ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สมาธิสูตร อีกสูตร หนึ่ง ที่ชี้ให้เราวิธีการเห็นตามความเป็นจริง  (อ่าน 4971 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
      พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  ขันธวารวรรค  [๑.  ขันธสังยุต]
           มูลปัณณาสก์  ๑.  นกุลปิตุวรรค  ๕.  สมาธิสูตร

                  ๕. สมาธิสูตร
                  ว่าด้วยสมาธิ
            [๕]    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่    ณ    พระเชตวัน    อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี   เขตกรุงสาวัตถี    ณ    ที่นั้น    พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิด    ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริง
            รู้ชัดอะไรเล่าตามความเป็นจริง
            คือ    ภิกษุรู้ชัดความเกิดและความดับแห่งรูป    ความเกิดและความดับแห่งเวทนาความเกิดและความดับแห่งสัญญา    ความเกิดและความดับแห่งสังขาร    ความเกิดและ ความดับแห่งวิญญาณ
            อะไรเป็นความเกิดแห่งรูป    อะไรเป็นความเกิดแห่งเวทนา    อะไรเป็นความเกิดแห่งสัญญา    อะไรเป็นความเกิดแห่งสังขาร    อะไรเป็นความเกิดแห่งวิญญาณ
            คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้เพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติด
         ภิกษุเพลิดเพลิน เชยชม ยึดติดอะไรเล่า
     คือ    ภิกษุเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดรูป    เมื่อเธอเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดรูป    ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น    ความเพลิดเพลินในรูปเป็นอุปาทาน    เพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย    ภพจึงมี    เพราะภพเป็นปัจจัย    ชาติจึงมี    เพราะชาติเป็นปัจจัย    ชรา    มรณะ    โสกะ    ปริเทวะ    ทุกข์    โทมนัส    และอุปายาสจึงมี    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
            ภิกษุเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดเวทนา    ฯลฯ
            ภิกษุเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดสัญญา    ฯลฯ
            ภิกษุเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดสังขาร    ฯลฯ
            ภิกษุเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดวิญญาณ    เมื่อเธอเพลิดเพลิน    เชยชม    ยึดติดวิญญาณ    ความเพลิดเพลินจึงเกิดขึ้น    ความเพลิดเพลินในวิญญาณเป็นอุปาทานเพราะอุปาทานของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย    ภพจึงมี    เพราะภพเป็นปัจจัย    ชาติจึงมี    ฯลฯความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
            ภิกษุทั้งหลาย    นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งรูป    นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งเวทนา    นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสัญญา    นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งสังขาร    นี้เป็นความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ
            อะไรเป็นความดับแห่งรูป  ...  แห่งเวทนา    ฯลฯ    แห่งสัญญา    ฯลฯแห่งสังขาร    อะไรเป็นความดับแห่งวิญญาณ
            คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติด
            ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดอะไรเล่า
            คือ    ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดรูป    เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชมไม่ยึดติดรูป    ความเพลิดเพลินในรูปจึงดับ    เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับอุปาทานจึงดับ    เพราะอุปาทานดับ    ภพจึงดับ    ฯลฯ    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
            ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดเวทนา    เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดเวทนา    ความเพลิดเพลินในเวทนาจึงดับ    เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ    อุปาทานจึดับ    เพราะอุปาทานดับ    ภพจึงดับ    ฯลฯ    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
            ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดสัญญา    ฯลฯ
            ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดสังขาร    เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชมไม่ยึดติดสังขาร    ความเพลิดเพลินในสังขารจึงดับ    เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ    อุปาทานจึงดับ    เพราะอุปาทานดับ    ภพจึงดับ    ฯลฯ    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
            ภิกษุไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดวิญญาณ    เมื่อเธอไม่เพลิดเพลิน    ไม่เชยชม    ไม่ยึดติดวิญญาณ    ความเพลิดเพลินในวิญญาณจึงดับ    เพราะความเพลิดเพลินของภิกษุนั้นดับ    อุปาทานจึงดับ    ฯลฯ    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้มีได้ด้วยประการอย่างนี้
            ภิกษุทั้งหลาย    นี้เป็นความดับแห่งรูป    นี้เป็นความดับแห่งเวทนา    นี้เป็นความดับแห่งสัญญา    นี้เป็นความดับแห่งสังขาร    นี้เป็นความดับแห่งวิญญาณ”
                  สมาธิสูตรที่ ๕ จบ



   อำนาจ สมาธิ กับการมองเห็นตามความเป็นจริง อีกสูตรหนึ่ง เมื่ออำนาจสมาธิปรากฏ อริยมรรค มีองค์ 8 ก็สมบูรณ์ จิตจึงมองเห็นตามความเป็นจริง ได้ เห็นได้มาก ก็เข้าใจได้มาก  เข้าใจได้มาก ก็ละอุปาทานได้มาก ละอุปาทานได้มาก ก็คลายตัณหาได้มาก คลายตัณหาได้มาก ก็หลุดพ้นได้มาก หลุดพ้นได้มาก ก็บรรลุธรรมได้ไว


 เจริญธรรม


 
   ;)


Aeva Debug: 0.0003 seconds.
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

pornpimol

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 152
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ความเกิดขึ้น ของรูป เกิดอย่างไรคะ
ความดับของ ของรูป ดับอย่างไรคะ

   อยากให้พระอาจารย์ ช่วยอธิบาย ชี้แนวทางด้วยคะ

   :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตา กับ รูป กระทบ กัน จึงเกิด ตา และ รูป คะ เมื่อเกิดแล้วมีสติเข้าไปรู้ทัน ว่า ไม่มีตัวตน ก็จะพ้นจากทุกข์ ได้คะ

  :58: :88:
บันทึกการเข้า

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ สาธุ สาธุ กับสูตรที่พระอาจารย์ ยกมาให้อ่านครับ นานๆ จะได้ตั้งอ่านทีครับ มีประโยชน์ โดนใจผมมากเลยครับในส่วนนี้ ครับ

   :25: :c017:
บันทึกการเข้า

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 07, 2015, 10:55:00 pm โดย danai_siriangkawoot »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

nonestop

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 87
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องเก่า ๆ แต่พอได้อ่านแล้ว รู้สึกว่า พระอาจารย์ ท่านได้โพสต์สอนเราไว้นานแนล้ว

  :25: :25: :25: thk56
บันทึกการเข้า
nonestop  หยุดทำ้ร้าย หยุดเบียดเบียน หยุดการกลับมาเกิด กันเถิดครับ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

           ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา