ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร  (อ่าน 13877 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 07:58:57 am »
0
จิตปภัสสร, จิตนี้ผุดผ่อง
 
   เพราะอรรถว่า ปภัสฺสรํ ได้แก่ ขาวคือบริสุทธิ์.
บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ ภวังคจิต.

        ถามว่า ก็ชื่อว่าสีของจิตมีหรือ?  แก้ว่าไม่มี. 
จริงอยู่จิตจะมีสีอย่างหนึ่ง เช่น สีเขียวเป็นต้น  หรือจะเป็นสีทอง
ก็ตาม จะอย่างใดอย่างหนึ่งก็เรียกว่า ปภัสสร เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์. 
แม้จิตนี้ชื่อว่า บริสุทธิ์  เพราะปราศจากอุปกิเลส เหตุนั้น จึงชื่อว่า
ปภัสสร.


   บทว่า ตญฺจ โข ได้แก่ ภวังคจิต นั้น. 
บทว่า อาคนฺตุเกหิ ได้แก่ อุปกิเลส ที่ไม่เกิดร่วมกัน หากเกิด ในขณะแห่งชวนจิตในภายหลัง.

   บทว่า อุปกิเลเสหิ ความว่า ภวังคจิตนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า
เศร้าหมองแล้ว เพราะเศร้าหมองแล้วด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.


   ภวังคจิต แม้จะบริสุทธิ์ตามปกติ  ก็ชื่อว่าเศร้าหมองเพราะ
อุปกิเลสที่จรมา  อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ
โทสะและโมหะ ซึ่งมีความกำหนัดขัดเคือง และความหลงเป็น
สภาวะในขณะแห่งชวนจิต เหมือนบิดามารดาเป็นต้นเหล่านั้น
ได้ความเสียชื่อเสียง เหตุเพราะบุตรเป็นต้น ฉะนั้นแล.


(องฺ.อ. ๑/๑/๑๐๔.)
ที่มา สารานุกรม พระไตรปิฏก ฉบับธรรมทาน


พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐
พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๒
อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต


[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลง
ได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้
มิใช่ง่าย ฯ

    [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่
จรมา ฯ

    [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลส
ที่จรมา ฯ
      
               จบวรรคที่ ๕

    [๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองแล้ว ด้วยอุปกิเลส
ที่จรมา ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมจะไม่ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริงฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
ปุถุชนผู้มิได้สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต ฯ

    [๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลส
ที่จรมา พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อมทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
พระอริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต ฯ


ที่มา  พระไตรปิฏกฉบับธรรมทาน


อรรถกถาสูตรที่ ๙  
           
               ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
              บทว่า ปภสฺสรํ ได้แก่ ขาวคือบริสุทธิ์.
               บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ ภวังคจิต.
               ถามว่า ก็ชื่อว่าสีของจิตมีหรือ? แก้ว่าไม่มี.

               จริงอยู่ จิตจะมีสีอย่างหนึ่งมีสีเขียวเป็นต้น หรือจะเป็นสีทองก็ตาม จะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เรียกว่าปภัสสร เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์. แม้จิตนี้ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะปราศจากอุปกิเลส เหตุนั้น จึงชื่อว่าปภัสสร.

               บทว่า ตญฺจ โข ได้แก่ ภวังคจิตนั้น.
               บทว่า อาคนฺตุเกหิ ได้แก่ อุปกิเลสที่ไม่เกิดร่วมกัน หากเกิด ในขณะแห่งชวนจิตในภายหลัง.
               บทว่า อุปกิเลเสหิ ความว่า ภวังคจิตนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่าเศร้าหมองแล้ว เพราะเศร้าหมองแล้วด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.

               เศร้าหมองอย่างไร?
               เหมือนอย่างว่า บิดามารดาหรืออุปัชฌาย์อาจารย์มีศีลสมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ไม่ดุว่า ไม่ให้ศึกษา ไม่สอน ไม่พร่ำสอนบุตร หรืออันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของตน เพราะเหตุที่บุตรและสัทธิวิหาริกอันเตวาสิกเป็นผู้ทุศีล มีความประพฤติไม่ดี ไม่สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ ย่อมได้รับการติเตียนเสียชื่อเสียงฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น.


               พึงเห็นภวังคจิตเหมือนบิดามารดาและอุปัชฌาย์อาจารย์ ผู้สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ. ภวังคจิตแม้จะบริสุทธิ์ตามปกติก็ชื่อว่าเศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสที่จรมา อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่เกิดพร้อมด้วยโลภะโทสะและโมหะซึ่งมีความกำหนัดขัด เคืองและความหลงเป็นสภาวะในขณะแห่งชวนจิต เหมือนบิดามารดาเป็นต้นเหล่านั้นได้ความเสียชื่อเสียง เหตุเพราะบุตรเป็นต้น ฉะนั้นแล.
               จบอรรถกถาสูตรที่ ๙               

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐
               
               แม้ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
               จิต ก็คือภวังคจิตนั่นเอง.
               บทว่า วิปฺปมุตฺตํ ความว่า ภวังคจิตนั้นไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ในขณะแห่งชวนจิต เกิดขึ้นด้วยอำนาจกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุตประกอบด้วยไตรเหตุเป็นต้น ย่อมชื่อว่าหลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา.


               แม้ในที่นี้ ภวังคจิตนี้ ท่านเรียกว่าหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ด้วยอำนาจกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต เหมือนมารดาเป็นต้นได้รับความสรรเสริญและชื่อเสียงว่า พวกเขาช่างดีแท้ยังบุตรเป็นต้นให้ศึกษา โอวาท อนุสาสน์อยู่ดังนี้ เหตุเพราะบุตรเป็นต้นเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ฉะนั้น.

               จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐               

ที่มา พระไตรปิฏก ฉบับธรรมทาน            
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2011, 08:04:36 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:00:01 pm »
0
เรื่องนี้จำได้ว่า มีการชี้แจงกันในกระทู้นี้ครับ

แปลผิดอีกแล้ว จึงให้ความหมายผิด วิสัชชนา จิตประภัสสร ไม่ใช่ จิตนิพพาน
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1351.msg5331#msg5331

จากที่ลุงปุ้มนำมาโพสต์ให้อ่าน ก็เป็นการตีความของ อรรถกถาคือคำอธิบาย
โดยส่วนตัวผมยังเห็นด้วยว่า จิตผุดผ่อง เพราะ อุปกิเลสจรเข้ามา แต่ไม่ได้ความว่า จิตนี้เป็นนิพพาน
เพราะช่วงที่กิเลสไม่จรเข้ามา จิตผุดผ่อง นั้นตายเกิด ในสังสารวัฏอยู่เหมือนเดิม

 :25:
บันทึกการเข้า

ลูกคิด

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 117
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:02:27 pm »
0
อ้างถึง
ภวังคจิต แม้จะบริสุทธิ์ตามปกติ  ก็ชื่อว่าเศร้าหมองเพราะ
อุปกิเลสที่จรมา 
อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ
โทสะและโมหะ ซึ่งมีความกำหนัดขัดเคือง และความหลงเป็น
สภาวะในขณะแห่งชวนจิต เหมือนบิดามารดาเป็นต้นเหล่านั้น
ได้ความเสียชื่อเสียง เหตุเพราะบุตรเป็นต้น ฉะนั้นแล.

ถ้าพิจารณาตรงนี้ ก็หมายความตีความแล้วว่า จิตเดิม ภวังคจิต ก็ยังประกอบด้วยกเลส นะครับ
 :13:

บันทึกการเข้า

ปอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 119
  • จิตที่ฝึกดีแ้ล้ว ย่อมนำสุขมาให้
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:04:43 pm »
0
อ้างถึง
จิต ก็คือภวังคจิตนั่นเอง.
               บทว่า วิปฺปมุตฺตํ ความว่า ภวังคจิตนั้นไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ในขณะแห่งชวนจิต เกิดขึ้นด้วยอำนาจกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุตประกอบด้วยไตรเหตุเป็นต้น ย่อมชื่อว่าหลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา.

              แม้ในที่นี้ ภวังคจิตนี้ ท่านเรียกว่าหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ด้วยอำนาจกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต เหมือนมารดาเป็นต้นได้รับความสรรเสริญและชื่อเสียงว่า พวกเขาช่างดีแท้ยังบุตรเป็นต้นให้ศึกษา โอวาท อนุสาสน์อยู่ดังนี้ เหตุเพราะบุตรเป็นต้นเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ฉะนั้น

ถ้าพิจารณา ส่วนอรรถกถา ส่วนนี้ก็จะเห็นว่ามีการขัดแย้ง กับที่คุณลูกคิด ยกไว้ คะุ
 :67:
บันทึกการเข้า

สาวิตรี

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +6/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 148
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:06:49 pm »
0
อ้างถึง
จริงอยู่ จิตจะมีสีอย่างหนึ่งมีสีเขียวเป็นต้น หรือจะเป็นสีทองก็ตาม จะอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านก็เรียกว่าปภัสสร เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์. แม้จิตนี้ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะปราศจากอุปกิเลส เหตุนั้น จึงชื่อว่าปภัสสร.

อรรถกถาส่วนนี้ ก็น่าสนใจ คะเพราะชี้แจงไว้ว่า จิตที่ผุดผ่อง ไม่มีสี แต่จิตไม่ผุดผ่อง มีสี

เรื่องสีจิต เคยฟังจากพระอาจารย์ หลายครั้งคะ

 :17: :17: :17:
บันทึกการเข้า

ยอดชาย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 96
  • ยอดชายแท้ ก็คือยอดมนุษย์
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:09:56 pm »
0
อ้างถึง
บทว่า ปภสฺสรํ ได้แก่ ขาวคือบริสุทธิ์.
               บทว่า จิตฺตํ ได้แก่ ภวังคจิต.

ในส่วนนี้ถ้า จำไม่ผิดเคยอ่านมาว่า แปลสำนวนไทยผิด จึงทำให้ความหมายเปลี่ยน

 :bedtime2:
บันทึกการเข้า
ลูกผู้ชายนักสู้

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:12:39 pm »
0
วินิจฉัย อาจจะมีข้อผิดพลาด แต่ถ้าเข้าใจเรื่องจิต และเห็นสภาวะจิต ว่ามีแต่จิตล้วน ๆ ที่ควรจะรู้ และ เข้าใจ

ก็น่าจะยังไม่ผิดทาง ต้องลองเทียบกับ สภาวะในกรรมฐาน ว่า

  ปภสฺสร จิตฺตํ นั้นหมายถึง สภาวะจิตตั้งแต่ช่วงไหน ครับ

  ช่วยกันวินิจฉัย ก็ดีนะครับ

 :17:
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:21:32 pm »
0
ต้องเทียบ กับ ภาษาบาลี ถึงจะเข้าใจ สมบูรณ์เรื่องนี้ครับ

  จะเห็นว่า ปภสฺสรํ ก็เป็น คำหนึ่ง

            จิตตํ ก็เป็น คำหนึ่ง

            อาคนฺตุเกหิ อุปฺปกิเลเสหิ ก็เป็น คำอีกคำหนึ่ง

   คำแปล ทับศัพท์ ก็แปล จิตประำำภัสสร  ไม่ได้แปลว่า จิตผุดผ่อง โดยตรงเหมือน อรรถกถา

 แต่ถ้าให้ความหมาย อธิบาย ไว้ชี้แจงตามความเข้าใจของพระอาจารย์ผู้แปล อรรถกถา ก็สมควรให้ไว้เป็น

แนวทาง แต่อรรถกถา มิใช่ข้อยุติว่าถูกต้อง ปัจจุบันผมอ่านพระไตรปิฏก มีการตีความผิด ก็หลายอัน

 ( ไม่ได้หมายความผมจะัเก่งกว่า แต่เพราะปฏิบัติกรรมฐาน แล้วรู้สึกไม่คล้อยตามในปัจจุบัน )

 เดี๋ยวนี้เลยไม่อ่านเล่ม อรรถกถา ของมหามกุฏ อ่านแต่ฉบับสยามรัฐ ที่ไม่มีอรรถกถา

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

บุญสม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:27:59 pm »
0
ถ้าไม่นำคำนี้มาแย้ง กันไปกันมา ก็มีความหมาย ตรง ๆ ที่ว่า

  จิตเดิมนั้น ผุดผ่อง แต่ ที่ไม่ผุดผ่อง ก็เพราะมี ราคะ โทสะ โมหะ เป็นแขกอยู่ในจิต

  อันที่จริง ในความหมายนี้ ก็ยังไม่แสดงว่า จิตประภัสสร คือ จิตนิพพาน

  แต่ถ้าจัดเป็น นิพพาน ก็น่าจะเป็น วิกขัมมนนิพพาน และ ตทังคนิพพาน ได้

  เพราะจิต ตอนที่ไม่มีแขก ก็ผุดผ่อง แต่ไม่ได้หมายความว่า จิตผุดผ่อง แล้ว จะผุดผ่อง เช่นนี้ตลอดไป

 ผมว่า จิตผุดผ่อง อันนี้น่าจะหมายถึงจิตที่เป็นสมาธิ ที่สามารถ สกัดกั้น นิวรณ์ ได้ ชั่วคราว

 ซึ่งเมื่อจิตผุดผ่อง ด้วยกระแสธรรม ชั่วคราวก็เป็นเหตุให้เข้าใจ ใน ยถาภูตญาณทัศศนะ ( ไม่รู้ถูกหรือป่าว )

 สรุปตามความเข้าใจผม ก็คือ จิตประภัสสร ก็คือ จิตที่ปราศจาก นิวรณ์ ( อุปกิเลส  )

 :s_good:
บันทึกการเข้า

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:33:15 pm »
0
วิปัสสนูกิเลส และ อุปกิเลส (คุณฟ้าใสขอมา)

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=587.0


อ่านเรื่อง อาคนฺตุเกหิ อุปกิเลเสหิ ดีกว่าไหม เพราะว่าน่ากลัวมากในการภาวนา

 
๑. โอภาส (แสงสว่าง)
๒. ญาณ (ความหยั่งรู้)
๓. ปีติ (ความอิ่ม)
๔. ปัสสัทธิ (ความสงบเย็น)
๕. สุข (ความสุขสบายใจ)
๖. อธิโมกข์ (ความน้อมใจเชื่อ, ศรัทธาแก่กล้า, ความปลงใจ)
๗. ปัคคาหะ (ความเพียรที่พอดี)
๘. อุปัฏฐาน (สติแก่กล้า, สติชัด)
๙. อุเบกขา (ความมีจิตเป็นกลาง)
๑๐.นิกันติ (ความพอใจ, ติดใจ)

  อ่านแล้วก็หนาวใจคะ เพราะพระธรรมปีิติ ยุคลธรรม พระสุข ปัคคาหะ อุเบกขา ต่าง ๆนี้ก็เป็น วิปัสสนูกิเลส

น่าจะช่วยกันวิจัยส่วนนี้นะคะ ว่าภาวนาแล้ว ไม่เป็นวิปัสสนูกิเลสอย่างไร
 :'(
บันทึกการเข้า

วรรณา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 158
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:35:41 pm »
0
คุณนัยนา มากล่าวเรื่อง อุปกิเลส หรือ วิปัสสนูกิเลส คะ


๑. อภิชฌาวิสมโลภะ (คิดเพ่งเล็งอยากได้ โลภไม่สมควร, โลภกล้า จ้องจะเอาไม่เลือกควรไม่ควร)
๒. พยาบาท (คิดร้ายเขา)
๓. โกธะ (ความโกรธ)
๔. อุปนาหะ (ความผูกโกรธ)
๕. มักขะ (ความลบหลู่คุณท่าน, ความหลู่ความดีของผู้อื่น, การลบล้างปิดซ่อนคุณค่าความดีของผู้อื่น)
๖. ปลาสะ (ความตีเสมอ, ยกตัวเทียมท่าน, เอาตัวขึ้นตั้งขวางไว้ ไม่ยอมยกให้ใครดีกว่าตน)
๗. อิสสา (ความริษยา)
๘. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)
๙. มายา (มารยา)
๑๐. สาเถยยะ (ความโอ้อวดหลอกเขา, หลอกด้วยคำโอ้อวด)
๑๑. ถัมภะ (ความหัวดื้อ, กระด้าง)
๑๒. สารัมภะ (ความแข่งดี, ไม่ยอมลดละ มุ่งแต่จะเอาชนะกัน)
๑๓. มานะ (ความถือตัว, ทะนงตน)
๑๔. อติมานะ (ความถือตัวว่ายิ่งกว่าเขา, ดูหมิ่นเขา)
๑๕. มทะ (ความมัวเมา)
๑๖. ปมาทะ (ความประมาท, ละเลย, เลินเล่อ)


น่าจะเป็นชุดนี้มากกว่า ที่ทำให้ จิตไม่ผุดผ่อง คะ
 ???
บันทึกการเข้า

เฉินหลง

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 153
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:38:34 pm »
0
อ้างถึง
[๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลง
ได้เร็ว เหมือนจิต ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้
มิใช่ง่าย ฯ

    [๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล เศร้าหมองด้วยอุปกิเลสที่
จรมา ฯ

    [๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้นวิเศษแล้วจากอุปกิเลส
ที่จรมา ฯ

ให้ลองพิจารณา พระดำรัสของพระพุทธเจ้า อีกหนนะครับ ( หรือ หลาย ๆ รอบ ) อย่าพึ่งไปสนใจ อรรถกถา ครับ
และลองเทียบศัพท์กับบาลีต้นฉบัึบอีกครั้ง ว่าแปลถูกหรือไม่ ครับ

เห็นด้วยกับการแปล บาลี เป็น ไทย ต้องระวัง เพราะคำไทยผวนไ้ด้ หลายความหมาย ตีความเสียได้ ครับ

บันทึกการเข้า

นิด_หน่อย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 90
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:40:38 pm »
0
พระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสไว้ว่า

   จิตตัง ทันตัง สุขาวหัง

   จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้

  ใครเห็นด้วยคะ ถ้าเห็นด้วยแล้ว ก็อย่าลืมนั่งกรรมฐานเพิ่มด้วยนะคะ

 ;)
บันทึกการเข้า
พุทโธ อะระหัง พุทโธ จะท่องให้ขึ้นใจ

มะยม

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 74
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:42:21 pm »
0
 พุทโธ สถิตย์ในฐานจิตที่ 1 คือ พระขุททกาปีติธรรมเจ้า เป็นฐานธาตุดิน

มะยมรู้แค่นี้ ก๊าบ

 ??? :25:
บันทึกการเข้า

ชมพู่

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 91
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:46:49 pm »
0
เมื่อรู้ว่าจิตเป็น ประภัสสร ก็ต้องสนใจวิธีทำจิตให้ผุดผ่อง

  วิธีดำเนินจิต ในพระสูตรนี้กล่าวถึงข้อภาวนาอย่างไรคะ

 :25:
บันทึกการเข้า

ลำใย

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 83
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:48:46 pm »
0
เมื่อจิตเป็น ประภัสสร ก็หมายความคนทุกในโลกนี้ ก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรมได้ใช่หรือไม่

หรือยกเว้นพวก ปทปรมะ  คืออยากให้วิจารณ์ว่า ในบุคคล 4 เหล่านี้มีทุกคนหรือไม่

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

เมตตา

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 91
  • ขอให้ทุกชีวิต จงเป็นแต่ผู้มีความสุข เถิด
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:49:53 pm »
0
เมื่อจิตเป็น ประภัสสร ก็หมายความคนทุกในโลกนี้ ก็มีสิทธิ์เข้าถึงธรรมได้ใช่หรือไม่

หรือยกเว้นพวก ปทปรมะ  คืออยากให้วิจารณ์ว่า ในบุคคล 4 เหล่านี้มีทุกคนหรือไม่

 :smiley_confused1:

ประเด็นนี้น่าสนใจ คะว่า จิตประภัสสรนั้น เป็นจิตของบุคคลที่พร้อมเข้าถึงธรรมหรือไม่ คะ

หรือ สากลแ่ก่ทุกคน
 :25:
บันทึกการเข้า

สายฟ้า

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:51:30 pm »
0
สรุปตามความเข้าใจผม ก็คือ จิตประภัสสร ก็คือ จิตที่ปราศจาก นิวรณ์ ( อุปกิเลส  )

 :s_good:

ผมว่า น่าจะสรุปตามนี้ นะครับ สำหรับจิตประภัสสร
 :08:
บันทึกการเข้า

มานพ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:52:37 pm »
0
สรุปตามความเข้าใจผม ก็คือ จิตประภัสสร ก็คือ จิตที่ปราศจาก นิวรณ์ ( อุปกิเลส  )

 :s_good:

ผมว่า น่าจะสรุปตามนี้ นะครับ สำหรับจิตประภัสสร
 :08:

ถ้าสรุปอย่างนี้ ก็ต้องจัดกลุ่มลงไปที่ บัว 3 เหล่าแรกใช่หรือป่าวครับ
บันทึกการเข้า

จตุพร

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 94
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:54:16 pm »
0
ก็หมายความว่า จิตประภัสสร นั้นเป็นจิตที่พร้อมพัฒนาเป็นพระอริยะ

ถ้าพิจารณา วิมุตติ 3 ประการลงไป ถ้าจัดกลุ่ม เป็น วิมุตติที่ 1 และ 2

ผมก็เห็นด้วย

แต่ก็ไม่รู้จะถูกตามความหมาย หรือ ไม่ครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 02:56:41 pm »
0
ความหมาย ๆ จริงของพระดำรัสนี้ ก็คือ พระพุทธเจ้า ต้องการให้เราเห็นว่า จิตของเราที่เศร้าหมองนั้น เป็นเพราะว่า

รับเอากิเลสเข้ามาใส่ ในใจ ในจิต จึงทำให้จิตใจเศร้าหมอง ( คือ ทุกข์ ) ดังนั้นถ้าไม่ต้องการให้จิตเศร้าหมอง ก็ต้องฝึกจิต

อบรมจิต การฝึกจิตและอบรมจิตนั้น ก็คงไม่พ้น สมถะและวิปัสสนากรรมฐาน ครับ

  :34:
บันทึกการเข้า

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 03:02:25 pm »
0
กรรมฐาน สมถะวิปัสสนา จะช่วยระงับกิเลสอย่างไร คะ

  เคยสงสัยเหมือนกัน แต่ ตอนนี้เข้าใจแล้วคะ ว่าถ้าจิตเราฝึกฝนไว้ดี จิตก็ผุดผ่องมากขึ้น

ดังนั้น จิตผุดผ่อง นี้จะเกิดได้ก็ต้องฝึกกรรมฐาน ฝึกแล้วก็จะเห็นความเบาบางของกิเลสไปเรื่อยๆ

อนุโมทนากับลุงปุ้ม คะ

 :25:
บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 03:04:25 pm »
0
ความทุกข์ เกิดที่จิต เพราะเห็นผิดที่ ผัสสะ

ความทุกข์ เกิดไม่ได้ เพราะเข้าใจเรื่อง ผัสสะ

ความทุกข์ สิ้นสุดได้ เพราะเห็นจริงที่ ผัสสะ

  จากเมลของพระอาจารย์ครับ....

  :25:
บันทึกการเข้า

รีบอร์น

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 81
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 03:06:26 pm »
0
จะศึกษาวิปัสสนา ต้องทำอย่างไร คะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1435.msg6173#msg6173

อ่านเรื่องอายตะ วิปัสสนาเพิ่มเติมในนี้ครับ
 :25:
บันทึกการเข้า

แมนแมน

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 03:08:21 pm »
0
การวิปัสสนา ในปฏิจสมุปบาท

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1464.0

อ่านเสริมเรื่องนี้ด้วยนะครับ กับเรื่องอายะตะนะ
 :25:
บันทึกการเข้า

พรทิพย์

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 76
  • มีธรรมนำจิต ชีวิตสุขสบาย
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จิตปภัสสร เป็นเช่นไร
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 03:09:18 pm »
0
ความทุกข์ เกิดที่จิต เพราะเห็นผิดที่ ผัสสะ

ความทุกข์ เกิดไม่ได้ เพราะเข้าใจเรื่อง ผัสสะ

ความทุกข์ สิ้นสุดได้ เพราะเห็นจริงที่ ผัสสะ

  จากเมลของพระอาจารย์ครับ....

  :25:

อ่่านง่ายดี คะ เข้าใจง่ายดีคะ
บันทึกการเข้า