ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: Re: ตำนานลำดับพระกรรมฐาน ประวัติพระราหุลมหาเุถรเจ้า  (อ่าน 6217 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
    • ดูรายละเอียด
ผมคิดว่า เพื่อน ๆ คงไม่ค่อยได้อ่านตำนานลำดับพระกรรมฐาน กันแน่ ๆ เพราะเวลาผม

เข้าไปสนทนากับ พวกเพื่อน ๆ ที่ดาวน์โหลดไฟล์ไปอ่าน พอคุยกันก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่องที่คุยกัน

จึงทำหใ้ห้ทราบว่า เพื่อนๆ ส่วนใหญ่ นั้นดาวน์โหลดไฟล์ไปแล้วไม่ค่อยได้อ่าน ดังนั้นผมจึงมานั่ง

นึกถึง ตำนานที่บันทึกด้วย พระครูสิทธิสังวรนั้น มีเรื่องดี ๆ เด็ด ๆ สำคัญ ผมว่าตัดตอนอ่านเป็นตอน ๆ ในที่นี้

ดีกว่า จากนี้ไปผมจะขอนำข้อความลงมาตัดโพสต์เป็นตอน ๆ ไปเรื่อย ๆ นะครับ


ตำนานสืบทอดพระกรรมฐาน
มัชฌิมา  แบบลำดับ
ของพระราหุลเถรเจ้า
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(พลับ)

พิมพ์เผยแพร่ ผดุงพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
ของ

พระราหุลเถรเจ้า องค์ต้นพระกรรมฐานมัชฌิมา

สืบทอดต่อมาโดย
สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน)
ตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของพระราหุลเถรเจ้า
สืบต่อมาจนถึง สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน)
พระครูสิทธิสังวร  คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม เรียบเรียง.

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2010, 06:41:46 pm โดย kittisak »
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนานลำดับพระกรรมฐาน ประวัติพระราหุลมหาเุถรเจ้า ๑
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 06:36:25 pm »
ตำนานการสืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา ทางสายกลาง แบบลำดับ
พระราหุลมหาเถรเจ้าพุทธชิโนรส
สืบทอดมาถึง สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน
------------------------------------
ข้าฯขอนอบน้อมแด่ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ ล้าน ๔ หมื่น ๘ พัน ๑๐๙พระองค์ ด้วยเศียรเกล้าฯ ของข้าฯ
ข้าฯขอนอบน้อมแด่ พระธรรมเจ้า พระสงฆเจ้า ขอนอบน้อมแด่ พระอริยสงฆ์เจ้า องค์ต้นพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ คือพระราหุลเถรเจ้า  ขอนอบน้อมพระอริยสงฆ์ผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ คือพระโกลิกเถรเจ้า พระมัลลิกเถรเจ้า  พระโมคคัลลีบุตรเถรเจ้า  พระโสณเถรเจ้า พระอุตรเถรเจ้า  แห่งดินแดน ชมพูทวีป
และข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่  พระราชสามีรามมหาเถรเจ้า (เพชร) ยุคทวาราวดี  พระญาณสุวรรณมหาเถรเจ้า (สิงห์) ยุคสุโขทัย  พระพนรัต (รอด) ยุคกรุงศรีอยุธยา  และสมเด็จพระสังฆราช  (สุกไก่เถื่อน )  ยุคกรุงรัตนโกสินทร์  แห่งดินแดนสุวรรณภูมิ   
ข้าพเจ้า ขอพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จงตั้งอยู่นาน ตลอด ๕๐๐๐ ปีด้วยเทอญฯ
--------------------------------------------------
คำกล่าวของราหุลเถรเจ้า
ผู้คนทั้งหลายรู้จักเราว่า พระราหุลผู้เจริญ มีความบูรณ์ด้วยคุณสมบัติ ๒ ประการคือ ชาติสมบัติ ๑ ปฏิบัติสมบัติ ๑ เราเป็นพระโอรสของพระพุทธเจ้า       แลของท่านผู้มีปัญญาเห็นธรรมทั้งหลาย เพราะอาสวะกิเลศของเราสิ้นไป   และการเกิดในภพใหม่ ของเราไม่มีอีกต่อไป เราเป็นพระอรหันต์ เป็นพระขิเณยบุคคล       เป็นผู้มีวิชชา ๓ เป็นผู้เห็นอมตะธรรม คือธรรมที่ไม่ตาย   สัตว์ทั้งหลาย เป็นเหมือนคนตาบอด   เพราะเป็นผู้ไม่เห็นโทษในกามคุณ ถูกข่ายคือตัณหาปกคลุมใจแล้วถูกหลังคา คือตัณหาความอยาก ปกปิดแล้วถูกกิเลศมาร ผูกแล้วด้วยเครื่องผูก     คือความประมาท     เหมือนปลาติดในแห เราถอนกามราคะ     นั้นขึ้นได้แล้ว       ตัดเครื่องผูกของมาร        คือสังโยชน์ได้แล้ว  ถอนตัณหา คือความอยาก พร้อมทั้งราก คืออนุสัยขึ้นแล้ว เป็นผู้มีความเยือกเย็นดับแล   (มาใน เถรคาถา พระสุตันตปิฏก ขุททกะนิกาย เถรคาถา)

----------------------------------
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2010, 06:42:03 pm โดย kittisak »
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
    • ดูรายละเอียด
ประวัติพระราหุลเถรเจ้า
   ท่านพระราหุลเถรเจ้า ทรงเป็นพระราชโอรสของ   เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร กับพระนางยโสธรา หรือพระนางพิมพา พระราหุลเป็น พระราชนัดดา(หลาน)ของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ ประสูติวันที่พระมหาบุรุษ เสด็จออกผนวช
วันนั้น พระมหาบุรุษทรงได้สดับข่าวพระราชโอรสประสูติ จึงออกพระโอษฐ์ว่า ราหุลัง ชาตัง ราหุลัง ชาตัง ซึ่งแปลว่า บ่วงเกิดขึ้นแล้ว บ่วงเกิดขึ้นแล้ว เครื่องพันธนาการเกิดขึ้นแก่เรา จำเดิมแต่นั้นมาพระราชกุมารจึงได้พระนามว่า  ราหุล
     มีเรื่องเล่าไว้ว่า  เมื่อเจ้าชายราหุลประสูติ พวกราชบุรุษนำหนังสือบอกข่าว   มาวางไว้บนพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ ลำดับนั้นความสิเนหารักใคร่ในพระโอรสทำให้พระวรกายทุกส่วนของพระมหาบุรุษซาบซ่าน   พระมหาบุรุษดำริว่า   เมื่อบุตรเกิดเพียงคนเดียว   ความสิเนหารักใคร่ในบุตรยังเป็นถึงเพียงนี้  ถ้าเราจะมีบุตรมากกว่า  ๑๐๐๐  คน  ในบรรดาบุตรเหล่านั้นเมื่อคนหนึ่งเกิดมา ความผูกพันด้วยสิเนหารักใคร่ ก็เพิ่มมากขึ้นอย่างนี้  หัวใจจะแตกสลายเป็นแน่แท้ 
เพราะเหตุนั้น  พระมหาบุรุษจึงตรัสว่า  บ่วงเกิดแล้ว  เครื่องผูกพันเกิดแล้ว   ในวันนั้นเองพระมหาบุรุษ ทรงสละราชสมบัติออกผนวช  ในเวลากลางดึกคืนนั้นเอง
เมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว ได้สองพรรษา ย่างเข้าพรรษาที่สาม เสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ โดยการทูลเชิญของ พระกาฬุทายีเถรเจ้า พร้อมด้วยพระสงฆ์สองหมื่นรูปเป็นบริวาร เดินทางมา กรุงกบิลพัสดุ์ ใช้เวลาเดินทาง ๖๐ วันพอดี
เสด็จประทับอยู่ที่นิโครธาราม นอกนครกบิลพัสดุ์ วันที่ ๗ แห่งการเสด็จนครกบิลพัสดุ์ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่พระราชนิเวศที่อยู่ของพระนางยโสธรา ซึ่งเป็นพระราชเทวีเก่าของพระองค์
พระราหุลผู้เป็นพระราชโอรส ออกมาทูลขอราชสมบัติที่ตนควรจะได้ ตามพระดำรัสของพระนางพิมพาราชมารดา  ราหุลราชกุมารถวายบังคมพระบรมศาสดาแล้ว ทอดพระเนตรดูพระบรมศาสดา ก็บังเกิดความรักใคร่สิเน่หาในพระราชบิดา ทรงเกิดความปราโมทย์โสมนัส เกิดความปีติใจ เกิดความสงบใจ คือปัสสัทธิ มีจิตเป็นสุขสงบ มีพระหฤทัยตั้งมั่น เป็นอุปจารสมาธิ
พระราหุลกุมารจึงตรัสชมพระบรมศาสดาว่า ร่มเงาพระฉายาลักษณ์ของพระองค์เย็นสดชื่นยิ่งนัก พระพักตร์ของพระองค์ก็สดใสสุดประมาณยิ่ง
เนื่องจากราหุลกุมาร ทรงสร้างสมพระสาวกบารมี มาหลายอสงไข แสนมหากัป นับพระชาติไม่ถ้วน  จึงทรงได้ พระปีติ คือปีติ ๕ ประการ ปัสสัทธิ คือพระยุคล ๖ ประการ สุขสมาธิ คือสุขสมาธิ ๒ ประการ มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถึงขั้นอุปจารฌาน เป็นสัมมาสมาธิที่สมบูรณ์ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทอดพระเนตรเห็นพระบรมศาสดา เนื่องจากคุณของพระบรมศาสดา หรือคุณของพระพุทธเจ้ามีความลึกซึ้งยิ่งนัก ยากที่จะหยั่งลงให้ถึงที่สุดได้ยาก จิตของราหุลกุมาร จึงไม่แล่นไปถึงอัปปนาสมาธิ หรืออัปปนาฌาน
หลังจากนั้นราหุลกุมาร จึงเฝ้าเจรจาปราสัยแสดงความรักใคร่มีประการต่างๆในพระบรมศาสดา ครั้นเห็นพระบรมศาสดาจะเสด็จกลับ จึงทูลขอพระราชสมบัติ และเสด็จติดตามไปด้วย พระบรมศาสดาดำริว่า  บรรดาทรัพย์ทั้งหลายที่จะถาวรมั่นคง และประเสริฐกว่าอริยทรัพย์ไม่มี เราควรจะให้อริยทรัพย์แก่ ราหุลกุมารเถิด
เมื่อทรงพระราชดำริอย่างนี้แล้ว ก็เสด็จออกจากกรุงกบิลพัศดุ์  ผ่านมาทางกรุงพาราณสี ลุถึงพระนครสาวัตถี   จึงตรัสสั่งพระสารีบุตรว่า ถ้าอย่างนั้นพระสารีบุตร เธอจงบวชให้ราหุลเถิด ครั้งนั้นราหุลกุมารยังทรงพระเยาว์อยู่ เวลานั้นราหุลกุมารมีพระชนมายุได้ ๗ พรรษา มีอายุไม่ครบอุปสมบท พระสารีบุตรจึงทูลถามพระบรมศาสดาว่า จะให้ข้าพระองค์บวช ราหุลกุมารอย่างไร
   พระบรมศาสดาปรารภเรื่องนี้ให้เป็นอุบัติเหตุ ทรงตรัสแสดงสิกขาบท ๑๐ ประการ จึงทรงอนุญาติให้ภิกษุบวชกุลบุตร ที่มีอายุยังไม่ครบอุปสมบทให้เป็น สามเณร ด้วยไตรสรณะคมน์ เรียกว่าบรรพชา ราหุลกุมาร บรรพชาเป็นสามเณร ณ. พระเชตวันมหาวิหาร อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี  พระมหาโมคคัลลานะเถร ปลงพระเกสา ของพระกุมารแล้วถวายผ้ากาสายะ พระสารีบุตรเถรถวายสรณะ พระมหากัสสปะเถร เป็นให้โอวาท สามเณรราหุล จึงทรงเป็นสามเณร พระองค์แรกในพระพุทธศาสนา และบรรพชาด้วยไตรสรณะคมน์ องค์แรกของพระพุทธศาสนาด้วย
   พระสารีบุตรเถรเจ้า เปรียบเหมือนผู้ให้กำเนิด   พระโมคคัลลานะเถรเจ้า เปรียบเหมือนผู้บำรุงเลี้ยงทารกที่เกิดแล้ว พระสารีบุตรเถร ย่อมแนะนำในโสดาปัตติผล  พอที่จะบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก ทำให้ง่ายซึ่งอริสัจสี่ ได้โดยพิศดาร   พระโมคคัลลานะเถร ย่อมแนะนำในผลชั้นสูงขึ้นไป
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2010, 06:42:32 pm โดย kittisak »
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
    • ดูรายละเอียด
บรรพชาอุปสมบท ด้วยไตรสรณะคมน์  พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ที่กรุงพาราณสี บรรพชา อุปสมบท อาจารย์ไม่เป็นใหญ่ อุปัชฌาย์เท่านั้นเป็นใหญ่
ได้ยินว่าโหรทั้งหลายได้ทำนายพระบรมโพธิสัตว์ ในวันมหามงคลว่าจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฉันใดก็ฉันนั้น ก็ได้ทำนายทั้งพระนันทะ พระราหุล ในวันมหามงคลว่า จะได้เป็น พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าสุทโธทนะก็ตั้ง    จิตคอยชมพระเจ้าจักรพรรดิสิริ แต่ทรงผนวชหมด จึงโทรมนัส  ต่อมาจึงขอพุทธานุญาติ พระบรมศาสดาว่า จะบวชกุลบุตรต้องขออนุญาติจากมารดา บิดาก่อน
   ตั้งแต่ ราหุลกุมารบรรพชามา  พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ทรงบรรพชาให้บุตร ที่มารดาบิดา ไม่อนุญาต
ราหุลกุมาร บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ทรงติดตามเสด็จพระบรมศาสดา  พระอุปัชฌาย์ และพระอาจารย์ของตนไป ตามสถานที่ต่างๆ ตลอด
สามเณรราหุลลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ตั้งแต่วันที่บรรพชาแล้ว กอบทรายขึ้นเต็มมือตั้งจิตปรารถนาว่า เราพึงได้รับคำสั่งสอน มีประมาณเท่าเมล็ดทรายในกำมือ จากพระพุทธเจ้า พระอุปัชฌาย์ และอาจารย์ทั้งหลาย ในวันนี้ 
ท่านจึงได้ชื่อว่าเป็นยอด ของเหล่าภิกษุ ผู้ใคร่ในการศึกษา ซึ่งหมายถึง ผู้ใคร่ในการศึกษาซึ่งสิกขา ๓ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
การศึกษาพระกรรมฐาน ของสามเณรราหุล จนถึงการอุปสมบท สามเณร         ราหุลออกจากกรุงกบิลพัศดุ์ พักที่ป่าอิสิปะตะนะมฤคทายวัน สามเณรราหุล ศึกษาพระสมถะกรรมฐานเบื้องต้น คือธรรมตามลำดับขั้น ในป่าแห่งนี้ สามเณรราหุล เมื่อบรรพชาแล้ว มักจะปรารภ กับพระสารีบุตร ผู้ทรงปัญญา องค์พระอุปัชฌาย์เสมอมาว่า ทอดพระเนตรพระบรมศาสดาแล้ว  จิตเป็นสุข สมาธิตั้งมั่น
 ท่านพระสารีบุตร ผู้เลิศทางปัญญาจึงตรัสสอน สามเณรราหุลว่า  ที่จิตเป็นสุข และตั้งมั่นนี้ เพราะคุณของพระพุทธเจ้า เมื่อทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าแล้ว  จิตเกิดปราโมทย์ เกิดปราโมทย์แล้ว เกิดปีติ ๕ ปีติมี๕ประการ คือ  ขุททกาปีติ ขณิกาปีติ โอกกันติกาปีติ  อุพเพงคาปีติ ผรณาปีติ  กายก็สงบ จิตก็สงบ เป็นปัสสัทธิ เกิดยุคลธรรม ๖ ประการคือ กายปัสสัทธิ-จิตปัสสัทธิ กายลหุตา-จิตลหุตา กายมุทุตา-จิตมุทุตา กายกัมมัญญะตา-จิตกัมมัญญะตา กายปาคุญญะตา-จิตปาคุญญะตา กายุชุคคตา-จิตตุชุคคตา เมื่อกายสงบ จิตก็สงบ  กาย และจิต ย่อมเป็นสุข   เกิดเป็นสุขสมาธิ ๒ ประการ กายสุข จิตสุข และอุปจารพุทธานุสสติ มีจิตตั้งมั่นเป็นอุปจารสมาธิ 
พระสารีบุตรก็กล่าวสอน วิธีการปรับจิต เป็นขั้นๆไป เพื่อให้จิตประณีตเป็นขั้นๆ แก้จิตหลอก จิตหลอน จิตอุปาทาน   
พระสารีบุตรเถรเจ้า ผู้ทรงปัญญา จึงให้สามเณรราหุลศึกษา พระรัศมีพระปีติ ๕ ประการ คือพระรัศมีขุททกาปีติ พระรัศมีขณิกาปีติ พระรัศมีโอกกันติกาปีติ  พระรัศมีอุพเพงคาปีติ พระรัศมีผรณาปีติ
พระรัศมีพระยุคล ๖ ประการ คือ พระรัศมีกายปัสสัทธิ จิตปัสสัทธิ  พระรัศมีกายลหุตา จิตลหุตา พระรัศมีกายมุทุตา จิตมุทุตา  พระรัศมีกายกัมมัญญะตา จิตกัมมัญญะตา  พระรัศมีกายปาคุญญะตา จิตปาคุญญะตา   พระรัศมีกายชุคคะตา จิตสุคะตา 
พระรัศมีพระสุขสมาธิ ๒ ประการ พระรัศมีกายสุข จิตสุข พระรัศมีอุปจารพุทธานุสสติ  การนั่งเอาซึ่งพระรัศมีก็คือรูปปรมัตถ์นั้นเอง เพื่อปรับระดับจิตสมาธิ  เป็นการเรียนเพื่อปรับจิตเป็นขั้น เป็นตอน แก้จิตอุปทาน จิตหลอน จิตไม่ออกนอกหลู่นอกทาง  จิตเป็นอุปจารสมาธิ   (เรียนปีติ ยุคล สุขเป็น ดวงธาตุ )
ต่อจากนั้นพระสารีบุตรเถรเจ้า    ทรงสอนสามเณรราหุล เพื่อปรับจิตให้คล่องแคล่ว เป็นขั้น เป็นตอน  โดยเข้าสับปีติห้า เป็นอนุโลม ๑-๓-๒-๔-๓-๕  เป็นปฏิโลม  ๕-๓-๔-๒-๓-๑  เข้าคืบปีติห้าเป็นอนุโลม ๑-๓-๕-๒-๔ เป็นปฏิโลม  ๔-๒-๕-๓-๑    เข้าวัดออกวัดพระปีติห้าเป็นอนุโลม ๑-๒-๓-๔-๕  เป็นปฏิโลม ๕-๔-๓-๒-๑ (ปรับจิตคล่องแคล่วชั้นที่๑)
การปรับจิตให้คล่องแคล่วชั้นที่ ๒ คือเข้าสับยุคลธรรมหกเป็นอนุโลม ๑-๓-๒-๔-๓-๕-๔-๖ เป็นปฏิโลม ๖-๔-๕-๓-๔-๒-๓-๑  เข้าคืบยุคลธรรมหกเป็นอนุโลม ๑-๓-๕-๒-๔-๖  เป็นปฏิโลม  ๖-๔-๒-๕-๓-๑  และเข้าวัด ออกวัดเป็นอนุโลม ๑-๒-๓-๔-๕-๖ เป็นปฏิโลม  ๖-๕-๔-๓-๒-๑
การปรับจิตให้คล่องแคล่วชั้นที่ ๓  ปรับจิตในชั้นสุขสมาธิ มีแต่เข้าวัดออกวัดเป็นอนุโลม ๑-๒ เป็นปฏิโลม ๒-๑
ต่อมาสมัยหลังเมื่อสามเณรราหุล  ทรงอุสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว  ทรงมีหมู่ภิกษุเข้ามาศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ กับพระองค์ท่านมากมาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2010, 06:43:11 pm โดย kittisak »
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
    • ดูรายละเอียด
อยู่มาวันหนึ่งขณะหมู่ภิกษุสัทธิวิหาริก อันเตวาสิก กำลังนั่งบำเพ็ญภาวนาสมาธิในห้องพุทธคุณ ณป่าอันธวัน เมืองสาวัตถี บางรูปนั่งภาวนาอยู่ในห้องพระปีติ ๕ ก็มี บางรูปนั่งภาวนาอยู่ในห้อง พระยุคล๖ ก็มี บางรูปนั่งภาวนาอยู่ในห้องสุขสมาธิอยู่ก็มี 
ขณะนั้นบังเอิญ เกิดมีกิ่งไม้ไม่ใหญ่นัก แต่แห้งแล้ว หักตกลงมากระทบพื้นดิน เกิดเสียงดัง หมู่พระภิกษุที่กำลังนั่งภาวนาอยู่ในห้อง พุทธคุณ  ต่างมีจิตสมาธิไหว จิตหลุดออกจากสมาธิ
พระราหุลเถรเจ้า ทรงทอดพระเนตรเห็นแล้ว ทรงมีพระดำริว่า  เสียงนี้เป็นเสี้ยนหนามต่อสมาธิ มีเสียงกระทบดังนิดเดียว พระภิกษุเหล่านี้ก็มีจิตไหว ตกจากสมาธิเสียแล้ว 
ต่อมาพระราหุลเถรเจ้าจึงทรงฝึกหมู่พระภิกษุสัทธิวิหาริก อันเตวาสิก ที่กำลังเจริญภาวนาในห้องพุทธคุณ ให้เคยชินต่อเสียง มีจิตมั้นคงต่อเสียง มีจิตไม่ตกจากสมาธิได้ง่าย  จึงทรงให้บางรูปเข้าปีติ ๕ เป็นอนุโลม ปฏิโลม ให้บางรูปเข้ายุคลหก เป็นอนุโลม ปฏิโลม  ให้บางรูปเข้าสุขสมาธิ เป็นอนุโลม และปฏิโลม 
ขณะภิกษุเหล่านั้นทรงนั่งสมาธิอยู่  พระราหุลเถรเจ้า ทรงใช้ไม้ยาวประมาณคืบเคาะให้เกิดเสียงดัง ภิกษุเหล่านั้นก็มีจิตไหว ตกจากสมาธิ 
ทรงเคาะไม้ให้เกิดเสียงดังหลายๆครั้ง จิตที่เคยไหวง่าย ก็ไหวน้อยลง เพราะเคยชินกับเสียง เนื่องจากมีสติระวังอยู่ และต่อมาจิตสมาธิ ก็มีความกล้าแข็ง ต่อเสียงมากขึ้นไม่หวั่นไหวต่อเสียง  เหตุนี้จึงเป็นที่มาของการเข้าสะกดพระปีติห้า พระยุคลหก พระสุขสมาธิ ๒ ประการ
ต่อมาทรงศึกษา พระอานาปานสติกรรมฐาน ๙ จุดสัมผัส ซึ่งเป็นฝ่ายสมถะ กับพระบรมศาสดา และพระสารีบุตร    เพื่อปรับจิตให้แนบแน่นประณีตขึ้นสู่  อัปปนาสมาธิ
ทรงศึกษา กายคตาสติกรรมฐาน หรืออาการสามสิบสอง๑ กสิณ ๑๐ ประการ๑  อสุภะ ๑๐ ประการ๑ เนื่องจากพระกรรมฐาน ๓ อย่างนี้เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องอานาปานสติ ในกายคตาสติกรรมฐานสูตร เพื่อนำไปเจริญกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
ทรงศึกษา แผ่กสิณ ๑๐ ประการ แผ่เมตตา ๑๐ ทิศ แผ่กรุณา ๑๐ ทิศ แผ่ มุทิตา ๑๐ ทิศ แผ่อุเบกขา ๑๐ ทิศ กับพระโมคคัลลานเถรเจ้า ผู้เลิศ ทางอิทธิฤทธิ์
ทรงศึกษารูปฌานปัญจกนัย กับพระอัสสชิเถรเจ้า  (ท่านชำนาญในรูปฌาน มาตั้งแต่เป็นพราหมณ์)
ทรงศึกษาอนุสสติ เจ็ดประการ คือธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ  มรณสติ  อุปสมานุสสติ  กับพระสารีบุตรเถรเจ้า
ท่านพระสารีบุตรเถร ท่านรอบรู้พระกรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะท่านเป็น พระอัครสาวก ผู้เลิศทางปัญญา
ทรงศึกษาพรหมวิหาร ๔  คือเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา และศึกษาการเข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา  กับ พระมหานามเถรเจ้า (พระมหาเถรเจ้าในกลุ่ม พระปัญจวัคคีย์)
 ทรงศึกษาวิสุทธิ ๗ ประการ  กับสมเด็จพระบรมศาสดา
ทรงศึกษาวิปัสสนาญาณ ๑๐   อาหาเรปฏิกูลสัญญา  ๑(๑๐) จตุธาตุววัฏฐาน ๑(๔๒)  กับพระติสสเมตเตยยะเถร (พราหมณ์มานพ ๑๖ คน)
 ทรงศึกษาอรูปฌาน ๔  กับพระภัททิยะเถร (พระมหาเถรเจ้าในกลุ่ม พระปัญจวัคคีย์)
ทรงศึกษารูป-นาม  และสังขารการปรุงแต่ง ศึกษาคัมภีร์มูลกัจจายน์ กับพระมหากัจจายนเถร ๆ รจนาพระคัมภีร์มูลกัจจายน์ ก่อนพระราหุลเถรเจ้านิพพาน ๕ พรรษา
ทรงศึกษาพระมหาสติปัฏฐาน ๔  กับพระมหากัสสปเถรเจ้า เป็นโอวาทข้อที่ ๓ ที่พระพุทธเจ้าประทานแก่พระมหากัสสปเถรเจ้าว่า  เราจะไม่ละสติไปในกาย พิจารณากายเป็นอารมณ์ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐาน  เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องจาก   กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน
ทรงศึกษาโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ  กับสมเด็จพระบรมศาสดา
ทรงศึกษา เตโชธาตุ ธาตุไฟ (เตโชกสิณ)  กับชนิล ๓ พี่น้อง
ทรงศึกษาพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา     กับพระอานนทเถรเจ้า
ทรงศึกษาการปลงสังขาร คือการพิจารณาสังขาร มีเกษา เป็นต้น   กับพระอุบาลีเถรเจ้า เนื่องจากอดีตพระอุบาลีเถรเจ้าท่านเป็นกัลบก คือช่างตัดผม มาก่อน
ทรงศึกษากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน  เป็นการศึกษาทบทวน  กับพระอนุรุธเถรเจ้า
            ทรงศึกษา รูป เวทนา สัญญา สังขาร  วิญญาณ ละการยึดมั่น ถือมั่นในเบญจขันธ์ และอายตนภายใน ภายนอก เพื่อคลายสักกายทิฏฐิ คลายกำหนัด จิตหลุดพ้นจากกิเลส 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2010, 06:43:39 pm โดย kittisak »
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
    • ดูรายละเอียด
ทรงพิจารณา ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา เพื่อคลายกำหนัด   เจริญอสุภะ เพื่อละราคะ เจริญเมตตาภาวนา เพื่อละพยาบาท เจริญกรุณาภาวนา เพื่อละวิหิงสา เจริญมุทิตาภาวนา เพื่อละ อรติ เจริญอุเบกขาภาวนา เพื่อละปฏิฆะ  เจริญอนิจจะสัญญา เพื่อละอิสมิมานะ  เจริญอานาปานสติ  เพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และเจริญเมตตาเจโตวิมุตติ หรือออกบัวบานพรหมวิหาร เพื่อความหลุดพ้นอันงาม  ทั้งหมดนี้ทรงศึกษา กับสมเด็จพระบรมศาสดา
----------------------------------
ท่านพระราหุลเถรเป็นผู้มีความกตัญญูมาก เมื่อทราบว่าพระสารีบุตรเถรเจ้า องค์อุปัชฌาย์อยู่ทางทิศไหน ท่านจะบรรทม หันพระเศียรไปทางทิศนั้นเสมอๆ
วันหนึ่งพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ประชวรหนัก ทรงปวดตลอดพระวรกาย จึงทรงระลึกถึงพระราชโอรส พระราชนัดดา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบวาระจิต จึงตรัสชวนพระนันทะ พระอานนท์ ราหุลสามเณร และ พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ทรงพาเสด็จทางอากาศถึงฉับพลัน  พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอธิฐานทรงลูบ พระศิระเกล้า พระนันทะอธิฎฐาน ลูบพระสรีระกายขวา  พระอานนท์อธิฎฐาน ลูบพระสรีระกายซ้าย
สามเณรราหุลทรงอธิฎฐาน ลูบพระปริษฎางค์(หลัง) พระโรคาพาธเจ็บปวดทั้งปวง ของพระเจ้าสุทโธทนะ ก็ระงับหายสิ้น  ต่อมาพระศาสดาตรัส อนิจจาทิสังยุตต์ ตลอดคืน วันที่ ๗ พุทธบิดาบรรลุพระอรหันต์
ธรรมที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสสอนพระราหุล เช่นทรงตรัสสอนเรื่อง การพูดเท็จ พูดไม่จริง ทั้งๆที่รู้ เรื่องการละอหังการ คือความสำคัญว่าตัวกู มมังการ คือความสำคัญว่าของกู มานานุสัย คือการถือตัว ถือตน เรื่องดิน น้ำ ลม ไฟ ที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ไม่เป็นเรา ไม่ใช้เรา  ไม่เป็นเรา สอนเรื่องรูปทั้งปวง ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา สอนรูปมีลักษณะหยาบ  แข้นแข็ง เป็นธาตุดิน เช่น  ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา เป็นปฐวีธาตุ ทรงสอนเรื่อง รูปที่มีลักษณะเอิบอาบ เช่น ดี เสลด หนอง เลือด ไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา เป็นอาโบธาตุ  รูปเป็นเตโช อาศัยตน รูปเป็น วาโย อาศัยตน และ อากาศ ฯลฯ   ด้วยพระโอวาสนี้ ท่านสามเณรราหุลสำเร็จ พระโสดาปัตติผล  และสกทาคมิผล เป็นเสขบุคคลในพระพุทธศาสนา ตรัสสอนให้ ละฉันทะราคะ สำเร็จเป็นอนาคามิผล เมื่อบวชในพรรษาแรก ๒๐ พรรษา  เสขบุคคล
ภายหลังพระบรมศาสดาทรงทราบว่าญาณ คือความรู้ ของท่านพระราหุลบ่มวิมุติธรรมแก่กล้าแล้ว      ในเวลาที่ราหุลเป็นภิกษุยังไม่มีพรรษา
บางแห่งว่ามีชนมายุ ๓๒ พรรษา ประทับนั่งที่ป่าอันธวัน  ตรัสจุฬราหุโลวาทสูตร เวลาจบธรรมเทศนา พระราหุลเถระ บรรลุพระอรหัตผล พร้อมกับเทวดาแสนพันโกฎิ  เทวดาที่เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี นับไม่ถ้วน.  ต่อมาภายหลังพระ ศาสดาทรงประทับนั่งท่ามกลางพระอริยสงฆ์สาวก ทรงสถาปนาพระราหุลเถระไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะ ยอดของเหล่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา ในศีล สมาธิ ปัญญา
     วิมุติธรรม  ๑๕  เหล่านี้คือ  ๑.ศีลสังวร  ๒.ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๓. ความรู้จักประมาณในโภชนะ ๔. ชาคริยานุโยค ๕. ศรัทธา  ๖.หิริ ๗.โอตตัปปะ  ๘.พาหุสัจจะ ๙. ความเป็นผู้ปรารภความเพียร ๑๐. ความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น  ๑๑.ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา  ๑๒.ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยรูปาวจรปฐมฌาน  ๑๓.ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยรูปาวจรทุติยฌาน ๑๔.ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยรูปาวจรตติยฌาน  ๑๕. ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยรูปาวจรจตุถะฌาน
เมื่อท่านพระราหุลเถรเจ้า ได้สำเร็จอรหัตผลแล้ว ท่านได้ตรัสสรรเสริญคุณพระศาสดาดังนี้
พระพุทธเจ้า ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด    ทรงสมบูรณ์ด้วยศีล ทรงรักษา  เราเหมือน นกต้อยตีวิด พึงรักษาพื้ชพันธุ์    เหมือนเนื้อจามรี รักษาขนหางสูงสุดฉะนั้น

(จบหน้า 16 ครับ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2010, 06:44:48 pm โดย kittisak »
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

wayu

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 162
    • ดูรายละเอียด
Re: ตำนานลำดับพระกรรมฐาน ประวัติพระราหุลมหาเุถรเจ้า
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤศจิกายน 20, 2010, 09:55:24 pm »
เห็นด้วยครับ ที่ลุงกิตติศักดิ์ มาโพสต์เป็นตอน ๆ ครับ ผมอาจจะช่วยด้วยครับ

บอกตรง ๆ ครับผมดาวน์โหลดไปก็ยังไม่ได้อ่านครับ สู้อ่านแบบเป็นตอน ๆ อย่างนี้ ดีครับ จะได้เลือกอ่านได้

 :25: :25:
บันทึกการเข้า