ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "  (อ่าน 50529 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

         ฉลาดในการเข้าสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ  (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ  หมายถึงสามารถตั้งจิตให้เป็นสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการออกจากสมาธิ  ในที่นี้หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙
         ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ  หมายถึงสามารถทำจิตให้มีความร่าเริงได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในโคจรในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ธรรมที่   เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า  “นี้คือกามารมณ์ที่เป็นนิมิต  (เครื่องหมาย)  สำหรับทำให้จิตกำหนด   นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์”  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๒๐๙)
         ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๑๐)




[๔๙๘]    แต่ควรถามอย่างนี้ว่า
            ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
           อยู่ไม่ได้ในที่ไหน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น  ละเอียด
           และหยาบ  งามและไม่งาม  ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
          นามและรูปย่อมดับสนิทในที่ไหน
            [๔๙๙]    ในปัญหานั้น  มีคำตอบดังนี้
             ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
             อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ(๑)ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ไม่มีที่สุด
           แต่มีท่าข้าม(๒)โดยรอบด้าน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น
            ละเอียด  และหยาบ  งามและไม่งาม  ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
            ในวิญญาณ นี้เช่นเดียวกัน  นามและรูปย่อมดับสนิท
           ในวิญญาณนี้เช่นเดียวกัน  เพราะจริมกวิญญาณ(๓)ดับไป
           นามและรูปนั้นก็ย่อมดับสนิทในที่นั้น”   
       
[๕๐๐]    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว 
บุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล



(๑) วิญญาณ ในที่นี้หมายถึง พระนิพพาน (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)
(๒) ท่าข้าม ในที่นี้หมายถึง กรรมฐาน ๓๘ ประการ (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๗)
(๓) จริมกวิญญาณบ้าง อภิสังขารวิญญาณบ้าง (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๗)



การจะเข้าใจใน ธาตุ ในอุปาทายรูป และ นามรูป อยู่ที่ความฉลาดในสมาธิ ดังนั้นท่านที่ภาวนาชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วในสมาธิ จักเข้าถึงธาตุ คือ ธรรม มน ยถาภูตญาณ  ทัศนะ  มรรค ผล และ นิพพาน





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 11, 2012, 11:09:11 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้พยายาม อ่าน มาตั้งแต่เช้าแล้วก็ยังไม่เข้าใจเลยคะ
 เรื่องนี้พระอาจารย์โพสต์ให้ศิษย์ ที่ปฏิบัติเก่ง ๆ อ่านใช่หรือไม่คะ

 สาธุ

  :25:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

DANAPOL

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 332
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้พยายาม อ่าน มาตั้งแต่เช้าแล้วก็ยังไม่เข้าใจเลยคะ
 เรื่องนี้พระอาจารย์โพสต์ให้ศิษย์ ที่ปฏิบัติเก่ง ๆ อ่านใช่หรือไม่คะ

 สาธุ

  :25:

เห็นด้วยครับ เรื่องนี้ผมเองก็อ่านแล้วก็ยังมึน ๆ นะครับ จะให้ดีพระอาจารย์ควรจะบรรยายให้เกิดความเข้าใจมากกว่านี้ นะครับ ผมว่าไม่ใช่เรื่องที่ศิษย์ทั่วไปจะอ่านได้ ง่ายๆ แล้วนะครับ

 ขอบคุณมากครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า
รหัสธรรม ต้องใช้ปัญญาคือความรู้ ผู้ถือกุญแจคือใครหนอ...

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้พยายาม อ่าน มาตั้งแต่เช้าแล้วก็ยังไม่เข้าใจเลยคะ
 เรื่องนี้พระอาจารย์โพสต์ให้ศิษย์ ที่ปฏิบัติเก่ง ๆ อ่านใช่หรือไม่คะ

 สาธุ

  :25:

  คีย์เวิร์ด..น่าจะอยู่ตรงนี้..ขอรับ
  "ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป"

  เอ..มีใครได้ฌาน..บ้างหรือยัง.??
  อย่าซีเรียสนะครับ แค่คุยเป็นเพื่อนเท่านั้น

   :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ความน้อยใจคือ มานะสังโยชน์เป็นกิเลส .....ทํากรรมฐานนี้แล้วก็ตั้งใจ ตั้งใจ และอย่าลืมตั้งมั่น ในพระพุทธองค์ ใจจะได้อิ่ม และก็ไม่มีศิษย์อื่นนะ เราเป็นศิษย์กรรมฐานเดียวกัน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ....ต้นตํารับ วัดราชสิทธาราม มูลนิธิสถาบันกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ (ฝั่งธน)...สมเด็จพระสังฆราช(สุก) ไก่เถื่อน.....มีศรัทธา ปณิธาน ว่ากรรมฐาน ไปตามลําดับ พอกพูนอุเบกขาที่เกิดไปตามลําดับ..เช่นกัน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
[๔๙๘]   
ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
อยู่ไม่ได้ในที่ไหน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น  ละเอียด
และหยาบ  งามและไม่งาม  ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
นามและรูปย่อมดับสนิทในที่ไหน

เข้าใจกันอย่างนี้ก่อนนะครับว่า ธาตุชุมนุมไม่อาจกล่าวแยกส่วนกับอุปาทายรูปด้วยเนื่องกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนรูปทรงสัมผัสเห็นมีวิญญาณธาตุตัวรู้อารมณ์กำกับอยู่จึงเรียกรวมว่า "นามรูป" ???

[๔๙๙]   
ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ(๑)ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ไม่มีที่สุด
แต่มีท่าข้าม(๒)โดยรอบด้าน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น
ละเอียด  และหยาบ  งามและไม่งาม  ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
ในวิญญาณ นี้เช่นเดียวกัน  นามและรูปย่อมดับสนิท
ในวิญญาณนี้เช่นเดียวกัน  เพราะจริมกวิญญาณ(๓)ดับไป
นามและรูปนั้นก็ย่อมดับสนิทในที่นั้น”
       

จากกระทู้ที่ยกอ้างข้างต้นกล่าวถึง พระนิพพาน ด้วยอย่าหมายสำคัญเอาว่าธาตุชุมนุมอันเนื่องอยู่ด้วยอุปาทายรูป

นี้นั้นอันคุ้นปากกล่าวว่า นามรูป มีอยู่ เพราะอภิสังขารวิญญาณ(ธาตุรู้ในความปรุงขึ้นเอง)นั้น ดับมอดสิ้นเชื้อ ชื่อ

ว่า ธาตุ + อุปาทายรูป = นามรูป ก็ดับมอดสิ้นเชื้อเฉกเช่นกัน หากแต่มีสมาธิกรรมฐานอันผู้ฉลาดรู้ใช้เอาเป็น
ยานพาหนะก้าวล่วงหน่วงลำดับย่อมถึงซึ่งกะลาหงายได้เอง ครับ!
  :86:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 12, 2012, 03:14:26 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ได้คำใบ้ ชี้ทางจากทุกท่านอ่านแล้ว พอจะเข้าใจบ้างนิดหน่อย แต่ไม่รู้จถูกหรือไม่ ?

 คือผมเข้าใจว่า 1. สิ่งแรกก็คือ สมาธิ มีความสำคัญมาก
                 2. การเข้าถึงธาตุ เป็นเรื่องที่ต้องภาวนา ให้ถึง ไม่ใช่ไปเรียนรู้หรือจำให้ถึง
                 3. นามรูป เนื่องด้วยอุปาทายรูป
                 4. อุปาทายรูป มีนับเนื่อง จาก จริมกวิญญาณ หรือ อภิสังขารวิญญาณ
                 5. วิญญาณ คือ นิพพาน  วิญญาณในนี้น่าจะหมายถึงการดับการปรุงแต่งที่ผัสสะ
                 6. นิพพานมีได้ เพราะเข้าถึง นามรูป

   ถูกผิดอย่างไร ? ก็ขอให้พี่น้องชาวกรรมฐาน ช่วยกันแนะนำกันต่อนะครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านเหมือนกัน คะ แต่ก็รู้สึกว่า จะไม่เข้าใจ มีศัพท์ที่ยังไม่รู้อีกหลายศัพท์ คะ

  1.วิญญาณ ( นิพพาน )

  2.ธาตุ

  3.อุปาทายรูป

  4.นามรูป

   5.จริมกวิญญาณ อภิสังขารวิญญาณ

 ไม่ทราบคำศัพท์เลย สักนิด ช่วยอธิบาย ที่ละศัพท์ได้บ้างหรือไม่คะ

  :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จากที่อ่านมาตั้งแต่เมื่อวานหัวข้อธรรมส่วนนี้ ไม่ใช่เป็นธรรมพื้น ๆ สำหรับมือใหม่ในการภาวนานะครับ ต้องมีการภาวนาจริง ๆ นะครับ เพราะว่าพระอาจารย์ เริ่มต้นด้วย

   ความฉลาดในสมาธิ  และ ยังมีข้อความระบุว่า
 
 เข้าใจธาตุ เข้าถึงธาตุ ต้องมีความฉลาดในสมาธิ
จากข้อความแสดง ว่าผู้ที่จะเข้าใจในหัวข้อนี้ต้องมี สมาธิ หรือ ได้ผลสมาธิ ด้วย ดังนั้นท่านใดที่ยังไม่ได้สมาธิ หรือไม่มีสมาธิ ก็คือจบข่าว นะครับ


บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
คงต้องทำความเข้าใจ ด้วยการภาวนา ส่วนเรืองคำศัพท์ คิดว่า ท่านทั้งหลายก็คงจะหาคำอธิบายได้โดยไม่ยากครับ แต่อย่างไร ถ้าไม่เข้าใจ ก็ คัดคำขึ้นมา ให้เพื่อน ๆ ช่วยอธิบายก็ดีนะครับ

   สำหรับบทความนี้ ผมเองก็กำลังทำความเข้าใจ คิดว่าพระอาจารย์คงเจาะจงเฉพาะกลุ่มมากกว่านะครับ ตอนนี้เพราะดูหัวข้อธรรมลึกซึ้ง ถ้าไม่ปฏิบัติภาวนามาก่อนเพียงอ่านก็คงจะไม่เข้าใจกันนะครับ

   อนุโมทนา สาธุ ครับ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

วิชชุดา

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 275
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เราอ่านเป็น สิบรอบ แล้วก้ไม่เข้าใจ คะ

 แต่ก็อนุโมทนา คะ คาดว่า ธรรมบทนี้ ไม่ใช่ ธรรมทั่วไป ที่เข้าใจได้ง่าย ๆ คะ

 สาธุ สาธุ สาธุ


  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ขอให้ทุกท่าน จงเป็นผู้มีความสุข กันทุกคนนะจ๊ะ

pinmanee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 163
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ ได้คำใบ้ ชี้ทางจากทุกท่านอ่านแล้ว พอจะเข้าใจบ้างนิดหน่อย แต่ไม่รู้จถูกหรือไม่ ?

 คือผมเข้าใจว่า 1. สิ่งแรกก็คือ สมาธิ มีความสำคัญมาก
                 2. การเข้าถึงธาตุ เป็นเรื่องที่ต้องภาวนา ให้ถึง ไม่ใช่ไปเรียนรู้หรือจำให้ถึง
                 3. นามรูป เนื่องด้วยอุปาทายรูป
                 4. อุปาทายรูป มีนับเนื่อง จาก จริมกวิญญาณ หรือ อภิสังขารวิญญาณ
                 5. วิญญาณ คือ นิพพาน  วิญญาณในนี้น่าจะหมายถึงการดับการปรุงแต่งที่ผัสสะ
                 6. นิพพานมีได้ เพราะเข้าถึง นามรูป

   ถูกผิดอย่างไร ? ก็ขอให้พี่น้องชาวกรรมฐาน ช่วยกันแนะนำกันต่อนะครับ

 :25: :25: :25:

ขอให้ศิษย์พี่น้อง ทุกท่านช่วยอธิบาย ตรงส่วนนี้ด้วยคะ จะได้ทำความเข้าใจตามด้วยคะ

 
บันทึกการเข้า

naka-54

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าสนใจ มากคะ เพราะคิดว่าน่าจะเป็น บททดสอบที่พระอาจารย์ออกมาให้ศิษย์กรรมฐาน ได้ทดสอบความเห็นจริงในกรรมฐาน คะ

 สาธุ สาธุ

  :25:
บันทึกการเข้า

bangsan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 109
  • ( รูปพระอาจารย์ กิตติวุฑโท )
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ทุกท่านแม้จะอ่านกันยังไม่เข้าใจ ผมเองก็พยายามทำความเข้าใจ
นั่นแสดงให้เห็นว่า ใจในการภาวนา ส่วนนี้น่าจะเหมือนกัน นะครับ

                 1. สิ่งแรกก็คือ สมาธิ มีความสำคัญมาก
                        เพราะสมาธิ เป็น มรรคองค์สุดท้ายที่คนปัจจุบัน ภาวนาไม่ค่อยจะกันผ่านครับ จึงได้ไปเลือกฝึกสติ ให้เป็นสมาธิกัน ซึ่งใช้เวลามากกว่าการฝึกสมาธิโดยตรง ครูอาจารย์ท่านกล่าวว่า ความสมบูรณ์ของมรรค คือความสมบูรณ์ของผู้ที่จะได้ธรรมจักษุ ครับ ดังนั้นพวกเราคงหนีเรื่องสมาธิ ไม่ได้ครับ
                       
                 2. การเข้าถึงธาตุ เป็นเรื่องที่ต้องภาวนา ให้ถึง ไม่ใช่ไปเรียนรู้หรือจำให้ถึง
                     การเข้าถึงธาตุ มีในกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ อันนี้ผมว่ามาถูกทางแล้วนะครับ เพราะว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสสอนพระโอรสของท่าน ก็คือ เรื่องธาตุ นี้เป็นเรื่องแรกเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็น จูฬราหุโรวาทสูตร หรือ มหาราหุโรวาทสูตร ผมว่าธาตุเป็นเรื่องแรกที่เราควรทำความเข้าใจครับ เพราะในขันธ์ 5 เรียกว่า รูป ก็ปรากฏเป็นส่วนแรกนะครับ และปัญหาจริง ๆ ที่เราเป็นทุกข์กันนั้นก็มาจากธาตุ ทั้งสิ้นใช่หรือไม่ครับ

                 3. นามรูป เนื่องด้วยอุปาทายรูป
                     อุปาทายรูป คือ อะไร ?

                 4. อุปาทายรูป มีนับเนื่อง จาก จริมกวิญญาณ หรือ อภิสังขารวิญญาณ
                     ตรงนี้เริ่มไม่เข้าใจ เหมือนกันครับ ?
                         
                 5. วิญญาณ คือ นิพพาน  วิญญาณในนี้น่าจะหมายถึงการดับการปรุงแต่งที่ผัสสะ
                     แล้วทำไม วิญญาณ จึงเป็นนิพพานไปได้ ละครับ อย่างนี้จัดเป็นบัญญัติใหม่หรือไม่ ครับ เห็นในทางอภิธรรม ให้ความหมายของนิพพานมี 28 แบบ แต่ไม่มี วิญญาณ

                 6. นิพพานมีได้ เพราะเข้าถึง นามรูป
                      อันนี้อาจจะผิดนะครับ น่าจะใช้คำว่า นิพพาน มีได้ เพราะ นามรูปดับ นะครับ พิจารณาจากปฏิจจสมุปบาท ดูก็คือ อวิชชา ไป สังขาร ไป นามรูป ดังนั้น เพราะนามรูปดับ สังขารดับ อวิชชาดับ นิพพานครับ

      อนุโมทนาครับ ผมว่าพระอาจารย์ออกข้อธรรมทดสอบเราอยู่นะครับ ตอนนี้

 :25: :25: :25:
                         
บันทึกการเข้า
ธรรม ธรรม ทำ ทำ ธรรม แล้ว ก็ ทำด้วย

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เท่าที่อ่านก็แสดงให้เห็นว่าสมาชิกธรรมทุกท่าน มีความเข้าใจกันส่วนนี้แต่ไม่ร้อยเปอร์เซ้นต์ ใช่หรือไม่คะ คิดว่าน่าจะใช้สมาธิ ภาวนาเพิ่มขึ้นในส่วนนี่้

  แต่เราก็ขอตอบตรง ๆ ว่าไม่เข้าใจเหมือนกันคะ

 สาธุ สาธ
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นด้วยคะ ปกติพระอาจารย์จะออกบทความที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ๆนะคะ
วันนี้ เช่นกันคะคงต้องไปทำความเข้าใจกับศัพท์ทางธรรมเพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะตอนนี้ สนใจคำว่า อุปาทายรูป คะ ดูเหมือนจะเป็นเงื่อนไขเชื่อมทั้ง สองส่วนอยู่นะคะ

 สาธุ

 
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ทุกท่านแม้จะอ่านกันยังไม่เข้าใจ ผมเองก็พยายามทำความเข้าใจ
นั่นแสดงให้เห็นว่า ใจในการภาวนา ส่วนนี้น่าจะเหมือนกัน นะครับ

                 1. สิ่งแรกก็คือ สมาธิ มีความสำคัญมาก
                        เพราะสมาธิ เป็น มรรคองค์สุดท้ายที่คนปัจจุบัน ภาวนาไม่ค่อยจะกันผ่านครับ จึงได้ไปเลือกฝึกสติ ให้เป็นสมาธิกัน ซึ่งใช้เวลามากกว่าการฝึกสมาธิโดยตรง ครูอาจารย์ท่านกล่าวว่า ความสมบูรณ์ของมรรค คือความสมบูรณ์ของผู้ที่จะได้ธรรมจักษุ ครับ ดังนั้นพวกเราคงหนีเรื่องสมาธิ ไม่ได้ครับ
                       
                 2. การเข้าถึงธาตุ เป็นเรื่องที่ต้องภาวนา ให้ถึง ไม่ใช่ไปเรียนรู้หรือจำให้ถึง
                     การเข้าถึงธาตุ มีในกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ อันนี้ผมว่ามาถูกทางแล้วนะครับ เพราะว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสสอนพระโอรสของท่าน ก็คือ เรื่องธาตุ นี้เป็นเรื่องแรกเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็น จูฬราหุโรวาทสูตร หรือ มหาราหุโรวาทสูตร ผมว่าธาตุเป็นเรื่องแรกที่เราควรทำความเข้าใจครับ เพราะในขันธ์ 5 เรียกว่า รูป ก็ปรากฏเป็นส่วนแรกนะครับ และปัญหาจริง ๆ ที่เราเป็นทุกข์กันนั้นก็มาจากธาตุ ทั้งสิ้นใช่หรือไม่ครับ

                 3. นามรูป เนื่องด้วยอุปาทายรูป
                     อุปาทายรูป คือ อะไร ?

                 4. อุปาทายรูป มีนับเนื่อง จาก จริมกวิญญาณ หรือ อภิสังขารวิญญาณ
                     ตรงนี้เริ่มไม่เข้าใจ เหมือนกันครับ ?
                         
                 5. วิญญาณ คือ นิพพาน  วิญญาณในนี้น่าจะหมายถึงการดับการปรุงแต่งที่ผัสสะ
                     แล้วทำไม วิญญาณ จึงเป็นนิพพานไปได้ ละครับ อย่างนี้จัดเป็นบัญญัติใหม่หรือไม่ ครับ เห็นในทางอภิธรรม ให้ความหมายของนิพพานมี 28 แบบ แต่ไม่มี วิญญาณ

                 6. นิพพานมีได้ เพราะเข้าถึง นามรูป
                      อันนี้อาจจะผิดนะครับ น่าจะใช้คำว่า นิพพาน มีได้ เพราะ นามรูปดับ นะครับ พิจารณาจากปฏิจจสมุปบาท ดูก็คือ อวิชชา ไป สังขาร ไป นามรูป ดังนั้น เพราะนามรูปดับ สังขารดับ อวิชชาดับ นิพพานครับ

      อนุโมทนาครับ ผมว่าพระอาจารย์ออกข้อธรรมทดสอบเราอยู่นะครับ ตอนนี้

 :25: :25: :25:
                       
ขอบคุณมากคะที่ทำให้อ่านง่ายขึ้นคะ

บันทึกการเข้า

keyspirit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ่านเหมือนกัน คะ แต่ก็รู้สึกว่า จะไม่เข้าใจ มีศัพท์ที่ยังไม่รู้อีกหลายศัพท์ คะ

  1.วิญญาณ ( นิพพาน )

  2.ธาตุ

  3.อุปาทายรูป

  4.นามรูป

   5.จริมกวิญญาณ อภิสังขารวิญญาณ

 ไม่ทราบคำศัพท์เลย สักนิด ช่วยอธิบาย ที่ละศัพท์ได้บ้างหรือไม่คะ

  :c017: :c017: :c017:


    วิญญาณ เป็น นิพพาน น่าจะหมายถึง นิพพานอายตนะ หรือ อายตนะนิพพาน
  กระทบกับ รูป  วิญญาณ เกิดแล้วรู้แจ้ง ( นิพพาน ) ว่าเป็นเพียงสักว่ารูป อย่างนี้ มั้งครับ
     อันนี้น่าจะอยู่ใน ธาตุ 18     

    ธาตุ  มี ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมกันเรียกว่า รูป อากาศธาตุ มนธาตุ นิพพานธาตุ 
    คำว่า ธาตุ หมายถึงสิ่งทรงไว้โดยธรรมชาติ

    อุปาทายรูป หมายถึง รูปที่มีใจครอง คือ อย่างไรต้องรอท่านอื่นมาอธิบายเพิ่มเติมนะครับ

    นามรูป จะปรากฏ ก็ คือ บันธํ์ 5

   ถูกผิดอย่างไร ก็ขอให้เพื่อน ๆ ช่วยกันอธิบายต่อนะครับ

   :25:
     
บันทึกการเข้า

kosol

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้พยายาม อ่าน มาตั้งแต่เช้าแล้วก็ยังไม่เข้าใจเลยคะ
 เรื่องนี้พระอาจารย์โพสต์ให้ศิษย์ ที่ปฏิบัติเก่ง ๆ อ่านใช่หรือไม่คะ

 สาธุ

  :25:

  คีย์เวิร์ด..น่าจะอยู่ตรงนี้..ขอรับ
  "ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป"

  เอ..มีใครได้ฌาน..บ้างหรือยัง.??
  อย่าซีเรียสนะครับ แค่คุยเป็นเพื่อนเท่านั้น

   :25:

ช่วยขยายเรื่อง ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ ได้หรือไม่ครับ

สาธุ

  :25:
บันทึกการเข้า

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมได้อ่านหัวข้อนี้ตั้งแต่เมื่อวาน แล้วสนใจมากครับ มีความรู้สึกว่าพระอาจารย์ กำลังบอกใบ้เรื่องการปฏิบัติเฉพาะอะไรสักอย่าง ผมเองก็นั่งวิเคราะหืมาตั้งแต่เมื่อวาน ซึ่งพอจะจับใจความจากที่เพื่อน ก็น่าจะเห็นแบบเดียวกับผมนะครับ ก็คือ การทำความเข้าใจเรื่อง ธาตุ  รูป อุปาทายรูป นามรูป  ผมว่าหัวข้อนี้ เป็นโจทย์ และ เฉลยที่พระพุทธเจ้า ได้เฉลยลงมาแล้ว แต่ถึงเฉลย โดยพระพุทธเจ้า ก็อาศัยคำใบ้หรือสูตรที่พระอาจารย์ นำไว้ตอนต้น

 คือเรื่อง ความฉลาดในสมาธิ ได้กล่าวเป็นลำดับเลยนั่นหมายความ ต้องมีความสำคัญในความฉลาดทุกส่วน หรือส่วนนี้จะเกี่ยวกับ ยถาภูตญาณทัศศนะ ที่เรากำลังติดกันอยู่ ผมว่าพวกเราช่วยกันวิจัยกันในหัวข้อนี้มาก ๆ ก็ดีนะครับ

  สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตามอ่านคะ คิดว่าไม่ใช่เรื่องที่เรา จะเข้าใจได้ง่าย ๆ เลยคะเพราะสังเกตุจากหัวข้อและบทเฉลย แล้วอ่านก็ยังไม่เข้าใจ คือไม่เข้าใจคำศัพท์ด้วยคะ

  จะติดตามตอนต่อไปอยู่นะคะ

   :c017:
บันทึกการเข้า

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
[๔๙๙]    ในปัญหานั้น  มีคำตอบดังนี้
             ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
             อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ(๑)ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ไม่มีที่สุด
           แต่มีท่าข้าม(๒)โดยรอบด้าน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น
            ละเอียด  และหยาบ  งามและไม่งาม  ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
            ในวิญญาณ นี้เช่นเดียวกัน  นามและรูปย่อมดับสนิท
           ในวิญญาณนี้เช่นเดียวกัน  เพราะจริมกวิญญาณ(๓)ดับไป
           นามและรูปนั้นก็ย่อมดับสนิทในที่นั้น”   



    ทำการวิเคราะห์ หมายถึง ธาตุทั้ง 4 มี ดิน ไฟ ลม น้ำ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน วิญญาณ ( นิพพาน ) หมายความ ในนิพพาน  ไม่มี ธาตุทั้ง 4 นิพพาน จึงเป็นธรรมที่มองเห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด แต่ นิพพาน นั้นมี ท่าข้าม ( เส้นทางการปฏิบัต ) อยู่โดยรอบด้าน ไม่ใช่ด้านเดียว กล่าวถึงกรรมฐาน 38 ประการ ( คิดว่าน่าจะเป็น 40 ประการมากกว่า ) โดยกรรมฐาน นั้น อาศัยอุปาทายรูป (รูปที่มีใจครอง ) ที่ยาว ที่สั้น ละเอียด หยาบ งาม และ ไม่งาม แต่ อุปาทายรูป ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ใน วิญญาณ ( นิพพาน ) หมายถึง นิพพาน ก็ไม่มีอุปาทายรูป เช่นเดียวกับธาตุ  นามและรูป (ขันธ 5 ) อาศัยวิปัสสนา ย่อมดับสนิท ใน วิญญาณ (นิพพาน ) เพราะ จริมกวิญญาณ การแล่นไปด้วยความรู้สีกสัมผัสปรุงแต่งอย่างยิ่ง ( อภิสังขารวิญญาณ )ย่อมดับสนิทในที่นั้น นั่นหมายถึง

     ธาตุ ทั้ง 4  อุปาทายรูป  นามรูป อันมีเหตุปรุงแต่ง ด้วย สังขารทั้งหลายทั้งปวง ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือใน นิพพาน จึงกล่าวได้ว่า ไม่มีรูป ไม่มีธาตุ ไม่มีนามรูป เป็นเพียงแต่สักว่าธาตุ ตามธรรมชาติเท่านั้น ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป้นตัวเป็นตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อย่างนี้ควรที่เราทั้งหลายจะได้ทำความเข้าใจในเรือ่งธาตุ เพื่อคามรู้แจ้งเห็นจริง ด้วยสมาธิ

    ( ปล. ผมลองทำสมาธิ เข้าอารมณ์ ละเอียดแล้ว เจริญ นามรูป และพิจารณาบทธรรมนี้ ก็มีความเข้าใจเพียงเท่านี้นะครับ )

   ขอท่านผู้รู้ทั้งหลาย โปรดแนะนำเพิ่มเติมกันด้วยนะครับ

  :s_hi: :25:
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

tasawang

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าผมจำไม่ผิด เคยมีกระทู้ว่าด้วยเรื่อง ธาตุ ที่มีผุ้ยกข้อความในคู่มื่อกรรมฐาน กล่าวเรื่องธาตุ และพระอาจารย์เคยอธิบายไว้ ตั้งแต่ เรื่อง รูป คือหทัยรูป เป็น อายตนะรูป อุปาทายรูป อะไรประมาณนี้แหละ ถ้าได้อ่านหรือค้นเจอตรงนั้นเอามาช่วย น่าจะเข้าโจทก์ นี้โดยไวนะครับ

  ผมว่า ความสำคัญอยู่ที่ ความฉลาดในสมาธิ จะเห็นคำตอบเรื่อง รูป เรื่อง ธาตุ หรือไม่

  ถ้าลำดับไม่ผิด น่าจะมีผู้ถามเรื่องการสัมปยุตธาตุ และ สัมปยุตธรรม น่าจะเป็นเหตุที่พระอาจารย์ออกบทความธรรมบทนี้มาให้ได้อ่านกันในเมื่อวานนะครับ

   :s_hi:
บันทึกการเข้า

intro

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 77
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "


ผมว่า พิจารณาที่หัวข้อที่ตั้งก่อนดีกว่าหรือไม่ครับ

  เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป ก็หมายความว่า ธาตุ กับ นามรูป คืออันเดียวกัน
  รู้ที่ตั้ง ที่ดับ เพราะอุปาทายรูป ส่วนนี้ น่าจะหมายถึง ส่วนที่มีใน ธาตุ ใน นามรูป 
   
    ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อุปาทายรูป คือ อะไร ? กันก่อนดีกว่า ใช่หรือไม่ครับ
 
    อุปาทายรูป ตามศัพท์ หมายถึง รูปที่มีใจครอง รูปทีมีใจครอง ก็คือ ธาตุ หรือ นามรูป ที่มีใจครอง ใช่หรือไม่ 

    รู้ที่ตั้ง หมายถึง สมาธิตั้ง ที่ไหน ก็รู้ที่ตั้ง เช่น ตั้ง ฐานจิตที่ 1 พระขุททกาปีติ ธาตุดิน มีใจครองส่วนไหน
    รู้ที่ดับ หมายถึง สมาธิดับ ที่ไหน ก็รู้ที่ดับ การดับ คืออะไร ? ชักงง
   
   น่าจะมาถูกทางบ้างแล้ว

   เพื่อน ๆ ช่วยต่อประเด็นกันต่อไปก็ดีนะครับ วันนี้วันพระช่วยกันเจริญธรรม ตามจดหมายเชิญชวนของ เว็บมาสเตอร์ กันก็ดีนะครับ

  สาธุ สาธุ สาธุ

   :25: :25: :25:   
   
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
พระอาจารย์ได้้สรุปไว้ว่า
   การจะเข้าใจใน ธาตุ ในอุปาทายรูป และ นามรูป อยู่ที่ความฉลาดในสมาธิ
   ดังนั้นท่านที่ภาวนาชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วในสมาธิ
   จักเข้าถึงธาตุ คือ ธรรม มน ยถาภูตญาณ  ทัศนะ  มรรค ผล และ นิพพาน


จะเห็นว่า ท่านเน้นสมาธิ สัมมาสมาธิิตามบาลีแล้ว หมายถึง ฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติย..ตติย..จตุร..
ในบาลี ไม่มีคำว่า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนสมาธิ แต่บาลีแบ่งสมาธิ เป็น ๙ ระดับ

สมาธิ ๙ ระดับ ก็คือ อนุบุพพวิหาร ๙ นั่นเอง ประกอบด้วย รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ
และในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
ในส่วนสมาธิสังยุต ได้แบ่งออกเป็น ๑๐ สูตร คือ


๑. สมาธิสมาปัตติสูตร ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการเข้าสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๒๗ - ๖๗๔๑.  หน้าที่  ๓๐๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6727&Z=6741&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=585

๒. ฐิติสูตร ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๔๒ - ๖๗๕๕.  หน้าที่  ๓๐๐ - ๓๐๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6742&Z=6755&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=586

๓. วุฏฐานสูตร ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการออกจากสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๕๖ - ๖๗๖๖.  หน้าที่  ๓๐๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6756&Z=6766&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=587

๔. กัลลิตสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๖๗ - ๖๗๗๗.  หน้าที่  ๓๐๑ - ๓๐๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6767&Z=6777&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=588

๕. อารัมมณสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๗๘ - ๖๗๘๘.  หน้าที่  ๓๐๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6778&Z=6788&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=589

๖. โคจรสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในโคจรในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๘๙ - ๖๗๙๘.  หน้าที่  ๓๐๒ - ๓๐๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6789&Z=6798&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=590

๗. อภินีหารสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๙๙ - ๖๘๐๙.  หน้าที่  ๓๐๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6799&Z=6809&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=591

๘. สักกัจจการีสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและกระทำความเคารพในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๘๑๐ - ๖๘๒๐.  หน้าที่  ๓๐๓ - ๓๐๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6810&Z=6820&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=592

๙. สาตัจจการีสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๘๒๑ - ๖๘๓๑.  หน้าที่  ๓๐๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6821&Z=6831&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=593

๑๐. สัปปายการีสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและกระทำความสบายในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๘๓๒ - ๗๐๐๘.  หน้าที่  ๓๐๔ - ๓๑๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6832&Z=7008&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=594

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้ง ๑๐ สูตรล้วนกล่าวถึง"ผู้ได้ฌาน"
    ดังนั้น ผมเลยคิดเอาเองว่า "การที่จะเข้าใจเรื่องธาตุได้ ควรได้สมาธิในขั้นฌานเสียก่อน"
    การฝึกจิตของเราให้ได้สมาธิขั้นฌาน ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีความเพียร และต้องพึ่งครูอาจารย์
    ส่วนใครต้องการทราบว่า ฉลาดในสมาธิเป็นอย่างไร คงต้องไปอ่านเอาเองนะครับ
 
     :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ กับทุกท่านที่จริง ผมเองก็ลองอ่านหลายรอบแล้วเหมือนกัน แต่คิดว่า คงจะเป็นเพราะอำนาจสมาธิยังไม่เพียงพอจึงทำให้ยังไม่เข้าใจ ครับจะลองอ่านพระสูตรดูสักหน่อยนะครับ มีตั้งหลายบท

   :s_hi:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

magicmo

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 122
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ขายส่งชุดชั้นในราคาไม่แพงเครื่องกรองน้ำ ดื่มสะอาดสนามกีฬา ฟุตบอลหญ้าเทียม เช่าราคาถูก

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ใครที่เคยได้ยินคำนี้ "มีแต่จิตล้วนๆ" จากพระอาจารย์ ก็อาจจะสามารถเข้าใจ

ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ

กายเราย่อมประกอบไปด้วย   ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้งอยู่กับเราไม่ได้นาน ไม่เที่ยง  ไม่แท้ ไม่เป็นอยู่ได้นาน  เมื่อตาย กายเสื่อม มีแต่จิตเท่านั้น ที่เดินทาง มีแต่จิตเท่านั้นที่เิดินไป ที่สุดแล้ว ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง อยู่ไม่ได้ในวิญญาณธาตุ (ความบริสุทธิ์แท้เดิม)

ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ไม่มีที่สุด  แต่มีท่าข้าม   
น่าจะหมายถึง  วัฏสงสาร ที่ไม่มีที่สุด   แต่มีท่าข้าม  คือการตัดภพตัดชาติ (โดยการปฏิกรรมฐาน) เขาสู่พระนิพพาน

มีความเิกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีความตั้งอยู่เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

ใครสนใจศึกษาเพื่ม ลองดูขยายความใน ชาติธรรมสูตร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 13, 2012, 12:34:59 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่คิดว่าตั้งคำถาม ได้หลายประการครับ

(๑) วิญญาณ ในที่นี้หมายถึง พระนิพพาน (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)
 
  1. วิญญาณ เป็น นิพพาน ได้อย่างไร ?

  2. อุปาทายรูป หมายถึง อะไรในการภาวนา กำหนดรู้ได้อย่างไร ในขณะที่เรา ภาวนา "พุทโธ" อยู่นั้นจะกำหนดอย่างไร หรือ มีวิธีการเห็นหรือรู้ อุปาทายรูป ได้อย่างไร ?

  3. จิรมกวิญญาณ คือ อะไร? มีคำว่า วิญญาณ (นิพพาน )

  4. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ในขันธ์ ทั้ง 5 คือ นิพพาน หรือ ไม่ ?

  อยากให้เพื่อนๆ ร่วมกันวิจารณ์ กันก่อนนะครับ เพราะ พิจารณาเป็น ธรรมวิจารณ์ข้อสอบ นะครับ ส่วนนี้

  :c017: :c017: :c017: :25: :25: :25: :25:
 
บันทึกการเข้า

บุญสม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากได้อ่านสาระ ธรรมวิจารณ์ อย่างนี้ครับ เพราะรู้สึกได้ถึงว่า ธรรมเราก้าวหน้า หรือ ถอยหลัง

ถ้าอ่านไม่เข้าใจ แสดงว่า ยังไม่ก้าวหน้า ครับ

ถ้าอ่านพอจะเข้าใจ แสดงว่า ธรรมมีความก้าวหน้า

ถ้าอ่านแล้วรู้เรื่อง แสดงว่า ปฏิบัติได้ดีแล้วครับ

 ดังนั้น ผมก็ชอบอ่านข้อธรรมแบบนี้ครับ และอยากฟัง ธรรมวิจารณ์ จากศิษย์พี่ ทุกท่าน นะครับ

  :25: :25: :25: :c017:

บันทึกการเข้า

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่คิดว่าตั้งคำถาม ได้หลายประการครับ

(๑) วิญญาณ ในที่นี้หมายถึง พระนิพพาน (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)
 
  1. วิญญาณ เป็น นิพพาน ได้อย่างไร ?

  2. อุปาทายรูป หมายถึง อะไรในการภาวนา กำหนดรู้ได้อย่างไร ในขณะที่เรา ภาวนา "พุทโธ" อยู่นั้นจะกำหนดอย่างไร หรือ มีวิธีการเห็นหรือรู้ อุปาทายรูป ได้อย่างไร ?

  3. จิรมกวิญญาณ คือ อะไร? มีคำว่า วิญญาณ (นิพพาน )

  4. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ในขันธ์ ทั้ง 5 คือ นิพพาน หรือ ไม่ ?

  อยากให้เพื่อนๆ ร่วมกันวิจารณ์ กันก่อนนะครับ เพราะ พิจารณาเป็น ธรรมวิจารณ์ข้อสอบ นะครับ ส่วนนี้

  :c017: :c017: :c017: :25: :25: :25: :25:
 

   วิญญาณ เป็น นิพพาน ลองอ่าน  (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖) ที่แนบมาก่อนดีหรือไม่ครับ

แต่ว่าหมายถึงอะไร  (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)  ที = ??  สี = ?? อ= ???  499 = ??? /  326 = ???
ไม่ทราบวิธีการค้นครับ ใครอธิบาย ได้ช่วยหน่อยครับ

   :c017:
           
บันทึกการเข้า

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่คิดว่าตั้งคำถาม ได้หลายประการครับ

(๑) วิญญาณ ในที่นี้หมายถึง พระนิพพาน (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)
 
  1. วิญญาณ เป็น นิพพาน ได้อย่างไร ?

  2. อุปาทายรูป หมายถึง อะไรในการภาวนา กำหนดรู้ได้อย่างไร ในขณะที่เรา ภาวนา "พุทโธ" อยู่นั้นจะกำหนดอย่างไร หรือ มีวิธีการเห็นหรือรู้ อุปาทายรูป ได้อย่างไร ?

  3. จิรมกวิญญาณ คือ อะไร? มีคำว่า วิญญาณ (นิพพาน )

  4. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ในขันธ์ ทั้ง 5 คือ นิพพาน หรือ ไม่ ?

  อยากให้เพื่อนๆ ร่วมกันวิจารณ์ กันก่อนนะครับ เพราะ พิจารณาเป็น ธรรมวิจารณ์ข้อสอบ นะครับ ส่วนนี้

  :c017: :c017: :c017: :25: :25: :25: :25:
 

   วิญญาณ เป็น นิพพาน ลองอ่าน  (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖) ที่แนบมาก่อนดีหรือไม่ครับ

แต่ว่าหมายถึงอะไร  (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)  ที = ??  สี = ?? อ= ???  499 = ??? /  326 = ???
ไม่ทราบวิธีการค้นครับ ใครอธิบาย ได้ช่วยหน่อยครับ

   :c017:
           


    ที  ทีฆนิกาย
    สิ  สีลขันธวรรค
    อ  ???
    499 หัวข้อ
    326 ???

  สรุปแล้ว ก็คือ อันเดียวกับที่ยกไว้ ครับเป็นการอธิบาย สัั้น ๆ ตามนั้นครับ

 
บันทึกการเข้า

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
         เรื่องภิกษุแสวงหาความดับของมหาภูตรูป
            [๔๘๗]    เกวัฏฏะ  เรื่องเคยมีมาแล้ว  ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่ภิกษุเกิดความคิดคำนึง
ว่า  มหาภูตรูป  ๔  คือ  ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  และวาโยธาตุ  ย่อมดับสนิทที่
ไหนหนอ
     [๔๘๘]    ทีนั้นแล    ภิกษุจึงเข้าสมาธิถึงขั้นที่จิตตั้งมั่นจนเห็นทางไปเทวโลก    ครั้น
แล้วเธอเข้าไปหาพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา    แล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ    มหาภูต-
รูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหน’
            เมื่อเธอถามอย่างนี้    พวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกาตอบว่า    ‘พวกเราไม่ทราบที่
ที่มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิทไปเหมือน
กัน    แต่ท้าวมหาราช    ๔    องค์ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
            [๔๘๙]    ทีนั้น    เธอจึงเข้าไปหาท้าวมหาราชทั้ง    ๔    องค์    แล้วถามว่า    ‘ท่าน
ผู้มีอายุ    มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับ
สนิทที่ไหน’    เมื่อเธอถามอย่างนี้    ท้าวมหาราชทั้ง    ๔    องค์ตอบว่า    ‘แม้พวกเรา
ก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิท
ไปเหมือนกัน    แต่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
            [๔๙๐]    ทีนั้น    เธอจึงเข้าไปหาพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่
ไหน’    เมื่อเธอถามอย่างนี้    พวกเทพชั้นดาวดึงส์ตอบว่า    ‘แม้พวกเราก็ไม่ทราบที่ที่
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิทไปเหมือนกัน
แต่ท้าวสักกเทวราชผู้ยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
            [๔๙๑]    ทีนั้น    เธอจึงเข้าไปหาท้าวสักกเทวราชแล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่
ไหน’    เมื่อเธอถามอย่างนี้    ท้าวสักกเทวราชตอบว่า    ‘แม้เราก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป
๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิทไปเหมือนกัน    แต่
พวกเทพชั้นยามา    ฯลฯ    เทพบุตรชื่อสุยาม    ฯลฯ    พวกเทพชั้นดุสิต    ฯลฯ    เทพบุตร
ชื่อสันดุสิต    ฯลฯ    พวกเทพชั้นนิมมานรดี    ฯลฯ    เทพบุตรชื่อสุนิมมิต    ฯลฯ    พวก
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี    ฯลฯ    เทพบุตรชื่อวสวัตดีซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเรา
คงจะทราบ’
            [๔๙๒]    ทีนั้น    เธอจึงเข้าไปหาเทพบุตรชื่อวสวัตดีแล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหน’
เมื่อเธอถามอย่างนี้    เทพบุตรชื่อวสวัตดีตอบว่า    ‘แม้เราก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป    ๔
คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิทไปเหมือนกัน    แต่พวก
เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม    ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าเราคงจะทราบ’
            [๔๙๓]    ทีนั้นแล    ภิกษุจึงเข้าสมาธิถึงขั้นที่จิตตั้งมั่นจนเห็นทางไปพรหมโลก
ครั้นแล้วเธอเข้าไปหาพวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมแล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหน’
เมื่อเธอถามอย่างนี้    พวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมตอบว่า    ‘แม้พวกเราก็ไม่ทราบที่
ที่มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิทไปเหมือนกัน
แต่พระพรหมผู้เป็นท้าวมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่    ไม่มีใครข่มเหงได้    เห็นถ่องแท้    เป็นผู้
กุมอำนาจ    เป็นอิสระ    เป็นผู้สร้าง    ผู้บันดาล    ผู้ประเสริฐ    ผู้บงการ    ผู้ทรงอำนาจ    เป็น
บิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิดซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
            เธอถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ    เวลานี้ท้าวมหาพรหมอยู่ที่ไหน’
            พวกเทพเหล่านั้นตอบว่า    ‘แม้พวกเราก็ไม่รู้ที่อยู่ของท้าวมหาพรหมหรือ
ทิศทางที่ท้าวมหาพรหมอยู่    แต่มีนิมิตที่สังเกตได้    (คือ)    แสงสว่างเกิดขึ้น    โอภาส
ปรากฏขึ้น    ท้าวมหาพรหมก็จะปรากฏพระองค์ด้วย    การที่แสงสว่างเกิดขึ้น    โอภาส
ปรากฏขึ้นนี้    จัดเป็นบุรพนิมิตแห่งการปรากฏของท้าวมหาพรหม’    ต่อมาไม่นาน
ท้าวมหาพรหมได้ปรากฏพระองค์ขึ้น
            [๔๙๔]    ลำดับนั้น    ภิกษุนั้นเข้าไปหาท้าวมหาพรหมแล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหน’
เมื่อเธอถามอย่างนี้    ท้าวมหาพรหมตอบว่า    ‘เราเป็นพรหมผู้เป็นท้าวมหาพรหมผู้ยิ่ง
ใหญ่    ไม่มีใครข่มเหงได้    เห็นถ่องแท้    เป็นผู้กุมอำนาจ    เป็นอิสระ    เป็นผู้สร้าง    ผู้บันดาล
ผู้ประเสริฐ    ผู้บงการ    ผู้ทรงอำนาจ    เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิด’
            แม้ครั้งที่    ๒    ภิกษุนั้นกล่าวกะท้าวมหาพรหมว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ    อาตมาไม่ได้
ถามท่านว่า    ท่านเป็นพระพรหมผู้เป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่    ไม่มีใครข่มเหงได้    เห็นถ่องแท้
เป็นผู้กุมอำนาจ    เป็นอิสระ    เป็นผู้สร้าง    ผู้บันดาล    ผู้ประเสริฐ    ผู้บงการ    ผู้ทรงอำนาจ
เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิดหรือ    แต่อาตมาถามท่านอย่างนี้ว่า    มหา
ภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหน’
       แม้ครั้งที่  ๒  ท้าวมหาพรหมก็คงตอบว่า  ‘เราเป็นพรหมผู้เป็นท้าวมหาพรหมผู้
ยิ่งใหญ่  ไม่มีใครข่มเหงได้  เห็นถ่องแท้  เป็นผู้กุมอำนาจ  เป็นอิสระ  เป็นผู้สร้าง  ผู้บันดาล
ผู้ประเสริฐ  ผู้บงการ  ผู้ทรงอำนาจ  เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิด’
            แม้ครั้งที่  ๓  ภิกษุนั้นกล่าวกะท้าวมหาพรหมว่า  ‘ท่านผู้มีอายุ  อาตมาไม่ได้
ถามท่านว่า  ท่านเป็นพระพรหมผู้เป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่  ไม่มีใครข่มเหงได้  เห็น
ถ่องแท้  เป็นผู้กุมอำนาจ  เป็นอิสระ  เป็นผู้สร้าง  ผู้บันดาล  ผู้ประเสริฐ  ผู้บงการ  ผู้
ทรงอำนาจ  เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิดหรือ  แต่อาตมาถามท่าน
อย่างนี้ว่า  มหาภูตรูป  ๔  คือ    ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  และวาโยธาตุ  ย่อม
ดับสนิทที่ไหน’
            [๔๙๕]    ทันใดนั้น  ท้าวมหาพรหมนั้นจับแขนภิกษุนั้นพาไป  ณ  ที่สมควรแล้ว
กล่าวว่า  ‘ภิกษุ  พวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมเข้าใจว่า  ไม่มีอะไรที่พระพรหมไม่ได้
รู้  ไม่ได้เห็น  ไม่ได้ทราบ  ไม่ได้ประจักษ์แจ้ง  ดังนั้น  เราจึงไม่ตอบต่อหน้าพวกเทพ
เหล่านั้นว่า  แม้เราก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป  ๔  คือ  ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ
และวาโยธาตุดับสนิทเหมือนกัน  ฉะนั้น  การที่ท่านละเลยพระผู้มีพระภาคแล้วมาหา
คำตอบเรื่องนี้ภายนอก  นับว่าทำผิด  นับว่าทำพลาด  ไปเถิด  ภิกษุ  ท่านจงไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหานี้    และพึงจำไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ’
            [๔๙๖]    ลำดับนั้น  ภิกษุได้หายไปจากพรหมโลกมาปรากฏต่อหน้าเรา  เปรียบ
เหมือนคนแข็งแรงเหยียดแขนออกหรือพับแขนเข้าฉะนั้น  เธอกราบเราแล้วนั่งลง  ณ
ที่สมควร  ถามเราว่า  ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  มหาภูตรูป  ๔  คือ  ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ
เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหนหนอแล’
               อุปมาด้วยนกบินดูฝั่ง
            [๔๙๗]    เมื่อเธอถามอย่างนี้  เราได้ตอบว่า  ภิกษุ  เรื่องเคยมีมาแล้ว  พวก
พ่อค้าเดินเรือทะเลนำนกตีรทัสสีลงเรือไป  เมื่อมองไม่เห็นฝั่ง  พวกเขาจึงปล่อยนก
ตีรทัสสีไป  นกนั้นบินไปยังทิศตะวันออก  ทิศใต้  ทิศตะวันตก  ทิศเหนือ  ทิศเบื้องบน
และทิศเฉียง  ถ้ามันยังแลเห็นชายฝั่งรอบ  ๆ  ก็จะบินเลยไป  ถ้ามันแลไม่เห็นฝั่งโดย
รอบก็จะบินกลับมาที่เรือนั้นอีก  ภิกษุ  เธอก็เช่นกัน  เที่ยวเสาะหาไปจนถึงพรหมโลก
ก็ยังไม่ได้คำตอบของปัญหานี้  ในที่สุดต้องกลับมาหาเรา  ปัญหานี้เธอไม่ควรถามว่า
มหาภูตรูป  ๔  คือ  ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  และวาโยธาตุ  ย่อมดับสนิทที่
ไหนหนอแล
            [๔๙๘]    แต่ควรถามอย่างนี้ว่า
                                          ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
                              อยู่ไม่ได้ในที่ไหน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น  ละเอียด
                              และหยาบ  งามและไม่งาม  ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
                              นามและรูปย่อมดับสนิทในที่ไหน
            [๔๙๙]    ในปัญหานั้น  มีคำตอบดังนี้
                                          ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
                              อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ๑ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ไม่มีที่สุด
                              แต่มีท่าข้าม๒โดยรอบด้าน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น
                              ละเอียด  และหยาบ  งามและไม่งาม  ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
                              ในวิญญาณ๑นี้เช่นเดียวกัน  นามและรูปย่อมดับสนิท
                              ในวิญญาณ๑นี้เช่นเดียวกัน  เพราะวิญญาณ๓ดับไป
                              นามและรูปนั้นก็ย่อมดับสนิทในที่นั้น”
            [๕๐๐]    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว  บุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะมีใจยินดี
ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
 
               เกวัฏฏสูตรที่ ๑๑ จบ




ลองอ่านพระสูตรฉบับเต็มแล้ว ก็บางอ้อครับ

   คือ คำถามนี้ต้องไม่ใช่คนธรรมดาจะตอบได้นะครับ เพราะมีพระรูปหนึ่งซึ่งสำรเร็จสมาธิขั้นสูงนะครับ ท่านเดินทางไปเทวโลก สอบถามคำถามนี้กับ พรหม ท้าวสักกะ เป็นต้น ยังตอบไม่ได้ สุดท้ายท้าวมหาพรหม ก็จับแขนพระภิกษุรูปนั้น มาทูลถามพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่่มาของคำถาม และ คำเฉลย ดังนั้น


    เรื่องแรกที่เราพอจะเข้าใจได้ในเบื้องต้น คือ

    นิพพาน ไม่มีธาตุ 4 ไม่มี นามรูป นิพพานอาศัย อุปาทายรูป เป็นท่าข้าม

    ดังนั้น เมื่อ นิพพาน ไม่มีธาตุทั้ง 4 ก็เหนือจินตนาการแล้วนะครับ เพราะเท่ากับไม่มีวัตถุ จินตนาการไม่ได้ รู้แต่เพียงว่า เป็น ที่ ๆ ไม่มีความทุกข์ เป็น การไม่กลับมาเกิดอีกต่อไป

 :c017: ขอบคุณพระอาจารย์ครับ


บันทึกการเข้า

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ยิ่งตามอ่าน ยิ่งลึกซึ้ง อยากอ่านธรรมวิจารณ์ อย่างนี้คะ เจาะกันเป็นหัวข้อจะดีนะคะ จะได้ปฏิบัติภาวนาให้ถูกทาง จากหัวข้อนี้ สรุปว่าต้องมีจิตเป็น สมาธิ แล้วระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็น อุปาทายรูป ใช่หรือไม่คะ

 และ อุปาทายรูป นี้เกี่ยวข้องกับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับอย่างไร ตั้งแต่ห้องไหนบ้างคะ

   :c017: :25: :88:
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Jojo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 237
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
บทความของพระอาจารย์ คิดว่า ต้องอ่าน ต่อเนื่อง มานะคะ ถ้าไม่ได้อ่านมาต่อเนื่อง จะไม่เข้าใจเลย ท่านที่ยังไม่ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับธาตุ ควรได้อ่านคะ จะได้เข้าใจมากขึ้น คะ


 ธรรมะสาระวันนี้ "กำหนดรู้ธาตุ ในความเป็นธาตุ เป็นเพียงสักว่าธาตุ"
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7218.0


 
บันทึกการเข้า
ฉันมาเพราะเธอนะ ยายกบ มาศึกษาธรรมะบ้าง ยินดีที่รู้จักทุกท่านคะ
ช่วยเมตตา แนะนำด้วยมิตรภาพ นะคะ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ผมนี้ไม่มีในเรา  เรานี้ไม่ไมีในผม
ผมนี้ไม่ใช่เรา   เรานี้ไม่ใช่ผม
        มีแต่จิตล้วนๆ

มีแต่จิตเท่านั้นนั้นที่เดินทาง

ผมนี้ คือ ธาตุ  เป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ  เป็นธาตุดิน
ธาตุนี้มี จึงมีมองเห็นจึงสัมผัส จึงรู้จัก จึงเรียกชื่อ
รูปนามจึงมี อุปาทายรูปจึงมี  จริมกวิญญาณจึงมี

( ถาม : เราปฏิบัติกันเพื่ออะไร
  ตอบ : ต่ำสุดก็เพื่อละสังโยชน์ ๓ (กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์)

  ถาม : สังโยชน์ ๓ คืออะไร
  ตอบ : ก็คือ ๑.สักกายทิฏฐิ  ๒.วิจิกิจฉา ๓.สีลัพพตปรามาส
          และ สักกายทิฏฐิ นั้น ก็คือ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน )

ท่านผู้ปฏิบัติควรรู้ : การที่นักปฏิบัติ กระทำไปเพื่อมิได้เป็นการละสังโยชน์ ๑๐ มิใช่ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  ไม่ใช่เพื่อความหลุดพ้น สามารถที่จะเอา สังโยชน์ ๓ ข้อแรกเป็นตัวตั้งก่อน เพื่อการพิสูจน์ตัวเราเอง เราปฏิบัติแล้ว มีกิเลส มากขึ้น หรือน้อยลง

ในส่วนแรกนั้น(ลองย้อยกลับไปอ่านอันแรกสุดเลย) น่าจะหมายถึง การยกจิตขึ้นวิปัสสนา ขอเดาว่า อาจจะเป็นไปได้ว่าท่านทั้งหลาย ได้ปฏิบัติกันดีอยู่แล้ว แต่มิได้ทำการยกจิตขึ้น เข้าสู่การวิปัสสนา(เดาว่าจึงถูกบอกแบบทางอ้อมโดยยิบยกพระไตรปิฏก) เพื่อให้รู้ให้เขาในธาตุอย่างแท้จริง (ไม่มี ไม่ได้ ปรุงแต่ง แต่เห็นตามความเป็นจริง)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 13, 2012, 04:06:28 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

DANAPOL

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 332
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ยิ่งตามอ่าน ยิ่งลึกซึ้ง อยากอ่านธรรมวิจารณ์ อย่างนี้คะ เจาะกันเป็นหัวข้อจะดีนะคะ จะได้ปฏิบัติภาวนาให้ถูกทาง จากหัวข้อนี้ สรุปว่าต้องมีจิตเป็น สมาธิ แล้วระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็น อุปาทายรูป ใช่หรือไม่คะ

 และ อุปาทายรูป นี้เกี่ยวข้องกับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับอย่างไร ตั้งแต่ห้องไหนบ้างคะ

   :c017: :25: :88:

  คิดว่า อุปาทายรูป คือ รูปที่เกิดขึ้นเป็นส่วน ๆ ครับ อุปาทายรูป นั้น มีใจครอง ก็หมายถึง ใจ เรา หรือ ใจของ รูปนั้น ๆ เช่น
 
    ฐานจิตที่ 1 มี 21 ธาตุดิน คือ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ เป็นต้น นะครับ แต่ระส่วนนั้น เป็น รูป มีใจครอง เป็นส่วน ๆ

    ที่นี้ถ้าผมจำไม่ผิด พระอาจารย์เคยกล่าวไว้ ในกระทู้ 1 แสดงถึง เรื่อง หทัยรูป อายตนะรูป และ อุปาทายรูป ถ้าตามลำดับแล้ว ผมว่าน่าจะเข้าใจ คำว่า รูปของใจก่อน แล้วต่อมาให้มาเข้าใจ อายตนะรูป และอุปาทายรูป ตามลำดับ ใช่หรือมไม่ครับ

  :s_hi: :s_hi: :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า
รหัสธรรม ต้องใช้ปัญญาคือความรู้ ผู้ถือกุญแจคือใครหนอ...

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ดูเหมือน ธรรมวิจารณ์ ส่วนนี้ มีท่านนักภาวนา หลายท่่านแสดงความเห็น แสดงให้เห็นว่าทุกท่านมีความใส่ใจในความก้าวหน้ากับกรรมฐาน โดยเฉพาะผม ปกติก็จะอ่านบทความของพระอาจารย์มาเสมอ ก็รู้สึกว่ายังตามทันคือมีความเข้าใจในการอ่านมาเสมอ แต่มาบทความบทนี้ พูดตรง ๆ เลยครับ ว่าไม่กระดิกเลยครับ

   สาเหตุ เป็นเพราะผมอ่อนการภาวนาแน่ ๆ จึงยังไม่เข้า ใจ

   หรือ มีนัยบอกว่า ความรู้ทางธรรมยังไม่พอ... ในการภาวนา

   ดังนั้นก็จะติดตามการชี้แนะต่อไป ขอบคุณทุกท่านที่ แสดงธรรมวิจารณ์กันนะครับ

  :coffee2: :25: :welcome:
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นธรรมขั้นสูงเลยนะครับ ตอบได้ ก็ตอบตามที่พระพุทธเจ้าตรัส
แต่การเข้าถึง นิพพาน นั้นต้องปฏิบัิติเข้าถึง ส่วนใด ที่แน่ๆ ต้องดับ อวิชชา ด้วยนะครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

 :25:
บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

whuchi

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 80
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นบทความที่อ่านมาตั้งแต่ต้นแล้ว ก็ยังไม่เข้าใจเลย คะ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า