ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "พิธีมาฆบูชาในไทย" รู้ไหมว่า..เริ่มในรัชสมัยใด..??  (อ่าน 4088 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


มาฆบูชา

อีกแค่อาทิตย์เดียวก็จะถึงวันมาฆบูชาแล้วนะครับ คือวันที่ 7 มีนาคม ศกนี้ ถือเป็นวันสำคัญทางศาสนาอย่างมาก ในวันนี้ถือกันว่าเป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 1250 รูปมาชุมนุมเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย...

อีกแค่อาทิตย์เดียวก็จะถึงวันมาฆบูชาแล้วนะครับ คือวันที่ 7 มีนาคม ศกนี้ ถือเป็นวันสำคัญทางศาสนาอย่างมากด้วยนะครับ บางทีก็เรียกว่าวันพระใหญ่เลยด้วยซ้ำ ทางราชการเองก็ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้ไปกราบพระ สวดมนต์ เวียนเทียน ตักบาตร ทำบุญ ฟังเทศน์ฟังธรรมกันในวันนี้

แต่น่าแปลกนะครับว่าเวลาที่มีวันหยุดราชการแบบนี้เมื่อไหร่ก็ตาม คนส่วนใหญ่มักจะวางแผนการเดินทางไปพักผ่อนต่างจังหวัด หรือต่างประเทศ คนส่วนใหญ่มักจะคอยสอบถามว่าหยุดยาวมั้ย หยุดต่อเนื่องกันกี่วัน จะไปเที่ยวไหนกันดีนะ มีเพียงแค่ส่วนน้อย...ถึงน้อยมากเท่านั้น ที่คิดจะไปเข้าวัดทำบุญ ตามวัตถุประสงค์ของการทางราชการที่ประกาศให้เป็นวันหยุดราชการ




ประเพณี มาฆบูชานั้น เป็นประเพณีที่เพิ่งมีขึ้นเพียงร้อยกว่าปีเศษๆ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เอง

กล่าวคือ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่4 ได้ทรงศึกษาพระคัมภีร์ต่างๆและทรงมีพระราชวินิจฉัยตามแบบโบราณราชบัณฑิตที่ นิยมกันว่า วันมาฆบูรณมีพระจันทร์เสวยฤกษ์มาฆะเต็มบริบูรณ์ พูดง่ายๆคือวันพระจันทร์เต็มดวง ในวันนี้ถือกันว่าเป็นวันที่พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 1250 รูปมาชุมนุมเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกันโดยไม่ได้นัดหมาย

ในสายอาชีพครูที่ผมประกอบมานั้น ชอบมีนักเรียน นักศึกษาถามผมเสมอๆว่า มันไม่น่าจะเป็นไปได้เลย หรือมันเป็นเรื่องเหลือเชื่อมากเกินกว่าที่จะปลงใจยอมเชื่อได้ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีเครื่องมือสื่อสารใดใด และพระภิกษุเหล่านั้นจะนัดหมายกันได้อย่างไร แล้วทำไมถึงต้องพากันมาวันนี้ ผมก็ต้องสาธยายยกเรื่องราวมาตอบจนเข้าใจ วันนี้จึงขอนำเอาคำตอบเหล่านั้นมาเล่าสู่กันฟังนะครับ 

หลังจากที่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ที่พุทธคยาแล้ว ทรงใช้เวลาร่วม2เดือน ในการที่ทรงเดินทางไปยังป่าอิสิปตนะมฤคทายวัน เพืื่อเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ที่เคยอุปถัมภ์ดูแลพระองค์มาก่อน เหตุที่ต้องเสด็จไปที่ป่านี้ก็เพราะว่าเป็นสถานที่ที่เหล่าครูบาอาจารย์ รวมทั้งเจ้าลัทธิผู้มีชื่อเสียงต่างๆ พากันมาตั้งสำนัก เพื่ออบรมสั่งสอนเผยแผ่ลัทธิของตน การเสด็จไปแสดงปฐมเทศนา ณ ที่นี้ จึงเปรียบกับปัจจุบันเป็นการ"แถลงข่าว"หรือ"เปิดตัว"ของพระองค์เลยทีเดียว

จากนั้นพระพุทธองค์เสด็จไปยังตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และต่อไปยังกรุงราชคฤห์ นครหลวงแห่งแคว้นมคธ ได้มีโอกาสเทศนาธรรมโปรดพระเจ้าพิมพิสาร และได่้ทรงรับถวายพระราชอุทยานเวฬุวัน(สวนไผ่)ในครั้งนั้นด้วย จึงถือว่าวัดเวฬุวัน เป็นวัดแห่งเเรกในพระพุทธศาสนา มีนามเต็มๆว่า เวฬุวนาราม มหาสังฆิกาวาส

ครั้นเมื่อประทับอยู่ ณ วัดเวฬุวันนั้น เวลาผ่านไป 9 เดือนหลังจากที่ได้ทรงตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 อันเป็นวันสำคัญของศาสนาฮินดูด้วย ตามปกติศาสนิกชนฮินดูจะประกอบพิธีกรรมตามนิยมในทางศาสนาแห่งตน

     แต่บรรดาเหล่าพระภิกษุในครั้งนั้นที่เคยนับถือศาสนาฮินดูมาก่อน ครั้นเมื่อเปลี่ยน ละ เลิกการนับถือศาสนาฮินดู และได้เข้าอุปสมบทในพุทธศาสนาแล้วก็ตาม
     เมื่อถึงวันอันพระจันทร์เต็มดวง ตรงตามวันสำคัญในศาสนาเดิมแห่งตน ก็อดที่จะคำนึงถึงไม่ได้ บังเกิดความว้าเหว่ และปรารถที่จะได้ไปเฝ้าพระพุทธองค์ จึงต่างก็พากันเดินทางมาจากทั่วทุกสารทิศ ที่ได้แบ่งแยกย้ายกันไปเผยแผ่ศาสนา เพื่อกลับมาหาพระพุทธองค์ ณ เวฬุวันวิหาร โดยมาถึงพร้อมกันในเวลาบ่ายๆ จำนวน 1250 รูป

ในทาง พุทธศาสนาถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญมาก ได้บันทึกไว้ในอรรถกถาทีฆนขสูตร (ม.ม.๑๓/๒๖๓/) ว่าเป็น วันจาตุรงคสันนิบาต คือ เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์ครบองค์ 4  กล่าวคือ

1 พระสงฆ์ได้มาประชุมกันในวันมาฆปุณณมี คือ วันเพ็ญเดือนมาฆะ หรือเดือนสาม
2 พระสงฆ์ 1250 รูปมาประชุมกันอย่างพร้อมเพรียง โดยไม่มีการนัดหมายใดใด ณ เวฬุวันวิหาร
3 พระสงฆ์เหล่านั้นล้วนเป็นพระอรหันต์และเป็นผู้ที่ได้รับอภิญญา 6 
4 พระสงฆ์ทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุคือได้รับอุปสมบทจากสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย พระองค์เองทั้งสิ้น
 

ในโอกาสอันเป็นการประจวบเหมาะโดยบังเอิญที่เป็นมงคลเช่นนี้ สมเด็จพระบรมศาสดาจึงทรงเรียกชุมนุมสงฆ์ที่มาเฝ้าทั้งปวงได้ทรงกระทำวิสุทธิ อุโบสถหรือพูดง่ายๆว่า"ทำวัตรเย็น"แล้วจึงได้แสดงโอวาทปาติโมกข์ อันเป็นทั้งหลักการณ์ อุดมการณ์ และวิธีการปฎิบัติที่นำไปใช้ได้ทุกสังคม มีเนื้อหาโดยสรุปคือ ให้ละความชั่วทุกชนิด ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใส

ส่วนท่านที่ยังสงสัยว่า เพราะอะไรหรือสิ่งใดถึงจะดลใจให้พระภิกษุถึง 1250 รูปเดินเท้ามารวมกันเองได้อย่างไรนั้น ผมขอกราบเรียนว่า
    ในจำนวนทั้งหมดนี้เป็นพระภิกษุที่มาจากชฎิล 3 พี่น้อง คือ อุรุเวลกัสสปะ 500 รูป นทีกัสสปะ 300 รูป และคยากัสสปปะ 200 รูป รวม 1000 รูป
    ส่วนที่เหลืออีก 250 รูปนั้นเป็นพระภิกษุบริวารของพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ดังนั้นพระภิกษุที่มาจากชฎิล 3 พี่น้องจึงอยู่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน ง่ายต่อการชักชวนกันมาเป็นอย่างยิ่ง




การประกอบพิธีมาฆบูชาได้เริ่มต้นครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง ในครั้งรัชกาลที่4 เป็นปฐม

    โดยกำหนดให้มีการบำเพ็ญพระราชกุศลในช่วงเช้า
    มีการนิมนต์พระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศวิหาร และวัดราชประดิษฐ์อันเป็นวัดธรรมยุติกนิกาย
    เข้ามารับพระราชทานฉันในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม 


    ครั้นถึงเวลาค่ำ จึงเสด็จฯลงทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ
    แล้วพระสงฆ์สวดทำวัตรเย็นเสร็จแล้ว สวดมนต์ต่อไป มีคาถาโอวาทปาติโมกข์ด้วย
    เมื่อสวดมนต์จบทรงจุดเทียนราย ตามราวรอบพระอุโบสถ 1250 เล่ม มีการประโคมอีกครั้งหนึ่ง
    แล้วจึงมีการเทศนาโอวาทปาติโมก1 กัณฑ์ เป็นทั้งเทศนาภาษาบาลีและภาษาไทย
    เครื่องติดกัณฑ์เทศน์เป็นผ้าจีวรเนื้อดี 1 ผืน เงิน 3ตำลึง( 12 บาท ) และขนมต่างๆ เมื่อเทศน์จบแล้ว   
    โปรดฯให้พนะสงฆ์ซึ่งสวดมนต์ไปเมื่อก่อนนี้จำนวน 30 รูปสวดรับ เป็นเสร็จพิธี


    การประกอบพระราชกุศลเนื่องในวันมาฆบูชานั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จออกด้วยพระองค์เองเป็นประจำไม่เคยขาด

    ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็เสด็จออกเองบ้าง แทนพระองค์บ้าง หากเมื่อตรงกับเวลาที่เสด็จออกหัวเมืองต่างจังหวัด และถ้าประทับอยู่ในสถานที่ที่อำนวยและเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาแล้ว ก็จะทรงประกอบพิธีมาฆบูชาขึ้น ณ ที่นั้นๆเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง

    นอกเหนือจากที่มีผู้แทนพระองค์ในพระบรมมหาราชวัง เช่น ที่บางปะอิน อยุธยา หรือ พระพุทธบาท พระพุทธฉาย ที่ลพบุรี หรือพระแท่นดงรัง กาญจนบุรี

   จากการประกอบพระราชพิธีในพระบรมมหาราชวังต่อมา ก็ได้ขยายออกมาสู่ประชาชนพุทธบริษัทภายนอกทั่วไป สิ่งที่น่าแปลกและผิดเพี้ยนไปจากเดิมคือ การที่ราชการประกาศให้วันมาฆบูชาเป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เข้าวัดทำบุญนั้น

     มาบัดนี้วัตถุประสงค์ของทางราชการไม่ได้รับการสนองจากประชาชนทั่วหน้าตามแต่ ก่อนแล้ว
    วันมาฆบูชากลายเป็นวันหยุดพักผ่อน วันรื่นเริง วันที่ผู้ประกิบธุรกิจสถานบันเทิงบ่นว่า เพราะต้องหยุดกิจการ

     คิดเอาง่ายๆว่า จำนวนประชากรในกรุงเทพมหานครราวๆ 16-17 ล้านคน
     มีไม่ถึง 1 ล้านคนอย่างแน่นอนที่ไปวัด ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามวัตถุประสงฆ์ดั้งเดิมของราชการ

     ดังนั้นจึงน่าจะมีการทบทวนวันหยุดราชการทางศาสนาเหล่านี้ใหม่อีกครั้ง เพราะเมื่อไม่มีการตอบสนองตามวัตถุประสงค์ดั้งเดิม ก็น่าจะยกเลิกการถือเป็นวันหยุดราชการไปเลย


เรื่องโดย เผ่าทอง ทองเจือ
www.facebook.com/paothong.pan
www.facebook.com/paothong.thongchua

ขอบคุณข้อมูลและภา่พจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/242140
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ