ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติพระราหุลเถระเจ้า  (อ่าน 18091 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ทินกร

  • ถวายชีวิตเพื่อพุทธศาสน์
  • ผู้บริหารเว็บ
  • มีเหตุมีผล
  • *
  • ผลบุญ: +17/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 365
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ประวัติพระราหุลเถระเจ้า
« เมื่อ: พฤศจิกายน 24, 2009, 10:10:25 am »
0
พระราหุลเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
******
       พระราหุลกุมาร เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พุทธโอรส) กับพระนางยโสธรา หรือ พิมพา เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์  ประสูติวันเดียวกันกับที่พระบิดาเสด็จออกบวช ดังนั้น ท่านจึงเจริญพระชันษาเติบโตขึ้นมาโดยมิเคยเห็นพระพักตร์รู้จักพระบิดาเลย จวบจนครั้นเมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ ณ นิโครธารามซึ่งพระประยูรญาติสร้างถวาย  ในวันรุ่งขึ้นเวลาเช้า ทรงปฏิบัติพุทธกิจ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาในระหว่างถนนให้พระบิดาดำรงอยู่ใน พระโสดาปัตติผล
     ในวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระบิดาและพระนางมหาปชาบดีโคตมี เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระบิดาดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ส่วนพระนางมหาปชาบดีโคตมีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
     เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ว่าพระพุทธองค์จะเสด็จเข้าไปรับอาหารบิณฑบาทในพระราชนิเวศน์ถึง ๖ วันแล้วก็ตาม แต่พระนางพิมพาพระมารดาของราหุลกุมาร ก็มิได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ดุจบุคคลอื่นๆ เลย
                           ราหุลกุมารทูลขอทรัพย์สมบัติ
      ครั้นล่วงถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จเยือนพระนครกบิลพัสดุ์ พระนางพิมพาราชเทวี ประดับตกแต่งองค์ราหุลกุมารราชโอรสด้วยอาภรณ์อันวิจิตร แล้วตรัสว่า .-
      “พ่อราหุลลูกรัก พ่อจงไปดูพระสมณะผู้มีผิวพรรณผ่องใส มีรูปงามดุจท่านท้าวมหาพรหม แวดล้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเป็นจำนวนมาก พระสมณะองค์นั้นคือพระบิดาของเจ้า พระองค์มีขุมทรัพย์มหาศาลอันสุดจะคณนา นับแต่พระบิดาของเจ้าออกบวช เจ้าก็เหมือนหมดหวังในราชสมบัติ เจ้าจงไปกราบไหว้พระบิดาแล้วกราบทูลขอทรัพย์สมบัตินั้น ในฐานะเป็นทายาทสืบสันตติวงศ์ต่อพระองค์เถิด”
      ราหุลกุมาร เสด็จเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามพระดำรัสของพระมารดา กราบถวายบังคมแล้ว ทอดพระเนตรดูพระสัพพัญญู บังเกิดความรักในพระบิดา ทรงปราโมทย์โสมนัสตรัสชมว่า  “ร่มเงาของพระองค์เย็นสดชื่นยิ่งนัก พระพักตร์ของพระองค์สดใสสุดประมาณ” ดังนี้แล้ว ก็ตรัสเรื่องอื่นๆ ต่อไป โดยมิได้กราบทูลขอทรัพย์สมบัติ
      พระพุทะองค์ ทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสอนุโมทนา เสด็จกลับสู่นิโครธาราม ส่วนราหุลกุมารก็เสด็จติดตามไปจนถึงอาวาส มิมีผู้ใดจะสามารถกราบทูลทัดทานได้ เมื่อสบโอกาสจึงกราบทูลขอทรัพย์สมบัติอันเป็นสิ่งที่รัชทายาทผู้สืบราชสันตติวงศ์จะพึงได้รับ
                                 พระราชทานอริยทรัพย์
      พระบรมศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้ว ทรงดำริว่า “ราหุลกุมารปรารถนาทรัพย์สมบัติอันเป็นของพระบิดา ถ้าตถาคตจะให้ขุมทองแก่เธอแล้ว ก็จะเป็นสิ่งชักนำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ด้วยเป็นสิ่งหาสาระแม้สักนิดหนึ่งก็หามีไม่ อย่ากระนั้นเลย เราจะมอบอริยทรัพย์อันเป็นสิ่งประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนานี้แก่เธอ ซึ่งจะทำให้เธอเป็นโลกุตรทายาท สืบสกุลในพุทธวงศ์นี้สืบไป”
      ครั้นแล้ว ทรงมีพระดำรัสสั่งพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรจัดการบรรพชาให้แก่ราหุลกุมารในวันนั้น ด้วยวิธีให้รับไตรสรณคมน์  และสามเณรราหุลได้ชื่อว่าเป็นสามณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา
                            พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอพร
     พระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทราบว่าราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ทรงโทมนัสเสียพระทัยเป็นอย่างยิ่งด้วยหวังไว้แต่เดิมว่า เมื่อพระราชโอรสสิทธัตถะออกบวชแล้ว ก็หวังจะได้นันทกุมารสืบราชสมบัติต่อ แต่พระบรมศาสดาก็ทรงพานันทะออกบวช ทำให้ผิดหวังเป็นคำรบสอง แต่ก็ยังมีหวังอยู่ว่าจะให้ราหุลกุมารหลานรัก เป็นทายาทสืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำไปบวชเสียอีก จึงหมดสิ้นผู้จะสืบสายรัชทายาท ทรงดำริต่อไปอีกว่า หากปล่อยไว้อย่างนี้อีกไม่นาน บรรดากุมารในศากยสกุลก็จะถูกนำไปบวชจนหมดสิ้น อนึ่ง ความทุกขโทมนัสอย่างนี้ ก็จะเกิดแก่บิดามารดาในสกุลอื่นๆ  ด้วยเหตุสิ้นคนสืบสกุล จึงรีบเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่นิโครธาราม กราบทูลขอประทานพรพุทธานุญาตว่า.-
     “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับต่อแต่นี้ไป ถ้ากุมารผู้ใดแม้ประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนา หากมารดาบิดายังมิยอมพร้อมใจกันอนุญาตให้บวชแล้ว ขอได้โปรดงดเสีย อย่าได้ให้บรรพชาแก่กุลบุตรผู้นั้นเลย”
       พระบรมศาสดา ได้ประทานพรตามที่พระพุทธบิดากราบทูลขอ แล้วถวายพระพรลา พาพระนันทะและสามเณรราหุล พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จกลับสู่มหานครราชคฤห์
      เมื่อพระราหุลกุมารบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระสารีบุตรเถระอุปัชฌาย์ของตนไปสถานที่ต่างๆ
     วันหนึ่ง ขณะที่พระราหุลพักอยู่ที่สวนมะม่วง ในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาราหุโลวาทสูตรให้ท่านฟัง   หลัง
จากนั้นทรงสอนในทางวิปัสสนา ทรงยกอายตนะภายในและภายนอกขึ้นแสดง สามเณรราหุลส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
                  เป็นอนุบัญญัติให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบัน
      ในขณะเมื่อท่านเป็นสามเณรเล็กๆ อยู่นั้น ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย จนเป็นที่เลื่องลือในหมู่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่า ครั้งหนึ่ง พุทธบริษัททั้งหลาย ฟังธรรมกันยามค่ำคืน โดยมีพระเถระผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ต่างก็กลับที่พักของตน ส่วนพระภิกษุผู้บวชใหม่ และสามเณร รวมทั้งอุบาสก ที่ไม่สามารถจะกลับที่พักได้ เพราะค่ำมืด จึงอาศัยนอนกันในโรงธรรมนั้น เนื่องจากเป็นพระบวชใหม่ จึงไม่สำรวมในการนอน ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดู รุ่งเช้าอุบาสกทั้งหลายพากันติเตียนและความทราบไปถึงพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์จึงรับสั่งประชุมสงฆ์ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท “ห้ามภิกษุนอนร่วมในที่มุงที่บังเดียวกันกับอนุปสัมบัน (อนุปสัมบัน คือผู้มิใช่พระภิกษุ) ถ้านอนร่วมต้องอาบัติปาจิตตีย์”
       ครั้นกาลต่อมา สามเณรราหุลไม่สามารถจะนอนร่วมกับพระภิกษุได้ และเมื่อไม่มีที่จะนอน ท่านจึงเข้าไปนอนในเวจกุฎี (ส้วม) ของพระบรมศาสดา เมื่อเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์เสด็จไปเวจกุฎีส่งเสียงกระแอมออกไปแล้วได้สดับเสียงกระแอมตอบจากข้างในและได้พบเธอนอนในที่นั้น และทรงทราบว่า เพราะเธอไม่มีที่นอนอันเนื่องมาจากพุทธบัญญัติ ทำให้พระองค์สลดพระทัย จึงดำริว่า “ต่อไปภายหน้า สามเณรน้อยๆ จะได้รับความลำบาก เพราะขาดผู้ดูแล เอาใจใส่” จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์ แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า .-
       “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุนอนรวมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ถ้าเกิน ๓ คืน พระภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์”
      ในพุทธบัญญัตินี้ หมายถึงให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ในคืนที่ ๔ ให้เว้นเสีย ๑ คืน แล้วค่อยกลับมานอนรวมกันใหม่ได้โดยเริ่มนับ ๑ ใหม่ จึงถึงคืนที่ ๓ ปฏิบัติโดยทำนองนี้ จนกว่าจะมีสถานที่นอนแยกกันเป็นการถาวร
                       ได้รับยกย่องเป็นผู้ใคร่การศึกษา
      สามเณรราหุล เมื่ออายุครบ ๒๐ พรรษา ก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่ต่อการศึกษาพระธรรมวินัย ทุกวันที่ท่านตื่นขึ้นมาเวลาเช้า ท่านจะกำทรายให้เต็มฝ่ามือแล้วตั้งความปรารถนาว่า “วันนี้ ข้าพเจ้าพึงได้รับคำสั่งสอนจากสำนักพระบรมศาสดา สำนักพระอุปัชฌาย์ และสำนักพระอาจารย์ทั้งหลาย ให้ได้ประมาณเท่าเม็ดทรายในกำมือของข้าพเจ้านี้”
       ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา ให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ใคร่ในการศึกษา
       ท่านพระราหุลเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพานที่บัณฑุกัมพลสิลาอาสน์ ณ ดาวดึงสเทวโลก
      ท่านมีอายุไม่มากนัก เพราะท่านนิพพานก่อนพระพุทธองค์ผู้เป็นพระบิดา ก่อนพระสารีบุตรผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นพระอาจารย์

                                  *********
Aeva Debug: 0.0007 seconds.Aeva Debug: 0.0007 seconds.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 09, 2010, 10:26:26 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

www.madchima.org
http://saraburisat.ps-satcom.com รับติดตั้งจานดาวเทียมครับ
http://www.yutyaplaza.com ลงประกาศฟรี ของชาวอยุธยา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ประวัติการศึกษาพระสมถะ-วิปัสสนากรรมฐานของพระราหุลเถระเจ้า
 ผู้สมบูรณ์ด้วย ชาติสมบัติ ปฏิบัติสมบัติ  
           

จากกรุงกบิลพัสดุ์ ทางจะไปกรุงราชคฤห์ ผ่านกรุงพาราณสี
    :043:พักที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน สามเณรราหุล ศึกษาเบื้องต้นสมถะกรรมฐานธรรมตามลำดับขั้นในป่าแห่งนี้ เมื่อสามเณรราหุลบรรพชาแล้ว มักจะปรารภกับพระสารีบุตรองค์อุปัชฌาย์เสมอว่า ทอดพระเนตรพระบรมศาสดาแล้วจิตเป็นสุข ตั้งมั่น ท่านพระสารีบุตร ผู้เลิศทางปัญญาจึงตรัสสอนสามเณรราหุลว่า ที่จิตเป็นสุข และตั้งมั่นนี้เพราะคุณของพระพุทธเจ้า เมื่อทอดพระเนตรเห็นพระพุทธเจ้าแล้ว เกิดปราโมทย์ เกิดปราโมทย์แล้ว เกิดปิติ ๕ ประการ คือ ขุททกาปิติ ขณิกาปิติ โอกกันติกาปิติ อุพเพงคาปิติ ผรณาปิติ กายก็สงบจิตก็สงบ เป็นปัสสัทธิ ๖ ประการ กาย-จิตปัสสัทธิ กาย-จิตลุหุตา กาย-จิตมุทุตา กาย-จิตกัมมัญญตา กาย-จิตปาคุญญตา กาย-จิตชุคคตา กาย-จิตสงบ กายและจิตก็เป็นสุข มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ แล้วพระสารีบุตรก็สอน วิธีการปรับจิตเป็นขั้นๆไป เพื่อให้จิตประณีตเป็นขั้นๆ แก้จิตหลอก จิตหลอน จิตอุปาทาน พระสารีบุตร ผู้ทรงปัญญา จึงให้สามเณรราหุลศึกษาพระรัศมี พระปิติ ๕ ประการ พระรัศมีพระยุคล ๖ ประการ พระรัศมีพระสุขสมาธิ ๒ ประการ เรียนเป็นขั้นตอน เพื่อปรับระดับจิตสมาธิแก้จิตอุปาทาน จิตหลอน จิตไม่ออกนอกลู่นอกทาง จิตเป็นอุปจารสมาธิ (เรียนปิติยุคลเป็นดวงธาตุ)
    :043:ศึกษาพระอานาปานสติกรรมฐาน ๙ จุดสัมผัส (ฝ่ายสมถะ) กับพระบรมศาสดา และพระสารีบุตร เพื่อปรับจิตให้ประณีตขึ้นสู่ อัปปนาสมาธิ
    :043:ศึกษากายคตาสติ หรือ อาการ ๓๒, กสิณ ๑๐ ประการ, อสุภ ๑๐ ประการ เนื่องจากพระกรรมฐานสามอย่างนี้เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่อง ในกาย, แผ่กสิณ ๑๐ ประการ, แผ่เมตตา ๑๐ ทิศ, แผ่กรุณา ๑๐ ทิศ, แผ่มุทิตา ๑๐ ทิศ, แผ่อุเบกขา ๑๐ ทิศ กับพระโมคคัลลานะเถระเจ้า ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์
    :043:ศึกษารูปฌานปัญจกนัย กับพระอัสสชิเถระเจ้า (ท่านชำนาญในรูปฌาน มาตั้งแต่เป็นพราหมณ์)
    :043:ศึกษาอนุสสติ ๗ ประการ คือ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สีลานุสสติ จาคานุสสติ เทวตานุสสติ มรณานุสสติ อุปสมานุสสติ กับ พระสารีบุตรเถระเจ้า (ท่านรู้พระกัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ กอง ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะท่านเป็นอัครสาวกผู้เลิศทางปัญญา)
    :043:ศึกษาพรหมวิหาร ๔ และ การเข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา กับ พระมหานามะเถระเจ้า (พระมหาเถระเจ้าในกลุ่ม พระปัญจวัคคีย์)
    :043:ศึกษาวิสุทธิ ๗ ประการ กับสมเด็จพระบรมศาสดา
    :043:ศึกษาวิปัสสนาญาณ ๑๐, อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑, จตุธาตุววัฏฐาน ๑ กับ พระติสสเมตเตยยะเถระ (พราหมณ์มานพ ๑๖ คน)
    :043:ศึกษาอรูปฌาน ๔ กับ พระภัททิยะเถระ  (พระมหาเถระเจ้าในกลุ่ม พระปัญจวัคคีย์)
    :043:ศึกษารูป-นาม และ สังขารการปรุงแต่ง มูลกัจจายน์ กับ พระมหากัจจายนะเถระ (พระมหากัจจายน์เถระเจ้า ผู้แต่งพระคัมภีร์มูลกัจจายน์) ก่อนพระราหุลเถระเจ้านิพพาน ๕ พรรษา และ เนื่องจากพระมหากัจจายน์ มีรูปร่างสง่างาม ต่อมาจึงแปลงร่างปรุงแต่งให้ดูอ้วน จะได้ไม่เป็นโทษแก่ผู้อื่น
    :043:ศึกษามหาสติปัฏฐาน ๔ กับ พระมหากัสสปะเถระเจ้า (เป็นโอวาทข้อที่ ๓ ที่พระพุทธเจ้าประทานแก่พระมหากัสสปะเถระเจ้า เราจะไม่ละสติไปในกาย พิจารณากาย เป็นอารมณ์ เวทนา จิต ธรรม เป็นพระกรรมฐานต่อเนื่องจากกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)
    :043:ศึกษาโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ กับ พระบรมศาสดา
    :043:ศึกษาเตโชธาตุ ธาตุไฟ (เตโชกสิณ) กับ ชฏิล ๓ พี่น้อง
    :043:ศึกษาพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา กับ พระอานนท์เถระเจ้า
    :043:ศึกษาการปลงสังขาร (พิจารณาสังขาร) มีเกษา เป็นต้น กับ พระอุบาลีเถระเจ้า ท่านเป็นกัลบก (ช่างตัดผม) มาก่อน
    :043:ศึกษากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กับ พระอนุรุทธะเถระเจ้า
    :043:ศึกษา รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ละ การยึดมั่น ถือมั่น อายตนะภายใน-ภายนอก เพื่อคลายกำหนัด เจริญอสุภ เพื่อละ ราคะ เจริญเมตตาภาวนา เพื่อละ พยาบาท เจริญกรุณาภาวนา เพื่อละ วิหิงสา เจริญมุทิตาภาวนา  เพื่อละ อรติ เจริญอุเบกขาภาวนา เพื่อละ ปฏิฆะ เจริญอนิจจะสัญญา เพื่อละ อัสมิมานะ เจริญอานาปานสติ เพื่อ ความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด และ เจริญเมตตาเจโตวิมุตติ หรือ ออกบัวบานพรหมวิหาร เพื่อ ความหลุดพ้นอันงาม ทั้งหมดนี้ ทรงศึกษา กับ สมเด็จพระบรมศาสดา   
ครั้งเป็นสามเณรนั้น ท่านจะเรียกขาน นามโยมมารดาของท่านพระสารีบุตรว่า ย่า เพราะท่านจะตามพระสารีบุตร องค์อุปัชฌาย์ (เปรียบเหมือนพ่อ) ไปบ้านนางสารีมารดาของพระสารีบุตรเสมอๆ ท่านพระราหุลเถระเป็นผู้มีความกตัญญูมาก เมื่อทราบว่า พระสารีบุตรเถระเจ้า องค์อุปัชฌาย์อยู่ทางทิศไหน ท่านจะบรรทมหันพระเศียรไปทางทิศนั้นเสมอๆ พรรษาที่ ๕ วันหนึ่งพระเจ้าสุทโธทนะมหาราช ประชวรหนัก ทรงปวดตลอดพระวรกาย จึง ทรงระลึกถึงพระราชโอรส พระราชนัดดา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบวาระจิต จึงตรัสชวนพระนันทะ พระอานนท์ และ ราหุลสามเณร พร้อมพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ทรงพาเสด็จทางอากาศถึงฉับพลัน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิษฐานทรงลูบพระศิระเกล้า พระนันทะลูบพระสรีระกายเบื้องขวา พระอานนท์ลูบพระสรีระกายเบื้องซ้าย สามเณรราหุลลูบพระปริษฎางค์ พระโรคาพาธเจ็บปวดทั้งปวงระงับสิ้น พระบรมศาสดาทรงตรัสอนิจจาทิสังยุตต์ตลอดคืน วันที่ ๗ พุทธบิดาจึงบรรลุพระอรหันต์


 :banghead: :040:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 01, 2010, 05:30:02 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ประวัติพระราหุลเถระเจ้า
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 14, 2010, 03:31:48 pm »
0
 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 23, 2012, 10:25:49 pm โดย Ngangjang »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เมื่อพระราหุล ทูลขอ ทรัพย์จาก พระบิดา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 11, 2011, 03:46:51 pm »
0


เมื่อพระราหุล ทูลขอ ทรัพย์จาก พระบิดา
บันทึกการเข้า

lipmon

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 4
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ประวัติพระราหุลเถระเจ้า
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: เมษายน 04, 2012, 07:30:02 am »
0
ผมชอบอ่านมากครับ เรื่องเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเนีย
บันทึกการเข้า

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติพระราหุลเถระเจ้า
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: เมษายน 04, 2012, 12:17:02 pm »
0
น้อมเชิดชู ครูอาจารย์ในสายพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

อนุโมทนาคะ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

magicmo

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 122
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติพระราหุลเถระเจ้า
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2012, 02:12:19 pm »
0
 :25: :25: สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
ขายส่งชุดชั้นในราคาไม่แพงเครื่องกรองน้ำ ดื่มสะอาดสนามกีฬา ฟุตบอลหญ้าเทียม เช่าราคาถูก

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติพระราหุลเถระเจ้า
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 11, 2012, 12:24:11 am »
0
อยากให้เสริมเนื้อหา ประวัติพระอริยะราหุลมหาเถระเจ้าพุทธชิโนรส ให้มากกว่านี้คะ รู้สึกว่าข้อมูลจะมีน้อยอยู่นะคะ ส่วนตัวคิดว่าน่าจะมีเรื่องเกี่ยวกับพระองค์ท่านให้อ่านมากกว่านี้คะ

 :49: :58: :c017: :25:
บันทึกการเข้า

pussadee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 149
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประวัติพระราหุลเถระเจ้า
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 11, 2012, 12:29:06 am »
0
การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ

 ๘. พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา – ประจำทิศอิสาณ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=244.msg918#msg918

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า