ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การพิจารณา เห็น สังขาร เวทนา สัญญา วิญญาณ ควรทำอย่างไร คะ  (อ่าน 2051 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

การพิจารณา เห็น สังขาร เวทนา สัญญา วิญญาณ ควรทำอย่างไร คะ


  thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ask1

การพิจารณา เห็น สังขาร เวทนา สัญญา วิญญาณ ควรทำอย่างไร คะ


  thk56


ans1 ans1 ans1

เรื่องนี้เป็นส่วนของวิปัสสนา วิปัสสนาญาณจะเกิดขึ้นเอง หากเดินตามมรรคได้ถูกต้อง อย่างไรก็ตามต้องมีครูอาจารย์สอบอารมณ์  การรู้ปริยัติมากเกินไป อาจไม่เกิดผลดีกับการปฏิบัติ เพราะจิตจะยึดหน่วงเอาเป็นอุปทาน

หากจิตตั้งมั่นระดับหนึ่ง จิตจะพิจารณาขันธ์ ๕ โดยตัวมันเองหรือเป็นไปโดยอัตโนมัติ ขออย่าได้เป็นกังวลในเรื่องนี้ อย่างที่บอกไปแล้ว ต้องมีครูอาจารย์คอยกำกับคอยแนะนำ

ผมจะนำกระทู้เก่าๆ มาให้อ่านอีกครั้ง สัก ๒ กระทู้


 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


วิปัสสนาญาณ

เริ่มเจริญวิปัสสนา

การเจริญวิปัสสนา ต้องเจริญเพื่อมรรคผล อย่างแบบคิดว่า พอเป็นอุปนิสัยเท่านั้น การปฏิบัติแบบคิดว่าพอเป็นนิสัย ไม่ควรมีในหมู่พุทธศาสนิกชน เพราะเป็นการดูแคลนพระพุทธศาสนาเกินไป พูดกันตรง ๆ ก็ว่า ไม่มีความเชื่อถือจริง และไม่ใช่นักปฏิบัติจริง ปฏิบัติตามเขาพอได้ชื่อว่าฉันก็ปฏิบัติวิปัสสนาคนประเภทนี้แหละที่ทำให้พระพุทธศาสนา เสื่อมโทรม เพราะทำไปไม่นานก็เลิกแล้วก็เอาความไม่จริงไม่จังของตนเองนี่แหละไป โฆษณา บอกว่าฉันปฏิบัตินานแล้วไม่เห็นมีอะไรปรากฏเป็นการทำลายพระศาสนาโดยตรง ฉะนั้น นักปฏิบัติแล้วควรตั้งใจจริงเพื่อมรรคผล ถ้ารู้ตัวว่าจะไม่เอาจริงก็อย่าเข้ามายุ่ง ทำให้ศาสนาเสื่อมทรามเลย ต่อไปนี้จะพูดถึงนักปฏิบัติที่เอาจริง

 :25: :25: :25:

ก่อนพิจารณาวิปัสสนา

ทุกครั้งที่จะเจริญวิปัสสนา ท่านให้เข้าฌานตามกำลังสมาธิที่ได้เสียก่อนเข้าฌานให้ถึงที่สุดของสมาธิ ถ้าเป็นฌานที่ ๔ ได้ยิ่งดี ถ้าได้สมาธิ ๆ ไม่ถึงฌาน ๔ ก็ให้เข้าฌานจนเต็มกำลังสมาธิที่ได้เมื่ออยู่ในฌานจนจิตสงัดดีแล้วค่อยๆ คลายสมาธิมาหยุดอยู่ที่อุปจารฌาน แล้วพิจารณาวิปัสสนาญาณทีละขั้น อย่าละโมบโลภมาก ทำทีละขั้น ๆ นั้น จะเกิดเป็นอารมณ์ ประจำใจไม่หวั่นไหว เป็นเอกัคคตารมณ์ เป็นอารมณ์ที่ไม่กำเริบแล้ว จึงค่อยเลื่อนไปฌาน ต่อไปเป็น ลำดับ ทุกฌานปฏิบัติอย่างเดียวกันทำอย่างนี้จะได้รับผลแน่นอน ผลที่ได้ต้องมีการ ทดสอบจากอารมณ์จริงเสมอ อย่านึกคิดเอาเองว่าได้เมื่อยังไม่ผ่านการกระทบจริง ต้องผ่านการกระทบจริงก่อน ไม่กำเริบแล้วเป็นอันใช้ได้




ธรรมเครื่องบำรุงวิปัสสนาญาณ

นักเจริญวิปัสสนาญาณที่หวังผลจริง ไม่ใช่นักวิปัสสนาทำเพื่อโฆษณาตัวเองแล้ว ท่านว่าต้องเป็นผู้ปรับปรุงบารมี ๑๐ ให้ครบถ้วนด้วย ถ้าบารมี ๑๐ ยังไม่ครบถ้วนเพียงใด ผลในการเจริญวิปัสสนาญาณจะไม่มีผลสมบูรณ์ บารมี ๑๐ นั้นมีดังต่อไปนี้

    1. ทาน คือการให้ ต้องมีอารมณ์ใคร่ต่อการให้ทานเป็นปกติ ให้เพื่อ สงเคราะห์ ไม่ให้เพื่อผลตอบแทน ให้ไม่เลือกเพศ วัย ฐานะ และความสมบูรณ์ เต็มใจในการให้ทาน เป็นปกติ ไม่มีอารมณ์ไหวหวั่นในการให้ทาน
    2. ศีล รักษาศีล ๕ เป็นปกติ ศีลไม่บกพร่อง และรักษาแบบอุกฤษฏ์ คือ ไม่ทำศีล ให้ขาดหรือด่างพร้อยเอง ไม่ยุคนอื่นให้ละเมิดศีล ไม่ดีใจเมื่อคนอื่น ละเมิดศีลไม่ดีใจเมื่อ คนอื่นละเมิดศีล
    3. เนกขัมมะ การถือบวช คือถือพรหมจรรย์ ถ้าเป็นนักบวช ก็ต้องถือ สิกขาบท อย่างเคร่งครัดถ้าเป็นฆราวาส ต้องเคร่งครัดในการระงับอารมณ์ทีเป็นที่เป็นทางของนิวรณ์ ๕ คือทรงฌานเป็นปกติ อย่างต่ำก็ก็ปฐมฌาน
    4. ปัญญา มีความคิดรู้เท่าทันสภาวะของกฎธรรมดา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นปกติ
    5. วิริยะ มีความเพียรเป็นปกติ ไม่ท้อถอยในการปฏิบัติเพื่อมรรคผล
    6. ขันติ อดทนต่อความยากลำบาก ในการฝืนใจระงับอารมณ์ที่ไม่ถูกใจ อดกลั้น ไม่หวั่นไหว จนมีอารมณ์อดกลั้นเป็นปกติ ไม่หนักใจเมื่อต้องอดทน
    7. สัจจะ มีความจริงใจ ไม่ละทิ้งกิจการงานในการปฏิบัติความดีเพื่อมรรคผล
    8. อธิษฐาน ความตั้งใจ ความตั้งใจใด ๆ ที่ตั้งใจไว้ เช่น สมัยที่สมเด็จพระผู้มี พระภาคเจ้าพระองค์เข้าไปนั่งที่โคนต้นโพธิ์ พระองค์ทรง อธิษฐานว่า ถ้าเราไม่ได้สำเร็จ พระโพธิญาณเพียงใดเราจะไม่ยอมลุกจากที่นี้ แม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปหรือชีวิต จะตักษัย คือสิ้นลมปราณก็ตามทีพระองค์ทรงอธิษฐานเอาชีวิตเข้าแลกแล้วพระองค์ก็ทรง บรรลุในคืนนั้น การปฏิบัติต้องมีความมั่นใจอย่างนี้ ถ้าลงเอาชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว สำเร็จ ทุกราย และไม่ยากเสียด้วย ใช้เวลาก็ไม่นาน
    9. เมตตา มีความเมตตาปรานีไม่เลือก คน สัตว์ ฐานะ ชาติ ตระกูล มีอารมณ์เป็น เมตตาตลอดวันคืนเป็นปกติ ไม่ใช่บางวันดี บางวันร้ายอย่างนี้ไม่มีหวัง
  10. อุเบกขา ความวางเฉยต่ออารมณ์ที่ถูกใจ และอารมณ์ที่ขัดใจ อารมณ์ที่ถูกใจ รับแล้วก็ทราบว่าไม่ช้าอาการอย่างนี้ก็หมดไปไม่มีอะไรน่ายึดถือพบอารมณ์ที่ขัดใจก็ปลงตก ว่า เรื่องอย่างนี้มันธรรมดาของโลกแท้ๆ เฉยได้ทั้งสองอย่าง


บารมี ๑๐ นี้ มีความสำคัญมากถ้า นักปฏิบัติบกพร่องในบารมี ๑๐ นี้ แม้อย่างเดียว วิปัสสนาญาณก็มีผลสมบูรณ์ไม่ได้ ที่ว่าเจริญกันมา ๑๐ ปี ๒๐ ปี ไม่ได้อะไรนั้น ก็เพราะเป็น ผู้บกพร่องในบารมี ๑๐ นี่เอง ถ้าบารมี ๑๐ ครบถ้วนแล้ว ผลการปฏิบัติเขานับวันสำเร็จกัน ไม่ใช่นับเดือนนับปี ฉะนั้น ท่านนักปฏิบัติเพื่อมรรคผลต้องสนใจปฏิบัติในบารมี ๑๐ นี้ ไม่ให้ บกพร่องเป็นกรณีพิเศษ


ที่มา http://www.larnbuddhism.com/grammathan/vipassanayan.html
ภาพจาก http://meditation.dmc.tv/ , http://www.oknation.net/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ทำไมไม่พูดถึงวิปัสสนาญาณ

วิปัสสนาญาณ คือ ปัญญา ความรู้ ความเห็นแจ้งด้วยตนเองถึงธรรมชาติที่แท้จริงของรูปนาม (ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร ไม่เป็นไปตามใจปรารถนา ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้ ฯลฯ) อันเป็นผลจากการเจริญวิปัสสนา ซึ่งเมื่อความรู้ ความเห็นแจ้งนี้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ ก็จะทำให้ความรู้สึกนึกคิด ตลอดจนการมองโลก ของผู้ปฏิบัติ เปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นของปัญญานั้น ทีละมากบ้างน้อยบ้าง
     จนในที่สุดก็จะทำลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งต่างๆ อันเป็นต้นเหตุแห่งกิเลส
     และความทุกข์ทั้งปวง ลงไปอย่างถาวรในขณะแห่งมรรคญาณ
     และจะเห็นผลของการทำลายนั้นได้อย่างชัดเจน ในขณะแห่งผลญาณ


ลำดับขั้นของพัฒนาการเหล่านี้ ได้รับการแบ่งเป็นขั้นย่อยๆ เอาไว้หลายแนวทาง เช่น
    - แบ่งตามแนวของวิสุทธิคุณ 7 ได้เป็น 7 ขั้น
    - แบ่งตามแนวโสฬสญาณ หรือ ญาณ 16 ได้เป็น 16 ขั้น
แต่ถ้าสังเกตให้ดีแล้ว จะเห็นว่าผู้ดำเนินการไม่เคยเขียนรายละเอียดของเรื่องเหล่านี้เอาไว้เลย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? ขออธิบายถึงข้อดีข้อเสียของเรื่องเหล่านี้ ดังนี้ :


 ans1 ans1 ans1

ถึงแม้ผู้ปฏิบัติจะไม่รู้เกี่ยวกับลำดับขั้นของวิปัสสนาญาณเลย แต่ถ้าปฏิบัติถูกทางแล้ว วิปัสสนาญาณก็ย่อมจะเกิดขึ้นมาเองโดยลำดับอยู่แล้ว และแน่นอนว่าผลอันสืบเนื่องจากวิปัสสนาญาณนั้น ก็ย่อมจะเกิดตามมาอย่างไม่ต้องสงสัย และพัฒนาการต่างๆ ก็ย่อมจะเป็นไปตามขั้นตอน ตามวาสนา บารมี และอุปนิสัย อันเป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล

เพราะต้นเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ก็คือความรู้ ความเข้าใจ ความเห็นแจ้งในธรรมชาติของรูปนามด้วยปัญญาของตนเอง อันเกิดจากการเจริญวิปัสสนานั่นเอง ไม่ใช่เกิดจากระเบียบกฎเกณฑ์ที่ใครวางเอาไว้เลย จะมีก็แต่กฎเกณฑ์ของธรรมชาติเท่านั้น






แต่ถ้าผู้ปฏิบัติรู้เรื่องรายละเอียดของวิปัสสนาญาณขั้นต่างๆ ล่วงหน้า ก่อนที่ความเห็นแจ้งเหล่านั้นจะเกิดขึ้นด้วยปัญญาของตนเองจริงๆ แล้ว ผลเสียที่อาจจะเกิดตามมา ก็คือ

   1. การปฏิบัติจะก้าวหน้าได้ช้า เพราะผู้ปฏิบัติมัวแต่คอยเปรียบเทียบผลการปฏิบัติของตน กับทฤษฎีอยู่ และอาจถึงขั้นทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน ไม่อยู่กับสภาวะอันเป็นปัจจุบันเฉพาะหน้า จนปัญญาไม่เกิดเลยก็ได้
   2. ผู้ปฏิบัติอาจเกิดอติมานะ คือความเย่อหยิ่งถือตนว่าปฏิบัติได้สูงกว่าคนอื่น ซึ่งเป็นกิเลสชนิดหนึ่ง และอาจมีผลสืบเนื่องให้กิเลสตัวอื่นๆ เกิดตามมา
   3. อาจเกิดญาณเทียมขึ้นมาได้ เพราะผู้ปฏิบัติรู้ล่วงหน้าแล้วว่าต่อไปควรเกิดความรู้ และความรู้สึกอย่างไรขึ้นมาบ้าง และด้วยความที่อยากจะก้าวหน้าไปเร็วๆ จึงเกิดการน้อมใจไปสู่ความรู้สึกเช่นนั้น หรือเกิดการสะกดจิตตนเองโดยไม่รู้ตัว
    ทั้งที่ปัญญาเหล่านั้นยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่อาศัยสัญญาคือการจำมาจากตำรา หรือจากผู้อื่น
    (ซึ่งสัญญาจะทำได้ก็เพียงข่มกิเลสเอาไว้เท่านั้น ไม่สามารถทำลายความยึดมั่นถือมั่น และกิเลสต่างๆ ได้อย่างแท้จริง เมื่อมีเหตุปัจจัยที่เหมาะสมกิเลสก็จะแสดงตัวออกมาใหม่)
    จนทำให้เข้าใจผิดได้ว่า ตนเองก้าวหน้าไปถึงขั้นนั้นแล้วจริงๆ และอาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ต่อเนื่องไปจนถึงขั้นเกิดมรรคผลเทียมขึ้นมาเลยก็ได้





ในสมัยโบราณ (ถ้าจำไม่ผิด ผู้ดำเนินการเคยอ่านเรื่องนี้ในอรรถกถาของพระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ ที่มี 91 เล่ม) มีภิกษุ 2 รูป เข้าใจผิดว่าท่านได้เป็นพระอรหันต์แล้ว มีผู้ที่รู้ว่าท่านทั้งสองยังเป็นปุถุชนอยู่ ปรารถนาจะช่วย
     จึงใช้วิธีให้ทำเป็นช้างวิ่งตรงเข้าไป จนจะชนภิกษุรูปหนึ่ง
     ภิกษุรูปนั้นตกใจ กลัวตาย จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชนอยู่
     ส่วนภิกษุอีกรูปหนึ่งใช้วิธีให้นั่งเพ่งนางอัปสร ไม่นานกามราคะของภิกษุรูปนั้นก็แสดงตัวออกมา
     จึงรู้ตัวว่ายังเป็นปุถุชนอยู่เช่นกัน
     ต่อมาท่านทั้งสองจึงทำความเพียร เจริญวิปัสสนาต่อไป จนบรรลุเป็นพระอรหันต์ทั้งสองรูป

การเข้าใจผิดเรื่องผลของการเจริญวิปัสสนานั้นเกิดขึ้นได้ง่าย เพราะธรรมดากิเลสนั้นนอกจากจะถูกทำลายอย่างถาวรด้วยวิปัสสนาปัญญาแล้ว ยังอาจถูกกด หรือข่มเอาไว้ได้หลายวิธี
    เช่น ด้วยอำนาจของสมาธิ การพิจารณาแล้วข่มเอาไว้ การข่มด้วยสติ การน้อมใจแล้วข่มเอาไว้ ฯลฯ
    ซึ่งวิธีการเหล่านี้จะซ่อนกิเลสเอาไว้ได้ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อสบโอกาสที่เหมาะสมกิเลสเหล่านั้นก็จะแผลงฤทธิ์ออกมาได้ใหม่

 ans1 ans1 ans1

     ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจึงต้องระวังให้ดี ไม่เช่นนั้นแล้วญาณเทียมจะเกิดขึ้นได้ การปฏิบัติโดยการรับรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน ไม่ต้องสนใจผลที่จะเกิดในอนาคต และไม่ต้องไปเทียบชั้นญาณกับทฤษฎีจะปลอดภัยกว่า ขอให้ศึกษาวิธีการปฏิบัติให้เข้าใจอย่างชัดเจนเป็นใช้ได้
     หลังจากนั้นก็คอยดู คอยสังเกตสภาวะที่ปรากฏให้เห็นจริงๆ ในขณะนั้น
     แล้ววิปัสสนาญาณก็จะเกิดขึ้นเอง อย่าใจร้อน
     ถ้ามีกัลยาณมิตรคอยแนะนำตามสมควร ก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก


ที่มา http://www.dhammathai.org/treatment/nivorn/nivorn13.php
ขอบคุณภาพจาก http://www.flickr.com/photos/90000460@N08/with/8174856134/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12

ท่านธวัชชัยกล่าวดีปล้ว ถูกแล้ว สมควร,ล้ว ผมขออนุญาตเพิ่มเติมความเห็นแนวปฏบัติสักนิดดังนี้ครับ

1. พิจารณาเห็นกายภายในภายนอก เห็นแยกอาการทั้ง32 เห็นความเสื่อมไปในกาย เห็นความเจ็บปวดจากกายซึ่งความเจ็บปวดนั้นกายไม่ได้รับรู้แต่อาศัยวิญญาณมีอยู่คือจิตให้รับรู้ความอาพาธนั้น เห็นโผฐัพพะทางกาย เห็นกายสักเป็นแค่เพียงมหาภูตรูปทาประชุมรวมกัน มีไว้สักแต่เพียงใหเป็นระลึกรู้ความเปลี่นแผลงเสื่อมโทรมอันไม่สามารถไปบังคับใดๆได้ ดั่งดินไม่มีจิตไม่รับรู้ร้อนหนาว ไม่รู้เจ็บปวด ไม่มีความชอบมจไม่ชอบใจไรๆ แม้จะอยู่หรือเผชิญสภาพไรๆ แต่ที่เรารู้ทางกายเพราะอาศัยวิญญาณคอจิตเข้าไปรู้ในความเป็นไปของอาการนั้นๆ เจริญในกายานุสติปัฎฐานก็จะแยกในรูปขันธ์ได้
2. พิจารณาเวทนานุสติปัฎฐานเห็นกองเวทนาคือ สุขกายรู้ ทุกข์กายรู้ ไม่สุขไม่กายทุกรู้ สุขใจรู้ ทุกข์ใจรู้ วางเฉยไม่สุขไม่ทุกข์ใจรู้ เห็นเวทนาเกิดขึ้นเมื่อรู้ผัสสะใดๆจากสฬายตนะ สักแต่เพียงมีไว้ระลึกรู้ไม่ได้มีไว้เสพย์ คือเห็นกองเวทนา
3. พิจารณาจิตตานุสติปัฏฐานเห็นในความคิดว่ากุศล หรืออกุศล พิจารณาเห็น รัก โลภ โกรธ หลงในตน คือ กาม ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ ในตน เป็นจิตเห็นความปรุงแต่งเกิดขึ้นประกองจิต สักแต่มีไว้ระลึกรู้ คือ เห็นสังขารขันธ์
4. พิจารณาจิตตานุสติปัฏฐานให้เห็นในความจดจำ ความเข้าไปให้ความสำคัญมั่นหมายไรๆ ความจำได้จำไว้ ความรู้บัญญัติเรื่องราวไรๆจากความจดจำสำคัญมั่นหมายเอาไว้ในใจ เป็นกองสัญญา
5. ระลึกรู้เห็นธรรมที่มีในตนบ้างหรือภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นความเข้าไปรู้สิ่งไรๆ หรือ ความรู้อารมณ์ไรๆทั้งปวงทั้ง 4 ข้อข้างต้น จะด้วยสมมติบัญญัติ หรือ ปรมัตถธรรมก็ตาม เป็นวิญญาณขันธ์

หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ท่านเจ้าของกระทุ้เพื่อใช้ในการปฏิบัตินะครับ ผทเป็นผู้รู้น้อยถึงไม่รู้เลย ปฏิบัติมาน้อยจึงตอบได้เพียงเท่านี้ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 08, 2014, 04:06:15 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ