สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ธรรมะสัญจร => ข้อความที่เริ่มโดย: arlogo ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2013, 09:29:31 am



หัวข้อ: ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2013, 09:29:31 am

จำเป็นต้องต่อตอนสอง นะ เพราะว่าภาพมีมาก และ ใส่ไว้ในกระทู้เดียวทำให้เกิด ปัญหาการโหลดนาน สำหรับคนที่ใช้ GPRS นะ

(http://sphotos-g.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-frc1/526944_336720863111031_1076126159_n.jpg)
ป่าที่ภูแห่งนี้ ส่วนใหญ่ ต้นไม้ที่ขึั้น นี้จะเป็นต้น โกงกาง นะ เพราะจะสามารถใช้ชีิวิตบนหินทราบได้ ร่มเงาที่เห็นว่าน้อย ๆ เล็ก ๆ นี้ก็ยังช่วยให้ ภูแห่งนี้ไม่ร้อนจนเกินไป

(http://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-frc1/603902_336720899777694_2068423331_n.jpg)
อย่างน้อยก็ช่วยทำให้ภูนี้ ร้อนจนเกินไป ถึงแม้จะไม่ใช่พืชที่ใหญ่ โตเป็นร่มใบสูง อันที่จริงอยากให้มองเข้าไปในธรรมะด้วย ว่าคนเราบางครั้งไปอยู่ที่ ลำบากแต่ก็สามารถทำให้ ที่ลำบากเป็นที่ร่มเย็นได้ ก็เพราะว่า ทุกคนมีพื้นฐานคือ ศีล บาปก้อนใหญ่ ก็สามารถบรรเทาลงได้ ด้วยบุญที่ทำน้อย ๆ แต่ทำบ่อย ๆ ได้ฉันใด ประมาณนี้

(http://sphotos-f.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/382178_336720959777688_1432069483_n.jpg)
หมุดบอกเส้นทาง สำหรับคนที่หลงถ้าเดินหลง แล้วให้เดินไปตามลูกศร ดังนั้นการปฏิบัติภาวนาก็เช่นกัน เมื่อเราสับสนอลหม่านในจิตปฏิบัติรวมลงไม่ได้แล้ว ก็อย่าลืมพื้นฐาน คือ ครูอาจารย์กัลยาณมิตร เป็นบุคคลแรกที่จะช่วยเราได้ ให้ความกระจ่างและบรรเทาความสับสนลงได้

(http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/71397_336720989777685_1470032898_n.jpg)
ดังนั้นคนนำทาง จึงมีหน้าที่สำคัญ ถ้าคนนำทางไม่มีความรู้ และไม่เข้าใจอะไรเลย ก็ย่อมนำทางเราไปหลงด้วยกัน ดังนั้นกัลยาณมิตร ก็คือผู้ร่วมทางที่สำคัญ สำหรับผู้ภาวนาเป็นอย่างมาก

(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/404812_336720999777684_218539696_n.jpg)
มาถึงบ่อนางอุสา แห่งนี้ วิจิกิจฉา ( ความสงสัยก็เกิด ขึ้นมาว่า ) บ่อนางอุสานี้
   1.มีความลึกเท่าใด
   2.เขาใช้อุปกรณ์อะไรในการขุดหินทราบในสมัย 1000 กว่าปี
   3.แล้วน้ำจะมาจากไหน ถึงขุดไว้ จะมีน้ำได้อย่างไร

(http://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-snc7/581127_339333372849780_670521806_n.jpg)
   ตอบคำถามที่ 1 ว่ามีความลึกเท่าใด ก็คือ  5 เมตร  บ่อนี้ไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติ มีการขุดลงไป เป็นรูป 4 หลี่ยม ความลึกจากปากบ่อถึงก้นบ่อนั้นมีความลึก 5 เมตร พอดี
   
(http://sphotos-g.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/17710_336721153111002_1465725764_n.jpg)
  ตอบคำถามที่ 2 คือ สมัยก่อนสันนิษฐาน ยังเป็นดินทรายอ่อน ๆ เหมือน ดินศิลาแลง ที่ขุดลงไป เป็นทรายที่กำลังจับตัว การขุดทำใช้เพียงมีด บาง ๆ ก็สามารถทำให้ขึ้นรูปได้ ดูจากปากบ่อ มีการปั้นดิน และ ที่พื้นรอบบ่อ มีรอยเท้าอยู่ด้วยแสดงให้เห็นว่า ดินตอนนั้นเป็นดินอ่อน มิได้เป็นหินทรายอย่างปัจจุบันผ่านระยะเวลาเป็นพันปีมาจึงเปลี่ยนเป็นหิน

(http://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/563163_336721149777669_1430351252_n.jpg)
   ตอบคำถามที่ 3 น้ำมาจากฟ้า เท่านั้นไม่มีจากที่ไหนเลย คาดว่าสมัยก่อน น่าจะมีการทำรางน้ำฝนลงบ่อ ปัจจุบัน ในบ่อที่เห็นน้ำเขียว ๆ นั้นก็เป็นน้ำจากฟ้า โดยมิได้ทำรางรับน้ำคือ สะสมน้ำจากฟ้าอย่างเดียว



หัวข้อ: Re: ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2013, 09:38:34 am


(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/35464_336721323110985_656720626_n.jpg)
จากสันนิษฐาน เท่าที่สำรวจ สถานที่คิดว่า ในสมัยน่าจะมีคนอาศัยภูนี้อยู่ เป็นจำนวนมากเพราะมีสถานที่เป็นวัดหลายแห่ง

(http://sphotos-e.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/19614_336721426444308_1306330434_n.jpg)
และนอกจากเป็นวัดแล้ว ยังมีที่ ๆ เป็นเหมือนสำนักงานชุมชนด้วย

(http://sphotos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/526773_336721389777645_778511894_n.jpg)
การขึ้นลงสถานที่นี้ต้องขึ้นจากทางด้านหน้า เพราะทางด้านหลังเป็นผา

(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-prn1/543594_336721606444290_1001153732_n.jpg)
มีรายละเอียดการจัดสรร ที่เป็นแบบแผน แสดงถึงภูมิปัญญาของคนสมัยนั้น

(http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/404492_336721613110956_787579248_n.jpg)
นับว่าเป็น อุทยานประวัติศาสตร์ ที่ใครผ่านมาอุดรธานี แล้วควรเยี่ยมชม ใครรู้บ้างว่า
  อุดรธานี แปลว่า อะไร ?

(http://sphotos-a.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/521636_336721496444301_284493791_n.jpg)

(http://sphotos-h.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/579552_336721689777615_1843734976_n.jpg)

(http://sphotos-c.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/307347_336721716444279_1620458339_n.jpg)


หัวข้อ: Re: ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2013, 09:47:46 am
(http://www.hoteldirect.in.th/images/travels/UdonThani/Ban-Phue-Phuphrabat-Historical-Park4.jpg)


เที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อุดรธานี

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นสถานที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ ซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกกระบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำ ให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น

พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร

(http://sphotos-b.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash3/525073_426190697462390_1111497704_n.jpg)

เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า "พระพุทธบาทหลังเต่า"

(http://3.bp.blogspot.com/-BdkqROM-5T8/ThFEChU2NnI/AAAAAAAAABI/ql0B0oIX4zg/s1600/1264653391pic_.jpg)

ถ้ำ และเพิงหินต่างๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง (ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปรายเรขาคณิต) นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ ธรรมชาติได้สร้างเพิงหินต่าง ๆ ไว้ ทำให้มนุษย์รุ่นหลัง ๆ ได้จินตนาการผูกเป็นเรื่องตำนานพื้นบ้าน คือ เรื่อง "นางอุสา-ท้าวบารส"

เพิงหินที่สวยงามเหล่านี้ ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนหลักเสมา และหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตา และเพิงหินวัดลูกเขย ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้เล็ก ๆ ขึ้นอยู่ตามพื้นที่ชุ่มชื้นบริเวณลานหินเหล่านี้

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-16.30 นาฬิกา อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยวชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท

http://www.hoteldirect.in.th (http://www.hoteldirect.in.th)

การเดินทาง อุทยานฯ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานีประมาณ 67 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร



หัวข้อ: Re: ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2
เริ่มหัวข้อโดย: rainmain ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2013, 07:13:43 pm
อนุโมทนา สาธุ กับพระอาจารย์ ที่นำเรื่องราวจาริกอิสาณ มาให้อ่าน ทำให้เกิดความรู้สึกพอกพูนในธรรม เพิ่มขึ้นครับ สำหรับ ผู้ที่ปิดทองหลังพระอย่างพระอาจารย์ นับว่าเป็นเวลาที่หาได้ยาก ในการร่วมบุญจาริกด้วยครับ

 thk56 st12 st11


หัวข้อ: Re: ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2
เริ่มหัวข้อโดย: catwoman ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2013, 08:25:45 am
การจาริก ของ พระอาจารย์ปี 56 มีสาระธรรม มาฝากให้ ผู้อ่านได้อ่านเยอะมากคะ ไม่่ทราบพระอาจารย์จาริกอย่างนี้บ่อยครั้งหรือไม่คะ นำผู้ติดตามไปกี่ท่าน หรือ ส่วนใหญ่ ไปท่านเดียว คะ ปี 2555 ไปที่ไหนคะ จำได้ว่าเคยเห็นไปเชียงใหม่ กันเป็นคณะ

     อยากไปด้วย คะ ถ้ามีกำหนดการแน่นอน ได้เที่ยว ได้ทำบุญ ได้ฟังธรรม ได้ภาวนา

    st11 st12