ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผลแห่งการมีศีล จาก นิทาน เรื่อง นี้ไม่รู้ว่า อยู่ในพระไตรปิฏกหรือไม่ ?  (อ่าน 11365 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

การรักษาศีลให้บริสุทธิ์แม้เพียงข้อเดียวก็ส่งผลให้มหาศาล  แต่ถ้ารักษาให้ได้ ๕ ข้อยิ่งดีไปใหญ่  ดังเรื่องของชายหนุ่มผู้หนึ่งมีอาชีพรับจ้างเป็นคนสวนในบ้านของเศรษฐีคนหนึ่ง  เศรษฐีคนนี้ต้องเดินทางไปต่างแดนบ่อยๆ เพื่อติดต่อการค้า  อยู่มาวันหนึ่ง  ท่านเศรษฐีจำเป็นต้องไปต่างแดนหลายวัน  จะพาเมียสาวไปด้วยก็ไม่สะดวก  จะให้อยู่บ้านคนเดียวก็กลัวจะมีภัยจากโจรร้าย  จึงให้คนสวนมานอนค้างที่บ้านให้เป็นเพื่อนของภรรยา
ภรรยาสาวของเศรษฐีเห็นหน้าหนุ่มคนสวนก็มีใจรักใคร่  ตัวเองก็ยังสาวและสวยอยู่  ชายหนุ่มก็แข็งแรง  ผิดกับท่านเศรษฐีที่มีอายุมากแล้ว  ดังนั้นภรรยาเศรษฐีจึงพยายามยั่วยวนให้ชายหนุ่มหลงใหล  แต่ชายหนุ่มไม่เล่นด้วย ที่สุดก็วางแผนให้ชายหนุ่มมากินข้าวในบ้าน  โดยอ้างเหตุผลสารพัดและมีการดื่มเหล้าด้วย  เพื่อต้องการให้ชายหนุ่มเมาขาดสติ  ก็ได้ช่องสบโอกาสยั่วยวนให้ชายหนุ่มหลงไหล  เพื่อตอบสนองความต้องการทางเพศของตน


ฝ่ายเศรษฐีมีความคิดถึงเมียสาวว่าจะอยู่อย่างไร  จึงกลับมาที่บ้านอย่างเงียบๆ  เพื่อไม่ต้องการให้ใครรู้  เศรษฐีได้แอบดูพฤติการณ์ของเมียสาวโดยตลอด


ข้างเมียสาวจะยั่วยวนอย่างไรก็ไม่เป็นผล  ที่จะทำให้ชายหนุ่มตกบ่วงเสน่หาของตนได้  แม้ชายหนุ่มจะดื่มเหล้าไป  แต่ยังมีสติพอที่จะไม่ล่วงเกินภรรยาสาวของเศรษฐี  พยามยามอดทนอดกลั้นจนรอดจากการทำผิดศีลกาเมฯได้


เศรษฐีแอบดูอยู่จนมั่นใจว่า  ชายหนุ่มผู้นี้อย่างไรเสียก็ไม่ยอมเป็นชู้กับภรรยาของตนได้  จึงกลับไปติดต่อการค้าให้สำเร็จเรียบร้อย  เมื่อเสร็จภารกิจแล้วจึงกลับมาบ้านด้วยความสุข  ชาวบ้านต่างซุบซิบนินทาว่าท่านเศรษฐีถูกสวมเขา  ภรรยามีชู้กับชายหนุ่มคนสวน  เศรษฐีจึงเรียกให้ทุกคนมาพร้อมหน้ากัน  และเริ่มไต่สวนความจริงทั้งหมด  ภรรยายอมรับว่าทำจริงแต่ไม่สมหวังเพราะชายหนุ่มใจแข็งมาก  ส่วนชายหนุ่มก็รับว่าจริงตามคำของภรรยาเศรษฐี


                   เศรษฐีถามชายหนุ่มว่า  ทำไมจึงไม่คิดที่จะลวนลามภรรยาของข้าบ้าง  นางมีอะไรไม่ดีตรงไหนเหรอ  หรือว่าเจ้าไม่มีน้ำยา  ชายหนุ่มตอบไปว่า  ข้าพเจ้าเป็นคนสวนบางครั้งต้องฆ่าสัตว์ตัดชีวิตบ้าง  บางครั้งก็ดื่มเหล้า  ทำให้ศีลของข้าพเจ้าไม่บริสุทธิ์  เรื่องลักเล็กขโมยน้อยข้าพเจ้าไม่เคยทำ  เรื่องโกหกข้าพเจ้าไม่เคยพูด  คำหยาบก็พูดอยู่บ้างเพราะพูดไม่ค่อยเป็น  เพราะข้าพเจ้าเป็นคนบ้านนอกไม่ค่อยได้เรียนหนังสือ  แต่ข้าพเจ้าก็ไม่เคยทำผิดลูกเมียใคร  แม้จะดื่มเหล้าแต่ไม่เคยเมาควบคุมสติไม่ได้  ข้าพเจ้ายึดศีลข้อกาเมฯนี้ตลอดชีวิต

               เศรษฐีกล่าวว่าข้าเชื่อถือเจ้า   เพราะข้าเคยกลับบ้านมาและแอบดูการกระทำของพวกเจ้าโดยตลอด  ประเสริฐนักที่จะมีชายหนุ่มถูกยั่วยวนถึงขนาดนี้แล้วยังทนอดกลั้นอยู่ได้  แล้วท่านเศรษฐีก็แบ่งทรัพย์สมบัติให้จำนวนหนึ่งแก่ชายหนุ่มคนนั้น



บันทึกการเข้า

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

กาเมสุมิจฉาจาร   เว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย  คำว่า  กามทั้งหลายได้แก่  กริยาที่รักใคร่กันในทางประเวณี  การเสพเมถุน หรือการมีเพศสัมพันธ์

          การผิดในกาม  หมายถึง  การเสพเมถุนกับคนที่ต้องห้ามมีดังนี้
          สำหรับชาย  หญิงต้องห้ามสำหรับชายมี  ๓  ประเภท คือ

๑.  สัสสามิกา  หญิงมีสามีที่เรียกว่า  ภรรยาท่านได้แก่หญิง  ๔  จำพวก คือ
ก.   หญิงที่แต่งงานกับชายแล้ว
ข.   หญิงที่ไม่ได้แต่งงานแต่อยู่กับชายอย่างเปิดเผย
ค.   หญิงที่รับสิ่งของมีทรัพย์เป็นต้นของชายแล้วยอมอยู่กับเขา
ง.    หญิงที่ชายเลี้ยงเป็นภรรยา

๒. ญาติรักขิตา  หญิงที่ญาติรักษา คือ ผู้ปกครอง  ไม่เป็นอิสระแก่ตน เรียกว่า  หญิงอยู่ในพิทักษ์รักษาของท่าน คือ  หญิงที่มารดาบิดารักษาหรือญาติรักษา

๓.  ธรรมรักษา  หรือจาริตา  หญิงที่จารีตรักษาที่เรียกว่า  จารีตห้ามได้แก่  หญิงที่เป็นเทือกเถาเหล่ากอ
ก.   เทือกเถา  คือญาติผู้ใหญ่  นับย้อนขึ้นไป ๓ ชั้นมี ย่า ทวด ยายทวด ๑  ย่ายาย ๑ แม่ ๑  เหล่ากอ คือผู้ที่สืบสายจากตนลงไป ๓ ชั้น มีลูก ๑  หลาน ๑  เหลน ๑
ข.   หญิงที่อยู่ในพระบัญญัติในพระศาสนาอันห้ามสังวาสกับชาย เช่น ภิกษุณีในกาลก่อน หรือแม่ชีในสมัยนี้
ค.   หญิงที่บ้านเมืองห้าม  เช่น  แม่หม้ายงานท่าน  อันมีในกฎหมาย

               หญิง  ๓  จำพวกนี้  จะมีฉันทะร่วมกันหรือไม่ร่วมกันไม่เป็นประมาณ  ชายร่วมสังวาสด้วยก็เป็น  กาเมสุมิจฉาจาร


หญิงที่เป็นวัตถุต้องห้ามของชาย โดยพิสดารมี  ๒๐  จำพวก

  ๑. มาตุรักขิตา  หญิงที่มารดารักษา
  ๒. ปิตุรักขิตา  หญิงที่บิดารักษา
  ๓. มาตาปิตุรักขิตา  หญิงที่มารดาบิดารักษา
  ๔. หญิงที่พี่ชายน้องชายรักษา
  ๕. ญิงที่พี่สาวน้องสาวรักษา
  ๖. หญิงที่ญาติรักษา
  ๗. หญิงที่โคตรหรือแซ่รักษา
  ๘. หญิงมีธรรมรักษา
  ๙. หญิงมีสามีรักษา
๑๐. หญิงมีสินไหม คือ พระราชาทรงรักษา
๑๑. หญิงที่ชายไถ่หรือซื้อมาด้วยทรัพย์เพื่อเป็นภรรยา
๑๒. หญิงที่อยู่กับชายด้วยความรักใคร่ชอบใจกันเอง
๑๓. หญิงที่อยู่เป็นภรรยาชายด้วยโภคทรัพย์
๑๔. หญิงที่เข็ญใจ  ได้สักว่าผ้านุ่งห่ม  ผ้าห่มแล้วอยู่เป็นภรรยา
๑๕. หญิงที่ชายขอเป็นภรรยา  มีผู้ใหญ่จัดการให้
๑๖. หญิงที่ชายปลงภาระอันหนักให้แล้วยอมเป็นภรรยา
๑๗. หญิงที่เป็นทาสีอยู่ก่อน  แล้วชายเอาเป็นภรรยา
๑๘. หญิงที่รับจ้างแล้ว ชายเอาเป็นภรรยา
๑๙. หญิงที่ชายรบข้าศึกได้เป็นเชลยแล้วเอาเป็นภรรยา
๒๐. หญิงที่ชายอยู่ด้วยขณะหนึ่งและหญิงนั้นก็เข้าใจว่าชายนั้นเป็นสามีของตน
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 
  ดูเหมือนว่า บทความที่คุณสินจัยนำมาถามนั้น นำมาจาก http://mamabuddho.blogspot.com/
  อยู่ใน บทที่ ๗ ศีลข้อกาเมสุมิฉาจาร(ตอนที่ ๒)
  ที่มา http://mamabuddho.blogspot.com/2012/11/blog-post_9.html#.UQdMafLcAit

   เนื้อเรื่องนิทานที่ต้องการทราบว่า อยู่ในพระไตรปิฎกหรือไม่นั้น ผมอ่านแล้ว พยายามค้นในอรรถกถา
   แต่เนื่องจากอาจเป็นเพราะไม่มีการะบุชื่อตัวละคร ทำให้ค้นอย่างไรก็ไม่เจอ ต้องขออภัยด้วย


   อย่างไรก็ตาม เรื่องศีลข้อสาม "กาเมสุมิจฉาจาร" มีอยู่ใน อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค
   อรรถกถานี้อธิบายเรื่อง "สัมมาทิฏฐิสูตร ว่าด้วยความเห็นชอบ" รายละเอียดมีดังนี้ครับ



แก้กาเมสุมิจฉาจาร
      ก็บทว่า กาเมสุ ในข้อว่า กาเมสุมิจฺฉาจาโร นี้ ได้แก่ เมถุนสมาจาร.
     ความประพฤติลามกที่บัณฑิตตำหนิโดยส่วนเดียว ชื่อว่ามิจฉาจาร.
     แต่โดยลักษณะเจตนาที่ล่วงเกินอคมนียฐาน (คนที่ต้องห้าม) ที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยความประสงค์ต่ออสัทธรรม ชื่อว่ากาเมสุมิจฉาจาร.


     ก่อนอื่น (หญิง)ที่ชื่อว่าเป็น อคมนียฐาน(หญิงที่ต้องห้าม) สำหรับผู้ชายในกาเมสุมิจฉาจารนี้
     ได้แก่ หญิง ๒๐ จำพวก คือ หญิงที่มีมารดารักษา เป็นต้น.
     หญิง ๑๐ จำพวก คือ หญิงที่มารดารักษา ๑ ที่บิดารักษา ๑ ที่ทั้งมารดาและบิดารักษา ๑ ที่พี่ชายน้องชายรักษา ๑ ที่ญาติรักษา ๑ ที่โคตรรักษา ๑ ที่ธรรมรักษา ๑ ที่มีการอารักขา ๑ ที่มีอาชญารอบด้าน (อยู่ในกฏมณเฑียรบาล) ๑.
     และหญิงอีก ๑๐ จำพวก มีหญิงที่ไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้นเหล่านี้ คือ ภรรยาที่ซื้อมาด้วยทรัพย์ (ภรรยาสินไถ่) ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะความพอใจ ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะโภคะ ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพราะเครื่องนุ่งห่ม ๑ ที่ผู้ปกครองเต็มใจยกให้ ๑ ที่ชายยกเทริดลงจากศีรษะ ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งทาส ๑ ที่เป็นทั้งภรรยาเป็นทั้งลูกจ้าง ๑ ที่เป็นเชลยศึก ๑ ที่อยู่ด้วยกันเพียงครู่เดียว ๑.


     ส่วนชายอื่น นอกจากสามีของตน ชื่อว่าเป็นอคมนียฐาน (ชายต้องห้าม) สำหรับหญิง ๑๒ จำพวก
     คือ ๒ จำพวก สำหรับหญิงมีอารักขาและหญิงมีอาชญารอบด้าน และ ๑๐ จำพวกสำหรับภรรยาที่ไถ่มาด้วยทรัพย์ เป็นต้น ในจำนวนหญิงทั้งหลาย (๑๐ จำพวก) สำหรับภรรยา.


     อนึ่ง มิจฉาจารนี้นั้นชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมนียฐาน (ผู้ต้องห้าม) ปราศจากคุณธรรมมีศีล เป็นต้น
     ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะถึงพร้อมด้วยคุณธรรมมีศีลธรรม เป็นต้น.

     กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีองค์ประกอบ ๔ อย่าง คือ
            เป็นบุคคลต้องห้าม ๑
            จิตคิดจะเสพในบุคคลต้องห้ามนั้น ๑
            การประกอบการเสพ ๑
            การยังมรรคให้ดำเนินไปในมรรคหรือหยุดอยู่ ๑


      ประโยคมีอย่างเดียว คือ สาหัตถิกประโยคเท่านั้น.


ที่มา www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=110&p=1#แก้กาเมสุมิจฉาจาร
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่  http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=12&A=1518&Z=1753
ขอบคุณภาพจาก http://2.bp.blogspot.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 29, 2013, 11:50:36 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


พฤติกรรมสำส่อนเป็นวัฒนธรรมโลกใหม่ที่เสื่อมถอยและแปรเปลี่ยนกลับกลายเป็นค่านิยมฝังหัวหนุ่มสาวสมัยนี้ ศีลธรรม

กาเมฯข้อห้ามใดใดไร้แก่นสารไปแล้วสำหรับผู้คน วันนี้ชายใดคิดมีครอบครัวอย่าหมายสาวป้ายแดง มือสองพอขับได้ก็

ต้องยอม นี่คงเป็นกรรมสำหรับชายหาเศษหาเลยชอบคิดค้ากำไล วันนี้ชีวิตถึงคราต้องขาดทุนบ้างแล้ว




http://dnfe5.nfe.go.th/ilp/42002/42002-1/42001-1.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 30, 2013, 02:33:22 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

mongkol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 95
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คำว่า รักนวล สงวนตัว ปกติเป็น วัฒนธรรมของชาวเอเซีย แต่วันนี้....ความศิวิไลซ์ มาจากค่านิยม ตะวันตก หลักการอยู่ร่วมกันก่อนแต่ง เป็นสังคมเมือง และวํฒนธรรมตะวันตก และมักกระทำกันในหมู่ชนที่ใช้คำว่า ผู้มีการศึกษา แต่ การศึกษาที่มีอยู่มันเริ่มหางด้วนลง เพราะ สื่อ ต่าง ๆ หนังต่าง ๆ ละครต่าง ๆ โฆษณาต่าง ๆ ล้วนแฝงความเป็นตะวันตก มากขึ้น เด็กรุ่นหลังจึงใช้ค่านิยม เหล่านี้ ทำให้เสื่อม ศีลธรรม ทางจิตใจลง

   ย้อนหลังไป 30 ปีที่แล้ว ผมจะแต่งงาน ก็ไปมาหาสู่ กับสาว สูงสุดแค่จูงมือกัน ปัจจุบันลูกหลานที่อยู่ใกล้ มาเยี่ยมพร้อมแฟน มีการหอมแก้ม กอดกัน เกาะเอว กันต่อหน้าเราเลย จึงเข้าใจว่า การศึกษาปัจจุบัน สอนให้คนฉลาดเอาตัวรอด รู้วิธีการป้องกัน ในทางที่ผิด.....

   ปัญหาของศีลข้อนี้ จัดเป็น ข้อใหญ่ ... เพราะกระเทือนจิตใจ นะครับ สามีภรรยา หย่าร้างกัน ส่วนใหญ่ก็ข้อนี้ ในสำกนักงานกฏหมายที่ ผมทำอยู่ คดีฟ้องร้อง หย่า เป็นคดี ที่มีมาก สำหรับคนมีฐานะ มีอันจะกิน นะครับ ติดอันดับ ใน 10 คดีหลัก เลย

   ก็หวังว่า ชาวธรรมเรายังคงช่วยกันรักษา และเผยแผ่พระธรรม ให้ถึงที่สุดกันนะครับ เพราะว่าถ้าเราถอยตาม วัฒนธรรม ก็จะหายไปด้วย .....

   ขอบคุณทุกท่าน ที่เห็นคุณค่าของศีล ครับ



   :c017: thk56
บันทึกการเข้า

namtip

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 54
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผลของศีล ข้อนี้ อยากให้คงอยุ่ คะ และอยากให้ หญิง ชาย ตระหนักเรื่องศีล ข้อนี้ ส่วนตัวก็ผิดหวังกับเรื่อง การละเมิดศีล ของคนรักมาแล้ว คะ เพราะทำใจยอมรับคนที่ ผิดศีลอย่างนี้ไม่ได้ ทุกวันนี้ก็เลิกกันแล้ว คะ เราก็อยู่กับลูกไปคะ เขาไปก็ไปมีใหม่ มีลูกใหม่  กันคะ

   ทั้งหมด นี้เป็นเรื่องการผิดศีล คะ

   :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถ้าจำไม่ผิด เคยเห็นบทความ ที่พระอาจารย์เขียนไว้ว่า ศีล นี้แหละที่จะตัดกรรม กันได้ สมาธิ ตัดใจ ปัญญา ตัดสงสาร นะครับ อนุโมทนากับ ทุก ๆ ท่าน ที่ประกอบด้วยศีล ไม่ผิดศีล กันนะครับ

   st11 st12
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นเรื่องที่ ไม่ควรมองข้าม ครับ เรื่อง ศีบข้อ 3 นี้มีความสำคัญครับ

 เห็นด้วย ที่ควรจะส่งเสริม ความรู้ความเข้าใจ ในสังคม

  :13: :13: :13:
บันทึกการเข้า

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
มีคำแสดงอานิสงส์ของการรักษาศีล ไว้น่าสนใจครับ
    สีเลนะ สุคะติง ยันติ
    สีเลนะ  โภคะสัมปะทา
    สีเลนะ นิพพุติง ยันติ
ในประเด็น สุคะติง และนิพพุติง เข้าใจได้ไม่ยาก
คือ ทำให้ได้ประสบแต่สิ่งที่ดี ๆ มีความปลอดโปร่ง และรู้สึกปลอดภัย (=สุคะติง)
และทำให้เกิดความเย็นอกเย็นใจในชีวิต (นิพพุติง)

-ถึงพร้อมด้วยรูป เป็นทรัพย์
-ถึงพร้อมด้วยทรัพย์สิน  ไม่รวยมากไม่เป็นไรแต่ทรัพย์ที่มีไม่เสียหาย ไม่ถูกฉ้อ ไม่โดนไฟไหม้ ก็ไม่ได้ก่อเวรกับใครไว้ (แต่ถ้าใครจะมาก่อเวรกับเราก็สุดวิสัย)
-ถึงพร้อมด้วยคู่หรือครอบครัวที่ดี  ครอบครัวก็เป็นทรัพย์นะ  ภรรยาเป็นทรัพย์ของสามี ภรรยาดีๆก็ยิ่งกว่ามีเงินมีทองนะ (ช่วยกันทำให้ร่ำรวยได้ด้วย อิๆ)  ฯลฯ 
-ถึงพร้อมด้วยความน่าเชื่อถือ  พูดแต่คำสัจจ์  หนักแน่นเสมอ  บริวารก็จะตามมา(คนเชื่อถือไง)
-ถึงพร้อมด้วยสติ   นี่อริยทรัพย์เริ่มมาแล้ว
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คัดลอกจากหนังสือพุทธธรรม โดย ป.อ.ปยุตโต

เชื่ออย่างไรผิกหลักกรรม?

มีลัทธิมิ๗ฉาทิฐิ เกี่ยวกับสุขทุกข์และความเป็นไปในชีวติของมนุษย์อยู่ ๓ ลัทธิ ซึ่งต้องระวังไม่ให้
เข้าใจสับสนกับหลักกรรมคือ

๑. ปุพเพกตเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นเพราะกรรมเก่า เรียกสั้นๆว่า ว่า ปุพเพกตวาท
๒. อิสสรนิมมานเหตุวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นเพราะการบันดาลของเทพผู้เป็นใหญ่
เรียกสั้นๆว่า อิศวรกรณวาท หรือ อิศวรนิรมิตวาท
๓. อเหตุอปัจจยวาท การถือว่าสุขทุกข์ทั้งปวง เป็นไปสุดแต่โชคชะตาลอยๆไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย
เรียกสั้นๆว่า อเหตุวาท

ทั้งนี้ตามพุทธพจน์ว่า
"ภิกษุทั้งหลาย ลัทธิเดียรถีย์ ๓ ระบบเหล่านี้ ถูกบัณฑิตไต่ถาม ซักไซ้ไล่เลียงเข้า ย่อมอ้างถึงการถือสืบๆ
กันมา ยืนกรานอยู่ในหลักอกิริยา(การไม่กระทำ)คือ
๑.สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่าง
ใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพราะกรรมที่กระทำไว้ในปางก่อน (ปุพฺเพกตเหตุ)
๒.สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่าง
ใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนเป็นเพราะการบันดาลของพระผู้เป็นเจ้า(อิสฺสรนิมฺมานเหตุ)
๓.สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้ว่า สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ก็ดี อย่างหนึ่งอย่าง
ใดก็ตาม ที่คนเราได้เสวย ทั้งหมดนั้นล้วนหาเหตุหาปัจจัยมิได้(อเหตุอปจฺจย)
"ภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์ ๓ พวกนั้น เราเข้าไปหา(พวกที่หนึ่ง)แล้วถามว่า"ทราบว่า ท่าน
ทั้งหลายมีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้...จริงหรือ?" ถ้าสมณพราหมณ์เหล่านั้น ถูกเราถามอย่างนี้แล้ว รับว่าจริง เราก็กล่าว
กะเขาว่า "ถ้าเช่นนั้น ท่านก็จักต้องเป็นผู้ทำปาณาติบาต เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุ จะต้องเป็นผู้ทำ
อทินนาทาน เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุ จะต้องเป็นผู้ประพฤติอพรหมจรรย์...เป็นผู้กล่าวมุสาวาท..
ฯลฯ เป็นผู้มีมิจฉาทิฐิ เพราะกรรมที่ทำไว้ปางก่อนเป็นเหตุน่ะสิ"

"ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลมายึดเอากรรมที่ทำไว้ในปางก่อนเป็นสาระ ฉันทะก็ดี ความพยายามก็ดีว่า
"สิ่งนี้ควรทำ สิ่งนี้ไม่ควรทำ" ก็ย่อมไม่มี เมื่อไม่กำหนดถือเอาสิ่งที่ควรทำและสิ่งที่ไม่ควรทำ โดยจริงจังมั่นคง
ดั่งนี้ สมณพราหมณ์พวกนี้ ก็เท่ากับอยู่อย่างหลงสติ ไร้เครื่องรักษา จะมีสมณวาทะที่ชอบธรรมเฉพาะตนไม่ได้
นี้แล เป็นนิคหะอันชอบธรรมอย่างแรกของเราต่อสมณพราหมณ์ผู้มีวาทะ มีทิฐิอย่างนี้"

(พวกที่สอง)

(พวกที่สาม)

องฺ.ติก.๒๐/๕๐๑/๒๒๒ และดูประกอบใน อภิ.วิ.๓๕/๙๔๐/๔๙๖ ม.อุ.๑๔/๒-๑๑/๑-๑๓
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

vichai

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 207
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
[๒๓๑] ครั้งนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค
ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัส
กะอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า ดูกรคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัย
เวร ๕ ประการ และประกอบด้วย โสตาปัตติยังคะ ๑- ๔ ประการ ในกาลนั้น
อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มี
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติและวินิบาตสิ้นแล้ว
เราเป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ

อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรคฤหบดีบุคคลผู้
มักฆ่าสัตว์ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมได้เสวย
ทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะปาณาติบาตเป็นปัจจัย อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต
ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และไม่ได้เสวยทุกข
โทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้งดเว้นจากปาณาติบาต ย่อมสงบระงับภัยเวรนั้นด้วย
ประการอย่างนี้ ดูกรคฤหบดี บุคคลผู้มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ฯลฯ
ผู้มักประพฤติผิดในกาม ฯลฯ ผู้มักพูดเท็จ ฯลฯ ผู้มักดื่มน้ำเมาคือ สุราและ
เมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน แม้ใน
สัมปรายภพ และย่อมเสวยทุกข์โทมนัสทางใจ เพราะดื่มน้ำเมา คือ สุราและ
เมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาทเป็นปัจจัย อริยสาวกผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา
คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อมไม่ประสบภัยเวรแม้ใน
ปัจจุบัน แม้ในสัมปรายภพ และย่อมไม่ได้เสวยทุกขโทมนัสทางใจ อริยสาวกผู้
งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานะแห่งความประมาท ย่อม
สงบระงับภัยเวรนั้นด้วยอาการอย่างนี้ อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้ ฯ

อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกร
คฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
@๖. องค์เป็นเครื่องบรรลุความเป็นพระโสดา
ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ... เป็นผู้เบิก
บานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ๑ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว
ในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว ... อันวิญญูชนจะพึง
รู้ได้เฉพาะตน ๑ ย่อมประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า
พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ... เป็นนาบุญของโลก
ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ๑ ย่อมประกอบด้วยศีลอันพระอริยเจ้าพอใจ ไม่ขาด ไม่ทะลุ
ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฐิไม่ถูกต้อง
เป็นไปเพื่อสมาธิ ๑ อริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ฯ

ดูกรคฤหบดี ในกาลใดแล อริยสาวกสงบระงับภัยเวร ๕ ประการนี้
และประกอบด้วยโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง
พยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า เราเป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว
มีเปรตวิสัยสิ้นแล้ว มีอบาย มีทุคติ และวินิบาตสิ้นแล้ว เป็นโสดาบัน มีอัน
ไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ฯ
------------------------------------------------------------
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
เวรสูตรที่ ๑
http://www.84000.org...3&A=8632&Z=8670
บันทึกการเข้า
มาศึกษาธรรมะ ครับ ยินดีรู้จักทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร ครับ
เครดิต คุณกบแย้มกะลา