพุทธศาสนาอันประเสริฐ ประกอบไปด้วยประโยขน์นี้ให้เราให้เห็นทางอันดี ประเสริฐ และทางพ้นทุกข์ทั้งหลาย
๖. นั่งคุกเข่าตั้ง นโม 3 จบ แล้วสวดบทสวดมนต์ อรหังสัมมาฯ ว่าบัดนี้จักขอเข้าสู่กรรมฐานเพื่อปฏิบัติเจริญในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า

๗. จากนั้นเริ่มปฏิบัติพระกัมมัฏฐานในอริยาบถต่างๆตามแต่จริตตนดังนี้

๗.๑ การเจริญสมาธิด้วยการยืน ให้เริ่มต้นจากการที่เราหลับตาสงบนิ่งเหมือนธรรมดาทั่วไปก่อน ไม่ต้องไปตรึกนึกเอาอภิธรรมใดๆเข้ามาพิจารณา ให้ระลึกรู้แค่เพียงลมหายใจเข้า-ออก โดย หายใจเข้ายาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" หายใจออกยาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (จะระลึกรู้บริกรรมคำใดๆก็ได้ หรือจะไม่บริกรรมเลยแค่รู้ลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆก็ได้) สักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วลดหลั่วการหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆจนเป็นการหายใจตามปกติ พิจารณารู้สัมผัสจากลมหายใจเข้าและออก จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่นิ่งสงบ อบอุ่น ไม่ฟุ้งซ่าน แล้วระลึกพิจารณาอิริยาบถของกายที่ยืนอยู่นี้ พร้อมหายใจเข้าพึงระลึกรู้บริกรรมในใจว่า "ยืน" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจเข้า) แล้วหายใจออกพึงระลึกรู้บริกรรมในใจว่า "หนอ" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจออก) มีจิตจดจ่อรู้ลมหายใจหรือสภาพอิริยาบถของกายที่ยืนอยู่อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่ นิ่ง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ว่าง  ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหนเวลาใดก็ได้ แม้ยามที่เราลืมตาอยู่ก็ตาม หากกระทำได้เช่นนี้แล้ว แม้จะยืนลืมตาอยู่สภาพจิตก็จะไม่ไหวติงใดๆเกิดเป็นสมาธิที่ควรแก่งานคือการปฏิบัติในกิจการงานต่างๆนั่นเอง

๗.๒ การเจริญสมาธิด้วยการเดิน คนเราส่วนมากจะเดินจงกรมในแบบธรรมดาทั่วไป คือ เมื่อขาซ้ายก้าวย่างเดินไปเหมือนเราเดินตามปกติ ก็ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายย่างหนอ" เมื่อขาขวาก้าวย่างเดินไปเหมือนเราเดินตามปกติ ก็ระลึกบริกรรมในใจว่า "ขวาย่างหนอ" มีจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ การเดินในชั้นเดียวนี้ผู้ที่อบรมจิตมีสมาธิมาดีแล้ว เมื่อปฏิบัติโดยการเดินในแบบนี้ก็จะเข้าสมาธิได้ง่ายไม่ยุ่งยาก ไม่วอกแวก ไม่ฟุ่งซ่าน มีแต่ความสงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ แต่หากบุคคลใดที่ยังไม่มีสมาธิเลย ยังไม่ได้อบรมณ์จิตใดๆมา เมื่อก้าวเดินในแบบดังกล่าวแล้วมีจิตวอกแวก ฟุ้งซ่าน เอาสิ่งภายนอกมาตั้งเป็นอารมณ์อยู่ให้เปลี่ยนการเดินโดนเลือกตาม 4 แบบวิธีตามลำดับดังนี้คือ
- เดินจงกรม 2 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดเท้าก้าวย่างเดินออกมาตามปกติแล้วแตะกดลงบนพื้นพร้อมเคลื่อนตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย อยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" กระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- เดินจงกรม 3 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" จากนั้นให้กดเท้าย่างลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ" กระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- เดินจงกรม 4 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" จากนั้นให้เคลื่อนเท้าย่างลงลอยขนานห่างจากพื้นเล็กน้อยแล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ" จากนั้นให้กดเท้าย่างลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป แล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ถูกหนอ" จากนั้นกระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์ เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- เดินจงกรม 5 ชั้น มีวิธีการเดินดังนี้ คือ ยืนสงบนิ่งหายใจเข้า-ออกในวิธีดังข้อ ๗.๑ ซัก 1 นาที จากนั้นยกเท้าซ้ายขึ้น โดยที่ยังไม่ก้าวขาออกไป ระลึกบริกรรมในใจว่า "ซ้ายยกหนอ" ต่อมาให้เหยียดก้าวเท้าออกมาแล้วยกลอยค้างไว้อยู่โดยยังไม่นำเท้าลงแตะพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ย่างหนอ" จากนั้นให้เคลื่อนเท้าย่างลงลอยขนานห่างจากพื้นเล็กน้อยแล้วระลึกบริกรรมในใจว่า "ลงหนอ" จากนั้นให้วางเท้าแตะลงถูกบนพื้นระลึกบริกรรมในใจว่า "ถูกหนอ" จากนั้นให้กดเท้าลงบนพื้นพร้อมโยกตัวเคลื่อนไปด้านหน้าเล็กน้อยแล้วระลึกอยู่ในท่าเตรียมพร้อมที่จะย่างก้าวเดินจงกรมของขาอีกข้างต่อไป บริกรรมในใจว่า "กดหนอ" จากนั้นกระทำเช่นนี้ในการเดินก้าวย่างทั้งข้างซ้ายและขวาแล้วตั้งจิตระลึกรู้ในอิริยาบถการขยับตัวก้าวเดินของกายเป็นอารมณ์  เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วนานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้

๗.๓ การเจริญสมาธิด้วยการนั่ง การนั่งสมาธินั้นเราสามารถจะนั่งพิงฝา นั่งบนเก้าอี้ นั่งในอิริยาบถใดก็ได้ที่สบายและง่ายในการทำสมาธิแก่เรา แต่โดยส่วนมากหากนั่งสบายไปเรามักจะหลับหรือเคลิ้มติดความพอใจยินดีกับการเสวยเวทนาที่เป็นสุขทางกาย ดังนั้นเวลานั่งควรนั่งสมาธิในแบบที่เป็นประเภณีการปฏิบัติมาด้วย โดยนั่งขัดสมาธิให้ขาขวาวางลงข้างล่าง ขาขวาวางทับอยู่ข้างบน เอามือวางบนตักทับประสานกันตามปกติ จากนั้นให้ทำการผ่อนคลายสภาพกายและจิต แล้วหายใจเข้าลึกๆยาวจนสุดใจ ระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจเข้า) หายใจออกยาวจนสุดใจ ระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (โดยอาจระลึกรู้ลากเสียงคำบริกรรมยาวตามการหายใจออก) ทำเช่นนี้ประมาณ 3-5 ครั้ง จากนั้นค่อยๆหายใจเข้ายาว-ออกยาวตามปกติ หรือ ลดหลั่นลงมาเรื่อยๆจนอยู่ในระดับปกติ มีสติจดจ่ออยู่ในลมหายใจเข้าและออก มีจิตระลึกรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์ ไม่ต้องใช้ปัญญาอันฉลาดรอบรู้ใดๆของตนมาคิดพิจารณา ให้ตั้งจิตจดจ่อรู้ลมหายใจเข้าและออกเท่านั้น เริ่มปฏิบัติจากครั้งละ 10 - 20 นาที แล้วค่อยๆทำให้นานขึ้นเรื่อยๆตามสะดวกไปจนกว่าจะเกิดสมาธิจิตมีใจจดจ่อ ไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เกิดความคิดปรุงแต่งใดๆแก่จิต มีแต่เพียงความ นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น ปิติอิ่มเอมใจ ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
- หากว่ากระทำในวิธีข้างต้นแล้ว จิตยังเกิดความปรุงแต่ง นึกคิด ฟุ้งซ่าน สัดส่าย ไม่มีความสงบ ให้พึงตั้งจิตระลึกรู้ว่า ขณะนี้ เราอยู่ในอิริยาบถใดอยู่ เช่น ระลึกรู้ว่าเรากำลังนั่งอยู่ กำลังกระทำดำเนินไปในสิ่งใดอยู่ เช่น ระลึกรู้ว่าเรากำลังนั่งเพื่อเจริญสมาธิอยู่ แล้วพึงพิจารณาว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ความคิดปรุงแต่ง นิมิตใดๆทั้งหลายทั้งปวงนั้นเกิดขึ้นมาแต่จิต จิตมันจดจำสิ่งใดๆไว้แล้วนำมาสร้างเรื่องราวปรุงแต่งตามแต่ที่มันพอใจยินดี ทั้งๆที่สิ่งทั้งหลายเหล่านั้นมันก็อยู่ของมัน เขาก็อยู่ของเขา เราเท่านั้นที่เก็บเอามาคิดปรุงแต่งเรื่องราวจากความจำได้จำไว้ที่เคยผ่านพ้นมา // จากนั้นให้ตั้งสติหลับตาเพ่งพิจารณาจดจ่อมองดูความมืดที่เห็นจากการหลับตานั้น พึงระลึกในใจว่าสิ่งที่เห็นอยู่นั้นแลคือ ความเป็นจริงปัจจุบันที่เกิดขึ้นกับเรา แล้วให้พิจารณาเพ่งจดจ่อกวาดยาวออกไปมองที่ความมืดนั้น จะเห็นเป็นเม็ดแสงแวบๆวับๆหลากหลาย ใหญ่บ้างเล็กบ้าง กระจัดกระจายไปมา เสร็จแล้วให้เราพึงเพ่งมองพิจารณาสมมติเปรียบเทียบเอาว่าแสงนั้นคือสภาพจิตของเราที่ฟุ้งซ่านอยู่กระจัดกระจายไปหมด ปรุงแต่งคละเคล้ากับความคิดเรื่องนั้นเรื่องนี้มั่วไปหมด เมื่อพิจารณาเปรียบเห็นดั่งสมมตินั้นได้แล้ว ก็ให้ตั้งจิตเพ่งมองจดจ่อทอดยาวออกไปด้านหน้าในความมืดนั้น ณ ช่วงกึ่งกลางระหว่าง 2 ตา สูงในระดับสายตา(ช่วงสันจมูก) แล้วกวาดยาวออกไปอยู่ที่จุดๆเดียวด้วยอารมณ์ที่ผ่อนคลายสบายๆ(ห้ามเพ่งมองย่นย่อจนเกร็งตาหรือบิดเกร็งตัวเข้ามาอยู่ที่จุดตรงกลางหว่างคิ้วตนเองเด็ดขาดเพราะจะทำให้เราเกิดอาการเวียนหัว ปวดหัว และ ตา ตามมาในภายหลัง)พิจารณาจดจ่ออยู่ที่จุดนั้นจุดเดียวจนกว่าสภาพแสงที่กระจัดกระจายวิ่งไปมาหลายหลายนั้นจะค่อยๆหายแล้วแล้วเหลืออยู่ที่จุดเดียวอยู่ตรงที่เราเพ่งมองนั้น  เมื่อแสงทั้งหลายหายไปเหลือเพียงแต่แสงที่จุดที่เราเพ่งมองนั้น ให้เพ่งดูอยู่เช่นนั้นซักระยะหนึ่งโดยการระลึกรู้ลมหายใจเข้า-ออกพร้อมเพ่งมองไป ณ จุดนั้นจนสภาพจิตเกิดความนิ่ง สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วอกแวก เมื่อมีสติสัมปชัญญะระลึกรู้ตน ก็ให้น้อมลงพิจารณาที่ลมหายใจเข้า-ออกตามแบบการนั่งสมาธิปกติ

๗.๔ การเจริญสมาธิด้วยการนอน การนอนทำสมาธิที่ผมกระทำอยู่นั้นมี 2 แบบ คือ แบบ สีหไสยาสน์ และ การนอนหงายผ่อนคลายตามปกติตน
                 การนอนแบบสีหไสยาสน์... เป็นการนอนเพื่อเข้าอยู่ในสมาธิอบอรมจิต ทำให้เกิดความรู้ตัวอยู่เสมอ วิธีนอนให้นอนตะแคลงขวา เหยียดตัวตรง วางขาทับซ้อนตรงกัน วางมือลงแนบตรงกับลำตัว พิจารณาลมหายใจเข้า-ออก โดยหายใจเข้ายาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" หายใจออกยาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (จะระลึกรู้บริกรรมคำใดๆก็ได้ หรือจะไม่บริกรรมเลยแค่รู้ลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆก็ได้) สักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วลดหลั่วการหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆจนเป็นการหายใจตามปกติ พิจารณารู้สัมผัสจากลมหายใจเข้าและออก จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่นิ่งสงบ อบอุ่น ว่าง ปิติอิ่มเอมใจ ไม่วอกแวกฟุ้งซ่าน แล้วระลึกพิจารณาอิริยาบถของกายที่นอนอยู่นี้  ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้
                 การนอนหงายผ่อนคลายแบบปกติ... เป็นการนอนเพื่อทำสมาธิปรับสภาพร่างกายจนหลับ เหมาะแก่คนที่นอนไม่หลับ โดยนอนหงายเหยียดตัวตรงตามปกติ แล้วพึงระลึกพิจารณาลมหายใจเข้า-ออก เหมือนการนั่งสมาธิทั่วไป กระทำพิจารณาไปเรื่อยๆสภาพจิตจะเข้าสู่สมาธิและปรับธาตุในร่างกายใหสมดุลย์กันแล้วก็หลับไปเลยตามปกติ แต่จะต่างจากการทำสมาธิทั่วไปตรงที่หากเมื่อต้องการจะนอนไม่ว่าเกิดความคิดปรุงแต่งใดๆ นิมิตใดๆขึ้นมาก็ปล่อยให้มันเป็นไปจนกว่าเราจะหลับ // แต่หากทำสมาธิโดยไม่พึงปารถนาจะนอนหลับให้มีสติระลึกรู้ลมหายใจเข้า-ออก โดยหายใจเข้ายาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "พุทธ" หายใจออกยาวๆระลึกบริกรรมในใจว่า "โธ" (จะระลึกรู้บริกรรมคำใดๆก็ได้ หรือจะไม่บริกรรมเลยแค่รู้ลมหายใจเข้า-ออกเฉยๆก็ได้) สักประมาณ 3-5 ครั้งแล้วลดหลั่วการหายใจเข้า-ออกเรื่อยๆจนเป็นการหายใจตามปกติ พิจารณารู้สัมผัสจากลมหายใจเข้าและออก จิตจดจ่อรู้ลมหายใจเป็นอารมณ์แห่งจิต กระทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนกว่าเราจะมีสภาพจิตที่นิ่งสงบ อบอุ่น  ว่าง ปิติอิ่มเอมใจ ไม่วอกแวกฟุ้งซ่าน แล้วระลึกพิจารณาอิริยาบถของกายที่นอนอยู่นี้  ให้ปฏิบัติเจริญเช่นนี้ไปเรื่อยๆ เนืองๆ จนทำให้สภาพจิตดังกล่าวนั้นเกิดบ่อยขึ้น นานขึ้น และ สามารถเข้าสมาธิถึงระดับจิตดังที่กล่าวมานี้ในตอนไหน เวลาใดก็ได้

๘. เมื่อสามารถปฏิบัติจนเข้าถึงสภาพจิตที่ นิ่ง สงบ อบอุ่บ ผ่องใส เบาบาง ปิติอิ่มเอมใจ มีจิตว่าง ปราศจากความปรุงแต่งนึกคิดใดๆ (สภาพจิตความรู้สึกที่อยู่ในสภาวะดังกล่าวนี้เรียกว่า "อารมณ์สมถะ")...ก็ให้เราจดจำแนวทาง-วิถีปฏิบัติ และ สภาพของกายและจิตที่ทำให้เราสามารถเข้าถึงอารมณ์สมถะนี้ไว้ เมื่อถึงเวลาที่เราปฏิบัติกัมมัฏฐานเพื่อเข้าสู่สมาธิอีกคราวต่อไป ก็ให้กระทำปฏิบัติตามแนวทางและวิถีนั้นๆที่ทำให้เราเข้าสู้อารมณ์สมถะได้ กระทำเช่นนี้อยู่เนืองๆจะทำให้เรารู้ในวิธีการปฏิบัติที่ทำให้เราเข้าสู่สภาพอารมณ์สมถะได้ง่ายขึ้น จนสามารถทำได้ในทุกครั้งที่ต้องการ ดังนั้นข้อที่ ๗-๘ นี้สำคัญมาก เพราะจะทำให้เราสามารถเข้าสืบต่อไปยังการรู้เห็นในสภาพปรมัตถธรรม นั่นคือ สภาพธรรมจริงๆนั่นเอง

- เมื่อเพียงพอจากการเข้าสมาธิแล้ว ให้เราตั้งจิตสวดมนต์บทสวด อรหังสัมมาฯ จากนั้นแผ่เมตตาให้ตนเอง แล้วแผ่เมตตาให้คนอื่น (ในขณะนี้หากนั่งคุกเข่าอยู่อาจจะเปลี่ยนอิริยาบถเป็นนั่งพับเพียบก็ได้)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 28, 2012, 10:00:59 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ข. การออกจากสมาธิ (ตามวิถี Admax)

เมื่อเราเข้าสมาธิได้แล้ว เมื่อสภาพจิตมีสมาธิมาก มีจิตจดจ่อมากขึ้น หากอยู่เราออกจากการทำสมาธิเลย หรือกระทำการใดๆโดยฉับพลัน จะทำให้สภาพสมาธิจิตที่ยังคลุมกายและใจอยู่นั้นไม่คลายตัว เป็นเหตุให้หลายๆคนปวดตัวบ้าง ปวดกล้ามเนื้อบ้าง หมดแรงบ้าง หนักตัวบ้าง ไม่รู้สึกสงบ เบาบาง ผ่องใสเมื่อออกจากสมาธิ ดังนั้นหากได้ปฏิบัติเข้าสมาธิเสร็จแล้วจะถอยออกจากสมาธิให้ปฏิบัติดังนี้
๑. หายใจเข้าลึกๆจนสุดใจแล้วกลั้นไว้ นับในใจ 1-10  แล้วหายใจออกยาวๆจนสุดใจแล้วกลั้นไว้ นับในใจ 1-10  ทำเช่นนี้สักประมาณ 3-5 ครั้งตามแต่สะดวก
๒. ลืมตาตื่นขึ้นมองไปข้างหน้าพร้อมกับหายใจเข้าและออกยาว แล้วค่อยๆลดถอยออกมาจนหายใจเป็นปกติ
๓. ขณะนั่งอยู่ให้บิดตัวยืนเส้นไปด้านข้าง เริ่มจากด้านซ้ายหรือขวาก่อนก็ได้
               ยกตัวอย่าง เริ่มที่ด้านซ้าย...ให้บิดตัวและเอวหมุนไปด้านซ้ายเบี่ยงไปข้างหลังจนสุดลำตัวพร้อมเอามือทั้งสองข้างแตะลงบนพื้นค้างไว้แล้วนับ 1-10 แล้วคลายตัวหันกลับมาในท่านั่งตรงปกติหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ จากนั้นบิดตัวไปด้านขวาแล้วทำเช่นเดียวกัน สลับไปมาอย่างนี้สักข้างละ 3 ครั้ง
๔. เหยียดขาทั้งคู่ออกประชิดกันไปข้างหน้า แล้วงอตัวก้มลงเอามือยืดแตะที่หน้าแข้งหรือปลายเท้าเพื่อยืดเส้นไม่ให้ยึดขดงอจากการนั่งนานๆ
๕. จากนั้นก็ลุกขึ้นดำเนินกายตามปกติ หรือ หากยังไม่ได้สวดมนต์แผ่เมตตาก็ให้นั่งคุกเข่าพนมมือสวดมนต์ อรหังสัมมาฯ จากนั้นก็แผ่เมตตาให้ตนเอง แล้วแผ่เมตตาคนอื่น


ผมมี บทแผ่เมตตาสั้นๆบทหนึ่ง ที่ครูอุปัชฌาญ์อาจารย์ผมซึ่งเป็นสายพระป่าเป็นพระอริยะเจ้าองค์หนึ่งในกองทัพธรรมของหลวงปู่มั่น สอนสืบทอดสวดแผ่กันมา มีคุณประโยชน์หากแผ่ให้แก่คน-สัตว์และแมลงทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย หรือ แม้แต่สิ่งที่มารบกวนการปฏิบัติธรรมของเราทั้งหลายเป็นต้นดังนี้ครับ

สัพเพ สัตตา สะทาโหนตุ อะเวรา สุขะชีวิโน
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย จงเป็นผู้ดำรงชีพอยู่เป็นสุขทุกเมื่อเถิด

กะตัง ปุญญัง ผะลัง มัยหัง สัพเพ ภาคี ภะวันตุเต
ขอให้สัตว์ทั้งหลาย จงได้เสวยผลบุญ ที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญเพียรด้วยกายวาจาใจนี้แล้วเทอญ สาธุ..

วิธีการเข้า-ออกสมาธิ ที่คุณหมิว ได้ตั้งกระทู้ถามไว้แล้วพระคุณเจ้า arlogo และ ท่าน aaaa กรุณาตอบไว้ ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7516.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2012, 03:47:03 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ค. ถอยออกจากสมาธิ แล้วพิจารณาให้เห็นจริงในธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว (ตามวิถี Admax)

- เริ่มต้นนั้นทุกท่านต้องรู้ก่อนว่า สมถะ และ วิปัสนาคืออะไร ทั้ง 2 สิ่งนี้ก็เป็นกองกัมมัฏฐานด้วยกันทั้งสิ้น แต่จะแตกต่างการในเรื่องการพิจารณาเห็นสภาพจริงที่เป็น บัญญัติ และ ปรมัตถธรรม โดย
๑. สมถะกัมมัฏฐาน หมายถึง อุบายเครื่องการปฏบัติที่ทำให้จิตเป็นกุศล ตัดขาดจากอกุศลทั้งหลาย มีปัญญาพิจารณาโดยบัญญัติเป็นอารมณ์
๒. วิปัสสนากัมมัฏฐาน หมายถึง อุบายเครื่องการปฏิบัติที่รู้ด้วยปัญญาพิจารณาเห็นในสภาพจริงของ รูป-นาม เป็นอารมณ์ นั่นก็คือปรมัตถธรรมนั่นเอง
ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ควรไปร่วมกัน และจุดสำคัญที่เป็นปัจจัยให้ดำเนินไปถึงปัญญาในทั้งสองสิ่งนี้คือ สมาธิ ซึ่งสมาธินั้นหมายถึง ความมีจิตตั้งมั่นมีใจจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน รูปแบบการปฏิบัติและพิจารณาที่ผมได้เรียนรู้ตามแนวทางที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้วและสิ่งที่ครูอุปัชฌาอาจารย์สอนมามีดังนี้ครับ

- เมื่อเราสามารถปฏิบัติเข้าถึงสมาธิจิตได้แล้ว โดยจิตเรามีสภาพที่นิ่ง ว่าง สงบ อบอุ่น สบาย เบาบาง ปิติอิ่มเอมใจ มีจิตจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน จิตนิ่งเป็นหนึ่งเดียว ตัดขาดจากความปรุงแต่งนึกคิดใดๆแล้ว เมื่อสามารถเข้าถึงสภาวะธรรมแห่งจิตนี้ได้แล้ว อย่างพึงระลึกว่าถึงแล้ว รู้แล้ว อย่าตั้งความพอใจยินดีสำคัญมั่นหมายติดในสภาวะธรรมแห่งจิตนั้นๆ พึงระลึกรู้ไว้ว่านั่นคือสามารถถึง "อารมร์สมถะ" ได้เท่านั้น นั่นคือ "จิตเรามีกำลังเพียงพอที่ควรแก่งานแล้ว พร้อมที่จะพิจารณาให้เห็นข้อธรรมและสภาวะธรรมที่เป็นจริงด้วยปัญญาแล้วเท่านั้น" เมื่อมีสติระลึกรู้ในสภาวะนั้นๆแล้ว(เมื่อสติเจตสิกเกิด วิตกเจตสิกคือความคิดและบัญญัติจะรู้ตามมาเสมอ) ให้เราพึงระลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พิจารณากลับไปกลับมาโดยลำดับ จากพื้นฐานธรรมที่ก่อให้จิตเกิดกุศล ไปจนถึงพิจารณาในอริยสัจ๔ เข้าสู่สภาพจริงที่เป็นปรมัตถธรรม ตามลำดับ โดยแนวทางการพิจารณาที่ผมกระทำและดำเนินไปอยู่นั้นมีลำดับดังนี้

ภาคต้น : พิจารณาในธรรมเบื้องต้นให้เข้าใจถ่องแท้รู้ในเหตุและผล รู้ข้อดี-ข้อเสียของข้อธรรมนั้นๆ

ยกตัวอย่าง
- ศีล ให้พิจารณากลับไปกลับมาใน ศีล ว่า ศีลมีไว้เพื่ออะไร ทำไมคนเราต้องรู้จักและพึงปฏิบัติในศีล แต่ละข้อนั้นสำคัญอย่างไร หากคนเราไม่มีศีลจะเป็นเช่นไหน เมื่อมีศีลแล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร เมื่อไม่มีศีลแล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร จนเห็นแนวทางที่จะเผยแพร่ด้วยเหตุและผลต่อคนอื่นให้เห็นจริงตามเรา
- พรหมวิหาร๔ ให้พิจารณากลับไปกลับมาในว่า พรหมวิหาร๔ มีไว้เพื่ออะไร ทำไมคนเราต้องรู้จักและพึงปฏิบัติใน พรหมวิหาร๔ แต่ละข้อนั้นสำคัญอย่างไร หากคนเราไม่มี พรหมวิหาร๔ จะเป็นเช่นไหน เมื่อมี พรหมวิหาร๔ แล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร เมื่อไม่มี พรหมวิหาร๔  แล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร จนเห็นแนวทางที่จะเผยแพร่ด้วยเหตุและผลต่อคนอื่นให้เห็นจริงตามเรา
- ทาน ให้พิจารณากลับไปกลับมาใน ทาน ว่า ทานมีไว้เพื่ออะไร ทำไมคนเราต้องรู้จักและพึงปฏิบัติในทาน แต่ละข้อนั้นสำคัญอย่างไร หากคนเราไม่มีทานจะเป็นเช่นไหน เมื่อมีทานแล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร เมื่อไม่มีทานแล้วเกิดผลดี-ผลเสียเช่นไร จนเห็นแนวทางที่จะเผยแพร่ด้วยเหตุและผลต่อคนอื่นให้เห็นจริงตามเรา
- หลังจากนั้นให้พิจารณาว่า เราต้องปฏิบัติเช่นไร มีแนวทางใดบ้างที่จะทำให้เราเข้าถึงในข้อธรรม และ สภาพจิตที่เป็นกุศลของธรรมที่เราพิจารณานั้นๆได้

* อาจจะพิจารณาข้อธรรมเบืองต้นอื่นๆ ที่เรานั้นเห็นว่าเป็นคุณประโยชน์แก่เราและคนอื่น

ภาคกลาง : พิจารณาในธรรมที่เป็น สัจธรรม หรือ พุทธวจนะ พุทธพจน์ ทั้งหลายให้เข้าใจถ่องแท้รู้ในเหตุและผล รู้ข้อดี-ข้อเสียของ สัจธรรม หรือ พุทธวจนะ พุทธพจน์  หรือ หลักคำสอนของ พระอรหันต์ทั้งหลาย พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ครูอุปัชฌาอาจารย์ทั้งหลาย

ยกตัวอย่าง
- ความไม่เที่ยง เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง
- ความไม่มีตัวตน เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีตัวตน
- ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างมันเป็นทุกข์
- เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นทุกข์
- ไม่สมปารถนาเป็นทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ปารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์
- ความพรัดพรากเป็นทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ความพรัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ที่จำเริญใจทั้งหลายมันเป็นทุกข์
- เจอสิ่งที่ไม่พอใจก็เป็นทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ความประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจมันเป็นทุกข์
- ขันธ์๕ คือทุกข์ เพราะอย่างไรพระตถาคตจึงได้ตรัสกล่าวว่า ขันธ์ทั้ง ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวทุกข์
- สมมติมีเพราะขันธ์ทั้งหลาย เพราะอย่างไรนวชิราภิกษุณีจึงได้กล่าวกับมารผู้มีบาปที่มารบกวนท่านว่า เพราะขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ การสมมติว่าเป็นสัตว์ย่อมมี ชื่อว่ารถมีได้ก็เพราะประกอบเอาส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน
- สิ่งใดที่เรียกว่าเป็นเรา เพราะอย่างไร พระนาคเสนจึงกล่าวตอบคำถามกับพระเจ้ามิลินว่า ที่พระเจ้ามิลินมาตรัสว่าพระองค์มาหาพระนาคเสนด้วยรถ พรนาคเสนจึงกล่าวถามว่า เพลา หรือที่เรียกว่ารถ // ล้อ หรือที่เรียกว่ารถ // โซ่ หรือที่เรียกว่ารถเป็นต้น // ไม่มีสิ่งใดที่เรียกว่ารถเลย ก็เพราะทุกส่วนประกอบกันจึงขึ้นชื่อว่ารถ

พิจารณาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ใน สัจธรรม หรือ พุทธวจนะ พุทธพจน์ หลักคำสอนของ พระอรหันต์ทั้งหลาย พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ครูอุปัชฌาอาจารย์ทั้งหลายทั้งหลายดังที่กล่าวมานี้เป็นต้น

* อาจจะพิจารณา สัจธรรม หรือ พุทธวจนะ พุทธพจน์ หลักคำสอนของ พระอรหันต์ทั้งหลาย พระอริยะเจ้าทั้งหลาย ครูอุปัชฌาอาจารย์ทั้งหลายอื่นๆ ที่เรานั้นเห็นว่าเป็นคุณประโยชน์แก่เราและคนอื่น


ผมมีแนวทางการพิจารณาในข้อธรรมเบื้องต้นโดยย่อ ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7456.msg27478#msg27478
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 12, 2012, 04:22:46 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ค. ถอยออกจากสมาธิ แล้วพิจารณาให้เห็นจริงในธรรมทั้งหลายที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว (ตามวิถี Admax)

ภาคจบ : พิจารณาในธรรมที่เป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้รู้ใน อริยะสัจจ์๔

     พิจารณาครั้งที่ 1
- มองในรูปแบบของสมถะ คือ "ให้รู้พิจารณาตามสภาพที่เรามองเห็น รู้และเข้าใจในรูปแบบของบัญญัติที่เป็นชื่อ ที่เราเรียก ในแบบธรรมดาทั่วไปที่คนเขาเรียกและเข้าใจกัน" เช่น หากเราเห็นเพศตรงข้ามแล้วหลง ชอบ ติดข้องใจ ทะยานอยาก ต้องการ กำหนัดใคร่ได้
           ให้พิจารณาเบื้องต้นโดยมองแบบอสุภะ(คือมองว่าเป็นสิ่งไม่สวนไม่งาม ไม่นาใคร่ปารถนายินดี) เพื่อเป็นกุสโลบายแนวทางที่เข้าถึงสภาพในกาย เช่น พิจารณาภายในเป็น ไส้ ตับ ม้าม กระดูก อาหารเก่า อาหารใหม่ เลือด หนอง เป็นต้น
- มองในรูปแบบของอริยะสัจ๔ ในสภาพของสมถะ คือ ให้พิจารณาหาเหตุและปัจจัยที่เราพอใจยินดีไว้ จนเกิดเป็นความสำคัญมั่นหมาย ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ประกอบกับรัก โลภ โกรธ หลง เช่น เพราะพอใจยินดีในความงามของเพศตรงข้าม เพราะพอใจในความ ขาว หุ่นดี สวย อึ๋ม จึงตั้งเป็นความสำคัญไว้ในใจว่า เพศตรงข้ามแบบนี้ล่ะที่ต้องการ จึงเกิดความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ประกอบกับความ รัก โลภ โกรธ หลง ก่อเกิดความทะยานอยาก ต้องการ ยิ่งเมื่อได้เห็นเป็นไปในแบบที่เราต้องการแล้ว ยิ่งมีความปารถนาต้องการ ทะยานอยากอย่างแรงกล้าที่จะได้มา เพื่อเสพย์อารมณ์ที่ต้องการ แล้วก็คิดละความพอใจยินดีนี้เสีย
            ให้พิจารณาถึงความวางใจกลางๆ เช่น นั่นเป็นเพียงสิ่งที่ตาเราเห็นแล้วติดข้องใจ จากนั้นก็หยิบจับมาปรุงแต่งรวมกับความจำได้จำไว้แห่งความพอใจยินดีที่เราสำคัญมั่นหมายในใจเอาไว้ จึงเป็นบ่อก่อเกิดขึ้นซึ่งความทะยานอยาก ต้องการ สิ่งต่างๆสิ่งใดเหล่านั้นที่เห็น เป็นเพียงสิ่งที่หาประโยชน์ใดๆไม่ได้ เป็นเพียงแค่อาการทั้ง 32 ที่ประกอบขึ้นมาตามที่เราพิจารณาในอสุภะโดยมีหนังหุ้มเป็นที่สุดรอบ เขาก็อยู่ของเขาเช่นนั้น มีเพียงแค่เรานั้นเมื่อเห็นแล้วเอามาหยิบจับปรุงไปตามความปารถนาของเราเอง ทั้งๆที่เขาไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกระทำสิ่งใดๆกับเราเลย เขาก็อยู่ของเขาอย่างนั้น มีแค่เรานั้นคิดปรุงแต่งประกอบกับความจำได้จำไว้และความพอใจยินดีของเราไปเอง ตามแต่ความอยากต้องการของตน


วิธีพิจารณาหาเหตุและปัจจัยของทุกข์เบื้องต้นใน อริยสัจ๔ ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7457.0


     พิจารณาครั้งที่ 2
- มองในแบบสมถะกึ่งวิปัสนา คือ ให้รู้พิจารณาในสภาพที่เราเรียกที่เราเข้าใจทั่วไปเปรียบเทียบกับสภาพจริง(ปรมัตถธรรม) โดยต้องศึกษาเรียนรู้ก่อนว่า รูปในเบื้องต้นนั้นมีอะไรบ้าง  เบื้องต้นรูปที่เราพอจะสัมผัสรู้สึกได้นั้นคือ ดิน(มีสภาพอ่อน แข็ง) ลม(มีสภาพการเคลื่อนไหว เคลื่อนตัว ตรึง ไหว) ไฟ(มีสภาพร้อน-เย็น) น้ำ(เป็นสภาพที่รวมมีถึงธาตุทั้ง 3 ข้างต้นเข้าด้วยกัน) สี เสียง กลิ่น รส (รูปคือสิ่งที่ถูกรับรู้สัมผัส มีเอกลักษณ์คุณสมบัติเฉพาะตน) ส่วน นาม คือ ธรรมชาติที่รับรู้อารมณ์ได้ ก็ประกอบด้วยจิต เจตสิก สภาพปรมัตถธรรม คือ สภาพจริงที่มีจริงๆไม่ว่าใคร บุคคลใด ชนชาติใดๆ ก็สามารถระลึกรู้และเข้าใจในสภาพความรู้สึกที่ตรงกันแต่ว่าอาจจะเรียกต่างภาษากันตามแต่ละประเทศหรือพื้นที่นั้นๆตั้งบัญญัติขึ้น เพื่อใช้เรียกสภาพจริงนั้นๆให้มีความเข้าใจในที่ตรงกัน บัญญัติ คือ การสมมติสัจจ์ทั้งหลายแล้วตั้งชื่อขึ้นเรียกสภาพจริงนั้นๆให้รู้และเข้าใจตรงกันเป็นต้น เบื้องต้นรับรู้สภาพเพียงแค่นี้ก่อนอย่าเพิ่งลงลึกจะทำให้สับสนได้
            ให้พิจารณาถึงว่าขณะนี้ที่เราเสพย์อารมณ์จากรูปสิ่งที่เห็นอยู่นั้นเป็น กุศล หรือ อกุศล โดยเอาจิตไปจับพิจารณาสภาพความรู้สึกนึกคิด ว่าขณะนั้นความรู้สึกนึกคิดเป็น รัก โลภ โกรธ หลง อยาก ทะยานต้องการ เกลียด ฝืน ขัดข้องใจ กำหนัดยินดีใคร่ได้ สิ่งเหล่านี้คือความคิด อกุศล หรือ คิดในสิ่งที่ไม่ทำร้าย เบียดเบียนใคร เช่น เมตา กรุณา ทาน เป็นต้นเหล่านี้คือ กุศล หรือ เฉยๆ ให้พึงพิจารณารู้เช่นนี้อยู่เนืองๆจะรู้และเข้าใจในสภาพจิตความคิดของเรามากขึ้น จากนั้นก็ละที่ความติดข้องใจ-พอใจยินดีนั้นๆ โดยพิจารณามองใน ผลดี-ผลเสีย หรือ ความทุกข์ทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราเอามาติดข้องใจแล้วตั้งมาเป็นอารมณ์เสพย์เสวยอารมณ์พอใจ-ไม่พอใจ ตรึกนึก หรือ กระทำไปต่างๆนาๆ เพื่อเข้าสู่สภาพใจกลางๆ ไม่ติดข้องใจกับสิ่งนั้นๆที่จิตเรารู้อารมณ์อยู่
- มองพิจารณาในแบบอริยสัจ๔ ในสภาพสมถะกึ่งวิปัสนา คือ ให้พิจารณาถึงว่าขณะนี้ที่เราเสพย์อารมณ์อยู่นั้น เพราะเรารู้อารมณ์ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ทำให้เรา ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส ในรูปเหล่านั้น (อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นเป็นอารมณ์ เช่น เมื่อมองเห็น จิตก็มีรูปเป็นอารมณ์ // เมื่อได้ยิน จิตก็มีเสียงเป็นอารมณ์) ยกตัวอย่างเช่น ดั่งที่เรามองเห็น หรือ ได้ยินเสียงของเพศตรงข้ามแล้วหลง ชอบ ติดข้องใจ ทะยานอยาก ต้องการ กำหนัดใคร่ได้ ที่จริงแล้วสิ่งที่เราเห็นรับรู้อารมณ์ทางตานั้น(รูปารมณ์) มันก็เป็นเพียงแค่รูปสีต่างๆ มีส่วนเว้า ส่วนโค้ง ตรง เหลี่ยม กลม มีโครงสร้างต่างๆ หรือ เมื่อได้ยินเสียงแล้วหลง ชอบ ติดข้องใจ ทะยานอยาก ต้องการ กำหนัดใคร่ได้ ที่จริงแล้วสิ่งที่เราได้ยินรับรู้อารมณ์ทางหูนั้น(สัทธารมณ์) มันก็เป็นเพียงแค่รูปเสียงต่างๆที่ สูงๆ ต่ำๆ กลางๆ แหลมๆ ทุ้มๆ เท่านั้น แล้วความคิดปรุงแต่งเกิดประกอบกับความจำได้จำไว้ทั้งหลายทำให้เราเข้าใจในสมมติสัจจ์ว่านั่นเรียกว่าอะไร ว่าสิ่งนั้นคืออะไรเป็น คน สัตว์ สิ่งของฯ ประกอบขึ้นกับความสำคัญมั่นหมายของใจ จากนั้นเราก็เอามาเสพย์เสวยอารมณ์ความพอใจยินดี และ ไม่พอใจยินดี สืบต่อเป็นความตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึง ทะยานอยากอยากในตัณหาทั้งหลาย // เมื่อพิจารณาดังนั้นแล้วก็ให้เราระลึกรู้สภาพความรู้สึกจริงๆ(สภาพปรมัตถ์)ของกายและจิตทั้งหลายว่า..ขณะนั้นเกิดอาการใดอยู่ เช่น อัดอั้นใจ คับแค้นใจ กรีดใจ หวีดใจ ขุ่นมัวใจ ติดข้องต้องใจ ปะทุ สั่นเครือ วูบหวิวใจ เป็นต้น (สภาพเหล่านี้คือ อกุศลจิต เกิดใน รัก โลภ โกรธ หลง) หรือ นิ่ง สงบ อบอุ่น เบาบาง ไม่ติดข้องต้องใจ มีใจกลางๆเป็น เฉยๆ ว่าง ปิติ ความปิติอิ่มเอมใจนี้เกิดขึ้นเองโดยสภาพที่จิตเรานั้นไม่ติดข้องใจใดๆเลย ไม่ใช่ปิติอย่างติดข้องใจที่ได้ตามที่ตนเองชอบพอใจแล้วปิติสุข (สภาพเหล่านี้คือ กุศลจิต) หรือ เจ็บกาย ปวดกาย ขนลุกชัน ตัวสั่นหวิว รู้ขณะนี้มีลมหายใจเข้า-ออกแตะจมูก ซึ่งลมหายใจนั้นมีสภาพร้อน อุ่น เย็น ไหวเคลื่อนตัว แข็ง อ่อน แสบ นุ่ม ชื้น แห้ง เป็นต้น พิจารณาระลึกรู้ให้เห็นจริงในลำดับการเกิดและดำเนินไปจนถึงผลและดับไปของ เหตุ --> ปัจจัย --> ผล ให้พึงพิจารณาระลึกรู้เช่นนี้อยู่เนืองๆ จะทำให้เรารู้และเข้าใจในสภาพความรู้สึกของกายและจิตเรามากขึ้น จากนั้นก็พิจารณาให้รู้เหตุของความติดข้องใจที่ทำให้เราเกิดความพอใจยินดีนั้นๆ แล้วละที่เหตุของความติดข้องใจ-พอใจยินดีนั้นๆ โดยพิจารณามองใน ความพอใจยินดีที่ควรเสพย์และไม่ควรเสพย์ ความรู้จริงตามสัจธรรมว่าไม่ใช่ของเรา ไม่มีสิ่งใดได้ตามที่หวังปารถนาต้องการเป็นต้น เพื่อเข้าสู่สภาพใจกลางๆ ไม่ติดข้องใจกับสิ่งนั้นๆที่จิตเรารู้อารมณ์อยู่


วิธีการวางใจกลางๆเพื่อละความพอใจยินดีทั้งหลายมีเบื้องต้น ดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7455.0

 
     พิจารณาครั้งที่ 3
- มองพิจารณาในแบบวิปัสนา คือ เรียนรู้ลึกและเข้าใจในเรื่องของ รูปธรรมและนามธรรม เข้าถึงความ แยกไปใน รูป จิต เจตสิก ทั้งหลาย
            ให้พิจารณาระลึกรู้ในสภาพปรมัตถธรรม โดยไม่ต้องไปเรียกชื่อ นึกชื่อ หรือ ให้ความหมายของสภาพธรรมทั้งหลายที่เรารับรู้ พูดง่ายๆคือ ตัดความคิดปรุงแต่ง ละความจำได้จำไว้ในสมมติสัจจ์บัญญัติทั้งหลายออกไป มองเห็นแยกขาดใน ขันธ์ 5 หรือ รูป จิต เจตสิก ซึ่งก็คือ นามรูป ทั้งหลายนั่นเอง ไม่ต้องไปนึก-ตรึก-ตรอง-คำนึง ถึงสมมติสัจจ์บัญญัติใดๆ ระลึกรู้แค่สภาพจริงๆของธรรมทั้งหลาย จนเข้าถึงในธรรมานุสติปัฏฐาน คือ แยกขาดเห็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายนี้มีแค่นามรูป ให้มีสภาพจิตเพียงแต่รู้ว่าสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ตั้งอยู่ สิ่งนี้ดับ ไม่ต้องให้ชื่อ ไม่ต้องให้ความหมาย จนเห็นถึง ความไม่เที่ยง ความไม่มีตัวตน ความทุกข์ ไม่เป็นสิ่งที่น่าจะนำมาติดข้องใจ ใคร่ได้ ไม่น่าน้อมนำไปเสพย์อารมณ์
มองเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงแค่ นามรูป ทั้งหลายเท่านั้น ไม่มีค่าใดๆและประโยชน์ใดๆแก่เรา ไม่มีตัวตน ไม่มีบุคคล ไม่มีสิ่งใด นอกจากนามรูป ไม่ควรที่จะนำมาเสพย์เสวยอารมณ์ มันเกิดมา ตั้งอยู่ ดับไป มันไม่เที่ยง ไม่มีตัวตน เป็นทุกข์


วิธีหลุดจากบัญญัติ ท่านพระครูเกษมธรรมทัต(สุรศักดิ์ เขมรังสี) ท่านแสดงธรรมสอนไว้ อ่านดูได้ตาม Link นี้ครับ
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/pk_kasem/pk-kasem_22.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2012, 12:40:01 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

keyspirit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ครับ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุครับท่าน keyspirit

ผมหวังว่าแนวทางการปฏิบัติที่ทำให้ผมได้รู้เห็นมาบ้างและสามารถลดละทุกข์ต่างๆได้ จากคำสอนของพระพุทธเจ้า ครูอุปัชฌาอาจารย์ทั้งหลาย ประกอบรวมกับวิถีความคิดปรุงแต่งตามจริตผมนี้ จะเป็นประโยชน์แก่ท่านทั้งหลายครับ

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ