ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2  (อ่าน 4783 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

จำเป็นต้องต่อตอนสอง นะ เพราะว่าภาพมีมาก และ ใส่ไว้ในกระทู้เดียวทำให้เกิด ปัญหาการโหลดนาน สำหรับคนที่ใช้ GPRS นะ


ป่าที่ภูแห่งนี้ ส่วนใหญ่ ต้นไม้ที่ขึั้น นี้จะเป็นต้น โกงกาง นะ เพราะจะสามารถใช้ชีิวิตบนหินทราบได้ ร่มเงาที่เห็นว่าน้อย ๆ เล็ก ๆ นี้ก็ยังช่วยให้ ภูแห่งนี้ไม่ร้อนจนเกินไป


อย่างน้อยก็ช่วยทำให้ภูนี้ ร้อนจนเกินไป ถึงแม้จะไม่ใช่พืชที่ใหญ่ โตเป็นร่มใบสูง อันที่จริงอยากให้มองเข้าไปในธรรมะด้วย ว่าคนเราบางครั้งไปอยู่ที่ ลำบากแต่ก็สามารถทำให้ ที่ลำบากเป็นที่ร่มเย็นได้ ก็เพราะว่า ทุกคนมีพื้นฐานคือ ศีล บาปก้อนใหญ่ ก็สามารถบรรเทาลงได้ ด้วยบุญที่ทำน้อย ๆ แต่ทำบ่อย ๆ ได้ฉันใด ประมาณนี้


หมุดบอกเส้นทาง สำหรับคนที่หลงถ้าเดินหลง แล้วให้เดินไปตามลูกศร ดังนั้นการปฏิบัติภาวนาก็เช่นกัน เมื่อเราสับสนอลหม่านในจิตปฏิบัติรวมลงไม่ได้แล้ว ก็อย่าลืมพื้นฐาน คือ ครูอาจารย์กัลยาณมิตร เป็นบุคคลแรกที่จะช่วยเราได้ ให้ความกระจ่างและบรรเทาความสับสนลงได้


ดังนั้นคนนำทาง จึงมีหน้าที่สำคัญ ถ้าคนนำทางไม่มีความรู้ และไม่เข้าใจอะไรเลย ก็ย่อมนำทางเราไปหลงด้วยกัน ดังนั้นกัลยาณมิตร ก็คือผู้ร่วมทางที่สำคัญ สำหรับผู้ภาวนาเป็นอย่างมาก


มาถึงบ่อนางอุสา แห่งนี้ วิจิกิจฉา ( ความสงสัยก็เกิด ขึ้นมาว่า ) บ่อนางอุสานี้
   1.มีความลึกเท่าใด
   2.เขาใช้อุปกรณ์อะไรในการขุดหินทราบในสมัย 1000 กว่าปี
   3.แล้วน้ำจะมาจากไหน ถึงขุดไว้ จะมีน้ำได้อย่างไร


   ตอบคำถามที่ 1 ว่ามีความลึกเท่าใด ก็คือ  5 เมตร  บ่อนี้ไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติ มีการขุดลงไป เป็นรูป 4 หลี่ยม ความลึกจากปากบ่อถึงก้นบ่อนั้นมีความลึก 5 เมตร พอดี
   

  ตอบคำถามที่ 2 คือ สมัยก่อนสันนิษฐาน ยังเป็นดินทรายอ่อน ๆ เหมือน ดินศิลาแลง ที่ขุดลงไป เป็นทรายที่กำลังจับตัว การขุดทำใช้เพียงมีด บาง ๆ ก็สามารถทำให้ขึ้นรูปได้ ดูจากปากบ่อ มีการปั้นดิน และ ที่พื้นรอบบ่อ มีรอยเท้าอยู่ด้วยแสดงให้เห็นว่า ดินตอนนั้นเป็นดินอ่อน มิได้เป็นหินทรายอย่างปัจจุบันผ่านระยะเวลาเป็นพันปีมาจึงเปลี่ยนเป็นหิน


   ตอบคำถามที่ 3 น้ำมาจากฟ้า เท่านั้นไม่มีจากที่ไหนเลย คาดว่าสมัยก่อน น่าจะมีการทำรางน้ำฝนลงบ่อ ปัจจุบัน ในบ่อที่เห็นน้ำเขียว ๆ นั้นก็เป็นน้ำจากฟ้า โดยมิได้ทำรางรับน้ำคือ สะสมน้ำจากฟ้าอย่างเดียว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 19, 2013, 09:32:03 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2013, 09:38:34 am »
0



จากสันนิษฐาน เท่าที่สำรวจ สถานที่คิดว่า ในสมัยน่าจะมีคนอาศัยภูนี้อยู่ เป็นจำนวนมากเพราะมีสถานที่เป็นวัดหลายแห่ง


และนอกจากเป็นวัดแล้ว ยังมีที่ ๆ เป็นเหมือนสำนักงานชุมชนด้วย


การขึ้นลงสถานที่นี้ต้องขึ้นจากทางด้านหน้า เพราะทางด้านหลังเป็นผา


มีรายละเอียดการจัดสรร ที่เป็นแบบแผน แสดงถึงภูมิปัญญาของคนสมัยนั้น


นับว่าเป็น อุทยานประวัติศาสตร์ ที่ใครผ่านมาอุดรธานี แล้วควรเยี่ยมชม ใครรู้บ้างว่า
  อุดรธานี แปลว่า อะไร ?






บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2013, 09:47:46 am »
0



เที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อุดรธานี

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูพาน ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3,430 ไร่ ในเขตบ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นสถานที่แสดงถึงอารยธรรมของมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศ ซึ่งมีโครงสร้างส่วนใหญ่เป็นหินทรายที่ถูกกระบวนการกัดกร่อนทางธรรมชาติทำ ให้เกิดเป็นโขดหินน้อยใหญ่รูปร่างต่าง ๆ กัน ปรากฏเป็นหลักฐานเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในอดีตที่น่าสนใจหลายแห่ง เช่น

พระพุทธบาทบัวบก ตั้งอยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ซึ่งชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ผักหนอก บัวบกนี้คงจะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร



เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี

พระพุทธบาทหลังเต่า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า "พระพุทธบาทหลังเต่า"



ถ้ำ และเพิงหินต่างๆ ตั้งกระจายอยู่ทั่วไปในบริเวณอุทยานฯ นักท่องเที่ยวสามารถเดินชมได้ในระยะทางไม่ไกลนัก ได้แก่ ถ้ำลายมือ ถ้ำโนนสาวเอ้ ถ้ำคน ถ้ำวัวแดง (ซึ่งถ้ำเหล่านี้สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นที่พำนักของมนุษย์สมัยหิน และมนุษย์เหล่านั้นได้เขียนรูปต่าง ๆ ไว้ เช่น รูปคน รูปมือ รูปสัตว์ และรูปรายเรขาคณิต) นอกจากนั้นยังมีลานหินที่สวยงาม คือ ลานหินโนนสาวเอ้ ธรรมชาติได้สร้างเพิงหินต่าง ๆ ไว้ ทำให้มนุษย์รุ่นหลัง ๆ ได้จินตนาการผูกเป็นเรื่องตำนานพื้นบ้าน คือ เรื่อง "นางอุสา-ท้าวบารส"

เพิงหินที่สวยงามเหล่านี้ ได้แก่ คอกม้าท้าวบารส หอนางอุสา บ่อน้ำนางอุสา นอกจากนั้นยังพบชิ้นส่วนหลักเสมา และหินทรายจำหลัก พระพุทธรูปศิลปะสมัยทวาราวดี ที่เพิงหินวัดพ่อตา และเพิงหินวัดลูกเขย ในช่วงปลายฝนต้นหนาวจะมีดอกไม้เล็ก ๆ ขึ้นอยู่ตามพื้นที่ชุ่มชื้นบริเวณลานหินเหล่านี้

อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาทเปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-16.30 นาฬิกา อัตราค่าเข้าชม นักท่องเที่ยวชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท

http://www.hoteldirect.in.th

การเดินทาง อุทยานฯ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดอุดรธานีประมาณ 67 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2 เส้นอุดรธานี-หนองคาย ถึงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 13 แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทางประมาณ 42 กิโลเมตร แยกขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 2348 อีกประมาณ 12 กิโลเมตร มีแยกขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 19, 2013, 09:59:59 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2013, 07:13:43 pm »
0
อนุโมทนา สาธุ กับพระอาจารย์ ที่นำเรื่องราวจาริกอิสาณ มาให้อ่าน ทำให้เกิดความรู้สึกพอกพูนในธรรม เพิ่มขึ้นครับ สำหรับ ผู้ที่ปิดทองหลังพระอย่างพระอาจารย์ นับว่าเป็นเวลาที่หาได้ยาก ในการร่วมบุญจาริกด้วยครับ

 thk56 st12 st11
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

catwoman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 88
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 08:25:45 am »
0
การจาริก ของ พระอาจารย์ปี 56 มีสาระธรรม มาฝากให้ ผู้อ่านได้อ่านเยอะมากคะ ไม่่ทราบพระอาจารย์จาริกอย่างนี้บ่อยครั้งหรือไม่คะ นำผู้ติดตามไปกี่ท่าน หรือ ส่วนใหญ่ ไปท่านเดียว คะ ปี 2555 ไปที่ไหนคะ จำได้ว่าเคยเห็นไปเชียงใหม่ กันเป็นคณะ

     อยากไปด้วย คะ ถ้ามีกำหนดการแน่นอน ได้เที่ยว ได้ทำบุญ ได้ฟังธรรม ได้ภาวนา

    st11 st12
บันทึกการเข้า