ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ‘วัดแม่นางปลื้ม’ จุดเช็กอินทัพอังวะ กรุงแตก 2310 ก่อน ‘ลิซ่า’ ปักหมุด 2566  (อ่าน 143 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0




‘วัดแม่นางปลื้ม’ จุดเช็กอินทัพอังวะ กรุงแตก 2310 ก่อน ‘ลิซ่า’ ปักหมุด 2566

แห่เที่ยวตาม ลิซ่า ลลิษา มโนบาล และเพื่อนๆ จนกรุงแทบแตกอีกรอบ หลังเคยถูกตีแตกโดย ทัพอังวะ มาแล้วในพุทธศักราช 2310

นอกจากวัดมหาธาตุ วัดหน้าพระเมรุ และโบราณสถานต่างๆ ในอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาแล้ว ลิซ่า ยังฉายภาพหมู่หน้าซุ้มประตู วัดแม่นางปลื้ม อีกด้วย



ภาพจากอินสตาแกรม dianaflipo

วัดแม่นางปลื้ม อยู่นอกเกาะเมือง ฝั่งตรงข้ามป้อมมหาไชย ที่กองทัพอังวะตั้งทัพและตั้งปืนใหญ่ยิงข้ามกำแพงเข้าในเมืองแล้วส่งคนข้ามคลองเมืองไปขุดรากกำแพงป้อม ฝังระเบิดเปิดทางเข้าเมืองเป็นแห่งแรกจนกรุงแตก ปัจจุบันมีสะพานเล็กๆ เดินข้ามไปมาระหว่างฝั่งในเมืองตรงตลาดหัวรอ กับฝั่งนอกเมืองตรงวัดแม่นางปลื้ม

ภายในวิหารของวัดมีพระประธานคือ “หลวงพ่อขาว” หรือ พระพุทธนิมิตมงคลศรีรัตนไตร องค์สีขาวบริสุทธิ์ เป็นศิลปะสมัยอยุธยาตอนต้น ถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านให้ความศรัทธานับถือ ด้านหลังพระวิหารมีเจดีย์สิงห์ล้อมศิลปะอยุธยา




ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์ อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ให้ความเห็นเกี่ยวกับเจดีย์องค์นี้ ว่าเป็นรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยพบในศิลปะยุคก่อน และนับเป็นลักษณะพิเศษที่หาได้ยาก

เจดีย์สิงห์ล้อมนี้เป็นหนึ่งในวัดไม่กี่แห่งที่สภาพของสิงห์ยังสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม สันนิษฐานว่าเจดีย์สิงห์ล้อมคงได้รับอิทธิพลจากเจดีย์ช้างล้อมในศิลปะสุโขทัย ใบหน้าและท่าทางของสิงห์วัดแม่นางปลื้มเทียบเคียงได้กับสิงห์เขมร




ส่วนเจดีย์ประธานวัดแม่นางปลื้มเป็นเจดีย์ทรงระฆังในยุคต้น ยังมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะสุโขทัย และมีอายุใกล้เคียงกับเจดีย์ประธานวัดมเหยงคณ์










Thank to : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4014858
ศาสนา-วัฒนธรรม | วันที่ 6 มิถุนายน 2566 - 11:19 น.   
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ