ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ 5 เป็นอย่างไร  (อ่าน 859 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ภิกษุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ 5 เป็นอย่างไร

ภิกษุทั้งหลาย รูปทุกอย่าง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อยู่ในที่ไกล หรืออยู่ในที่ใกล้ก็ตาม เป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี่เรียกว่า รูปูปาทานขันธ์

ภิกษุทั้งหลาย เวทนาทุกอย่าง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อยู่ในที่ไกล หรืออยู่ในที่ใกล้ก็ตาม เป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี่เรียกว่า เวทนูปาทานขันธ์

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาทุกอย่าง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อยู่ในที่ไกล หรืออยู่ในที่ใกล้ก็ตาม เป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี่เรียกว่า สัญญูปาทานขันธ์

ภิกษุทั้งหลาย สังขารทุกอย่าง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อยู่ในที่ไกล หรืออยู่ในที่ใกล้ก็ตาม เป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี่เรียกว่า สังขารูปปาทานขันธ์

ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณทุกอย่าง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อยู่ในที่ไกล หรืออยู่ในที่ใกล้ก็ตาม เป็นไปกับอาสวะ เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน นี่เรียกว่า วิญญาณูปาทานขันธ์

อุปาทานขันธ์ บัณฑิตพึงเห็นว่า ขันธ์ทั้งหลายเป็นที่โคจรแห่งอุปาทาน ชื่อว่า อุปาทานขันธ์

อนึ่ง วัตถุแห่งความยึดถือว่า เป็นตน เป็นของของตน
เมื่อรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มีอยู่ ความเห็นผิด อาศัยรูป ยึดรูป
อาศัญ เวทนา ยึด เวทนา
อาศัย สัญญา ยึด สัญญา
อาศัย สังขาร ยึดสังขาร
อาศัย วิญญาณ ยึด วิญญาณ
จึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา

รูปูปาทานขันธ์ เปรียบเหมือน โรงพยาบาล
เพราะเป็นที่อาศัยอยู่แห่ง วิญาณูปาทานขันธ์
วิญาณูปาทานขันธ์ เปรียบเหมือนคนไข้
ที่ต้องมีทวารและอารมณ์
เวทนูปาทานขันธ์ เปรียบเหมือนความไข้
สัญญูปาทานขันธ์ เปรียบเหมือนสมุฏฐานแห่งความไข้
สังขารูปาทานขันธ์ เปรียบเหมือนการเสพของแสลง ที่เป็นเหตุแห่งความไข้

อุปาทานขันธ์ เปรียบเหมือนคุก และ การลงโทษ

บุคคลพึ่งเห็น ขันธ์ทั้ง 5 โดย 2 อย่าง

1.เห็นโดยสังเขป ว่า อุปาทานขันธ์ เป็นเหมือนนักฆ่า เป็นของหนัก เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

2.เห็นโดยพิศดา ว่า
รูป พึ่งเห็นเหมือนกก้อนฟองน้ำ
เวทนา พึงเห็นเหมือนต่อมน้ำ
สัญญา พึ่งเห็นเหมือนพยับแดด
สังขาร พึงเห็นเหมือนต้นกล้วย
วิญญาณ พึงเห็นเหมือนกล และสิ่งลวง

ผู้เห็น อชธัตติกรูป โดยความเป็นของไม่งาม ชื่อว่า กำหนดรู้กวฬิงการาหาร ย่อมละความวิปลาสว่างาม ในสิ่งที่ไม่งามเสียได้ ย่อมข้ามกามโอฆะได้ ย่อมแยกตนออกจากกามโยคะได้ ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ทางกามาสวะ ย่อมทำลาย กายคันถะ( เครื่องร้อยรัดนามกาย) คือ อภิชฌาเสียได้ ย่อมไม่ถือมั่นกามุปาทาน

ผู้เห็นเวทนาโดยความ ความเป็นทุกข์ ชื่อว่า กำหนดรู้ผัสสาหาร ออกจากภวโยคะ เป็นผู้หาอาสวะมิได้ ย่อมทำลาย กายคันถะ คือ พยาบาทได้ ย่อมไม่ถือมั่น สีลัพตุปาทาน

ผู่้เห็นสัญญาและสังขารทั้งหลายโดยความเป็นอนัตตา ชื่อว่า กำหนดรู้ มโนสัญเจตนาหาร ย่อมละความวิปลาสว่า เป็นตนในสิ่งที่ไม่ใช่ตนเสียได้ ย่อมข้ามทิฏฐิโอฆะ ย่อมแยกตนจาก ทิฏฐิโยคะได้ ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ทางทิฏฐาสวะ ย่อมทำลาย กายคันถะคือ อิทังสัจจาภินิวเส( ความปักใจว่า นี่เท่านั้นจริง ) เสียได้ ย่อมไม่ถือมั่น ใน อัตวาทุปาทาน

ผู้เห็นวิญญาณโดยความเป็นอนิจจัง ชื่อว่ากำหนดรู้วิญาณาหาร ย่อมละความวิปลาสว่าเที่ยงในสิ่งที่เที่ยงเสียได้ ย่อมข้าม อวิชชาโอฆะ ยอ่มแยกตน ออกจาก อวิชชาโยคะได้ ย่อมเป็นผู้หาอาสวะมิได้ทาง อวิชชาสวะ ย่อมทำลาย กายคันถะ คือ สีลัพพตปรามาสได้ ย่อมไม่ถือมั่น ทิฏฐุปาทาน

เพราะเหตที่การเห็น (ขันธ์) โดยความเป็น เพชฌฆาต เป็นต้น มีอานิสงค์มาก ดังนี้ เพราะเหตุนั่น ผู้มีปัญญา พึงเห็นขันธ์ทั้งหลาย โดยความเป็น เพชฌฆาต เทอญ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ