ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กุกกุรชาดก-ชาดกว่าด้วยการสงเคราะห์ญาติ  (อ่าน 2562 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กุกกุรชาดก-ชาดกว่าด้วยการสงเคราะห์ญาติ
« เมื่อ: พฤศจิกายน 07, 2015, 05:02:21 pm »
กุกกุรชาดก-ชาดกว่าด้วยการสงเคราะห์ญาติ

ครั้งหนึ่งในสมัยพุทธกาลพระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายนั่งสนทนากันอยู่ ณ เชตะวันมหาวิหาร ถึงเรื่องที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงช่วยให้พระประยูรญาติจำนวนมากได้บรรลุธรรมถึงความพ้นทุกข์ และในจำนวนนั้นมีพระประยูรญาติหลายพระองค์ได้มาเป็นกำลังใจในการเผยแพร่แผ่พระพุทธศาสนา มีพระอานนท์เป็นต้น
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบถึงข้อสนทนานั้น จึงตรัสว่า “ดูก่อนว่าหมู่ภิกษุทั้งหลายมิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ตถาคตได้นำประโยชน์มาสู่หมู่ญาติ แม้ในกาลก่อนตถาคตก็เคยนำประโยชน์มาสู่หมู่ญาติแล้วเช่นกัน” แล้วพระองค์ได้ทรงนำกุกกุรชาดกมาตรัสเล่าดังนี้ ในอดีตกาลสมัยพระเจ้าพรหมทัตปกครองกรุงพาราณสี
พระองค์ทรงโปรดการเสด็จประพาสอุทยานมาก วันหนึ่งพระองค์เสด็จประพาสพระอุทยานจนเวลาเย็นมากแล้วจึงเสด็จกลับ “ทหารพระเจ้าพรหมทัตทรงเสด็จกลับมาแล้ว ถวายการต้อนรับเร็วเข้า” “โอย..เหนื่อยจัง เข้าป่าตั้งแต่เช้าจนถึงเย็นเลยเนี่ย” ในเย็นวันนั้นราชบุรุษไม่สามารถลากราชรถได้ จึงจอดทิ้งไว้นอนโรงรถ
 เสด็จขึ้นตำหนักเถิดพระเจ้าข้า ฝนใกล้จะตกแล้ว” “ฮึย!. ฝนใกล้จะตกแล้วจอดทึ้งไว้ข้างนอกก่อนก็แล้วกันลากเก็บไม่ทันแล้ว” คืนนั้นฝนตกทั่วพระนคร ราชรถของพระเจ้าพรหมทัตที่จอดไว้นอกโรงเก็บก็ชุ่มไปด้วยน้ำฝน หนังหุ้มเบาะของราชรถเมื่อถูกฝนก็อ่อนตัวลงและส่งกลิ่นเหม็นตุๆ กลิ่นแบบนี้เป็นของโปรดสำหรับเหล่าสุนัข
 ซึ่งสุนัขในวังฝูงหนึ่งได้กลิ่น “หือ..หอม กลิ่นอะไรเนี่ยช่างหอมเหลือเกิน” “หอมเตะจมูกจริงๆ ทนไม่ไหวแล้ว พวกเรา...ลุย” “เดินตามกลิ่นไป หอมๆๆๆ” ฝูงสุนัขที่เหล่าราชบุรุษเลี้ยงไว้พากันวิ่งตามกลิ่นอันยั่วยวนใจนั้น จนถึงโรงเก็บ “ฮ้าๆ พวกเราเจอแล้ว โอ้..นี่มันเป็นกลิ่นเบาะหนังบนรถพระราชานี่เอง นี่แหละที่เราต้องการ ฮะ ฮาฮ่า”
 “ตามหามานานในที่สุดก็พบ” “จะช้าทำไมเล่า ลุยเลยพวกเรา” และแล้วเบาะหนังชุ่มน้ำก็กลายเป็นอาหารกินเล่นของเหล่าสุนัขในวัง “หือ อร่อย อร่อยอย่างแรงเลย” “มันจริงๆ ทั้งเค็มทั้งมันอร่อยถูกใจ” “โอ๊ยพี่ แบ่งกันบ้างซิ ตรงนี่มันแทะอยากนะ” “กินมั่งๆ ขึ้นไม่ได้อ่ะ ลากข้าขึ้นไปหน่อยซิ” “อะไรเนี่ย ไม่เรียกเลยแอบกินกับอยู่ 4 ตัว
 หลีกๆ ให้ข้ากินมั่ง” รุ่งเช้าราชบุรุษมาเห็นหนังหุ้มเบาะราชรถอยู่ในสภาพขาดวิ่นไปทั้งคันเช่นนั้นก็ตกใจ “เฮ้ย สุนัขที่ไหนมันกล้ามาทำอย่างนี้เนี่ย อ้อ ต้องเป็นสุนัขนอกวังมันแอบเล็ดลอดเข้ามาทางท่อน้ำแน่ๆ สุนัขไม่ได้รับการสั่งสอน ก็อย่างนี้แหละชั้นต่ำที่สุด สู้สุนัขที่เราเลี้ยงมาในวังก็ไม่ได้ น่ารัก น่าเอ็นดูซื่อสัตย์มีสกุล”
 “ใช่แล้วขอรับ สุนัขที่เราเลี้ยงแต่ละตัวต่างได้รับการอบรมอย่างดี มันไม่ทำเรื่องอย่างนี้แน่” เมื่อราชบุรุษคิดได้เช่นนั้น จึงให้กรมวังนำเรื่องกราบบังคมทูลให้พระเจ้าพรหมทัตทรงทราบ “หม่อมฉันมีเรื่องกราบทูลพะยะค่ะ มีสุนัขจรจัดมันแอบเข้ามาในวัง แล้วมันก็เข้ามากัดเบาะหนังราชรถพังเสียหายเลยพระเจ้าค่ะ” “บังอาจมาก เจ้าจงสั่งทหารให้ไปฆ่าสุนัขทุกตัวที่พบ
 เว้นไว้แต่สุนัขที่เลี้ยงไว้ในวังเท่านั้น” “พวกเรามีงานด่วน ต้องฆ่าสุนัขจรจัดในวังให้หมด” “ฮิๆๆ สมน้ำหน้ามัน บังอาจมาแทะเบาะหนังราชรถซะขนาดนั้น” “ชิ ตัวเองไม้รู้จักเก็บราชรถให้ดี แล้วยังมาโทษสุนัขอีก” “ได้ยินเสียงใครนินทาแว่วๆ” “นี่แน่ะต้องฆ่าให้หมดตามคำสั่ง ฮ่ะ ฮ้าๆ” ในครั้งนั้นพวกสุนัขภายนอกราชวังถูกฆ่าตายมากมายราวใบไม้ร่วง
  ตัวไหนที่ยังไม่ตายก็ต้องคอยหลบซ่อนอย่างทรมาน “เฮ้ยพวกเราหนีเร็ว เร้ว วิ่งหนีเร็ว” ใน 7 ราตรีนั้นนอกกำแพงกรุงพาราณสีดูจะไร้ร่างสุนัขใดที่มีชีวิตเหลืออยู่เลย “เหอะๆ ๆ ฮ้าๆ เรานี่เก่งจริงๆ คนเดียวฆ่าสุนัขได้ตั้งหลายตัว ต้องรีบฆ่าให้ตายให้หมดเมืองดีกว่า แต้มจะได้เพิ่ม เหอะๆ ๆ ฮ้าๆ” “เอ้าอย่ามัวแต่คุยกันยังเหลือหมู่บ้านข้างหน้าอีก”
สุนัขทั้งหลายต้องอดอยากยากแค้นแสนสาหัส มันทั้งหลายจึงคิดจะไปขอความช่วยเหลือจากพญาสุนัขที่ป่าช้านอกเมือง โดยหลบออกไปทางอุโมงค์ใต้ดิน “ปล่อยไว้อย่างนี้ไม่ได้แล้วพวกเรา ไปขอพึ่งบารมีพญาสุนัขกันเถอะ” “ใช่อยู่อย่างนี้ มีแต่ตายกะตาย เราต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว” “ไป เดินเข้าเร็ว อดทนอีกหน่อยพวกเรา”
 เมื่อพญาสุนัขได้ฟังเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้น จึงปลอบโยนบริวารทั้งหลายให้หายวิตกและรับปากว่าจะช่วยสุนัขทุกตัวให้รอดชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยอย่างที่เคยเป็น “ท่านพญาสุนัขช่วยพวกเราให้รอดตายด้วยเราไม่อยากโดนตามฆ่าอย่างไม่มีความผิดเช่นนี้” “ใช่ ทำไม่พวกทหารต้องมาฆ่าเราด้วยก็ไม่รู้ พี่น้องหมาของเราต้องสังเวยชีวิตอย่างไม่มีเหตุผลไปเยอะแล้ว”
  “เฮ้ย น่ากลัวเหลือเกิน” “เอาเถิด พวกเธอใจเย็นๆ ก่อน เราจะรับภาระนี้ช่วยพวกเธอเอง” แล้วพญาสุนัขก็ระลึกถึงบุญบารมีที่ตนได้สร้างสมมา ตั้งสัตยาธิษฐาน “ด้วยบุญบารมีที่ข้าพเจ้าสร้างสมมาด้วยดีหนึ่งและจิตอันมีเมตตาเปี่ยมในสรรพสัตว์ทั้งหลายของข้าพเจ้าหนึ่ง ขอคุณงามความดีทั้งสองประการนี้ จงช่วยคุ้มครองข้าพเจ้าขณะเดินทางไปเฝ้าพระราชาด้วย
  อย่าให้มีใครทำร้ายหรือคิดร้ายต่อข้าพเจ้าเลย” เมื่ออธิษฐานจิตแล้วพญาสุนัขจึงออกเดินทางไปยังพระราชวังทันที ตลอดการเดินทางอันเร่งรีบนั้นมิได้รับอันตรายใดๆ เลย เมื่อเล็ดลอดเข้าไปในพระราชวังได้แล้ว ก็ตรงไปยังท้องพระโรง “เฮ้อ..มาถึงซะทีนะเรา” ด้วยแรงอธิษฐานทำให้พระเจ้าพรหมทัตทรงมีเมตตามิให้ผู้ใดทำร้าย
 “ปล่อยให้เข้ามาเถอะ” “ขอเดชะ พระอาญาไม่พ้นเกล้า พระองค์ทรงให้ฆ่าสุนัขทุกตัวที่พบโดยมิได้ยกเว้นเลยหรือพระเจ้าคะ” “เปล่า..สุนัขที่เราเลี้ยงไว้มิได้ถูกสั่งฆ่า” “ขอเดชะ เมื่อครั้งแรกตรัสว่าให้ฆ่าสุนัขทุกตัว แล้วเหตุใดจึงยกเว้นสุนัขในวังเล่าพระเจ้าคะ เช่นนี้พวกมิใช่ผู้ร้าย กลับได้มรณะภัย” “สุนัขที่เราเลี้ยงไว้ทุกตัวล้วนได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างดี
 ย่อมจะไม่กัดหนังหุ้มราชรถของเราเอง เราจึงให้เว้นไว้ เจ้าบังอาจกล่าวว่าเราสั่งฆ่าสุนัขผู้บริสุทธิ์ รู้หรือไม่ว่าใครเป็นตัวการ” “ข้าพระองค์รู้ว่าเป็นสุนัขในวังที่เป็นตัวการและสามารถพิสูจน์ได้พระเจ้าคะ” เมื่อพระราชาให้พญาสุนัขทำการพิสูจน์ พญาสุนัขจึงขอให้ราชบุรุษนำหญ้ามาขยำกับน้ำมันเปรียงแล้วคั้นเอาแต่น้ำ
  แล้วนำไปให้สุนัขในวังทุกตัวกิน “หือ..เหม็นจัง กินแล้วต้องได้คลื่นไส้กันมั่งหละ มาลูกๆ มากินกันเร็ว ทีนี้ก็จะได้รู้ละว่าใครเป็นตัวการ” “แหวะ..เหม็นจัง เอาอะไรมาให้เรากินเนี่ย แค่ได้กลิ่นก็จะอ๊วกแล้ว ใครจะไปกินลง อี๊ไม่เอา..ไม่กินๆ” “เหม็นๆๆ ไม่กินๆ” ราชบุรุษช่วยกันจับสุนัขทุกตัวในวังมากรอกยาใส่ปาก
 สุนัขเหล่านั้นเมื่อได้กลืนยาเข้าไป ก็สำรอกเอาชิ้นส่วนหนังหุ้มราชรถออกมามาจนหมด “แหวะ..เอาอะไรมาให้กินก็ไม่รู้ เหม็นฮะ อ๊วก....ออกมาเป็นแผ่นเลย” “เฮ้ย..นี่มันเบาะรถนี่น่า” พระเจ้าพรหมทัตทอดพระเนตรเห็นดังนั้นแล้ว ก็เข้าพระทัยทุกอย่างได้อย่างแจ่มแจ้ง พระองค์ทรงไว้วางพระทัยราชบุรุษมากเกินไป
  ทรงมีความลำเอียงเพราะรักและเมตตาสุนัขที่พระองค์เลี้ยงไว้ จนทำให้ต้องสร้างบาปกรรมมากมาย “เราขอเนรเทศสุนัขในวังออกไปให้หมด ยกเลิกการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตทั้งปวงตั้งแต่บัดนี้” “พะยะคะ” “น่าสงสารสุนัขที่พวกเราฆ่ามันไปนะ” “ยกโทษให้เราด้วยนะ...เราผิดไปแล้ว” “สำหรับพญาสุนัขแม้จะเป็นสัตว์เดรัจฉาน แต่ก็มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีความอาจหาญยิ่งนัก
  กล้าเอาชีวิตของตนเองเสี่ยงกับความตายเพื่อความยุติธรรม เพื่อความสงบสุขของหมู่ญาติทั้งปวง จงมีความสุขจากการเลี้ยงดูของเราเถิด” พระเจ้าพรหมทัตโปรดให้บำรุงเลี้ยงสุนัขทั้งหลายด้วยอาหารอย่างดีตลอดไป และทรงห้ามมิให้ฆ่าสัตว์ทั้งหลายในกรุงพาราณสีด้วย พญาสุนัขจึงแสดงทศพิธราชธรรมถวายและขอร้องให้พระองค์ตั้งมั่นอยู่ในศีล 5
ให้บำรุงพระชนกชนนี ดำรงอยู่ในความไม่ประมาทตลอดไป “อร่อยจัง เพิ่งรู้ว่าอาหารในวัง อร่อยอย่างนี้นี่เอง มิเสียแรงที่อุตส่าห์เอาชีวิตรอดมาได้ อร่อยๆ” “โห้..กินจนจุกไปหมดแล้ว อิ่มสุดๆ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาพระเจ้าพรหมทัตและข้าราชบริพารต่างประพฤติธรรมตามโอวาทของพญาสุนัข ครั้นละโลกไปแล้วต่างได้ไปบังเกิดในสรวงสวรรค์กันทั้งสิ้น

 
 
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพรหมทัต ได้มาเป็น พระอานนท์
สุนัขที่เหลือ ได้มาเป็น พุทธบริษัททั้งหลาย
พญาสุนัข เสวยพระชาติเป็น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
 
พระคาถาประจำชาดก
เยกุกกุรา ราชกุลสฺมิ วฑฺฒา
โกเลยฺยกา วณฺณพลูปปนฺนา
เตเม น วชฺฌา มยมสฺม วชฺฌา
นายํ สมจฺจา ทุพฺพลมาติกายํ
 
สุนัขเหล่าใดอันบุคคลเลี้ยงไว้ในราชตระกูล
เป็นสัตว์มีเจ้าของสมบูรณ์ด้วยสีสันและกำลัง
สุนัขเหล่านั้นไม่ถูกฆ่า พวกเรากลับถูกฆ่า
เมื่อเป็นเช่นนี้จะว่าเที่ยงตรงคือฆ่าไม่เลือกหน้าได้อย่างไร
กลับเป็นการฆ่าไม่ปราณีเฉพาะสุนัขที่ไม่มีเจ้าของต่างหาก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 07, 2015, 05:13:44 pm โดย Pom jaravee »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
Re: กุกกุรชาดก-ชาดกว่าด้วยการสงเคราะห์ญาติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2015, 04:41:50 pm »
 thk56 thk56 thk56
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ