ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขอคำนิยาม อธิบาย เรื่อง อัตตา กับ อนัตตา ด้วยคะ  (อ่าน 2586 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

ขอคำนิยาม อธิบาย เรื่อง อัตตา กับ อนัตตา ด้วยคะ
 
   คือเวลาฟังธรรม แล้ว มักจะโดนยกคำว่า อัตตา และ อนัตตา ประจำแต่เวลาถามพระคุณเจ้าก็ไ่ม่ใคร่ตอบตรงประเด็นคะ คือ

   อัตตา แปลว่า ตัวตน หมายถึง ขันธ์ 5 เบื้องต้นอย่างนี้

   แล้ว อัตตา เกี่ยวกับการภาวนา เป็นอย่างไร คะ คือ บางคนกล่าวว่า ธาตุ 4 คือ อัตตา บางคน ก็กล่าวว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอัตตา บางคนก็กล่าวว่า การเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ใน ขันธ์ เป็นอัตตา

   สรุปโดยส่วนตัว ก็เลยคิดว่า การเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ใน ขันธ์ 5 คือกาย และ ใจ เป็น อัตตา

   ที่นี้ อนัตตา หมายถึง การไม่มีตัวตน การสละเสียซึ่งตน แต่ วิธีการปฏิบัติ ก็คือ เข้าไปยึดมั่น ในศีล สมาธิ และ ปัญญา การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ยังต้องอาศัย เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ดังนั้น ส่วนตัวก็เห็นว่า แม้ การเข้าตั่งมั่น ในศีล สมาธิ ปัญญา ก็ยังเป็นอัตตา เช่นกัน จะเป็น อนัตตา ได้อย่างไร
 
   พอด้วยวิธีคิดอย่างนี้ จึงทำให้เห็นว่า อนัตตา ไม่มีใน ศีล สมาธิ และ ปัญญา

  ไม่ทราบ ว่าจะแก้ ความเห็น เหล่านี้ได้อย่างไร คะ โปรดชี้นำด้วยคะ

  thk56
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28418
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำนิยาม อธิบาย เรื่อง อัตตา กับ อนัตตา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 07, 2014, 07:46:08 pm »
0


อนัตตา อัตตา : คำวัด
อนัตตา อัตตา : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์

ไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า แปลว่า ตะกร้า ๓ ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น ๓ หมวดใหญ่ๆ คือ
     ๑.พระวินัยปิฎก ว่าด้วยพระวินัยสิกขาบทต่างๆ ของภิกษุและภิกษุณี
     ๒.พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยพระสูตรซึ่งเป็นพระธรรมเทศนาของพระโคตมพุทธเจ้าและพระอรหันตสาวก ที่แสดงแก่บุคคลต่างชั้นวรรณะและการศึกษา ต่างกรรมต่างวาระกัน มีทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง และ
     ๓.พระอภิธรรมปิฎก ว่าด้วยพระอภิธรรมหรือปรมัตถธรรม ซึ่งเป็นธรรมะขั้นสูง อธิบายด้วยหลักวิชาล้วนๆ โดยไม่อ้างอิงเหตุการณ์และบุคคล

     ปัจจุบันคำว่าพระไตรปิฎก ใช้หมายถึงคัมภีร์ในศาสนาพุทธโดยรวมซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้น ๓ สารบบ ได้แก่ 
     ๑.พระไตรปิฎกภาษาบาลี ใช้ในนิกายเถรวาท
     ๒.พระไตรปิฎกภาษาจีน ใช้ในนิกายมหายาน และ
     ๓.พระไตรปิฎกภาษาทิเบต ใช้ในศาสนาพุทธแบบทิเบต


      :96: :96: :96:

     เรื่องการชำระพระไตรปิฎก มีประเด็นข่าวหนึ่งที่สะเทือนวงการพระสงฆ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๕๔ คือ พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ พระอาจารย์ ดร.อนิล ธมฺมสากิโย (ศากยะ) ผู้ช่วยเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศวิหาร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีนักวิชาการทางพระพุทธศาสนาชาวต่างประเทศ ซึ่งเป็นเพื่อนกับอาตมาเล่าให้ฟังว่า
     ขณะนี้วัดพระธรรมกายกำลังเร่งดำเนินการโครงการชำระพระไตรปิฎก โดยนำนักวิชาการที่เชี่ยวชาญภาษาบาลีจากประเทศต่างๆ อาทิ ศรีลังกา พม่า จำนวน ๑๒ คน มาร่วมโครงการชำระพระไตรปิฎก พร้อมให้ค่าจ้างเป็นเงินเดือนๆ ละประมาณ ๑๕,๐๐๐ บาท และให้กินอยู่ฟรี

      ans1 ans1 ans1

    "เบื้องต้นทราบว่า จะแก้ไขเรื่องไตรลักษณ์ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา” มาเป็น “อนิจจัง ทุกขัง อัตตา”
     ซึ่งคำว่า "อนัตตา" หมายความว่า ไม่ใช่ตัวตน ความไม่เที่ยงแท้แน่นอน
     ส่วน “อัตตา” หมายความว่า ตัวตน ความเที่ยงแท้แน่นอน

     เนื่องจากธรรมกายเน้นวัตถุนิยม ใครทำบุญมากจะได้เห็นพระพุทธเจ้าเร็วขึ้น และได้เห็นสวรรค์มากกว่าคนอื่น ประกอบกับพุทธศาสนิกชนยุคปัจจุบันบางคนนับถือพระพุทธศาสนาเพียงแค่เปลือก คือทำบุญหวังผล ชอบสิ่งสวยงาม เห็นพระบางรูปผิวพรรณเปล่งปลั่งก็เชื่อว่าได้บรรลุธรรม" พระอนิลมานกล่าวและว่า
     หากวัดพระธรรมกายทำสำเร็จจะเกิดความเสียหายต่อพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทยอย่างมาก อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ไม่ทราบว่าคณะสงฆ์ไทยจะทราบหรือไม่


     พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต  และเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม ได้ให้ความหมายไว้ว่า
     อัตตา (บาลี: อตฺตา; สันสกฤต: อาตฺมนฺ) แปลว่า ตัวตน ร่างกาย รูปลักษณะ ตัวเอง หรือวิญญาณ ตามทฤษฎีของผู้นับถือลัทธิว่าชีวิตเกิดขึ้นด้วยวิญญาณหรืออาตมัน ซึ่งชาวอินเดียทางภาคเหนือได้ยึดถือเช่นนั้น
     ในคัมภีร์อุปนิษัทอธิบายไว้ว่า อัตตาเป็นตัวตนเล็กๆ รูปร่างเหมือนคน อาศัยอยู่ในหัวใจเวลาปกติ และหนีออกจากร่างกายไปในเวลานอนหลับ หรือในเวลาสงบแน่นิ่ง
 
      :25: :25: :25:

    เมื่ออัตตานั้นกลับมาสู่ร่างเหมือนเดิม ชีวิตและการเคลื่อนไหวจึงเกิดขึ้นเป็นไปตามเดิม ในเวลาตายอัตตาก็จะหนีออกจากร่างไปใช้ชีวิตในอมตะของตนเองวนเวียนไปอย่างนี้โดยไม่มีสิ้นสุด (นัยพจนา. บาลี-อังกฤษ ของสมาคมบาลีปกรณ์)

     ในศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าเรียกความเชื่อเรื่องอัตตาว่าสัสสตทิฐิ ถือเป็นมิจฉาทิฐิอย่างหนึ่ง และเรียกว่าอัตตวาทุปาทาน ซึ่งถือเป็นความยึดมั่นถือมั่นประการหนึ่ง
     อัตตาในคำไทยทั่วไปใช้ในรูป อัตต, อัต เช่น อัตตาธิปไตย อัตชีวประวัติ อัตภาพ อัตโนมัติ


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.komchadluek.net/detail/20140307/180347.html#.Uxm9rc49S4k
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28418
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำนิยาม อธิบาย เรื่อง อัตตา กับ อนัตตา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 07, 2014, 07:52:03 pm »
0
ask1

ขอคำนิยาม อธิบาย เรื่อง อัตตา กับ อนัตตา ด้วยคะ
 
   คือเวลาฟังธรรม แล้ว มักจะโดนยกคำว่า อัตตา และ อนัตตา ประจำแต่เวลาถามพระคุณเจ้าก็ไ่ม่ใคร่ตอบตรงประเด็นคะ คือ

   อัตตา แปลว่า ตัวตน หมายถึง ขันธ์ 5 เบื้องต้นอย่างนี้

   แล้ว อัตตา เกี่ยวกับการภาวนา เป็นอย่างไร คะ คือ บางคนกล่าวว่า ธาตุ 4 คือ อัตตา บางคน ก็กล่าวว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอัตตา บางคนก็กล่าวว่า การเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ใน ขันธ์ เป็นอัตตา

   สรุปโดยส่วนตัว ก็เลยคิดว่า การเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ใน ขันธ์ 5 คือกาย และ ใจ เป็น อัตตา

   ที่นี้ อนัตตา หมายถึง การไม่มีตัวตน การสละเสียซึ่งตน แต่ วิธีการปฏิบัติ ก็คือ เข้าไปยึดมั่น ในศีล สมาธิ และ ปัญญา การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ยังต้องอาศัย เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ดังนั้น ส่วนตัวก็เห็นว่า แม้ การเข้าตั่งมั่น ในศีล สมาธิ ปัญญา ก็ยังเป็นอัตตา เช่นกัน จะเป็น อนัตตา ได้อย่างไร
 
   พอด้วยวิธีคิดอย่างนี้ จึงทำให้เห็นว่า อนัตตา ไม่มีใน ศีล สมาธิ และ ปัญญา

  ไม่ทราบ ว่าจะแก้ ความเห็น เหล่านี้ได้อย่างไร คะ โปรดชี้นำด้วยคะ

  thk56


 ans1 ans1 ans1

อัตตา ตัวตน, อาตมัน; ปุถุชนย่อมยึดมั่น มองเห็นขันธ์ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งหมดเป็นอัตตา หรือยึดถือว่า อัตตาเนื่องด้วยขันธ์ ๕ โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง; เทียบ อนัตตา

อนัตตา ไม่ใช่อัตตา, ไม่ใช่ตัวใช่ตน;
ดู อนัตตลักษณะ

อนัตตลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนัตตา, ลักษณะที่ให้เห็นว่าเป็นของมิใช่ตัวตน โดยอรรถต่างๆ
    ๑. เป็นของสูญ คือ เป็นเพียงการประชุมเข้าขององค์ประกอบที่เป็นส่วนย่อยๆ ทั้งหลาย ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา หรือการสมมติเป็นต่างๆ
    ๒. เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้ ไม่เป็นของใครจริง
    ๓. ไม่อยู่ในอำนาจ ไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่ขึ้นต่อการบังคับบัญชาของใครๆ
    ๔. เป็นสภาวธรรมที่ดำรงอยู่หรือเป็นตามธรรมดาของมัน เช่น ธรรมที่เป็นสังขตะ คือสังขาร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ขึ้นต่อเหตุปัจจัย ไม่มีอยู่โดยลำพังตัว แต่เป็นไปโดยสัมพันธ์ อิงอาศัยกันอยู่กับสิ่งอื่นๆ
    ๕. โดยสภาวะของมันเอง ก็แย้งหรือค้านต่อความเป็นอัตตา มีแต่ภาวะที่ตรงข้ามกับความเป็นอัตตา;

        ดู ทุกขลักษณะ, อนิจจลักษณะ


อ้างอิง : พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


 ans1 ans1 ans1 คำอธิบายโดยพิศดารจะมีให้ในโอกาสต่อไป โปรดติดตาม..
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28418
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำนิยาม อธิบาย เรื่อง อัตตา กับ อนัตตา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 11, 2014, 11:48:04 am »
0
ask1

ขอคำนิยาม อธิบาย เรื่อง อัตตา กับ อนัตตา ด้วยคะ
 
   คือเวลาฟังธรรม แล้ว มักจะโดนยกคำว่า อัตตา และ อนัตตา ประจำแต่เวลาถามพระคุณเจ้าก็ไ่ม่ใคร่ตอบตรงประเด็นคะ คือ

   อัตตา แปลว่า ตัวตน หมายถึง ขันธ์ 5 เบื้องต้นอย่างนี้

   แล้ว อัตตา เกี่ยวกับการภาวนา เป็นอย่างไร คะ คือ บางคนกล่าวว่า ธาตุ 4 คือ อัตตา บางคน ก็กล่าวว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอัตตา บางคนก็กล่าวว่า การเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ใน ขันธ์ เป็นอัตตา

   สรุปโดยส่วนตัว ก็เลยคิดว่า การเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ใน ขันธ์ 5 คือกาย และ ใจ เป็น อัตตา

   ที่นี้ อนัตตา หมายถึง การไม่มีตัวตน การสละเสียซึ่งตน แต่ วิธีการปฏิบัติ ก็คือ เข้าไปยึดมั่น ในศีล สมาธิ และ ปัญญา การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ยังต้องอาศัย เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ดังนั้น ส่วนตัวก็เห็นว่า แม้ การเข้าตั่งมั่น ในศีล สมาธิ ปัญญา ก็ยังเป็นอัตตา เช่นกัน จะเป็น อนัตตา ได้อย่างไร
 
   พอด้วยวิธีคิดอย่างนี้ จึงทำให้เห็นว่า อนัตตา ไม่มีใน ศีล สมาธิ และ ปัญญา

  ไม่ทราบ ว่าจะแก้ ความเห็น เหล่านี้ได้อย่างไร คะ โปรดชี้นำด้วยคะ

  thk56


 ans1 ans1 ans1

จะคุยเป็นเพื่อนนะครับ.......
    - การละอัตตาโดยสิ้นเชิง เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์
    - พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ดังนั้นนิพพานจึงเป็นอนัตตา ไม่มีใครละอนัตตาได้
    - อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ การจะละทุกข์ได้อย่างเด็ดขาด ต้องละการยึดมั่นในขันธ์ ๕ การละอุปทานขันธ์ ๕ ได้ เป็นคุณธรรมของพระอรหันต์
    - การอธิบายขันธ์ ๕ จะอธิบายด้วยรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ได้ หรือจะอธิบายด้วย ธาตุ ๔ หรือ ๕ (ดิน น้ำ ไฟ ลม อากาศ/ช่องว่าง) ก็ได้ หรือจะสรุปเป็น กายและใจ ก็ได้


     :25: :25: :25:

การที่จะละการยึดมั่นในกายและใจได้ ต้องเดินตามมรรคมีองค์ ๘(ศีล สมาธิ ปัญญา) การละความยึดมั่นในกายใจมีลำดับของมันอยู่ จะขออธิบายด้วยสังโยชน์ ๑๐

สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่
           ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
           ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
           ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ
       ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่
           ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
           ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
           ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
           ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
           ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง;
       พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้,
       พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ข้อ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,
       พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด,
       พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ


    พระอรรถกถาจารย์อธิบายไว้ว่า พระอนาคามีซึ่งละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้นั้น เป็นการละความยึดมั่นในกายได้เท่านั้น แต่ยังยึดมั่นในใจอยู่ พระอรหันต์ผู้ซึ่งละสังโยชน์ได้ทั้งหมด เป็นผู้ละความยึดมั่นในกายและใจได้
    ในอัตภาพของความเป็นมนุษย์ ต้องประกอบด้วยกายและใจ การละสังโยชน์เป็นการละที่ใจ แต่ใจต้องอาศัยกาย กายจึงเป็นเครื่องมือของใจ การละสังโยชน์หรือละอุปทานขันธ์ ๕ ต้องอาศัยเครื่องมือ คือ กายนั่นเอง


   ask1 ask1 ask1
    คำถามของคุณ what-is-it มีอยู่ว่า
    "ที่นี้ อนัตตา หมายถึง การไม่มีตัวตน การสละเสียซึ่งตน แต่ วิธีการปฏิบัติ ก็คือ เข้าไปยึดมั่น ในศีล สมาธิ และ ปัญญา การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ ศีล สมาธิ ปัญญา ก็ยังต้องอาศัย เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ
    ดังนั้น ส่วนตัวก็เห็นว่า แม้ การเข้าตั่งมั่น ในศีล สมาธิ ปัญญา ก็ยังเป็นอัตตา เช่นกัน จะเป็น อนัตตา ได้อย่างไร
    พอด้วยวิธีคิดอย่างนี้ จึงทำให้เห็นว่า อนัตตา ไม่มีใน ศีล สมาธิ และ ปัญญา"


     ans1 ans1 ans1

     ๑. อนัตตาไม่ได้หมายถึง การสละเสียซึ่งตน และพระพุทธเจ้าก็ไม่ได้สอนให้ละอนัตตา พระองค์บอกว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เป้าหมายสูงสุดของการละตัวตนคือ นิพพาน ดังนั้นนิพพานจึงเป็นอนัตตา เราอาจอธิบายได้อีกนัยหนึ่งคือ เป้าหมายสูงสุดของการละตัวตนคือ การแสวงหาความเป็นอนัตตา(นิพพาน)

     ๒. การปฎิบัติตามมรรค(ศีลสมาธิปัญญา/ไตรสิกขา) จำเป็นต้องอาศัยขันธ์ ๕ การยึดมั่นในมรรคจัดเป็นสัมมาทิฏฐิ ปุถุชนหรือเสขะบุคคล(โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี) จำเป็นต้องยึดมั่นในมรรค มรรคจัดเป็นเครื่องมือในการตัดสังโยชน์ การปฎิบัติตามมรรคจึงเป็นเรื่องที่ถูกต้องและจำเป็น

     ๓. บุคคลที่ไม่ต้องปฎิบัติตามมรรค(ศีลสมาธิปัญญา/ไตรสิกขา) จัดเป็นอเสขะบุคคล(หมายถึงไม่ศึกษาอะไรแล้ว) มีอยู่คนเดียวคือ พระอรหันต์ ดังที่กล่าวมาแล้ว คนที่ละอัตตาความเป็นตัวตน(กายใจ)ได้อย่างสิ้นเชิง คือ พระอรหันต์นั่นเอง
         ศีลสมาธิปัญญาที่ท่านมีอยู่ ไม่ได้มีไว้เพื่อตัดสังโยชน์ มีไว้เพื่อเป็นวิหารธรรม เป็นมหากิริยาจิต เพราะท่านยังมีขันธ์ ๕ อยู่ แต่ท่านไม่มีอุปทานขันธ์ ๕ ตราบใดที่พระอรหันต์ยังไม่ได้ละสังขาร นั่นหมายถึงยังไม่ได้เข้านิพพาน (โลกุตรธรรม 9 ประกอบด้วย มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑)
         แนะนำให้อ่านกระทู้นี้ครับ
         "ไม่พัก ไม่เพียร" คำนี้ลึกล้ำ
         http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=5497.0

     ๔. ศีลสมาธิปัญญา เป็นอนัตตาครับ เพราะธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
     ๕. แนะนำให้อ่านฉันนสูตร http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=2963&Z=3028
     ๖. แนะนำให้อ่าน วิธีลดอัตตา http://www.buddhadasa.com/self/self_061.html

      :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 12, 2014, 09:30:21 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

what-is-it

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 51
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ขอคำนิยาม อธิบาย เรื่อง อัตตา กับ อนัตตา ด้วยคะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 11, 2014, 10:33:47 pm »
0
 thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า