ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลักษณะ ของ อัปปนาสมาธิเป็นอย่างไร ครับ  (อ่าน 14628 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เด็กวัด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 150
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ลักษณะ ของ อัปปนาสมาธิเป็นอย่างไร ครับ
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2013, 01:45:39 pm »
0
 ask1

  ลักษณะ ของ อัปปนาสมาธิเป็นอย่างไร ครับ

    thk56
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ลักษณะ ของ อัปปนาสมาธิเป็นอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2013, 07:09:54 am »
0
ปฐมฌานคือ (ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์ของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความเงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา) หลายๆคนอาจผ่านฌานนี้กันมาแล้ว แต่มิได้ใช้ประโยชน์ในการสร้างวิปัสสนาญาณไปอย่างน่าเสียดาย โดยเมื่อออกจากฌานนี้ มักจะเกิดลังเลสงสัยบ้างว่ามันคืออะไร เราได้สภาวะนั้นสภาวะนี้แล้วใช่ไหม เกิดความอิ่มเอมยินดี ติดในรสความสงบ เกิดความอยาก อยากได้อีกอยากเป็นอีก ดังนั้นได้ปฐมฌานสำหรับบางคนกลายเป็นโทษแทนที่จะเป็นคุณ เราจึงควรปรับวิธีปฏิบัติเสียใหม่ เมื่อทำปฐมฌานจนชำนาญพอสมควร ตอนถอยออกมาจากฌาน เราจะต้องมีสติระลึกอย่างใดอย่างหนึ่ง ตรงนี้แหละสำคัญ ต้องฝึกกันหน่อย แทนที่จะระลึกสิ่งที่เป็นมิจฉาสติ คือระลึกให้เกิดกิเลส ให้หันมาระลึกชอบแทน หรือสัมมาสติแทน คือระลึกว่ามันเป็นเช่นนั้นเอง อย่าไปยินดียินร้ายกะมัน มันหาสาระอะไรไม่ได้ ไม่ให้สาระกับทุกๆความรู้สึกที่ผุดขึ้นมา อย่าไปดีใจลิงโลดใจหรือปล่อยไปเฉยๆ ต้องมีสติชอบทันทีที่ออกจากฌานทุกๆฌาน การกระทำเช่นนี้นี่แหละคือการเห็นไตรลักษณ์ ในอารมณ์ฌาน ต้องเห็นตอนออกจากฌานแล้ว ต้องฝึกไม่ให้สาระสำคัญกับอารมณ์ฌาน ต้องไม่รู้ไม่ชี้ ไม่เอากะมัน การไม่เกาะอารมณ์ฌาน การไม่เอากะมันนี่แหละจะทำให้เราได้อารมณ์ฌานที่สูงขึ้นโดยไม่รู้ตัว ได้อารมณ์ฌานใดๆก็ไม่เอากะมันอีก ไม่ให้สาระสำคัญกะมันอีก นี่คือการปล่อยวางความเห็นว่ามีตัวตนของตัวฌาน ของตัวผู้ได้ฌาน นี่แหละคือธรรมอันหมดจด นี่แหละคือทางแห่งนิพพาน

ลอกเขามานะครับ คุยกันก่อนพระอาจารย์เข้ามาตอบ :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ลักษณะ ของ อัปปนาสมาธิเป็นอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2013, 08:11:18 am »
0


๘.  สัมมาสมาธิ
   
     สัมมาสมาธิ เป็นองค์มรรคข้อสุดท้าย และเป็นข้อที่มีเนื้อหาสำหรับศึกษามาก เพราะเป็นเรื่องของการฝึกอบรมจิตในขั้นลึกซึ้ง เป็นเรื่องละเอียดประณีต ทั้งในแง่ที่เป็นเรื่องของจิตอันเป็นของละเอียด และในแง่การปฏิบัติ ที่มีรายละเอียดกว้างขวางซับซ้อน เป็นจุดบรรจบ หรือเป็นสนามรวมของการปฏิบัติ
     ในการบรรยายเรื่องนี้เห็นว่า ถ้าจะแสดงเนื้อหาไปตามลำดับอย่างในองค์มรรคข้อก่อนๆ จะทำให้เข้าใจยาก จึงเปลี่ยนมาใช้วิธีสรุปข้อควรทราบ ให้เห็นใจความไว้ก่อน แล้วจึงแสดงเนื้อหาต่อภายหลัง



ความหมาย และระดับของสมาธิ
      “สมาธิ” แปลกันว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือ ภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด คำจำกัดความของสมาธิที่พบเสมอ คือ “จิตตัสเสกัคคตา”  หรือเรียกสั้นๆ ว่า “เอกัคคตา” ซึ่งแปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง คือ การที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่านหรือส่ายไป

      สมาธิ นั้น แบ่งได้เป็น ๓ ระดับ คือ
      ๑. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ (momentary concentration) ซึ่งคนสามัญทั่วไปสามารถนำมาใช้ประโยชน์ ในการปฏิบัติหน้าที่กิจการงาน ในชีวิตประจำวัน ให้ได้ผลดี
      ๒. อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียดๆ หรือจวนจะแน่วแน่  (neighborhood concentration)
      ๓. อัปปนาสมาธิ  สมาธิที่แน่วแน่แนบสนิท  (attainment concentration) สมาธิในขั้นฌาน เป็นสมาธิระดับสูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จที่ต้องการของการเจริญสมาธิ


      “สัมมาสมาธิ” ตามคำจำกัดความในพระสูตรต่างๆ เจาะจงว่าได้แก่ ฌาน ๔ 
      อย่างไรก็ดี คำจำกัดความนี้ ถือได้ว่าเป็นการให้ความหมายโดยยกหลักใหญ่เต็มรูปขึ้นมาตั้งเป็นแบบไว้ ให้รู้ว่าการปฏิบัติสมาธิที่ถูก จะต้องดำเนินไปในแนวนี้
      ดังที่ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเจริญวิปัสสนาได้โดยใช้สมาธิเพียงขั้นต้นๆ ที่เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิในระดับเดียวกับขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ (ท่านลำดับไว้ระหว่างขณิกสมาธิกับอุปจารสมาธิ)



ผลสำเร็จในระดับต่างๆ ของการเจริญสมาธิ

     การเจริญสมาธินั้น จะประณีตขึ้นไปเป็นขั้นๆ โดยลำดับ ภาวะจิต ที่มีสมาธิถึงขั้นอัปปนาสมาธิแล้ว  เรียกว่า “ฌาน” (absorption) ฌานมีหลายขั้น ยิ่งเป็นขั้นสูงขึ้นไป องค์ธรรมต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่
ประกอบอยู่กับสมาธิ ก็ยิ่งลดน้อยลงไป


     ฌาน โดยทั่วไปแบ่งเป็น ๒ ระดับใหญ่ๆ และแบ่งย่อยออกไปอีก ระดับละ ๔ รวมเป็น ๘ อย่าง เรียกว่าฌาน ๘ หรือ สมาบัติ ๘ คือ
     ๑.รูปฌาน ๔ ได้แก่
      ๑)ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑) มีองค์ประกอบ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
      ๒)ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) มีองค์ประกอบ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
      ๓)ตติยฌาน (ฌานที่ ๓) มีองค์ประกอบ ๒ คือ สุข เอกัคคตา
      ๔)จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔) มีองค์ประกอบ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
     ๒.อรูปฌาน ๔ ได้แก่
      ๑)อากาสานัญจายตนะ (ฌานที่กำหนดอากาศ-space อันอนันต์)
      ๒)วิญญาณัญจายตนะ (ฌานที่กำหนดวิญญาณอันอนันต์)
      ๓)อากิญจัญญายตนะ (ฌานที่กำหนดภาวะที่ไม่มีสิ่งใดๆ)
      ๔)เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานที่เข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่)


     การเพียรพยายามบำเพ็ญสมาธิ โดยใช้วิธีการใดๆ ก็ตาม เพื่อให้เกิดผลสำเร็จเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สมถะ” มนุษย์ปุถุชนเพียรพยายามบำเพ็ญสมาธิเพียงใดก็ตาม ย่อมได้ผลสำเร็จอย่างสูงสุดเพียงเท่านี้ หมายความว่า สมถะล้วนๆ ย่อมนำไปสู่ภาวะจิตที่เป็นสมาธิได้สูงสุด ถึงฌาน เพียงเนวสัญญานาสัญญายตนะ เท่านั้น

     แต่ท่านผู้บรรลุผลสำเร็จควบทั้งฝ่ายสมถะ และวิปัสสนา เป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ สามารถเข้าถึงภาวะที่ประณีตสูงสุดอีกขั้นหนึ่ง นับเป็นขั้นที่ ๙ คือ สัญญาเวทยิตนิโรธ  หรือนิโรธสมาบัติ เป็นภาวะที่สัญญาและเวทนาดับ คือหยุดปฏิบัติหน้าที่ และเป็นความสุขขั้นสูงสุด


อ้างอิง หนังสือพุทธธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
ขอบคุณภาพจาก http://gallery.palungjit.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ตอบ : ลักษณะ ของ อัปปนาสมาธิเป็นอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 05, 2015, 06:48:01 pm »
0
หยุดเวลา

หยุดเวลา

หยุดเวลา

    ในอวิชชา 8 เรียงตามลำดับ

    1.ทุกข์
    2.สมุทัย
    3.นิโรธ
    4.มรรค
    5.อดีต
    6.อนาคต
    7.ปัจจุบัน
    8.อิทัปปัจจยตา   

  จะเห็นว่า อัปปนาสมาธิ มาถึงระดับกลาง เกือบ จบแล้ว นะ


    ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 05, 2015, 08:42:45 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ลักษณะ ของ อัปปนาสมาธิเป็นอย่างไร ครับ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 05, 2015, 11:36:21 pm »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา