ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การนึกถึง เทวดา จะัตัดราคะ ได้อย่างไร คะ  (อ่าน 4036 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ได้ฟังในรายการ RDN แต่จับใจความไม่ทันคะ

 ฟังได้แต่ว่า การนึกถึง เทวดา จะัตัดราคะ ได้

    อยากจะถามว่า การนึกถึง เทวดา จะตัดราคะ ได้อย่างไร ?

 :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การนึกถึง เทวดา จะัตัดราคะ ได้อย่างไร คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2011, 03:15:27 pm »
0
 
เทวตานุสฺสติ จากคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค

จักวินิจฉัยในเทวตานุสสติสืบต่อไป  เทวตานุสฺสติ ภาเวตุกาเมน ฯลฯ อนุสฺสริตพฺพา  พระโยคาพจรผู้มีศรัทธาปรารถนาจะจำเริญเทวตานุสสติกรรมฐานนั้น พึงประพฤติจิตสันดานให้กอปรด้วยคุณธรรม คือ

ศรัทธาแลศีลแลสุตะแลจาคะแลปัญญาเข้าสู่ที่สงัดแล้ว พึงตั้งเทพยดาไว้ในที่เป็นพยาน ระลึกถึงเทพยดาอันกอปรด้วยคุณมีศรัทธาเป็นต้นว่า  สนฺติเทวา จาตุมหาราชิกา   เทพยดาอันอยู่ในชั้นจาตุมหาราชิกาดวงดึงษา   ยามาดุสิตา  นิมมานนรดี   ปรนิมมิตวสวดีนั้น ๆ ก็ดีเทพยดาอันอยู่ในพรหมโลกก็ดี

เมื่อเป็นมนุษย์นั้นกอปรด้วยศรัทธา จุติจากมนุษย์แล้วจึงได้ขึ้นไปบังเกิดในสวรรค์เทวโลก แลศรัทธาของอาตมานี่ก็เหมือนศรัทธาแห่งเทพยดาเหล่านั้น

   อนึ่งเทพยดาทั้งปวงนั้นเมื่อเป็นมนุษย์กอปรด้วยศีลอุตสาหะ สดับฟังพระธรรมเทศนาและบริจากทาน กอปรด้วยสติปัญญาจุติจากอนุษย์แล้วจึงได้ขึ้นไปบังเกิดในเทวดา อาตมานี้กอปรด้วยศีล   สุตะ   จาตะ   จาคะ   ปัญญา เหมือนด้วยเทพยดาเหล่านั้น

เมื่อตั้งไว้ซึ่งเทพยดาในที่เป็นพยานดังนี้แล้ว ก็พึงระลึกถึงศรัทธาคุณ ศีลคุณ สุตคุณ จากคุณ  ปัญญาคุณ  ของตนเนืองๆ กว่าระลึกเอาศรัทธาทิคุณของเทพยาดาเป็นพยานก่อนแล้ว จึงจะระลึกถึงศรัทธาทิคุณของตนต่อภายหลัง

พระโยคาพจรผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งเทวตานุสสติกัมมัฏฐานดังนี้ จะเป็นที่รักแห่งเทพยาดาเป็นอันมากจะมีคุณานิสงส์เป็นอันมาก ดุจกล่าวแล้วในพุทธานุสสติกัมมัฏฐาน เหตุดังนั้นนักปราชญ์ผู้มีปรีชาพึงอุตสาหะจำเริญเทวดานุสสติกัมมัฏฐานจงเนือง ๆ เถิด ฯ

จบเทวตานุสสติกัมมัฏฐานแต่เท่านี้


ที่มา http://www.larnbuddhism.com/visut/2.10.html


อนุสสติ 10
(อธิบายตามแนวคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค)

      อนุสสติ แปลว่า “ตามระลึกถึง” กรรมฐานกองนี้ เป็นกรรมฐานที่ตามระลึงนึกถึง มีกำลังสมาธิไม่เสมอกัน บางหมวดก็มีสมาธิเพียงอุปจารฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงปฐมฌาน บางหมวดก็มีสมาธิถึงฌาน 4 และฌาน 5 กำลังของกรรมฐานกองนี้มีกำลังไม่เสมอกันดังนี้

     อนุสสติทั้ง 10 อย่างนี้ ็เหมาะแก่อารมณ์ของนักปฎิบัติไม่ใช่อย่างเดียวกันบางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในวิตกและโมหะจริต บางหมวดก็เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต กองใดหมวดใดเหมาะแก่ท่านที่หนักไปในจริต อนุสสตินี้มีชื่อและอาการรวม 10 อย่างด้วยกัน จะนำชื่อแห่งอนุสสติทั้งหมดมาเขียนไว้เพื่อทราบ ดังต่อไปนี้

    พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์
    ธัมมานุสสติ ระลึกถึงพระธรรมเป็นมารมณ์
    สังฆนุสสติ ระลึกถึงคุณพระสงฆ์เป็นอารมณ์
    สีลานุสสติ ระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์
    จาคานุสสติ ระลึกถึงผลของทานการบริจาคเป็นอารมณ์
    เทวตานุสสติ ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
    (อนุสสติทั้ง 6 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในสัทธาจริต)

    มรณานุสสติ ระลึกถึงความตายเป็นอารมณ์
    อุปสมานุสสติ ระลึกถึงความสุขในนิพพานเป็นอารมณ์
    (อนุสสติ 2 กองนี้ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในพุทธจริต)
    กายคตานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในราคจริต
    อานาปานานุสสติ เหมาะแก่ท่านที่หนักไปในโมหะและจริต

      อนุสสติทั้ง 10 นี้ เหมาะแก่อัชฌาสัยของนักปฎิบัติแต่ละอย่างดังนี้

กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10

      กำลังสมาธิในอนุสสติทั้ง 10 มีกำลังสมาธิแตกต่างกันอย่างนี้

      พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ อนุสสติทั้ง 7 นี้ มีกำลังสูงสุดเพียงอุปจารสมาธิ

      ลีลานุสสติ มีกำลังสมาธิถึงอุปจารสมาธิ และอย่างสูงสุดเป็นพิเศษ ถึงปฐมฌานได้ ทั้งนี้ถ้าท่านนักปฎิบัติฉลาดในการควบคุมสมาธิจึงจะถึงปฐมฌานได้้ แต่ถ้าทำกันตามปกติธรรมดาแล้ว ก็ทรงได้เพียงอุปจารสมาธิเท่านั้น

      กายคตานุสสติกรรมฐานกองนี้ ถ้าพิจารณาตามปกติในกายคตาแล้ว จะทรงสมาธิได้เพียงปฐมฌานเท่านั้น แต่ถ้านักปฎิบัติฉลาดทำ หรือครูฉลาดสอน ยกเอา สีเขียว ขาว แดง ที่ปรากฎในอารมณ์แห่งกายคตานุสสตินั้นเอามาเป็นกสิณ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังนี้ กรรมฐานกองนี้ก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 4 ตามกำลังสมาธิในกสิณนั้น

      อานาปานุสสติ สำหรับอานาปานุสสตินี้ มีกำลังสมาธิถึงฌาน 4 สำหรับท่านที่มาวาสนาบารมีสาวกภูมิิ สำหรับท่านที่มีบารมี คือปรารถนาพุทธภูมิแล้วก็สามารถทรงสมาธิได้ฌาน 5 ฌาน 4

ที่มา http://www.larnbuddhism.com/grammathan/anussati.html



  6. เทวตานุสสติกรรมฐาน
 (อธิบายตามแนวคัมภีร์พระวิสุทธิมรรค)

      เทวตานุสสติ แปลว่า ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์ เช่น ภาณยักษ์ ภาณพระที่กล่าวถึงท้าวมหาราชทั้ง 4 มีท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักข์ ท้าวกุเวร (ที่นิยมเรียกว่า ท้าวเวสสุวัณ) ดังนี้ก็ถือว่าเป็นการระลึกถึงเทวดาเช่นกัน

       พระพุทธเจ้ายอมรับนับถือเรื่องเทวดา พระองค์เองทรงปรารภแก่บรรดาพุทธสาวกเรื่องเทวดาเสมอ ขอให้ดูตามพระพุทธประวัติ จะพบว่าพุทธศาสนาไม่เคยห่างเทวดาเลย พระพุทธศาสนายอมรับนับถือว่ามีเทวดามีจริง และยอมรับนับถือความดีของเทวดาด้วย พระพุทธเจ้าถึงกับตรัสให้พุทธบริษัทที่มีบารมียังอ่อน ให้ระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นปกติ เช่นกรรมฐานข้อที่ว่าด้วยเทวตานุสสติ ก็เป็นพระพุทธพจน์ของพระพุทธเจ้าสอนให้คิดถึงความดีของเทวดา

ความดีของเทวดา
       เทวดา แปลว่า ผู้ประเสริฐ ความประเสริฐของเทวดามีอย่างนี้ ท่านที่จะเป็นเทวดาก็ต้องเกิดเป็นคนก่อน จะเป็นเทวดานั้นต้องเรียนรู้และปฎิบัติอะไรบ้าง หลักสูตรที่ทำคนให้เป็นเทวดานั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่า มี 2 แบบ คือ

เทวดาประเภทที่ 1
       เทวดาชั้นกามาวจร คือ ชั้นจาตุมหาราช ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมานรดี ชั้นปรนิมมิตวสวัสดี รวม 6 ชั้นด้วยกัน ทั้ง 6 ชั้นนี้ บวกภูมิเทวดาที่เรียกว่าพระภูมิเจ้าที่ และรุกขเทวดา พวกเทวดาที่มีวิมานอยู่ตามสาขาของต้นไม้ ที่เรียกว่านางไม้ เข้ากับเทวดาชั้นจาตุมหาราช เทวดา 6 ชั้นนี้ ท่านว่าใครจะไปเกิดในที่นั้น ๆ เพื่อเป็นเทวดา ต้องศึกษาและปฎิบัติตามหลักสูตรเสียก่อนคือท่านให้เรียนรู้เพื่อเป็นเทวดา

    หิริ ความละอายต่อความชั่วทั้งหมด ไม่ทำความชั่วทั้งในที่ลับและที่แจ้ง
    โอตตัปปะ ความเกรงกลัวผลความชั่วจะลงโทษ ไม่ยอมประพฤติชั่วทั้งกายวาจาใจ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง

       ทั้งนี้ก็หมายความว่า ต้องเป็นคนมีศีลบริสุทธิ์เป็นปกติ และมีจิตเมตตาปราณีตลอดกาลตลอดสมัย ถึงแม้ยังไม่ฌานสมาบัติก็ไม่เป็นไร เอากันแค่ศีลบริสุทธิ์ มีจิตเมตตาปราณี ใครทำตามนี้ได้ครบถ้วน เกิดเป็นเทวดาปานกลาง ถ้าปฎิบัติได้อย่างเลิศก็เป็นเทวดาชั้นเลิศ ถ้าปฎิบัติได้อย่างกลางก็เป็นเทวดาชั้นกลาง ถ้าปฎิบัติครบแต่หยาบ ก็เป็นเทวดาเล็ก ๆ เช่นภูมิเทวดา หรือรุกขเทวดา

เทวดาประเภทที่ 2
       พรหม ท่านจัดพรหมรวมทั้งหมด 20 ชั้นด้วยกัน ท่านแยกประเภทไว้ดังนี้
       รูปพรหมมี 16 ชั้น
       รูปพรหมคือพรหมที่มีรูปนี้ ท่านแบ่งไว้เป็น 16 ชั้น แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ พรหมที่ได้ฌานโลกีย์ มี 11 ชั้น กับพรหมที่เป็นพระอนาคามี และได้ฌาน 4 ด้วย 5 ชั้น รวมพรหมที่มีรูป 16 ชั้น

       อรูปพรหม 4 ชั้น
       พรหมที่ไม่มีรูปนี้ เป็นโลกีย์พรหม มีทั้งหมดด้วยกัน 4 ชั้น รวมพรหมทั้งหมด 20 ชั้นพอดี



หลักสูตรที่จะไปเป็นพรหม
       การที่จะเกิดเป็นพรหม จะต้องตรวจสอบเอง ว่าสามารถไปเกิดในชั้นหลักสูตรต่ำไปหาพรหมก่อน


หลักสูตรอบายภูมิ
       อบายภูมิ หมายถึงดินแดน นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดียรัจฉาน ใครจบหลักสูตรนี้ จะได้ไปเกิดในที่ 4 สถานนี้ หลักสูตรนี้มีดังนี้ คือ ไม่รักษาศีล ไม่ให้ทาน ไม่เคารพคนควรเคารพ เท่านี้ไปเกิิดในอบายภูมิได้สบาย


หลักสูตรเกิดเป็นมนุษย์์
       หลักสูตรมนุษย์นี้ ท่านเรียกมนุษย์ธรรม คือธรรมที่ทำให้เกิดเป็นมนุษย์ มี 5 อย่าง คือ
    ไม่ฆ่าสัตว์ และไม่ทรมานสัตว์ให้วำบากด้วยเจตนา
    ไม่ถือเอาของของผู้อื่นที่เขาไม่อนุญาตให้ ด้วยเจตนาขโมย
    ไม่ละเมิดสิทธิมนกามารมณ์ที่เจ้าของไม่อนุญาต คือไม่ละเมิดภรรยา สามี ลูก หลาน และคนในปกครอง ที่ผู้ปกครองไม่อนุญาต
    ไม่พูดบด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกร้าวกัน ไม่พูดเพ้อเจ้อโดยไร้สาระ
    ไม่ดืมสุราและเมลัย ที่ทำให้จิตใจให้มึนเมาไร้สติสัมปชัญญะ ตามหลักสูตรนี้ ถ้าใครสอบได้ คือปฎิบัติได้ครบถ้วน ท่านว่าตายแล้วเกิดเป็นมนุษย์ได้

 

หลักสูตรรูปพรหม
    ได้ฌานที่ 1 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 1. 2. 3.
    ได้ฌานที่ 2 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 4. 5. 6.
    ได้ฌานที่ 3 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 7. 8. 9.
    ได้ฌานที่ 4 เกิดเป็นพรหมชั้นที่ 10. 11.
       ทั้งหมดนี้เป็นพรหมชั้นโลกีย์
หลักสูตรรูปพรหมอนาคามี พรหมอีก 5 ชั้น คือชั้นที่ 12. 13. 14. 15. 16. รวม 5 ชั้นนี้ ต้องได้บรรลุมรรคผลเป็นพระอนาคนมีได้ฌาน 4 มาก่อน


สำหรับอรูปพรหม 4 ชั้น
       ท่านทั้ง 4 ชั้นนี้ ท่านต้องเจริญฌานในกสิณแล้วเจริญอรูปฌาน 4 ได้อีกจึงจะมาเกิดเป็นอรูปพรหมได้ แต่ท่านก็ได้เพียงฌานโลกีย์ ไม่ใช่พระอริยเจ้า


       หลักสูตรเทวดาและพรหมมีอย่างนี้ ท่านสอนให้ระลึกนึกถึงความดี คือคุณธรรมที่เทวดาและพรหมปฎิบัติมาแล้ว จนเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมได้ ก็ชื่อว่าท่านได้รับผลความดีที่ท่านปฎิบัติมาแล้ว ถ้าปฎิบัติอย่างท่าน เราก็อาจจะมีผลความสุขเช่นท่านเพราะเทวดาขนาดเลวนั้น ดีกว่ามนุษย์ชั้นดีอย่างเปรียบกันไม่ได้เลยเพราะเทวดามีกายเป็นทิพย์ มีที่อยู่เป็นทิพย์ ไปไหนก็เหาะไปได้ ไม่ต้องเหน็ดเหนื่อยเหมือนเรา

      ฉะนั้นความดีของเทวดานี้ ถึงจะยังไม่ถึงความดีในนิพพานแต่ก็เป็นสะพานสำหรับปฎิบัติเพื่อผลในนิพพานได้เป็นอย่างดี เราเป็นพุทธสาวกเมื่อพระพุทธเจ้าท่านว่ามีเราก็ควรเชื่อไว้ก่อน แล้วสร้างสมาธิทำทิพย์จักษุญาณให้เกิด ตรวจสอบคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอีกครั้งหนึ่ง จะพบว่าที่ท่านสอนว่า เทวดา พรหม นรก สวรรค์ มีจริงนั้น ท่านบูชาเทวดาท่านอาจดีตามเทวดา

       เทวดานุสสตินี้ ถ้าฝึกจนเกิดอุปปจารฌานแล้วท่านเจริญวิปัสสนาญาณต่อ ท่านจะเข้าถึงมรรคผลได้ไม่ยาก เพราะเป็นภูมิธรรมที่ละเอียด และมีแนวโน้มเข้าไปใกล้พระนิพพานมาก


ที่มา http://www.larnbuddhism.com/grammathan/anussati5.html


    เพื่อนๆอ่านไปก่อนนะครับ ผมจะหาสรุปให้อีกที ขอเวลาสักหน่อย :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tewada

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 75
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การนึกถึง เทวดา จะัตัดราคะ ได้อย่างไร คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2011, 05:59:58 pm »
0
กรรมฐาน นี้โดนใจได้มาก เลยคะ

  เทวตานุสสติ นั้นเป็นกรรมฐานที่ชื่นชอบมากคะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การนึกถึง เทวดา จะัตัดราคะ ได้อย่างไร คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2011, 07:23:17 pm »
0

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
อุโปสถสูตร


             [๕๑๐] ๗๑. สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น นางวิสาขามิคารมาตาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับในวันอุโบสถ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า
     ดูกรนางวิสาขา ท่านมาแต่ไหนแต่ยังวันอยู่
     นางวิสาขากราบทูลว่า วันนี้ดิฉันเข้าจำอุโบสถ เจ้าข้า ฯ


......ฯลฯ.......ฯลฯ.........

     ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ก็จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียรอย่างไร
     ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึง
           เทวดาว่า เทวดาพวกชั้นจาตุมหาราชิกามีอยู่
           เทวดาพวกชั้นดาวดึงส์มีอยู่
           เทวดาพวกชั้นยามามีอยู่
           เทวดาพวกชั้นดุสิตมีอยู่
           เทวดาพวกชั้นนิมมานรดีมีอยู่
           เทวดาพวกชั้นปรินิมมิตวสวัตตีมีอยู่
           เทวดาพวกที่นับเนื่องเข้าในหมู่พรหมมีอยู่ เทวดาพวกที่สูงกว่านั้นขึ้นไปมีอยู่


    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มี
    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มี
    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น สุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มี
    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มี
    เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากภพนี้ไปเกิดในภพนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มี

   เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนกับของเทวดาเหล่านั้นอยู่ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้

    ดูกรนางวิสาขา เปรียบเหมือนทองที่หมองจะทำให้สุกได้ก็ด้วยความเพียรทองที่หมองจะทำให้สุกได้ด้วยความเพียรอย่างไร จะทำให้สุกได้เพราะอาศัยเบ้าหลอมทอง เกลือ ยางไม้ คีม กับความพยายามที่เกิดแต่เหตุนั้นของบุรุษ
    ดูกรนางวิสาขา ทองที่หมองจะทำให้สุกได้ด้วยความเพียรอย่างนี้แล ฉันใด จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ด้วยความเพียร ฉันนั้นเหมือนกัน ...

    ดูกรนางวิสาขา อริยสาวกเช่นนี้เรียกว่า เข้าจำเทวดาอุโบสถ อยู่ร่วมกับเทวดา มีจิตผ่องใสเพราะปรารภเทวดา เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้
    ดูกรนางวิสาขา จิตที่เศร้าหมองจะทำให้ผ่องแผ้วได้ ด้วยความเพียรอย่างนี้แล



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๕๔๒๑ - ๕๖๖๖. หน้าที่ ๒๓๒ - ๒๔๒. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=5421&Z=5666&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=510


อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ติกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๒
๑๐. อุโปสถสูตร
(ยกมาแสดงบางส่วน)


        บทว่า เทวตูโปสถํ ความว่า อุโบสถที่บุคคลระลึกถึงคุณธรรมของตน โดยตั้งเทวดาไว้ในฐานะเป็นพยาน แล้วเข้าจำ ชื่อว่าเทวดาอุโบสถ.

        คำใดที่เหลืออยู่อันควรจะกล่าวถึงในกัมมัฏฐานมีพุทธานุสติ เป็นต้น เหล่านี้ทั้งหมดข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ใน "คัมภีร์วิสุทธิมรรค" แล้วเทียว.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=510
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การนึกถึง เทวดา จะัตัดราคะ ได้อย่างไร คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 18, 2011, 07:38:09 pm »
0
ได้ฟังในรายการ RDN แต่จับใจความไม่ทันคะ

 ฟังได้แต่ว่า การนึกถึง เทวดา จะัตัดราคะ ได้

    อยากจะถามว่า การนึกถึง เทวดา จะตัดราคะ ได้อย่างไร ?

 :25:

     เทวตานุสสติ เป็นกรรมฐานกองห่นึ่ง หมายถึง การระลึกถึงความดีของเทวดาเป็นอารมณ์
     กรรมฐานกองนี้เหมาะกับผู้มีสัทธาจริต
     กรรมฐานกองนี้ฝึกไปจะได้เพียงอุปจารสมาธิ


     การจะตัดราคะได้ ก็ต้องฝึกกรรมฐานกองนี้ให้ได้อุปจารสมาธิก่อน แล้วเจริญวิปัสสนาต่อไป
จนบรรลุธรรมเป็นอริยบุคคลระดับต่่างๆจนถึงนิพพาน การตัดราคะได้อย่างเด็ดขาด ต้องสำเร็จอนาคามี
เป็นอย่างต่ำ เนื่องจาก"กามระคะสังโยชน์" ต้องเป็นอนาคามีก่อนจึงจะตัดได้


    ข้อความที่เป็นคีย์เวิร์ด เป็นหัวใจของเทวตานุสติ อยู่ในพระสูตร ก็คือ
    "เมื่อเธอระลึกถึงศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ และปัญญาของตนกับของเทวดาเหล่านั้นอยู่
    จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้"

     :25:


  ขอแถมหนังสือให้สองเล่ม คือ เทวตานุสติ โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ อีกเล่มคือ การใช้งานเทวดา
   เชิญดาวน์โหลดตามอัธยาศัยครับ

     

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 19, 2011, 12:10:35 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การนึกถึง เทวดา จะัตัดราคะ ได้อย่างไร คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 08:58:54 am »
0
อนุโมทนา ธรรมยามเช้า ครับ

บันทึกการเข้า

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การนึกถึง เทวดา จะัตัดราคะ ได้อย่างไร คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 09:27:56 am »
0
ขอบคุณ ไม่เคยผิดหวัง กับ คำตอบ ที่ได้รับจาก คุณ Natthaponson คนแรก เสมอคะ

คิดไม่ออก ก็ต้องนึกถึงแล้วคะ อย่างนี้


  :c017: :s_good: :25:

 
บันทึกการเข้า