ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พระนางยโสธราพิมพา นางแก้วคู่บารมี  (อ่าน 39762 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
พระนางยโสธราพิมพา นางแก้วคู่บารมี
« เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 08:51:43 pm »
+1
จาก กระทู้   "ในครั้งพุทธกาล มีผู้หญิงปฏิบัติเป็นพระอริยะสาวก จำนวนเยอะไหมคะ"   ของคุณฟ้าใส

คุณฟ้าใสได้เอ่ยถึง สตรีที่โลกลืม และนางแก้ว  ท้ายสุดต้องการให้ผมโพสต์ เรื่องพระนางยโสธราพิมพา

เรื่องนางแก้วเคยผ่านตาผมมาแล้ว เลยไปเสิร์ชในเว็บพลังจิตเ แล้วเจอลิงค์นี้ครับ

http://board.palungjit.com/f13/สตรีที่โลกลืม-นางแก้ว-615.html

ผมเดาว่าคุณฟ้าใสคงอ่านรายละเอียดในเว็บนี้มา แต่ผมจะไม่นำบทความในเว็บนี้มานำเสนอ

ผมได้เสิร์ชไปเจอเว็บนี้ครับ http://angkarn.siamtapco.comเว็บนี้ได้เผยแพร่

หนังสือนางแก้วคู่บารมีโดยเฉพาะ ผมจะนำเสนอบางส่วนมาให้อ่านตามที่เห็นสมควรนะครับ

เชิญทุกท่านหาความสำราญได้ ณ บัดนี้




บทนำ(เรียบเรียงเอง)

หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงอดีตชาติของพระนางยโสธราพิมพาจำนวน ๒๐ ชาติ

เริ่มจากพระชาติของพระพุทธเจ้าทีปังกร ที่ได้พยากรณ์สุเมธดาบสว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า

(คือพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)  หนังสือเล่มนี้ได้ใช้ชื่อพระชาติของพระนางยโสธราพิมพา

เอาไว้ทั้งหมด ๒๑ ชาดิ(รวมพระชาติสุดท้าย)ดังนี้ครับ


   ๑. สุมิตตาพราหมณี    ๒. พระนางประภาวดี

   ๓. นางสุชาดา       ๔. วิสัยหเศรษฐีภริยา

   ๕. ภริยาช่างหม้อ       ๖. สัมมิลลหาสินีกุมารี

   ๗. จอมนางแห่งพาราณสี    ๘. ราชธิดาพระเจ้าโกศล

   ๙. พระสมุททวิชยาเทวี    ๑๐. นางสีดา

   ๑๑. โพธิปริพพาชิกา    ๑๒. พระนางอุทัยภัทรา

   ๑๓. จันทกินนรี        ๑๔. สุภัททาเทวี

   ๑๕. พระนางจันทาเทวี     ๑๖. พระนางสุมนาเทวี

   ๑๗. พระนางสีวลี            ๑๘. นางอมรา

   ๑๙. พระนางจันทาเทวี    ๒๐. พระนางมัทรี

   ๒๑. พระนางยโสธราพิมพา



พระชาติที่ ๒๐ เป็นพระนางมัทรี ซึ่งพระมเหสีของพระเวสสันดร

ทุกคนรู้จักชาดกเรื่องพระเวสสันดรกันดีอยู่แล้ว  แต่จะบอกถึง

บุคคลสำคัญๆที่อยู่ในชาดกเรื่องนี้ว่า ได้มาเกิดเป็นใครในสมัยพุทธกาล


ชูชก มาเกิดเป็น พระเทวทัต

นางอมิตดา มาเกิดเป็น นางจิญจมาณวิกา

พรานเจตบุตร มาเกิดเป็น พระฉันนะ

อัจจุตดาบส คือ พระสารีบุตร

ท้าวสักกเทวราช มาเกิดเป็น พระอนุรุทธะ

พระเจ้าสญชัย มาเกิดเป็น พระเจ้าสุทโธทนะ

พระนางผุสดี มาเกิดเป็น พระนางสิริมหามายา

พระนางมัทรี มาเกิดเป็น พระนางพิมพา

ชาลี มาเกิดเป็น พระราหุล

กัณหา มาเกิดเป็น พระอุบลวรรณาเถรี

พระเวสสันดร มาเกิดเป็น พระพุทธเจ้า



เป็นที่น่าสังเกตว่าในพระชาติที่ ๒๐ ของพระนางมัทรี

พระนางและลูกทั้งสองของพระนางคือ กัณหาและชาลี

ได้มาเกิดร่วมชาติกันในสมัยพุทธกาล ทั้งสามพระองค์ได้เอตทัคคะทั้งหมด

พระนางมัทรีได้เป็น  พระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา

กัณหา ได้เป็น  พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์

ชาลี ได้เป็น  พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา


หากท่านสมาชิกทุกท่านต้องการอ่านรายละเอียดในหนังสือนางแก้วคู่บารมีเล่มนี

ผมทำลิงค์ไว้ให้แล้วครับ http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-00.htm  คลิกได้เลย


 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2010, 04:20:51 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระนางยโสธราพิมพา นางแก้วคู่บารมี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 09:58:13 pm »
+1
นางแก้วคู่บารมี
ที่มา http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-00.htm

    ในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ เพื่อการตรัสรู้เป็นพระโคตมพุทธเจ้าในปัจจุบันกาลนั้น พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญบารมีที่เรียกว่า พุทธการกธรรม มานานแสนนาน โดยใช้เวลาถึง ๒๐ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป ในช่วงแรกนั้นพระโพธิสัตว์บำเพ็ญพุทธบารมีมาอย่างโดดเดี่ยว จนเมื่อบารมีสะสมเพิ่มพูนเข้าเขตปรมัตถบารมี คือ ในช่วง ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัปสุดท้าย จึงเริ่มมีผู้บำเพ็ญบารมีตามเพื่อเป็นอัครสาวก อัครสาวิกา และพระสาวกผู้เป็นเอตทัคคะด้านต่างๆ
   
ในบรรดาผู้อธิษฐานสร้างบารมีติดตามพระโพธิสัตว์มานั้น มีบุคคลสำคัญยิ่งคนหนึ่งที่ติดตามร่วมสร้างบารมีมาด้วยกันอย่างนานแสนนาน อาจจะนานยิ่งกว่าพระสาวกองค์ใดๆ เป็นบุคคลผู้มีจิตเมตตา มีความเสียสละ ไม่แพ้พระโพธิสัตว์ เป็นคู่ครอง และเป็นคู่บุญบารมีร่วมกันข้ามภพข้ามชาติโดยไม่มีจิตคิดทอดทิ้งกัน
    ในหลายพันโกฏิกัปที่พระโพธิสัตว์เกิดมาเป็นคนยากจน คู่บารมีของพระองค์ก็จะเกิดมาเป็นหญิงยากจน มีศีล มีจาคะ และมีปัญญาเสมอกัน เป็นคู่ครองที่มีความรักและความเข้าใจกันเป็นอย่างดี
    และในหลายร้อยชาติ ที่พระโพธิสัตว์ได้บังเกิดเป็นพระเจ้าบรมจักรพรรดิ มีเดชาฤทธิ์ปกแผ่ครอบคลุมมหาทวีปทั้งสี่ มีรัตนะ ๗ ประการคู่บารมีบรมโพธิสมภาร เมื่อนั้นคู่บารมีของพระองค์ก็จะบังเกิดเป็นอัครมเหสี เป็นอิตถีรัตนะ เป็นนางแก้วคู่บารมีแห่งพระองค์
   
หนังสือ "นางแก้วคู่บารมี" นี้ ได้รวบรวมอดีตชาติของนางแก้วคู่บารมีของพระโพธิสัตว์ที่ได้ตรัสรู้เป็นพระ พุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ซึ่งชาวพุทธรู้จักกันดีในนาม พระนางพิมพา หรือพระนางยโสธรา พระชายาของเจ้าชายสิทธัตถะ เรื่องราวทั้งหลายได้เริ่มร้อยเรียงตั้งแต่ครั้งที่พระนางพิมพาเริ่มตั้ง ความปรารถนาในอดีตกาลอันแสนไกล และความปรารถนาที่ได้ตั้งไว้นั้น ก็ได้ร้อยรัดให้นางแก้วและพระโพธิสัตว์ได้เกิดมาสร้างสมบุญบารมีร่วมกัน ได้เกิดมาพบกัน เป็นคู่ครองกันในเกือบทุกชาติที่ได้เกิดมา จนมาถึงชาติอันเป็นที่สุด
    เรื่องราวทั้งหมดในหนังสือนี้รวบรวมมาจากชาดกต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในอรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย และอรรถกถาพระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน ซึ่งผู้สนใจสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากชื่อชาดกที่ได้อ้างอิงไว้แล้วในแต่ ละเรื่อง ส่วนบางเรื่องที่ปรากฎในคัมภีร์อื่นว่าเป็นอดีตชาติของนางแก้ว แต่ไม่มีปรากฏในอรรถกถา ๒ ฉบับดังกล่าว เช่น เรื่องพระสุธนกับนางมโนราห์ในสุธนชาดก เป็นต้น ได้ละไว้ไม่ขอนำมากล่าวถึง

    คุณความดีทั้งหลายที่อาจเกิดจากการรวบรวมหนังสือเล่มนี้ ขอมอบให้แก่ "นางแก้ว" ผู้มีจิตเสมอกัน มีกุศลกรรมเสมอกัน มีความมั่นคงไม่หวั่นไหว เป็นที่รักของบุญกรรม เป็นคู่บุญบารมีของพระโพธิสัตว์ทุกคน
    ขอขอบคุณสตรีผู้มีจิตบริสุทธิ์เสมอนางแก้ว ผู้ซึ่งปรารภให้เริ่มลงมือเขียน และขอบคุณเทวีผู้ปรากฏในนิมิตให้เขียนหนังสือเล่มนี้ต่อจนจบ 

     
“”””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””””
     
๑. พระนางพิมพา - นางแก้วคู่บารมี
ที่มา : ยโสธราเถริยาปทาน
ที่มา  http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-01.htm

    พระนางพิมพา เป็นพระนามของชายาเจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งต่อมาได้เสด็จออกบรรพชา และได้ตรัสรู้เป็นพระสมณโคตมสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนางเป็นที่รู้จักในหลายพระนาม คือ ยโสธรา ยโสธราพิมพา ภัททา กัจจานา และภัททากัจจานา
    พระนางพิมพานั้นได้เริ่มต้นติดตามเป็นคู่รักคู่บารมีพระโพธิสัตว์ มาตั้งแต่ครั้งต้น ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัปก่อน ได้ร่วมสุข ร่วมทุกข์ ได้ร่วมสร้างบุญบารมีมากับพระโพธิสัตว์ยาวนานกว่าสตรีอื่น
    บางชาติ พระนางพิมพาก็เกิดมาเป็นเพียงหญิงชาวบ้านฐานะต่ำต้อย แต่บางชาติก็ได้เกิดเป็นนางแก้วชายาของพระบรมจักรพรรดิ แต่ไม่ว่าจะเกิดมาในฐานะใด ในฐานะที่เป็นคู่บารมี พระนางพิมพาก็ต้องมีความเสียสละที่ยิ่งใหญ่ คือ ต้องเกิดเป็นหญิงซึ่งถือเป็นอภัพฐานะมาโดยตลอด ต้องเสียสละทรัพย์เพื่อช่วยพระโพธิสัตว์บริจาคทาน ต้องเสียสามีอันเป็นที่พึ่งเมื่อพระโพธิสัตว์ต้องออกบวช ต้องเสียบุตรธิดา และแม้แต่ต้องเสียชีวิตและร่างกายตนเอง เพื่อให้พระโพธิสัตว์บริจาคเป็นมหาทาน
    ความเสียสละและความทุกข์ยากทั้งปวงของพระนางพิมพา ได้เปิดเผยออกมาจากวาจาของพระนางเอง เมื่อพระนางในเพศพระอรหันต์ได้กราบทูลลาพระพุทธเจ้าเสด็จเข้านิพพาน ว่า

    "...
    ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า
    เมื่อหม่อมฉันท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร หากมีความพลั้งพลาดใดในพระองค์ ขอพระองค์ทรงโปรดประทานโทษแก่หม่อมฉันด้วยเถิด
    ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันชื่อ ยโสธรา เป็นปชาบดีของพระองค์
    ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันเมื่ออยู่ในพระราชวังของพระองค์ ได้เป็นประธานใหญ่กว่าหญิงทั้งปวง สมบูรณ์ด้วยรูปสมบัติ และอาจารสมบัติ นารีทั้งมวลเคารพหม่อมฉันเหมือนพวกมนุษย์เคารพเทวดา
    ข้าแต่พระมหามุนี อธิการเป็นอันมากของหม่อมฉันย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ข้าแต่พระมุนีมหาวีรเจ้า ขอพระองค์พึงทรงระลึกถึงกุศลกรรมเก่าของหม่อมฉันเถิด
    ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันสั่งสมบุญไว้เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
    ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันงดเว้นอนาจารในสถานที่ไม่ควร แม้ชีวิตก็ยอมสละเพื่อประโยชน์แก่พระองค์ได้
    ...
    ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉันเพื่อให้เป็นภรรยาผู้อื่นหลายพันโกฏิกัป เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ หม่อมฉันมิได้เสียใจในเรื่องนั้นเลย
    ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉันเพื่ออุปการะหลายพันโกฏิกัป เพื่อประโยชน์แก่พระองค์ หม่อมฉันมิได้เสียใจในเรื่องนั้นเลย
    ข้าแต่พระมหามุนี พระองค์ประทานหม่อมฉันเพื่อประโยชน์เป็นอาหารหลายพันโกฏิกัป หม่อมฉันมิได้เสียใจในเรื่องนั้นเลย หม่อมฉันบริจาคชีวิตหลายพันโกฏิกัป เพื่อให้ประชุมชนพ้นจากภัย ก็ยอมสละชีวิตของหม่อมฉันให้
    ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันย่อมไม่เคยหวงเครื่องประดับและผ้านานาชนิดซึ่งอยู่ที่ตัว เพื่อประโยชน์แก่พระองค์
    ข้าแต่พระมหามุนี ทรัพย์ ข้าวเปลือก ปัจจัย เครื่องบริจาค บ้าน นิคม ไร่นา บุตร ธิดา ช้าง ม้า โค ทาสี ทาสา มากมายนับไม่ถ้วน พระองค์ทรงบริจาคแล้วเพื่อประโยชน์แก่พระองค์ พระองค์ทรงตรัสบอกหม่อมฉันว่า เราย่อมให้ทานพวกยาจก เมื่อเราให้ทานอันอุดม เราย่อมไม่เห็นเธอเสียใจ
    ข้าแต่พระมหามุนี หม่อมฉันยอมรับทุกข์มากมายหลายอย่างจนนับไม่ถ้วนเพื่อประโยชน์แก่พระองค์ ข้าแต่พระมหามุนีหม่อมฉันได้รับสุขย่อมอนุโมทนา และในคราวที่ได้รับทุกข์ก็ไม่เสียใจ เป็นผู้ยินดีแล้วในที่ทุกแห่งเพื่อประโยชน์แก่พระองค์
    ...

    หม่อมฉันมีอายุ ๗๘ ปี ล่วงเข้าปัจฉิมวัย ถึงความเป็นผู้มีกายเงื้อมลงแล้ว ขอกราบทูลลาพระมหามุนี หม่อมฉันมีวัยแก่ มีชีวิตน้อย จักละพระองค์ไป มีที่พึ่งของตนได้ทำแล้ว มีมรณะใกล้เข้ามาในวัยหลัง
    ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า หม่อมฉันจักถึงความดับในคืนวันนี้ มิได้มีชาติ ชรา พยาธิ และมรณะ จักไปสู่นิพพานที่ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นบุรีอันไม่มีความแก่ ความตายและไม่มีภัย
    ...."

    พระนางพิมพาจึงนับว่าเป็นคู่รักยิ่งกว่าคู่รัก เป็นคู่ครองยิ่งกว่าคู่ครอง เป็นเนื้อคู่ยิ่งกว่าเนื้อคู่ เป็นคู่บารมี และเป็นนางแก้วแห่งพระโพธิสัตว์ ที่สมควรยกย่องบูชา 

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระนางยโสธราพิมพา นางแก้วคู่บารมี
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 10:01:30 pm »
+1
๒. สุมิตตาพราหมณี - ปฐมจิตอธิษฐาน
ที่มา : ยโสธราเถริยาปทานและทีปังกรพุทธวงศ์
ที่มา  http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-02.htm

    ย้อนหลังไปในอดีตกาลล่วงมาได้ ๔ อสงไขยกับเศษแสนมหากัป
    ครั้งนั้น พระนางพิมพาเกิดมาเป็นนางสุมิตตาพราหมณี อาศัยอยู่ในอมรวดีนครอันรุ่งเรือง
    ในครั้งนั้น เป็นพุทธกาลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า พระทีปังกร อันเป็นพระพุทธเจ้าลำดับที่ ๔ ในมหากัปนั้น และเป็นพระพุทธเจ้าลำดับที่ ๔ ใน ๒๘ พระองค์เมื่อนับถึงองค์ปัจจุบัน
    เมื่อพระทีปังกรตรัสรู้แล้ว พระองค์ก็ทรงเผยแผ่พุทธศาสนาอยู่ที่รัมมกนคร
    ครั้งหนึ่ง ชาวนครอมรวดีได้อัญเชิญเสด็จพระทีปังกรพร้อมพระสาวกขีณาสพ ๔ แสนรูปให้มารับมหาทานในนคร ในวันที่พระทีปังกรพุทธเจ้าจะเสด็จพุทธดำเนินมานั้น มหาชนผู้มีศรัทธาจำนวนมากก็พากันมารอรับเสด็จ ได้ช่วยกันถากถางทางและปรับพื้นที่ขรุขระมีน้ำขังให้ราบเรียบ เพื่อให้พระทีปังกรเสด็จดำเนินได้โดยสะดวก

    นางสุมิตตาพราหมณีผู้มีศรัทธา ก็ได้มารอรับเสด็จพระทีปังกรร่วมกับมหาชน ในมือนางถือดอกบัวมา ๘ กำ เตรียมมาเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
    ขณะนั้นเอง นางสุมิตตาพราหมณีก็ได้เห็นดาบสผู้ทรงอภิญญารูปหนึ่ง คือ สุเมธดาบส เหาะมาในนภากาศ สุเมธดาบสมองลงมาเห็นมหาชนมาชุมนุมกันเป็นจำนวนมาก จึงได้ลงมาสอบถาม เมื่อรู้ว่าพระทีปังกรพุทธเจ้ากำลังจะเสด็จดำเนินมาก็มีศรัทธา ขอร่วมในการปรับถนนด้วย ชาวเมืองเห็นว่าท่านสุเมธดาบสเป็นผู้มีฤทธิ์ จึงได้แบ่งงานบริเวณที่เป็นหลุมเป็นแอ่ง และมีน้ำท่วมขังมาก ให้ท่านดาบส
    สุเมธดาบสมีปิติยินดีเป็นอันมากที่จะได้เฝ้าพระพุทธองค์ จึงดำริว่าหากตนใช้ฤทธิ์ปรับถนน แม้งานจะสำเร็จรวดเร็ว แต่ก็ไม่ชื่นใจ ไม่สมกับศรัทธาที่ตนมี จึงได้อดทนขนดินทรายมาถมหลุมบ่อด้วยแรงกายเช่นสามัญชนทั่วไป

 

สุเมธดาบสทอดตัวลงนอนปิดทับแอ่งน้ำนั้น ตั้งใจถวายชีวิตให้พระทีปังกร

    การกระทำของสุเมธดาบสนี้ สร้างความศรัทธาและความชื่นชมแก่นางสุมิตตาพราหมณีที่เฝ้ามองอยู่ยิ่งนัก
    เมื่อสุเมธดาบสยังปรับพื้นที่ไม่เสร็จดี พระทีปังกรพุทธเจ้า พร้อมพระสาวก ๔ แสนรูปก็เสด็จดำเนินมา สุเมธดาบสเห็นไม่ทันการณ์ เพราะยังมีบ่อที่น้ำท่วมขังอยู่ช่วงตัวหนึ่ง จึงตัดสินใจทอดตัวลงนอนปิดทับแอ่งน้ำนั้น ตั้งใจถวายชีวิตให้พระทีปังกรและพระสาวกเดินไปบนแผ่นหลังของตน
    พระทีปังกรพุทธเจ้า เสด็จมายืนอยู่ที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงตรวจสอบดูด้วยพระสัพพัญญุตาญาน ก็รู้ว่าสุเมธดาบสผู้นี้เป็นหน่อเนื้อพระโพธิสัตว์ผู้มีบารมีเต็ม เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ เป็นผู้สร้างสมพุทธการกธรรมมาแล้วถึง ๑๖ อสงไขย สมควรแก่การได้รับลัทธยาเทศได้แล้ว พระองค์จึงได้ทรงประกาศพุทธพยากรณ์ว่า


    "ท่านทั้งหลายจงดูดาบสผู้มีตบะอัน รุ่งเรืองนี้ ดาบสผู้นี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จในที่สุดแห่งสี่อสงไขยกับเศษแสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคตม
    ในอัตภาพนั้นของเขา จักมีนครนามว่า กบิลพัสดุ์ เป็นที่อยู่อาศัย พระมารดาทรงพระนามว่ามายา พระบิดาทรงพระนามว่าสุทโธทนะ พระอุปติสสะเป็นอัครสาวก พระโกลิตะเป็นอัครสาวกที่สอง พระอานนท์เป็นพุทธอุปฐาก พระเขมาเถรีเป็นอัครสาวิกา พระอุบลวรรณาเถรีเป็นอัครสาวิกาที่สอง เขามีญาณแก่กล้าแล้วออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งเเม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑล และจักตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์"

    ชาวเมืองและเทพเทวดาทั้งหลายในที่นั้น เมื่อได้ฟังพุทธพยากรณ์แล้ว ต่างก็กล่าวสาธุการ สนั่นดังไปทั่วทั้งไตรภูมิ
    ขณะนั้นเอง นางสุมิตตา ผู้เห็นเหตุการณ์มาตั้งแต่ต้น ก็เกิดปิติศรัทธาไปกับสุเมธดาบส นางจึงได้แบ่งดอกบัว ๕ กำ ให้สุเมธดาบสใช้บูชาพระพุทธเจ้า ส่วนดอกบัวอีก ๓ กำ นางนำไปถวายพระพุทธเจ้าแทบพระบาทของพุทธองค์ แล้วกล่าววาจาว่า

    "ข้าพระบาทได้แลเห็นท่านดาบสเหาะลงมา จากนภากาศ ช่วยขนดินทรายมาปรับผิวทาง ข้าพระบาทมีความศรัทธาในท่านดาบส เมื่อเห็นท่านดาบสทอดกายเป็นสะพาน ข้าพระบาทยิ่งมีปีติและศรัทธา บัดนี้ พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ท่านดาบสว่า จักได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ข้าพระบาทนี้ยิ่งมีปิติและศรัทธาไปกับท่านดาบสยิ่งนัก ข้าพระบาทขอตั้งความปรารถนา จะเป็นคู่สุข คู่ทุกข์ คู่ยาก ช่วยท่านดาบสสร้างสมบารมีให้สมบูรณ์"

    พระทีปังกรพุทธเจ้าจึงทรงตรวจสอบ นางสุมิตตาพราหมณี ด้วยพระสัพพัญญุตาญาณ แล้วจึงตรัสวาจาพยากรณ์ว่า

    "ดูกรฤาษีผู้ใหญ่ อุบาสิกาผู้นี้ จักเป็นผู้มีจิตเสมอกัน มีกุศลกรรมเสมอกัน ทำกุศลร่วมกัน เป็นที่รักของบุญกรรม เพื่อประโยชน์แก่ท่าน น่าดู น่าชม น่ารัก น่าชอบใจยิ่ง มีวาจาอ่อนหวาน จักเป็นธรรมทายาทผู้มีฤทธิ์ของท่าน ความปรารถนาของอุบาสิกานี้จะสำเร็จตามปรารถนา"

    เหล่ามนุษย์และเทพยดาต่างสาธุการดังก้องขึ้นอีกครั้ง แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำดอกไม้ ๘ กำโปรยบูชาสุเมธดาบส ทรงกระทำประทักษินแล้วดำเนินหลีกไป เหล่าพระขีณาสพทั้งสี่แสนก็บูชาพระดาบสด้วยของหอมและพวงดอกไม้ แล้วดำเนินหลีกไป
    เมื่อพระภิกษุสงฆ์เดินไปหมดแล้ว สุเมธดาบสซึ่งบัดนี้ได้เป็นพระนิยตโพธิสัตว์ผู้เที่ยงแท้ที่จะได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอนตามลัทยาเทศนั้นแล้ว ก็ลุกขึ้นนั่งบนกองดอกไม้ พิจารณาตนเองด้วยอภิญญาญาณ ทบทวนพุทธการกธรรมคือบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ ที่ได้บำเพ็ญเพียรมา เมื่อพิจารณาครบถ้วนสมบูรณ์แล้วก็บังเกิดแผ่นดินสั่นหวั่นไหว แล้วเหล่าเทพเทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุก็ประชุมกัน สักการะด้วยสุคนธมาลัยทิพย์ แล้วกล่าวอำนวยพร
    แล้วสุเมธดาบสก็เหาะกลับไปป่าหิมพานต์ เจริญอภิญญาสมาบัติมิให้เสื่อม เมื่อสิ้นอายุขัยก็ไปอุบัติในพรหมโลก
    ในชาตินี้จึงเป็นชาติสำคัญของพระโพธิสัตว์ และพระนางพิมพาผู้ซึ่งเป็นคู่บารมี เนื่องจากเป็นชาติที่พระโพธิสัตว์ได้รับลัทยาเทศจากพระพุทธเจ้า และพระนางพิมพาก็ได้รับพุทธพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าด้วยเช่นกัน นับจากชาตินี้เป็นต้นไป ทั้งสองจึงได้เกิดมาสร้างสมบุญบารมีต่างๆ ร่วมกันตามที่ได้ตั้งความปรารถนาไว้ นับเป็นบุญบารมีอันยิ่งใหญ่ที่บุคคลทั่วไปทำได้อย่างยากยิ่งนัก 

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระนางยโสธราพิมพา นางแก้วคู่บารมี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 10:08:40 pm »
+1
๒๒. พระนางยโสธราพิมพา - นางแก้วคู่บารมี
ที่มา  http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-22.htm


Buddha_with_wife_and_son.jpg‎
ภาพจาก http://th.wikipedia.org/wiki/พระนางยโสธรา

    ในชาติอันเป็นที่สุดของพระนางพิมพา ผู้เป็นนางแก้วของพระโพธิสัตว์นั้น พระนางเกิดมาเป็นราชธิดาแสนโสภาของพระเจ้าสุปปพุทธะ กษัตริย์กรุงเทวทหะ พระราชมารดามีพระนามว่า พระนางอมิตาเทวี
    พระนางพิมพาประสูติวันเดียวกับเจ้าชายสิทธัตถะ จึงนับเป็น ๑ ในสหชาติทั้ง ๗ ของพระพุทธเจ้าซึ่งประกอบด้วย พระนางพิมพา พระอานนท์ นายฉันนะ กาฬุทายีอำมาตย์ ม้ากัณฑกะ ต้นมหาโพธิ และขุมทรัพย์ทั้งสี่
    พระนางพิมพานั้นมีหลายนาม คือ พิมพา ยโสธรา ยโสธราพิมพา ภัททา กัจจานา และภัททากัจจานา


 

พระนางพิมพาก็ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ

    เมื่อพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา พระนางพิมพาก็ได้อภิเษกสมรสกับเจ้าชายสิทธัตถะ และทรงพระเกษมสำราญร่วมกันในปราสาท ๓ ฤดู ที่พระเจ้าสุทโธทนะทรงสร้างให้ เพื่อหน่วงเหนี่ยวไม่ให้เจ้าชายสิทธัตถะออกบวชตามคำทำนายของโหราจารย์
    แต่ครั้นเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา ได้เห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช ทำให้เริ่มรู้สึกสังเวชในความทุกข์ที่สรรพสัตว์ต้องประสบ ยิ่งเมื่อเสด็จกลับมาพระราชวัง ได้เห็นเหล่านางในนอนหลับกลิ้งเกลือกดังซากศพ พระองค์ก็ยิ่งรู้สึกเบื่อหน่ายมากยิ่งขึ้น
    ขณะนั้น เป็นเวลาเดียวกันกับที่พระนางพิมพาประสูติพระโอรส นามว่า ราหุล เจ้าชายสิทธัตถะเห็นทุกข์ภัยของสังสารวัฏฏ์ จึงได้ตัดสินใจเสด็จหนีไปออกบรรพชาเพื่อค้นหาวิธีทำลายชาติภพให้ได้
    หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวชแล้ว พระนางพิมพา ผู้ซึ่งเป็นคู่รักคู่บารมีติดตามข้ามภพข้ามชาติกันมานานแสนนาน มีจิตผูกพัน และมีความรักอันลึกซึ้งต่อพระองค์ พระนางไม่อาจหักห้ามความรักและความอาลัยที่มีต่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ จึงได้คอยติดตามถามข่าวคราวของพระสวามีของพระนางอยู่เสมอ
    แม้ความเชื่อในยุคนั้น การที่หญิงไม่มีสามีจะถือว่าไม่มีเกียรติ และหญิงนั้นสามารถมีสามีใหม่ได้ แต่พระนางพิมพาก็ไม่สนใจชายใดอีกเลย พระนางยังคงเฝ้ารอพระสวามีของพระนางเพียงพระองค์เดียว

    คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด พระนางก็เปลี่ยนชุดทรงมานุ่งห่มผ้าย้อมฝาดด้วย
    คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงบรรทมบนพื้นไม้ พระนางก็บรรทมบนพื้นไม้ได้วย
    คราใดที่พระนางได้ยินข่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะทรงอดพระกระยาหาร พระนางก็ทรงอดพระกระยาหารด้วย
    ไม่ว่าจะได้ข่าวว่าพระสวามีปฏิบัติตนอย่างไร พระนางพิมพาก็ปฏิบัติตนเยี่ยงนั้น

    เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะออกบรรพชาได้ ๖ ปี พระองค์ก็ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเสด็จไปสั่งสอนพุทธบริษัทอยู่ที่กรุงราชคฤห์ พอย่างเข้าสู่พรรษาที่ ๒ พระเจ้าสุทโธทนะก็ส่งอำมาตย์พร้อมราชบริพารไปทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้ากลับ นครกบิลพัสดุ์ แต่บรรดาอำมาตย์ทั้งหลายกลับไปฟังธรรมและออกบวชเสียทั้งหมด พระเจ้าสุทโธทนะต้องส่งอำมาตย์ไปอีกหลายคณะ จนถึงคณะ ๑๐ พระองค์ได้ส่ง กาฬุทายีอำมาตย์ ผู้ซึ่งเป็นสหชาติ ให้ไปทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าพร้อมกำชับว่าอย่างไรก็ต้องอัญเชิญเสด็จพระ พุทธองค์มาให้ได้
    กาลก่อนๆ นั้น บรรดาอำมาตย์ที่ออกบวชล้วนแล้วแต่ได้บรรลุอรหันต์ทั้งสิ้น จึงได้ปล่อยวางกิจทางโลก ไม่ได้ทูลเชิญเสด็จพระพุทธเจ้าตามรับสั่งของพระเจ้าสุทโธทนะ ส่วนกาฬุทายีอำมาตย์นั้นแม้จะบวชเหมือนคนอื่นๆ แต่ก็ไม่ลืมภาระกิจที่ได้รับมอบหมายมา จึงได้กราบทูลพระพุทธองค์เรื่องที่พุทธบิดาขออาราธนาให้เสด็จนิวัติกบิลพัส ดุ์นคร ซึ่งพระพุทธองค์ก็ได้นำพระอรหันต์ขีณาสพจำนวนมาก เสด็จไปโปรดพระประยูรญาติที่นครกบิลพัสดุ์

    พระพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จมาถึงกรุงกบิลพัสดุ์พร้อมพระสาวก และออกบิณฑบาตอยู่ในพระนคร พระนางพิมพาทอดพระเนตรเห็นพระพุทธองค์เที่ยวเสด็จบิณฑบาตอยู่ จึงไปกราบทูลให้พระเจ้าสุทโทธนะทรงทราบ พระเจ้าสุทโทธนะจึงนิมนต์พระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารในพระราชวัง
    วันแรก พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมโปรดพุทธบิดาและพระประยูรญาติทั้งหลายในกรุงกบิล พัสดุ์ที่พร้อมใจกันมาเข้าเฝ้ารับฟังธรรม ยกเว้นแต่เพียงพระนางพิมพาและเหล่านางสนมกัญญาที่เก็บตัวอยู่ในตำหนัก ด้วยความรู้สึกทั้งรักและน้อยพระทัยว่าพระพุทธองค์เสด็จกลับมาแล้วก็ควร เสด็จมาหาพระนางที่เฝ้ารอคอยอยู่ถึง ๘ ปี

 

พระนางพิมพาได้พบกับพระพุทธองค์ พระนางก็เข้ามากอดพระบาทร่ำไห้รำพัน

    วันที่สอง เมื่อพระพุทธเจ้ารับภัตตาหารในพระราชวังเสร็จแล้ว พระองค์จึงเสด็จไปโปรดพระนางพิมพาในตำหนัก เมื่อพระนางพิมพาได้พบกับพระพุทธองค์ พระนางก็เข้ามากอดพระบาทร่ำไห้รำพันอย่างน่าสงสาร แต่พระพุทธองค์ก็ทรงเทศนาให้พระนางดำรงสติไว้ได้

พระราหุลแสดงความรักซาบซึ้งในพระพุทธองค์ผู้เป็นบิดา จนลืมทูลขอราชสมบัติ

    เมื่อพระพุทธเจ้าทรงเทศนาโปรดพระประยูรญาติแล้ว พระนางพิมพาก็รับสั่งให้ราหุลราชโอรสตามเสด็จพระพุทธเจ้าเพื่อทูลขอราช สมบัติ พระพุทธเจ้าจึงทรงบรรพชาราหุลเป็นสามเณรและให้เสด็จติดตามพระองค์ไปด้วย นอกจากจะเสียพระสวามีไปแล้ว พระนางพิมพาจึงเสียโอรสไปอีกองค์
    พระนางพิมพายังคงอยู่ในตำหนักต่อมาอีก ๓ ปี พระเจ้าสุทโธทนะก็เสด็จสวรรคต เมื่อจัดงานพระบรมศพเสร็จ และทำพิธีให้เจ้าชายมหานามะขึ้นครองราชย์สมบัติสืบแทนเรียบร้อยแล้ว พระนางพิมพาจึงนำนางกัญญา ๑,๑๐๐ คน ออกบรรพชาในสำนักของพระมหาปชาบดีเถรี เมื่อบวชแล้วได้ชื่อว่า ภัททากัจจานาเถรี
    พระภัททากัจจานาเถรีได้รับกรรมฐานจากพระพุทธเจ้า เมื่อเจริญวิปัสสนาได้ไม่ทันถึง ๑๕ วัน ก็บรรลุอรหัตผล
    เนื่องจากพระกัจจานาเถรีนั้นเป็นผู้บำเพ็ญบารมีมานานกว่าพระอัคร สาวก และพระสาวกองค์ใดๆ จึงเป็นผู้ช่ำชองในอภิญญาทั้งหลาย ขณะที่พระอรหันต์อื่นๆ สามารถระลึกชาติได้เพียงแสนมหากัป แต่พระกัจจานาเถรีนั้นมีความคล่องแคล่วในอภิญญามาก นั่งขัดสมาธิเพียงครั้งเดียวก็สามารถระลึกชาติได้ถึงอสงไขยแสนกัป พระพุทธเจ้าจึงทรงแต่งตั้งให้เป็นเอตทัคคะผู้ทรงอภิญญาใหญ่

    พระภัททากัจจานาเถรีเสด็จเข้าสู่นิพพาน เมื่อมีพระชนมายุได้ ๗๘ ปี ทรงกระทำชาติ ชรา มรณะ และสังสารวัฏฏ์ให้สิ้นสุดลงได้ หลังจากเป็นนางแก้วติดตามเป็นคู่รักคู่บารมีพระโพธิสัตว์มานานถึง ๔ อสงไขย กับเศษแสนมหากัป 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 22, 2010, 10:26:30 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: พระนางยโสธราพิมพา นางแก้วคู่บารมี
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 10:20:44 pm »
+1
๒๓. คู่รัก-คู่บารมี
ที่มา  http://angkarn.siamtapco.com/book/book02-23.htm
 
คู่บารมี

พระนางพิมพาและพระโพธิสัตว์นั้น ทรงเกิดมาเป็นคู่รักและเป็นคู่ครองกันมานับอเนกอนันต์ชาติ ผ่านความสุขและทุกข์ภัยของสังสารวัฏฏ์มาด้วยกันมากมายนับชาติไม่ถ้วน มีพบมีพลัดพรากจากกันเป็นธรรมดา แต่เมื่อใดที่ได้เกิดมาร่วมกัน ก็ส่งเสริมกันในการสร้างสมบุญบารมีโดยไม่ย่อท้อด้วยจิตที่เสมอกัน มีความผูกพัน ไม่โกรธไม่เคือง ไม่มีแม้เพียงสายตาที่ทอดดูกันด้วยความไม่พอใจ
ทั้งสองได้เป็นคู่ครองกันมาจนถึงชาติอันเป็นที่สุด ซึ่งพระโพธิสัตว์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และพระนางพิมพาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
นับว่าทั้งสองพระองค์เป็น คู่บารมี กันอย่างแท้จริง



เหตุชักนำให้หญิงชายมีใจรักกัน
 
ก่อนที่หญิงชายจะมีปณิธานอันยิ่งใหญ่ร่วมกัน เป็นคู่บุญบารมีกันได้นั้น ต้องผ่านความรู้สึกและความผูกพันด้วยความรักกันมาก่อน
แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่าเหตุใดเล่า
บางคนบางคู่ เห็นหน้ากันเพียงครั้งเดียวก็หลงรักกัน
บางคนบางคู่ รู้จักศึกษานิสัยใจคอกันพอสมควร จึงเกิดความรัก
บางคนบางคู่ ได้เกื้อหนุนจุนเจือกัน นานไปก็เกิดเป็นความรัก
บางคนบางคู่ สนิทสนมกลมเกลียวเป็นเพื่อนเล่นกันมาแต่เด็กแต่น้อย แล้วจึงค่อยแปรเปลี่ยน เป็นความรักเมื่อโตเป็นหนุ่มเป็นสาว
บางคนบางคู่ ได้สมหวังในความรัก ขณะที่บางคู่กลับต้องเลิกรา
บางคน ได้แต่หลงรักเขาข้างเดียว แต่เขาไม่เคยมีใจรักตอบ
บางคน เขามาชอบ พยายามทอดสะพานให้เรา แต่กลับไม่สนใจ

ขณะที่บางคน ทั้งชีวิตกลับเงียบเหงา ไม่เคยมีลมรักพัดผ่านมาให้ชื่นใจเลย แม้แต่เพียงครั้งเดียว
ดูแล้วความรักของหญิงชายนี้ช่างวุ่นวายนัก จนน่าสงสัยว่ามีเหตุอะไรที่ทำให้หญิงชายมารักกัน หรือมีเหตุอะไรที่ทำให้หญิงชายนั้นไม่รักกัน

มีผู้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าเรื่องความรักของหญิงชาย ปรากฎในสาเกตชาดกที่ ๗ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ว่า

"ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เหตุไรหนอ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าก็เฉยๆ หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้า จิตก็เลื่อมใส"
พระพุทธองค์จึงทรงแสดงเหตุที่ทำให้หญิงชายรู้สึกรักกันไว้ ดังนี้
"ความรักนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑ ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน ๑ เหมือนดอกอุบลและชลชาติ เมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ น้ำและเปือกตม ฉะนั้น"

ในพระอรรถกถาพระไตรปิฎกขยายความว่า ความรักของหญิงชายนั้นเกิดขึ้นได้ด้วยเหตุสองประการ คือ

๑. การได้เคยอยู่ร่วมกันมาในกาลก่อน เคยเป็นมารดาบิดา ธิดาบุตร พี่น้องชาย พี่น้องหญิง สามีภรรยา หรือเคยเป็นมิตรสหายกัน เคยอยู่ร่วมเคียงกันมา ความรักความผูกพันนั้นย่อมไม่ละ คงติดตามไปแม้ในภพอื่น

๒. ความเกื้อกูลช่วยเหลือกันในชาติปัจจุบัน
ความรักย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสองประการนี้



สารพัดคู่

หญิงชายที่รักกัน และมีความสัมพันธ์กัน เรียกว่าเป็นคู่กัน ลักษณะการเป็นคู่ของหญิงชายนั้นมีได้หลายแบบ คือ

คู่รัก ได้แก่คู่หญิงชายที่มีใจรักสมัครสมาน ปฏิบัติต่อกันในฐานะคู่รัก แต่ยังไม่ได้เป็นสามีภรรยากัน
 
คู่ครอง คือ หญิงชายที่ได้ตกลงอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยากันในชาติภพปัจจุบัน

เนื้อคู่ คือ หญิงชายที่เคยเป็นคู่ครองกันมาในอดีตชาติ แต่ในชาติภพปัจจุบันอาจเป็นหรือไม่ได้เป็นคู่ครองกันก็ได้

คู่แท้ คือ หญิงชายที่เป็นเนื้อคู่กัน เคยอยู่ร่วมกันในอดีตมามากกว่าคนอื่นๆ หญิงชายแต่ละคนอาจมีคู่แท้ได้หลายคน และเช่นเดียวกับเนื้อคู่ คือ คู่แท้อาจจะไม่ได้เป็นคู่ครองกันในชาติปัจจุบันก็ได้ หากทั้งสองฝ่ายไม่ได้มาเกิดร่วมกัน หรือทั้งสองฝ่ายมีวิบากจากถูกอกุศลกรรมมาตัดรอน

คู่เวรคู่กรรม คือ หญิงชายที่ได้เป็นคู่ครองกันในปัจจุบัน แต่เนื่องจากเหตุที่ทำให้ต้องมาครองคู่กันนั้นเกิดจากเคยทำอกุศลกรรมร่วมกัน ไว้ในอดีต จึงต้องมารับวิบากกรรมร่วมกัน หรือเคยอาฆาตพยาบาทกันมาก่อนในอดีต จึงต้องมาอยู่ร่วมกันเพื่อแก้แค้นกันตามแรงพยาบาทนั้น คู่ประเภทนี้มักจะมีเหตุให้มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งกัน ขัดอกขัดใจกัน อยู่ด้วยกันด้วยความทุกข์และเดือดร้อน หาความสุขไม่ได้

คู่บารมี คือ หญิงชายที่เป็นเนื้อคู่กัน เคยอยู่เป็นคู่ครองกันมากมากกว่าคู่อื่น และมีความตั้งใจที่จะเกื้อหนุนเป็นคู่ครองกันไป จนกว่าคู่ของตนจะได้สำเร็จในธรรมที่ปรารถนา ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ดังเช่นคู่ของพระโพธิสัตว์กับพระนางพิมพา



การปฏิตนเพื่อให้เป็นคู่ครองที่มีความสุข

หญิงและชายที่รักกัน คงปรารถนาที่จะให้คนรักของตนเป็นเนื้อคู่ที่เคยอยู่ร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน และคงอยากให้ความรักของตนมีแต่ความสุขตลอดไป แต่ความปรารถนาเช่นนี้ใช่ว่าจะสำเร็จสมความปรารถนาในทุกคู่รัก เพราะบางคู่อาจมีการพลัดพราก ความรักจืดจาง จากหวานกลายเป็นขม บางคู่แม้จะยังรักกัน แต่การทำมาหากินกลับฝืดเคือง ชีวิตมีแต่อุปสรรค เหล่านี้ล้วนแต่เป็นทุกข์ที่เกิดเพราะความรัก เป็นวิบากที่เกิดจากอกุศลกรรมเก่าทั้งสิ้น

หากหญิงและชายปรารถนาที่จะมีความรักและชีวิตที่ครอบครัวที่เป็นสุข จะต้องเป็นผู้ไม่สร้างอกุศลกรรม ดังนี้

๑. มีความมั่นคงในคู่ครองของตน ไม่เจ้าชู้หลายใจ ไม่ทำให้คู่ของตนผิดหวังชอกช้ำใจ โดยเฉพาะต้องมีสติมั่นคงเมื่อได้มีโอกาสได้พบกับเนื้อคู่คนอื่นๆ ที่อาจผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งการได้เคยอยู่ร่วมกันในกาลก่อนอาจทำให้จิตใจหวั่นไหวได้

๒. ไม่เป็นเหตุให้คู่ครองเขาต้องแตกแยกด้วยความอิจฉา ริษยา
 
๓. ไม่ล่วงศีลข้อ ๓
 
๔. ไม่ปรามาสพระอรหันต์ ดังหลักฐานปรากฎในพระไตรปิฎกว่าคนที่ปรามาสพระอรหันต์หญิงมักได้รับเศษกรรมในเรื่องของคู่ครอง



สัญญานคู่แท้

เนื่องจากคู่แท้ คือ คนที่เป็นเนื้อคู่กันมานานแสนนาน ความรักความผูกพันข้ามภพชาติจึงมีมากเหนือคู่แบบอื่น และอาจมีอธิษฐานร่วมกันมาแล้วในอดีตชาติ จึงพอจะสังเกตได้ว่าใครเป็นคู่แท้คู่บารมี

ลักษณะอาการที่แสดงเมื่อคู่บารมีมาพบกัน เช่น
เมื่อแรกพบก็รู้สึกคุ้นเคย อาจจำกันได้ อาจจะไม่รู้สึกว่ารักตั้งแต่แรกพบ แต่มีรู้สึกว่าผูกพันกันมากกว่า
ไม่ว่าทำสิ่งใดก็มักคล้อยตามกัน มีความคิดลงรอยกันมากกว่าปกติ
แม้อยู่ห่างไกลกัน ต่างจังหวัด ต่างบ้านต่างเมือง ก็มีเหตุชักนำให้ได้มาพบกันแบบแปลกๆ ด้วยหน้าที่การงาน ด้วยเหตุบังเอิญ หรือแม้แต่มีผู้ใหญ่จัดสรรให้ได้พบกันก็มี
หากมีกรรมพลัดพรากเป็นเหตุให้ทั้งคู่ยังไม่ได้พบกัน อีกฝ่ายจะมีความรู้สึกเหมือนรอคอยใครสักคนที่ไม่รู้ว่าเป็นใคร แม้มีหญิงชายมากมายผ่านเข้ามาในชีวิต ก็ไม่ได้มีจิตคิดผูกพันกับใครอย่างจริงจัง อาจมีบ้างที่มีรักมีสัมพันธ์กับใครไปก่อน แต่มักมีเหตุให้เลิกราหย่าร้างกันไปด้วยจิตใจที่รอคอยใครสักคนที่เป็นคู่แท้ ของตน
และหากได้พบกับคู่แท้ของตนแล้ว แต่มีวิบากจากอกุศลกรรมอันเป็นกรรมพลัดพรากมาตัดรอน เป็นเหตุให้ต้องจากกันในภายหลัง แม้จะจากกันไปนานแสนนานนับสิบๆ ปี ก็ไม่อาจลืมกันได้


การตั้งความปรารถนาจะพบกันในชาติภพต่อไป

หญิงชายแต่ละคนนั้นต่างผ่านทุกข์ภัยของสังสารวัฏฏ์มานานแสนนาน ต่างผ่านการครองคู่มานับครั้งไม่ถ้วน แต่ละคนจึงมีเนื้อคู่มากมาย เป็นแสนเป็นล้านคน บางคนเป็นคู่กันแล้วก็มีความสุข อยากพบเจอและได้อยู่เป็นคู่กันอีกในชาติภพต่อไป แต่บางคนก็เบื่อหน่ายไม่ถูกใจคู่ของตน ไม่ปรารถนาจะกลับมาพบเจอกันอีก

เหตุที่จะทำให้คู่หญิงชายมีโอกาสได้อยู่ร่วมกันในชาติภพต่อไปนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเหตุปัจจัยไว้ในสมชีวิสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต ดังนี้
"ดูกร คฤหบดีและคฤหปตานี ถ้าภรรยาและสามีทั้งสองหวังจะพบกันและกันทั้งในปัจจุบันทั้งในสัมปรายภพไซร้ ทั้งสองพึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกัน ภรรยาและสามีทั้งสองนั้น ย่อมได้พบกันและกันทั้งในปัจจุบัน ทั้งในสัมปรายภพ

ภรรยาและสามีทั้งสองเป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์ของผู้ขอ มีความสำรวม เป็นอยู่โดยธรรม เจรจาคำที่น่ารักแก่กันและกัน ย่อมมีความเจริญรุ่งเรืองมาก มีความผาสุก ทั้งสองฝ่ายมีศีลเสมอกัน รักใคร่กันมาก ไม่มีใจร้ายต่อกัน ประพฤติธรรมในโลกนี้แล้ว ทั้งสองเป็นผู้มีศีลและวัตรเสมอกัน ย่อมเป็นผู้เสวยกามารมณ์ เพลิดเพลินบันเทิงใจอยู่ในเทวโลก"

ดังนั้น เมื่อหญิงชายปรารถนาจะได้พบกัน เป็นคู่ครองกันอีกในชาติภพต่อๆ ไป หญิงชายทั้งสองนั้นต้องปฏิบัติตามพุทธพจน์ และมีการตั้งจิตปรารถนา ดังนี้


๑. รักษาศีลให้เสมอกัน
บุคคลที่มีศีลเสมอกันย่อมอยู่ร่วมกันได้ในปัจจุบัน เมื่อสิ้นชีวิตแล้วก็สามารถไปเสวยกรรมดีร่วมกัน แต่หากฝ่ายหนึ่งทรงศีล แต่อีกฝ่ายทุศีล ฝ่ายหนึ่งย่อมไปสู่สุคติภูมิ ส่วนอีกฝ่ายต้องไปสู่อบายภูมิ โอกาสที่จะได้กลับมาพบกันนั้นยากยิ่งนัก

๒. ให้ทานและยินดีในการบริจาคเสมอกัน
หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดให้ทานและบริจาค แต่อีกฝ่ายไม่ชอบใจ ก็จะเกิดความขัดแย้ง ไม่ลงรอยกัน นำไปสู่ความบาดหมาง และเอาใจออกห่างกันในที่สุด

๓. ทำปัญญาให้เสมอกัน
การทำปัญญาให้เสมอกัน มีการปฏิบัติสมาธิภาวนา จะทำให้ทั้งสองมีความเข้าใจในโลกธรรมเสมอกัน มีความเข้าใจในสุขและทุกข์จากการอยู่ร่วมกัน และยอมรับกันได้

๔. ตั้งจิตอธิษฐาน
อธิษฐานนั้นมีผล ทั้งอธิษฐานที่เป็นกุศลและอกุศล การอธิษฐานเป็นเหมือนการตั้งหางเสือเรือ ทำให้เรือมุ่งหน้าสู่จุดหมายที่กำหนดไว้ ในการครองคู่ก็เช่นกัน อธิษฐานจะเป็นตัวชักนำให้หญิงชายได้กลับมาพบกัน และได้ครองคู่กันได้ในที่สุด ดังเช่น อธิษฐานของสุมิตตาพราหมณี ซึ่งอธิษฐานเป็นคู่บารมีให้พระโพธิสัตว์ จากนั้นมาอีกหลายชาติ ทั้งสองก็ต้องใช้เวลาปรับศีล ทาน และปัญญา ให้มาเสมอกัน และได้เป็นคู่บารมีกันสมคำอธิษฐานนั้น



การปรารถนาเป็นคู่บารมี

หญิงชายที่ปรารถนาเป็นเนื้อคู่กันตลอดไปนั้น สามารถทำได้ไม่ยาก เพียงร่วมกันปฏิบัติตนให้มี ศีล ทาน และปัญญา ให้เสมอกัน และมีอธิษฐานร่วมกันเป็นหลักชัย

แต่การเป็นคู่บารมีนั้นหมายถึงฝ่ายหนึ่งเป็นพระโพธิสัตว์ มีความปรารถนาเอกอุในการบำเพ็ญพุทธการกธรรมเพื่อจะได้ตรัสรู้เป็นพระ พุทธเจ้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลาสร้างสมบารมียาวนานอย่างเร็วสุดถึง ๒๐ อสงไขยกับเศษแสนกัป และอย่างช้าต้องเนินนานถึง ๘๐ อสงไขยกับเศษแสนกัป ซึ่งเป็นกาลเวลาที่ยาวนานมาก
 
แต่การสร้างสมบารมีของบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น ใช้เวลาประมาณ ๑ แสนกัป ก็มีบุญบารมีมากพอที่จะบรรลุธรรม และหลุดพ้นจากสังสารวัฏฏ์นี้ไปได้ การผูกพันเป็นคู่บารมีจึงเป็นการผูกมัดตนเองไม่ให้มีโอกาสได้บรรลุธรรม แม้จะได้มีโอกาสได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าเป็นแสนเป็นล้านองค์
นอกจากนี้ การเป็นคู่บารมียังต้องพบกับความทุกข์ยากนานับประการ ดังเช่นที่พระนางพิมพาได้ประสบตลอดเวลายาวนานถึง ๔ อสงไขยกับเศษแสนกัป
ดังนั้นการจะอธิษฐานติดตามเป็นคู่บารมีพระโพธิสัตว์สักองค์หนึ่ง จึงควรไตร่ตรองให้ดีว่าไม่ใช่อธิษฐานด้วยเหตุเพราะความรักและตัณหา แต่ต้องประกอบไปด้วยความรักและความศรัทธาอย่างแรงกล้าต่อพระโพธิสัตว์องค์ นั้น นอกจากนี้ยังต้องมีน้ำใจสงสารและอยากช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นกองทุกข์ และมีกำลังใจเข้มแข็งเท่าเทียมกับพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งเช่นกัน

________________________________________
ขอนอบน้อมบูชา
แด่สตรีทุกคนที่มีกำลังใจเสมอพระโพธิสัตว์
และปรารถนาเป็นคู่บารมี
เพื่อช่วยพระโพธิสัตว์สร้างสมพุทธการกธรรม
เพื่อความบรรลุพระโพธิญาน ได้ช่วยเหลือสรรพสัตว์ข้ามทะเลทุกข์ในอนาคตกาล
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พระนางยโสธราพิมพา นางแก้วคู่บารมี
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 22, 2010, 10:26:09 pm »
0
อนุโมทนาในการให้ความรู้ครับ
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระนางยโสธราพิมพา นางแก้วคู่บารมี
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2010, 12:57:47 am »
0
เชิญอ่าน นางแก้ว คู่บารมีเจ้าชายสิทธัตถะ ผู้สำเร็จมหาอภิญญา

 :25: :25:

บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

pichai

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ชีวิตเราถูกกำหนด ไว้อย่างนี้
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2010, 08:57:54 am »
0
อ้างถึง
"ท่านทั้งหลายจงดูดาบสผู้มีตบะอัน รุ่งเรืองนี้ ดาบสผู้นี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จในที่สุดแห่งสี่อสงไขยกับเศษแสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคตม
    ในอัตภาพนั้นของเขา จักมีนครนามว่า กบิลพัสดุ์ เป็นที่อยู่อาศัย พระมารดาทรงพระนามว่ามายา พระบิดาทรงพระนามว่าสุทโธทนะ พระอุปติสสะเป็นอัครสาวก พระโกลิตะเป็นอัครสาวกที่สอง พระอานนท์เป็นพุทธอุปฐาก พระเขมาเถรีเป็นอัครสาวิกา พระอุบลวรรณาเถรีเป็นอัครสาวิกาที่สอง เขามีญาณแก่กล้าแล้วออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งเเม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑล และจักตรัสรู้ที่โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์"

ถ้าใครได้อ่านคำพยากรณ์ แล้ว ผมว่าอันที่จริง การกระทำของเรานั้นก็เป็นแค่กรรมอันประกอบกับ
สิ่งที่ถูกกำหนดไว้ั

เหมือนสุเมธดาบสถูกกำหนด ให้เป็นพระพุทธเจ้า พระนามว่า โคดม มีพระบิดาพระนามว่า สุทโทธนะ เป็นต้น
ถ้าิพิจารณาให้ดีแล้ว อนาคตเหมือนถูกกำหนดให้เป็นดังนี้

อีกอย่าง สุเมธดาบสนั้น ได้บำเพ็ญบารมีมาแล้ว 16 อสงไขย ได้สมาบัติ พร้อมด้วยบารมี แต่สุดท้าย
ก็ยังไปบำเพ็ยเป็นพระโพธิสัตว์ เกิดเป็น สัตว์บ้าง คนบ้าง อีก 4 อสงไขยชาติ แสนมหากัป

เพื่อนๆ อ่านแล้วพิจารณาให้ดีนะครับ จะเห็นว่าชีวิตของเรานั้นเหมือนถูกกำหนดไว้ให้ในเหตุปัจจัย อย่างนี้ครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: พุทธบารมี เหนี่ยวนำทำดี อย่าท้อ !
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2010, 02:41:38 pm »
0


       เหตุเพราะทุกข์เป็นของเรา เหนื่อยหน่ายหนักก็ต้องแบกรับเอง หาใครอื่นร่วมได้ไม่ เมื่อพิจารณาเห็นได้อย่าง

นี้แล้ว จึงน้อมนำใจไปหาสิ่งยึดเหนี่ยว เกาะเกี่ยวให้เกิดสุข และก็พานพบปิติสุขได้ในความค้นแห่งการกระทำอัน

หาได้ยากของพระโพธิสัตว์ ด้วยจิตน้อมนำเอาว่า จักมีใครที่ยังความปรารถนาแห่งกิจเพียงลำพังผู้เดียวเที่ยวเวียน

วนทุกข์ทนหวังเพียงเพื่อประโยชน์สุขแห่งมวลสรรพสัตว์อื่น สละได้แม้ชีพ เลือด เนื้อ แทนความทุกข์ทนแห่งสัตว์

อื่น อันหาที่สุดแห่งกาลจบสิ้นได้ยากเยื่องนี้


      ในคราที่ผมท้อแท้ทุกข์ทนเมื่อได้อ่านได้ฟัง การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์แล้ว รู้สึกมีปิติกำลังใจทุกครา

ไป แม้จะเหลียวแลหาเห็นเพื่อนแท้ไม่มี หาเห็นแบบอย่างคนดีคนจริงที่ยอมรับนับถือได้ยาก ก็จะระลึกนึกถึงการ

บำเพ็ญบารมีแห่งพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่างให้ต่อสู้ก้าวเดินในหนทางกรรมดีต่อให้ได้ ควานหาแบบอย่างที่เรา

ชอบมายึดเหนี่ยวจิตใจไว้ แล้วมองไปข้างหน้าอย่างหัวใจที่ไม่ยอมแพ้.....สวัสดี


ถ้าคุณ...ยอมทิ้งความรัก ความฝัน ความหวัง เพียงเพื่อธรรม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 17, 2010, 03:33:41 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

หลวงพี่เฉย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 88
  • Respect: +17
    • ดูรายละเอียด
Re: พระนางยโสธราพิมพา นางแก้วคู่บารมี
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: ตุลาคม 17, 2010, 09:55:13 pm »
0
up
บันทึกการเข้า
"ขอให้รวยโดยฉับพลัน!!!...ทุกท่านเทอญ"   วรธมฺโมภิกฺขุ (หลวงพี่เฉย)

ปักษาวายุ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 96
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: พระนางยโสธราพิมพา นางแก้วคู่บารมี
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2010, 06:58:49 am »
0
อ่านแล้ว มีกำลัีงใจ ดีครับ
 :25:
บันทึกการเข้า