ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมครูอาจารย์ ไม่สอนธรรม ขั้นสูงกับคนที่ไม่ใช่ศิษย์ตรง  (อ่าน 1090 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ทำไมครูอาจารย์ ไม่สอนธรรม ขั้นสูงกับคนที่ไม่ใช่ศิษย์ตรง
 ธรรมที่กล่าวแล้วครูอาจารย์มีความเสี่ยงต้องอาบัติ อย่างไรก็อาบัติไม่พ้นจากอาบัติ
 อาบัติ แปลว่าการละเมิดวินัยบัญญัติ ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ เมื่อละเมิดแล้วก็ต้องปรับอาบัติ ไปตามความหนักเบาของวินัย มีตั้งแต่ หนัก กลาง เบา
 หนักก็คือ ขาดจากความเป็นพระ
 กลาง ต้องไปอยู่ปริวาสกรรม ชำระมลทิน
เบา กล่าวคำสัจจะว่าจะไม่อีก เรียกว่า ปลงอาบัติ
 อุตตริมนุสสธรรม นั้น สามารปรับอาบัติได้ 2 อย่างคือ
 หนัก ขาดจากความเป็นพระ
 เบา ก็ต้องปลงอาบัติ
 ที่ชื่อว่า อุตตริมนุสสธรรม ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ
 มรรคภาวนา การทำผลให้แจ้ง การละกิเลส ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ความยินดี
 ในเรือนว่าง
 คำว่า ฌาน ได้แก่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน
 คำว่า วิโมกข์ ได้แก่ สุญญตวิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ อัปปณิหิตวิโมกข์
 คำว่า สมาธิ ได้แก่ สุญญตสมาธิ อนิมิตตสมาธิ อัปปณิหิตสมาธิ
 คำว่า สมาบัติ ได้แก่ สุญญตสมาบัติ อนิมิตตสมาบัติ อัปปณิหิตสมาบัติ
 คำว่า ญาณทัสสนะ ได้แก่ วิชชา ๓
 คำว่า มรรคภาวนา ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔
 อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘
 คำว่า การทำผลให้แจ้ง ได้แก่ การทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง การทำ
 สกทาคามิผลให้แจ้ง การทำอนาคามิผลให้แจ้ง การทำอรหัตตผลให้แจ้ง
 คำว่า การละกิเลส ได้แก่ การละราคะ การละโทสะ การละโมหะ
 คำว่า ภาวะที่จิตปลอดจากกิเลส ได้แก่ ภาวะที่จิตปลอดจากราคะ ภาวะ
 ที่จิตปลอดจากโทสะ ภาวะที่จิตปลอดจากโมหะ
 คำว่า ความยินดีในเรือนว่าง ได้แก่ ความยินดีในเรือนว่างด้วยปฐมฌาน
 ความยินดีในเรือนว่างด้วยทุติยฌาน ความยินดีในเรือนว่างด้วยตติยฌาน ความ
 ยินดีในเรือนว่างด้วยจตุตถฌาน
 ยกตัวอย่างการปรับ อาบัติ เบา
[๗๑] คำว่า " บอก " คือ ภิกษุกล่าวแก่อนุปสัมบันว่า “ข้าพเจ้าเข้าปฐมฌานแล้ว” ต้องอาบัติปาจิตตีย์
 ให้สังเกตว่า บอกในที่นี้ หมายความทั้งพูดเล่น หรือ พูดจริง ก็ให้ปรับอาบัติทันที ไม่ว่าจะทำได้จริง หรือ ไม่ได้จริง อนุปปสัมบัน หมายถึงบุคคลที่มีอายุไม่ถึงเกณฑ์อุปสมบถ ในที่นี้หมายถึง สามเณร
 ดังนั้นถ้า มีการประกาศ หรือ บอก อุตตริมนุสสธรรม แก่บุคคลผู้ไม่ได้เป็นศิษย์ตรง มีโทษ ทั้งเบา และ หนัก ตามแต่เหตุที่กล่าว นับว่ามีความเสี่ยงมากเวลาสอนกรรมฐาน ประเภท ปณีตา และ ผลสมาบัติ เพราะอย่างไรก็ต้องกล่าวคุณสมบัติ ในอารมณ์กรรมฐาน เป็นตัวอย่างเรียกว่า ประกาศทางอ้อม แม้ประกาศทางอ้อม รู้เป็นนัยไม่ประกาศตรง ๆ ก็ปรับอาบัติเข่นกัน หากผู้รับสารไม่ใช่ศิษย์สายตรง
 ดังนั้น ทำไมจึงเน้นว่า ต้องเป็นศิษย์สายตรง ก็เพราะเหตุนั้นเพื่อทำให้ครูอาจารย์ ไม่ต้องอาบัติ เพราะว่าอาบัติส่วนนี้ปรับทั้งพระอริยะ และ ที่ไม่เป็นอริยะ เช่นกันใน สมาคมสงฆ์
 เจริญธรรม / เจริญพร

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ