ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อำนาจ ของบทแผ่เมตตา ระดับไหน ที่จะปลอดภัยกับสัตว์ คะ  (อ่าน 4844 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sanrak

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1 ask1 ask1

  มีผู้กล่าวให้เราฟัง ตั้งแต่เด็กแล้วว่า การแผ่เมตตา จะทำให้สัตว์รักเรา ก็เลยตั้งใจแผ่เมตตา มาตั้งแต่เด็กฝึกกันมาตั้งแต่อายุ 12 จน 30 กว่าแล้ว ก็ไม่เห็นสัตว์ จะเลิกเบียดเบียนเราเลยคะ

   เช่น เวลานั่งกรรมฐาน ก็ถูกยุงกัด
        เดินไปตามถนน หมาก็ไล่กัด
     เป็นต้น

   ด้องทำถึงระดับไหน ถึงจะ ได้ผล กันคะ

   :'( :c017:
 
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อำนาจ ของบทแผ่เมตตา ระดับไหน ที่จะปลอดภัยกับสัตว์ คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2013, 10:00:39 pm »
0
ที่โยมกล่าวมา พระเองเวลานั่งกรรมฐานกัน ก็โดนยุงกันเหมือนกัน

แต่ก็เป็นเรื่องที่แปลอยู่ เพราะว่า เขาจะมากัด แค่สองสามตัว แล้วก็จะไม่เจอกัดอีก 

เรามาเข้าใจที่หลัง 

เอาอย่างนี้ เคยเห็นคนที่เป็นโรคที่หมอไม่สามารถที่จะรักษาได้หาย จักต้องตายไหม ?

 แต่อยู่ดี ๆ ก็เกิดหายได้ซะอย่างนั้น โดยที่หมอก็ไม่สามารถ อธิบายได้ ก็เพราะอะไรละ ?

      ก็เพราะว่า ที่เป็นกันเพราะกรรมก็มี

   อย่าง ยุงกัด พระอาจารย์สนธยา ก็เคยบอกว่า เราก็ผ่อนส่งใช้กรรมคืนเขาไป  ก็ดีกว่า เจอแบบแรง ๆ เต็ม ๆ
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อำนาจ ของบทแผ่เมตตา ระดับไหน ที่จะปลอดภัยกับสัตว์ คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 12:30:55 pm »
0


อัปโหลดเมื่อ 28 เม.ย. 2010 โดย Pongkasem Sukhum

การแผ่เมตตาต้องไม่มีนิวรณ์ (เตวิชชสูตร)
       ดูกรวาเสฏฐะ ภิกษุพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการเหล่านี้ที่ยังละไม่ได้ในตน เหมือนหนี้เหมือนโรค เหมือนเรือนจำ เหมือนความเป็นทาส เหมือนทางไกลกันดาร และเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ ประการที่ละได้แล้วในตนเหมือนความไม่มีหนี้ เหมือนความไม่มีโรค เหมือนการพ้นจากเรือนจำ เหมือนความเป็นไทแก่ตน เหมือนภูมิสถานอันเกษม ฉันนั้นแล.

      เมื่อเธอพิจารณาเห็นนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ ที่ละได้แล้วในตน ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปิติ เมื่อมีปิติในใจ กายย่อมสงบ เธอมีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุขเมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น
      เธอมีใจประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สามที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่าในทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
      คนเป่าสังข์ผู้มีกำลัง พึงยังบุคคลให้รู้แจ้งทั้งสี่ทิศ โดยไม่ยากเลย ฉันใด
      กรรมที่ทำพอประมาณอันใดในเมตตาเจโตวิมุตติ ที่บุคคลอบรมแล้วอย่างนี้กรรมนั้นจะไม่เหลือ ไม่ตั้งอยู่ในรูปาพจรและอรูปาพจรนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน
      ดูกรวาเสฏฐะแม้นี้แล ก็เป็นทางเพื่อความเป็นสหายแห่งพรหม.

__________________________________________________________
ที่มา เตวิชชสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=9&A=8549


การแผ่เมตตาต้องใช้อุปจารสมาธิเป็นอย่างต่ำ
       เมื่อตรัสว่า เมตฺตา ในบทว่า เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา นี้ ควรทั้งอุปจาร ทั้งอัปปนา.
      แต่เมื่อตรัสว่า เจโตวิมุตฺติ ควรแก่อัปปนาอย่างเดียว.

_________________________________
ที่มา อรรถกถา ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เตวิชชสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=365


ขอบคุณภาพจาก http://www.vcharkarn.com/

อานิสงส์ของการแผ่เมตตาไม่ได้กล่าวถึงสัตว์เดรัจฉาน
      [๒๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้วเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆอบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้
     อานิสงส์ ๑๑ประการเป็นไฉน คือ
     ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑
     ตื่นเป็นสุข ๑
     ไม่ฝันลามก ๑
     ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑
     ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑
     เทวดาย่อมรักษา ๑
     ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๑
     จิตของผู้เจริญเมตตาเป็นสมาธิได้รวดเร็ว ๑
     สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑
     ย่อมไม่หลงใหลกระทำกาละ ๑
     เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้วทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้วอานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ

_____________________________________________________________________
ที่มา เมตตาสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=24&A=8297&Z=8309&pagebreak=0



อัปโหลดเมื่อ 8 ก.พ. 2011 โดย donutyiamtui

การแผ่เมตตาต้องแผ่ให้ครบทั้งสิบทิศ
  [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน
    เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า
    ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด
    ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ
    ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์
    ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี
    ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
    จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด


    ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ
    ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพหญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง
    เทวดาทั้งปวงมนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง
    จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด

    วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัจจิม ฯลฯ
    วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์         
    วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสานวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี
    วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน
    จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด


   เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้
   เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ
   ด้วยการเว้นความบีบคั้นไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑
   ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑
   ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑
   ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ทั้งปวง ๑
   ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑
   ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑
   จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑
   จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑

   จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น
   ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง
   จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ

____________________________________________________________
ที่มา ยุคนัทธวรรค เมตตากถา สาวัตถีนิทาน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=8449&Z=8691&pagebreak=0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อำนาจ ของบทแผ่เมตตา ระดับไหน ที่จะปลอดภัยกับสัตว์ คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 12:54:52 pm »
0

ขอบคุณภาพจาก http://3.bp.blogspot.com/

การแผ่เมตตาให้สัตว์เดรัจฉานควรใช้คาถานี้(ขันธปริตร)

เรื่องภิกษุถูกงูกัด
    [๒๖] สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดถึงมรณภาพ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค
    พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุรูปนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ ภิกษุรูปนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ
    ตระกูลพญางูทั้ง ๔ อะไรบ้าง คือ
                          ๑. ตระกูลพญางูวิรูปักขะ
                          ๒. ตระกูลพญางูเอราปถะ
                          ๓. ตระกูลพญางูฉัพยาปุตตะ
                          ๔. ตระกูลพญางูกัณหาโคตมกะ
    ภิกษุรูปนั้นไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุนั้นแผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ ภิกษุนั้นจะไม่พึงถูกงูกัดถึงมรณภาพ


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้แผ่เมตตาจิตไปสู่ตระกูลพญางูทั้ง ๔ นี้ เพื่อคุ้มครองตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน ก็แล พึงทำการแผ่อย่างนี้:-


ขอบคุณภาพจาก http://sphotos-a.xx.fbcdn.net/

คาถาแผ่เมตตากันงูกัด
      [๒๗] เรากับพญางูตระกูลวิรูปักขะ จงมีเมตตาต่อกัน
      เรากับพญางูตระกูลเอราปถะ จงมีเมตตาต่อกัน
      เรากับพญางูตระกูลฉัพยาปุตตะ จงมีเมตตาต่อกัน
      เรากับพญางูตระกูลกัณหาโคตมกะ จงมีเมตตาต่อกัน
      เรากับฝูงสัตว์ที่ไม่มีเท้า จงมีเมตตาต่อกัน
      เรากับฝูงสัตว์ ๒ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน
      เรากับฝูงสัตว์ ๔ เท้า จงมีเมตตาต่อกัน
      เรากับฝูงสัตว์มีเท้ามาก จงมีเมตตาต่อกัน
      สัตว์ไม่มีเท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
      สัตว์ ๒ เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
      สัตว์ ๔ เท้าอย่าได้เบียดเบียนเรา
      สัตว์มีเท้ามากอย่าได้เบียดเบียนเรา

    แลสัตว์ที่เกิดแล้วยังมีชีวิตทั้งมวลทุกหมู่เหล่า จงประสพความเจริญ อย่าได้พบเห็นสิ่งลามกสักน้อยหนึ่งเลย
    พระพุทธเจ้ามีพระคุณหาประมาณมิได้ พระธรรมมีพระคุณหาประมาณมิได้ พระสงฆ์มีพระคุณหาประมาณมิได้
     แต่สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู มีคุณพอประมาณ ความรักษาอันเราทำแล้ว ความป้องกันอันเราทำแล้ว ขอฝูงสัตว์ทั้งหลายจงถอยกลับไปเถิด เรานั้นขอนมัสการแด่พระผู้มีพระภาค ขอนมัสการแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๗ พระองค์ ฯ

________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๒๑๖ - ๒๔๙. หน้าที่ ๑๐ - ๑๑.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=216&Z=249&pagebreak=0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อำนาจ ของบทแผ่เมตตา ระดับไหน ที่จะปลอดภัยกับสัตว์ คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 01:16:39 pm »
0


บุคคลที่เป็นโทษแห่งเมตตา
     ๑. บุคคลที่เกลียดกัน ตั้งอยู่ในฐานแห่งคนรักกันย่อมลำบาก
    ๒. บุคคลที่เป็นสหายรักกันมาก ตั้งไว้ในฐานแห่งคนกลางๆย่อมลำบาก เมื่อทุกข์เกิดขึ้นแก่เขาจนถึงกับร้องไห้ได้
    ๓. บุคคลที่เป็นกลางๆกันตั้งอยู่ในฐานแห่งคนรักย่อมลำบาก
    ๔. บุคคลที่เป็นศัตรูกัน ความโกรธย่อมเกิดขึ้น


   เหตุนั้นไม่ควรเจริญในบุคคล ๔ ประเภทข้างต้น ในบุคคลที่เป็นข้าศึกกัน มีเพศเป็นข้าศึกกัน เพศตรงข้าม
   เมื่อเจริญเจาะจง ถึงเพศมีเป็นข้าศึกต่อกัน ความกำหนัดย่อมเกิดขึ้น
   ในคนที่ทำกาลกิริยาตายแล้ว ไม่ควรเจริญด้วยทีเดียว
   เมื่อเจริญไปจิตก็ไม่ถึงอัปปนาสมาธิไม่ถึงอุปจารได้เลย เพราะเมตตามีสัตว์ทั้งหลายเป็นอารมณ์



ควรเจริญเมตตาในตนเองก่อน
    ควรเจริญเมตตาให้ตนเองบ่อยๆอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นผู้ถึงความสุขไม่มีทุกข์เถิดเป็นต้น 
   เพื่อเป็นพยานว่า ไม่มีใครรักผู้อื่นนอกจากตนเองหรือยิ่งกว่าตนเองฉันใด แม้คนอื่นก็รักตนเองมากฉันนั้น 
   ดังนั้น จึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น เมื่อใจเรามีสุขแล้ว ก็แผ่ความสุขให้แก่ผู้อื่นด้วยใจ



การแผ่เมตตาให้กับคนอื่น หรือสัตว์อื่น
     เมื่อเจริญเมตตาในตนจนจิตมีความสุขแล้ว จึงแผ่ให้กับผู้อื่นหรือสัตว์อื่น 
    แผ่ให้ผู้อื่นแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง แผ่เจาะจง อย่างหนึ่ง เช่น ขอเทพทั้งหลายทั้งปวง จงไม่มีเวร มีภัย มีสุขเถิด 
    การแผ่แบบไม่เจาะจง คือ ไม่จำกัดสัตว์ประเภทไหน เช่น ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความบีบคั้น ไม่มีทุกข์ มีความสุข รักษาตนอยู่เถิด



การแผ่เมตตารวมแดน
    การแผ่เมตตารวมแดน(สีมสัมเภท) คือ การทำเมตตาให้มีขึ้นบ่อยๆ ทำให้เนื่องๆ
    ทำให้มากจนจิตของเราเสมอในชนทั้ง ๔ จำพวก คือ
        ๑. ในตนเอง   
        ๒. ในบุคคลที่รัก 
        ๓. ในคนกลาง ๆ 
        ๔. ในคนเป็นศัตรูกัน


     เมื่อใดชนทั้ง ๔ จำพวก อันภิกษุทำจิตเสมอ รวมเข้าด้วยกันแล้ว
     แผ่ไปยังสัตว์โลกทั้งปวง กับทั้งเทวดาด้วยเสมอกันหมด เมื่อนั้นเธอเป็นผู้มีเมตตาไม่ปรากฏแดน     
     ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ในเมตตาภาวนา เมตตาเจโตวิมุตติเป็นทางออกไปแห่งพยาบาท

_________________________________________________________________
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: อำนาจ ของบทแผ่เมตตา ระดับไหน ที่จะปลอดภัยกับสัตว์ คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 01:45:37 pm »
0
ask1 ask1 ask1

  มีผู้กล่าวให้เราฟัง ตั้งแต่เด็กแล้วว่า การแผ่เมตตา จะทำให้สัตว์รักเรา ก็เลยตั้งใจแผ่เมตตา มาตั้งแต่เด็กฝึกกันมาตั้งแต่อายุ 12 จน 30 กว่าแล้ว ก็ไม่เห็นสัตว์ จะเลิกเบียดเบียนเราเลยคะ

   เช่น เวลานั่งกรรมฐาน ก็ถูกยุงกัด
        เดินไปตามถนน หมาก็ไล่กัด เป็นต้น
     
   ด้องทำถึงระดับไหน ถึงจะ ได้ผล กันคะ

   :'( :c017:
 


      ans1 ans1 ans1
     
     จริงๆแล้วผมตอบไม่ได้ ข้อธรรมที่นำเสนอข้างต้น ยังไม่ค่อยเข้าใจนัก แต่ก็จะคุยเป็นเพื่อน
      ๑. การแผ่ต้องใช้กำลังของสมาธิ ระดับอุปจารสมาธิเป็นอย่างต่ำ
      ๒. อานิสงส์การแผ่เมตตาในพระสูตร ไม่ได้กล่าวถึง หมาหรือยุงไว้เลย คำว่า "อมนุษย์" น่าจะหมายถึงเปรต(วินิปาติกสัตว์)มากกว่า
      ๓. หมาหรือยุง ตลอดจนสัตว์เดรัจฉานอื่นๆ น่าจะอยู่ในขันธปริตร(คาถาแผ่เมตตากันงูกัด) ซึ่งอยู่ในพระวินัย


      หากถามว่า การแผ่เมตตาระดับไหนจึงจะได้ผลกับสัตว์ทุกชนิด
      ตอบว่า ไม่ทราบครับ
      แต่หากจะเดากันไปเพื่อความบันเทิง ขอเดาว่า ต้องเป็นระดับ "ออกบัวบานพรหมวิหาร" ของหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน เพราะท่านสามารถทำใหไก่ป่าเชื่องได้ นั่นน่าจะนับได้ว่า สุดยอดแล้ว


      หากถามต่อไปว่า แล้ว"ออกบัวบานพรหมวิหาร" เป็นอย่างไร
      ตอบว่า ไม่รู้สิ
      แต่ก็ขอเดาว่า น่าจะเป็น "การแผ่เมตตารวมแดน" เพราะระดับนี้ต้องมองทุกคนเสมอกันหมด อาจกล่าวได้ว่า ในสายตาของผู้แผ่เมตตา ไม่มีสัตว์ ไม่มีตัวตน ไม่มีบุคคล ไม่มีเราเขา คือ มองเห็นโลกว่างนั่นเอง
      คุณธรรมระดับ ควรเป็นพระอรหันต์เท่านั้น
      ขอคุยเท่านี้ครับ ขอให้คุณsanrak อ่านทุกตัวอักษรนะครับ เพื่อความเข้าใจ

       :25:
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 01:47:15 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ