ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จะรักษาแก่นได้ เปลือก กับ กระพี้ ต้องมีอยู่ ต้นไม้ถึงจะรอด  (อ่าน 1632 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ต้นไม้ ไม่ได้อยู่ด้วยแก่นอย่างเดียว
ต้นไม้ จะอยู่ได้ ต้องมีเปลือก และ กระพี้ อยู่ด้วย
ต้นไม้ ที่ไม่มีเปลือก ไม่มีกระพี้ คือต้นไม้ที่ถูกเขาตัดทำลายแล้ว
ดังนั้น ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า แม้มุ่งโลกุตตระ ก็ใช่ ว่า โลกียะนั้นไม่สำคัญ ดังนั้นข้อความธรรม พื้นฐานการเป็นมุนษย์ จึงมีอยู่ในคำสอน
ซึ่งพระพุทธเจ้า พระองค์ ก็จะสอนไปตามลำดับ ตั้งแต่ ทาน สีล สัคคะ อาทีนวะ เนกขัมมะ อย่างนี้เสมอ ๆ
ท่านที่เริ่มศึกษาใหม่ ไม่เข้าใจก็ควรจะเริ่ม จาก ทาน ไปก่อน เมื่อสร้างทาน ดีแล้วเข้าใจ ก็ค่อยเขยิบ ขึ้นมาตาม ฐานะและสาระ ที่ทำได้อยากสุด คือ เนกขัมมะ เพราะ เนกขัมมะ นั้น คือการบรรลุธรรม ด้วย มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายในพระพุทธศาสนา อันใคร ๆ ผู้ที่ได้ พัฒนาตน ตาม มรรค มีองค์ 8 พร้อม ทั้งทำความเข้าใจ ใน อริยสัจจะ 4 แล้ว ย่อมสามารถไปได้
หลักคำสอนของศาสนาพุทธ จึงไม่ต้องเรียนมากมาย ถ้าต้องการภาวนา จริง ๆ


อนุปุพพิกถา หมายถึง เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของสัตว์ให้หมดจดเป็นๆ จากง่ายไปหายาก เพื่อเตรียมจิตของผู้ฟังให้พร้อมที่จะรับฟังธรรมชั้นสูง คือ อริยสัจ มี ๕ ประการ คือ

๑. ทานกถา กล่าวคือทาน หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการให้ทานและอานิสงส์ของการให้ทาน ว่าเป็นเหตุให้ได้รับความสุข เพราะผู้รู้จักให้เป็นที่รักใคร่ของคนหมู่มาก เป็นบ่อเกิดแห่งโภคทรัพย์ทั้งปวง เป็นหลักประกันของชีวิตในเวลาจะสิ้นใจเป็นต้น

๒. สีลกถา กล่าวคือศีล หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องการรักษาศีลและอานิสงส์ของการรักษาศีลว่า ผู้มีศีล ย่อมไม่ประสบความเดือดร้อนเนื้อร้อนใจจากที่ไหนๆ เพราะมีศีลเป็นเหมือนอาภรณ์อย่างประเสริฐ เป็นหลักประกันในการได้สมบัติทั้งในโลกนี้และโลกหน้า เป็นต้น

๓.  สัคคกถา กล่าวคือสวรรค์ หมายถึง การพรรณนาคุณเรื่องสวรรค์ว่า เป็นที่อันเพรียบพร้อมด้วยกามสุขอันเป็นทิพย์มีแต่สิ่งที่น่ารื่นเริงบันเทิงเริงใจ เป็นผลที่ได้รับจากการให้ทาน รักษาศีล เป้นต้น

๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม หมายถึง การพรรณนาโทษเรื่องของกามว่า แม้จะเป็นความสุข แต่ก็มีความทุกข์เจือปน ไม่มีความจีรังยังยืน มีโทษมากแต่คุณน้อย เพราะเป็นเหตุให้เวียนวายอยู่ในสังสารวัฏ เป็นต้น

๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งการออกจากกาม หมายถึง การพรรณนาถึงการออกจากกามและอานิสงส์ว่าเป็นความปลอดโปร่งจากสิ่งล่อเร้าเย้ายวน เพื่อให้เกิดความพอใจที่จะคิดค้นหาวิธีการทำใจไม่ให้หมกมุ่นในกามนั้น วิธีการออกจากกามให้ได้ผลดีก็คือการออกบวชบำเพ็ญเพียร
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา