ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำบุญ ด้วย เทียน กับ หลอดไฟฟ้า อานิสงค์แตกต่างกันอย่างไร คะ  (อ่าน 22915 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือกำลังจะไปทำบุญ คะ แต่เกิดมีสองกลุ่มในบ้าน ก็คือ กลุ่มหนึ่ง อยากถวายเทียนพรรษา เล่ม ใหญ่ อีกกลุ่ม อยากถวายเป็น อุปกรณ์ไฟฟ้า มีหลอดไฟเป็นต้น งบประมาณ 5000 กว่าบาท

   คือ ทำกันมาทุกปี แต่ปีนี้ มีการแย้งกันเรื่องนี้ ขึ้นมาว่า
     1.ถวายเทียน ราคา 5000 บาท

   
    ภาพประกอบ นะคะ เทียนคล้ายในภาพ มีแกะสลักลวดลาย แต่ถวายมาหลายปี ทราบว่า เทียนนี้พระไม่เคยนำมาใช้ แต่กลับถูกขายออกไป จากวัด เวลามีคนมารับซ์้อกัน ซึ่งวัดในเมืองส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนี้ ก็เลยมีการแย้งว่า น่าจะไม่ได้บุญ เต็มกำลัง เพราะพระท่านไม่ได้ใช้


    กลุ่มที่สอง ก็เลยเสนอเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า มีหลอดไฟรุ่นใหม่

    เพราะคิดว่า พระท่านน่าจะนำไปใช้มากกว่า เทียน ราคาโดยรวมพอกัน

    ก็เลยกลุ่มที่สามขึ้นมา ว่า ถวายทั้งสองแบบ อันนี้ ทำให้งบเพิ่ม แต่ก็ไม่ขัดกัน เพราะต่างคนต่างยืนยันว่า ได้บุญเราจึงไม่ได้ลดกำลังบุญลง กับเพิ่มกำลังบุญเข้าไป เลยกลายเป็นถวายกันสามกลุ่มในเครือญาตกัน

    ที่จะถามนี้ไม่ได้เกี่ยว กับจำนวนราคา
    อยากทราบอานิสงค์ คะ ว่า ถวายเทียน กับ ถวายหลอดไฟ มีอานิสงค์ ต่างกันอย่างไร เพราะฟังแล้วก็ปวดหัว บางท่านกล่าวว่า ถวายเทียนมีอานิสงค์ชัดเจน แต่ถวายหลอดไฟ ไม่มีอานิสงค์ และถ้าไม่กล่าวคำถวาย เพราะคำถวายเป็นคำถวายเทียน

    ช่วยเหลือหน่อยนะคะ

    :s_hi: :s_hi: :25: :c017:

   
บันทึกการเข้า

keyspirit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 68
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมว่า ถวายหลอดไฟ น่าจะได้บุญมากกว่า นะครับ

  :49: :49:
บันทึกการเข้า

Skydragon

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 92
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะเป็น การถวายเทียน ได้บุญมากกว่า นะครับ

   เพราะการบูชาด้วยเทียน ไม่จำเป็นต้องจุดให้แสงสว่าง นะครับ สังเกตุหรือไม่ครับ งานบุญที่เราจุดกันนั้นไม่ได้เกี่ยวกับแสงสว่าง นะครับ
 :s_hi: :49:
   
บันทึกการเข้า

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะเกี่ยวกับ คำถวายด้วยนะครับ เพราะถ้าเราไม่กล่าวคำถวาย พวกหลอดไฟฟ้า ก็จะเรียกว่า บริวาร สังฆทาน นะครับ การกล่าวถวาย จึงมีความจำเป็น เรียกว่า ทานที่เจาะจงครับ

   หากต้องการถวาย เทียน ก็กล่าวคำว่า ทีปานิ ( สิ่งที่ให้แสงสว่าง คือ เทียน ภาษาใช้ ประทีป )

  น่าจะได้บุญทั้งสองประการครับ
  อย่างไร ผมก็ขออนุโมทนา ครับ

   ท่านผู้ใด มีข้อมูลเรื่องพวกนี้ ก็สงเคราะห์ กุศลกันก่อนเข้าพรรษา นะครับ
 
  เป็นคำถามที่ดี ครับ

   :49:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
            ใจความสำคัญอยู่ที่ว่า  ทำไมจึงมีการการถวายเทียน ในอดีต เขาเอาเทียนไปทำอะไร  เขาก็เอาไปใช่จุดให้เกิดแสงสว่างขึ้นเพื่อใช้ทำกิจกรรมต่างๆ  เช่นว่า ถ้าหากวัดนั้นๆ มีการลงโบสถ์ สวดปาฏิโมก กันในตอนค่ำ ก็จะต้องมีการจุดเทียนให้เกิดแสงสว่างเพื่อให้สามารถมองเห็นใบลาน ที่บันทึกพระปาฏิโมก (ในส่วนของพระผู้ทานปาฏิโมก)  นี้เป็นเหตุการณ์ในอดีต ที่ยังไม่มีไฟฟ้า และแม้นจึงจะมีไฟฟ้าใช้กันแล้วในปัจจุบัน  หลายๆวัดก็ยังคงมีการจุดเทียนสองธรรม จนกลายเป็นธรรมเนียมไปแล้ว  ทีนี้ในปัจจุบัน เรามีไฟฟ้าใช้กันแล้ว และก็มีความสว่างมากกว่าด้วย จะเห็นได้ในบางครั้งช่างไฟก็จะบอกว่า หลอดนี้มีกำลัง 20 แรงเทียนบ้าง 30 แรงเทียนบ้าง เห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ไม่อยางนั้นเราก็คงจะต้องใช้เทียนเป็นจำนวนมากในการที่จะใช้แสงมาก แต่ปัจจุบันมีหลอดไฟแล้ว  จึงเป็นที่นิยมทุกคนก็ยอมรับกัน นำมาใช้กัน แม้นแต่คุณเองก็ใช้ไฟฟ้า ไม่เอาเทียนมาจุดใช้แล้วเหมือนกัน (ใช่ไหม) เหตุนี้ เรื่องจึงแตก แตกเป็นการถวายเทียน และการถวายหลอดไฟฟ้า

         การถวายเทียน เป็นการกระทำกันมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันก็ยังคงมีการถวายกันอยู่ มองแ้ล้วเป็นเรื่องที่ดี  ที่ยังคงมีการรักษาขนบทำเนียมประเพณีวัฒนธรรมของไทย ให้ชาวโลกได้เห็น เห็นอะไร เห็นในความสำคัญ  เห็นในความศัทธาของคนไทยในศาสนาพุทธ  เห็นในความรักความสามัคคี ความพร้อมเพรียงกันของคนในสังคม อาจจะเป็นสังคมเล็กๆ เป็นสังคมหมู่บ้าน  ที่ยังคงพูกพันกันอย่างเหนียวแน่น  แต่ ณ ปัจจุบัน อาจจะมีข้อสงสัย ในการทำบุญถวายเทียน เมื่อโลกเปลี่ยนไป 

         หลายคน เปลี่ยนเป็นถวายหลอดไฟแทน อาจจะเพราะชัดเจนในการที่หวังว่าพระจะนำไปใช้ ด้วยความประสงค์ ที่จะให้เกิดประโยชน์  หรือได้ถูกนำไปใช้งานอย่างจริงจังของผู้ที่ถวาย ทำให้ในปัจจุบันก็ได้มีถวายกันมาก  แต่ก็ยังคงเป็นแต่หลอดไฟนีออน์ยาวๆ เท่านั้น ซึ่งในการใช้งานจริง ก็มีหลากหลาย

         ทั้งนี้และทั้งนั้น  การถวายทั้งสองแบบ ทั้งสองอยางก็ดีทั้งนั้น ได้บุญ กันทั้งนั้น   เป็นในส่วนของผู้ที่ต้องการทำบุญ ต้องการสละจาคะ ต้องการเอาชนะมัจฉริยะความตระหนี่ถี่เหนียว   ก็สามารถไปทำบุญกันที่วัด ถวายกันได้เลย จะถวายเป็นการส่วนตัวของเราเอง ก็ได้  หรือจะคอยถวายร่วมประเพณีของวัดนั้นๆก็สามารทำได้ 

         แต่ถ้าจะถามว่าถวายเทียน กับ ถวายหลอดไฟ มีอานิสงค์ ต่างกันอย่างไร คงไม่ต่างกัน เพราะในประโยชน์ ทั้งของหลอดไฟ และต้นเทียน ก็เพื่อให้เกิดแสงสว่าง ตรงตามความหมายของคำว่า "ประทีป"

         เรามาดูคำถวายเทียนจำนำพรรษา

เอตัง มะยัง ภันเต ปะทีปะยุคัง สะปะริวารัง เตมาสัง พุทธัสสะ ปูชะนัตถายะ อิมัส์มิง อาวาเส

ภิกขุ สังฆัสสะ นิยยาเทมะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ

เอตัง ปะทีปะยุคัง สะปะริวารัง ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุอาทีนัญจะ

ปิยะชะนานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ.

คำแปล :- ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนอมถวายเทียนจำนำพรรษาคู่นี้ พร้อมทั้งของบริวาร แด่พระสงฆ์ในอาวาสนี้ เพื่อเป็นพุทธบูชาตลอดไตรมาส ขอพระสงฆ์จงรับเทียนจำนำพรรษาคู่นี้ พร้อมทั้งของบริวาร เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย แก่ปิยชนทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้นด้วย ตลอดกาลนาน เทอญ.

            จะเห็นได้ว่า คำที่บอกถวาย เป็น  ปะทีปะยุคัง  ค้นคำบาลี ได้ เป็น "ปทีป" อ่านว่า   ปะ ที ปะ  แปลว่า  ประทีป, ตะเกียง, โคมไฟ, เครื่องส่องแสง (จากหนังสือ พจนานุกรม บาลี - ไทย ฉบับ นิสิต-นักศึกษา รวบรวมและเรียบเรียง โดย พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ) ศ. พิเศษ ดร. จำลอง สารพัดนึก ) โดยรวมก็หมายถึง ความสว่าง ที่ตรงกันข้ามกับความมืด

             เช่นนี้แล้ว เห็นจะเหมือนกัน ไม่แตกต่างแต่อย่างไร

 
         แต่ถึงอย่างไร ถ้าต้องการข้อมูลเชิงลึก ก็พอจะอธิบายให้ได้อยู่ สำหรับในส่วนของการใช้งาน
ข้อแรก  อะไรๆ ที่มีมากเกินไปก็ไม่เป็นการดี แต่ถ้าพอดีๆ ก็จะดีไม่ใช่น้อย ในส่วนของบางท่านที่ได้ไปพบเจอบางวัดไม่ได้ใช่เทียนแถมเอาไปเปลี่ยนเป็นปัจจัย ก็อาจจะเป็นไปได้ ถ้ามีต้นเทียนมากเกินไป เกินที่จะใช้ ก็คงจะเห็นสมควรเพื่อจะให้เกิดประโยชน์(อันนี้คิดในทางที่ดี) แต่จะว่าไปถ้าเป็นหลอดไฟแล้วมันจะอยู่ที่วัดตลอดหรือ? จะแน่ใจได้อย่างไร อันนี้แนะนำว่าไม่ต้องไปคิดให้ใจขุ่นมัวจะดีกว่า เอาเป็นว่าเราก็ทำหน้าทีของเราก็เท่านั้น ได้บุญแล้วสบายใจ ไม่ต้องไปตามดู (นึกๆแล้วก็ขำ เหมือนเราตักบาตรตอนเช้า ทุกคนก็คงหวังจะให้พระท่านได้ฉัน จะตามไปดูที่วัดทุกเช้าทุกวันที่วัด มันก็ไม่ใช่ ใช่ม๊ะ)  ก็หมายความว่า ในส่วนของทางวัด ถ้าที่วัด  ได้รับถวายพอดีที่จะใช้ได้อย่างไม่ขาดแคลน  ก็น่าจะเป็นการดี พ่อค้าก็จะมารับซื้อไปไม่ได้ เพราะเดียวทางวัดจะไม่มีใช้ นี้เป็นวิธีหนึ่ง  แต่ในอดีต ต้นเทียนพรรษาที่ถวายทางวัดนั้น  เป็นจากการร่วมมือร่วมใจจากชาวบ้านช่วยกันทำ ช่วยกันหล่อต้นเทียน  เป็นความสัมพันการระหว่าง บ้าน วัด โรงเรียน ที่รวมกันเป็นหนึ่ง ก็จะได้ต้นเทียนในจำนวนไม่มากนัก  ไม่เหมือนทุกวันนี้ ที่ ต่างคน ต่างนำของตนไปถวายกันเอง (หมายถึงรวมแบบบ้านใครบ้านมันกลุ่มใครกลุ่มมันด้วย)  จึงเป็นปัญหาหนึ่ง ที่ทำให้ที่วัดได้รับถวายมากเกินไป  ในส่วนนี้ มีความคิดเห็นส่วนตัวว่า ถ้าทางวัดและทางญาติโยม ร่วมกันกำหนดเห็นถ้าจะดี  (ขอละ หยุดตรงนี้ไว้ก่อน)

         ข้อแนะนำ ในการใช้งานจริง  เราลองมาคิดกันดู ว่าเราเองใช้ไฟ(แสงสว่าง) ในการทำอะไรกันบ้าง
           
             -  ไฟอ่านหนังสือ
             -  ไฟทางเดิน
             -  ไฟสำหรับพระพุทธรูป
             -  ไฟฉุกเฉิน

    ทีนี้เราคงอาจจะเจอทางที่ลงตัวทั้งวัดและญาติโยม



             -  ไฟอ่านหนังสือ  ก็มีกันหลายแบบหลายอย่าง อย่างเช่น

                        -  โคมไฟตั้งโต๊ะ อันนี้มีประโยชน์สำหรับพระเณรที่เรียนหนังสือมาก
                            เพราะบางวัด หรือบางที่พัก ของพระเณร  ก็เป็นการอยู่ร่วมกัน
                           ในกุฏิหนึ่ง ในห้องหนึ่ง อยู่กันหลายรูป บางรูปดึกแล้วก็ยังคงอ่านหนังสือ
                            ท่องตำหรับตำรากันอยู่ ในขณะที่เพื่อนร่วมห้องจำวัดพักผ่อนแล้ว 
                           การที่มีโคมไฟส่วนตัวไว้ใช้ทำให้ไม่ต้องเปิดไฟทั้งห้อง ซึ่งเป็นการรบกวน
                           รูปอื่นที่จะจำวัดพักผ่อน จำพวกนี้ หนอนหนังสือคงเข้าใจดี 
                           และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง  พระเณรในต่างจังหวัดเป็นการยากที่จะหาซื้อ
                           หรือหาอะไหล่ซ่อมบำรุง  ก็สามารถเลือกถวายกันเองได้ตามสะดวก

                     (บางทีของเหล่านี้ จะให้พระเณร ไปเดินเลือกซื้อตามห้างเห็นจะเป็นการไม่ค่อยจะสะดวก)


                        -  ไฟทางเดิน  หลายวัดยังมีไฟทางเดินไม่ครบ ไม่พอ ยังมีหลายจุด
                           ที่ขาดแสงไฟส่องทาง  และตามมาด้วยค่าใช้จ่ายค่าไฟที่มีตามมาด้วย 
                           รวมถึงการดูแล ต้องคอยเปิดปิดไฟ  ตรงนี้ก็มีระบบที่สามารถเข้ามาจัดการได้อย่างได้ผล
                           เช่น ระบบพลังงานแสงอาทิตย์และระบบเปิดปิดไฟอัดตโนมัต
                           อันนี้บางคนอาจจะเห็นว่าไม่ต้องใช้ก็ได้  แต่ถ้ามีแล้ว ก็จะมีประโยชน์มากๆ
                           เช่น การลืมปิดลืมเปิด หรือออกไปข้างนอกตังแต่เช้ามืด หรือกลับมาในตอนดึก
                           ก็ไม่ต้องกังวล เพราะระบบได้จัดการให้เองแล้ว  และการจัดการให้ไฟทางเดิน
                           ทำงานได้โดยเป็นอิสระ  มีประโยชน์ ในเวลาที่มีปัญหาไฟดับไม่ว่าในกรณีใดๆ
                           อย่างเช่น เกิด พายุพัดเสาไฟหักโค้น  หรืออย่างเหตุน้ำท่วมที่ผ่านมา
                           ถือเป็นประโยชน์ในระยะยาว เรื่องนี้ คนคนเดียวอาจจะทำไม่ได้ 
                           อาจจะต้องมีการร่วมมือกันหลายคน  ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมา ก็เพราะเห็นว่า
                           ถ้ารวมๆ หลอดไฟและต้นเทียนทั้งหมดที่วัดๆหนึ่งจะได้รับ
                           น่าจะมากพอที่จะสามารถนำมาสร้างตรงนี้ได้
                           (เฉพาะบางวัดนะจ๊ะ ที่พระกับโยม จะคุยกันรู้เรื่อง  อันนี้อยู่ที่ความสามัคคี)

                        -  ไฟสำหรับพระพุทธรูป  อันนี้สำคัญ  โดยยังมีหลายคนไม่ทราบ  ที่ตรงพระพุทธรูป
                            ควรจะมีไฟส่องแสงสว่างอยู่ตลอด จะเห็นได้จากหลายๆบ้าน ของคนไทยเชื้อสายจีน
                           จะมีเทียนไฟฟ้าเสียปลั๊กไว้ตลอด หรือบางวัด จะมีการจุดเทียนตรงหน้าพระพุทธรูป
                           หรือตรงหน้าพระประธานไว้ตลอด  นี้มีอานิสงค์มาก  แต่ต้องมีการดูแลที่ดีด้วย
                           (ในส่วนของการดูแลรักษา และระัวังมิให้เกิดไฟไหม้) ผู้ที่ฉลาดในบุญก็สามารถ
                           เป็นเจ้าภาพในการดูแลบำรุงรักษาได้  เห็นจะได้ในเรื่องของการถวายประทีปเหมือนกัน

                        -  ไฟฉุกเฉิน นี้จำเป็นมากๆ  ในเวลาที่มีเหตุไฟดับ ไม่ว่าจะด้วยเรื่องอะไร
                           เช่น บริเวรใกล้เคียงนั้นเกิดไฟไหม้ หรือมีการตัดไฟ ซ่อมแซม หรือมีภัยธรรมชาติ
                           เกิดลมพัดเสาไฟหักโค้น หรือน้ำท่วมอย่างที่ผ่านมา หรือจะเป็นเหตุที่เกิดจากที่วัดเอง
                           เช่นเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟดับเกิดขึ้น ก็จะยังคงมีไฟให้แสงสว่าง
                           ให้สำหรับช่างได้สามารถ ทำงาน กู้ระบบให้กลับมา เป็นต้น

             เหล่านี้เห็นจะเป็นในเรื่องของการถวายประทีปเสมอกัน  ซึ่งดูตามสมัยแล้วเห็นเป็นการธรรมดา ก็เป็นทางเลือกที่เราๆ จะทำได้  จะได้ทำบุญอย่างมีปัญญาด้วย  ในบางคราว ถวายเทียนไปพระเณรเองก็ไม่ได้ใช้กันเลยก็มี ก็อย่างเช่น วัดในเมือง อันนี้เห็นได้อย่างชัดเจน ที่จะใช้จุดกันจริงๆ ก็เห็นจะมีที่ตรงหน้าพระในเวลาทำพิธีต่างๆ  เท่านั้น

             ก็ท่านทั้งหลาย พิจารนากันตามสมควรเถิด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2012, 12:00:38 pm โดย Mr. งังจัง »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ถวายเทียน จุดประสงค์เพื่ออะไรครับ บุญนั้นพิจาณาที่เจตนาด้วยใช่หรือไม่ครับ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เจตนาเป็นตัวกรรม ใช่หรือไม่ครับ

   ดังนั้น ถวายเทียนเพื่ออะไร
          ถวายหลอดไฟเพื่ออะไร

     ทั้งสองประการถ้ามีเจตนาเหมือนกัน ผมว่าได้บุญเสมอกันนะครับ

   :67:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๗. อสัปปุริสทานสูตร

      [๑๔๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
          อสัตบุรุษย่อมให้โดยไม่เคารพ ๑
          ให้โดยไม่อ่อนน้อม ๑
          ไม่ให้ด้วยมือตนเอง ๑
          ให้ของที่เป็นเดน ๑
          ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงให้ ๑

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล ฯ

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
          สัตบุรุษย่อมให้โดยเคารพ ๑
          ให้โดยอ่อนน้อม ๑
          ให้ด้วยมือตนเอง ๑
          ให้ของไม่เป็นเดน ๑
          เห็นผลที่จะมาถึงให้ ๑

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล ฯ
          จบสูตรที่ ๗


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๐๑๔ - ๔๐๒๓. หน้าที่ ๑๗๕.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4014&Z=4023&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=147
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/





พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๘. สัปปุริสทานสูตร

       [๑๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการ เป็นไฉน คือ
           สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยศรัทธา ๑
           ย่อมให้ทานโดยเคารพ ๑
           ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร ๑
           เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน ๑
           ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น ๑


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย
       สัตบุรุษครั้นให้ทานด้วยศรัทธาแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
       และเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใสประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล (บังเกิดขึ้น)


       ครั้นให้ทานโดยเคารพแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีบุตรภรรยา ทาส คนใช้
       หรือคนงาน เป็นผู้เชื่อฟัง เงี่ยโสตลงสดับคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล

       ครั้นให้ทานโดยกาลอันควรแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
       และย่อมเป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล


       ครั้นเป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทานแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
       และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ ๕ สูงยิ่งขึ้น ในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล   

       ครั้นให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
       และย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหนๆคือ จากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร
       จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาทในที่ที่ทานนั้นเผล็ดผล


       ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๕ ประการนี้แล ฯ
       จบสูตรที่ ๘


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๔๐๒๔ - ๔๐๔๑. หน้าที่ ๑๗๕ - ๑๗๖.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=4024&Z=4041&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=148
ขอบคุณภาพจาก http://www.cpall.co.th/




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
๖. กาลทานสูตร

      [๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ
          ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน ๑
          ทายกย่อมให้ทานแก่ผู้เตรียมจะไป ๑
          ทายกย่อมให้ทานในสมัยข้าวแพง ๑
          ทายกย่อมให้ข้าวใหม่แก่ผู้มีศีล ๑
          ทายกย่อมให้ผลไม้ใหม่แก่ผู้มีศีล ๑

      ดูกรภิกษุทั้งหลาย กาลทาน๕ ประการนี้แล ฯ

      ผู้มีปัญญา รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่ ย่อมให้ทานในกาลที่ควรให้
      เพราะผู้ให้ทานตามกาลในพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติซื่อตรง ผู้มีใจคงที่ เป็นผู้มีใจผ่องใส
      ทักขิณาทานจึงจะมีผลไพบูลย์


      ชนเหล่าใดย่อมอนุโมทนา หรือช่วยเหลือในทักขิณาทานนั้น ทักขิณาทานนั้นย่อมไม่มีผลบกพร่อง
      เพราะการอนุโมทนาหรือการช่วยเหลือนั้น แม้พวกที่อนุโมทนาหรือช่วยเหลือ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งบุญ
      เพราะฉะนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อถอยจึงควรให้ทานในเขตที่มีผลมาก
      บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้งหลายในปรโลก ฯ

      จบสูตรที่ ๖


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๙๐๐ - ๙๑๕. หน้าที่ ๓๙ - ๔๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=22&A=900&Z=915&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=36
ขอบคุณภาพจาก http://board.palungjit.com/




พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
สัปปุริสสูตรที่ ๑

     [๑๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ
         ให้ของสะอาด ๑ ให้ของประณีต ๑
         ให้ตามกาล ๑ ให้ของสมควร ๑
         เลือกให้ ๑ ให้เนืองนิตย์ ๑
         เมื่อให้จิตผ่องใส ๑ ให้แล้วดีใจ ๑

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน ๘ ประการนี้แล ฯ

     สัปบุรุษย่อมให้ทาน คือ ข้าวและน้ำที่สะอาด ประณีต ตามกาล สมควร เนืองนิตย์ ในผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี บริจาคของมากแล้วก็ไม่รู้สึกเสียดาย
     ท่านผู้มีปัญญาเห็นแจ้ง ย่อมสรรเสริญทานที่สัปบุรุษให้แล้วอย่างนี้


     เมธาวีบัณฑิตผู้มีศรัทธา มีใจอันสละแล้ว บริจาคทานอย่างนี้แล้ว
     ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข ฯ
     จบสูตรที่ ๗


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ บรรทัดที่ ๕๐๔๗ - ๕๐๕๘. หน้าที่ ๒๑๘.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=5047&Z=5058&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=127
ขอบคุณภาพจาก http://board.palungjit.com/


     
     ปัญหานี้ผมเคยตอบไปแล้ว อยู่ในกระทู้นี้ครับ
     "ถวายเทียน กับ ถวายหลอดไฟ ให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา มีอานิสงค์แตกต่างกัน.."
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4723.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2012, 09:02:37 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


บทที่ 3 การทำทานที่สมบูรณ์แบบ

3.3 อาการของการให้
          นอกจากองค์แห่งการให้ทานทั้ง 3 ประการดังกล่าวแล้ว ความคิดที่เป็นจิตเจตนาของผู้ให้ ซึ่งส่งผลไปสู่การกระทำทางกาย  ที่เห็นได้จากกิริยาอาการที่แสดงออกมาในเวลาให้ทาน  ก็มีความสำคัญมาก เช่นกัน เพราะนอกจากจะบ่งบอกถึงคุณภาพใจของผู้ให้แล้ว ยังมีผลกระทบต่ออานิสงส์ที่จะได้รับอีกด้วย

           3.3.1 อสัปปุริสทาน
           "อสัปปุริสทาน" คือทานของอสัตบุรุษ (อสัตบุรุษ คือคนไม่ดี ไม่ฉลาดในการดำเนินชีวิต) อสัตบุรุษ เมื่อให้ทานก็ให้ด้วยวิธีการที่ไม่ดี ไม่ฉลาด การให้แบบนี้จึงเป็นการให้ที่ไม่สมบูรณ์ ตามธรรมดาคนที่ให้ทาน จะได้ผลบุญ ได้อานิสงส์ที่ดีงามตอบสนองทั้งในปัจจุบันนี้และอนาคตกาลข้างหน้า แต่ถ้าเป็นอสัปปุริสทานแล้ว การให้นั้นแทนที่จะได้บุญกุศลมาก ก็กลับได้น้อย (เหมือนคนค้าขายลงทุนลงแรงมาก แต่ทำไม่ดีไม่ฉลาด ผลกำไรจึงได้น้อย) หรือแทนที่บุญจะส่งผลที่ดีล้วนๆ ก็กลับได้ดีปนเสียมาด้วย ข้อนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ใน อสัปปุริสทานสูตรว่า

                     "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัปปุริสทาน 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ
                      อสัตบุรุษย่อมให้โดยไม่เคารพ 1    ให้โดยไม่อ่อนน้อม 1
                      ไม่ให้ด้วยมือตนเอง 1                ให้ของที่เป็นเดน 1
                      ไม่เห็นผลที่จะพึงมาถึงให้ 1


           1. ให้โดยไม่เคารพ บางคนเวลาจะให้ ขาดความเคารพในทาน คือไม่ตระหนักถึงคุณค่าของการให้ สิ่งของที่ให้ ตลอดถึงผู้ที่เราจะให้ หรืออาจจะเกิดจากการขาดความรู้ในเรื่องของบุญบาปเท่าที่ควร เมื่อใจขาดความเคารพแล้ว ก็เท่ากับว่าจำใจให้ ให้แบบไม่เต็มใจ กิริยาอาการที่ให้ก็หยาบคายแข็งกระด้าง เช่น ให้ของแก่ผู้หลักผู้ใหญ่ ก็แสดงกิริยาอาการเหมือนให้แก่ขอทาน เป็นต้น สภาพใจของผู้ให้เป็นอย่างไร ผลทานก็จะได้อย่างนั้น จะไปเกิดในภพชาติใด ก็จะเป็นคนต่ำศักดิ์ ถูกคนดูหมิ่น ขาดความเคารพนับถือ

           2. ให้โดยไม่ยำเกรง บางคนจะให้ก็ขาดความยำเกรง คือใจไม่เป็นกลาง ไม่ตั้งใจที่จะเอาบุญอย่างเต็มที่ เช่น เวลาจะถวายสังฆทาน เห็นพระที่รู้จักก็ชอบใจ พอเจอพระที่ทุศีลก็เสียใจ ที่ถูกต้องคือควรทำใจเป็นกลาง มีใจมุ่งต่อสงฆ์ มุ่งต่อพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ให้โดยตั้งใจ มีความยำเกรงในสงฆ์ จะได้ผลานิสงส์มาก

          3. ไม่ให้ด้วยมือของตน บางคนอาจจะมีศรัทธา แต่เมื่อเวลาให้ กลับใช้ให้คนอื่นไปทำแทน เช่น ให้คนรับใช้ทำแทนบ้าง ให้คนรับใช้ตักบาตรให้บ้าง ความจริงเราเกิดมาโชคดีแล้วที่มีมือ มีอวัยวะครบถ้วนสมบูรณ์ เมื่อมีโอกาสจึงควรให้ด้วยมือตน จะเกิดความศรัทธาขึ้นในใจเราอย่างเต็มที่ ภาพของการทำบุญจะติดตาติดใจของเรา ทำให้เกิดความปีติใจตลอดเวลา บุญที่ได้ก็มีพลัง ส่งผลได้ดี ส่วนการให้ผู้อื่นทำทานแทนนั้น ทำให้กาย วาจา ใจของเรามีโอกาสได้สัมผัสบุญน้อย ความบริสุทธิ์ที่จะติดกาย วาจา ใจ ก็น้อยตามไปด้วย เวลาจะนึกถึงบุญก็นึกไม่ออก บุญที่ได้ก็ไม่มีพลัง ส่งผลได้น้อย
           
           4. ให้โดยทิ้งขว้าง เหมือนโยนของเสียทิ้งไป ทั้งที่บางทีของที่ให้เป็นของดีแท้ๆ พอเราให้ไปแบบทิ้งขว้าง สภาพใจก็เสียไป คุณภาพใจก็เสีย ผลบุญที่ได้ก็พลอยเสียคุณภาพไปด้วย เวลาบุญส่งผลก็ทำให้ได้ รับแต่ของที่มีตำหนิบ้าง แตกร้าวบ้าง หรือได้มาไม่นาน ก็มีอันจะต้องตกแตกไปบ้าง เหมือนของที่ถูกทิ้ง ฉะนั้น อีกความหมายหนึ่งก็คือ ให้แล้วละทิ้งไปกลางคันบ้าง ให้ไม่ต่อเนื่องบ้าง เวลาส่งผลก็ขาดๆ หายๆ  เช่น เกิดเป็นคนรวย ไม่นานก็ตกยาก รวยไม่ตลอด เป็นต้น

          5. ให้โดยไม่เชื่อผลที่จะมีในอนาคต บางคนให้โดยไม่แน่ใจว่าจะมีผลในอนาคตหรือผลในชาติหน้า ให้แบบนี้ใจจะไม่ทุ่มเทในบุญ ความดีก็เกิดกับใจได้ไม่เต็มที่ เหมือนเวลาที่เราทำงานอย่างมีความเชื่อมั่น  ในผลสำเร็จ เราจะทุ่มเทความพอใจ และความเพียรไปอย่างเต็มที่ ผลงานที่ออกมาก็จะดีงาม ตรงกันข้าม ถ้าทำอย่างไม่เชื่อมั่น ไม่แน่ใจ ความทุ่มเทในงานนั้นก็จะลดลง ผลสำเร็จของงานก็ลดคุณภาพลงตามส่วน การให้แบบนี้จึงได้บุญน้อย ได้บุญไม่เต็มที่ ได้บุญแบบที่ไม่มีความมั่นใจในผลของบุญ

           อสัปปุริสทานนี้ เป็นการให้ที่มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตน้อย คือทำแล้วใจไม่ใสสว่างมากนัก   บางครั้งกลับมีความขุ่นมัวปนมาก็มี เวลาบุญให้ผลก็ให้ไม่เต็มที่ ให้ผลไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น

 



           3.3.2 สัปปุริสทาน
           ส่วนทานของสัตบุรุษเป็นไปในทางตรงกันข้าม คือเป็นการให้ของคนดี คนมีปัญญา ผู้ฉลาดในการดำเนินชีวิตนั้นจะให้ด้วยวิธีการที่ดี ซึ่งเมื่อให้แล้วจะไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ให้ให้ดีขึ้น ประณีต ขึ้น การให้แบบนี้จึงเป็นการให้ที่สมบูรณ์ทั้งผล และอานิสงส์ ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน  อสัปปุริสทานสูตรว่า

                      สัปปุริสทาน อย่างที่ 1
                      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ
                      สัตบุรุษย่อมให้โดยเคารพ 1     ให้โดยอ่อนน้อม 1
                      ให้ด้วยมือตนเอง 1               ให้ของไม่เป็นเดน 1
                      เห็นผลที่จะมาถึงให้ 1

           ดังนั้น คนดีมีปัญญา เมื่อให้ก็ควรให้แต่สัปปุริสทาน ซึ่งจะนำความสุขความดีงามที่สมบูรณ์มาสู่ชีวิต


                      สัปปุริสทาน อย่างที่ 2
          ยังมีการให้ของคนดีอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน สัปปุริสทานสูตร มี 5  ประการดังนี้     
                      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ
                      สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยศรัทธา 1     ย่อมให้ทานโดยเคารพ 1
                      ย่อมให้ทานโดยกาลอันควร 1         เป็นผู้มีจิตอนุเคราะห์ให้ทาน 1
                      ย่อมให้ทานไม่กระทบตนและผู้อื่น 1


           1. สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยศรัทธา คือให้ด้วยความเลื่อมใสในกรรม และผลของกรรมว่า ทำดีย่อม ได้ผลที่ดี ทำชั่วก็ได้ผลเป็นทุกข์ให้เดือดเนื้อร้อนใจ เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน คือเป็นไปตาม กรรมที่ตนกระทำ และเชื่อในปัญญาเครื่องตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า คนเราจะบริสุทธิ์ได้ ด้วยการประกอบความดีด้วยกาย วาจา ใจที่บริสุทธิ์มาก และจะสามารถเข้าถึงธรรมะภายในตน ซึ่งมีอยู่แล้วในสรรพสัตว์ทั้งหลายได้ การน้อมนำธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปฏิบัติ จะทำให้ตนมีความบริสุทธิ์ขึ้น จนถึงขั้นตรัสรู้ธรรมได้
 
           ผู้ที่ให้ทานด้วยความศรัทธา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีรูปสวยงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณงามยิ่งนัก ในที่ที่ทานนั้นส่งผล

          2. สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยความเคารพ คือเคารพในตัวบุคคล มีความอ่อนน้อม เช่น การยกประเคนด้วยมือทั้งสอง รวมทั้งให้ด้วยกิริยาอาการที่เคารพในทาน เช่น ยกขึ้นจบเหนือหัวแล้วจึงให้ เป็นต้น

           ผู้ที่ให้ทานด้วยความเคารพ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และจะเป็นผู้ที่มีบุตร ภรรยา ทาส คนใช้หรือคนงาน อยู่ในโอวาท คอยฟังคำสั่ง ตั้งใจใคร่รู้ ในที่ที่ทานนั้น ส่งผล

          3. สัตบุรุษย่อมให้ทานตามกาล คือ ให้ในเวลาที่สมควร ซึ่งเป็นเวลาจำเพาะที่จะต้องให้ในช่วงนี้ เท่านั้น เลยเวลานี้ไปก็ไม่สำเร็จประโยชน์แล้ว เช่น การถวายผ้ากฐินแด่สงฆ์ เป็นต้น





           สำหรับกาลทานอื่นทั่วไป พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ใน กาลทานสูตร มี 5 อย่าง คือ
             3.1 อาคันตุกะทาน ให้แก่ผู้มาสู่ถิ่นของตน
             3.2 คมิกะทาน ให้แก่ผู้ที่เตรียมตัวจะเดินทางไปยังที่ต่างๆ
             3.3 ทุพภิกขะทาน ให้ในสมัยที่ข้าวยากหมากแพงหรือเศรษฐกิจตกต่ำ
             3.4 นวสัสสะทาน ให้เมื่อมีข้าวใหม่ๆ ก็นำมาทำทานก่อน
             3.5 นวผละทาน ให้เมื่อมีผลไม้ออกใหม่ ก็นำมาทำทานก่อน


           ผู้ที่ให้ทานตามกาลอันควรแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อมเป็นผู้มีความต้องการที่เกิดขึ้นตามกาลบริบูรณ์ ในที่ที่ทานนั้นส่งผล

           4. สัตบุรุษย่อมให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์ เมื่อเห็นคนตกทุกข์ได้ยาก ขาดแคลนปัจจัย 4 ก็มี จิตอนุเคราะห์ช่วยเหลือโดยไม่หวังผลตอบแทน

           ผู้ที่ให้ทานด้วยจิตอนุเคราะห์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และเป็นผู้มีจิตน้อมไปเพื่อบริโภคกามคุณ 5 สูงยิ่งขึ้น ในที่ที่ทานนั้นส่งผล

           5. สัตบุรุษย่อมให้ทานโดยไม่กระทบตนเอง และผู้อื่น คือ การให้โดยไม่ทำลายคุณความดีของ ตนเอง และผู้อื่น สัตบุรุษไม่ผิดศีล ไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อนเพื่อถวายทาน เช่น ฆ่าสัตว์ทำอาหารเพื่อถวาย พระ เพราะการให้ทานอย่างนี้ เป็นการทำลายคุณงามความดีของตนเอง

           อีกนัยหนึ่ง สัตบุรุษไม่ทำทานด้วยการทำให้คนอื่นเดือดร้อน หมดกำลังใจ เกิดการกระทบกระเทือนใจ เช่นทำบุญข่มคนอื่น ดูถูกดูแคลนคนที่ทำน้อยกว่า เหล่านี้เป็นต้น

           ผู้ที่ให้ทานโดยไม่กระทบตนเองและผู้อื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ย่อมเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก และย่อมเป็นผู้มีโภคทรัพย์ไม่มีภยันตรายมาแต่ที่ไหนๆ คือ จากไฟ จากน้ำ จากพระราชา จากโจร จากคนไม่เป็นที่รัก หรือจากทายาท ในที่ที่ทานนั้นส่งผล


                  สัปปุริสทาน อย่างที่ 3
           ยังมีการให้ของคนดีอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ปฐมสัปปุริสสูตร1 มี 8 ประการ  ดังนี้
                      ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 8 ประการนี้ 8 ประการเป็นไฉน คือ
                      ให้ของสะอาด 1    ให้ของประณีต 1
                      ให้ตามกาล 1       ให้ของสมควร 1
                      เลือกให้ 1           ให้เนืองนิตย์ 1
                      เมื่อให้จิตผ่องใส 1  ให้แล้วดีใจ 1


      ดังนั้น เมื่อเราทำทาน นอกจากจะต้องทำให้ครบองค์ประกอบทั้ง 3 ประการ คือ
      วัตถุบริสุทธิ์ เจตนาบริสุทธิ์ (ทั้งก่อนให้ กำลังให้ และหลังให้) และบุคคลบริสุทธิ์ (ทั้งผู้รับและผู้ให้) แล้ว    
      ยังต้องทำด้วยความ ชาญฉลาด คือใ ห้ตามแบบอย่างของสัตบุรุษด้วย ทานที่ให้จึงจะชื่อว่าได้บุญมาก



อ้างอิง
หนังสือ วิถีชาวพุทธ
http://main.dou.us/view_content.php?s_id=385&page=6
ขอบคุณภาพจาก http://www.hamanan.com/,http://travel.mthai.com/,http://talk.mthai.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2012, 09:28:55 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คือกำลังจะไปทำบุญ คะ แต่เกิดมีสองกลุ่มในบ้าน ก็คือ กลุ่มหนึ่ง อยากถวายเทียนพรรษา เล่ม ใหญ่ อีกกลุ่ม อยากถวายเป็น อุปกรณ์ไฟฟ้า มีหลอดไฟเป็นต้น งบประมาณ 5000 กว่าบาท

   คือ ทำกันมาทุกปี แต่ปีนี้ มีการแย้งกันเรื่องนี้ ขึ้นมาว่า
     1.ถวายเทียน ราคา 5000 บาท 
    ภาพประกอบ นะคะ เทียนคล้ายในภาพ มีแกะสลักลวดลาย แต่ถวายมาหลายปี ทราบว่า เทียนนี้พระไม่เคยนำมาใช้ แต่กลับถูกขายออกไป จากวัด เวลามีคนมารับซ์้อกัน ซึ่งวัดในเมืองส่วนใหญ่ก็เป็นอย่างนี้ ก็เลยมีการแย้งว่า น่าจะไม่ได้บุญ เต็มกำลัง เพราะพระท่านไม่ได้ใช้

    กลุ่มที่สอง ก็เลยเสนอเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า มีหลอดไฟรุ่นใหม่
    เพราะคิดว่า พระท่านน่าจะนำไปใช้มากกว่า เทียน ราคาโดยรวมพอกัน
    ก็เลยกลุ่มที่สามขึ้นมา ว่า ถวายทั้งสองแบบ อันนี้ ทำให้งบเพิ่ม แต่ก็ไม่ขัดกัน เพราะต่างคนต่างยืนยันว่า ได้บุญเราจึงไม่ได้ลดกำลังบุญลง กับเพิ่มกำลังบุญเข้าไป เลยกลายเป็นถวายกันสามกลุ่มในเครือญาตกัน

    ที่จะถามนี้ไม่ได้เกี่ยว กับจำนวนราคา
    อยากทราบอานิสงค์ คะ ว่า ถวายเทียน กับ ถวายหลอดไฟ มีอานิสงค์ ต่างกันอย่างไร เพราะฟังแล้วก็ปวดหัว บางท่านกล่าวว่า ถวายเทียนมีอานิสงค์ชัดเจน แต่ถวายหลอดไฟ ไม่มีอานิสงค์ และถ้าไม่กล่าวคำถวาย เพราะคำถวายเป็นคำถวายเทียน

    ช่วยเหลือหน่อยนะคะ

      ปัญหานี้ผมเคยตอบไปแล้ว อยู่ในกระทู้นี้ครับ
     "ถวายเทียน กับ ถวายหลอดไฟ ให้พระภิกษุอยู่จำพรรษา มีอานิสงค์แตกต่างกัน.."
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=4723.0

     เรื่่องอานิสงส์นั้น ยากที่จะบอกได้ว่า อันไหนมากกว่ากัน
     ผมขอแนะนำให้ศึกษาเรื่อง สัปปุริสทาน หรือ การทำทานที่สมบูรณ์แบบ จะดีกว่า

     เพราะว่าเรื่องนี้จะอธิบายแยกแยะว่า "ทำอย่างไรจะได้อานิสงส์สูงสุด"

      :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2012, 10:51:04 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุโมทนา กับทุกท่านที่สอบถามกันเข้ามาทาง เมลเรื่องนี้ ก็อ่านตามกระทู้นี้ เลยนะจ๊ะ

 สาธุ สาธุ สาธุ

ไม่ใช่เรื่องเก่า เป้นเรื่องที่ควรทบทวนทุกครั้งที่จะได้ทำบุญ เพื่อการเจริญตั้งมั่นในทาน และผลแห่งทาน
เป็นเทวตานุสสติ จาคานุสสติ พุทธานุุสสติ ธรรมานุสสติ สังฆานุสสติ กรรมฐาน ทั้งห้าประการนะจ๊ะ

 :25: :25: :25:

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 02, 2012, 10:21:40 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อนุโมทนา สำหรับท่านที่จะนำเทียน ผ้าอาบน้ำฝนมาถวายกันในช่วงก่อนเข้าพรรษา
ทั้งโทรศัพท์ ทั้ง email แจ้งกันเข้ามาก็ขอตอบว่าไม่สะดวก เพราะไม่ได้อยู่จำพรรษาที่วัดนะจ๊ะ

ดังนั้นก็อนุโมทนารับไว้แล้วช่วยไปทำบุญต่อยังวัดใกล้ ๆ ท่านทั้งหลาย จิตเจตนาอันนี้ได้บุญแล้ว ขอให้บุญสำเร็จด้วยการไปทำบุญต่อที่วัดใกล้ ๆ ต่อไป

   อายุ วรรณะ สุขะ พละ จงมีแก่ท่านทั้งหลายที่ปรารถนาในบุญทานครั้งนี้ด้วยเทอญ

   เจริญพร / เจริญธรรม

   :25: ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา