ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: [1] 2 3 ... 706
1  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อานิสงส์ในการฟังธรรม และใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 11:05:17 am
.



๒. ผัคคุณสูตร ว่าด้วยพระผัคคุณะอาพาธ

[๕๖] สมัยนั้นแล ท่านพระผัคคุณะ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่เถิด”
     พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณี
             
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น(๑-) เสด็จเข้าไปหาท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่ ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระผัคคุณะว่า
    “อย่าเลยผัคคุณะ เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะที่ภิกษุอื่นปูลาดไว้ยังมีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น”

     พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามท่านพระผัคคุณะดังนี้ว่า
    “ผัคคุณะ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบหรืออาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ(๒-)”

         
     @@@@@@@
                                         
ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบายจะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

     เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมที่คมแทงศีรษะ ฉันใด ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

     เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง พึงใช้เชือกหนังที่เหนียวรัดที่ศีรษะ ฉันใด ความเจ็บปวดในศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบายจะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

    เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญพึงใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง ฉันใด ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้นเหมือนกันข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้นไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

    เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คนพึงจับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้าง ย่างให้ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของข้าพระองค์ก็มีมากยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ(๓-)”
             
    @@@@@@@

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้ท่านพระผัคคุณะเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์จากไป

ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพแล้ว ในเวลามรณภาพ อินทรีย์(๔-)ของท่านผ่องใสยิ่งนัก

ต่อมาท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
     “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพแล้ว และในเวลามรณภาพอินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก”





อานิสงส์การฟังธรรม

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อินทรีย์ ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร แรกทีเดียวจิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ แต่เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของผัคคุณภิกษุจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ

     อานนท์ การฟังธรรมตามกาล การพิจารณาเนื้อความตามกาลมีอานิสงส์ ๖ ประการนี้


     @@@@@@@

     อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

     ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาล
             
     ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่านกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟังธรรมตามกาล

     ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคต ทั้งไม่ได้เห็นสาวกของตถาคต แต่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรม ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ได้เรียนมา จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการพิจารณาเนื้อความตามกาล

     @@@@@@@

     ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม(๕-) ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอได้เห็นตถาคตตถาคตย่อมแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรมตามกาล

     ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ แต่จิตของเธอไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคตแต่เธอได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ในการฟังธรรมตามกาล

     ๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ แต่จิตของเธอไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นทั้งตถาคตทั้งไม่ได้เห็นสาวกของตถาคต แต่เธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๖ ในการพิจารณาเนื้อความตามกาล”
             
    อานนท์ การพิจารณาเนื้อความตามกาลมีอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล

                                   ผัคคุณสูตรที่ ๒ จบ


เชิงอรรถ :-
(๑-) ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (โสปปสูตร) หน้า ๔๓๙ ในเล่มนี้
(๒-) ดู สํ.สฬา. ๑๘/๗๔/๖๖
(๓-) ดู ม.มู. ๑๒/๓๗๘/๓๓๙-๓๔๐, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๗/๘๑
(๔-) อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๖/๑๓๘)
(๕-) ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึง นิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๖/๑๓๘)




ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/pin/536350636891090161/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๓๙ - ๕๔๒ ,
, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต , ๒. ผัคคุณสูตร ว่าด้วยพระผัคคุณะอาพาธ
URL : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=307


 :25: :25: :25:

อรรถกถาผัคคุณสูตรที่ ๒   
           
พึงทราบวินิจฉัยในผัคคุณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมญฺโจปิ ได้แก่ แสดงอาการลุกขึ้น.
บทว่า ปฏิกฺกมนฺติ ได้แก่ ทุเลาลง.

บทว่า โน อภิกฺกมนฺติ ได้แก่ ไม่กำเริบ.
บทว่า สีสเวฐนํ ทเทยฺย ได้แก่ พันศีรษะแล้วเอาไม้ขันเวียนรอบ (ศีรษะ).
บทว่า อินฺทฺริยานิ วิปฺปสีทึสุ ความว่า ในเวลาใกล้ตายนั้น อินทรีย์ ๖ ผ่องใส.

บทว่า อตฺถุปปริกฺขาย ได้แก่ ด้วยการใคร่ครวญถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ คือเหตุและมิใช่เหตุ.
บทว่า อนุตฺตเร อุปธิสงฺขเย ได้แก่ ในนิพพาน.
บทว่า อธิมุตฺตํ โหติ ได้แก่ น้อมไปด้วยอรหัตผล.

               จบ อรรถกถาผัคคุณสูตรที่ ๒             



ขอบคุณที่มา : อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๑ | ๒. ผัคคุณสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=327
2  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อานิสงส์ในการฟังธรรม และใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 10:08:48 am
.



อานิสงส์ในการฟังธรรม และใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม
จาก ผัคคุณสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ๖ ประการ คือ

    @@@@@@@

จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑. ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒. ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓. ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร


    @@@@@@@

จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔. ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นพระตถาคต แต่เธอได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕. ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นพระตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาเมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๖. ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร

    @@@@@@@

    "ตถาคต สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น" พุทธพจน์






ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/pin/631981760239855321/
ที่มา : หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สุคติ สุคโต สำหรับแจกเป็นธรรมานุเคราะห์ จัดทำถวายพระศาสนาโดย
โครงการแสงธรรมแห่งพระไตรปิฎก มูลนิธิอุทยานธรรม ผู้กอปรกิจ และเจ้าภาพทุกท่าน E-Mail : tripitaka@uttayarndham.org
3  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เขม้นมอง “ผ้าขาวม้า” ไทยหรือเทศ.? เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 07:38:34 am
.



เขม้นมอง “ผ้าขาวม้า” ไทยหรือเทศ.?

คําว่า “ผ้าขาวม้า” หรือ “ผ้าขะม้า” มักได้ยินคนไทยส่วนใหญ่อ้างว่าเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ที่สะท้อนถึงความเป็นไทย มีจิตวิญญาณ “ไทยแท้” เสียยิ่งกว่าภาพลักษณ์ของ “ตุ๊กตุ๊ก” และ “สุวรรณเจดีย์” เสียอีก

จนเชื่อกันว่า หากดีไซเนอร์สามารถดึงเอาหัวใจของผ้าขาวม้าออกมาปอกเปลือกแต่งองค์ทรงเครื่องใหม่ให้กิ๊บเก๋ร่วมสมัย ออกแบบให้สาวงามผู้เข้าประกวดเวทีนางงามระดับจักรวาลใส่อย่างเหมาะสม ย่อมทำให้คนทั่วโลกตื่นตะลึง

แถมไม่ต้องได้รับคำวิจารณ์เสียดสีอย่างเสียๆ หายๆ เหมือนอย่างความพยายามที่จะฝืนไปใช้สัญลักษณ์อื่นใด ที่ดูอ่อนไหวบอบบาง อาจไปกระทบกระเทือนเรื่องศาสนา หรือสุนทรียศาสตร์เอาได้

คำถามมีอยู่ว่า ตุ๊กตุ๊กก็ดี สุวรรณเจดีย์ก็ดี รวมทั้งผ้าขาวม้านั้น ตกลงแล้วเป็นวัฒนธรรมเฉพาะเพียงแค่ของสยามประเทศชาติเดียวเท่านั้นเองล่ะหรือ





ใกล้ตัวสุด ผ้าขะม้า แผลงจากผ้าขอขมา

หากมองรากศัพท์ที่มาและความหมายของ “ผ้าขาวม้า” แบบลากให้ใกล้ตัว โยงหาความเป็นไทยมากที่สุด ก็อาจฟันธงไปเลยว่า ผ้าขาวม้า หรือ “ผ้าขะม้า” แผลงมาจาก “ผ้าขอขมา” โดยอิงกับประเพณีของคนดีศรีสยามในช่วงเทศกาลสงกรานต์ว่า คนไทยต้องซื้อหา “ผ้าขะม้า” ไปไหว้ผู้ใหญ่เพื่อ “กราบขอขมา”

ผ้าขมาใช้สำหรับไหว้ผู้ใหญ่ (ชาย) ในการรดน้ำดำหัว และยังใช้เป็นผ้าไหว้ในพิธีแต่งงานกับโอกาสต่างๆ ที่จะ “ขอขมา” ผู้ใหญ่ ด้วยเป็นของหาง่ายและได้ใช้ประจำวัน

แนวคิดนี้ สอดคล้องกับข้อมูลในหนังสือเรื่อง “ผ้าทออีสาน ฉบับเชิดชูเกียรติแม่ครูช่างแถบอีสานใต้” มีการอธิบายผ้าขะม้าในกัมพูชา เว่า “ผ้ากรรมา” เป็นผ้าที่มอบให้ผู้ใหญ่เพื่อขอล้างกรรม ทำให้มีผู้เชื่อต่อว่า “ผ้ากรรมา” คงแผลงเป็น “ผ้ากำมา” เมื่อเข้าสู่ราชสำนักอยุธยา ครั้นพอเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์จึงกลายเสียงเป็น “ผ้ากำม้า” และค่อยๆ แผลงเป็น “ผ้าขะม้า” หรือ “ผ้าขาวม้า” ในที่สุด

นี่คือทฤษฎีแรก ขนาดที่เชื่อว่าผ้าขะม้าเป็นของไทยแท้แล้วเชียว ก็ไม่วายยังอุตส่าห์ถูกโยงดึงไปเกี่ยวข้องกับกัมพูชาอีกจนได้





อีสาน-ล้านนา-ปักษ์ใต้

เรียกนามตามกรรมต่างวาระ ในเมื่อเปิดประเด็น เสนอมุมมองว่า “ผ้าขะม้า” มีความเกี่ยวข้องกับการ “ขอขมา” ผู้ใหญ่ ดังนั้นมิอาจมองข้าม “ภาษาพื้นถิ่น” ของแต่ละภูมิภาคไปได้เลย ลองหันมาพินิจทีละภาษา บนพื้นฐานของการตั้งสมมติฐานว่า ผ้าขะม้าเกี่ยวข้องกับการไปไหว้สา สมมา สูมาคารวะ ดำหัว ผู้ใหญ่หรือไม่ และกลุ่มชนแต่ละภาคเรียกกันอย่างไร

ทางอีสานเอิ้น “ผ้าอีโป้”

บางพื้นที่เรียก “ผ้าด้าม” หรือ “ผ้าแพรด้าม” เป็นคำเรียกที่เก่ามาก ยังเหลือแถบกาฬสินธุ์ ในชีวิตจริงไม่มีใครเรียก “ผ้าขะมา” หรือ “ผ้าสุมมา” แต่อย่างใด

ฝ่ายล้านนาเรียก “ผ้าต่อง” หรือ “ผ้าหัว” สะท้อนวัฒนธรรมการโพกศีรษะที่พบในชนชาติไท/ไตแทบทุกกลุ่มทั้งหญิงและชาย

อ.ศักดิ์ รัตนชัย ปราชญ์เมืองนครลำปาง วัยย่าง 90 ปี เล่าว่า “ผ้าขะม้าของชาวลำปางในอดีตเป็นผ้าทอแบบมีลายทางเดียว ไม่เป็นตาหมากรุก จึงเชื่อว่า “ผ้าขะม้า” ไม่ใช่วัฒนธรรมดั้งเดิมของล้านนาโบราณ ลายผ้ารูปแบบชุดนักรบล้านนาคราวกอบกู้เมืองลำปางสมัย “หนานทิพย์ช้าง” เมื่อ พ.ศ.2275 เป็นเสื้อสีขาว มีผ้าคาดเอว (แต่ไม่ได้เรียกว่าผ้าขาวม้า) ยุคนั้นลำปางจะเรียกอย่างไรไม่ทราบ แต่ภาษาทางเชียงใหม่เรียกผ้าต่อง

ผ้านุ่งปิดส่วนล่างที่ม้วนถลกขึ้นมาพันขัดง่าม ลอดหว่างขาแบบโจงกระเบน แต่ดึงติ้วกว่าชิดแน่น เหมือนขี่ม้าก้านกล้วย คล้ายถกเขมรโชว์แก้มก้นนั้น เรียกผ้า “เค็ดม่ำ/เฟ็ดม่าม/เก๊นม่าม” แล้วแต่สำเนียงซึ่งเป็นภาษาที่มีอิทธิพลพม่าเข้ามาปะปน แต่ปัจจุบันไม่มีใครนิยมเรียกว่าเค็ดม่ำอีกแล้ว มักเรียกการนุ่งผ้าแบบถกเขมรโดยรวมว่า “ผ้าต้อย/ผ้าต่อง” มากกว่า”

ปักษ์ใต้เรียก “ผ้าชักอาบ” บ้างเรียก “ผ้าชุบ” มาจากวิธีการใช้ชุบน้ำเช็ดหน้าเช็ดตัว

พบว่า ในวัฒนธรรมพื้นถิ่นทั้งสามภาค ไม่มีคำเรียกใดที่ใกล้เคียงกับคำว่า “ผ้าขาวม้า/ผ้าขะมา/ผ้าสมมา/ผ้าสุมา” แต่อย่างใดเลย

อนึ่ง ในวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร เล่มหนึ่ง มีการอธิบายว่า สมัยอยุธยารับอิทธิพลรูปแบบ “ผ้าเคียนหัว” จากสุโขทัยมาใช้ แต่รับชื่อมาจากเขมร แผลงผ้ากรรมา เป็นผ้ากำมา แต่วัตถุประสงค์เริ่มจากพันหัว หากเปิดพจนานุกรมจะมีคำอธิบายว่า ผ้าขะม้า เรียกอีกอย่างได้ว่า “ผ้าเคียนพุง” เป็นอีกคำหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นภาษาที่อธิบายถึงวิธีการใช้งาน

สรุปว่า “ผ้าขะม้า” สามารถใช้ได้ทั้ง “เคียนพุง” และ “เคียนหัว”

ประโยชน์ของผ้าขะม้ามีมากมาย ในวัฒนธรรมล้านนา ใช้รักษาโรค มีท่ารัดอก ท่าตั้งวงแขน ขา ทำให้ร่างกายได้รับการผ่อนคลาย เรียก “วิถีแห่งผ้าต่อง”

โดยการใช้สอยในอีสานนั้น เป็นผ้าโพกหัว พัดวี อู่นอนลูกหลาน ปัดไล่แมลง เช็ดให้แห้งให้สะอาด เคียนเอว ห่มนั่งห่มนอน เบี่ยงบ้ายในยามอยู่ในพิธีบุญ นุ่งอาบน้ำ ห่อของ เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ในวิถีเกษตรกร ส่วนในทางพิธีกรรมนั้น ถือเป็นของสมมา ของฝากของต้อน

ทางปักษ์ใต้ชุมชนลุ่มน้ำปากพนังเรียกว่า “ผ้าขาม้า” มีที่มาจากเวลาชิงเปรต เทศกาลงานบุญเดือนสิบ

แน่นอนว่า ภาษาถิ่น ทั้งอีสาน ล้านนา ปักษ์ใต้ในปัจจุบัน จะเรียก ผ้าขะม้า ว่าอะไรก็ได้ แล้วแต่สะดวก ขึ้นอยู่กับหน้าที่ใช้สอยในแต่ละพื้นถิ่น แต่ในเมื่อ “ผ้าขะม้า” เป็นของกลาง มิใช่ของภาคใดภาคหนึ่ง จึงควรช่วยกันสืบค้นว่า “ผ้าขะม้า” มีที่มาอย่างไรกันแน่





มอญม่านมลายู พี่น้องอุษาคเนย์

ภาษามอญเรียก “ผ้าขะม้า” ว่าอย่างไร อาจจะช่วยเป็นเครื่องมือในการคลำทางด้านนิรุกติศาสตร์มากยิ่งขึ้น อ.องค์ บรรจุน ผู้เชี่ยวชาญภาษามอญ บอกรียกว่า “ยาดกะบอย” ภาษามอญค่อนข้างห่างไกลผิดกับภาษาเขมร ที่เรียก ผ้ากรรมา แต่ในวัฒนธรรมมอญ กลับมีการใช้ผ้าขะม้าอย่างน่าสนใจ

โดยเฉพาะคำพูดที่ได้ยินจนชินหูว่า “นุ่งผ้าตาหมากรุกของรามัญฯ” แสดงให้เห็นว่า ผ้านุ่งชายมอญจะทอเป็นลายตาราง ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ต่างกันที่มอญในไทย ใช้ลายตารางตาใหญ่คล้ายกับลายผ้าขะม้าในหลายวัฒนธรรมในไทย แต่มอญในพม่า ใช้โสร่งแดงลายตารางตาเล็ก ซึ่งเป็นการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาใหม่หลังจากถูกวัฒนธรรมพม่ากลืนไป (อ้างอิงจากข้อมูล ของ อ.องค์ บรรจุน)

ปกติ ชายชาวมอญในไทยจะใช้ผ้าขะม้าในโอกาสต่างๆ กัน อาทิ
เข้าวัด – ใช้นุ่งเฉวียงบ่า เป็นผ้าสไบ อาจใช้เป็นผ้าปูกราบด้วย
งานพิธีที่เป็นทางการ – พับให้แคบ พับครึ่ง แล้วพาดบ่า โดยให้ชายผ้าอยู่ข้างหลัง
งานรื่นเริง – คล้องบ่า ห้อยไหล่ โดยให้ชายสองข้างห้อยอยู่ด้านหลัง เป็นสองชาย
ทำงานใช้แรง – มัดเอว

เมื่อเปรียบเทียบดูกับวัฒนธรรมไท/ไต และชาติพันธุ์อื่นในอุษาคเนย์ พบว่าผ้าขาวม้าปรากฏอยู่ทั่วไป เป็นผ้าอเนกประสงค์ ใช้ได้สารพัดประโยชน์ คำเรียกจึงมีหลากหลายตามหน้าที่ใชสอย รูปแบบก็แยกย่อย

ทว่า สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่ไม่เคยเปลี่ยนคือ ลายตารางหมากรุก หรือศัพท์ผ้าทอเรียก “ตาโก้ง/ตาแสง” คำว่า “ผ้าลายตาโก้ง” ไม่เกี่ยวข้องกับชื่อ “เมืองตะโก้ง” ในพม่า แต่อย่างใด แต่เป็นคำไทย หมายถึงผ้าลายตาๆ ส่วนโก้งก็คือลายด่าง เช่น พูดว่า “เสื้อโก้งเสื้อลาย” คำว่า “ตาแสง” ก็ใช้เรียกลวดลายตาสี่เหลี่ยม เช่น “รั้วตาแสง” คือรั้วไม้ไผ่ลายตาราง

มีผู้เชี่ยวชาญภาษาชวาเสนอว่า ในภาษาอินโด มีคำว่า Garis-การีส แปลว่า ขูด ขีด เขียน (คล้ายคำว่า กา) กับอีกคำ Mata-มาตา แปลว่าดวงตา รวมสองคำเป็น Garismata ก็คือ การขีดเขียนตาสมัยนี้ หรืออีกนัยคือการขีดตารางก็ว่าได้

คำว่า Garis ยังแตกหน่อออกไปเป็น Keris-เคอริส หรือกริชในภาษาไทย มีคมสองด้านยาวเรียวแหลม และปลอกหรือซองใส่กริชเรียก Sarung-ซารุง ซึ่งยังใช้ในความหมายของซารุงหรือผ้าโสร่ง ผ้าตารางหมากรุก ในแบบเดียวกับผ้าขะม้า ที่น่าจะหดสั้นจากคำยาว “การีสมาตา” เป็น “กามา”



ฮากามะ


“ผ้าก่าม่า” “ฮากามะ” ของญี่ปุ่น

อีกทฤษฎีหนึ่ง มีโอกาสไปฟังการบรรยายของ อ.จิราภรณ์ อรัณยะนาค อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์โบราณวัตถุของกรมศิลปากร จัดโดย “มิวเซียมสยาม” ท่านบอกว่า พบผ้าขาวม้าผืนเก่าแก่มากในประเทศญี่ปุ่น ทำเป็นตารางหมากรุกเหมือนของเรา มีอายุร่วมสมัยกับกรุงศรีอยุธยา ญี่ปุ่นเรียกผ้านั้นว่า “ผ้าก่าม่า”

ผ้าก่าม่ามีลักษณะการนุ่งร่วมกับ “ฮากามะ” (Hakama) ที่เป็นกางเกงขายาวอัดพลีทบานคล้ายกระโปรง ส่วนผ้านุ่งพันแบบกางเกงชั้นใน คล้ายนุ่งเค็ดม่ำของคนล้านนา/พม่าและถกเขมร เปิดแก้มก้นคล้ายนักมวยปล้ำซูโม่นุ่งกัน เรียกว่า ฟุนโดชิ (Fundoshi)

น่าสนใจยิ่งนัก เนื่องจากญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กับสยามมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ตกลงใคร “รับ” หรือ “ส่ง” อิทธิพลผ้าขะม้าให้ใครกันแน่ ญี่ปุ่นรับ “ผ้าก่าม่า” จากอยุธยา หรืออยุธยารับ “ผ้าขะม้า” จากญี่ปุ่น

ผู้รู้บางท่านบอกว่า ญี่ปุ่นรับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอยุธยาไปมากโดยผ่านทางริวกิว (หรือโอกินาว่า อดีตเป็นประเทศหนึ่ง) ตัวอย่างที่ชัดคือ เหล้าสาเก เพราะแต่เดิมในญี่ปุ่นมีแต่เหล้าทำจากมันฝรั่ง

@@@@@@@
 
หรือจะจบลงด้วยทฤษฎีเปอร์เซียน

ในภาษาเปอร์เซียน หรืออิหร่าน มีคำว่า “คะมัร” ซึ่งแปลว่า “เอว” ส่วน ผ้าคะมัร=ผ้าคาดเอว ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเปอร์เซียนจึงเชื่อว่า ขาวม้า/ขะม้า มาจากคำว่า คะมัร ในภาษาเปอร์เซียน

ยังมีคำภาษาไทยอีกมากที่มีที่มาจากเปอร์เซีย อาทิ
ฉัตร : (ชัทร)
กะหล่ำ : (คะลัม)
หลาบ : (โกลอบ) ฯลฯ

อาจเป็นไปได้ว่า คะมัร ของเปอร์เซียอาจเป็นรากศัพท์ “ตัวแม่” ที่ส่งอิทธิพลทางภาษาให้แก่ กามัร กรรมา การีสมาตา ก่าม่า เค็ดม่ำ ขมา ขาม้า ขาวม้า ให้แก่ประชาคมเอเชียนานาชาติพันธุ์ที่เข้ามาปะทะสังสรรค์กันแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโน้นแล้ว

ที่มาและรากศัพท์ของ “ผ้าขะม้า-ผ้าขาวม้า” คงต้องสืบค้นกันต่อไป ฟังดูเหมือนง่าย แต่กลับไม่ง่ายเหมือนที่คิด เพราะพอสืบสาวเอาเข้าจริงๆ แล้วมีข้อมูลทะลักมหาศาล มึนหัวพอสมควร

การสืบค้นเรื่อง “ผ้าขะม้าของคนเอเชีย” ไม่ได้ง่ายดาย เหมือนการได้มาซึ่งภรรยาหลายคน ของอดีตนายกรัฐมนตรีไทยผู้หนึ่งซึ่งมีฉายาว่า “จอมพลผ้าขะม้าแดง”






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 มิถุนายน 2559
คอลัมน์ : ปริศนาโบราณคดี
ผู้เขียน : เพ็ญสุภา สุขคตะ
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_5028
4  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 5 สิ่ง “เขมร-ไทย” ในประเด็นตามหา เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 07:14:43 am
.



5 สิ่ง “เขมร-ไทย” ในประเด็นตามหา

หลังทวงคืนปราสาทเขาพระวิหารกับศาลโลกเมื่อ 6 ทศวรรษก่อน ตอกย้ำความสำเร็จบนเวทีนานาชาติ ตอกย้ำความสำเร็จแต่ครั้งประเดิมคืนเอกราชจากฝรั่งเศสแล้วอย่างยิ่งยวดโดยมิโอ้อวดประวัติศาสตร์เลยนั้น เป็นความจริงทีเดียวสมัยสีหนุราช

แต่แล้วความภาคภูมิใจทั้งหมดก็ถูดลดเลือนโดยระบอบเขมรแดงและสงครามกลางเมือง ที่สุดจะเยียวยาจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กลับสู่ยุคใหม่ทั้งหมดฟื้นฟูระบอบกษัตริย์และการปกครองในปี พ.ศ.2536 แต่ความขัดแย้งก็ยังไม่สิ้น จนปี 2546 เมื่อสมเด็จฯ ฮุน เซน ชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลแต่เพียงพรรคเดียว

ก่อนหน้านั้นเขาหลงทางไปกับนโยบายโยนบาปตามแนวพรมแดนเพื่อแสวงหาวิถีรักชาติจากประชาชนกัมพูชา และพบว่ามันไม่อาจยั่งยืน แต่นั้นมาเขาก็หันไปหาความสำเร็จแนวใหม่ นั่นคือแนวรบทางวัฒนธรรม และช่างบังเอิญว่า เมื่อกัมพูชากลับมาสู่ความสงบเรียบร้อยของความเป็นประเทศแล้ว ความถวิลหาวัฒนธรรมแห่งอดีตที่ยิ่งใหญ่ก็ตามมา โดยเฉพาะระหว่างปี 2513-2518 ที่ทำให้ขนบจารีตเขมรหลายอย่างได้บัดบ่งสูญหาย และช่างบังเอิญกระไร ที่ประดาเรื่องทั้งหมดดูจะมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับไทย จนคล้ายเป็นเรื่องเดียวกัน

@@@@@@@

1. ระบำราชสำนัก : ละครรำสยาม

ไม่มีใครสนใจว่า จุดเริ่มต้นของต้นทุนวัฒนธรรมที่คนทั้งโลกจะรำลึกถึงกัมพูชานี้มาจากที่ใด

สำหรับระบำราชสำนักกัมพูชา ที่เดิมทีนักวิจัยฝรั่งเศสลงความเห็นว่า ราชสำนักกัมโพชรับมาจากสยาม และถูกบันทึกความสำคัญอย่างยิ่งยวดคราวที่พระบาทสีโสวัฒถิ์ (2447-2470) นำไปแสดงในฝรั่งเศส

คราบไคลในความเป็นสยามของนาฏศิลป์แขนงนี้ก็ดูจะหายไป และพัฒนาต่อยอดในแบบฉบับระบำอัปสราในอีก 2 รัชกาลถัดมา นี่คือสิ่งที่ทำให้ระบำราชสำนักของกัมพูชาโดดเด่นไปด้วยอัตลักษณ์เฉพาะตน จนยูเนสโก-องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี 2553 และนับแต่นั้นมา ระบำราชสำนักกัมพูชาก็กลายเป็นโมเดลแห่งความสำเร็จทางวัฒนธรรม


@@@@@@@

2. โขลเรียมเกร์ : โขนรามเกียรติ์

จุดบ่งชี้ที่เริ่มทำให้เห็นว่า ความสำเร็จจากชัยชนะในระบำเขมรอาจเป็นเรื่องง่ายเกินไปเพราะอยู่ในยุคที่ไร้คู่ต่อกร แต่สำหรับละครโขนรามเกียรติ์หรือละครโขลเรียมเกร์เขมรนั้นไม่ใช่ นี่คือจุดเริ่มต้นของการตามหาสิ่งที่สูญหายทั้งภายในประเทศเองและระดับนานาชาติ รวมทั้งความหมายของประเด็นชนชั้นล่าง-รวมทั้งศิลปินพื้นบ้านซึ่งเป็นผู้ก่อการการแสดงโขลในรูปแบบนานามาแต่ต้น

ก่อนหน้านั้น วัฒนธรรมโขลถือเป็นการแสดงชั้นสูงและถูกกีดกันจากราชสำนักผู้ปกครอง ทำให้โขลเขมรถูกจำกัด และแทบไม่มีตัวตนเชิงสาธารณะนอกจากบทร้องเรียมเกร์ของศิลปินพื้นบ้าน ที่พบก่อนปี พ.ศ.2518 โดยนักวิชาการฝรั่งเศส และยุคเขมรสาธารณรัฐหลังโค่นล้มกษัตริย์ไปแล้ว หลักฐานหลงเหลือของบทร้องเรียมเกร์โดยศิลปินพื้นบ้านคนสุดท้ายเพิ่งจะค้นพบเมื่อไม่นานนี้ คือบทร้องเรียมเกร์ของตาครุด

แต่อาจจะด้วยการถูกกดทับแสนนานหรือไม่ที่ทำให้เรียมเกร์เขมรมีลักษณะการเติบโตที่แตกต่างจากพื้นบ้านและการกลับมารื้อฟื้นอีกครั้งก็เกิดขึ้นโดยศิลปินท้องถิ่น โดยเฉพาะในลักษณะของความเป็นวัฒนธรรมจากฐานรากของชุมชนอย่างเป็นองค์รวม

ยูเนสโกขึ้นทะเบียนโขลเรียมเกร์ว่าเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ สาขาอนุรักษ์/เสี่ยงการสูญหาย และขึ้นทะเบียนโขนไทยไว้ในสาขาเอกลักษณ์ชาติ แต่ประเด็นวิวาทะก็ยังเป็นดราม่า อันเกิดจากวัฒนธรรมร่วมสมัยแต่ไม่ร่วมชาติในบางครั้ง

@@@@@@@

3. มวยไทย : กบัจคุน

กบัจคุนเป็นชื่อเดียวกับ “มวยไทย” ตามที่ชาวเขมรเรียก ก่อนหน้านั้นจากหลักฐานบุน จันมุล (บุนจันทร์ มุล) ที่ขณะนั้นชาวเขมรโดยรวมเรียกขานตัวเองว่ากัมปูเจีย นักเขียนและนักต่อสู้แนวทางซึง งอกทันห์ ท่านนี้ยอมรับศิลปะมวยไทยแต่ไหนแต่ไร และเคยไปดู “ประฎาล” ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าระหว่างไทยกับเขมรราวครั้งหนึ่งที่พระตะบอง จันมุลเห็นว่ามีความสูสีกันมากและไทยขณะนั้นดูจะมีชั้นเชิงและชื่อเสียงมากกว่าเขมรนิดหน่อย โดยเฉพาะด้านเทคนิค

บุน จันมุล ลาโลกไปราว 30 ปี ประฎาลที่เขารู้จักก็ถูกยกระดับให้เป็น “กบัจคุน” กบัจคุนโบราณ คุนเขมร โบกะตอ หรือชื่ออะไรต่างๆ ดังที่รัฐกัมพูชาพยายามผลักดัน และแม้ชาวเขมรทั่วไปก็ยังติดปากเรียกประฎาล

แน่นอน วัฒนธรรมกีฬาสำหรับกัมพูชาแล้ว มิใช่แต่ความสนุก บันเทิงหรือท่องเที่ยว แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองและความมั่นคงที่จำเป็นต้องปลุกเร้าให้เกิดอัตลักษณ์แห่งความเป็นชนชาติอีกด้วย เพียงแต่ว่า ตอนที่เห็นคุณค่าเช่นนั้น กัมพูชาอยู่ในช่วงอันมืดมน และใครจะไปรู้ล่ะว่า ศิลปะการต่อสู้แขนงนี้นับวันจะกลายเป็นอัตลักษณ์แห่งความเป็นชาติและอนาคต ตลอดจนมิติความเป็นสากลที่นับวันจะมีมูลค่ามหาศาล!

และเหตุนั้น กบัจคุนจึงเป็นเหมือนคู่ต่อกรตลอดกาล ตราบใดก็ตามที่ประเด็นมวยไทยถูกกล่าวขานบนเวทีนานาชาติ และความสำเร็จของมวยไทยที่ชาวโลกขานรับอย่างมากมาย แต่ตราบใดที่คำว่า “มวยไทย” ยังไม่สามารถพิสูจน์ว่าเป็น “อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะตน” ไปได้ ความหมายของคำว่ามวยไทยบนเวทีนานาชาติก็ไม่อาจสง่างาม สำหรับเวทีกลางแห่งสากล

ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกันที่ว่า ทั้งโขลเรียมเกร์และระบำเขมรโบราณ ต่างเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับไทยอย่างเห็นได้ เช่นเดียวกับกบัจคุนกับมวยไทย และความพยายามยกระดับกบัจคุนเทียบเท่ากับศิลปะการต่อสู้ที่รุ่งเรืองสมัยพระนคร-นครธมยังคงดำเนินไป เช่นเดียวกับกองทัพกัมพูชาที่บรรจุให้ศิลปะแขนงนี้เป็นนโยบายเอกแห่งการฝึกซ้อมและธำรงวินัย


@@@@@@@

4. พระแก้วมรกต : พระแก้วมรกต

มานานระยะหนึ่งแล้วที่หลักฐานเถรวาทกัมพูชาอ้างถึงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ว่าเป็นรัตนสมบัติ หรือ “ปฏิกภรณ์” ของฝ่ายตนนั้น

นับไปก่อนหน้า แต่ครั้งฝรั่งเศสสร้างพระราชวังจตุรมงคลและปราสาทพระที่นั่งเทวาวินิจฉัยถวายแก่กษัตริย์นโรดม (2403-2447) ตามพระองค์ร้องขอ ซึ่งแทบจะจำลองเอาพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัยไปไว้ที่กรุงพนมเปญเสียทั้งหมด รวมทั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มองความสัมพันธ์ชาวเขมรต่อพระแก้วมรกตที่ออกจะคลุมเครือนั้น

แต่ให้สงสัยว่า เหตุใดกษัตริย์เขมรจึงเจตนาสร้างพระรัตนารามเพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรไว้ ณ เขตพระราชฐานด้วยฉะนี้.? แม้โดยที่จริงแล้ว ราชสำนักกัมโพชเวลานั้น(และจนบัดนี้) ไม่เคยมีหรือครอบครองพระแก้วมรกตแต่อย่างใด.? และใช่แต่พระแก้วมรกตเท่านั้นที่นักวิชาการเขมรบางฝ่ายทวงถาม แต่ยังรวมถึง 1 ใน 5 ของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย

@@@@@@@

5. พระขรรค์กัมโพช : พระขรรค์แสงชัยศรี

เล่ากันว่า พระขรรค์แสงชัยศรีในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 10 ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพระขรรค์เก่าแก่ยุคขอมโบราณสมัยรัชกาลพระบาทชัยวรมันที่ 7 เลยทีเดียว ตกทอดมาถึงไทย จากที่ชาวประมงเขมรงมพบได้ในบารายและนำไปถวายเจ้าเมืองเสียมเรียบ และถูกนำไปถวายแด่กษัตริย์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กระทั่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อ 5 พฤษภาคมของปีกลาย

ทันใดนั้น ความพยายามจะกล่าวถึงพระขรรค์ของเขมรได้เกิดขึ้นอีกครั้งในหมู่ชาวเขมรบางกลุ่มและเงียบหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง เป็นที่ทราบว่า การสืบสันตติวงศ์แห่งระบอบกษัตริย์และสิ่งอันบ่งบอกถึงราชประเพณีได้ถูกระบอบเขมรแดงทำลายไปจนสิ้น

สำหรับเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์และพระขรรค์ประจำราชวงศ์ และพระบาทนโรดม สุระมฤทธิ์ คือองค์สุดท้ายที่ได้ทำพิธีดังกล่าวอย่างเต็มพระยศ เมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ.2499 เช่นเดียวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 29 ตุลาคม 2547 โดยกษัตริย์เขมรองค์ปัจจุบัน คือพระบาทนโรดม สีหมุนี ที่เรียบง่าย ปราศจากพระขรรค์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์และอำนาจใดๆ






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 กรกฎาคม 2563
คอลัมน์ : อัญเจียแขฺมร์
ผู้เขียน : อภิญญา ตะวันออก
เผยแพร่ : วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_323091
5  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ตะลึง เปิดกุฏิหลวงปู่อำคา เกจิดังเมืองอุบลฯ พบเงินสดร่วม 10 ล้าน เร่งหาพินัยกรรม เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 06:51:34 am
.



ตะลึง.!! เปิดกุฏิหลวงปู่อำคา เกจิดังเมืองอุบลฯ พบเงินสดร่วม 10 ล้าน เร่งหาพินัยกรรม

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดบ้านตำแย ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี คณะกรรมการวัด และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันเปิดกรุกุฏิหลวงปู่อำคา อินทรสาโร หรือพระครูอินทรสารโสภณ เจ้าอาวาสวัดบ้านตำแย เพื่อตรวจสอบทรัพย์สิน หลังเจ้าอาวาสมรณภาพ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

โดยมีตำรวจ ลูกศิษย์และชาวบ้านร่วมเป็นสักขีพยาน ปรากฏว่าทุกคนต้องตะลึง เมื่อพบเงินสด ทั้งแบงก์เก่า-ใหม่และเงินเหรียญ เกือบ 10 ล้านบาท หลังตรวจนับทรัพย์สินทั้งหมด ได้ส่งมอบให้เจ้าคณะตำบล และคณะกรรมการวัดที่รับผิดชอบ นำมาคัดแยก




ด้านสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี ระบุว่าต้องตรวจสอบว่าเงินทั้งหมดพระครูอินทสารโสภณ เจ้าอาวาสวัดที่มรณภาพได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเขียนเป็นพินัยกรรมไว้หรือไม่ ถ้ามีพินัยกรรมก็ต้องให้ระบุตามพินัยกรรมของท่าน ถ้าในกรณีที่ท่านไม่ได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ทรัพย์สินที่เจอหลังจากที่มรณภาพก็จะตกเป็นของวัดที่สังกัดอยู่เป็นวัดสุดท้าย ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ทั้งนี้ เพื่อนำเงินมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดต่อไป



นางบุญฮู้ จันทร์กอง อายุ 71 ปี เปิดเผยว่า คณะกรรมการวัดตรวจสอบภายในกุฏิเจ้าอาวาสพบเงินสดแบงก์เก่า-ใหม่และเงินเหรียญ เกือบ 10 ล้านบาทเก็บไว้ในกระติกน้ำ ในกล่องพลาสติก ในถังน้ำ เก็บเงินวันแรกได้ประมาณ 6-7 ล้านบาท ต่อมาค้นภายในกุฏิก็พบอีกเป็นเงินเหรียญ ก็มีรวมแล้วประมาณ 10 ล้านบาท เงินทั้งหมดเจ้าอาวาสไม่ได้สั่งเสียไว้





ทั้งนี้ หลวงปู่อำคา อินทรสาโร หรือพระครูอินทรสารโสภณ เจ้าอาวาสวัดบ้านตำแย ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้ละสังขารอย่างสงบที่โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี สิริอายุ 91 ปี 70 พรรษา หลวงปู่อำคา เป็นทายาทธรรมหลวงปู่บุญมี โชติปาโล




ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/region/news_4493130
วันที่ 26 มีนาคม 2567 - 13:40 น.   
6  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไขปริศนาเช็งเม้ง “สีตัวอักษรที่ฮวงซุ้ย” หมายความว่าอะไร.!? เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 06:38:52 am
.



ไขปริศนาเช็งเม้ง “สีตัวอักษรที่ฮวงซุ้ย” หมายความว่าอะไร.!?

เคยสังเกตไหมว่า สีตัวอักษรที่จารึกไว้ที่ฮวงซุ้ย มีทั้งสีแดง สีเขียว และบางครั้งเป็นสีทอง สีเหล่านี้หมายความว่าอะไรกันนะ

ในประเทศไทย วันเช็งเม้ง 2567 ตรงกับวันที่ 5 เมษายน จะเป็นช่วงที่มีการเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งจริง ๆ แล้วจะกำหนดไว้ที่ประมาณ 7 วัน คือตั้งแต่วันที่ 2 - 8 เมษายนของทุกปี แต่หลายครอบครัวก็เริ่มเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษกันตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว

และหากเราสังเกตที่ฮวงซุ้ย ก็จะมีตัวอักษรจีนสลักอยู่บนแผ่นหินที่ฮวงซุ้ย เรียกว่า 石碑 “เจียะปี” โดยตัวอักษรเหล่านั้น มีความหมายอยู่มากมาย รวมถึงความหมายของการใช้สีตัวอักษรด้วย



ความหมายของตัวอักษรจีนบนฮวงซุ้ย


ตัวอักษรจีนบนฮวงซุ้ย (เจียะปี) คืออะไร.?

ลูกหลานส่วนมากได้เห็นตัวอักษรจีนเหล่านี้ ก็อาจจะต้องสงสัยว่าตัวอักษรจีนมากมายขนาดนี้ แปลความหมายออกมาว่าอย่างไร วันนี้มาไขข้อสงสัยกัน

    • ตัวอักษรบนสุด ที่เขียนว่า 祖 หมายถึง บรรพชน บรรพบุรุษ
    • ตัวอักษรแถวริมขวาสุด (แถวสุดท้าย) จะเป็นการระบุที่อยู่ ภูมิลำเนาเดิมที่ประเทศจีน
    • ตัวอักษรแถวริมซ้ายสุด (แถวแรก) จะเป็นวัน เดือน ปี ที่สร้างฮวงซุ้ยนี้ขึ้น
    • ตัวอักษรแถวขวา (แถวที่สาม) เขียนว่า 考 เป็นสรรพนามคำขึ้นต้นชื่อของฝ่ายชายที่นอนอยู่ในฮวงซุ้ย แล้วตามด้วยชื่อ
    • ตัวอักษรแถวซ้าย (แถวที่สอง) เขียนว่า 妣 เป็นสรรพนามคำขึ้นต้นของฝ่ายหญิง แล้วตามด้วยชื่อ

เหตุผลที่มีทั้งชื่อฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงอยู่ในฮวงซุ้ยเดียวกันนั้น เพราะคนจีนนิยมซื้อฮวงซุ้ยคู่

    • หลังจากสรรพนาม ชื่อ แล้วจึงตามด้วยแซ่ (นามสกุล)
    • ส่วนบรรทัดสุดท้ายของทั้งแถวขวา และซ้าย คือการแยก นาย และนาง นั่นเอง

แต่สิ่งที่ไม่สังเกตเห็นไม่ได้เลย คือทำไมต้องมีทั้งตัวอักษรสีแดง และสีเขียว.!?


@@@@@@@

สีตัวอักษรบนฮวงซุ้ย (เจียะปี) หมายถึงอะไร.?

แท้จริงแล้ว ตัวอักษรแต่ละสี บ่งบอกถึงการเสียชีวิต และการมีชีวิตอยู่ นั่นคือ

        • สีแดง หมายถึง ยังมีชีวิตอยู่
        • สีเขียว หมายถึง เสียชีวิตแล้ว

คนจีนมักสร้างฮวงซุ้ยไว้ล่วงหน้า จะมีการสลักชื่อไว้เรียบร้อยแล้ว แต่มักจะใช้สีแดงไว้ก่อน หากมีการเสียชีวิต ก็จะมาเขียนทับด้วยสีเขียวนั่นเอง

แต่ในปัจจุบัน ก็มีการใช้สีทองล้วนมากขึ้น ไม่ว่าจะเสียชีวิตแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม

 




Thank to : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/220299
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 26 มี.ค. 2567 ,15:12น.
ขอบคุณข้อมูล : ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี, กินอยู่เป็น
7  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พิธีเปลี่ยนผ้าไตรจีวร สรีระสังขาร "หลวงพ่อจันทร์" พระเกจิดัง ร่างไม่เน่าเปื่อย เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 06:30:37 am
.



พิธีเปลี่ยนผ้าไตรจีวร สรีระสังขาร "หลวงพ่อจันทร์" พระเกจิดัง ร่างไม่เน่าเปื่อย

ศิษยานุศิษย์ แห่ร่วมพิธีเปลี่ยนผ้าไตรจีวร "หลวงพ่อจันทร์" พระเกจิร่างไม่เน่าเปื่อย ฮือฮา เห็นคล้ายตัวเลขที่ใบหน้าของท่าน

วันที่ 25 มี.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ วัดวังเวิน ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ คณะศิษยานุศิษย์ได้จัดพิธีทำบุญสวดทักษิณาเปลี่ยนผ้าไตรจีวรอุทิศถวายแด่ พระครูพัชรกิตติญาณ หรือ หลวงพ่อจันทร์ กิตติญาโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดวังเวิน ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ เนื่องในวันครบรอบ 11 ปี วันมรณภาพ




พิธีเริ่มในเวลา 12.09 น. พระสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมประกอบพิธีขอขมาต่อดวงวิญญาณหลวงพ่อจันทร์กิตติญาโณ เสร็จแล้วได้นำร่างที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่อออกมาด้านนอกโลงแก้ว พร้อมทั้งให้คณะศิษย์ได้กราบสักการะอย่างใกล้ชิด จากนั้นได้ประกอบพิธีเปลี่ยนผ้าไตรจีวรของหลวงพ่อ และได้นำร่างของท่านบรรจุไว้ในโลงแก้วเช่นเดิม



ประวัติ พระครูพัชรกิตติญาณ หรือ หลวงพ่อจันทร์ กิตติญาโณ ท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อทบ เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตา เมื่อครั้งยังไม่มรณภาพท่านชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านทั้งในยามเจ็บป่วยและในยามที่เดือดเนื้อร้อนใจก็จะมาให้ท่านประพรมน้ำมนต์ให้

หลวงพ่อจันทร์ กิตติญาโณ เกิดวันที่ 2 มิถุนายน 2467 และได้มรณภาพวันที่ 25 มี.ค.2556 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง เวลา 18.00 น. รวมสิริอายุ 89 ปี 68 พรรษาแต่ร่างไม่เน่าเปื่อย ผิวหนังยังคงมีสีเหลืองคล้ายคนปกติทั่วไป คณะศิษย์จึงได้บรรจุร่างของท่านไว้ในโลงแก้วเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้กราบสักการะบูชา




ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในขณะที่นำร่างของท่านออกมาจากโลงแก้ว และให้ผู้ร่วมพิธีได้กราบสักการะอย่างใกล้ชิด ได้มีผู้สังเกตเห็นคล้ายตัวเลข 135 ที่ใบหน้าของท่าน ต่างก็บอกต่อๆ กันไปเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการเสี่ยงโชค งวดวันที่1 เมษายน 2567

 



Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/211654
26 มี.ค. 67
8  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เรียนธรรมให้เข้าใจก่อน หรือเอากิเลสออกก่อน เมื่อ: มีนาคม 24, 2024, 07:31:18 am
.



เรียนธรรมให้เข้าใจก่อน หรือเอากิเลสออกก่อน
โดย อาจารย์ไชย ณ พล

Q ถาม : ท่านอาจารย์ครับ ระหว่างเรียนธรรมให้เข้าใจก่อน กับเอากิเลสออกก่อน เราควรโฟกัสอะไรก่อนครับ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :-

1st เอากิเลสออกก่อน เพราะ
    ๑. สุขสบายก่อน
    ๒. บริสุทธิ์ หมดจด ปลอดภัยก่อน
    ๓. เมื่อกิเลสออกแล้วฟังธรรมก็แจ่มแจ้งทันที
เวลาคนไปฟังธรรมกับพระพุทธเจ้า ถ้ามีพวกกิเลสเบาบาง จะทรงสอนให้เอากิเลสออกทันที ออกได้ก็บรรลุธรรมทันที ดังนั้นเอากิเลสออกก่อนเสมอ ถ้ายังเหลืออีก ค่อยเข้าสู่กระบวนการปฏิบัติอื่นๆ ต่อไป


2nd เรียนธรรมเฉพาะที่จะเอากิเลสออกได้ก่อน เพราะ
    ๑. ธรรมะทั้งหมดพระพุทธองค์ทรงให้ไว้เพื่อละ สลาย เป็นอิสระจากกิเลส
    ๒. การปฏิบัติธรรมให้ได้ผล ต้องแม่นยำตรงสู่ผล ไม่มาก ไม่น้อย ไม่มั่ว จึงจะปฏิบัติง่าย สำเร็จเร็ว
    ๓. พระพุทธองค์ตรัสว่า แม้ธรรมะบทหนึ่ง ที่บุคคลประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมดีแล้ว ก็บรรลุธรรมได้

หากเรียนธรรมะก่อนเอากิเลสออก
    ๑. เข้าใจธรรมเป็นจุด ๆ ยึดถือเป็นจุด ๆ เชื่อมโยงธรรมทั้งปวงไม่ได้
    ๒. สัญญาขันธ์จะบวม
    ๓. ฟุ้งซ่านในธรรม
    ๔. เอาธรรมะมาสร้างทิฏฐิ
    ๕. เมามันไปกับการสอบ มานะเกิดขึ้น
    ๖. เข้าสภาวะยาก
    ๗. ติดขั้นตอนเกินจำเป็น ทำให้ปฏิบัติยาก
    ๘. รู้แล้วอยากบอกให้คนอื่นรู้ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่บรรลุธรรม
    ๙. เป็นเหมือนภิกษุใบลานเปล่า
  ๑๐. เอาตัวไม่รอด
  ๑๑. วนเวียนอยู่ในวัฏฏะดังเดิม


การเรียนธรรมที่เหมาะแก่การปฏิบัติ
คือ การปฏิบัติธรรมเป็นหลักจริงจังอย่างสายกลาง แล้วศึกษาธรรมประกอบทีละบท หรือทีละพระสูตร ศึกษาธรรมใด ก็นำมาปฏิบัติทันที จะได้วิธีปฏิบัติธรรมหลากหลายขึ้น เพิ่มโอกาสบรรลุธรรมมากขึ้น มีโอกาสสำเร็จปริญญาแท้ทางธรรมมากขึ้น คือ
    - โสดาปัตติมรรค
    - โสดาปัตติผล
    - สกทาคามิมรรค
    - สกทาคามิผล
    - อนาคามิมรรค
    - อนาคามิผล
    - อรหัตตมรรค
    - อรหัตตผล
เช่นนี้จึงชื่อว่า ศึกษาธรรมเพื่อปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรมจริง ตามพระพุทธองค์

ความจริงที่ควรแจ่มแจ้ง
ธรรมปริยัติ เพื่อความเข้าใจ มุ่งสัมมาธรรม
ธรรมปฏิบัติ เพื่อสภาวะจิตและวิหารธรรมที่เลิศ มุ่งวิมุตติ
ธรรมปฏิเวธ เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ อมตะ ว่างอย่างยิ่ง สุขอย่างยิ่ง เป็นที่พึ่งให้จักรวาลได้


     

 
ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/pin/868350371889428061/
ที่มา : https://uttayarndham.org/dhamma-sharing/6581/เรียนธรรมให้เข้าใจก่อน-หรือเอากิเลสออกก่อน
25 May 2023
9  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘พระพรหมบัณฑิต-พวงเพ็ชร’ เตรียมความพร้อม ไทยเป็นเจ้าภาพ ‘วิสาขบูชาโลก’ เมื่อ: มีนาคม 24, 2024, 07:14:42 am
.



‘พระพรหมบัณฑิต-พวงเพ็ชร’ เตรียมความพร้อม ไทยเป็นเจ้าภาพ ‘วิสาขบูชาโลก’

‘พระพรหมบัณฑิต – พวงเพ็ชร’ เตรียมความพร้อม ไทยเป็นเจ้าภาพ ‘วิสาขบูชาโลก’ 19-20 พ.ค. ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ากราบ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) และประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) และหารือการเตรียมจัดงานวิสาขบูชาโลก ประจำปี 2567 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

ด้าน พระพรหมบัณฑิต เปิดเผยว่า ที่ประชุมฯ ในวันนี้ได้ร่วมกันสรุปกำหนดการการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก และการจัดประชุมวิสาขบูชาโลกนานาชาติ “ในหัวข้อเอกภาพของการทำงานร่วมกัน” ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติในการให้เป็นเจ้าภาพในปีนี้ (2567) โดยมีกำหนดจัดในระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤษภาคมนี้ และมีการหารือกันเนื่องในโอกาสที่ปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้มีกำหนดเชิญผู้นำทางศาสนา และพุทธศาสนิกชนจากนานาประเทศมาเข้าร่วมงานถึง 73 ประเทศ




โดยจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ การเจริญพระพุทธมนต์ และกิจกรรมถวายพระพรชัยมงคล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือที่ดีจากรัฐบาล ในการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ รวมถึงงบประมาณสนับสนุน

ขณะที่ นางพวงเพ็ชร กล่าวว่า ในนามของรัฐบาล น้อมรับการทำงานให้พระพุทธศาสนาและรับใช้มหาเถร สมาคมอย่างเต็มที่ ในฐานะที่ตนกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาเเห่งชาติและกรมประชาสัมพันธ์ จะประสานการจัดงานให้ประสบผลสำเร็จ และสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์อย่างเต็มที่เพื่อให้การจัดงานวิสาขบูชาโลก ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ออกสู่สายตาคนทั้งโลกอย่างยิ่งใหญ่ ให้ทั่วโลกได้เห็นว่าประเทศไทยเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา

ประกอบกับปีนี้เป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดี ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมงานวิสาขบูชาโลก และเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ร่วมสืบสานและน้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว






Thank to : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4488619
วันที่ 23 มีนาคม 2567 - 17:42 น.
10  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง | จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง เมื่อ: มีนาคม 23, 2024, 07:36:41 am
.



ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
โดย อาจารย์ไชย ณ พล

Q ถาม : อาจารย์ครับ มีพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่ง ที่เหมือน ๆ จะเข้าใจง่าย แต่ก็เข้าใจยาก คือ "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่โลกทุกวันนี้อยู่กันแบบแบ่งงานกันทำ แบ่งความเชี่ยวชาญกันเก่ง แล้วพึ่งพาอาศัยกัน ครั้นเราจะไปทำเองทุกอย่างก็เป็นไปไม่ได้ เลยทำให้ภาพตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน มันเลือนลางไป จึงขอเรียนถามอาจารย์ว่า ขอบข่ายของ "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" มีแค่ไหนครับ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ : พระพุทธเจ้าไม่ตรัสอะไรเล่นๆ สิ่งที่พระองค์ตรัสเป็นสัจธรรมเสมอ

ใครเป็นที่พึ่งให้เราได้บ้าง.?

ลองดูความเป็นจริง มีใครในโลกบ้างที่เป็นที่พึ่งให้เราได้ทุกเรื่อง ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ทุกผลที่พึ่งได้ หากซื่อตรงต่อความจริงและตนเอง ก็จะพบว่า ไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงให้ "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

ขอบเขต "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" ที่ได้ผล

ในจักกวัตติสูตร ทรงให้ เธอจงมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นเกาะ โดยกำหนดรู้ กายในกายภายในตน กำหนดรู้ กายในกายภายในคนอื่น เห็นความไม่เที่ยงแห่งกายนี้และกายอื่น ๆ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในกายและในโลกทั้งปวง

กำหนดรู้ เวทนาในเวทนาภายในตน กำหนดรู้ เวทนาในเวทนาภายในคนอื่น เห็นความไม่เที่ยงแห่งเวทนานี้และเวทนาอื่น ๆ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในเวทนาและในโลกทั้งปวง

กำหนดรู้ จิตปรุงแต่งในจิตภายในตน กำหนดรู้ จิตปรุงแต่งในจิตปรุงแต่งภายในคนอื่น เห็นความไม่เที่ยงแห่งจิตปรุงแต่งนี้และจิตปรุงแต่งอื่น ๆ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในจิตปรุงแต่งและในโลกทั้งปวง

กำหนดรู้ ธรรมประกอบในธรรมประกอบภายในตน กำหนดรู้ ธรรมประกอบในธรรมประกอบภายในคนอื่น เห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมประกอบนี้และธรรมประกอบอื่น ๆ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในธรรมประกอบและในโลกทั้งปวง

สรุป : ที่พึ่งหลักของทุกคน คือ รู้อิสระที่ไม่ถือมั่นในกาย เวทนา จิตปรุงแต่ง ธรรมประกอบ และอะไร ๆ ในโลกทั้งปวง

 




ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/pin/941533865877205173/
ที่มา : https://uttayarndham.org/dhamma-sharing/6576/ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
19 May 2023





การมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

[๘๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลา แคว้นมคธ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
             
    “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ(๑-) มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด"           
    "ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ เป็นอย่างไร.?"

    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
    ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
    ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
    ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
             
    "ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ เป็นอย่างนี้แล"


เชิงอรรถ :-
(๑-) มีตนเป็นเกาะ ในที่นี้หมายถึง ทำตนให้พ้นจากห้วงน้ำ คือ โอฆะ ๔ เหมือนกับเกาะกลางมหาสมุทรที่น้ำท่วมไม่ถึง (ที.ม.อ. ๑๖๕/๑๕๐, ที.ม.ฏีกา ๑๖๕/๑๘๐) , ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๕/๑๑๑ , สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๗๙/๒๓๔






ขอขอบคุณ
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/pin/337488565841817888/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๕๙-๖๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค , ๓. จักกวัตติสูตร ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ , การมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
URL : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=3
11  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มุมน่าสะพรึงกลัวของ “พระนเรศวร” จากบันทึกวัน วลิต กับงานเขียนโต้ของคึกฤทธิ์ เมื่อ: มีนาคม 23, 2024, 07:00:47 am
.

ภาพประกอบเนื้อหา - พระนเรศ และพระเอกาทศรถ ในภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคยุทธนาวี (ภาพจากคลิป "ตัวอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3 ยุทธนาวี (Official Tr.)" จาก Youtube : Sahamongkolfilm International Co.,Ltd)


มุมน่าสะพรึงกลัวของ “พระนเรศวร” จากบันทึก วัน วลิต กับงานเขียนโต้ของคึกฤทธิ์

วัน วลิต หรือ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremais van Vliet) เป็นพ่อค้าชาวดัตช์ ของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา 3 เล่ม เล่มที่เป็นพงศาวดารเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2183

วัน วลิต เขียนบันทึกจากคำบอกเล่าของผู้คนในกรุงศรีอยุธยา บันทึกของเขามีความน่าสนใจตรงที่เนื้อหามีรายละเอียดค่อนข้างมากและสามารถอธิบายได้เป็นฉาก ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวร หรือ พระนเรศวร ที่ วัน วลิต ให้ข้อมูลแตกต่างจากพงศาวดารหรือหลักฐานชิ้นอื่นแทบจะสิ้นเชิง

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงความคิดเห็นว่า วัน วลิต น่าจะได้ไต่ถามเรื่องราวจากคนที่เคยอยู่ร่วมสมัยเหตุการณ์มาประกอบการเขียน แต่โดยนิสัยของคนโบราณในการเล่าเรื่องให้ชาวต่างชาติฟังนั้น อาจต่อเติมอะไรต่อมิอะไรเข้าไปเพื่อแสดงพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวร เพื่อแสดงความเด็ดเดี่ยว และพระราชอำนาจอันน่าสะพรึงกลัว ซึ่งในมุมมองของคนโบราณเห็นว่า เป็นพระเกียรติยศ

แนวคิดของคนโบราณย่อมตรงกันข้ามกับมุมมองของคนยุคปัจจุบัน ซึ่งเรื่องราวที่ วัน วลิต บันทึกนั้น จะเอามาตำหนิติเตียนด้วยมาตรฐานของคนสมัยนี้ว่า ผิดถูกชั่วดี เห็นจะไม่ถูกต้องนัก

@@@@@@@

ถลกหนัง

“หลังจากได้ชัยชนะพระมหาอุปราชาและกองทัพพะโค พระเจ้าแผ่นดินสยามก็ทรงรวบรวมกองทัพ ประกอบด้วยทหารจำนวนมากพอสมควรยกไปโจมตีกัมพูชา โดยมีออกญาจักรีและออกญากลาโหมเป็นทัพหน้า และสมเด็จพระนเรศพระราชโอรสเป็นทัพหลัง

เมื่อยกทัพมาถึงพรมแดนกัมพูชา ออกญาจักรีก็ฉวยโอกาสเข้ายึดเมืองชายแดน โดยคิดว่าจะทำความดีถวายต่อพระเจ้าแผ่นดินและพระราชโอรส เมื่อพระนเรศเสด็จมาถึงก็ทรงพระพิโรธในการกระทำของออกญาจักรี มีรับสั่งให้ถลกหนังทั้งเป็น ทรงตรัสว่า

‘พระเจ้าแผ่นดินพระราชบิดาของเราและตัวเรา เป็นผู้สั่งเจ้ามาที่นี่ แต่ไม่ได้สั่งให้เจ้าเข้าโจมตี และเอาชีวิตทหารของเรามาเสี่ยงอันตรายเช่นนี้ เจ้าพยายามจะทำความดีความชอบแข่งกับเรา เพื่อว่าเมื่อได้รับชัยชนะแล้ว ทั้งเราและเจ้าจะได้เป็นผู้มีชัยชนะเหมือนกันทั้งสองคน ด้วยเหตุนี้เจ้าจึงต้องตาย'”

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ อธิบายว่า การสงครามที่ปรากฏชื่อออกญาจักรีและออกญาโหม เกิดขึ้นในคราวสงครามที่เมืองชายฝั่งด้านอ่าวเมาะตะมะ ไม่ใช่ที่เขมร ส่วนเรื่องการถลกหนังไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ การที่ถลกหนังออกญาจักรีนี้ก็ไม่ปรากฏหลักฐานในพงศาวดารหรือหลักฐานอื่นใดเลย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ชี้ว่า ศัพท์ชาวบ้านเรียกการเฆี่ยนว่า “ถลกหลัง” นั่นเพราะเมื่อผู้ใดถูกเฆี่ยนหลังแล้ว หนังก็จะขาดหรือถูกถลกออกมาตามรอยหวายที่เฆี่ยนลงบนหลัง จึงเรียกการเฆี่ยนว่า ถูกถลกหลัง

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าวว่า “บางที วัน วลิต จะไปคุยกับคนไทยได้ยินคำว่าถลกหลังแล้วฟังผิดว่า ถลกหนัง เลยเขียนความไปตามนั้นก็ได้” ดังนั้น ตามข้อสันนิษฐานนี้ การถลกหนังออกญาจักรีจึงอาจเป็นการเฆี่ยนมากกว่า


@@@@@@@

เผาทั้งเป็น

“ทรงมีกระแสรับสั่งให้เตรียมเรือ และเสด็จพร้อมทั้งขุนนางไปยังเพนียด (ซึ่งเป็นโรงช้างและสถานที่ราชาภิเษก) เพื่อประกาศสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และให้ขุนนางสาบานว่าจะจงรักภักดี ต่อพระองค์ตลอดไป

เมื่อเสด็จถึงเพนียด ฝีพายของพระนเรศเทียบเรือผิด พระองค์ก็ทรงเสด็จขึ้น ไม่ได้ทรงลงพระอาญาในเวลานั้น ได้ทรงราชาภิเษกถูกต้องตามราชประเพณี เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา และทรงพระนามว่า พระนเรศราชาธิราช

หลังจากพิธีราชาภิเษกแล้ว พระองค์มีรับสั่งให้เผาฝีพายเรือของพระองค์ และฝีพายเรือหลวงลำอื่น ๆ (ประมาณ 1,600 คน) เสียทั้งเป็น ณ สถานที่นั้น ทรงมีรับสั่งกับคณะขุนนางว่า พระองค์ทรงปรารถนาให้คณะขุนนางจดจำการลงพระอาญาครั้งนี้ไว้เป็นเยี่ยงอย่างการปกครองของพระองค์ และจากนั้นพระองค์ก็เสด็จกลับพระราชวัง“

เรื่องนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ตั้งข้อสังเกตว่า หากเผาฝีพายจำนวนมากเช่นนั้น แล้วสมเด็จพระนเรศวรจะเสร็จพระราชดำเนินกลับพระราชวังหลวงได้อย่างไร อีกทั้ง หากให้ขุนนางลงทำหน้าที่แทนฝีพาย พอถึงพระราชวังหลวงก็คงต้องรับพระราชอาญา เพราะจะให้พายเรือให้ดีเท่าฝีพายคงจะเป็นไปไม่ได้แน่นอน

อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ มีบันทึกเรื่องทำนองนี้ไว้ว่า “ศักราช 955 มะเสงศก… เสด็จเถลิงพระมหาปราสาท ครั้งนั้นทรงพระโกรธแก่มอญ ให้เผามอญเสียประมาณ 100”  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ วิเคราะห์ว่า พงศาวดารมิได้กล่าวถึงต้นเหตุที่ทำให้ทรงพระพิโรธ อาจเพราะมอญเผาอิฐที่จะสร้างพระมหาปราสาทไม่ได้ขนาด หรือมอญคอยแต่นับอิฐแบบมอญว่า “หนึ่งแผ่นอิฐมอญ สองแผ่นอิฐมอญ สามแผ่นอิฐมอญ…” จนเป็นเหตุให้ล่าช้าเหลืออดเหลือทนเสียประมาณ แต่เชื่อว่าวัน วลิต น่าจะฟังเรื่องนี้มาผิดเป็นแน่

นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่วัน วลิต บันทึก เกิดขึ้นหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นพระราชพิธีมงคล การจะเผาคนนับพันจึงไม่น่าจะเป็นไปได้



จิตรกรรมโคลงภาพพระราชพงศาวดารตอน “สงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระมหาอุปราชา” เขียนโดย หลวงพิศณุกรรม (เล็ก) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ (ภาพจากหนังสือ “จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เล่ม ๒”)


เฉียบขาด

“เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับพระองค์ และประจักษ์พยานทั้งหลายซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ได้รายงานว่า ในระยะ 20 ปี ที่อยู่ในราชสมบัติ พระองค์ทรงฆ่าคนตามกฎหมายมากกว่า 80,000 คน ทั้งนี้ไม่รวมพวกที่เสียชีวิตในการรบ ไม่ว่าจะเป็นบนหลังช้าง หลังม้า ในเรือพาย หรือแม้ในขณะประทับ ณ พระราชบัลลังก์

ขณะที่ออกขุนนางปรากฏว่า ไม่มีครั้งใดเลยที่พระองค์จะปราศจากอาวุธ ทรงมีกระบอกลูกธนูบนพระเพลา และมีคันธนูอยู่ในพระหัตถ์ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นผู้ใดทำผิด แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ไม่เป็นที่สบพระทัย พระองค์จะทรงยิงธนูไปที่ผู้นั้น และรับสั่งให้ผู้นั้นนำลูกธนูมาถวาย

พระองค์จะตรัสสั่งให้เฉือนเนื้อบุคคล (แม้แต่ขุนนาง) ที่กระทำผิดแม้ว่าจะน้อยนิดเสมอ และทรงให้บุคคลผู้นั้นกินเนื้อของตนเอง เฉพาะพระพักตร์ และทรงให้บางคนกินอุจจาระของตนเองบ่อยครั้ง ที่ตรัสว่า

‘นี่เป็นวิธีที่จะปกครองพวกเจ้าชาวสยาม เพราะว่าเจ้าเป็นพวกที่มีธรรมชาติที่ดื้อดึง น่าขยะแขยง ในอาณาจักรที่แสนเลวนี้ แต่ข้าจะปฏิบัติเช่นนี้ต่อเจ้าจนกว่าจะทำให้เจ้าเป็นชนชาติที่น่านับถือได้ เจ้าเป็นเหมือนหญ้าที่ขึ้นบนท้องทุ่งที่อุดมสมบูรณ์ ถ้าตัดให้สั้นได้เท่าไร เจ้าก็จะขึ้นได้สวยงามมากเท่านั้น ข้าจะหว่านทองไว้ในท้องถนนสายต่าง ๆ เป็นเวลาหลายเดือน ใครก็ตามที่มองทองเหล่านี้ด้วยความละโมภจะต้องถูกฆ่าตาย'”

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าวว่า เรื่องการปกครองด้วยความเฉียบขาดของสมเด็จพระนเรศวรนั้นน่าจะเป็นความจริง เพราะการปกครองของกรุงศรีอยุธยาเริ่มอ่อนแอมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เกิดการแตกสามัคคีจนต้องเสียกรุง โจรผู้ร้ายชุกชุมทั่วพระราชอาณาจักร ราษฎรหาความสุขมิได้ สมเด็จพระนเรศวรจึงต้องทรงปกครองโดยเฉียบขาด ลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างรุนแรงเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่าง

สำหรับการประหารชีวิตกว่า 80,000 คน นั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เชื่อว่า อาจจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริงก็ได้ ส่วนเรื่องพระแสงติดพระองค์นั้น เป็นราชประเพณีโดยธรรมเนียมที่เจ้าพนักงานต้องทอดพระแสงไว้เสมอ เรื่องยิงธนู ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ อธิบายว่า นั่นมิใช่การลงพระราชอาญา ถ้าเป็นในระหว่างเสด็จออกว่าราชการ น่าจะเป็นการปลุกผู้ที่แอบงีบให้ตื่น เพราะขุนนางหมอบเฝ้า อาจก้มหน้าก้มตาแล้วหลับไปเลย

พระราชอาญาให้คนกินเนื่อของตน หรือกินอุจจาระของตนนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าวว่า “ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เรื่องคอร์รัปชันว่ามากน้อยแค่ไหน ถ้าลงพระราชอาญาแบบนี้แก่ขุนนางตำแหน่งใหญ่ ๆ ผู้กินไม่อื่มก็น่าจะเห็นพระราชหฤทัยอีกเช่นเดียวกัน”


@@@@@@@

กลัวไม่ได้กลับบ้าน

“ขุนนางทั้งหลายรับราชการอยู่ด้วยความหวาดกลัวพระเจ้าแผ่นดินเป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีรับสั่งให้เข้าเฝ้า ขุนนางจะจัดบ้านช่อง เหมือนกับว่าตนจะไปตาย เพราะว่าขุนนางกลัวอยู่เสมอว่าตัวจะไม่ได้กลับมาเห็นบ้านอีก”

ในเรื่องนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าวว่า “เป็นเรื่องยืนยันข้อความในพงศาวดารพม่า ที่ขุนนางพม่ากราบทูลพระเจ้าหงสาวดีว่า คนไทยกลัว พระนเรศวร ยิ่งกว่ากลัวตาย” ซึ่งทำให้เห็นว่า ในประเด็นนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เห็นพ้องตามบันทึกของวัน วลิต

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ อธิบายสรุปว่าวัน วลิต ได้บันทึกเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรอย่างชาวต่างชาติเขียน ไม่มีเหตุที่จะยกย่องพระเกียรติยศ บางครั้งก็เขียนไปในทางเสื่อมเสีย เพราะคงจะได้ฟังจากคำบอกเล่าของคนในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งเป็นคนที่อยู่ใต้ราชวงศ์ใหม่ อาจเล่าเรื่องราวบางประการให้วัน วลิต ฟังเพื่อเป็นการลบหลู่ราชวงศ์เดิม ส่งเสริมราชวงศ์ใหม่ก็เป็นได้

อ่านเพิ่มเติม :-

   • สมเด็จพระนเรศวรฯ กับคนไทใหญ่ ความสัมพันธ์ชั้นเจ้าที่ต่างเล็งขับไล่พม่า
   • ชนไก่ กีฬาพื้นบ้านที่เล่ากันว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงชนะพระมหาอุปราช






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : เสมียนอารีย์
เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ  11 พฤศจิกายน 2563
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_57966

อ้างอิง :-
- พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต พ.ศ. 2182. (2546). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน.
- คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. (2533). กฤษดาภินิหาร อันบดบังมิได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สยามรัฐ.
12  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พิธีบำเพ็ญกุศล พระเทพกิตติปัญญาคุณ หลังเก็บสรีระสังขารนาน 19 ปี เมื่อ: มีนาคม 23, 2024, 06:50:34 am
.



พิธีบำเพ็ญกุศล พระเทพกิตติปัญญาคุณ หลังเก็บสรีระสังขารนาน 19 ปี

พิธีบำเพ็ญกุศลและพระราชทานเพลิง พระเทพกิตติปัญญาคุณ พระนักเทศน์ อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ หลังเก็บสรีระสังขารนาน 19 ปี

ขอเชิญศิษยานุศิษย์ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกขุ) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พระนักเทศน์ น้ำเสียงนุ่มนวลชวนฟัง โดยเฉพาะด้านพระอภิธรรมและพระสูตรเป็นเลิศ ในยุค 2500-2525 ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2548 จนถึงบัดนี้ รวมระยะเวลา 19 ปี 1 เดือน

พระเทพกิตติปัญญาคุณ หรือ กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกฺขุ ที่ผู้คนทั้งประเทศรู้จัก ในฐานะอดีตผู้อำนวยการจิตตภาวันวิทยาลัย จ.ชลบุรี ผู้ก่อตั้งจิตภาวันวิทยาลัย มีชื่อเสียงในฐานะวิทยาลัยเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งแรกของประเทศไทย




พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตติศักดิ์ เจริญสถาพร) เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2479 ที่ต.บางไทรป่า อ.บางเลน จ.นครปฐม เป็นบุตรของนายเตียวยี่-นางเง็กเล้า เจริญสถาพร มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3

พระเทพกิตติปัญญาคุณ อุปสมบทเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ณ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาปริยัติธรรมจนจบนักธรรมชั้นเอกจากสำนักเรียนวัดปากน้ำ ต่อมาไปเรียนอภิธรรมที่โรงเรียนพระอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์




นอกจากนี้ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนอภิธรรม และย้ายไปอยู่วัดมหาธาตุฯ รวมถึงได้ศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น มูลกัจจายน์ วิสุทธิมรรค อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น กับพระเตชินทะ ธัมมาจริยะ อภิธัมมกถิกาจริยะชาวพม่า และพระครูประกาศสมาธิคุณ (สังเวียน ญาณเสวี) และเรียนวิปัสสนากับพระอาจารย์อินทวังสะ กัมมัฎฐานาจริยะชาวพม่า เป็นต้น

ด้วยการศึกษาทางธรรมอย่างจริงจัง ทำให้ ท่านมีความรู้ ในพุทธศาสนาอย่างแตกฉาน สามารถเทศนาสั่งสอนญาติโยมอันเป็นกิจหนึ่งที่สงฆ์พึงปฏิบัติได้เป็นอย่างดี เทศนาของท่านซึ่งเป็นคำสอนหนึ่งที่ยังคงได้รับการเผยแพร่มาจนถึงปัจจุบันก็คือ “ฝึกตายทุกวัน”




บทบาทสำคัญและผลงานของท่านที่ปรากฏเป็นรูปธรรม คือ การก่อตั้งวิทยาลัยการเผยแพร่พระพุทธศาสนา หรือที่รู้จักกันในชื่อ “จิตตภาวันวิทยาลัย” ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี เพื่อใช้เป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งท่านทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการคนแรก ผลิตพระสงฆ์สามเณร พระหน่วยพัฒนาการทางจิตให้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ซึ่งปัจจุบันหลายท่านเป็นเจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะตำบลมากมาย และท่านได้สร้างอุโบสถกลางทะเล ซึ่งถือเป็นของใหม่ในยุคนั้น รวมทั้งการสร้างโรงพยาบาลสงฆ์จากการระดมทุนของท่าน เพื่อรักษาประชาชนที่ยากไร้

บรรดาศิษย์ยานุศิษย์ของท่านได้เก็บสรีระสังขารของท่านไว้เป็นอนุสรณ์นานถึง 19 ปี ก่อนที่จะมีหมายรับสั่งที่ 2970 โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพลิงศพพระเทพฯ กิตติปัญญาคุณ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา




ทั้งนี้ กำหนดพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม ตั้งแต่วันที่ 21-23 มีนาคม พ.ศ.2567 เวลา 18.30 น. ณ ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และพระราชทานเพลิงศพ ในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม เวลา 15.00 น ณ วัดสระเกศวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

จึงขอเรียนเชิญศิษย์ยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชน ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลออกเมรุพระราชทนเพลิงศพ พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกขุ) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว




Thank to : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8151429
ทุกทิศทั่วไทย | 22 มี.ค. 2567 - 14:35 น.
13  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ -ปลัดมหาดไทย ประชุมขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 10:06:12 am
.



สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ -ปลัดมหาดไทย ประธานประชุมขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข พร้อมบรรยายพิเศษ “ขอพระสงฆ์เป็นหลักชัย ทำให้ญาติโยมมีดวงตาเห็นธรรม”

วันที่ 21 มี.ค. 67 เวลา 09.00 น. ที่อาคารปฏิบัติธรรมพระธรรมรัตนาภรณ์ วัดสายสุวพรรณ ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ พัดยศ และเกียรติบัตร วัดต้นแบบ ประจำปี 2566

โดยได้รับเมตตาจากพระมหาเถระ พระเถระ พระสังฆาธิการ ร่วมพิธี โดนมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พุทธศาสนิกชน และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมในงานเป็นจำนวนมาก

@@@@@@@

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวประทานโอวาทเปิดการประชุม ความว่า โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เป็นหนึ่งในงานปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาโดยมุ่งพัฒนาวัดและชุมชนให้สะอาด ร่มรื่น เรียบร้อย สวยงาม เป็นสถานที่สัปปายะ เหมาะสมกับการเรียนรู้และการพัฒนาจิตใจของประชาชน โดยโครงการนี้ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งวันนี้ถือว่าเป็นวันพิเศษอีกวันหนึ่ง ที่คณะสงฆ์จะได้มาประชุมร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ร่มเย็น และมีความสุข ซึ่งมีภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคศาสนา ภาคประชาชน

โดยโครงการนี้จะขับเคลื่อนไปได้ด้วยดีเพื่อก่อให้เกิดผลสำเร็จ ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ผู้คนไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เฉกเช่นเดียวกับโครงการหมู่บ้านศีลธรรมหรือหมู่บ้านรักษาศีล 5 ซึ่งคณะสงฆ์ได้มีโครงการขึ้นมาเพื่อยังผลให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา มีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ โดย

ทั้งหมดที่กล่าวนี้ล้วนเป็นงานหลักของคณะสงฆ์เพื่อตอบแทนบุญคุณพุทธศาสนิกชนที่ได้อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา ทำให้คณะสงฆ์มีที่อยู่อาศัย มีความมั่นคงทางอาหาร ยา และเครื่องนุ่งห่ม คณะสงฆ์จึงดำริโครงการเหล่านี้เพื่อทดแทนบุญคุณที่ได้อุดหนุนค้ำชูพระพุทธศาสนา ผลความสุขจะได้สืบทอดไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุขของประเทศชาติที่ทุกท่านอยู่ด้วยมิตรไมตรีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สามัคคีกัน

และเราทุกท่านมุ่งหวังในการพัฒนาชาติด้วยหลักธรรมทางศาสนา หากทุกคนปฏิบัติและยึดถือศีล 5 หรือศีล 8 ได้อย่างแท้จริง สังคมและประเทศชาติจะเกิดความเจริญ สงบสุขร่มเย็น ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศที่น่าอยู่ของโลก โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข จึงเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนและดำเนินการมาตามลำดับร่วมกับภาคีเครือข่าย




“โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงมหาดไทย ที่เข้ามาช่วยกันทำหน้าที่ในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เป็นพันธกิจที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีของกระทรวงมหาดไทย ได้พระราชทานค่านิยมนี้สืบทอดต่อกันมา เช่นเดียวกับคณะสงฆ์ที่มีหน้าที่ต้องดูแลอบรมประชาชนให้ปฏิบัติตนเป็นคนดี ทุกท่านในที่นี้ก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน หากทุกคนทำหน้าที่ของเราอย่างสมบูรณ์ เราก็จะสร้างสังคมที่คนดีมีระเบียบวินัย เป็นที่ต้องการของสังคม และที่สำคัญกว่านั้นคือการเป็นคนดี ดังที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัสที่ต้องสร้างคนดีให้เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ คือ การสร้างคนดีนำไปสู่การมีสังคมที่เจริญและสงบสุข ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด ในการทำความดี ในฐานะพสกนิกรไทยของพระองค์จึงขอฝากทุกท่านในการทำความดี หากทุกภาคส่วนร่วมกันจะผลักดันให้โครงการนี้สำเร็จเรียบร้อยด้วยความดีงาม ขอให้คณะสงฆ์ทุกท่านเป็นกำลังสำคัญในการบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป ขอให้ทุกท่านมุ่งมั่นดำเนินการโครงการนี้ต่อไปเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาในฐานะพุทธศาสนิกชนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า




โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษ เรื่อง “ความร่วมมือภาครัฐกับคณะสงฆ์ในการขับเคลื่อนกิจการพระพุทธศาสนา” โดยกล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมสนองงานร่วมกับคณะสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้สนองงานร่วมกับเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม มาโดยตลอด

ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่พวกเราจำเป็นต้องช่วยกัน ดังที่พระคุณท่านได้ประทานโอวาทไปตอนต้นแล้วนั้น คือ การที่ทุกคนจะช่วยกัน “สืบสาน รักษา และต่อยอด” แนวพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง และสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ดังพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ความว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และพระราชดำรัส “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

ซึ่งเป้าหมายของการทำให้ประเทศชาติมั่นคงและประชาชนมีความสุขเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องที่เกื้อกูลกัน ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุขอันดับที่ 58 ของโลก และเป็นอันดับที่ 7 ของเอเชีย ซึ่งประเทศที่มีความสูงที่สุดอันดับ 1 ของโลก คือ ประเทศฟินแลนด์ ที่ทุกพื้นที่ของประเทศมีความมั่นคงทางอาหาร มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ประชาชนก็มีความสุข อันสอดคล้องกับแนวทางของการดำเนินโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โดยกระทรวงมหาดไทยเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันขับเคลื่อนร่วมกับมหาเถรสมาคม เพราะเรามีหน้าที่ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ตลอด 132 ปีที่ผ่านมา มีเป้าหมายสูงสุด คือ สนองพระราชปณิธานในการทำให้ประเทศชาติมั่นคงและประชาชนมีความสุข




“กระทรวงมหาดไทยมีกลไกในระดับพื้นที่ มีผู้นำใน 76 จังหวัด 878 อำเภอ 7,849 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เราขับเคลื่อนร่วมกับผู้นำภาคศาสนาในพื้นที่ ทำให้ฝ่ายบ้านเมืองได้จับคู่กับฝ่ายศาสนาด้วยการทำให้เกิด “ผู้นำภาคศาสนาประจำอำเภอ ประจำตำบล”

โดยล่าสุด เมื่อวานนี้ (20 มี.ค. 67) มหาเถรสมาคมได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2567 รับทราบโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยขอความเมตตาจากพระสังฆาธิการให้มีพระผู้รับผิดชอบประจำตำบล 1 พระ 1 ตำบล ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาให้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เป็น ”หมู่บ้านยั่งยืน” อันสอดคล้องกับโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขนี้ ที่เราชาวมหาดไทยได้สนองงานร่วมกับมหาเถรสมาคม

เพื่อทำให้เกิดหมู่บ้าน 5 ส ด้วยการบริหารจัดการขยะ การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน รวมถึงการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล โดยให้ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนนำขยะรีไซเคิลมาขายเป็นเงินกองทุนสวัสดิการของชุมชน

ซึ่งสิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันว่างานจะสำเร็จได้ เราต้องทำงานตามหลักการทำงานที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง ตาม 4 กระบวนการสำคัญ คือ ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับประโยชน์ โดยใช้กลไก “บวร” บ้าน วัด ราชการ และ 7 ภาคีเครือข่าย ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันสู่พี่น้องประชาชน และทั้งหมดอยู่ในโครงการนี้” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว




นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่อไปอีกว่า กระทรวงมหาดไทยน้อมนำแนวทางการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ตลอดจนการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โดยใช้กลไกผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ โดยเฉพาะผู้นำด้านศาสนา 3 โครงการสำคัญ คือ
    1) โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ร่วมกับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม
    2) บทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ร่วมกับสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และ
    3) โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5 ขยายผลสู่ หมู่บ้านศีลธรรม” ร่วมกับสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

ซึ่งทั้งหมดเป็นเนื้อเดียวกัน คือ “ชีวิตของพี่น้องประชาชน” จึงคาดหวังอย่างยิ่งว่าคณะสงฆ์จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยฝ่ายบ้านเมืองอย่างจริงจัง ด้วยเมตตาทำให้เกิดพระสงฆ์ผู้รับผิดชอบประจำตำบล ในการไปร่วมมือขับเคลื่อนทำให้เกิดสิ่งที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติได้ดียิ่งขึ้นไป ไปช่วยกันทำให้โครงการนี้ได้ขยายผลไปสู่ทุกครัวเรือนทุกหมู่บ้านเพิ่มมากยิ่งขึ้น และทำให้หมู่บ้านศีลธรรมเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ขยายผลไปสู่การขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืน ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ตามที่มหาเถรสมาคมได้มีมติรับทราบแล้วเมื่อวานนี้




“หมู่บ้านยั่งยืน คือ มีความมั่นคงทางอาหาร มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย บ้านเรือนมีความสะอาดเรียบร้อย ถูกสุขลักษณะ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม มีการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้พิการ ร่วมทำสิ่งที่ดี ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และสิ่งสำคัญคือการถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีสิ่งดีงามไปสู่รุ่นลูกหลาน รู้จักเข้าวัดทำบุญประกอบศาสนกิจ ซึ่งสอดคล้องกับหมู่บ้านศีลธรรม และโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข

ซึ่งทั้งหมดมีเป้าหมายเดียวกันดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ การทำให้เกิดคนดีมากขึ้น และการส่งเสริมให้คนดีมาเป็นผู้นำของสังคม” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม




นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้ายว่า ประเทศชาติเรามีความหวัง ด้วยการที่คณะสงฆ์ทุกท่านมาเป็นหลักชัย ทำให้ญาติโยมมีดวงตาเห็นธรรม ผลักดันขับเคลื่อนให้ข้าราชการมีกำลังใจและภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอฝากผู้นำของกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ไว้กับคณะสงฆ์และพระเถระทุกท่าน และได้โปรดเมตตาในการร่วมกันแก้ไขในสิ่งผิด สนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทำให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

นอกจากนี้ ขอฝากไปยังฆราวาสทุกท่าน ช่วยกันขับเคลื่อนทำให้พระสงฆ์และฆราวาสได้ร่วมมือกันทำสิ่งที่ดี เป็นกำลังใจให้ฝ่ายบ้านเมือง ฝ่ายญาติโยม ประเทศชาติจะมีความมั่นคงและสงบสุขได้ ด้วยความรักและความสามัคคี ความตั้งใจ และที่สำคัญคือ “Passion” หรืออุดมการณ์ในการ Change for Good ทำให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นกับประเทศไทย ขอให้พวกเรานำเอากำลังใจและพรของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ไปทำให้สำเร็จและเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน





ขอบคุณที่มา : https://thebuddh.com/?p=78417
14  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ส่องมติ “มหาเถรสมาคม” ประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๗ เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 09:37:13 am
.



ส่องมติ “มหาเถรสมาคม” ประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๗

วันพุธที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๗ เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหารกรุงเทพมหานคร เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงลาการประชุม ทรงมีพระบัญชาให้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นประธานในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๘/๒๕๖๗ โดยมีกรรมการมหาเถรสมาคมเข้าร่วม

การนี้ นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กราบทูลถวายเปิดการประชุม พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

โดยหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายพงศ์พล โยธินทวี รองโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้แถลงข่าวการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๘ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ โดยมีวาระการประชุมมหาเถรสมาคม อาทิ


@@@@@@@

๑. พิจารณาเสนอแต่งตั้งพระครูวิบูลกาญจโนภาส (สมบัติ) ฉายา ปริปุณฺโณ อายุ ๖๖ พรรษา ๔๖ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ. ๔, พธ.ม., รป.ด. วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร

๒. พิจารณาเสนอแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน ๓ รูป ดังนี้
    - พระมานิตย์ ฉายา ธมฺมมานิโต อายุ ๔๕ พรรษา ๒๕ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ในหน้าที่ฝ่ายเผยแผ่
    - พระมหาเจษฎา ฉายา ญาณวิสุทฺโธ อายุ ๓๔ พรรษา ๑๔ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, พธ.บ. วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะ ในหน้าที่ฝ่ายปกครอง
    - พระมหาบัลลังก์ ฉายา ภูริปญฺโญ อายุ ๒๙ พรรษา ๑๐ วิทยฐานะ ป.ธ.๗ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ในหน้าที่ฝ่ายสาธารณูปการ

๓. รับทราบโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน โอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๔ กรกฎาคม – ๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ ผู้เข้าบรรพชาอุปสมบทเป็นบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน แบ่งเป็น
    - ในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จำนวน ๗๓ คน กำหนดจัดพิธี ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินโครงการฯ ได้แก่ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร
   - และในส่วนภูมิภาคทุกจังหวัด ๆ ละ ๗๓ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๕,๖๒๑ คน จัดพิธี ณ วัดในจังหวัดต่าง ๆ ที่กำหนด โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการฯ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ




๔. พิจารณาขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพังงา จำนวน ๒ แห่ง ดังนี้
    - สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพังงา แห่งที่ ๗ ตั้งอยู่ที่ วัดดอน ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
    - สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพังงา แห่งที่ ๘ ตั้งอยู่ที่ วัดสวนวาง ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

๕. พิจารณาขอความเห็นชอบบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้าง เพื่อขอยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๒ วัด ดังนี้
    - วัดพระธาตุม่อนทรายเหงา (ร้าง) จังหวัดลำปาง
    - วัดธาตุไทรงาม (ร้าง) จังหวัดอุดรธานี

๖. รับทราบโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยขอความเมตตาจากพระสังฆาธิการให้มีพระผู้รับผิดชอบประจำตำบล ๑ พระ ๑ ตำบล ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านให้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นหมู่บ้านยั่งยืน


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
URL : https://thebuddh.com/?p=78390
15  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ในหลวงพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ ธรรมนาวา “วัง” แด่..กรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 09:28:07 am
.



ในหลวงพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ ธรรมนาวา “วัง” แด่..กรรมการมหาเถรสมาคม

วันพุธที่ 20  มีนาคม 2567 เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์พร้อมคติธรรม ธรรมนาวา “วัง”

ซึ่งประกอบด้วยหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ แบบวิธีระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และหลักอริยสัจ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลอากาศตรีสุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง อัญเชิญ ธรรมนาวา “วัง”  ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรม พระราชทานถวายแด่ กรรมการมหาเถรสมาคม ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร”

สำหรับธรรมนาวา “วัง” หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์พร้อมคติธรรม ธรรมนาวา “วัง” ซึ่งประกอบด้วยหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ แบบวิธีระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และหลักอริยสัจ 4

















ขอขอบคุณ :-
ภาพข่าว : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
URL : https://thebuddh.com/?p=78373
16  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ประธานอัญเชิญพระพุทธปฏิมาทองสำริด ประดิษฐานหน้า มจร เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 09:21:17 am
.



ปลื้มปีติ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ประธานอัญเชิญพระพุทธปฎิมา “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรฯ” ประดิษฐาน ณ. “รมณียพุทธอุทยาน” มจร

วันที่ 21 มีนาคม 2567  เวลา 09.00 น.ณ มณฑลพิธีหน้ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร  อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน องค์ประธานในพิธีประดิษฐานพระพุทธปฏิมาพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา

โดยมี พระพรหมวชิราธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม และพระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รองเจ้าคณะภาค 15 ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานสร้างพระพุทธปฏิมาพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา ปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้เป็น “รมณียพุทธอุทยาน”

พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต นางสาวเพ็ญศรี ชั้นบุญ  ประธานคณะทำงานสร้าง พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา คณบดี คณาจารย์ ผู้บริหาร  ผู้อบรมพระธรรมทูต นิสิต และประชาชน ถวายการต้อนรับ






สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าวสัมโมทนียกถา ตอนหนึ่งว่าศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์  ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต เป็นปูชนียบุคคลของมหาจุฬา ฯ เป็นที่เคารพนับถือของลูกศิษย์ เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่เฉพาะให้กับชาวมหาจุฬาฯ ลูกศิษย์เท่านั้น เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชาวพุทธทั่วไปด้วย

อาจารย์จำนงค์ เป็นผู้ทำให้มหาจุฬาฯ มีชีวิต หากนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนามหาจุฬา ฯ เมื่อวันที่  13 กันยายน 2439 ตอนนั้นมหาจุฬาฯ มีแต่ชื่อและสถานที่ ยังไม่มีชีวิต 50 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2490 พระพิมลธรรม ช้อย ทานทตฺโต อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สังฆมนตรีฝ่ายปกครอง ประชุมร่วมกับพระสงฆ์จำนวน 37 รูป ต้องการฟื้นฟูมหาจุฬาฯ เปิดการศึกษา อาจารย์จำนงค์ จึงสมัครเป็นพระนิสิตรุ่นแรก พร้อมกับพระนิสิตอีก 7  รูป ความเป็นมหาจุฬาฯ จึงเกิดขึ้น มีชีวิต

ผู้พูด (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) เข้าเรียนปี พ.ศ.2499 ยุคนั้นฝ่ายบ้านเมืองก็ไม่เอา ฝ่ายบ้านเมืองบางคนพูดจนกระทั้งว่า อย่าว่าแต่ฝ่ายบ้านเมืองไม่เอามหาจุฬาฯ เลย แม้แต่คณะสงฆ์ก็ไม่เอา ซึ่งก็เป็นจริง เพราะเจ้าอาวาสบางวัดมีกฎเกณฑ์ว่าใครเรียนมหาจุฬาฯ ต้องไล่ออกหรือห้ามอยู่วัดนี้ ชาวมหาจุฬาฯ ก็ดิ้นรน

จนปี พ.ศ. 2512 มหาเถรสมาคม จึงมีมติยอมรับว่า มหาจุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาของคณะสงฆ์ และก็มีพยายามเรื่อยมาอยากให้ฝ่ายบ้านเมืองรับรอง จนถึงปี 2540 รัฐบาลจึงรับรองให้มหาจุฬาฯ เป็น มหาจุฬาฯ โดยสมบูรณ์ ซึ่งก็มีอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ นี่แหละเป็นส่วนสำคัญผลักดันจนสำเร็จ




“เมื่อเราเอาปี 50 ปีเป็นตัวกำหนด ปี 2439 เป็นปีสถาปนา ปี 2590 มหาจุฬา ฯ เปิดเรียน ทำให้มีชีวิต นับต่ออีกมา 50 ปี คือ พ.ศ. 2540 มหาจุฬา ฯ ฝ่ายบ้านเมืองรับรองมีพระราชบัญญัติ หลังจากมีชีวิตแล้ว ก็ฝั่งรากฐาน และพัฒนาจนมั่นคงเจริญก้าวหน้า อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ จึงมีปณิธาน มีดำริคิดจะสร้างพระพุทธปฎิมา ประกาศให้ชาวโลกรู้ถึงความเจริญก้าวหน้าของมหาจุฬา ฯ จึงสร้างพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้เป็น “รมณียพุทธอุทยาน”



ส่วนนางสาวเพ็ญศรี ชั้นบุญ  ประธานคณะทำงานสร้างพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา และสร้างฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา กล่าวว่า “เจ้าประคุณประสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประทานนามพระพุทธปฏิมาองค์นี้ว่าพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินฺธรบวรศาสดา เป็นพระพุทธรูปมีขนาดหน้าตักความกว้าง 5 เมตร  ความสูง 6 เมตร 30 เซนติเมตร  มีน้ำหนัก 4.5 ตัน เป็นพระพุทธปฏิมาปางปฐมเทศนาที่หล่อด้วยทองสำริดทั้งองค์ฯ

ดำเนินการในนามคณะศิษยานศิษย์ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต รับเป็นเจ้าภาพเงินจำนวนเงิน 40 ล้านบาท และอีกส่วนเป็นงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้เป็นรมณียพุทธอุทยานอีกจำนวนเงิน 30  ล้านบาท สิ้นงบประมาณในการสร้างทั้งหมด  รวมเป็นจำนวน 70 ล้านบาท”

















ขอบคุณที่มา : https://thebuddh.com/?p=78395
17  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ในหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์” ฉบับธรรมนาวา “วัง” เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 08:17:17 am
.



ในหลวง พระราชทาน ‘หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์’ ฉบับธรรมนาวา ‘วัง’ แก่พสกนิกรไทย


เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่ง แห่งองค์พระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระราชฐานะพุทธมามกะและองค์อัครศาสนูปถัมภก ได้ทรงบำเพ็ญเพียรพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ เพื่อทำนุบำรุง เจือจุน ให้พระพุทธศาสนา อันมีพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นพระศาสดา ได้ธำรงคงอยู่ให้พุทธบริษัททั้งหลายได้รับประโยชน์

โดยการศึกษา(ปริยัติ) น้อมนำพระธรรมคำสอนลงมือทำ(ปฏิบัติ) เพื่อเข้าถึง(ปฏิเวธ) ซึ่งสาระแก่นแท้ของพระศาสนา คือ ความสิ้นทุกข์




จึงได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญในการพระราชทานเผยแพร่หลักธรรมอันทรงคุณค่าที่พุทธศาสนิกชน ตลอดจนประชาชนพลเมืองชาติ ทุกหมู่เหล่า ให้ได้ศึกษาหลักการวิธีปฏิบัติ อันได้ชื่อว่า เป็นการปฏิบัติตามพระธรรม คำสอน

เพื่อเข้าถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่ชื่อว่า “พุทธะ” คือสัจธรรมที่เป็นความรู้ อย่างผู้รู้แจ้งด้วยปัญญา ผ่านหลักสัจธรรมความเป็นจริงตามธรรมชาติ ที่พระพุทธองค์นำมาบอกสอน ที่ชื่อว่า “ธรรมะ” ด้วยการเป็นผู้น้อมนำประพฤติปฏิบัติจนสามารถรู้ตาม เห็นตาม ที่ชื่อว่า”สังฆะ”

อันพุทธะ ธรรมะ สังฆะนี้ เป็นสรณะที่พึงยึดเป็นพลังทางใจ พลังทางสติปัญญา อย่างแท้จริง ตามแนวทางการปฏิบัติธรรมนาวาของ พระจารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)




จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นธรรมทาน เพื่อประโยชน์สุข อันพึงจะได้รับจากพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงผ่านหลักการปฏิบัติอย่างถูกต้องตรงตามพุทธบัญญัติ แก่พุทธบริษัท และประชาชนทุกหมู่เหล่า ถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา มาตาปิตุบูชา อาจริยบูชา ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ทุกๆพระองค์



โดยหลักปฏิบัติเป็นภาพฝึพระหัตถ์การ์ตูนสีสันสดใส พร้อมคำอธิบายต่างๆ อาทิ
    - การระลึกพระรัตนตรัย,
    - การทักอารมณ์,
    - แบบวิธีระลึกพระรัตนตรัยในขณะเดินจงกรม,
    - พิจารณากาย 6 ขั้นตอน,
    - การเรียนรู้ขันธ์ 5 ด้วยการกำหนดดูลักษณะขันธ์ 5 เกิด-ดับ,
    - การกำหนดขันธ์ 5 ลงสู่อริยสัจ 4,
    - ท่องบทธาตุกัมมัฏฐาน 4
















ทั้งนี้ สามารถดาวโหลด หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ได้ทางเว็บไซต์ หน่วยรายการในพระองค์  https://www.royaloffice.th/2024/03/20/ธรรมนาวา-วัง-2567/





Thank to :-
ภาพ : https://www.royaloffice.th/2024/03/20/ธรรมนาวา-วัง-2567/ 
ข่าว : https://www.matichon.co.th/court-news/news_4484243
วันที่ 21 มีนาคม 2567 - 12:37 น.   
18  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ประธานอัญเชิญพระพุทธปฏิมาทองสำริด ประดิษฐานหน้า มจร เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 07:00:37 am




“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ประธานอัญเชิญพระพุทธปฏิมาทองสำริด ประดิษฐานหน้า มจร

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน เป็นประธานพิธีอัญเชิญพระพุทธปฏิมา “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา” ประดิษฐานบนฐานชุกชี หน้า มจร

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ “รมณียพุทธอุทยาน” บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)​ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีพิธีอัญเชิญพระพุทธปฏิมา “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา” ประดิษฐานบนฐานชุกชี

โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย พระพรหมวชิราธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัย พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี พระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ศ.พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ร่วมพิธี






ทั้งนี้ น.ส.เพ็ญศรี ชั้นบุญ ประธานคณะทำงานสร้าง “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา” และสร้างฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ​กล่าวว่า ตามที่ มจร ได้จัดงานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ ในวันที่ 2 พ.ค. ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันอายุวัฒนมงคลของ ศ.พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต คณะศิษยานุศิษย์ได้ปรารภในการสร้างพระพุทธปฏิมา เป็นอนุสรณ์ในมงคลสมัยคล้ายวันเกิดของ ศ.พิเศษ จำนงค์ ผู้เป็นปูชนียบุคคลของ มจร โดยความเห็นชอบของพระพรหมบัณฑิต อุปนายสภามหาวิทยาลัย ประธานมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี และคณะผู้บริหาร มจร เพื่อประดิษฐานไว้ ณ รมณียพุทธอุทยาน มจร ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

สำหรับมงคลนาม “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินฺธรบวรศาสดา” ได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ในการตั้งชื่อพระพุทธปฏิมาองค์นี้ ซึ่งมีขนาดหน้าตักความกว้าง 5 เมตร ความสูง 6 เมตร 30 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 4.5 ตัน เป็นพระพุทธปฏิมาปางปฐมเทศนาที่หล่อด้วยทองสำริดทั้งองค์ นอกจากนี้ ยังได้รับอนุมัติงบประมาณรายได้ของ มจร เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหน้า มจร และพัฒนาพื้นที่ให้เป็น “รมณียพุทธอุทยาน” ด้วย






สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ กล่าวสัมโมทนียกถาตอนหนึ่ง ว่า เราทั้งหลายที่มาร่วมกันในการอัญเชิญ “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา” ครั้งนี้ ต่างเป็นพุทธมามกะ ซึ่งหากกล่าวถึงความหมายง่ายๆ หมายถึง ผู้ที่รับพระพุทธเจ้ามาเป็นของเรา หรือหากกล่าวถึงความหมายของพุทธมามกะในอีกความหมาย คือการที่พระพุทธเจ้ายอมรับเป็นสาวกของพระองค์ ซึ่งต้องประพฤติดีปฏิบัติชอบ ต้องศึกษาหลักตามไตรสิกขา จึงจะถึงความสมบูรณ์ในการเป็นพุทธมามกะ

การได้มาร่วมอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวประดิษฐานแล้ว ถือว่าเป็นพระประธานของ มจร เราทั้งหลายก็ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของ มจร ทั้งหมด และต้องช่วยกันบริหาร มจร ให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยดี เพราะ มจร ถือได้ว่าเป็นฐานสำคัญในการทำให้พระพุทธศาสนาเจริญก้าวหน้า และยังเป็นการประกาศถึงความเจริญมั่นคงของ มจร โดยมีพระพุทธรูปนี้เป็นสิ่งยืนยันด้วย






ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/3277707/
21 มีนาคม 2567 | 16:53 น. | การศึกษา-ศาสนา
19  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไขความลับ เมืองโบราณจมแม่น้ำโขง ปริศนา "พระเจ้าล้านตื้อ" หลังลาวพบพระล้ำค่า เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 06:31:50 am
.



ไขความลับ เมืองโบราณจมแม่น้ำโขง ปริศนา "พระเจ้าล้านตื้อ" หลังลาวพบพระล้ำค่า

"พระเจ้าล้านตื้อ" พระพุทธรูปโบราณที่ศรัทธาของคนไทย-ลาว สองฝั่งโขง มีตำนานจมอยู่ก้นบาดาล ล่าสุดการขุดค้นพบพระโบราณจำนวนมาก ริมฝั่งแม่น้ำโขง ณ เมืองต้นผึ้ง ตรงข้าม จ.เชียงราย เป็นจิ๊กซอว์สำคัญทางประวัติศาสตร์ล้านนา ยืนยันถึงเกาะดอนแท่น เมืองโบราณกลางลำน้ำ ก่อนจมสลายไปพร้อมพระพุทธรูปล้ำค่า ที่ยังหาไม่เจอ

เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 67 ลาวขุดพบพระพุทธรูปในแม่น้ำโขง เมืองต้นผึ้ง ตรงข้าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประชาชนคนลาว แห่ชมพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ ขนาดเล็กอีกจำนวนมาก หลังจากนั้นมีการขุดค้นหาต่อเนื่อง และพบพระจมอยู่ใต้แม่น้ำมาเป็นเวลานานจำนวนมาก




การขุดค้นพบพระโบราณในประเทศลาว สะท้อนถึงภาพประวัติศาสตร์ล้านนาโบราณ ที่เชื่อมโยงกับไทย โดยสันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวในอดีต มีเกาะดอนแท่น ยื่นออกไปกลางลำน้ำโขง ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐ ออนไลน์ สอบถามไปยัง พระครูโสภณกวีวัฒน์ (ธนจรรย์ สุระมณี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นามปากกา ส.กวีวัฒน์ ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา ให้ข้อมูลว่า พระที่ขุดค้นพบเป็นพระที่มีพุทธลักษณะแบบเชียงแสน เดิมสมัยโบราณ พื้นที่นี้มีเกาะดอนแท่น ที่ยื่นออกไปกลางแม่น้ำโขง มีการสร้างวัดและวังอยู่บนพื้นที่ตั้งแต่ "พญาแสนพู” ราชวงศ์มังราย



โดยมีตำนานประวัติศาสตร์เล่าว่า เมื่อกาลเวลาผ่านไป น้ำในแม่น้ำโขงไหลเชี่ยวและเปลี่ยนทิศทาง จนทำให้ เกาะดอนแท่น จมหายไปในแม่น้ำ สิ่งปลูกสร้างโบราณและพระพุทธรูปจำนวนมากจมหายไปพร้อมกัน โดยเฉพาะพระพุทธรูปสำคัญคือ “พระเจ้าล้านตื้อ” เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีหน้าตักกว้างกว่ารถสิบล้อจะขนได้ แม้ที่ผ่านมาเคยมีผู้นำระดับประเทศของไทย พยายามค้นหา และกู้ขึ้นมาจากแม่น้ำโขง แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะอาจมีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน



สำหรับพุทธลักษณะของ พระเจ้าล้านตื้อ มีความงดงาม ตามแบบลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา ที่เรียกว่า พระพุทธรูปสิงห์แบบเชียงแสน ที่มีการแบ่งประเภทที่เรียกว่า "พระพุทธรูปสิงห์ 1” มีลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชร เห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง พระพักตร์กลม อมยิ้ม ขมวดพระเกศาใหญ่ รัศมีดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ซึ่งพบได้ยาก และช่างรุ่นต่อไม่ไม่นิยมทำขึ้นใหม่



“เกาะดอนแท่น ยุคสมัยพญาแสนพู ราชวงศ์มังราย เคยสร้างวังประทับที่นั่น เมื่อตอนสวรรคตก็เก็บร่างไว้อยู่นาน เพราะกลัวว่าบ้านเมืองจะปั่นป่วน พระพุทธรูปที่ค้นพบก็ยืนยันถึงศิลปะยุคเดียวกัน แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุวรรณโคมคำ ที่อยู่ในยุคหลัง ซึ่งผสมผสานความเป็นขอม”




การขุดค้นพบพระพุทธรูปโบราณในฝั่งลาว ถือเป็นการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ด้านพุทธศาสนาทั้งสองประเทศ อาตมายังคาดหวังให้ไทย และลาวร่วมมือกันค้นหา พระเจ้าล้านตื้อ ที่จมอยู่ในแม่น้ำโขง เพื่อกู้ขึ้นมาเชื่อมต่อประวัติศาสตร์ร่วมกันของทั้งสองมิตรประเทศ.





Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2772121
20 มี.ค. 2567 18:20 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > Interview > ไทยรัฐออนไลน์
20  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสมาบัติ (๙) เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 10:28:57 am
.

                                                 
             
‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสมาบัติ (๙)

๕. ฌานสูตร ว่าด้วยฌาน

[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า
       ๑. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้(๑-) เพราะอาศัยปฐมฌาน
       ๒. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน
       ๓. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน
       ๔. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน
       ๕. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-ฌาน
       ๖. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตน-ฌาน
       ๗. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-ฌาน
       ๘. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตน-ฌาน
       ๙. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
    เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายบรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
    เธอย่อมพิจารณาเห็น(๒-) ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น(๓-)
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ(๔-) ว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวงความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน‘(๕-) เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย(๖-)
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก(๗-)


______________________________________________
เชิงอรรถ :-
(๑-) อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่เรียกว่า “อรหัต” (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๒-) พิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาอันแรงกล้า (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๓-) ธรรมเหล่านั้น ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๔-) อมตธาตุ หมายถึงนิพพาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๕-) ดู ม.ม. ๑๓/๑๓๓/๑๐๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๐/๔๐๕-๔๑๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๖๕/๒๔๕-๒๔๘
(๖-) หมายถึงดำรงอยู่ในปฐมฌานเจริญวิปัสสนาอันแรงกล้าแล้วบรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๗-) ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๔๒๗)

     ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
     ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
     เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
     เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
     เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
     เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
     ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
     หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไปด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’


    @@@@@@@

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน’
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน’
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน‘
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
    เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่  เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีตคือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ

     เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน’




   
     เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-ฌาน‘
     เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
     เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตน-ฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
     เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
     เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
     เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
     ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวงความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตน-ฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
     หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

     ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
     ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุอากาสานัญจายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตน-ฌานนั้น ฯลฯ

    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-ฌาน’
             
     @@@@@@@

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ’อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตน-ฌาน‘
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-ฌาน‘
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้
    เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตน-ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ล่วงวิญญาณัญจายตน-ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้นย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-ฌาน”


    @@@@@@@

    ภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้แล สัญญาสมาบัติ มีอยู่เท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีอยู่เท่านั้น

    ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ ประการนี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตน-สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่างก็อาศัยกันและกัน
    เรากล่าวว่า ภิกษุผู้ได้ฌาน ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าออกแล้ว พึงกล่าวอายตนะ ๒ ประการนี้ไว้โดยชอบ

                 ฌานสูตรที่ ๕ จบ




ขอขอบคุณ :-
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๘-๕๑๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
website : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=199
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/





อรรถกถาฌานสูตรที่ ๕     
         
ฌานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาสวานํ ขยํ ได้แก่ พระอรหัต.
บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ รูปคตํ ความว่า ธรรมดารูปใดย่อมเป็นไปในขณะปฐมฌานนั้นด้วยวัตถุก็ดี ด้วยมีจิตเป็นสมุฏฐานก็ดี.
พึงทราบเวทนาเป็นต้นด้วยสามารถสังยุตตเวทนา (เวทนาที่ประกอบกันเป็นต้น).
บทว่า เต ธมฺเม ได้แก่ ธรรม คือเบญจขันธ์มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น.

ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อนิจฺจโต พึงทราบความต่อไปนี้
    ชื่อว่าโดยเป็นของไม่เที่ยง เพราะอาการมีแล้วไม่มี.
    ชื่อว่าโดยเป็นทุกข์ เพราะอาการบีบคั้น.
    ชื่อว่าโดยเป็นโรค เพราะอาการเสียดแทง.
    ชื่อว่าโดยเป็นฝี เพราะเจ็บปวดภายใน.
    ชื่อว่าโดยเป็นลูกศร เพราะเสียบเข้าไปและเพราะเชือดเข้าไป.
    ชื่อว่าโดยเป็นความลำบาก เพราะทนได้ยาก.
    ชื่อว่าโดยอาพาธ เพราะถูกเบียดเบียน.
    ชื่อว่าโดยเป็นอื่น เพราะไม่ใช่เป็นของตน.
    ชื่อว่าโดยเป็นของทำลาย เพราะผุพังไป.
    ชื่อว่าโดยเป็นของสูญ เพราะไม่เป็นเจ้าของ.
    ชื่อว่าโดยเป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ.

บทว่า สมนุปสฺสติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า.
บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ ด้วยธรรมคือเบญจขันธ์เหล่านั้น.
บทว่า ปติฏฺฐาเปติ ได้แก่ กลับไปด้วยความเบื่อหน่าย.
บทว่า อมตาย ธาตุยา ได้แก่ นิพพานธาตุ.
บทว่า จิตฺตํ อุปสํหรติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า คือเห็นอานิสงส์ด้วยญาณแล้วหยั่งลง.             
บทว่า สนฺตํ ได้แก่ ชื่อว่าสงบ เพราะสงบจากกิเลสอันเป็นข้าศึก.
บทว่า ปณีตํ ได้แก่ ไม่เดือดร้อน.
บทว่า โส ตตฺถ ฐิโต อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนาแก่กล้า ย่อมบรรลุพระอรหัต.

@@@@@@@

พึงทราบอีกนัยหนึ่ง บทว่า โส เตหิ ธมฺเมหิ ความว่า เพราะในบทว่า อนิจฺจโต เป็นต้น ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะด้วยสองบท คือ อนิจจโต ปโลกโต กล่าวถึงทุกขลักษณะด้วยหกบทมีบทว่า ทุกฺขโต เป็นต้น กล่าวถึงอนัตตลักษณะด้วยสามบท คือ ปรโต สุญฺญโต อนตฺตโต ฉะนั้น ภิกษุนั้นยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อย่างนี้ด้วยธรรม คือเบญจขันธ์ในภายในสมาบัติที่ตนเห็นแล้วเหล่านั้น.

บทว่า จิตฺตํ ปติฏฺฐาเปติ ได้แก่ รวบรวมน้อมนำจิตเข้าไป.
บทว่า อุปสํหรติ ความว่า ภิกษุน้อมเข้าไปซึ่งวิปัสสนาจิตโดยอสังขตธาตุ อมตธาตุอย่างนี้ว่า นิพพานสงบ ด้วยที่อยู่ ด้วยการสรรเสริญ ด้วยปริยัติและด้วยบัญญัติ. ภิกษุย่อมกล่าวถึงนิพพานอันเป็นมรรคจิตอย่างนี้ว่า นี้สงบ นี้ประณีตด้วยทำให้เป็นอารมณ์เท่านั้น. อธิบายว่า โดยประการนี้ภิกษุแทงตลอดธรรมนั้น น้อมจิตเข้าไปในธรรมนั้นดังนี้.

บทว่า โสตตฺถ ฐิโต ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น.
บทว่า อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุเจริญมรรค ๔ ตามลำดับแล้วบรรลุพระอรหัต.
บทว่า เตเนว ธมฺมราเคน ได้แก่ ฉันทราคะในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา.
บทว่า ธมฺมนนฺทิยา เป็นไวพจน์ของบทว่า ธมฺมราเคน นั้นนั่นเอง.
จริงอยู่ ภิกษุเมื่อสามารถจะครอบงำฉันทราคะในสมถะและวิปัสสนาได้โดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุพระอรหัตได้ เมื่อไม่สามารถก็เป็นพระอนาคามี.

บทว่า ติณปุริสรูปเก วา ได้แก่ มัดหญ้าเป็นรูปคน.
    ชื่อว่า ทูเรปาติ เพราะยิงลูกศรให้ตกไปไกล.
    ชื่อว่า อกฺขณเวธี เพราะยิงไม่พลาด.


@@@@@@@

ในบทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคตํ นี้ ไม่ถือเอารูป.
    ถามว่า เพราะเหตุไร.
    ตอบว่า เพราะเลยไปแล้ว.

จริงอยู่ ภิกษุนี้เข้าถึงรูปาวจรฌานในภายหลัง ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว แม้เข้าถึงอรูปาวจรสมาบัติ ภายหลังพิจารณารูปอันล่วงเลยรูปไปแล้วด้วยอรูปาวจรสมาบัตินั้นด้วยสมถะ ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว ในบัดนี้ย่อมพิจารณาอรูป ด้วยเหตุนั้นรูปจึงล่วงเลยไปแล้วด้วยอรูปนั้นแม้ด้วยวิปัสสนา. ก็ในอรูปย่อมไม่มีรูปแม้โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้ท่านหมายถึงรูปนั้น แต่ในที่นี้ก็ไม่ถือเอารูป.

   ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนะเล่า.
   ตอบว่า เพราะเป็นของสุขุม.

จริงอยู่ ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น แม้อรูปขันธ์ ๔ ก็สุขุม ไม่เหมาะที่จะพิจารณา.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อิติ โข ภิกฺขเว ฯเปฯ อญฺญาปฏิเวโธ.
               
ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า สจิตตกสมาบัติมีอยู่ประมาณเท่าใด การแทงตลอดถึงพระอรหัต ย่อมมีแก่ผู้พิจารณาธรรมอันยิ่งประมาณเท่านั้น เขาย่อมเข้าถึงพระอรหัต แต่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ท่านไม่กล่าวว่าเป็นสัญญาสมาบัติ เพราะความเป็นของสุขุม.

บทว่า ฌายี เหเต ความว่า อายตนะสองเหล่านี้อันผู้เพ่งคือผู้ยินดีในฌานควรกล่าวถึงโดยชอบ.
บทว่า วุฏฺฐหิตฺวา ได้แก่ ออกจากสมาบัตินั้น.
บทว่า สมฺมทกฺขาตพฺพานิ ได้แก่ พึงกล่าวโดยชอบ.
บุคคลพึงกล่าว พึงชม พึงสรรเสริญเนวสัญญายตนสมาบัติและสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอย่างเดียวว่า สงบประณีต ดังนี้.

               จบอรรถกถาฌานสูตรที่ ๕           
   




ขอขอบคุณ :-
อรรกถา อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๔ , ๕. ฌานสูตร
website : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=240
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
21  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 07:56:59 am
.



เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน



๙. ฌานสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ฌานาทิสูตร ว่าด้วยฌาน เป็นต้น


[๙๒๓-๙๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ
             
“ภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ ประการนี้ ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสใน ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
    ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
    ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่
    ฌาน ๔ ประการนี้

    ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
                                               
    ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
    ๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
    ๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

                ฌานาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ


@@@@@@@

๕. โอฆวรรค หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร ว่าด้วยโอฆะ เป็นต้น


[๙๖๗-๙๗๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. รูปราคะ     
    ๒. อรูปราคะ
    ๓. มานะ      
    ๔. อุทธัจจะ
    ๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

     ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
     ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
     ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
     ๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
     ๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
             
     ข้อความที่เหลือพึงให้พิสดารอย่างนี้ (พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

              โอฆวรรคที่ ๕ จบ





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๘-๔๕๑
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
website : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=298
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/pin/1125968651156557/
22  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: กรมศิลปากร รับอาสาสมัคร ขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 07:10:04 am
.



เปิดรับสมัคร “ผู้ช่วยนักโบราณคดี” ขุดค้นวัดจักรวรรดิ กรุงเทพฯ 2 อัตรา

กองโบราณคดี กรมศิลปากร ร่วมกับมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ดำเนินโครงการศึกษาโบราณคดีวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร และชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ  เปิดรับสมัคร "ผู้ช่วยนักโบราณคดี" วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาโบราณคดี จำนวน 2 อัตรา ปฏิบัติงานระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2567  โดยทำงานร่วมกับอาสาสมัคร 

    เปิดรับสมัครด่วนตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2567
    อ่านรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://forms.gle/x1v58uFfxJCQrEKp9




ขอบคุณที่มา : https://www.finearts.go.th/promotion/view/47572-เปิดรับสมัคร--ผู้ช่วยนักโบราณคดี--ขุดค้นวัดจักรวรรดิ-กรุงเทพฯ-2-อัตรา
23  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กรมศิลปากร รับอาสาสมัคร ขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 06:52:31 am
.



กรมศิลปากร รับอาสาสมัคร ขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส

กรมศิลปากร ประกาศรับอาสามัคร เข้าร่วมขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร พร้อมสำรวจชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ ถึง 12 เม.ย. 67

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ดำเนินโครงการ ศึกษาโบราณคดีวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร และพัฒนาการชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ ระยะแรก ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม – 12 เมษายน 2567

นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การดำเนินงานระยะแรกนี้ จะเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีภายในพื้นที่โบราณสถาน หรือเขตพุทธาวาสของวัดจักรวรรดิราชาวาส ซึ่งทางวัดเป็นฝ่ายขอให้กรมศิลปากรเข้ามาดำเนินงานโบราณคดี



กรมศิลปากร รับอาสาสมัคร ขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส

เพื่อนำข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีไปใช้ในการออกแบบบูรณะโบราณสถานและการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในพื้นที่โบราณสถานวัดจักรวรรดิราชาวาส และเพื่อรักษาศาสนสมบัติและมรดกวัฒนธรรมให้ยั่งยืน

โดยรูปแบบการดำเนินงาน จะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และการแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคมในวงกว้าง เปิดโอกาสให้อาสาสมัคร ซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาร่วมสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยให้นักโบราณคดีรุ่นใหม่ได้เข้ามาฝึกฝนและเรียนรู้ประสบการณ์จริงในการทำงานภาคสนามทางโบราณคดี

ส่วนการสำรวจชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ มุ่งเน้นศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนประวัติศาสตร์เมืองบางกอก โดยเฉพาะชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลย่านสำเพ็ง เยาวราช และตลาดน้อย เพื่อเป็นทุนทางวัฒนธรรมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณภาพของสังคมในย่านประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน



กรมศิลปากร รับอาสาสมัคร ขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส

สำหรับวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร หรือวัดสามปลื้ม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร มีประวัติสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับชุมชนบางกอกและสำเพ็งมายาวนาน มีปูชนียวัตถุสถานที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์หลายประการ

เช่น วิหารพระนาก พระอุโบสถ พระวิหารกลาง พระปรางค์และมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาท รวมถึงรูปเหมือนพระพุฒาจารย์มา หรือท่านเจ้ามา และรูปเหมือนเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นต้น






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : กรมศิลปากร
website : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/219850
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 20 มี.ค. 2567 ,16:28น.
24  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แนะผู้เข้าอบรม “พระธรรมทูตสายต่างประเทศ” ยึดหลัก “สาราณียธรรม 6 ประการ” เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 06:45:25 am
.



แนะผู้เข้าอบรม “พระธรรมทูตสายต่างประเทศ” ยึดหลัก “สาราณียธรรม 6 ประการ”

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ กล่าวให้โอวาทเปิดโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 30

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ กล่าวให้โอวาทในพิธีเปิดโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 30 ที่อาคาร มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า งานพระธรรมทูตนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า เป็นงานที่ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะ ความเสียสละ และความหนักแน่นอดทน เพราะเป็นงานที่ต้องปฏิบัติศาสนกิจในความหลากหลายของกฎหมาย วัฒนธรรม จารีต ประเพณี แต่ถึงอย่างไร ต้องตระหนักในพระธรรมวินัยเป็นที่สุด สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระราชทานพระราโชบายไว้เป็นแนวทางการดำเนินงานของคณะสงฆ์ว่า

“พัฒนาความรู้ และคุณภาพพระสงฆ์ ให้เป็นหลักทางใจของประชาชน ให้พระมีความสำนึก และเป็นประโยชน์ในสังคมไทย” พระราโชบายนี้ เป็นคติเตือนใจที่สำคัญมาก ที่จะต้องประพฤติตนในพระธรรมวินัยให้สมบูรณ์ เพิ่มพูนปณิธานและความเพียรอันแน่วแน่ ที่จะพัฒนาตน พัฒนาความรู้ พัฒนาจิตใจ ให้สมดุล มส.สนองพระราโชบาย ให้ความสำคัญกับงานพระธรรมทูต ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลให้พระธรรมทูต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในนานาอารยประเทศเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่มหาชนในประเทศนั้นๆ ตามพระพุทธประสงค์ ตามพระธรรมวินัย และตามหลักของบุรพาจารย์




สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กล่าวต่อไปว่า ขอปรารถสารัตถธรรมถวายคำแนะนำแนวทางในการเข้ารับการอบรมนั้น พึงตระหนักในพระพุทธพจน์ บทที่ว่า
    “สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร พึงสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี” และ
     “ธมฺมํ จเร สุจริตํ พึงทำดีให้สุจริต” ทำให้เหมาะ ทำให้ดี ทำให้ถูกต้อง

พระพุทธศาสนานั้น เป็นศาสนาที่ส่งเสริมให้บุคคลจัดการวิถีชีวิตของตนอย่างสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติให้มากที่สุด การศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน จัดเป็นอุปนิสัย คือปัจจัยเครื่องอาศัยของพระธรรมทูต เพราะการฝึกอบรมนั้นต้องเจริญพระกัมมัฏฐาน รักษาเสนาสนะ สมณบริขาร สถานที่ที่เกื้อกูลต่อการเจริญสมณธรรม เอื้อประโยชน์ต่อการแสวงความรู้ และความสงบสุขทางใจ การอบรมพัฒนาด้วยการภาวนาทางจิต นำพาชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ จักเป็นอุปกรณ์ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ และปัญญา การอบรมตลอดหลักสูตร ระยะเวลา 3 เดือน

ขอน้อมนำพระพุทธศาสนี ที่หมู่คณะใดน้อมนำไปปฏิบัติแล้วจักเกิดความสามัคคีปรองดอง เกื้อกูล มีน้ำใจไมตรี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกันนั้น ซึ่งเราทั้งหลายทราบประจักษ์อยู่แล้ว คือ หลักสาราณียธรรม 6 ประการ ประกอบด้วย
    - เมตตากายกรรม
    - เมตตาวจีกรรม
    - เมตตามโนกรรม
    - สาธารณโภคี
    - สีลสามัญญตา และ
    - ทิฐิสามัญญตา

ธรรมมทั้ง 6 ประการนี้ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จึงเป็นโอกาสให้ทุกรูปได้น้อมนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินการและเข้ารับการอบรมตลอดโครงการ ตามหน้าที่ของตน ให้ได้ครบถ้วนทั้ง 6 ประการ เพื่อความวัฒนาสถาพรของคณะสงฆ์และพระบวรพุทธศาสนายิ่งขึ้นไป






สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กล่าวอีกว่า การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน จะบริบาลให้ทุกรูป อุดมด้วยปสาทะ ศรัทธา และมีสัมมาปัญญา ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาจารย์ จึงทรงนำหลักเจริญ “มหาสติปัฏฐาน 4” คือการเจริญสติไปในกาย ในเวทนา ในจิตและในธรรม นำเป็นหลักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่ออบรมสติให้บริสุทธิ์สะอาดปราศจาก “มิจฉาสติ” ไม่วิปริตบกพร่อง แต่เป็น “สัมมาสติ” ที่ถูกต้องบริสุทธิ์ จนบังเกิด “อัปปมาทธรรม” คือ ความไม่ประมาท ขึ้นใน “ปัญญา”

ปราชญ์จึงกล่าวว่า สติ คือ ความไม่ประมาท และความไม่ประมาท คือบ่อเกิดแห่ง “ปัญญา” ผู้เข้ารับการอบรมพระธรรมทูต พึงตั้งใจเจริญปัญญาให้อุดมด้วย “สัมมาปัญญา” ซึ่งตรงกับหลักวิทยาศาสตร์ สามารถยังผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ มิให้ตกไปสู่ที่ชั่วให้ได้รับผลสมกับการปฏิบัติ คือ ให้พ้นทุกข์ ประสบสันติสุขสวัสดีได้อย่างแท้จริง





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3275143/
20 มีนาคม 2567 | 19:32 น. | การศึกษา-ศาสนา
25  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / จะต้องเข้าฌานสี่ก่อน แล้วจึงวิปัสสนา ใช่ไหม.? เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 06:32:25 am
.



จะต้องเข้าฌานสี่ก่อน แล้วจึงวิปัสสนา ใช่ไหม.?
โดย อาจารย์ไชย ณ พล

Q ถาม : ท่านอาจารย์ครับ การวิปัสสนาต้องเข้าฌานสี่ตามสามัญญผลสูตรก่อนใช่ไหมครับจึงวิปัสสนาได้

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ : ขึ้นอยู่กับระดับวิปัสสนา แท้จริงแล้ว สมถะ วิปัสสนา วิราคะ จะร้อยเรียงผสานกันหมุนวนไปตลอดทางบรรลุธรรม พอเราพบกัลยาณมิตร เกิดความเข้าใจสนใจ (วิปัสสนา) ศรัทธาในธรรม (สมถะ) แรกเริ่มเกิดขึ้นแล้ว

@@@@@@@

จากนั้นวิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ เรื่องความดีที่ไม่ดีจริง ความดีที่ดีจริง แล้วมองภาพรวมอริยสัจ วิปัสสนาเบื้องต้นบังเกิดแล้ว ถึงจะเบื้องต้น แต่สัมมาทิฎฐิเป็นประธานแห่งมรรค เพราะหากไม่มีสัมมาทิฏฐิ มรรคตัวอื่น ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น และสัมมาทิฏฐิจะประคองการหมุนธรรมจักรให้ดำเนินไปตลอดทาง จึงเป็นประธานแห่งมรรค

จากนั้น สัมมาดำริ ตั้งใจออกจากกามและการเบียดเบียน ลดกิจกรรมบาปออกจากชีวิตมากมาย ตรงนี้ได้ทั้งศีล ชีวิตสมถะ และวิปัสสนาเลือกเฟ้น อะไรควรเก็บไว้ อะไรควรเอาออกไปจากสารบบชีวิตเด็ดขาด (วิราคะ)

จากนั้น สัมมาวาจา ทั้งให้สัญญากับตัวเอง ว่านี่เป็นมาตรฐานของเรา ทั้งประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องรู้ เขาจะได้เคารพสิทธิ์ของเรา ทั้งขัดเกลาวาจาว่าจะไม่โกหก ไม่ส่อเสียดให้ใครเกลียดกัน ไม่หยาบคาย ไม่เพ้อเจ้อ ได้ทั้งศีล สัมปชัญญะกำกับตัวเอง วิปัสสนาเลือกเฟ้นถ้อยคำที่เหมาะสม วิราคะถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม ทำได้ก็ได้สมถะในใจ สมถะในความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์จะดีขึ้นทันตาเห็น

จากนั้น สัมมากัมมันตะ จัดมาตรฐานพฤติกรรมใหม่ ไม่ฆ่าชีวิตอื่น ไม่ลัก ไม่ยักยอก ไม่ฉกฉ้อทรัพย์ของใคร ไม่ประพฤติผิดในกาม ได้ทั้งศีล สัมปชัญญะกำกับตัวเอง วิปัสสนาเลือกเฟ้นการกระทำที่เหมาะสม กล้าปฏิเสธสิ่งที่ไม่เหมาะสม (วิราคะ) ทำได้ก็ได้สมถะในใจ สมถะในความสัมพันธ์ ชีวิตและโอกาสการงานจะดีขึ้นมาก

จากนั้น สัมมาอาชีวะ จัดมาตรฐานอาชีพเพื่อการดำรงอยู่ใหม่ อาชีพใดทำแล้วเป็นกุศล ไร้บาป จึงทำ หากมีบาปปนแม้เล็กน้อย ไม่ทำ แม้ระหว่างประกอบกิจการ ก็ใช้กลยุทธ์ที่เป็นกุศลเท่านั้น กลยุทธ์บาปไม่ทำ ตรงนี้ต้องใช้วิปัสสนามาก และอธิโมกข์กล้าตัดสินใจวิราคะจนเป็นธรรมต่อ stakeholder ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาก จนได้ Trust ความเชื่อถือได้ทางอาชีพสูง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จทุกวิชาชีพ จะทำให้ทำน้อยแต่ได้ผลมาก ไม่ต้องทำมากแต่ได้ผลน้อยเหมือนเก่าก่อน ได้ธุรกิจสมถะ ทีมงานสมถะ (มีแต่คนที่ใช่) ชีวิตสมถะอีกมากโข




จากนั้น สัมมาวายามะ เมื่อสะอาดพอควรแล้วจะเริ่มเห็นผลบุญผลบาปชัด ก็เพียรชอบ
    ๑) ในการป้องกันบาปที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
    ๒) เพียรขจัดบาปแม้เล็กน้อยที่หลงเหลืออยู่ออกไป
    ๓) เพียรเจริญบุญที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    ๔) เพียรรักษาบุญที่เกิดขึ้นแล้วให้งอกงามภิญโญ เป็นการขัดใสชีวิตจิตใจในทุกระบบ ใช้ทั้งวิปัสสนา วิราคะ และสมถะยินดีในสิ่งที่ประเสริฐกว่า สัมมาวายามะนี้จะเป็นหัวหน้าระบบ Quality Control คุณภาพคุณธรรมตลอดทางแห่งมรรค

จากนั้น สัมมาสติ ปฏิบัติมาถึงตรงนี้แล้ว สติเริ่มอยู่กับเนื้อกับตัวมั่นคงมากขึ้น ก็พิจารณา (วิปัสสนา)
    ๑) กายในกายภายใน (ตน) กายในกายภายนอก (คนอื่น) จนเห็นเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไปตลอดชีวิต จึงวิราคะ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ได้จิตที่สมถะตั้งมั่น สติเต็มอยู่ภายใน (mindfulness)
    ๒) เวทนาในเวทนาภายใน (ตน) เวทนาในเวทนาภายนอก (คนอื่น) จนเห็นเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไปตลอดชีวิต จึงวิราคะ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ได้จิตที่สมถะตั้งมั่น สติเต็มอยู่ภายใน (mindfulness)
    ๓) จิตในจิตภายใน (ตน) จิตในจิตภายนอก (คนอื่น) จนเห็นเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไปตลอดชีวิต จึงวิราคะ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ได้จิตที่สมถะตั้งมั่น สติเต็มอยู่ภายใน (mindfulness)
    ๔) ธรรมในธรรมภายใน (ตน) ธรรมในธรรมภายนอก (คนอื่น) จนเห็นเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไปตลอดชีวิต จึงวิราคะ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ได้จิตที่สมถะตั้งมั่น สติเต็มอยู่ภายใน (mindfulness)

สัมมาสตินี้เป็นหัวหน้าในการรักษาจิต ทำหน้าที่กั้นกระแสไม่ให้ไหลไปภายนอก ป้องกันกระแสภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนภายใน ทรงสติเต็มตื่นรู้อยู่ภายใน (mindfulness) ไปตลอดทางแห่งมรรค

จากนั้น สัมมาสมาธิ เมื่อมีสติดีแล้วจึงเข้าสมาธิได้ หากสติยังไม่ดีจะเข้าสมาธิไม่ได้ ได้แค่สมากระท่อนกระแท่น เข้าได้แล้วก็ปฏิบัติการสมาธิ อันคือกระบวนการลอกขันธ์
    ก่อนเข้าฌาน ๑ ลอกกามฉันทะ พยาบาท ฟุ้งซ่าน หดหู่ ลังเลสงสัยออก
    ฌาน ๑ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา (สติตั้งมั่นเป็นหนึ่ง)
    ฌาน ๒ ลอกวิตก วิจารออก เหลือแต่ปีติ สุข เอกัคคตา
    ฌาน ๓ ลอกปีติออก เหลือแต่สุข เอกัคคตา และอุเบกขา
    ฌาน ๔ ลอกสุขออก เหลือแต่อุเบกขา และสติบริสุทธิ์อยู่
    ธรรมชาติของสติเริ่มบริสุทธ์ตั้งแต่ฌาน ๔ เป็นต้นไป




ในฌาน ๔ นี้ พระพุทธเจ้าให้วิปัสสนาในฌานเลย ด้วยการใช้สติบริสุทธิ์กอปรอุเบกขา ส่องดูความเป็นจริงแห่งอดีตชาติ เรียก บุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้ววิปัสสนาว่า ตนมีวิวัฒนาการความเป็นมาอย่างไร แต่ละชาติเป็นอย่างไร เกิดตระกูลใด คุณสมบัติเด่นอะไร คุณสมบัติด้อยอะไร ชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร ผลสุดท้ายก่อนตายเป็นทุกข์หรือเป็นสุข จากนั้นไปเกิดที่ไหนต่อ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จนเห็นชัดว่าชาติไม่เที่ยง เกิดทุกชาติทุกข์ทุกชาติ แม้เกิดในชาติที่อายุขัยสูง ๆ ชีวิตแสนสุขสบาย ก็จะทุกข์เพราะโรคหิวและโรคตาย

ต่อไปทรงสอนให้วิปัสสนากลไกกรรมกำกับความเป็นไปของสัตว์โลก เรียก จุตูปปาตญาณ เราก็ตาม ใครก็ตาม ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน ทำกรรมใดแล้วได้ผลเป็นอย่างไร ทั้งกรรมดีโดยเจตนา กรรมดีโดยไม่เจตนา กรรมชั่วด้วยเจตนาเบียดเบียน กรรมชั่วด้วยอารมณ์ฉันทราคะ กรรมชั่วด้วยอารมณ์ปฏิฆะ กรรมประมาทเลินเล่อ กรรมทั้งดีทั้งชั่วแอบแฝงปนกันอยู่ จะเห็นชัดซึ่งข่ายใยกรรมที่ครอบงำสัตว์โลกยั้วเยี้ยเหลือประมาณ เป็น matrix ทิพย์ของแท้ จนปรารถนาจะออกจากสังกะตังแห่งกรรมสู่อิสรภาพ

ต่อไปทรงสอนให้วิปัสสนาดับพลังผูกมัดไว้ใน matix กรรม และภพชาติอันเป็นไปตามกรรม เรียก อาสวักขยญาณ คือ
    ๑. ดับกามาสวะ (สายสวะผูกมัดคือกาม)
    ๒. ดับทิฏฐาสวะ (สายสวะผูกมัดคือความคิดเห็น)
    ๓. ดับภวาสวะ (สายสวะผูกมัดคือความเป็น)
    ๔. ดับอวิชชาสวะ (สายสวะผูกมัดคืออวิชชา ไม่รู้อดีต อนาคต และทั้งสอง ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่รู้อริยสัจ) การรู้อริยสัจตั้งแต่ในสัมมาทิฏฐิจะมาแจ่มกระจ่างแจ้งด้วยญาณนี้
    ดับอาสวะสี่พลังพันธนาการนี้ได้ ก็บรรลุธรรม สำเร็จอรหันต์เลย หากยังดับไม่สนิทสิ้นเชื้อ ไม่ถึงอรหันต์ ก็จักพึงถึงอนาคามี ก็ลอกขันธ์ต่อไป


@@@@@@@

ฌาน ๕ ลอกรูปสัญญาและนานัตตสัญญาออก เหลือแต่ธาตุว่าง เรียก อากาสานัญจายตนะ ในชั้นนี้ วิปัสสนาอนัตตา แล้ววิราคะตรง ๆ 

ฌาน ๖ ลอกอากาสานัญจายตนะออก เหลือแต่วิญญาณธาตุ เป็นธาตุธรรมชาติยิบสว่างรู้ที่ใจ เรียก วิญญาณัญจายตนะ ในชั้นนี้ วิปัสสนาอนัตตา แล้ววิราคะตรง ๆ

ฌาน ๗ ลอกวิญญาณัญจายตนะออก เหลือแต่อากิญจัญญายตนะธาตุ เป็นธาตุไร้เวิ้งว้าง เรียก อากิญจัญญายตนะ ในชั้นนี้ วิปัสสนาอนัตตา แล้ววิราคะตรง ๆ

ฌาน ๘ ลอกอากิญจัญญายตนะออก เหลือแต่เนวสัญญานาสัญญายตนะธาตุ เป็นธาตุสงัดที่แม้มีสัญญาอยู่คู่กับอทุกขมสุขเวทนาประณีต แต่ทั้งสัญญาและเวทนาสงบระงับไม่ทำงานอยู่ (สังขารระงับเพราะปัจจัยตัวปรุงสังขารทั้งสองสงบ) เรียก เนวสัญญานาสัญญายตนะ ในชั้นนี้วิปัสสนาไม่ได้ ไม่บรรลุธรรม แต่เป็นสะพานสู่สภาวะต่อไปที่บรรลุธรรมชั้นยอดได้

ฌาน ๙ ดับซากสัญญาและเวทนาแสนสงบที่เหลือหมด เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ รู้แต่ภายใน ไม่รู้อะไรภายนอกเลย ผู้ที่จะได้ฌานนี้ต้องได้อนาคามีจิต และเป็นที่ที่พระอรหันต์นิยมพักลึกกันในสภาวะนี้ 

พระอนาคามีที่ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์สำเร็จอรหันต์เลย เพราะทะลุปรุโปร่งนิโรธจนสุดแล้ว ท่านที่ไม่สำเร็จอรหันต์อาจเป็นเพียงเพราะติดอธิษฐานแห่งธรรมกิจอย่างใดอย่างหนึ่งไว้

ส่วนพระอนาคามีที่ไม่ได้เข้านิโรธ ส่วนใหญ่เพราะปฏิบัติเพลิน ลืมตรวจสอบสภาวะ จึงไม่รู้ว่าตนสำเร็จอนาคามีแล้ว จึงไม่ได้ใช้สิทธิ์อันควร เมื่อละสังขารก็จะไปอยู่ปฏิบัติต่อด้วยกันกับพระอนาคามีรุ่นพี่ที่สุทธาวาสพรหม และสำเร็จอรหันต์ในชั้นนั้นเลย





สรุป

สมถะ วิปัสสนา วิราคะ จะใช้ร้อยเรียงหมุนธรรมจักรไปด้วยกันตลอดทางแห่งการบรรลุธรรม ไม่มีแยกจากกัน มีแต่บริบูรณ์ขึ้น สมถะลึกขึ้น วิปัสสนาสัจจะได้ใหญ่ขึ้น วิราคะเด็ดขาดมากขึ้น บรรลุธรรมสูงขึ้น เท่านั้น

    อนึ่ง มรรคทุกขั้นมีผู้บรรลุธรรมได้หมด เช่น
    - ท่านพระอัญญาโกณทัญญะบรรลุโสดาบันในสัมมาทิฏฐิมรรค
    - พระเจ้าสุทโธทนะบรรลุโสดาบันในสัมมาดำริมรรค
    - เจ้าอาวาสท่านหนึ่งรู้มากแต่ปากไม่ดี ศิษย์หนีหมด มากราบพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงให้เจริญสัมมาวาจาด้วยเมตตา ศิษย์หลั่งไหลมามาก ท่านก็ปฏิบัติเคร่งครัดจนบรรลุธรรมในสัมมาวาจามรรค
    - ท่านองค์คุลีมาลบรรลุโสดาบันในสัมมากัมมันตะมรรค
    - ท่านจิตตคฤหบดีบรรลุถึงอนาคามีในสัมมาอาชีวะมรรค รักษาอุโบสถเคร่งครัด ปฏิบัติธรรมต่อเนื่อง ทำธุรกิจการค้าด้วย ศึกษาธรรมด้วย แบ่งปันธรรมด้วย
    - ท่านพระราหุลบรรลุอริยผลโดยลำดับหลายปีโดยมีสัมมาวายามะมรรคเป็นแกน
    - ชาวกุรุบรรลุอริยธรรมกันหลายระดับด้วยสัมมาสติมรรค

พระอรหันต์ส่วนใหญ่สมัยพุทธกาลบรรลุอริยสภาวะธรรมด้วยวิปัสสนาและวิราคะในสัมมาสมาธิ การบรรลุอรหันตธรรมทั้งหมดไม่ว่าด้วยมรรคใด ล้วนบรรลุในสมาธิฌานใดฌานหนึ่งเป็นฐานทั้งสิ้น การบรรลุอรหัตตผลนอกฌานไม่มี (อัฏฐกนาครสูตร)


@@@@@@@

โอกาสบรรลุธรรมมีมากมายเหลือเกิน ถ้าไม่บล็อกจิตว่าการบรรลุธรรมเป็นเรื่องยาก แล้วดูโลกแห่งการบรรลุธรรมจริง จะพบว่าเป็นเรื่องง่าย

    การบรรลุธรรมยากสำหรับสองพวก คือ
    ๑) พวกที่คิดว่ายาก ต้องพลิกจิตจากความเห็นเข้าสู่ความจริงก่อน จึงจะบรรลุได้
    ๒) พวกที่ติดกรรมมหาโจรห้า ต้องแก้ไขแบบพลิกพฤติกรรมเป็นตรงข้ามแบบเอกอุก่อน จึงจะบรรลุได้

    การบรรลุธรรมเป็นไปไม่ได้สำหรับสองพวกเท่านั้น คือ
    ๑) พวกอาภัพไม่มีโอกาสได้ฟังอริยสัจเลยจนตายไปก่อน
    ๒) พวกทำอนันตริยกรรม ๕ นอกนั้นบรรลุธรรมได้หมด

พระผู้มีพระภาคทรงสอนว่า การบรรลุธรรมที่ปฏิบัติง่ายสำเร็จเร็วจะปรากฏขึ้นเมื่อบุคคลประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ
    ๑. ปฏิบัติธรรมแม่น ตรงสู่ผล (ไม่ปฏิบัติเอามันส์ หรือเอาโชว์)
    ๒. ปฏิบัติธรรมเหมาะกับสภาวะของตน (ไม่พยายามก๊อบปี้ท่านอื่น)

รู้อริยสัจแล้ว ปฏิบัติให้ได้อริยผลกันนะ อย่าให้เสียชาติเกิดไปฟรี ๆ ใครยังไม่เข้าอริยผลเต็มตัว ชาติหน้าจะไม่ได้เจอสังคมอย่างนี้อีกแล้ว

 

 


ขอขอบคุณ :-
ภาพ : pinterest
ที่มา : https://uttayarndham.org/dhamma-sharing/6569/จะต้องเข้าฌานสี่ก่อนแล้วจึงวิปัสสนาใช่ไหม
15 May 2023
26  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระพุทธเจ้าแนะวิธีถอนคุณไสย เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 05:52:06 am
.



พระพุทธเจ้าแนะวิธีถอนคุณไสย

เรื่องของคุณไสยใครว่าไม่มีจริง.. คุณไสย ไม่ใช่แค่ความเชื่อแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงคู่โลกใบนี้.. ใครหลายคนอาจเคยได้ยินได้ฟังแบบเป็นแค่เรื่องเล่า เขาว่ากันว่าบางคนก็อาจไม่เชื่อด้วยซ้ำว่าเรื่องคุณไสยสามารถให้คุณให้โทษต่อมนุษย์ได้

คุณไสย เกิดจากอำนาจพลังสมาธิชั้นสูงของผู้ที่ปฏิบัติแล้วได้ฌาน เพียงแต่ว่าผู้ปฏิบัติท่านนั้นเอาสมาธิที่ได้ใฝ่ไปทาง มิจฉาสมาธิ อันหมายถึง มิใช่สมาธิที่เพื่อจะไปต่อยอดให้เป็นสัมมาสมาธิอย่างที่พระพุทธเจ้าสอน

ดังนั้นอำนาจพลังสมาธิที่เกิดจากมิจฉาสมาธิจึงมีมากไม่แพ้ กับพลัง สมาธิแบบสัมมาสมาธิ ดังนั้นผู้ที่ฝ่ายไปทางด้านคุณไสยเมื่อปฏิบัติสมาธิได้ลึกจนถึงเข้าฌาน ก็สามารถบันดาลดลสิ่งต่างๆให้เกิดพลังงานแฝง แล้วส่งไปสู่ผู้คนได้ อาทิ ลมเพลมพัด หรือ แม้แต่เรื่องคุณไสยเสน่ห์ยาแฝด

ในยุค พ.ศ. 2460 ผู้ที่ได้ฌานระดับลึกๆ แต่เป็นมิจฉาสมาธิค่อนข้างมีมากโดยเฉพาะบุคคลที่เป็นฆราวาสเพื่อทำคุณไสย ก็ทำให้ใครหลายคน อาจจะได้รับรู้ข้อมูลผ่านภาพยนตร์เป็นต้น แม้แต่สายพระเกจิคณาจารย์ ที่ปลุกเสกเลขยันต์ นั่นก็ยังเป็นมิจฉาสมาธิรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่พึงอาศัยพลังงานเข้าไปสถิตในวัตถุต่างๆ ที่เราเรียกว่าวัตถุมงคล นั่นก็มิใช่สัมมาสมาธิตามที่พระพุทธเจ้าสอนเช่นกัน เพียงแต่เพิ่งหวังผลลัพธ์ไปในทางที่เป็นคุณเป็นกุศล มากกว่าการเป็นลบ

@@@@@@@

พระภิกษุในครั้งพุทธกาล บางรูปก็งดงาม และทำให้สีกาทั้งหลายเห็นก็พึงปรารถนาที่จะได้มาเป็นคู่ครอง ยิ่งสังคมอินเดียสมัยก่อน ผู้หญิงจะต้องเป็นผู้ไปสู่ขอผู้ชาย เพื่อแต่งงานอยู่กินด้วยซ้ำ ดูเหมือนผู้หญิงจึงชื่นชอบผู้ใดถ้าไม่ได้เล่ห์ก็ใช้กลอยู่เสมอ

คราวหนึ่งพระภิกษุรูปงาม รูปหนึ่งป่วย เป็นไข้อย่างรุนแรง เพราะถูกเสน่ห์ยาแฝดซึ่งเป็นคุณไสยชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผลค่อนข้างแรงมากขนาดเป็นพระภิกษุก็แทบจะเอาตัวไม่รอดเช่นเดียวกันแต่ก็ต้องเข้าใจว่าพระภิกษุธรรมดาๆ ก็คือมนุษย์ หนึ่งคนนั่นเอง ที่น้อมตัวเองเข้าไปศึกษาธรรมะ

เพื่อนพระภิกษุด้วยกันจึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลว่ามีพระภิกษุที่เป็นสหธรรมิก โดนคุณไสยมีอาการกระสับกระส่าย ป่วยอย่างรุนแรง พระพุทธเจ้า จึงแนะนำ วิธีการแก้คุณไสยนั้น ดังนี้

    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ดื่มน้ำละลายดินรอยไถติดผาล"

        ความนี้ปรากฏในพระไตรปิฏก วินัยปิฏกเล่ม ๕ มหาวรรค ภาค๒


@@@@@@@

นี่คือ วิธีการแก้คุณไสยประเภทเสน่ห์ยาแฝด คำว่าดินรอยไถติดผาล ก็คือ ดินที่อยู่ใต้รอยไถนั่นเอง ทีนี้การที่จะนำดินชนิดนี้ไปละลายน้ำดื่ม ไม่ใช่หยิบไปเป็นก้อน แต่ให้หยิบ ดินใต้รอยไถนั้น ที่ติดผาลแค่เพียงเศษๆ อาจจะหยิบมาแค่ปลายเล็บจิกก็ได้ แล้วนำเอามาละลายน้ำ ก่อนดื่มก็ให้ระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ แล้วดื่ม ทำครั้งแรกอาจดื่มแล้วยังไม่หายดี ก็ให้ดื่มหลายๆ ครั้ง แต่ไม่เกินสามครั้งดีแน่

นี่คือ วิธีที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าและปรากฏในพระไตรปิฎก ถ้าเราคิดแบบปราชญ์ชาวบ้านนั้น แปลความได้ว่า "ผาล" เป็นตัวพลิกหน้าดินที่เดินไถไป ผาลพลิกหน้าดินก็คล้ายการพลิกชีวิตนั่นแล จากที่ไม่ดีให้ดีขึ้น

ใครที่เคารพนับถือพระพุทธเจ้า แล้วถ้าเกิดทราบว่ามีผู้ใดใครที่โดนคุณไสยในลักษณะต่างๆ ก็ลองนำเอาวิธีนี้ไปใช้ อาจจะทำให้ชีวิตของเขาพลิกเปลี่ยนดีขึ้น แต่อย่าลืมทุกครั้งที่ นำไปทำให้น้อมระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า เพราะนี่เป็นวิธีที่พระองค์ท่านแนะนำ






Thank to : https://www.thansettakij.com/blogs/lifestyle/horoscope/591338
21 มีนาคม 2567 | พระพุทธเจ้าแนะวิธีถอนคุณไสย | คอลัมน์ ทำมา ธรรมะ โดย ราชรามัญ
27  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เหตุให้เกิดสุขและทุกข์ เมื่อ: มีนาคม 20, 2024, 08:28:17 am
.



อะไรเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.?

สุขสูตรที่ ๑. ว่าด้วย : เหตุให้เกิดสุขและทุกข์
เหตุการณ์ : ปริพาชกชื่อสามัณฑกาณิถามท่านพระสารีบุตรว่า อะไรเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.?

พระสารีบุตรตอบปริพาชกชื่อสามัณฑกาณิว่า "การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การไม่เกิดเป็นเหตุให้เกิดสุข"

เมื่อมีการเกิด เป็นอันหวังได้ทุกข์นี้ คือ ความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย อุจจาระ ปัสสาวะ สัมผัสไฟ สัมผัสท่อนไม้ สัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกัน ย่อมโกรธเคืองเขา

เมื่อไม่มีการเกิด เป็นอันหวังได้สุขนี้ คือ ความไม่หนาว ความไม่ร้อน ความไม่หิว ความไม่ระหาย ไม่ต้องอุจจาระ ไม่ต้องปัสสาวะ ไม่ต้องสัมผัสไฟ ไม่ต้องสัมผัสท่อนไม้ ไม่ต้องสัมผัสศาตรา ญาติก็ดี มิตรก็ดี มาประชุมพร้อมกัน ย่อมไม่โกรธเคืองเขา

อ่านฉบับเต็ม สุขสูตร ๑





ขอบคุณ : https://uttayarndham.org/node/3738
อ้างอิง : สุขสูตร ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง เล่มที่ ๒๔ ข้อที่ ๖๕ หน้า ๑๐๙
ภาพ : https://uttayarndham.org/dhama-daily
28  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ผีนัต กับศาสนาของผู้หญิงในพม่า เมื่อ: มีนาคม 20, 2024, 07:21:34 am
.

"พระอินทร์" หัวหน้าแห่งเหล่าผีนัท ณ เจดีย์ชเวดากอง เมียนมาร์ //David Clay


ผีนัต กับศาสนาของผู้หญิงในพม่า

“นัต” คือผีที่ตายร้าย ตายโหง แล้วกลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ตามศาสนาผีพื้นเมืองดั้งเดิมของพม่า

นัตจึงเป็นกึ่งเทพกึ่งผี แต่มีฐานะสูงกว่าผีทั่วไป การถือผีนัตก็เช่นเดียวกับพุทธศาสนา เป็นระบบความเชื่อที่ซับซ้อน มีพิธีกรรมการปฏิบัติ และการดูแลตั้งแต่ระดับของครัวเรือนไปจนถึงที่สาธารณะ แถมเรายังสามารถเห็นผีนัตไปโชว์ตัวอยู่ในวัดของพุทธศาสนาได้เป็นเรื่องปกติในพม่าอีกด้วย

ในทางทฤษฎีถือว่าประเพณีการนับถือผีนัตมีปรากฏอยู่เฉพาะในประเทศพม่าเท่านั้น ส่วนทางปฏิบัติทัวร์คนไทยเวลาไปเที่ยวพม่า ต่างก็นิยมพากันไปเช่าผีนัตอย่าง “เทพทันใจ” มาบูชากันจนเทพทันใจต้องมาเปิดแฟรนไชส์ในวัดไทยหลายแห่งกันเลยทีเดียว

แต่กว่าที่ผีนัตจะเข้ามาอยู่ในปริมณฑลของพระพุทธศาสนาของพม่าได้นั้น ก็ใช้เวลานานอย่างน้อยก็เฉียดๆ จะพันปีเลยทีเดียวนะครับ

เรื่องของเรื่องนั้นเริ่มมาจากครั้งที่พระเจ้าอโนรธา แห่งดินแดนเจดีย์ 5,000 องค์อย่างพุกาม จะนำศาสนาพุทธเข้ามาประดิษฐานในอาณาจักรของพระองค์ เมื่อราวๆ เรือน พ.ศ.1500 ระบบความเชื่อแบบใหม่ในพระพุทธศาสนาต้องปะทะเข้ากับระบบความเชื่อแบบเก่า คือระบบผีนัต อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะเมื่อแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีนัตประจำเป็นของตนเอง ก็ยิ่งทำให้เรื่องดูยุ่งยากขึ้น

และวิธีจัดการกับปัญหาที่ดังกล่าว ที่พระเจ้าอโนรธาทรงเลือกที่จะกระทำก็คือ “การจัดระเบียบผีนัต”


@@@@@@@

ตำนานเล่าว่า พระเจ้าอโนรธาทรงรวบรวมผีนัตในแต่ละท้องถิ่นรวมทั้งสิ้น 32 ตน จากนั้นจึงทรงแต่งตั้ง “ท้าวสักกะ” ขึ้นเป็นหัวหน้าของนัตทั้ง 32 ตนนั้น เรียกได้ว่าเป็นนัตทั้ง (32+1 รวมเป็น) 33 ตนนี้เป็น “ผี” ที่ได้การรับรอง และสถาปนาขึ้นโดยรัฐ

แต่นัตทั้ง 33 ตนที่พระเจ้าอโนรธาสถาปนาขึ้นมานี้ ก็อาจจะไม่ใช่นัตตนเดียวหรือกลุ่มเดียวกับชาวพม่านับถือในปัจจุบัน เช่นเดียวกันกับที่นัตทั้ง 33 ตนนี้ ก็อาจจะไม่ใช่ผีที่ชาวพม่าในยุคก่อนพระเจ้าอโนรธานับถือด้วยเช่นกัน

เพราะอย่างน้อยที่สุด หัวหน้าคณะผีนัตคือ “ท้าวสักกะ” ก็เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธมาก่อน

ตามข้อมูลในวรรณคดีฝ่ายพุทธศาสนาเถรวาท “ท้าวสักกะ” คือชื่อหนึ่งของ “พระอินทร์” เทพเจ้าองค์สำคัญในพุทธศาสนา โดยนัยยะหนึ่ง พระเจ้าอโนรธาจึงใช้ศาสนาพุทธในการควบคุมผี เพราะนอกจากพระองค์จะทรงมอบหมายให้ ท้าวสักกะเป็นหัวหน้าของคณะผีนัตทั้งหลายแล้ว ยังเชื่อกันว่าจำนวน 33 ตนนั้น ก็ได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดเรื่องภพภูมิ หรือจักรวาลวิทยาจากอินเดีย เพราะสวรรค์ของพระอินทร์ คือสวรรค์ชั้นที่เรียกว่า “ดาวดึงส์” นั้นเป็นที่ประทับของพระอินทร์ และเทพเจ้าอีก 32 พระองค์ รวมเป็น 33 นั่นเอง

และก็โดยนัยยะหนึ่งอีกเช่นกัน การสถาปนานัตทั้ง 33 ตน ของพระเจ้าอโนรธา จึงเปรียบได้กับการควบคุมอำนาจของกลุ่มเมือง หรือสังคมต่างๆ ที่มีมาแต่เดิม ผ่านทางความเชื่อ เพราะแต่ละท้องถิ่นต่างก็มีนัตประจำเป็นของตนเอง

และแน่นอนด้วยว่า กระบวนการสถาปนาในครั้งนั้น ย่อมมีทั้งการคัดเลือก ตัดทอน หรือแม้กระทั่งสร้างนัตขึ้นมาใหม่ (ในทำนองเดียวกับที่ ท้าวสักกะ ไม่ใช่นัตพื้นเมืองของพม่ามาแต่เดิม)

@@@@@@@

โครงข่ายของนัตที่ต่างก็ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งของอำนาจที่ถูกสถาปนาไว้ภายใต้ท้าวสักกะทั้งหลาย จึงเปรียบได้ไม่ต่างกับปริมณฑลภายใต้อำนาจเมืองพุกาม ที่มีพระเจ้าอโนรธาเป็นผู้นำ โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงความเชื่อในพุทธศาสนาที่ว่า พระอินทร์ หรือท้าวสักกะ คือราชาเหนือเทวดาทั้งปวงแล้ว ปริมณฑลของพระราชอำนาจในพระเจ้าอโนรธา ก็คงจะไม่ต่างไปจากอำนาจของท้าวสักกะที่มีต่อผีนัตอีกทั้ง 32 ตนเท่าไรนัก

กษัตริย์พม่าหลายพระองค์ที่ครองราชย์ต่อมาจากพระเจ้าอโนรธา นับตั้งแต่ราชวงศ์พุกามเรื่อยมาจนถึงราชวงศ์คองบอง (ราชวงศ์คองบองมีอำนาจอยู่ระหว่าง พ.ศ.2295-2428) ต่างก็ทรงพยายามจำกัดขอบเขตของความเชื่อ ความศรัทธา และพิธีกรรมบูชานัต เพื่อให้ประชาชนหันไปให้ความสำคัญกับพุทธศาสนามากขึ้นมาโดยตลอด

จึงไม่น่าประหลาดใจเท่าไหร่นัก ที่รายชื่อของนัตที่ถูกสถาปนาจะไม่ต้องตรงกันทุกสมัย เพราะปริมณฑลในเครือข่ายอำนาจสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดนั่นเอง

ดังนั้น เมื่อผีนัตได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในปริมณฑลจักรวาลของพุทธศาสนาแบบพม่าอย่างนี้แล้ว ก็จึงไม่ได้รับการยอมรับอย่างเท่าเทียมกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาพุทธหรอกนะครับ

ข้อมูลจากการสำรวจภาคสนามเมื่อระหว่างปี พ.ศ.2504-2505 ของนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันคนหนึ่งที่ชื่อ เมลฟอร์ด สไปโร (Melford Spiro, พ.ศ.2463-2556) กระทำการสำรวจความเชื่อเรื่อง “ผีนัต” ในชุมชนชนบทที่ห่างไปออกไปทางตอนเหนือราว 10 ไมล์ จากเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า

พบสิ่งที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเลยว่า ในชุมชนแห่งนั้นมีผู้ชายเกือบครึ่งหนึ่งที่ไม่เชื่อผีนัต

@@@@@@@

ในขณะที่ผู้หญิงทั้งชุมชนเชื่ออย่างเอาเป็นเอาตาย ทั้งชายและหญิงต่างก็ยอมรับว่า ผู้หญิงจะเกี่ยวข้องกับการนับถือผีนัตมากกว่า กลัวมากกว่า และประกอบพิธีกรรมมากกว่าผู้ชาย

สไปโรยังพบด้วยว่า ผีนัตประจำหมู่บ้านมักจะผู้หญิงเป็นผู้ดูแล และมีผู้หญิงทั้งหมู่บ้านมาร่วมประกอบพิธีกรรม คนทรงก็เป็นผู้หญิงเกือบทั้งหมด ผู้หญิงมักมาบนบานต่อผีนัตในขณะที่ผู้ชายมักจะไม่เชื่อ

ในพิธีฉลองผีนัตทุกบ้านจะเอาของมาถวายหรือเซ่นผีนัตทั้งที่สืบสายมาทางแม่ และทางพ่อ แต่ถ้าหากพ่อแม่ถือผีนัตคนละตนกันก็มักจะเลือกสืบสายทางแม่มากกว่า

ผู้หญิงจึงมีหน้าที่ต้องจัดหาอาหารมาถวายผี ส่วนผู้ชายจะเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธเต็มตัวอย่างเห็นได้ชัด แถมมักจะเลิกนับถือผีนัตไปเลยกันอยู่บ่อยๆ ลักษณะอย่างนี้ของชุมชนดังกล่าว ยังสามารถเป็นภาพแสดงแทนของชุมชนชาวพม่าได้เกือบทั้งประเทศ เพราะชุมชนไหนๆ ในประเทศพม่าก็มักจะเป็นอย่างนี้นั่นเอง

พูดง่ายๆ อีกทีก็ได้ว่า สำหรับกรณีของพม่าแล้ว “ผีนัต” เป็นศาสนาของ “ผู้หญิง” ในขณะที่ “พุทธ” เป็นศาสนาของ “ผู้ชาย”

นิยามของคำว่า ศาสนา ในยุคสมัยใหม่ (modernity) ทำให้ในปัจจุบันชาวพม่าถือว่า “ผีนัต” ไม่ใช่ “ศาสนา” แต่ในความเป็นจริงผีนัตก็เป็นระบบความเชื่อหนึ่งเช่นเดียวกับศาสนาพุทธ ซ้ำยังมีความขัดแย้งกันเล็กน้อยระหว่างทั้งสองความเชื่อนี้ เพราะในขณะที่พุทธศาสนายอมรับการมีอยู่ของภูติผีปีศาจ ดังจะเห็นได้จากเรื่องเล่าในทำนองที่เป็นนิทานชาดก หรือพุทธประวัติจำนวนมาก แต่ในทางปฏิบัติกลับปฏิเสธอำนาจของผีมันเสียอย่างนั้น

@@@@@@@

ทั้งศาสนาพุทธและการนับถือผีนัตต่างก็มีอิทธิพลต่อวิถีการดำรงชีวิตของชาวพม่าอย่างลึกซึ้ง และถึงฝ่ายหนึ่งจะถูกกดให้บี้แบนเสียจนมีสถานภาพที่ไม่เท่าเทียมกัน ดังจะเห็นได้จากการที่พุทธศาสนาถูกมองว่ามีอำนาจเหนือกว่า ในขณะที่การถือผีนัตไม่ถูกนับว่าเป็นศาสนาเสียด้วยซ้ำไป พระสงฆ์ซึ่งเป็นเพศชายได้รับการยกย่อง ต่างจากคนทรงที่มักเป็นผู้หญิงจะถูกดูถูกและเหยียดหยามว่างมงายไร้สาระ สถานภาพที่สูงส่งกว่าของศาสนาพุทธ

ทำให้น่าสงสัยว่า ทำไมการถือผีนัตจึงยังเจริญอยู่ในพม่าตราบจนกระทั่งทุกวันนี้?

ที่เป็นอย่างนี้ นักมานุษยวิทยาเขาอธิบายกันไว้ว่าเป็นเพราะ การถือผีนัตอยู่ในอาณาบริเวณของการควบคุมดูแลของ “ผู้หญิง” ที่อยู่ตรงข้ามกับพื้นที่ของ “ผู้ชาย” ในพระพุทธศาสนา โดยนักมานุษยวิทยาชื่อดัง แถมยังป๊อบปูลาร์อย่าง คลิฟฟอร์ด เกียร์ซ (Clifford Geertz, พ.ศ.2469-2549) เคยอธิบายถึงกรณีอย่างนี้ในอุษาคเนย์เอาไว้ว่า

“ปิตาธิปไตย จากศาสนาที่รับจากภายนอก…ไม่สามารถเอาชนะระบบการสืบสกุลทั้งสองฝ่ายของประชากรส่วนใหญ่ในอาณาบริเวณนี้ได้ เนื่องจากศาสนาใหม่เหล่านั้น ถูกเลือกรับเข้ามาเป็นองค์ประกอบที่บรรลุเพียงความชอบธรรมในเชิงพิธีกรรม และสัญลักษณ์ท่ามกลางการถือผีที่มีปัจเจกเป็นศูนย์กลางเท่านั้น”

การถือผีและการทรงเจ้าที่มีบทบาทอย่างต่อเนื่องท่ามกลางการครอบงำของศาสนาพุทธ ฮินดู และอิสลาม ในทุกกลุ่มสังคมวัฒนธรรมของอุษาคเนย์ล้วนสนับสนุนคำอธิบายของเกียร์ซ ศาสนาดั้งเดิมจึงมีส่วนถ่วงดุลอำนาจระหว่างชายกับหญิง และเปิดช่องว่างให้มีความเป็นอิสระของบุคคลในชีวิตประจำวันนั่นเอง •


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 15-21 มีนาคม 2567
คอลัมน์ : On History
ผู้เขียน : ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2567
website : https://www.matichonweekly.com/column/article_753554
29  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การชี้นิ้วของ “นัตโบโบยี” กับพระเจ้าชี้นิ้วที่เชียงตุง เมื่อ: มีนาคม 20, 2024, 06:48:51 am
.



การชี้นิ้วของ “นัตโบโบยี” กับพระเจ้าชี้นิ้วที่เชียงตุง

การที่ดิฉันนำเรื่องราวของสองสิ่งนี้ (นัตโบโบยียืนชี้นิ้ว กับพระชี้นิ้วที่เชียงตุง) มาเปรียบเทียบกันนั้น ก็เนื่องมาจากในช่วงไม่เกิน 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้เกิดปรากฏการณ์ใหม่ในวงการทัวร์พม่า ด้วยการอุปโลกน์เอาเรื่องผีเรื่องพระที่ทำสัญลักษณ์ชี้นิ้วคล้ายกัน (แต่มีที่มาต่างกัน) มาสร้างเป็น “จุดขาย” ให้คนแห่แหนเดินทางไปกราบไหว้ขอพรได้ ไม่แตกต่างกันเลย

เทรนด์ของการแห่ไปสักการะ “เทพทันใจ” หรือการไปยืนใต้เงาพระพุทธรูปสูงตระหง่านให้ศีรษะของเราตรงกับจุด “ปลายนิ้วชี้” นี้ เกิดขึ้นมาได้อย่างไร

@@@@@@@

จากนัตโบโบยี กลายเป็นเทพทันใจ

ดังที่ได้กล่าวมาแล้วในฉบับก่อนว่า “นัต” (วิญญาณที่ตายเฮี้ยน) แต่ละตนนั้นต้องมีการสร้างรูปลักษณ์หรือสัญลักษณ์ให้แตกต่างเพื่อง่ายต่อการจดจำ นัตโบโบยีก็เช่นกัน มีสัญลักษณ์พิเศษด้วยการถือไม้เท้าและ “ยืนชี้นิ้ว”

ไม้เท้า (ธารพระกร) เป็นหนึ่งในเครื่องราชกกุธภัณฑ์ สัญลักษณ์ของพระจักรพรรดิราช ซึ่งในทางธรรมก็คือ พระพุทธเจ้า นัตโบโบยีถือเป็นผู้อาวุโสที่ได้รับมอบหมายให้เฝ้าดูแล

ส่วนการชี้นิ้วก็มิใช่เพื่อประทานพรผู้คนให้ร่ำให้รวย หากแต่เป็นการชี้บอกทางไปยัง “ดอยสิงกุตตระ” สถานที่ที่จะสร้างพระมหาธาตุชเวดากองนั่นเอง เพราะพระมหาธาตุชเวดากอง เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าทั้ง 5 ในภัทรกัป โดยที่นัตโบโบยี ต้องช่วยทำหน้าที่คอยบอกทางไปสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ให้แก่ผู้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาทั้ง 5 ครั้ง

ดังนั้น ชาวมอญ-พม่าจึงสร้างรูปนัตตนนี้ไว้ก่อนถึงพระมหาธาตุชเวดากอง จุดนี้เองกระมังที่เมื่อนักท่องเที่ยวชาวไทยไหลหลั่งไปกราบนมัสการพระมหาธาตุชเวดากองเสร็จแล้ว ก็ต้องผ่านพบนัตโบโบยีด้วย

แทนที่จะมองนัตโบโบยีเป็นวิญญาณของ “พ่อปู่” หรือ “เสื้อวัด” กลับไปให้คำนิยามการชี้นิ้วนั้นใหม่ จากนิ้วชี้สถานที่สร้างพระมหาธาตุ กลายเป็น “นิ้วประทานพร” ให้โชคให้ลาภ ให้ร่ำให้รวยไปเสียนี่

ซ้ำยังไม่ยอมให้เรียก “นัต” ซึ่งหมายถึงวิญญาณหรือ “ผีอารักษ์” อีกด้วย แต่ใช้วิธีเปลี่ยนชื่อใหม่ให้เป็น “เทพทันใจ” โดยไปหยิบเอาคำว่า “ทันใจ” มาจาก “พระเจ้าทันใจ” ของวงการพุทธศิลป์ล้านนามาผสมกันด้วยอีกชั้นหนึ่ง


ซึ่งคำว่า “พระเจ้าทันใจ” เอง ผู้คนก็ไขว้เขวกันมาเปลาะหนึ่งแล้ว คือคิดว่าสร้างขึ้นเพื่อให้คนขอพรมุ่งหวังความสำเร็จแบบปุบปับฉับพลัน ทันตาทันใจ

@@@@@@@

ทั้งๆ ที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยได้อธิบายไว้แก่ศิษยานุศิษย์อย่างละเอียดแล้วว่า การสร้างพระเจ้าทันใจก็เพื่อใช้เป็นกุศโลบาย “ทดสอบความสามัคคี” ของคนในชุมชนว่าจะสามารถทำสิ่งเล็กๆ ร่วมกันสำเร็จหรือไม่ ก่อนที่จะคิดทำการใหญ่

ครูบาเจ้าศรีวิชัยจึงกำหนดให้ช่วยกันหล่อพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก หากหล่อสำเร็จก็สะท้อนว่า อุปสรรคแม้จักหนักหนาเพียงไรก็ไม่พ้นความพยายามของคนในชุมชนที่จะช่วยกันฟันฝ่า

ไม่ว่าใครจะนิมนต์ให้ครูบาเจ้าศรีวิชัยไปช่วยเป็นประธาน “นั่งหนัก” สร้างวัดในที่ใดก็แล้วแต่ ก่อนที่ท่านจะลงมือสร้าง ท่านมักใช้กุศโลบายทดสอบความสามัคคีของหมู่คณะด้วยการขอให้ช่วยกันทดลองสร้างพระเจ้าทันใจสัก 1-3 องค์ขึ้นก่อนเสมอ จนกระทั่งตัวท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยเองก็ได้รับฉายาว่า “ครูบาทันใจ” ด้วยอีกนามหนึ่ง

ในเมื่อ “พระเจ้าทันใจ” ที่ครูบาเจ้าศรีวิชัยบัญญัติขึ้น มีความหมายว่า “คนขยัน รู้รักสามัคคีเท่านั้น จึงจะทำการใหญ่ได้สำเร็จ” ฉะนี้แล้ว จู่ๆ จะให้ “เทพทันใจ” ที่เพิ่งถูกอุปโลกน์กันขึ้นมาไม่เกิน 20 ปี มีความหมายว่าอย่างไรล่ะหรือ

รู้ทั้งรู้ว่า “นิ้วที่ชี้” นั้น คือสัญลักษณ์แห่งการเชื่อมโยง “พุทธันดร” ระหว่างพระพุทธเจ้าองค์ต่างๆ ในภัทรกัปเข้าไว้ด้วยกัน แต่ก็ไม่วายไปตีความว่า นิ้วของเทพทันใจนั้นหมายถึง การดลบันดาลโชคลาภ และการประทานความสำเร็จให้ผู้กราบไหว้

@@@@@@@

ปางชี้อสุภ หรือการสาปแช่ง.?

ในเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า มีหนองน้ำขนาดใหญ่กลางเมืองเรียกว่า “หนองตุง” ใกล้กับหนองตุงมีวัดแห่งหนึ่งชื่อจอมสัก ถือเป็น 1 ใน 3 จอม ที่นักท่องเที่ยวต้องไปนมัสการให้ครบ ประกอบด้วย วัดจอมมน บ้างเรียกจอมมอญ วัดนี้มีต้นไม้หมายเมืองคือต้นยางใหญ่, วัดจอมคำ และวัดจอมสัก

วัดจอมสักเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวทุกคนต้องไปชมด้วยความตื่นตะลึงเพราะมี “พระเจ้าชี้นิ้ว” ดูแปลกตา ด้วยขนาดของพระพุทธรูปที่สูงใหญ่ มองเห็นโดดเด่นแต่ไกล นักท่องเที่ยวมักไปยืนอยู่ให้ศีรษะของตนอยู่ในตำแหน่งพอดีกับนิ้วมือที่ชี้ตกลงมา โดยได้ข้อมูลจากไกด์ชาวไทยมาว่า การทำเช่นนี้จะได้รับพรจากองค์พระแบบเต็มๆ

ทำให้ต่างคนต่างมะรุมมะตุ้มยืนต่อคิวกันแน่น ต่างคนต่างพยายามขยับตัวไปมาเพื่อหาจุดที่จะให้นิ้วของพระพุทธรูปชี้ลงบนหัวของตนพอดิบพอดี จากนั้นก็จะได้ยินเสียงกดชัตเตอร์จากมือถือ

ในขณะที่ไกด์พม่าไม่ค่อยชอบใจนัก อธิบายว่าแท้ที่จริงแล้วนิ้วมือที่ชี้นั้น เป็นสัญลักษณ์แห่งการสาปส่งชาวเชียงตุง (ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทขึน คนละชาติพันธุ์กับพม่า) ให้ตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของพม่านิรันดร์ไป

ไกด์พม่ากระซิบบอกว่า พระชี้นิ้วเป็นพระพุทธรูปที่ทหารพม่าเพิ่งสร้างขึ้นใหม่ได้ไม่กี่ปีนี้เอง นิ้วที่ชี้นั้นพุ่งเล็งเป้าไปยังโรงแรมกลางเมือง ซึ่งครั้งหนึ่ง 100 ปีก่อนเคยเป็น “หอคำ” ของเจ้าฟ้าเชียงตุงองค์สุดท้าย คือเจ้าฟ้าก้อนแก้วอินทร์แถลง หอคำหลังนี้สร้างในยุค Colonial หรือยุคล่าอาณานิคม แต่ต่อมาได้ถูกทหารพม่าเผาทำลาย แล้วสร้างเป็นโรงแรมครอบทับสถานที่เดิม เสมือนทำลายความศักดิ์สิทธิ์และย่ำยีจิตวิญญาณของชาวเชียงตุง

เมื่อเราได้พูดคุยกับชาวเชียงตุงในพื้นที่แล้ว ทุกคนบอกว่า ไม่ชอบพระเจ้าชี้นิ้วองค์นี้เลย คงหลอกขายได้เฉพาะแต่นักท่องเที่ยวชาวไทยเท่านั้น


@@@@@@@

แล้วไฉนดิฉันจึงโปรยหัวเรื่องตอนนี้ว่าเป็น “ปางชี้อสุภ” (อ่านว่า อะ-สุ-ภะ) แปลว่า สิ่งไม่งาม สิ่งที่มองแล้วชวนให้สังเวชใจ

เนื่องจากดิฉันเห็นว่าท่ายืนชี้นิ้วดังกล่าว พ้องกับพระพุทธรูปปางหนึ่ง ที่สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส ได้ทรงบัญญัติ “มุทรา” หรือปางของพระพุทธรูปไว้ว่ามีทั้งสิ้น 66 ปาง นั่นคือ “ปางชี้อสุภ” โดยอธิบายว่า

เป็นพระอิริยาบถยืน พระกรซ้ายห้อยข้างพระวรกาย พระหัตถ์ขวายกขึ้นเสมอบั้นพระองค์ ชี้ดัชนี (นิ้วชี้) เป็นกิริยา “ชี้อสุภ” โดยมีการยกเอาพุทธประวัติตอนหนึ่งขึ้นมาประกอบว่า

    “ในกรุงราชคฤห์มีหญิงนครโสเภณีรูปงามชื่อ สิริมา เป็นน้องสาวของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ครั้นนางได้เฝ้าพระพุทธองค์จึงเลิกอาชีพโสเภณี ฝักใฝ่ในบุญกุศล ต่อมานางเจ็บป่วยเป็นโรคปัจจุบันตอนเช้า ตายในตอนค่ำ พระพุทธองค์โปรดให้ปล่อยศพนั้นไว้ 3 วันก่อนเผา เพื่อให้ผู้คนเห็นว่า เมื่อตายเป็นศพขึ้นอืด น้ำเหลืองไหลจากทวารทั้งเก้า กลิ่นศพเหม็นคลุ้งตลบสุสาน แสดงให้เห็นถึงความไม่ยั่งยืนแห่งสังขารของสรรพสัตว์ทั้งปวง”

กล่าวโดยสรุปก็คือ เป็นปางที่พระพุทธเจ้ายืนชี้ไปที่ซากศพของหญิงงาม เพื่อให้เกิดการปลงอสุภกรรมฐาน

@@@@@@@

แล้วในเมืองไทยมีการทำพระพุทธปฏิมาปางชี้อสุภกันมากน้อยเพียงใด เท่าที่ตรวจสอบพบว่ามีน้อยมาก ไม่ใช่ปางที่นิยม ผิดกับการแสดงเรื่องราวทำนองเดียวกันนี้ด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนัง พบเห็นบ่อยครั้งกว่า

แล้วพระชี้นิ้วที่วัดจอมสัก เชียงตุง จะเรียกว่า ปางชี้อสุภ ได้หรือไม่ ในเมื่อเจตนาของผู้สร้าง (ทหารพม่า) ตั้งใจจะย่ำยีคนไทขึนเมืองเชียงตุงให้โงหัวไม่ขึ้นมิใช่หรือ?

อีกทั้งการที่เราไปยืนอยู่ใต้นิ้วชี้นั้นจะเป็นมงคลหรือไม่ ไม่ว่าจะตีความว่านี่คือปางชี้อสุภ หรือตีความว่าเป็นปางสาปแช่งชาวเชียงตุง ก็ล้วนแล้วแต่สื่อความหมายไปในทางไม่ค่อยดี

ในความเป็นจริงนั้น เราต่างก็ไม่มีใครทราบถึงเจตนาของผู้สร้างพระชี้นิ้วองค์ดังกล่าว ว่าตั้งใจจะให้เป็นปางอะไรแน่ หากต้องการให้เป็นปางชี้อสุภจริง ก็ต้องถามต่อไปอีกว่า “อสุภ” ที่ว่านั้นคือสิ่งไร อยู่ที่ไหน ในเมื่อนิ้วชี้ไปยังทิศที่เคยเป็นหอคำ ย่อมอดไม่ได้ที่จะให้ชาวไทขึนเมืองเชียงตุงหวาดระแวงเรื่องการสาปแช่งพวกเขา

เห็นได้ว่ารูปเคารพเพียงองค์เดียว สามารถให้นิยามได้หลายความหมาย ขึ้นอยู่กับการตีความของผู้คนแต่ละกลุ่ม แล้วนำมาสร้างคำอธิบายหาเหตุผลประกอบให้ผู้ฟังเกิดอาการคล้อยตาม


@@@@@@@

มุมหนึ่งก็เห็นใจคนทำงานในสายท่องเที่ยว ท่ามกลางยุคสมัยที่เศรษฐกิจตกต่ำย่ำแย่ขั้นขีดสุด จนบริษัททัวร์แทบจะปิดกิจการไปตามๆ กัน คงจำเป็นต้องหาเกร็ดแปลกๆ หามุขพิสดารใหม่ๆ ที่พอจะเห็นแววว่าขายได้แน่ๆ สำหรับคนไทย

ทั้งๆ ที่ในสายตาของชาวพม่าเจ้าของประเทศ มองนัตโบโบยีเป็นผีอารักษ์ตนหนึ่งที่มีคุณูปการในด้านการทำหน้าที่บอกทางไปพระมหาธาตุชเวดากอง พวกเขาไม่เคยรู้จักคำว่า “เทพทันใจ” ตามที่คนไทยตั้งชื่อให้มาก่อนเลย

ไม่ต่างไปจากชาวไทขึนที่มิอาจไว้วางใจในนิ้วชี้อสุภของพระปฏิมาที่หนองตุงนั่น เหตุที่สร้างโดยทหารสลอร์กของพม่า

คงมีแต่พี่ไทย (บางท่าน) ชาติเดียวกระมัง ที่ยินดีกราบไหว้ได้ทุกอย่าง โดยที่ไม่จำเป็นต้องตั้งคำถามต่อสิ่งนั้นๆ






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 18-24 ตุลาคม 2562
คอลัมน์: ปริศนาโบราณคดี
ผู้เขียน : เพ็ญสุภา สุขคตะ
เผยแพร่ : วันพุธที่ 13 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_240637
30  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ๘ ประการ อันไม่เคยมีมา ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว อภิรมย์อยู่ เมื่อ: มีนาคม 19, 2024, 09:14:16 am
.



ท้าวปหาราธะจอมอสูร : ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ๘ ประการ

เหตุการณ์ : ท้าวปหาราธะจอมอสูรสนทนาธรรมกับพระพุทธเจ้า เรื่องธรรมที่น่าอัศจรรย์อันไม่เคยมีมาที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้วอภิรมย์อยู่ โดยพระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบธรรมวินัยกับมหาสมุทรที่อสูรทั้งหลายเห็นแล้วอภิรมย์

ธรรมที่น่าอัศจรรย์ ๘ ประการ อันไม่เคยมีมา ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว อภิรมย์อยู่

๑. มหาสมุทรลาด ลุ่มลึกลงไปโดยลำดับ ไม่โกรกชันเหมือนเหว ฉันใด ในธรรมวินัยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีการศึกษา การกระทำ การปฏิบัติ ไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง

๒. มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ฉันใด สาวกทั้งหลายของเรา ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต

๓. มหาสมุทรไม่เกลื่อนด้วยซากศพ เพราะในมหาสมุทร คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีสมาจารไม่สะอาดน่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว มิใช่สมณะ แต่ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ แต่ปฏิญญาว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่มด้วยราคะ เป็นเพียงดังหยากเยื่อ สงฆ์ย่อมไม่อยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมยกวัตรเธอเสียทันที

๔. แม่น้ำสายใหญ่ๆ ไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมหมด ถึงความนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน วรรณะ ๔ เหล่านี้ คือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิตแล้ว ย่อมละนามและโคตรเดิมเสีย ถึงความนับว่าสมณศากยบุตรทั้งนั้น

๕. แม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมยังมหาสมุทร และสายฝนจากอากาศตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้จะพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้นๆ ฉันใด  ฉันนั้นเหมือนกัน ถึงแม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุ ก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุนั้น

๖. มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส

๗. มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็มีรัตนะมากมายหลายชนิด รัตนะในธรรมวินัยนั้น มีดังนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ,สัมมัปปธาน ๔ ,อิทธิบาท ๔ ,อินทรีย์ ๕ ,พละ ๕ ,โพชฌงค์ ๗ ,อริยมรรคมีองค์ ๘

๘. มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ๆ ฉันใด ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรมวินัยนี้ก็เป็นที่พำนักอาศัยแห่งสิ่งมีชีวิตใหญ่ๆ ดังนี้ คือพระโสดาบัน ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล  พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ 






ขอขอบคุณ :-
อ้างอิง : ปหาราทสูตร พระไตรปิฎกสยามรัฐ 23/109/174-180 และอรรถกถา
website : https://uttayarndham.org/node/1807
31  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทำความรู้จักตำนาน “พระสุก-พระเสริม-พระใส” พระสามพี่น้องแห่งล้านช้าง เมื่อ: มีนาคม 19, 2024, 08:59:10 am
.



ทำความรู้จักตำนาน “พระสุก-พระเสริม-พระใส” พระสามพี่น้องแห่งล้านช้าง

ชวนทำความรู้จัก! ตำนานพระสามพี่น้อง “พระสุก-พระเสริม-พระใส” พระประจำพระธิดา 3 พระองค์ของกษัตริย์ล้านช้างในอดีต ก่อนจมแม่น้ำโขง

จากกรณีการค้นพบพระพุทธรูปเก่าแก่ริมแม่น้ำโขงบริเวณเมืองต้นผึ้ง สปป.ลาว ตรงข้าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย จนทำให้ผู้ใช้โซเชียลมีเดียลาวพากันตั้งข้อสังเกตว่า พระโบราณที่พบริมน้ำโขง อาจเป็น “พระสุก” ที่จมแม่น้ำโขงสมัยอาณาจักรล้านช้าง

แม้การตั้งข้อสังเกตดังกล่าวยังไม่มีการยืนยันจากหน่วยงานราชการของ สปป.ลาว ว่าเป็นจริงหรือไม่ แต่ก็ทำให้เรื่องราวของพระสุกกลับมาอยู่ในความสนใจของคนในสังคัมอีกครั้ง วันนี้ “พีพีทีวี” จะพาไปทำความรู้จักกับตำนานของ “พระสุก-พระเสริม-พระใส”



พระเสริม วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร

โดยตำนานพระสามพี่น้อง “พระสุก-พระเสริม-พระใส” มีตำนานเล่าว่า พระธิดา 3 พระองค์ของ เป็นธิดาของพระไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ได้หล่อพระพุทธรูปขึ้น 3 องค์ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา และถวายนามพระพุทธรูปตามพระนามของพระธิดาแต่ละพระองค์ โดย “พระเสริม” เป็นพระประจำพระธิดาองค์ใหญ่ “พระสุก” ประจำพระธิดาองค์กลาง และ “พระใส”ประจำพระธิดาองค์เล็ก

ซึ่งแต่เดิมพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ถูกประดิษฐานอยู่ที่นครเวียงจันทน์ และถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญของอาณาจักรล้านช้าง กระทั่งต่อมาเกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้นที่เมืองเวียงจันทน์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิ์พลเสพย์ ได้เป็นจอมทัพยกพลมาปราบ

เมื่อเมืองเวียงจันทน์สงบแล้ว จึงได้อัญเชิญ “พระสุก-พระเสริม-พระใส” ข้ามแม่น้ำโขงมาที่จังหวัดหนองคาย โดยมีการต่อแพข้ามแม่น้ำโขง สำหรับพระแต่ละองค์ แต่ระหว่างแพของพระสุกกำลังข้ามแม่น้ำโขง ได้บังเกิดฝนฟ้าคะนอง พระสุกได้แหกแพจมลงในน้ำ หายไป ทำให้บริเวณดังกล่าวได้ชื่อ “เวินสุก” หรือ “เวินพระสุก” ตั้งแต่นั้นมา (เวินสุก บ้านหนองกุ้ง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย)

หลังจากพระสุกจมแม่น้ำโขงการอัญเชิญพระสามพี่น้องครั้งนี้จึงเหลือแต่ “พระเสริม” และ “พระใส” ที่สามารถอัญเชิญมาถึงหนองคาย สำหรับ “พระใส” นั้นได้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ส่วน “พระเสริม” ได้ อัญเชิญไปไว้ยังวัดหอก่อง หรือวัดประดิษฐ์ธรรมคุณ และมีการสร้างองค์จำลอง “พระสุก” ไว้ที่วัดศรีคุณเมือง ณ ปัจจุบัน



พระใส วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขุนวรธานีและเจ้าเหม็น (ข้าหลวง) อัญเชิญ “พระเสริม” ลงไปยังกรุงเทพฯ แต่ด้วยเกิดเหตุปาฏิหาริย์ จึงสามารถอัญเชิญลงมาได้แค่ “พระเสริม” เท่านั้น ส่วน “พระใส” ยังคงประดิษฐานไว้ ณ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย

โดยปัจจุบัน "พระใส" ยังคงประดิษฐานอยู่ที่ วัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย ดังเดิม ขณะที่ "พระเสริม" ประดิษฐานอยู่ที่ วัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร ส่วน "พระสุก" ที่จมหายไปไม่ปรากฏขึ้นมาอีกเลย เหลือไว้เพียงตำนานที่ถูกเล่าขานถึงของคนสองฝั่งแม่น้ำโขงเรื่อยมา

อย่างไรก็ตามแม้ยังไม่มีหลักฐานหรือการพิสูจน์จากทางการ ที่รับรองการตั้งข้อสังเกตที่ว่าพระพุทธรูปโบราณที่มีการค้นพบบริเวณเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว เป็น “พระสุก” จริงหรือไม่ อีกทั้งมีการตั้งข้อสังเกตเรื่องเวินพระสุกที่อยู่ห่างไกลกับสถานที่ค้นพระพุทธรูปโบราณดังกล่าว แต่การค้นพบพระโบราณดังกล่าว ก็ทำให้ตำนานของ “พระสุก-พระเสริม-พระใส” พระสามพี่น้อง ถูกพูดถึงอีกครั้งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้






Thank to : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/219660 
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 18 มี.ค. 2567 ,15:46น.
32  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทีมวิจัย สหรัฐฯ เผยถึงวิธีที่สมองจัดการกับภาษา เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย เมื่อ: มีนาคม 19, 2024, 08:53:54 am
.



ทีมวิจัย สหรัฐฯ เผยถึงวิธีที่สมองจัดการกับภาษา เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย

คนส่วนใหญ่มักพูดได้ภาษาเดียวหรือ 2 ภาษา ทว่าบางคนก็เชี่ยวชาญและพูดได้หลายภาษา บางคนสลับภาษาในระหว่างสนทนาได้คล่อง เช่น คุยกับยายเป็นภาษาอิตาเลียน แต่ก็โต้เถียงปรัชญากับเพื่อนร่วมชั้นเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ง่ายดาย สิ่งนี้ทำให้เกิดความสงสัยถึงวิธีที่สมองจัดการกับภาษาอันเป็นวิธีหลักในการสื่อสารของมนุษย์

ล่าสุด ทีมวิจัยนำโดยนักประสาทวิทยาจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา เผยงานวิจัยใหม่ที่จะให้ความกระจ่างถึงวิธีที่สมองจัดการกับภาษา หลังคัดเลือกอาสาสมัครที่พูดได้อย่างน้อย 5 ภาษามา 34 คน เป็นชาย 20 คน หญิง 14 คน มีอายุ 19-71 ปี โดย 21 คนพูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ ส่วนที่เหลือเป็นภาษาฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน ฮังการี และจีนกลาง

ทีมอธิบายว่า การพูดได้หลายภาษาจะสามารถเปรียบเทียบว่าสมองปรับเปลี่ยนการตอบสนองตามหน้าที่ของความเชี่ยวชาญได้ภายในคนคนเดียวอย่างไร นักวิจัยได้ใช้วิธี functional magnetic resonance imaging คือการตรวจเพื่อหาตำแหน่งการทำงานของสมอง โดยบันทึกความเปลี่ยนแปลงในสมองที่เกิดจากการทำงานของเซลล์ประสาท เพื่อติดตามการทำงานของสมอง

ในขณะที่อาสาสมัครร่วมฟังข้อความใน 8 ภาษาที่แตกต่างกัน มีทั้งภาษาแม่ที่เป็นภาษาหลักที่พวกเขาใช้ และภาษาอื่นอีก 3 ภาษาที่พวกเขามีความเชี่ยวชาญสูง เชี่ยวชาญปานกลาง และเชี่ยวชาญน้อยที่สุด ส่วนอีก 4 ภาษาเป็นภาษาที่พวกเขาไม่รู้จักเลย




ทีมวิจัยพบว่าแม้ว่า เครือข่ายภาษาของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่บางส่วนที่อยู่ในสมองส่วนหน้าและขมับ จะมีชีวิตชีวาขึ้นเมื่อประมวลผลภาษาใดก็ตาม แต่ภาษาแม่ของคนที่พูดได้หลายภาษาจะทำงานได้เข้มข้นน้อยลง สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าภาษาแม่หรือภาษาแรกของคนเราจะได้รับการเข้ารหัสหรือถูกเก็บในสมองเป็นพิเศษ นอกจากนี้ การเปิดรับภาษาที่ไม่รู้จักสามารถกระตุ้นพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการได้ยินและการมองเห็นได้.






Thank to : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2770240
14 มี.ค. 2567 09:01 น. | ข่าว>ต่างประเทศ>ไทยรัฐฉบับพิมพ์
33  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 4 รูปแบบการนอนของมนุษย์ ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพระยะยาวต่างกัน เมื่อ: มีนาคม 19, 2024, 08:47:42 am
.



4 รูปแบบการนอนของมนุษย์ ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพระยะยาวต่างกัน

การนอนหลับให้เพียงพอเป็นสิ่งที่ทุกคนรู้กันอยู่แล้วสามารถช่วยรักษาการทำงานของร่างกาย และส่งผลดีต่อสุขภาพ ในทางตรงกันข้ามแน่นอนว่าการอดนอน นอนน้อย นอนไม่พอก็ส่งผลเสียต่อร่างกาย และสุขภาพได้เช่นเดียวกัน แต่ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตต (อังกฤษ: Pennsylvania State University) พบข้อมูลว่ารูปแบบของการนอนหลับแต่ละแบบอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวที่แตกต่างกันออกไป

การศึกษาชิ้นนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากผู้ใหญ่ชาวอเมริกันราว 3,700 คน โดยให้พวกเขารายงานพฤติกรรมหรือนิสัยการนอนหลับของตัวเอง ปัญหาสุขภาพเรื้อรังที่พวกเขาพบเจอ รวมถึงข้อมูลอื่น อย่างระยะเวลาการนอน ช่วงเวลาการนอน ความพึงพอใจในการนอน ความรู้สึกง่วง หรือตื่นตัวในตอนกลางวัน การเก็บข้อมูลชุดนี้ทำใน 2 ช่วงเวลาซึ่งห่างกัน 10 ปี

@@@@@@@

โดยหลังจากการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทีมวิจัยได้แบ่งรูปแบบการนอนออกเป็น 4 รูปแบบด้วยกัน

    • คนที่สุขภาพการนอนดี นอนได้เป็นปกติ
    • คนที่นอนหลับยาวในช่วงวันหยุด ซึ่งอาจการนอนในช่วงวันทำงานที่ผิดปกติ อย่างการนอนไม่พอ
    • คนที่นอนไม่หลับ หรือมีสุขภาพการนอนที่ไม่ดี เช่น นอนหลับยาก นอนติดต่อกันได้ไม่นาน รวมถึงรู้สึกเหนื่อยหรือง่วงนอนอย่างมากในตอนกลางวัน
    • คนที่นอนหลับตอนกลางคืนได้ปกติ แต่มักงีบหลับตอนกลางวันอยู่เป็นประจำ

นักวิจัยพบว่า 2 กลุ่มหลัง ซึ่งได้แก่คนที่มีโรคนอนไม่หลับ และกลุ่มคนที่มักงีบหลับตอนกลางวันเป็นประจำเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงของโรคเรื้อรังสูงกว่ากลุ่มอื่น ตั้งแต่โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงโรคทางอารมณ์​ อย่างโรคซึมเศร้า จากพฤติกรรมการนอนในลักษณะดังกล่าวกว่า 10 ปี

@@@@@@@

การงีบหลับตอนกลางวันอันตราย.?

สำหรับข้อมูลทางการแพทย์ชิ้นอื่นยืนยันแล้วว่าคนที่มีโรคนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นเวลานานนั้นเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพหลายโรค แต่ผู้อ่านหลายคนคงสงสัยว่าทำไมคนที่สามารถนอนหลับตอนกลางคืนได้ปกติ และมีพฤติกรรมงีบหลับตอนกลางวันถึงกลายเป็นกลุ่มเสี่ยงไปด้วย ทั้งที่ก็นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ

ซึ่งไม่ใช่แค่การศึกษานี้เท่านั้นที่พบ การศึกษาชิ้นก่อนหน้าก็พบด้วยเช่นกันว่าการงีบหลับบ่อยสัมพันธ์กับการเกิดโรคเรื้อรัง ข้อมูลชุดหนึ่งพบว่าคนที่งีบหลับเป็นประจำ หรือแม้แต่งีบหลับบ้างบางครั้งมีความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม บางการศึกษาก็ให้ผลที่ขัดแย้งว่าการงีบหลับอาจลดความเสี่ยงของภาวะความดันโลหิตสูงได้

นอกจากนี้ การรู้สึกง่วงตอนกลางวันอย่างมากอาจสะท้อนถึงปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น การนอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ภาวะขากระตุกขณะนอนหลับ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มคาเฟอีน และผลข้างเคียงจากยาบางชนิด

อย่างไรก็ตาม การศึกษาอีกส่วนหนึ่งพบว่าการนอนงีบหลับตอนกลางวันอย่างเหมาะสมระหว่าง 10 ถึง 20 นาทีช่วยรีเฟรชสมองจากความง่วง อารมณ์ และความเหนื่อยล้าได้ การศึกษาบางชิ้นยังพบด้วยว่าการนอนกลางวันส่งผลดีต่อความจำ และประสิทธิภาพการทำงานของสมอง

@@@@@@@

กลับมาที่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนียสเตตที่พบว่า รูปแบบการนอนส่งผลต่อการเกิดโรคเรื้อรังในระยะยาว โดยผู้นำงานวิจัยชี้ว่าเป็นเรื่องยากที่ผู้คนจะเปลี่ยนรูปแบบพฤติกรรมการนอนให้เหมาะสม และไม่ทราบถึงผลกระทบจากพฤติกรรมการนอนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งสิ่งเหล่านี้สำคัญมากต่อการดูแลสุขภาพ แต่นั่นก็อาจเป็นผลมาจากข้อจำกัดทางสังคมและเศรษฐกิจที่ส่งผลให้บางคนนอนมาก และนอนน้อยเกินไป อย่างไรก็ตาม อาจเริ่มจากการออกกำลังกาย การงดเล่นสมาร์ตโฟนก่อนนอน และงดคาเฟอีนในช่วงบ่าย

สำหรับผู้อ่านที่ได้อ่านมาถึงตรงนี้ คงได้ทราบแล้วว่ารูปแบบการนอนที่คุณนอนอยู่ในทุกวันส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร หากเข้าข่ายกลุ่มคนที่นอนไม่หลับ หรือชอบงีบตอนกลางวันอาจถึงเวลาแล้วที่ต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนรูปแบบการนอน เพราะปัจจัยเหล่านี้ส่งผลในระยะยาว

ดังนั้น การเริ่มเปลี่ยนแปลงตั้งแต่วันนี้อาจช่วยลดความที่ของโรคเรื้อรังในอนาคตได้ และหากคุณพบปัญหาในการนอนหลับเกิน 1 สัปดาห์ การนอนหลับ หรือความง่วงส่งผลต่อการใช้ชีวิต และการทำงาน แนะนำว่าควรไปพบแพทย์







ขอบคุณ : https://www.beartai.com/life/1370469
โดย ภูษิต เรืองอุดมกิจ | 21 hours ago

ที่มา :-
    - ScienceDaily, Researchers identify distinct sleep types and their impact on long-term health, 12 มี.ค. 2024
    - Medical News Today, Frequent napping may be a sign of higher risks of stroke, high blood pressure, 27 ก.ค. 2023
    - Sleep Foundation, Managing Excessive Daytime Sleepiness, 16 ม.ค. 2024
    - Mayo Clinic, Napping: Do’s and don’ts for healthy adults, 9 พ.ย. 2022

ภาพหน้าปก : ภาพยนตร์ Eternal Sunshine of the Spotless Mind
34  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เผยพระพุทธรูปขุดพบฝั่งลาว เป็นพระสิงห์สาม เมื่อ: มีนาคม 18, 2024, 01:31:14 pm
.



เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เผยพระพุทธรูปขุดพบฝั่งลาว เป็นพระสิงห์สาม

เจ้าคณะจังหวัดเชียงรายชี้ พระพุทธรูปที่ขุดค้นเจอในแม่น้ำโขงฝั่ง สปป.ลาว เป็นพระสิงห์สาม ศิลปะเชียงแสน อายุระหว่าง 500-800 ปี

วันที่ 17 มี.ค. 67 จากกรณีที่มีการขุดค้นเจอพระพุทธรูปโบราณจำนวนหลายองค์ ที่ริมแม่น้ำโขง พื้นที่บ้านดอนผึ้ง เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 16 มี.ค. ที่ผ่านมา ชาวบ้านที่ทราบข่าวทั้งฝั่งลาวและไทยต่างพากันมากราบไหว้ โดยเช้าวันนี้ก็ยังมีผู้ที่ทราบข่าวมามุงดูการค้นหากันเป็นจำนวนมาก

โดยทางชุดค้นหาได้นำรถแบ็กโฮมาขุดทรายทำเป็นแนวรอบจุดที่จะทำการขุดค้น ขนาดประมาณ 15x20 ม. และใช้เครื่องไดโว่สูบน้ำที่อยู่ข้างในออกมา และนำรถแบ็กโฮลงขุดค้นเพิ่มเติม ซึ่งล่าสุดวันนี้ได้มีการขุดค้นเจอพระเครื่องทรงยืน สูงขนาดประมาณ 4 นิ้ว พระพุทธรูปไม่มีเศียร หน้าตักประมาณ 9 นิ้ว และพระพุทธรูปองค์ใหญ่ หน้าตักประมาณ 32 นิ้ว




ผู้สื่อข่าวได้เดินทางไปที่ วัดพระธาตุดอยผาเงา ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เพื่อสอบถามพระพุทธิญาณมุนี เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เผยว่า พระพุทธรูปที่ขุดค้นที่ฝั่งลาว เป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน เป็นพระสิงห์สาม ซึ่งแต่เดิมพื้นที่บริเวณนี้เป็นผืนแผ่นดินเดียวกัน แต่มีช่วงหนึ่งในอดีตที่แม่น้ำโขงเปลี่ยนเส้นทางไหล และส่งผลให้พื้นที่บางส่วนก็กลายเป็นพื้นที่ของ สปป.ลาว ตามเส้นทางการไหลของแม่น้ำโขง ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้พระพุทธรูปในครั้งนี้ถือว่าองค์พระมีสภาพสมบูรณ์ สวยงาม เสียดายที่ไม่ได้ค้นพบในฝั่งไทย



เจ้าคณะจังหวัดเชียงราย เผยอีกว่า การขุดพบพระพุทธรูปในฝั่งลาวในครั้งนี้เป็นการขุดพบครั้งที่ 3 ก่อนหน้านี้เคยมีการขุดพบพระพุทธรูปริมแม่น้ำโขงมาแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรกที่บ้านดอนสะหวัน เมื่อปี 2553 ครั้งที่ 2 ที่บ้านใหม่ร่มเย็น เมื่อปี 2556 และครั้งล่าสุดที่บ้านดอนสะหวัน ทั้งหมดอยู่ในเขตเมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว




บริเวณที่ขุดเจอพระพุทธรูปครั้งนี้น่าจะอยู่ใกล้กับพระพุทธนวล้านตื้อ ที่สูญหายไปเมื่อครั้งอดีตเมื่อน้ำโขงเปลี่ยนทางไหล ถ้าสามารถนำพระนวล้านตื้อขึ้นมาจากน้ำโขงสำเร็จคาดว่าจะส่งผลดีต่อทั้งพุทธศาสนิกชนทั้งฝั่งไทยและลาว และใน อ.เชียงแสน ก็จะได้รับความสนใจ จะมีคนมาท่องเที่ยวอีกมาก แต่การค้นพบในครั้งนี้ก็ต้องแสดงความดีใจกับพี่น้องชาวลาว ที่เจอพระพุทธรูปดังกล่าว ส่วนพุทธศาสนิกชนชาวไทยก็สามารถข้ามไปกราบไหว้สักการะบูชาได้

พระพุทธิญาณมุนี เผยอีกว่า การค้นพบพระหรือสมบัติในแม่น้ำโขง จะถือว่าเป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของทางฝั่ง สปป.ลาว เนื่องจากแม่น้ำโขงอยู่ในเขตของลาว ประเทศไทยจะลงไปขุดค้นของในน้ำโขงโดยพลการไม่ได้ จะถือเป็นละเมิดสิทธิ์ ในอนาคตหากแม่น้ำโขงลดระดับมากกว่านี้ อาจจะเจอทรัพย์สมบัติที่จมอยู่ใต้น้ำโขงอีกมากมาย.






Thank to : https://www.thairath.co.th/news/local/2771229
17 มี.ค. 2567 17:03 น. | ข่าว>ทั่วไทย>ไทยรัฐออนไลน์
35  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คนพาลเห็นบาปเหมือนของหวาน เมื่อ: มีนาคม 18, 2024, 07:15:19 am
.



คนพาลเห็นบาปเหมือนของหวาน

ว่าด้วย : พระอุบลวรรณาเถรี
เหตุการณ์ : พระศาสดาทรงปรารภพระอุบลวรรณาเถรี ผู้ไปอยู่ในป่า ถูกข่มขืน จึงมีข้อกำหนดให้ภิกษุณีอยู่ในละแวกบ้านเท่านั้น

พระอุบลวรรณาเถรีตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามปทุมุตตระ กระทำบุญทั้งหลายสิ้นแสนกัลป์ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในสกุลเศรษฐีในกรุงสาวัตถีในพุทธุปบาทกาลนี้
 
มารดาบิดาได้ตั้งชื่อนางว่าอุบลวรรณา เพราะนางมีผิวพรรณเหมือนกลีบอุบลเขียว เมื่อนางเจริญวัย พระราชาและเศรษฐีทั้งหลายต่างส่งบรรณาการไปขอนางจากบิดา เศรษฐีคิดว่าไม่สามารถเอาใจคนทั้งหมดได้ จึงได้ถามธิดาว่าจะบวชได้ไหม คำของบิดาเป็นเหมือนน้ำมันที่ต้มแล้วตั้ง ๑๐๐ ครั้ง อันเขารดลงบนศีรษะ เพราะความที่นางมีภพสุดท้าย นางจึงบวช
 
เมื่อบวชแล้วไม่นาน นางตามประทีป กวาดโรงอุโบสถ ยืนถือนิมิตแห่งเปลวประทีป แลดู ยังฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ให้เกิด กระทำฌานนั้นให้เป็นบาท บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญาทั้งหลาย
 
@@@@@@@

ในกาลนั้น พระศาสดายังไม่ทรงห้ามการอยู่ป่าของพวกนางภิกษุณี พระเถรีนั้นเที่ยวจาริกไปในชนบท แล้วกลับมาสู่ป่าอันธวัน พวกชนสร้างกระท่อม ตั้งเตียงกั้นม่านไว้ในป่าแก่พระเถรีนั้น พระเถรีเข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี แล้วออกมา

ฝ่ายนันทมาณพผู้เป็นบุตรของลุงของพระเถรี มีจิตปฏิพัทธ์ต่อพระเถรีตั้งแต่กาลที่ท่านยังเป็นคฤหัสถ์ ได้เข้าไปซ่อนภายใต้เตียงในกระท่อม เมื่อพระเถรีกลับมา เขาปลุกปล้ำข่มขืนพระเถระแล้วหนีไป แผ่นดินใหญ่ได้แยกออก สูบเขาลงไป เขาไปเกิดในอเวจีมหานรก
 
เมื่อพระศาสดาทรงสดับเรื่องแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา ตรัสว่า
    "บรรดาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นพาล เมื่อทำกรรมลามก ย่อมยินดีร่าเริง ประะดุจได้เคี้ยวกินของหวานมีน้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด เป็นต้น"
 
เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า
    "คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้น คนพาลย่อมประสพทุกข์"
 
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล เป็นต้น


@@@@@@@

สมัยต่อมา มหาชนสนทนากันในธรรมสภาว่าพระขีณาสพทั้งหลายยังยินดีกามสุข ยังเสพกาม เพราะพระขีณาสพเหล่านั้นไม่ใช่ไม้ผุ ไม่ใช่จอมปลวก มีเนื้อและสรีระสดใสอยู่
 
เมื่อพระศาสดาทรงทราบ จึงตรัสว่า
 "พระขีณาสพทั้งหลายไม่ยินดีกามสุข ไม่เสพกาม  เหมือนอย่างว่า หยาดน้ำตกลงบนใบบัว ย่อมไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ย่อมกลิ้งตกไป และเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด ไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ที่ปลายเหล็กแหลม ย่อมกลิ้งตกไปแน่แท้ ฉันใด กามแม้ ๒ อย่าง ย่อมไม่ซึมซาบ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของพระขีณาสพ ฉันนั้น"
 
ดังนี้แล้วเมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
    "เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่ที่ปลายเหล็กแหลม ว่าเป็นพราหมณ์ "

พระศาสดารับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมา แล้วตรัสเรื่องกุลธิดา บวชแล้ว อยู่ในป่าเหมือนอย่างกุลบุตรทั้งหลาย คนลามกถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมเบียดเบียนภิกษุณีผู้อยู่ในป่า ด้วยการดูถูกดูหมิ่นบ้าง ด้วยการทำอันตรายแก่พรหมจรรย์บ้าง เพราะฉะนั้น พระราชาควรทำที่อยู่ภายในพระนครแก่ภิกษุณีสงฆ์
 
พระราชาทรงรับสั่งให้สร้างที่อยู่เพื่อภิกษุณีสงฆ์ในพระนคร ตั้งแต่นั้นมาพวกภิกษุณีย่อมอยู่ในละแวกบ้านเท่านั้น







ขอขอบคุณ :-
อ้างอิง : พระอุบลวรรณาเถรี พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ เล่มที่ ๔๑ หน้า ๒๑๓-๒๑๗
URL : https://uttayarndham.org/node/4714
36  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พุทธแท้ - พุทธเทียม เมื่อ: มีนาคม 18, 2024, 07:01:53 am
.



พุทธแท้ - พุทธเทียม : ธรรมะยู-เทิร์น โดยอิทธิโชโต

ธุ วา มญฺญตี พาโล ยาว ปาปํ น ปจฺจติ ยทา จ ปจฺจตี ปาปํ อถ ทุกฺขํ นิคจฺฉติ ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล คนเขลายังเข้าใจว่ามีรสหวาน แต่บาปให้ผลเมื่อใด คนเขลาย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น (พุทธพจน์)

เมื่อมีปัญหา คนส่วนใหญ่คิดว่าร้อนก็ไปหลบในที่เย็น เท่านี้ ยังไม่พอ ยังไม่ใช่ธรรมะที่แท้จริง!

ธรรมะจะเกิดขึ้นจริงๆ ต้องเอาใจใส่ รักษากาย วาจา ใจ จะคิดจะพูดจะทำอะไรให้มีสติอยู่เสมอ อยู่เฉยๆ นั่งดูเฉยๆ ธรรมะคงจะเกิดขึ้นได้ยาก เหมือนเราจะปลูกผัก นั่งดูเมล็ดผักกาดมันจะเกิดไหม เราก็ต้องเอาเมล็ดไปเพาะ ไปปลูก ไปรดน้ำมันจึงเกิดพุทธเจ้าสอนไว้อย่างนั้น

อย่างที่มีปัญหาเกี่ยวกับศาสนาพุทธอยู่ทุกวันนี้ จริงๆ แล้วพระพุทธศาสนาไม่มีปัญหา แต่ที่มีปัญหาคือคนที่บอกว่าตัวเองเป็นพุทธแต่ไม่ปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าสอนต่างหาก ปัญหาไม่ใช่มาจากศาสนาอื่นด้วย เราต้องกลับมาถามตัวเองว่า ในจำนวน ๑๐๐ คน มีกี่คนที่เป็นพุทธแท้ๆ จะได้สัก ๑๐ คนไหม ถ้าพุทธแท้ ๑๐ คนใน ๑๐๐ คน อยู่ที่ไหนก็ไม่มีปัญหา อยู่กับสิงสาราสัตว์ก็ไม่มีปัญหา อยู่กับคนก็ไม่มีปัญหา เพราะรู้หมด จะไปมีปัญหาอะไร แต่ที่เป็นปัญหาอยู่ทุกวันนี้ เพราะไม่รู้ ไม่เข้าใจ ถ้ารู้แล้ว เข้าใจแล้วก็ไม่มีปัญหา

แต่คนไม่เข้าใจ ปากก็ว่าพุทธ แต่วิธีการไม่ใช่ ก็เหมือนสมัยพุทธกาล บวชกับพระพุทธเจ้าแท้ๆ ยังทะเลาะกันให้เห็น ถือพวก ถือตัวตน ถือเจ้าของจนลืมว่าอะไรควรไม่ควร สมัยนี้ไม่มีพระพุทธเจ้าให้เห็น แต่ยังมีพระธรรมก็ยังไม่ปฏิบัติ สมัยก่อนมีพระพุทธเจ้าก็ยังไม่ฟังกัน

@@@@@@@

ปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้ เพราะคนไม่ใส่ใจ ถ้าใส่ใจเรื่องศาสนา ก็จะไม่มีปัญหา พระวิ่งหาลาภ ยศ สรรเสริญ มีแต่ความทุกข์ทั้งนั้น ลาภไปหามาทำไม ยศ ไปหามาทำไม สรรเสริญ ไปหามาทำไม

สุดท้าย เราไม่ต้องไปแก้คนอื่น ต่างคนต่างดูของตัวเจ้าของ ต่างคนต่างชำระความไม่ดีในจิตในใจของตัวเองก็จะไม่มีปัญหาอย่างที่เป็นอยู่ แต่นี่มันไม่ใช่ ต่างคนต่างเสริม ลาภ สักการะให้แก่กัน ก็เรื่องกิเลสทั้งนั้น เหมือนเรื่องหรูหรา มันเป็นเรื่องของกิเลสพระ พระจะไปหาอะไร ก็ต้องไปหาศีลหาธรรมสิ ธรรมวินัยมีก็หามาสิ โลกวัชชะ ก็มีอยู่ ทำอะไรให้โลกติเตียน คือมันไม่งาม ก็ยับยั้งเสีย

พระเราไม่ต้องไปมีหรอกรถ เอามาทำไม เอามาแสดงธรรม หรือแสดงกิเลส พระขอข้าวเขากินวันละมื้อ จะมีอะไรนักหนา อะไรที่มันเกินงาม เกินพอดีก็ต้องถามตัวเอง เหมือนโทรศัพท์นี้ บางทีเห็นพระใช้ดีกว่าฆราวาสอีก ทั้งๆ ที่ขอข้าวเขากิน เอามาอวดกิเลสเจ้าของ ขายความอยากให้เขาเห็น เป็นเรื่องขายขี้หน้าทั้งนั้น

ถ้ารู้ว่าตัวเจ้าของเป็นพระต้องสำนึกว่าเราเป็นผู้ขอ ถ้าเป็นผู้ขอเลยเถิดเช่น โยม อาตมาต้องการโทรศัพท์เครื่องใหม่ ต้องการรถคันใหม่ มันวิเศษตรงไหน มันประเสริฐตรงไหน ที่พระพุทธเจ้าให้หาอรรถหาธรรม ทำไมไม่หา ไม่ทำ

ทางดับทุกข์ก็เปิดกว้างสำหรับทุกคนอยู่แล้ว ไม่เกี่ยวกับศาสนาด้วยซ้ำ ทำให้ได้ ทำให้ถึงพร้อมก็จะดีเอง ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหน นับถือศาสนาไหนก็ตาม ถ้าได้ปฏิบัติก็จะพบธรรมแท้ เป็นพระแท้ด้วยตัวเอง

 




THANK TO :-
image by : https://www.pinterest.com/
website : https://www.komchadluek.net/kom-lifestyle/223681
07 มี.ค. 2559 | 00:00 น.
37  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Q & A : ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน จริงหรือ.? เมื่อ: มีนาคม 17, 2024, 07:03:49 am
.



Q & A : ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน จริงหรือ.?
โดย อาจารย์ไชย ณ พล

Q ถาม : อาจารย์ครับ ผมเอาสุภาษิตที่ถือกันมายาวนานที่ว่า "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" มาทบทวน เพราะในช่วง crisis domino นี้ หลายคนที่ผลงานดี มีความสำเร็จมาก ก็ย่ำแย่อย่างไม่น่าเชื่อ จึงทำให้ผมสงสัยว่า ค่าของคนอยู่ที่ผลงานจริงหรือเปล่า

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :

ค่าของคนอยู่ที่ความบริสุทธิ์อันบรมสุข
ค่าของงานอยู่ที่การสร้างสรรค์ Better Value
ค่าของการบริหารอยู่ที่การประกอบถูกส่วน
ค่าของการจัดการอยู่ที่ Smart Solution

ค่าของระบบอยู่ที่ความเป็นธรรม
ค่าของความสำเร็จอยู่ที่ประโยชน์สุขทุกฝ่าย
ค่าของชีวิตอยู่ที่การทำสิ่งเหล่านี้ให้สัมฤทธิ์ผล
นี่เป็นสัจธรรม และเงาสะท้อนสัจธรรม





ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/
website : https://uttayarndham.org/dhamma-sharing/6352/ค่าของคนอยู่ที่ผลของงานจริงหรือ
38  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กมธ.ศาสนาฯสภาฯ ดูงานวัด “ไอ้ไข่” แนะผลักดันวัดสู่ “Soft Power” ด้วยหลักอปริหานิย เมื่อ: มีนาคม 16, 2024, 06:35:30 am
.



กมธ.ศาสนาฯสภาฯ ดูงานวัด “ไอ้ไข่” แนะผลักดันวัดสู่ “Soft Power” ด้วยหลักอปริหานิยธรรม 7

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 15.30 น. ที่วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะกรรมาธิการ เข้ากราบ พระครูพุทธเจติยาภิมณฑ์ หรือ อาจารย์แว่น เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ไอ้ไข่ เพื่อรับฟังเกี่ยวกับแนวทาง การส่งเสริมศาสนา

พระครูพุทธเจติยาภิมณฑ์ กล่าวว่าวัดนี้ในอดีตเกือบเป็นวัดร้าง อาตมามาเป็นลูกวัด ด้วยเพราะสมัยเด็กมีฐานะยากจนบิดามารดาประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ทำไร่ เมื่อมาบวชแล้วก็ได้เข้ามา จำพรรษาที่วัดเจดีย์เมื่อปี พ.ศ. 2542 สมัยนั้นต้องบอกว่าวัดเจดีย์เป็นวัดร้าง ไม่มีโบสถ์ ไม่มีพระอุโบสถ ภายหลังจำพรรษาเป็นเวลา 4 ปีได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส

หลักการของที่นี่ ก็คือ เอาชาวบ้านเป็นหลัก ตอนเย็นตนมักไปคุยกับชาวบ้าน เพื่อศึกษาความเป็นมา ซึ่งจุดเด่นของวัดนี้หากจะดำเนินการเรื่องวิปัสสนา เรื่องสวดมนต์ หรือเรื่องอื่นๆ ค่อนข้างจะเป็นไปได้ยาก จุดเด่นของวัดคือ “ไอ้ไข่” ที่มีคนศรัทธาและมาจุดประทัดมาตั้งแต่โบราณ จึงเริ่มบูรณปฏิสังขรณ์วัด ได้ให้ชาวบ้านตั้งกลุ่มกันเป็นกลุ่ม 42 กลุ่มละ 4 คน หมุนกัน ดูแลด้านดอกไม้ จุดประทัด การประชาสัมพันธ์ ฯลฯ

ซึ่งก็จะมีรายได้จากการบริการและขายอาหาร ในวัดไม่มีขาย เครื่องรางของขลังหรือของเซ่นไหว้ต่างๆ หากจะซื้อต้องไปซื้อข้างนอก ด้วยการบริหารเช่นนี้จึงไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งกันระหว่างภายนอกและภายใน

ปัจจุบันได้ตั้งทุนมีเงินทุนถึง 2-3 ล้าน โดยกลุ่มชาวบ้านที่เริ่มต้นอายุมากแล้ว ตอนนี้เริ่มรุ่นหลาน ในช่วงที่รายได้ดี คนมาช่วยงานวัด อาจได้รายได้ต่อคนถึง 20,000 บาทต่อเดือน ในเวลาที่เหลือก็สามารถไปทำงานทำไร่ทำสวนปาล์มชาวบ้านก็มีความสุข อาตมาอยู่มา 25 ปี ทุกที่มีปัญหา ต้องช่วยกันแก้ ในอดีตตอนจัดบวชไม่มีคนบวชก็ขอทหารมาบวช




นางเทียบจุฑา กล่าวว่าตนและคณะหลังจากที่ได้ทราบข้อมูล โดยท่านเจ้าอาวาสท่านได้นำชมวัด สาระสำคัญคือที่นี่เน้นชาวบ้านเป็นศูนย์กลาง โดยมีการปรึกษาหารือมีการประชุมกันอย่างเนืองนิจตาม หลักอปริหานิยธรรม 7
ธรรม สำหรับผู้ปกครองที่ต้องการความเจริญรุ่งเรืองแก่องค์กรที่ตนเองปกครองมี 7 ประการ คือ

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2. พร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิก พร้อมเพรียงกันทำกิจที่พึงทำ
3. ไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้บัญญัติไว้ (อันขัดต่อหลักการเดิม) ไม่ล้มล้างสิ่งที่บัญญัติไว้ (ตามหลักการเดิม)
4. ท่านเหล่าใดเป็นใหญ่ ให้เคารพนับถือท่านเหล่านั้น เห็นถ้อยคำของท่านว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง
5. บรรดากุลสตรี กุมารีทั้งหลาย ให้อยู่โดยมิถูกข่มเหง หรือฉุดคร่าขืนใจ
6. เคารพสักการบูชาเจดีย์ (ปูชนียสถาน และปูชนียวัตถุ ตลอดถึงอนุสาวรีย์ต่างๆ ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ไม่ปล่อยให้ธรรมิกพลีที่เคยทำแก่เจดีย์เหล่านั้นเสื่อมทรามไป
7. จัดให้ความอารักขาคุ้มครอง ป้องกัน อันชอบธรรมแก่พระอรหันต์ทั้งหลาย (ในที่นี้หมายความรวมถึงบรรพชิตผู้ดำรงธรรมเป็นที่พึ่งทางใจของประชาชนทั่วไปด้วย) โดยตั้งใจว่า ขอพระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่ได้มา พึงมาสู่แว่นแคว้น ที่มาแล้วขอให้โดยผาสุกด้วยการมีความสะอาดสะอ้าน บูรณปฏิสังขรณ์และพัฒนาวัดให้เจริญรุ่งเรือง

หาจุดเด่นของวัดและสร้างจุดเด่นเพื่อเป็นจุดขาย ส่งผลให้เป็น Soft Power ของพื้นที่ จนในที่สุดถือว่าเป็น Soft Power ของประเทศเลยทีเดียว ซึ่งเป็นตัวอย่างที่สามารถนำมาพัฒนามาเป็นต้นแบบ ทั้งการพัฒนา การเป็นแหล่งท่องเที่ยว การศึกษา เมื่อเชื่อมั่นว่าการพัฒนารูปแบบนี้จะทำให้วัดเจริญรุ่งเรืองอย่างไร้ขีดจำกัด




สำหรับรายชื่อคณะเดินทางไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมศาสนา การอนุรักษ์พัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 15 – 16 มีนาคม 2567 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย

1. นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการ
2. นายปิยชาติ รุจิพรวศิน รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง
3. นายษฐา ขาวขำ โฆษกคณะกรรมาธิการ
4. นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ โฆษกคณะกรรมาธิการ
5. นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรรมาธิการ
6. นางสาวสกุณา สาระนันท์ กรรมาธิการ
7. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล กรรมาธิการ
8. นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
9. นายคมสรรค์ สุนนทราช ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
10. นางณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
11. นายชุติพงศ์ พูนพล ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
12. พันตรี ประเสริฐ สายทองแท้ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
13. นายประสิทธิ์ โชติรัตน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
14. นายนเรนฤทธิ์ ทีปสว่าง เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
15. นางสาวมาตา ขาวขำ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
16. นางสาวนรินทร์นิภา หาญคำอุ้ย เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
17. นางสาวชนิษฎา กอหงษ์ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
18. นางสาวชัญญา กรรณจนะศิลป์ ผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
19. นายศุภรัตน์ ศรีดีแก้ว วิทยากรชำนาญการพิเศษ
20. นายทีปกร มากเสมอ วิทยากรชำนาญการพิเศษ



Thank to : https://thebuddh.com/?p=78212
39  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “มจร” มอบพระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬา ฯ แก่ “มธ.” เพื่อกระชับสัมพันธ์เนื่องในปีมหามงคล เมื่อ: มีนาคม 16, 2024, 06:20:00 am
.



“มจร” มอบพระไตรปิฏกฉบับมหาจุฬา ฯ แก่ “มธ.” เพื่อกระชับสัมพันธ์เนื่องในปีมหามงคล

วันที่ 15 มีนาคม 2567  ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มอบให้ พระราชวัชรสารบัณฑิต รองอธิการฝ่ายวางแผนและพัฒนา ปฎิบัติหน้าที่แทนในพิธีมอบพระไตรปิฎกฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  โดยมี รองอธิการบดี คณบดี ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้า นิสิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ร่วมพิธี  โดยมี รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณาจารย์ และ เจ้าหน้าที่ ร่วมรับมอบ

พระราชวัชรสารบัณฑิต กล่าวว่า วันนี้เป็นมงคลอย่างยิ่ง โดยการดำเนินการของรองอธิการการบดีฝ่ายต่างประเทศ พระมหาสุรศักดิ์ ปจฺจนฺตเสโน ประธานคณะกรรมการดำเนินงานมอบพระไตรปิฏก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เฺฉลิมพระเกียรติให้แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยท่านอธิการบดีเดินทางมารับด้วยตนเอง พร้อมกับคณาจารย์ เจ้าหน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พระไตรปิกฎที่มอบให้ในวันนี้ สืบเนื่องด้วยปีนี้เป็นปีมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชมนมายุครบ 72 พรรษา ในวโรการปีมหามงคลนี้ประชาคมชาวมหาจุฬา ได้จัดกิจกรรมทั้งทางด้านวิชาการ จิตอาสา ทั้งด้านอื่น ๆ เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และเพื่อเทิดทูนสถานชาติ พระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ ในปีมหามงคล

ในการมอบพระไตรปิฏกในครั้งนี้ เป็นฉบับภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นพระไตรปิฎก ที่ครูบาอาจารย์ ขอมหาจุฬา  ฯที่นำโดย พระเดชพระคุณ ศาตราจารย์ ดร.พระพรหมบัณฑิต อธิการบดีเป็นบรรณาธิการใหญ่ ในการแปลจากภาษาลี ซึ่งเป็นต้นฉบับ มาสู่ภาษาไทย

เป็นฉบับเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาค พระราชอิสริยยศของสมเด็จพระพันปีหลวง ในสมัยนั้น เป็นพระไตรปิฏกที่ได้รับการพูดถึงว่าอ่านแล้วเข้าใจง่าย แปลสำนวนที่ไม่ทิ้งของเดิม ไม่ทิ้งภาษาบาลี เป็นภาษาร่วมสมัย อ่านแล้วเข้าใจง่ายที่สุดฉบับหนึ่ง






    “เบื้องต้นนี้จึงเจริญพรเรียนท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่า ทางมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขอมอบพระไตรปิฏกฉบับสำคัญนี้ ที่ลงทุนด้วยสติปัญญาและความอดทน ต่อประชาคมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไว้ ในวโรกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    นอกจากนั้น ที่ผ่านมาระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรามีความสัมพันธ์ที่ดีกันมาตลอด มีความสัมพันธ์ทั้งด้านสถานที่ วิชาการ กิจกรรมด้านอื่น ๆ มากมาย ในเบื้องต้นนั้น ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ มีความเคารพนับถือใกล้ชิดกับบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ท่านเป็นผู้สร้าง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในยุคเริ่มต้น เป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียง คือ พระพิลธรรม หรือ หลวงพ่ออาจ ประวัติศาสตร์บอกว่า ท่านสองนี้เป็นกัลยาณมิตรกัน ไปมาหาสู่กัน ปรึกษาหารือกัน และทั้งคู่เป็นผู้ที่มีความคิดล้ำสมัยตั้งแต่นั้น อันนี้ประการที่หนึ่ง

    ส่วนประการที่สอง เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มอบปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ให้กับ พระราชวรมุนี ปัจจุบันคือ พระพรหมบัณฑิต  ซึ่งท่านมีตำแหน่งทางวิชาการคือศาสตราจารย์ และเป็นศาสตราจารย์รูปแรกของ มจร ซึ่งตอนนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นมากในคณะสงฆ์ที่มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทยเห็นความสำคัญของพระภิกษุสงฆ์ 

    ส่วนเรื่องที่สามคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดกว้างทางวิชาการ ระยะแรกๆ  พระภิกษุ สามเณรจะไปศึกษามหาวิทยาลัยยากมาก แต่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยแรก ๆ ที่เปิดกระตู่กว้างให้กับพระภิกษุสามเณร ที่เรียกว่าเป็นเสรีภาพทางวิชาการ ใครก็ตามมีคุณสมบัติพร้อมก็มีสิทธิเรียน พวกเราพระภิกษุสามเณรที่สำเร็จจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยก็มีทางเลือกมากขึ้น  ซึ่งแต่เดิมไปได้เฉพาะอินเดีย เท่านั้น

ในนามพระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดีมหาจุฬา และชาวประชาคมมหาจุฬา ทั้งส่วนกลาง วิทยาลัยเขต 11 แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ 28 แห่ง หน่วยวิทยบริการ 4 แห่ง และสถาบันสมทบในต่างประเทศ 5 แห่ง ขอมอบพระไตรปิฏกฉบับเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในปีมหามงคล 6 รอบ 72 พรรษา แก่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อไปศึกษา เรียนรู้ และพัฒนาดังที่กล่าวมาแล้ว..”






ด้าน รองศาสตราจารย์ เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์น กล่าวว่า “ในนามของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันนี้รู้สึกยินดีปลาบปลื้มเป็นมาก ๆ ที่ได้มีพิธีกรรมที่น่าเลื่อมใส อยู่ด้วยแล้วมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง เป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับมอบพระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมีโอกาสรับมอบพระไตรปิฏกในวันนี้

สืบเนื่องจากการที่ทั้งสองสถาบันคือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้มีความร่วมมือกันทางวิชาการ การศึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางการวิชาการ ซึ่งสื่อให้เห็นถึงมิตรสัมพันธ์ ไมตรีทั้ง สองมหาวิทยาลัย ที่มีความสัมพันธ์ร่วมกันมาอันยาวนาน

สุดท้ายขอของกราบขอบพระคุณ พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โดยทาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จะเก็บพระไตรปิฏกฉบับนี้ ไว้เป็นสื่อ เพื่อศึกษา ค้นคว้า ให้กับคณาจารย์ นักศึกษา บุคคลากร ตลอดจนประชาชน หรือผู้สนใจ ได้ศึกษาต่อไป..”





Thank to : https://thebuddh.com/?p=78198
40  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “กมธ.ศาสนาฯสภาฯ” ลงพื้นที่เมืองคอน พร้อมหนุนวัดพระมหาธาตุเป็นมรดกโลก เมื่อ: มีนาคม 16, 2024, 06:09:26 am
.



“กมธ.ศาสนาฯสภาฯ” ลงพื้นที่เมืองคอน พร้อมหนุนวัดพระมหาธาตุเป็นมรดกโลก

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2567 เวลา 09.30 น. นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พร้อมคณะกรรมาธิการ เข้ากราบสักการะพระธรรมวชิรกร เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16,17,18 (ธรรมยุต) พระธรรมวชิรกรได้ให้โอวาทและฝากผลักดันให้วัดพระมหาธาตุ ที่มีการผลักดันขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมาเป็นเวลานาน ให้ได้ขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วย หลังจากนั้นคณะกรรมาธิการได้ลงพื้นที่เข้าชมบริเวณโดยรอบของวัดพระมหาธาตุ พร้อมทำพิธีห่มผ้าพระธาตุฯ

สำหรับรายชื่อคณะเดินทางไปศึกษาดูงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมศาสนา การอนุรักษ์พัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมไทย ของคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ระหว่างวันที่ 15 – 16 มีนาคม 2567 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย

1. นางเทียบจุฑา ขาวขำ ประธานคณะกรรมาธิการ
2. นายปิยชาติ รุจิพรวศิน รองประธานคณะกรรมาธิการ คนที่สอง
3. นายษฐา ขาวขำ โฆษกคณะกรรมาธิการ
4. นางสาวกานสินี โอภาสรังสรรค์ โฆษกคณะกรรมาธิการ
5. นายภูริวรรธก์ ใจสำราญ กรรมาธิการ
6. นางสาวสกุณา สาระนันท์ กรรมาธิการ
7. นายอภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล กรรมาธิการ
8. นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
9. นายคมสรรค์ สุนนทราช ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
10. นางณัฐณภรณ์ เอกนราจินดาวัฒน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
11. นายชุติพงศ์ พูนพล ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
12. พันตรี ประเสริฐ สายทองแท้ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
13. นายประสิทธิ์ โชติรัตน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการ
14. นายนเรนฤทธิ์ ทีปสว่าง เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
15. นางสาวมาตา ขาวขำ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
16. นางสาวนรินทร์นิภา หาญคำอุ้ย เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
17. นางสาวชนิษฎา กอหงษ์ เลขานุการประจำคณะกรรมาธิการ
18. นางสาวชัญญา กรรณจนะศิลป์ ผู้ช่วยดำเนินงานสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
19. นายศุภรัตน์ ศรีดีแก้ว วิทยากรชำนาญการพิเศษ
20. นายทีปกร มากเสมอ วิทยากรชำนาญการพิเศษ




จากนั้น คณะกรรมาธิการเข้ารับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับแนวทางการอนุรักษ์ และพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรมไทย รวมทั้งการดำเนินงานเพื่อขอขึ้นทะเบียนให้พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราชเป็นมรดกโลกจากผู้แทนส่วนราชการ ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย

1.) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
2.) ผู้อำนวยการกองโบราณคดี นายพงศ์ธันว์ สำเภาเงิน
3.) ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 12 นครศรีธรรมราช
4.) วัฒนธรรมจังหวัดนครศรีธรรมราช
5.) ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ในจุดเด่นของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร คือพระมหาธาตุเจดีย์ซึ่งมีความสูง 37 วา 2 ศอก 1 คืบ (55.99 เมตร) นอกจากนี้ยังมีวิหารสำคัญหลายหลัง เช่น

    1.) พระวิหารหลวง สร้างขึ้นในรัชกาลสมเด็จพระเจ้า ทรงธรรม กษัตริย์แห่งอยุธยา ต่อมาวิหารทรุดโทรมลง เจ้าพระยานครศรีธรรมราช สมัยรัตนโกสินทร์ จึงได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ใน พ.ศ. 2354 ถึง พ.ศ. 2382 วิหารหลังนี้จึงมีคุณค่าในแง่ของการ สืบทอดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์จากสมัยอยุธยา
    2.) วิหารธรรมศาลาและวิหารพระด้าน สันนิษฐานว่าวิหาร สร้างขึ้นในราว พ.ศ. 1919 เพื่อทำหน้าที่เป็นวิหารทิศตะวันออก และทำหน้าที่เป็นศาลาอเนกประสงค์ และการเทศนาธรรม ส่วนวิหารคดสร้างขึ้นภายหลังเพื่อล้อมรอบผังทำให้เกิดพื้นที่เขต พุทธาวาส และเป็นขอบเขตของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์
    3.) พระมหาธาตุเจดีย์และเจดีย์ราย เป็นการสถาปนา พระมหาธาตุเจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นเจดีย์รายทรง ระฆังที่มีจำนวนมากที่สุดในคาบสมุทรไทย-มาเลย์ ที่ฐานเจดีย์มีวิหาร ทับเกษตรซึ่งมีช้างล้อม ถือเป็นมหาสถูปที่สร้างตามคติพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์
    4.) วิหารพระทรงม้าและวิหารเขียน วิหารพระทรงม้า เป็นวิหารที่อยู่ต่อจากวิหารเขียน มีหลังคาคลุมบันไดขึ้นสู่ลาน ประทักษิณขององค์พระมหาธาตุเจดีย์ ภายในมีประติมากรรม ปูนปั้นตอนออกบรรพชาอุปสมบท (มหาภิเนษกรมณ์) ที่งดงามยิ่ง
    5.) วิหารโพธิ์ลังกา เป็นสถาปัตยกรรม สัญลักษณ์ พระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทแบบลังกาวงศ์ โดยนำหน่อต้น พระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้มาปลูกไว้กลางวิหาร

คุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร Outstanding Universal Value (OUV) of Wat Phra Mahathat Woramahawihan วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหารมีคุณค่าอันโดดเด่นสอดคล้องตามเกณฑ์ที่ศูนย์มรดกโลกกำหนดไว้ในเกณฑ์ข้อ i และ vi ดังนี้

    เกณฑ์ข้อ (i) แสดงออกถึงความสำคัญของการแลกเปลี่ยนคุณค่า ของมนุษย์ตามกาลเวลาในพื้นที่วัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่ง ของโลกในแง่สถาปัตยกรรม หรือทางเทคโนโลยี ศิลปะที่คงทน ถาวร ผังเมืองและการออกแบบภูมิทัศน์ และ
    เกณฑ์ข้อ (vi) มีความสัมพันธ์โดยตรงหรือเห็นสัมพันธ์เชิง รูปธรรม กับเหตุการณ์หรือประเพณีที่ยังคงอยู่ กับความคิด หรือความเชื่อ หรืองานศิลปะและวรรณกรรมที่มีความสำคัญและ มีความโดดเด่นเป็นสากล




สำหรับกรอบเวลาที่คาดว่าจัดทำเอกสารนำเสนอเป็นมรดกโลก (Nomination Dossier) มีดังนี้

    5 ม.ค. 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเอกสาร Nomination Dossier ถึงอธิบดีกรม (เพื่อเสนอต่อคณะทำงานของกระทรวงวัฒนธรรม)
    1 ก.พ. 2567 รับผลการตรวจแก้แนะนำเอกสาร Nomination Dossier
    1 มี.ค. 2567 จังหวัดนครศรีธรรมราชส่งเอกสาร Nomination Dosser (ฉบับภาษาไทย) ที่แก้ไขแล้ว ถึงคณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม เพื่อพิจารณาความถูกต้อง
    1 เม.ย. 2567 แปลและพิมพ์ต้นฉบับ (ภาษาอังกฤษ) + ภาคผนวก
    1 มิ.ย. 2567 ส่งเอกสาร Nomination Dossier ไปยังคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญา คุ้มครองมรดกโลกเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    15 มิ.ย. 2567 ส่งเอกสาร Nomination Dossier ไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบ และลงนามใน ฐานะผู้แทนรัฐภาคี
    30 ก.ย.2567 รัฐบาลไทยส่งเอกสาร Nomination Dossier ไปยังองค์การยูเนสโกเพื่อรับการพิจารณา
    15 พ.ย. 2567 สำนักเลขานุการศูนย์มรดกโลกตอบรัฐภาคีในเรื่องข้อคิดเห็นและการพิจารณาทบทวนร่าง แฟ้มเอกสารนำเสนอ โดยระบุถึงข้อมูลที่ยังขาดตกบกพร่องและจุดผิดพลาดที่จะต้องแก้ไข ให้ถูกต้อง
    1 ก.พ. 2568 วันสุดท้ายของการได้รับแฟ้มเอกสารนำเสนอ (Nomination Dossier) ที่สมบูรณ์ใน การพิมพ์ตามรูปแบบ เพื่อส่งต่อไปยังองค์กรที่ปรึกษา (Advisory Bodies) ที่เกี่ยวข้องทำการประเมิน

อย่างไรก็ตามนางเทียบจุฑา กล่าวว่า กรรมาธิการใน รัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา129 มีอำนาจหน้าที่พิจารณาสอบหาข้อเท็จจริงหรือศึกษาเรื่องใดๆ รวมถึงการสอบหาข้อเท็จจริงนั้น ตามอำนาจหน้าที่ดังกล่าว คณะกรรมาธิการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมพร้อมสนับสนุน วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ขึ้นเป็นมรดกโลก(World Heritage) ของ UNESCO ในประเทศไทย อันจะเป็น Soft power ของไทยต่อไป




Thank to : https://thebuddh.com/?p=78190
หน้า: [1] 2 3 ... 706