ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การประเคนของพระ ทำไมต้องผ่านการวางผ้า คะ  (อ่าน 12701 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ที่จริง ก็สงสัย เหมือนกันว่า

เวลาที่เราถวาย ของพระภิกษุ นั้นทำไม พระท่าน ต้องให้ประเคน ในเมื่อเรากล่าวถวายแล้ว

และมอบให้แล้ว

ยิ่งตอนที่รับด้วยทำไม ต้องวางบนผ้า ผู้มอบ ก็ต้องจับศอก จับแขน กันด้วย

ทำไมจึงรับแตะที่วัตถุที่รับ โดยตรงไม่ได้หรือ

เพราะบางที ไปถวายพระท่าน ก็หาผ้า บางทีไม่มี ผ้า ท่านก็ฉวยสมุด หรือ กระดาษ มาเป็นที่รองรับ

วิธีปฏิบัติ ที่ถูกต้องนั้น ควรทำอย่างไร คร้า

ไม่ใช่ผ้ารับ ได้  หรือป่าว คร้า

 :88: :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การประเคนของพระ ทำไมต้องผ่านการวางผ้า คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 08:34:21 am »
0
   
การประเคนของ

                       การประเคน  หมายถึง  การมอบให้ด้วยความเคารพ ใช้ปฏิบัติต่อพระสงฆ์ เพราะมีพระวินัยบัญญัติ ห้ามพระสงฆ์หยิบสิ่งของมาขบฉันเองโดยไม่มีผู้ประเคน ยกเว้นน้ำเปล่าที่ไม่ผสมสี เช่น  น้ำฝน น้ำปะปา เป็นต้น  การประเคนของจึงเป็นการสนับสนุนให้พระสงฆ์ปฏิบัติตามพระวินัยได้ถูกต้อง

     หลักเบื้องต้นในการประเคน มีดังนี้
          ๑.  ของนั้นไม่ใหญ่โตหรือหนักเกินไป สามารถจับยกได้โดยคนเดียว

          ๒. ผู้ประเคนควรเข้าไปอยู่ในหัตถบาส  หมายถึง  เอามือประสานกันแล้วยื่นไปข้างหน้าห่างจากพระสงฆ์ประมาณ ๑ ศอก

          ๓. ถ้าเป็นชาย ยกของที่จะประเคนถวายพระสงฆ์ได้เลย ถ้าเป็นผู้หญิง ให้วางของที่จะประเคนลงบนผ้ารับประเคน

          ๔. เมื่อประเคนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อย่าไปจับเลื่อนของที่ประเคนแล้ว หากเผลอไปจับเลื่อนถือว่าขาดประเคนต้องประเคนใหม่

 

   อาหารที่ต้องห้ามสำหรับพระภิกษุสงฆ์  

                 เป็นอาหารที่ไม่ควรแก่สมณะบริโภคได้แก่ เนื้อ ๑๐ ชนิด และอาหารที่ปรุงด้วยเนื้อ ๑๐ ชนิด ดังนี้

                            ๑. เนื้อมนุษย์รวมถึงเลือดมนุษย์ด้วย               ๖. เนื้อราชสีห์(สิงโต)
                            ๒. เนื้อช้าง                                                  ๗. เนื้อเสือโคร่ง
                            ๓. เนื้อม้า                                                    ๘. เนื้อเสือเหลือง
                            ๔. เนื้อสุนัข                                                 ๙. เนื้อหมี
                            ๕. เนื้องู                                                      ๑๐.เนื้อเสือดาว


                 ส่วนเนื้อสัตว์นอกเหนือจากนี้ถ้าเป็นเนื้อที่ยังดิบ(ยัง ไม่สุกด้วยความร้อนจากไฟ) ทรงห้ามฉัน

     ถ้าสุกแล้วอนุญาตให้ฉันได้ และเนื้อสัตว์ที่ฆ่าเจาะจงทำถวายพระภิกษุสามเณร ถ้าพระภิกษุไม่ได้เห็น

     การฆ่านั้น ไม่ได้ยินมาก่อนว่าฆ่าเจาะจง ไม่ได้สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อเป็นของเฉพาะเจาะจงแก่ตนก็ขบ ฉันได้ไม่มีโทษ

      สิ่งของที่ประเคนพระภิกษุสงฆ์ได้เวลาก่อนเที่ยง
        เครื่องไทยธรรม ประเภทอาหารคาวหวานทุกชนิด ได้แก่

      ๑. อาหารสด เช่น อาหารคาว หวาน รวมทั้งผลไม้ทุกชนิด
      ๒. อาหารแห้ง เช่น ปลาเค็ม เนื้อเค็ม ข้าวสาร ฯลฯ
      ๓. อาหารเครื่องกระป๋องทุกประเภท เช่น นม โอวัลติน ปลากระป๋อง ถ้าจะนำไปถวายหลังเที่ยงวันไปแล้ว

         
นิยมเพียงแต่แจ้งให้พระภิกษุรับทราบ แล้วมอบสิ่งของดังกล่าวให้ลูกศิษย์ของท่านเก็บรักษาไว้ถวายท่านในวันต่อไป
       
สิ่งที่ประเคนได้ตลอดเวลา
                   เครื่องดื่มทุกชนิด ประเภทเครื่องยาบำบัดป่วยไข้หรือประเภทเภสัชที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

        สิ่งของที่ทรงห้ามมิให้ภิกษุจับต้อง
             ทรงเรียกสิ่งของดังกล่าวว่า วัตถุอนามาส จึงไม่นิยมนำไปประเคนถวายพระภิกษุมีดังต่อไปนี้

          * ผู้หญิง รวมทั้งเครื่องแต่งกายหญิง รูปภาพหญิง รูปปั้นหญิงทุกชนิด
          * รัตนะ ๑๐ ประการ คือ เงิน ทอง แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วประพาฬ ทับทิม บุษราคัม สังข์(ที่เลี่ยมทอง) ศิลา เช่น หยก และโมรา เป็นต้น
          * เครื่องศัตราวุธทุกชนิดอันเป็นเครื่องทำลายชีวิต
          * เครื่องดักสัตว์บก สัตว์น้ำทุกชนิด
          * เครื่องประโคมดนตรีทุกอย่าง
          * ข้าวเปลือก และผลไม้ที่เกิดอยู่กับที่


ที่มา  http://kalyanamitra.org/culture/index31.html

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การประเคนของพระ ทำไมต้องผ่านการวางผ้า คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 09:49:51 am »
0
กินเป็น
พุทธศาสนา ทรรศนะและวิจารณ์
ศาตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก / ราชบัณฑิต


ตอน นี้จะพูดถึงประเภทของการกินของสมาชิกในวัด การกินของพระนั้นเรียกตามศัพท์เทคนิคว่า ฉัน ก่อนจะฉันต้องมีพิธีรีตองกันพอสมควร คือต้องมีคนประเคนให้เสียก่อนจึงจะฉันได้ อยู่ๆ จะหยิบกินเองไม่ได้

ปรับอาบัติคือมีความผิดตามพระวินัย คำว่า "ประเคน" หมายถึง กิริยา อาการที่คนอื่นที่ไม่ใช่พระด้วยกันยื่นให้ในหัตถบาส

และคำว่า "หัตถบาส" หมายถึงระยะช่วงแขนหนึ่ง หรือสองศอก ห่างกว่านั้นถือเป็นโมฆะใช้ไม่ได้ เรียกตามภาษาพระว่า "ไม่ครบองค์ประเคน"

ตำราบอกด้วยว่า ถ้าอยู่ในหัตถบาสถึงจะโยนให้ก็ถือว่าเป็นการประเคนที่ถูกต้อง แต่นี่คงพูดเผื่อไว้เท่านั้น ยังไม่เคยเห็นใครโยนของประเคนให้พระเลย ขืนทำจริงๆ ก็คงโดนท่านเอาศอกประเคนให้เท่านั้นเอง (ภาษาไทยนี่ยุ่งพิลึกนะครับ)

บางท่านอาจสงสัยว่า ทำไมต้องมีกฎเกณฑ์อะไรหยุมหยิมนัก อาหารตั้งอยู่ตรงหน้า พระสงฆ์ท่านไม่มีสิทธิ์หยิบกินเองได้ ต้องรอให้คนอื่นหยิบยื่นให้ ดูประหนึ่งว่าขี้เกียจเหลือประมาณอย่างที่เจ๊กลิ้มบ้านนกนางแอ่นแกว่า

เล่ากันว่า วันหนึ่งเจ๊กลิ้มแกทำบุญเลี้ยงพระ ยกอาหารมาตั้งโต๊ะเสร็จแล้วก็ถอยออกไปเพื่อทำธุระอย่างอื่นต่อ พระรูปหนึ่งร้องบอกว่า

"เดี๋ยวก่อน อาแป๊ะประเคนก่อน"

"ประเคงอาลาย?" แป๊ะลิ้มงง

"ยกอาหารให้พระ" ท่านบอกพร้อมแบมือรอรับอาหาร

"ก็อยู่ไก้ๆ ลื้อหยิกกิงเองม่ายล่ายหรือ ลื้อนี่ขี้เกียกตายโหงเลย"


นั่นสิครับ การนั่งรอให้เขาประเคนให้ดูเผินๆ ก็เสมือนขี้เกียจเต็มประดา แค่จะกินยังต้องให้เขายื่นให้

ความ จริงแล้วหาเป็นเช่นนั้นไม่ พระพุทธเจ้าท่านทรงเป็นผู้มีเหตุผลอย่างยิ่ง การบัญญัติศีลวินัยหรือระเบียบข้อบังคับใดๆ ย่อมอยู่บนรากฐานแห่งเหตุผล มิได้บัญญัติขึ้นลอยๆ โดยไม่มีสาเหตุและเหตุผล

เราทราบกันดีว่า วินัยแต่ละข้อมิได้ตราขึ้นล่วงหน้าเหมือนกฎหมายบ้านเมือง หากแต่บัญญัติหลังจากเกิดการประพฤติปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมในหมู่พระสงฆ์แล้ว เพื่อมิให้ถือเป็นเยี่ยงอย่างต่อไป

เมื่อเปิดดูพระวินัยปิฎกค้น หาสาเหตุที่ทรงบัญญัติเรื่องการประเคนก็พบว่า มีสาเหตุจากข้อบัญญัติที่ว่า ห้ามพระถือเอาของที่เขาไม่ให้ ยกเว้นผ้าบังสุกุล มีพระรูปหนึ่งอยู่ในป่าช้า เที่ยวเก็บอาหารที่เขานำมาเซ่นผีฉัน ชาวบ้านรู้เรื่องเข้าก็ต่อว่าท่านหาว่าแย่งผีกิน เขาไม่ได้ให้ท่านสักหน่อย บางรายปากคอเราะร้ายพูดกระทบว่า

"พระสมณะศากยบุตรรูปนี้คงแอบฉันศพกระมัง จึงอ้วนท้วนสมบูรณ์ดี"


พระพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องเข้า จึงทรงตำหนิ และบัญญัติเป็นข้อปฏิบัติต่อไปว่า "ภิกษุใดฉันอาหารที่เขามิได้ประเคนให้ต้องอาบัติปาจิตตีย์"

นี่แหละ ครับคือเหตุผลที่ว่า ทำไมจึงห้ามพระหยิบอาหารฉันเองโดยมิได้รับประเคนก่อน เป็นการป้องกันมิให้พระขโมยเขากินและป้องกันการตำหนิติเตียนจากคนอื่น มิใช่ขี้เกียจตัวเป็นขนอย่างที่เจ๊กลิ้มแกเข้าใจ

พระพุทธเจ้าทรงแบ่งประเภทของการกิน หรือฉันของพระออกเป็น 4 ประเภท คือ

- กินอย่างขโมย หรือขโมยเขากิน

- เป็นหนี้เขากิน

- กินอย่างนาย

- กินในฐานะเป็นทายาท


(1) พระทุศีลหรืออลัชชี ที่อาศัยพระศาสนาหากิน ถึงแม้จะนั่งฉันอยู่ท่ามกลางสงฆ์ มีผู้ประเคน มีผู้รู้เห็น ก็เรียกว่า "ขโมยเขากิน" เพราะตัวเองมิใช่พระ แต่หลอกลวงให้เขาเข้าใจว่าเป็นพระ พระเก๊ประเภทนี้บางครั้งพระพุทธองค์ทรงประณามเอาแรงๆ ว่า เป็นมหาโจรประเภทหนึ่งในจำนวนมหาโจรทั้ง 5 คือ

ประเภทที่หนึ่ง หลอกลวงชาวบ้าน ให้เขาหลงเชื่อว่าเป็นผู้ทรงศีล จนเขาขนปัจจัยสี่มาถวายอยู่กินฟูมฟาย

ประเภทที่สอง เรียนรู้พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้แล้วคุยโอ่ว่าไม่ได้เรียนมาจากผู้ใด รวมถึงการ "ลักวิทยา" อย่างอื่นๆ ด้วย

ประเภทที่สาม กำจัดเพื่อนสหธรรมิกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ด้วยการใส่ร้ายป้ายสีอย่างรุนแรง

ประเภทที่สี่ เอาของสงฆ์ไปแจกชาวบ้าน เพื่อประจบเอาใจเขา

ประเภทที่ห้า อวดอุตริมนุสธรรม คือคุณวิเศษที่ไม่มีในตน เช่น คุยโม้ว่าตนเป็นอรหันต์ทรงอภิญญาต่างๆ หรือบรรลุมรรคผลขั้นนั้นขั้นนี้


เสร็จแล้ว ตรัสสรุปว่า

"ภิกษุ ทั้งหลาย ผู้ใดประพฤติตัวอย่างหนึ่ง ให้เขาเข้าใจเป็นอีกอย่างหนึ่ง ผู้นั้นลวงเขาบริโภค ด้วยความเป็นขโมย ดังนายพรานลวงจับนก ผู้นั้นถึงจะนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แต่ประพฤติชั่วเลวทรามไม่สำรวม จะต้องไปเกิดในภพที่หาความเจริญมิได้ คนทุศีลเช่นนี้ กลืนกินก้อนเหล็กแดงที่ร้อนแรงยังจะดีเสียกว่าหลอกกินข้าวชาว บ้าน"

ฟังเอาเถอะครับ ว่าการขโมยเขากิน พระพุทธเจ้าทรงประณามขนาดไหน

(2) การกินประเภทที่สอง เป็นหนี้เขากิน มิได้หมายถึงกินเชื่อ หรือเซ็นก่อนจ่ายทีหลังอะไรทำนองนั้น แต่หมายถึงการกินโดยมิได้พิจารณาก่อน แม้ผู้กินหรือฉันจะมีศีลบริสุทธิ์ก็ตาม ที่ว่า "พิจารณา" นั้น หมายถึงว่าต้องสวดภาวนา 2 เวลา คือ

- ขณะจะกิน หรือกำลังกินอย่างหนึ่ง

- หลังจากกินเสร็จแล้ว อีกอย่างหนึ่ง


การ พิจารณาก่อนจะกินหรือกำลังกิน เรียกว่า ตังขณิกะปัจจะเวกขณ์ บางทีเรียกง่ายๆ ว่า เสกปฏิสังขาโย เพราะคำสวดขึ้นต้นด้วยคำว่า "ปฏิสังขาโย" พระสงฆ์สมัยก่อนนั้นท่านถือเคร่งมากในเรื่องนี้ กว่าจะตักข้าวเข้าปากต้องทำปากขมุบขมิบ เสกอยู่นั่นแล้ว จนข้าวเย็นไปเลย

การ พิจารณาหลังจากฉันเสร็จ ส่วนมากมักเป็นเวลาก่อนนอน เรียกว่า อตีตะปัจจะเวกขณ์ หรือเสกอัชชะมะยา (คำสวดขึ้นต้นด้วย "อัชชะมะยา") อย่างหลังนี้ใช้กันเหนียว ในกรณีที่บังเอิญลืมเสกเวลาฉัน รวมความว่าจะต้องเสกให้ได้ไม่ในขณะฉันก็หลังฉันเสร็จแล้ว ไม่เช่นนั้นถือว่าติดหนี้

หนี้ใคร? ก็หนี้บุญคุณชาวบ้านที่เขาเลี้ยงดูปูเสื่อนั่นแหละ

(อ่านต่อฉบับหน้า)

http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3hPVEV4TURFMU13PT0=&sectionid=TURNd013PT0=&day=TWpBeE1DMHdNUzB4TVE9PQ==
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การประเคนของพระ ทำไมต้องผ่านการวางผ้า คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 09:59:24 am »
0
๒๒.   ทำไม  ผู้หญิงประเคนพระ  ต้องวางบนผ้าที่พระรับ       
         
ตอบ  เพราะ พระไม่รับด้วยมือ       
อธิบาย  วินัยสิกขา  มีข้อห้ามภิกษุจับต้องกายหญิง  พุทธบัญญัติเพื่อตัดกิเลสกาม      ลักษณะ การประเคน  มีบัญญัติไว้ในพระวินัย  รวมทั้งสิ่งที่ต้องประเคน       
  และ ไม่ต้องประเคน
       
ที่มา  http://learners.in.th/blog/phichit/362215



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๘ ปริวาร

การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้
             [๑๑๗๓] อุ. การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ มีเท่าไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า?

             พ. ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้นี้มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:-

                          ๑. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
                          ๒. ของเขาให้ด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
                          ๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยกาย
                          ๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย ไม่รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
                          ๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ ไม่รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย


             ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ไม่ได้ มี ๕ อย่าง นี้แล.

การรับประเคนที่ใช้ได้
             ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้นี้ มี ๕ อย่าง. ๕ อย่างอะไรบ้าง? คือ:-

                          ๑. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
                          ๒. ของเขาให้ด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
                          ๓. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยกาย
                          ๔. ของเขาให้ด้วยของเนื่องด้วยกาย รับประเคนด้วยของเนื่องด้วยกาย
                          ๕. ของเขาให้ด้วยโยนให้ รับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย


             ดูกรอุบาลี การรับประเคนที่ใช้ได้ ๕ อย่าง นี้แล.

ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=8&A=11022&Z=11038&pagebreak=0



ค้นมาให้ได้เพียงเท่านี้ ดูเหมือนว่าพระพุทธองค์ไม่ได้บัญญัติเรื่องผ้ารับประเคนเอาไว้ 

แม้ยังตอบคำถามหมวยนีย์ได้ไม่ชัดเจนแต่ก็พอเป็นไกด์ไลน์

เอาไว้โอกาสหน้าจะมาช่วยทำรายงาน เอ๊ย!!!..ไม่ใช่..มาคุยเป็นเพื่อน

ขอให้ได้เกรด A+นะครับ
 :58: ;) :49: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 09, 2010, 10:06:40 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การประเคนของพระ ทำไมต้องผ่านการวางผ้า คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 09, 2010, 12:11:18 pm »
0
ผมได้พยายามค้นหาหนังสือบางเล่มที่ผมมีอยู่ เพื่อที่จะหาคำตอบให้

คุณฟ้าใส คุณวิริยา(เพื่อนหมวยนีย์) และแน่นอนต้องน้องหมวยนีย์ด้วย

ได้ไปพบหนังสือ"การถวายสิ่งของแด่พระภิกษุสงฆ์ที่ญาติโยมควรปฏิบัติ"

ของพระอาจารย์เปลี่ยน ปัญญาปทีโป วัดอรัญญวิเวก ต.อิททขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

และได้พบคำตอบที่หมวยนีย์สงสัย มีใจความดังนี้ครับ(หน้า ๒๓)

ส่วนญาติโยมผู้หญิง ให้นั่งอยู่ในระยะห่างพอสมควร และภิกษุต้องใช้ผ้ารับประเคน ไม่ให้สัมผัสต้องตัวกัน เพราะผู้หญิงนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อพระภิกษุนั่นเอง แต่ไม่ได้ถือว่าเป็นที่น่ารังเกียจอะไร

แม้ว่าผู้หญิงจะชอบทำบุญตักบาตร ทำบุญกุศลเก่ง สนใจในพระธรรม แต่ว่าผู้หญิงนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อพระภิกษุ

 
เหตุฉะนั้นพระภิกษุจึง จำเป็นต้องหาข้อหลีกเลี่ยง เมื่อโยมผู้หญิงจะถวายประเคนสิ่งของต่างๆให้กับพระภิกษุ พระภิกษุจึงใช้ผ้ารับประเคน จึงเป็นการปฏิบัติที่เหมาะสมและสวยงามด้วย

------------------------------------- 

ผมได้ใช้กูเกิลเสริชหา soft file ของหนังสือเล่มนี้ จนได้ pdf file มาฝากทุกท่าน

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 09, 2010, 12:16:02 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ