ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถาม วันหนึ่งมีเรื่องให้อ่านให้เรียน ให้ทำมากมาย อยากทราบว่า ถ้ายังคงเส้นคงวา  (อ่าน 1086 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม วันหนึ่งมีเรื่องให้อ่านให้เรียน ให้ทำมากมาย อยากทราบว่า ถ้ายังคงเส้นคงวา ในสายความเป็นศิษย์ที่ไม่ประมาทของพระอาจารย์ต้องทำอย่างไร บ้างครับ / คะ
ตอบ มี ๓ อย่าง ทำอย่างใด อย่างหนึ่ง หรือ ทั้งหมด ก็ชื่อว่า ศิษย์ที่เคารพรักกันอยู่ และนับถือกันอยู่
๑ เจริญกรรมฐาน ฐานใด ฐานหนึ่ง ในสายกรรมฐาน ไม่ว่าจะเป็นอุปัตตา มัชฌิมา ปณีตา แค่ทำอยู่และทำทุกวัน อันนี้ชื่อว่าเป็นศิษย์เสมอ แต่ถ้ายังไม่ได้ก็ข้อที่ ๒
๒ สวดคาถาพญาไก่แก้ว เติมแสงสว่างให้กับดวงจิตไปเรื่อย ๆ ทำให้มาก ๆ พกประคำ พกเครื่องนับไว้ จะได้รู้ว่า วันหนึ่งเท่าไหร่ ครบ ๘๔๐๐๐ หรือยัง สมัยก่อนครั้งหลวงปู่ มี อ้ายทิดจันท์ อธิษฐานจิตสร้างพระสมเด็จ วันละ ๑๐๘ องค์ พิมพ์ตุ๊กตา เพื่อบูชาหลวงปู่ เพราะมาไม่ทันหลวงปู่ สวรรคต ก่อน เลยอธิษฐานอยู่ที่ัวัดพลับ เพื่อสร้างพระสมเด็จวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตา ๘๔๐๐๐ องค์ ครั้นครบภายในปี กว่า ก็หายตัวไป
ดังนั้นเรืองการสวดคาถาพญาไก่แก้ว ต้องประกอบด้วย ศรัทธา และ สัจจะ ๒ ประการ
ถ้าทำได้ ด้วยการอธิษฐานสม่ำเสมอเอาแค่ วันละ ๑๐๘ จบแค่นี้ก็เป็นอันว่ายังชื่อว่าเป็นศิษย์อยู่
๓ ถ้ายังทำไม่ได้ในสองข้อนั้น ก็้ต้องมารู้จัก สร้างบารมี ให้ทานสนับสนุนการแจกธรรมทาน ของครูอาจารย์ ตามกำลังฐานะ เพื่อสร้างกำลังใจไปก่อน
ถ้าทำได้อย่างนี้ก็ยังชื่อว่าเป็นศิษย์อยู่
เวลาทำตรงนี้ต้องนึกว่าจะใส่บาตรอาจารย์ประจำวัน วันละ กี่บาท อันนี้ฉันประมาณ ข้าวหนึ่งถุง แกงหนึ่งถุง ๒๐ บาทได้ไหม ถ้าสมมุติ ไปยืนอุ้มบาตรอยู่หน้าบ้านท่าน ชื่อว่า ศิษย์จะปล่อยให้อาจารย์เดินกลับบาตรเปล่า หรือไม่ ยิ่งถ้าฉันไปอยู่ใกล้ใคร ก็ต้องไปบิณฑบาตรตรงนั้น ดังนั้นเวลาทำบุญกับฉัน บางคนว่า ๒๐๐ บาทต่อเดือน เยอะไหม ? ตอบคือไม่มาก ถ้าใส่บาตรให้ฉันทุกวันจริง มันน่าจะเกือบพันต่อเดือน หลายคนนิมนต์ฉันไปอยู่ใกล้ ๆ ต้องถามกลับไปว่า ใส่บาตรทุกวันได้หรือป่าว
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ