ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การบรรลุธรรม แบบฉับพลัน คืออะไร ?  (อ่าน 5827 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
การบรรลุธรรม แบบฉับพลัน คืออะไร ?
« เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 09:49:59 am »
0
การบรรลุธรรม แบบฉับพลัน คืออะไร ?

และทำอย่างไร เราจะบรรลุธรรมอบ่างฉับพลันได้

คุณสมบัติ ของผู้ที่คู่ควรแก่การบรรลุธรรมแบบฉับพลันมีอย่างไร ครับ

  :25:
บันทึกการเข้า

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การบรรลุธรรม แบบฉับพลัน คืออะไร ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 05:16:19 pm »
0
ผมยังไม่เคยบรรลุกับเขานะ เดาเอาว่า เมื่อครบองค์อริยะมรรค ก็บรรลุได้เลย
ถ้าจำไม่ผิดหลวงปู่มั่น ท่านบรรลุที่สี่แยกที่ไหนสักแห่งตอนมากรุงเทพ ลองหาอ่านดูครับ
ส่วนมากผู้ที่บรรลุธรรมแบบนี้มีกำลังสติสูง มีสติตลอดเวลา
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การบรรลุธรรม แบบฉับพลัน คืออะไร ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 09:35:31 pm »
0


การบรรลุแบบฉับพลันและโพธิสัตว์ธรรมนั้นเป็นไฉน?

สำหรับท่านที่ศึกษาตามแนวเถรวาทมักไม้คุ้นเคยกับศัพท์คำว่า “บรรลุฉับพลัน” และ “โพธิสัตว์ธรรม” นัก เนื่องจากการปฏิบัติแนวเถรวาทมุ่งเน้นการบรรลุ “อรหันต์ธรรม” ในระหว่างที่มีการไถ่ถอนสังโยชน์ทั้งสิบตัว บางท่านจำต้องเข้าฌานอนุโลม ปฏิโลม อยู่หลายรอบ เพื่อดำดิ่งลงไถ่ถอนสังโยชน์ทีละตัว ให้หมดทั้งสิบตั

ดังนั้น การบรรลุแบบฉับพลันจึงไม่ค่อยพบในอรหันต์ธรรมมากนัก เป็นวิธีการของพระโพธิสัตว์โดยเฉพาะ จึงเรียกธรรมที่ท่านบรรลุว่า “โพธิสัตว์ธรรม” อันแตกต่างจากอรหันต์ธรรม ไม่ได้มุ่งเน้นการตัดชาติภพให้สิ้นหมดในชาติเดียว มุ่งเน้นความเข้าถึงธรรมอย่างรวดเร็ว จากนั้น จะทำการไถ่ถอนสังโยชน์ตัวอื่นๆ ที่เหลือให้หมดเพื่อดับชาติภพก็ได้ หรือบำเพ็ญเพียรโปรดสัตว์ก็ได้ ย่อมสอนคนได้ถูกต้องตรงทาง ไม่หลงอีกต่อไป ซึ่งจะอธิบายต่อไปนี้


การบรรลุแบบฉับพลันเป็นอย่างไร?
การบรรลุแบบฉับพลัน เกิดขึ้นขณะผู้มีโพธิจิต กำลังใช้ปัญญาบารมีเพื่อเข้าถึงธรรม แล้วเข้าสู่ภาวการณ์ไถ่ถอนสังโยชน์ตัวใดตัวหนึ่งออกได้ (หรืออาจจะหลายตัวก็ดี แต่จะไถ่ถอนไม่ครบสิบ) เมื่อสังโยชน์ถูกไถ่ถอนออก ฉับพลันนั้น ธรรมแท้ที่บริสุทธิ์ก็ปรากฏขึ้นจึงเข้าถึงธรรมด้วยปัญญาบารมี หาใช่เข้าถึงธรรมด้วยการกำจัดไถ่ถอนสังโยชน์ทั้งสิบออกจนหมดแบบเถรวาทไม่

ดังนั้น จึงสามารถสอนคนถึงธรรมแท้ได้ และยังบอกวิธีไถ่ถอนสังโยชน์ให้แก่เขาได้อีก แต่ในจิตของตนเองกลับยังมีสังโยชน์บางตัวเหลืออยู่ และยังสามารถเกิดใหม่ได้อีก หากยังเหลือความปรารถนาที่จะช่วยมวลมนุษย์ด้วยการเกิดต่อไป ดังนั้น หากนับกันตามภูมิจิตแล้ว จะถือว่าเป็นเพียง “พระอนาคามี” เพราะยังไถ่ถอนสังโยชน์ไม่หมดทั้งสิบตัว แต่หากนับกันตามภูมิธรรมแล้ว จะถือว่า “อรหันต์” ซึ่งบุคคลที่บรรลุแบบนี้ หากกำหนดจิตเพื่อดับขันธปรินิพพานก็สามารถทำได้ เพราะใช้วิธีการเดียวกับตอนที่ไถ่ถอนสังโยชน์แล้วพบธรรมนั่นเอง

พระพุทธเจ้าสมณโคดม ทรงเป็นต้นแบบของการถ่ายทอดวิธีการบรรลุแบบฉับพลันนี้ เนื่องจากทรงพิจารณาแล้วเล็งเห็นว่า มวลมนุษย์มีอายุสั้นเพียง ๑๐๐ ปี (เมื่อเทียบกับยุคพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ มนุษย์มีอายุเป็น ๘ หมื่น ถึง ๑ แสนปี จึงเหลือเวลาช่วยมนุษย์น้อยกว่าพันเท่า) ดังนั้น พระพุทธเจ้าสมณโคดม จึงคิดหาวิธีรวบลัดรวดเร็วที่สุด เพื่อให้ผู้มีกำลังปัญญาบารมี ช่วยพระองค์ในการโปรดสัตว์ โดยที่เขาเหล่านั้น ไม่ต้องนิพพาน ยังสามารถสะสมบารมีต่อไปได้อีก และวิธีนี้ ก็คือ “การบรรลุแบบฉับพลัน” ที่เรามักเข้าใจว่าเป็นแนวเซน

 
ประวัติการสืบทอดวิธีการบรรลุแบบฉับพลัน
นับจากพระพุทธองค์ทรงค้นพบวิธีการบรรลุแบบฉับพลันเพื่อถ่ายทอดให้แก่ผู้มีปัญญามาก ซึ่งก็ได้แก่ พระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่ได้จุติลงไปเตรียมรับคำทำนายพร้อมๆ กันอยู่มากมายนั้น พระมหากัสสป ผู้เป็นพระสังฆราชองค์แรก นับว่าเป็นผู้ที่ได้รับการรับรองว่าผ่านความสามารถในการถ่ายทอดวิธีการบรรลุแบบฉับพลัน ตามด้วยพระอานนท์ ผู้เป็นสังฆราชองค์ที่สอง แล้วได้ถ่ายทอดติดต่อมาเป็นระยะ จนเข้าสู่ยุคของท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ ศาสนาพุทธจึงไม่อาจรวมตัวกันได้ทั้งหมด

หลักการถ่ายทอดธรรมให้บรรลุแบบฉับพลันจึงถูกนับเป็นเพียงนิกายที่เรียกว่า “เซน” จากนั้น ก็ได้ถ่ายทอดสู่ทายาทธรรมสายพระสงฆ์มหายานมาได้ถึง ๖ องค์ จบลงที่ท่านเว่ยหลาง ก่อนที่จะถูกรื้อฟื้นขึ้นมาอีกครั้งในสายฆราวาส คือ สายอนุตรธรรม ที่มุ่งเน้นการบำเพ็ญแบบฆราวาส

ในปัจจุบันหลักการเข้าถึงธรรมแบบฉับพลันที่แท้จริงอยู่ที่ใด ผู้ใดคือทายาทธรรมของเซนโดยแท้ ผู้ใดกันที่มีความสามารถช่วยให้ผู้อื่นบรรลุแบบฉับพลันได้ ขณะนี้คิดว่ายังไม่ปรากฏตัว


อันที่จริงแล้ว การบรรลุแบบฉับพลันถูกมองว่าเป็นนิกายเซน เพื่อให้เห็นว่าเป็นส่วนหนึ่ง เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในพุทธศาสนา แต่ในอนาคต การบรรลุแบบฉับพลันจะไม่ใช่เพียงนิกายเซนอีกต่อไป เนื่องจากจะขยายวงเป็นพุทธจักร เพราะเหมาะสมกับยุคสมัย



เหตุใดจึงควรเลือกการบรรลุแบบฉับพลันในการเข้าถึงธรรม
ในยุคที่พระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์อยู่ มนุษย์มีอายุขัยเฉลี่ย ๑๐๐ ปี เมื่อกาลเวลาผ่านไปทุก ๑๐๐ ปี มนุษย์ก็จะมีอายุขัยเฉลี่ยลดลงอีก ๑ ปี ดังนั้น ในปัจจุบันปี ๒๕๕๑ มนุษย์จึงมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ ๗๕ ปีเท่านั้น

ในอนาคตมนุษย์จะมีอายุสั้นลงอีกตามลำดับ จนกระทั่งมนุษย์อายุ ๕ ขวบแต่งงานกันมีลูกได้ ก็จะถึงวาระการล้างโลก มนุษย์จะเข็ญฆ่ากันเอง กินเนื้อกันเองจนตายเสียเกือบหมด เรียกว่า “กลียุค” ในยุคนั้น ผู้ที่จะบรรลุธรรมส่วนใหญ่จะเป็นเทวดา ส่วนมนุษย์แทบจะไม่บรรลุธรรม


หากผู้ใดสามารถขวนขวายหาพระธรรมที่เหลือเพียงน้อยนิดได้ แล้วพึงปฏิบัติด้วยวิริยะศรัทธา ก็อาจได้หลุดพ้น (เท่าที่ได้รับการบันทึก มนุษย์อายุ ๗ ขวบขึ้นไปจึงจะบรรลุธรรมได้) แล้วพระศาสนาก็สิ้นลงพร้อมกับมวลมนุษย์ในยุคนั้นในที่สุด

เมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว มนุษย์ในยุคเสื่อมนี้ อายุได้หดสั้นลงเรื่อยๆ นี้ จึงควรแก่การเลือกวิธีการบรรลุแบบฉับพลัน ซึ่งเป็นมรดกตกทอดจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมณโคดม ผู้ทรงลำบากพระวรกายบำเพ็ญทุกขกริยานานถึง ๖ ปี เพื่อให้ได้วิธีบรรลุแบบฉับพลันและง่ายดาย เพื่อสั่งสอนมวลมนุษย์


ปฏิบัติธรรมอย่างไร จึงจะบรรลุได้แบบฉับพลัน?
การอบรมอินทรีย์ห้า อันได้แก่ ศรัทธา, วิริยะ, สติ, สมาธิ, ปัญญา จนเจริญพร้อมสมบูรณ์แล้ว ก็จะถึงเวลาที่ควรแก่การบรรลุแบบฉับพลัน ซึ่งหากมีบุญหนุนนำ อาจจะได้พบกับทายาทผู้สืบทอดวิธีการถ่ายทอดธรรมแบบนี้ ซึ่งเป็นเพศฆราวาส นับจากนี้ไปจนถึงกลียุค จะมีแต่ฆราวาสเท่านั้นที่ได้รับการถ่ายทอดแบบนี้

เมื่อได้บรรลุแบบฉับพลันแล้ว หากปรารถนาความหมดสิ้นชาติภพก็จะบวชพระต่อไป และจะทำการไถ่ถอนสังโยชน์ที่เหลือจนหมด บรรลุอรหันต์ธรรมในเพศบรรพชิต หมดสิ้นชาติภพ ก็จะไม่มีปัญหาใดๆ อีก นอกจากนี้ผู้ที่จะบรรลุแบบฉับพลันได้ จะต้องบำเพ็ญ “ปัญญาบารมี” ด้วย เร่งการศึกษาพระธรรมให้มากในชาตินี้ เพื่อใช้กำลังแห่งปัญญาบารมีเข้าถึงธรรมเป็นสำคัญ

 
ช่วงที่เหมาะสมแก่การบรรลุแบบฉับพลันควรเป็นช่วงใด?
๑)    อินทรีย์ห้าพร้อมสมบูรณ์จึงจะบรรลุแบบฉับพลันได้ ซึ่งผู้ที่จะทราบได้ว่าอินทรีย์ห้าพร้อมหรือยังจะต้องมีพุทธจักขุ มีดวงตาแห่งพุทธะ ซึ่งมีเฉพาะแต่ในพระโพธิสัตว์เท่านั้น ในพระอรหันต์มีไม่ครบสามารถตรวจดูได้บางส่วนแต่ไม่ครบด้าน

๒)    บำเพ็ญเพียรจนมีบารมีพอตัว เมื่อบรรลุแบบฉับพลันแล้ว จะสามารถทำกิจทางธรรมได้ ด้วยบุญบารมีของตน จะช่วยให้ตนสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องมีอาชีพทางโลก เช่น ตั้งศาล, ตั้งมูลนิธิ ฯลฯ อยู่ในเพศฆราวาสเพื่อบำเพ็ญต่อไป

๓)    ไถ่ถอนกรรมจนเบาบางแล้ว เมื่อบรรลุแบบฉับพลันก็จะปลอดโปร่งจากเจ้ากรรมนายเวร จึงสามารถอยู่ได้อย่างสงบ อิสระ จะเลือกเป็นฆราวาสหรือบรรพชิตก็ได้ แต่หากยังไถ่ถอนกรรมไม่เบาบางได้ จะมีปัญหาทางโลกมารบเร้าจนอยู่ได้ยาก

ทั้ง ๓ ประการนี้ ทายาทธรรมผู้สามารถช่วยให้บรรลุแบบฉับพลันได้จะทำการตรวจสอบก่อนให้แน่ชัด แล้วจึงทำการช่วยเหลือให้บรรลุแบบฉับพลัน เพราะหากบรรลุเร็วเกินไป ไม่มีบารมีติดตัว ก็จะมีกำลังในการบำเพ็ญน้อยกว่าผู้ที่ยังไม่บรรลุ (หากบรรลุแล้วจะนิ่งกว่า จะทำการณ์ใดๆ น้อยลงกว่า)

ดังนั้น จึงมักปล่อยให้กิเลสเป็นเครื่องขับดันในการบำเพ็ญเพียรด้วย ในช่วงนี้ ผู้บำเพ็ญจึงบำเพ็ญอย่างหนัก จนกระทั่งถึงเวลาที่ควรแก่การบรรลุคือบำเพ็ญบารมีได้พอควร จึงค่อยได้รับการช่วยเหลือ ทั้งนี้ผู้ขอรับการช่วยเหลือ ต้องมีอินทรีย์ห้าที่พร้อมด้วย

กล่าวคือ มีศรัทธาต่อผู้สอน, มีวิริยะในการบำเพ็ญปฏิบัติ, มีสติว่องไวเท่าทันธรรมที่ปรากฏเพียงเสี้ยววินาที, มีสมาธิแน่วแน่รองรับสภาวธรรมได้, มีปัญญาเห็นถึงท้ายที่สุด และทั่วทั้งหมดของสรรพสิ่งในพริบตาเดียว เป็นสำคัญ




อ้างอิง
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=227689
โดย physigmund_foid
ขอบคุณภาพจาก http://www.thairath.co.th,http://www.yenta4.com,http://www.bloggang.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การบรรลุธรรม แบบฉับพลัน คืออะไร ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 09:57:54 pm »
0

      ดูกรปหาราทะ มหาสมุทรลาดลุ่ม ลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
   "มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง"


ที่มา
ปหาราทสูตร มหาวรรคที่ ๒
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์


๑๐. กีฏาคิริสูตร
การตั้งอยู่ในอรหัตตผล


      [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวการตั้งอยู่ในอรหัตตผล ด้วยการไปครั้งแรก เท่านั้นหามิได้ แต่การตั้งอยู่ในอรหัตตผลนั้น ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับ.
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็การตั้งอยู่ ในอรหัตตผล ย่อมมีได้ ด้วยการศึกษาโดยลำดับ ด้วยการทำโดยลำดับ ด้วยความปฏิบัติโดยลำดับอย่างไร?

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในธรรมวินัยนี้
        เกิดศรัทธาแล้วย่อมเข้าไปใกล้
        เมื่อเข้าไปใกล้ย่อมนั่งใกล้
        เมื่อนั่งใกล้ย่อมเงี่ยโสตลง
        เมื่อเงี่ยโสตลงแล้วย่อมฟังธรรม
        ครั้นฟังธรรมย่อมทรงธรรมไว้ ย่อมพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงไว้แล้ว
        เมื่อพิจารณาเนื้อความอยู่ ธรรมทั้งหลายย่อมทนได้ซึ่งความพินิจ

        เมื่อธรรมทนความพินิจได้อยู่ ฉันทะย่อมเกิด
        เมื่อเกิดฉันทะแล้ว ย่อมอุตสาหะ
        ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมไตร่ตรอง
        ครั้นไตร่ตรองแล้ว ย่อมตั้งความเพียร
        เมื่อมีตนส่งไปแล้ว ย่อมทำให้แจ้งชัดซึ่งบรมสัจจะด้วยกาย
        และย่อมแทงตลอดเห็นแจ้งบรมสัจจะนั้นด้วยปัญญา.


        ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาก็ดี การเข้าไปใกล้ก็ดี การนั่งใกล้ก็ดี การเงี่ยโสตลงก็ดีการฟังธรรมก็ดี การทรงธรรมไว้ก็ดี ความพิจารณาเนื้อความก็ดี ธรรมอันทนได้ซึ่งความพินิจก็ดี ฉันทะก็ดี อุตสาหะก็ดี การไตร่ตรองก็ดี การตั้งความเพียรก็ดี นั้นๆ ไม่ได้มีแล้ว เธอทั้งหลายย่อมเป็นผู้ปฏิบัติพลาดย่อมเป็นผู้ปฏิบัติผิด
        ดูกรภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษเหล่านี้ ได้หลีกไปจากธรรมวินัยนี้ ไกลเพียงไร.



ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=3981&Z=4234
ขอบคุณภาพจาก http://news.mediathai.net
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 20, 2011, 11:14:19 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การบรรลุธรรม แบบฉับพลัน คืออะไร ?
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 10:24:09 pm »
0
การบรรลุธรรม แบบฉับพลัน คืออะไร ?

และทำอย่างไร เราจะบรรลุธรรมอบ่างฉับพลันได้

คุณสมบัติ ของผู้ที่คู่ควรแก่การบรรลุธรรมแบบฉับพลันมีอย่างไร ครับ

  :25:

    ในสมัยพุทธกาลมีพระพาหิยะ ที่พระพุทธองค์ยกย่องให้เป็นเอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้เร็วพลัน
แต่นั่นหมายถึงระดับพระอรหันต์ ถ้าในระดับโสดาบันที่บรรลุได้เร็ว ก็มีพระสารีบุตรกับพระมหาโมคคัลลานะ


    ในทางเถรวาท การจะบรรลุธรรมช้าหรือเร็วนั้น พระพุทธองค์ไม่ได้บอกเอาไว้ แต่ตรัสไว้ว่า ไม่สามารถบรรลุอรหันตผลได้โดยตรง ต้อง "มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ"

    ถ้าจะคุยกันต่อไป ก็ต้องบอกว่า คติทางพุทธเชื่อว่า บุญบารมีที่สั่งสมมาของแต่ละคนไม่เท่ากัน การบรรลุธรรมช้าหรือเร็ว ก็น่าจะขึ้นอยู่กับบุญบารมีที่สั่งสม มีบุญเก่ามากก็สำเร็จเร็ว บุญน้อยกว่าก็สำเร็จช้ากว่า

    ส่วนตัวผมขอบอกว่า ให้ดูที่อินทรีย์ ๕ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ข้อธรรมนี้สำคัญมากต้องอบรมอินทรีย์ให้แก่กล้า แก่กล้าเมื่อใดก็บรรลุเมื่อนั้น

     เรื่องอื่นๆขอให้อ่านบทความเอาเองนะครับ ผมขอคุยเท่านี้
:25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การบรรลุธรรม แบบฉับพลัน คืออะไร ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 11:40:44 pm »
0

ซาโตริ หรือ อาการรู้แจ้งเข้าถึงธรรมโดยฉับพลัน


ถาม : มีเหตุแปลกๆ เกิดขึ้นกับหนูค่ะ อยู่เฉยๆ ก็รู้สึกวาบขึ้นมา อย่างเช่นเคยรู้สึกว่าตัวเองจะตัดลูกไม่ได้ ติดอยู่ตรงนี้นานมาก อยู่ดีๆ ก็มีความรู้สึกขึ้นมาเองว่า เราอยู่ในห้องแล้วเราก็แค่ออกไปรอนอกห้อง นั่งรอเฉยๆ เดี๋ยวคนในห้องเขาก็ออกมาเหมือนกัน พอความรู้สึกนี้เกิดขึ้น จากที่คิดว่าจะตัดลูกไม่ได้ ก็หายไปหมดเลยค่ะ

ตอบ : แสดงว่าปัญญาถึงแล้ว ของที่เคยคิดไม่ตกก็พลันคิดได้ อย่างนิยายจีนเรื่องฤทธิ์มีดสั้น อาฮุย หลง ลิ้มเซียนยี้ อย่างหัวปักหัวปำ ทั้งเพื่อนฝูงและครูบาอาจารย์ว่าตักเตือน อาฮุยไม่ฟังใครสักคน ลิ้มเซียนยี้เขาก็มั่นใจว่าอาฮุยอยู่มือเขาแน่ จึงหลอกอาฮุยครั้งแล้วครั้งเล่า

พอจะหลอกเป็นครั้งสุดท้าย ลิ้มเซียนยี้ดึงเสื้อไว้ อาฮุยก็ถอดเสื้อที่กำลังถูกดึงนั้นทิ้ง แล้วก็เดินต่อ ลิ้มเซียนยี้ก็แปลกใจ ตะโกนถามว่าเกิดอะไรขึ้น อาฮุยบอกว่า “ไม่มีอะไร ข้าพเจ้าพลันคิดตก” จากที่อาฮุยหลงหัวปักหัวปำ ตัดไม่ได้ถึงเวลาก็ยังตัดได้

ถาม : ขนาดว่าเจาะจงพิจารณา ยังมียอมรับบ้าง ไม่ยอมรับบ้าง นี่อยู่เฉยๆ ก็รู้เลย

ตอบ : กำลังพอในส่วนที่เราก้าวเข้าถึง เพียงแต่ว่ากำลังเราพอแค่เรื่องนี้ ยังมีอย่างอื่นอีก ต้องสะสมกำลังกันต่อไป

ถาม : เคยวาบแบบที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติก็มี

ตอบ : ตัวนี้แหละที่ภาษาญี่ปุ่นเขาเรียก ซาโตริ ซาโตริแปลว่า รู้แจ้งเข้าถึงธรรมโดยฉับพลัน แต่ความจริงไม่ใช่การเข้าถึงธรรมโดยฉับพลันหรอก บางทีก็หมายถึงหัวข้อธรรมที่เราขบไม่ออก แล้วพลันขบออก

แต่คนที่เขาไม่เข้าใจเขาก็บอกว่า บางคนซาโตริได้ครั้งเดียวในชีวิต คนที่เป็นอาจารย์ใหญ่เขาก็บอกว่า ไม่จริงหรอก ผมซาโตริเป็นร้อยๆ ครั้ง ซาโตริในความหมายนี้ของเขา ก็คือ เข้าใจในหัวข้อธรรมแต่ละหัวข้อ


ถาม
: แล้วจะมีโอกาสได้ไหมว่า ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ?

ตอบ : ได้ เป็นเรื่องที่ผิดก็ได้ แต่ว่าเราต้องมีสติด้วยว่าควรจะทำหรือไม่ อาตมาเคยวางแผนปล้นรถขนเงินทหาร แผนการรัดกุมมากเลย ขั้นตอนทุกอย่างชนิดที่ว่า ต้องทำได้แน่นอน เป็นไปได้ขนาดนั้น

สมัยที่เป็นทหารอยู่ เงินเดือนของทหาร ๑ กองพล ธนบัตรใบละ ๕๐๐ บาทเขามัดเป็นลูกบาศก์ใหญ่ ๆ ใส่รถกรงขนไป มี สห.ขนาบหน้า ๒ คน ขนาบหลัง ๒ คน มีมอเตอร์ไซค์นำหน้าและปิดท้าย เอ็ม. ๑๖ ล้วนๆ ถ้าทำตามแผนที่วางไว้ อาตมามั่นใจว่าปล้นได้แน่นอน นั่นคือไปซาโตริในเรื่องบ้าๆ แบบนี้ได้


สนทนากับพระครูธรรมธรเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เก็บตกจากบ้านวิริยบารมี ต้นเดือนกันยายน ๒๕๕๔


ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...ead.php?t=2894
ขอบคุณภาพจาก http://palungjit.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การบรรลุธรรม แบบฉับพลัน คืออะไร ?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 20, 2011, 08:57:08 am »
0
เมื่อวานอ่านคำถาม นี้แล้วคิดว่า ไม่มีผู้ใด ให้ความเห็นหรือ อ้างอิงพระสุตรได้ ไม่น่าเชื่อกับความพยายามและความสามารถของ คุณ nathaponson ที่มีความพยายามและหาำคำตอบมารวมให้ได้อ่าน กันอย่างเป็นที่เข้าใจ คะ

 ขอบคุณ และ อนุโมทนา แทนเพื่อน ๆ ในวันพระนี้ ด้วยคะ

 สาธุ อนุโมทนามิ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า