ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)  (อ่าน 15846 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ที่มาของโพชฌงคปริตร


ตำนาน     
       สมัย หนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระมหากัสสปะอาศัยอยู่ในปิปผลิคูหา บัง เกิดโรคาพาธแรงกล้า อาการหนักขึ้นทุกวันขณะที่พระผู้มีพระภาค ทรงสถิตอยู่ในสมาบัติ เมื่อถึงกาลอันควร ทรงออกจากสมาบัติแล้ว

จึงทรงมีพระกรุณาโปรด เสด็จไปเยี่ยมอาการไข้ของพระมหากัสสปะเถระ ทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการ ให้ท่านพระมหากัสสปะได้รับฟัง เมื่อจบพระธรรมเทศนานั้น พระมหากัสสปะ มีจิตโสมนัสยินดีรื่นเริงในธรรม ลุกขึ้นกราบพระบาท หายจากอาการไข้โดยพลัน
       
       อีกครั้ง ขณะที่พระบรมศาสดา ทรงประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ใกล้กรุงราชคฤห์ ครานั้นพระมหาโมคคัลลานะ อาศัยอยู่ ณ เขาคิชฌกูฎ เกิดอาการอาพาธหนัก พระบรมศาสดาเมื่อทรงออกจากสมาบัติแล้วไปเสด็จไปเยี่ยมอาการป่วยของพระโมคคัล ลานะ แล้วทรงแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้พระมหาโมคคัลลานะฟัง พระมหาโมคคัลลานะนั้นก็หายจากอาการป่วยโดยพลัน
       
       แม้พระ บรมศาสดาเอง เมื่อครั้งที่พระองค์ ทรงพระประชวรหนัก ด้วยโรคปวดท้อง มิมียาใด ๆ รักษาให้หายได้ จึงมีพระพุทธฎีการับสั่งให้พระจุนทะเถระ แสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้พระองค์ทรงสดับ เมื่อพระจุนทะเถระแสดงโพชฌงค์ทั้ง ๗ ประการจบลง พระบรมศาสดาก็ทรงหายจากอาการประชวรโดยพลัน ทรงเสด็จลุกขึ้นจากพระบรรทมได้ในทันที
       
       กาลนี้ ขอเชิญท่านผู้เจริญทั้งหลาย สาธยายโพชฌงค์ทั้ง ๗ ให้แก่คนยาก ได้สดับเพื่อความสวัสดี จะพึงมีแก่ข้าต่อไป

ที่มา http://www.sil5.net/index.asp?contentID=10000004&title=%B5%D3%B9%D2%B9%BE%C3%D0%BB%C3%D4%B5%C3+%3A+%E2%BE%AA%AC%A7%A4%BB%C3%D4%B5%C3&getarticle=30&keyword=&catid=2


คิลานสูตรที่ ๑
พระมหากัสสปหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗


   [๔๑๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาป
สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัสสปอาพาธไม่สบาย เป็นไข้หนัก อยู่
ที่ปิปผลิคูหา.


   [๔๑๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระ
มหากัสสปถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระมหากัสสป
ว่า ดูกรกัสสป เธอพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่
กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบขึ้นไม่ปรากฏแลหรือ?

ท่านพระมหากัสสป กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้
ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกเวทนา ของพระองค์กำเริบหนัก ยังไม่คลายไป
ความกำเริบขึ้นย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฏ.


   [๔๑๗] พ. ดูกรกัสสป โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์ ๗
เป็นไฉน?

   [๔๑๘] ดูกรกัสสป สติสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว
กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขา
สัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ


ความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรกัสสป โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้ชอบ
แล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อ
นิพพาน.

   [๔๑๙] ท่านพระมหากัสสปกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้าแต่
พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหากัสสป
ปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหากัสสปหายจากอาพาธนั้นแล้ว และอาพาธ
นั้น อันท่านพระมหากัสสปละได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.

                 จบ สูตรที่ ๔

คิลานสูตรที่ ๒
พระมหาโมคคัลลานะหายอาพาธด้วยโพชฌงค์ ๗


   [๔๒๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาป
สถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะอาพาธ ไม่สบาย เป็นไข้หนัก
อยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ.


   [๔๒๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระ
มหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ได้ตรัสถามท่านพระ
มหาโมคคัลลานะว่า ดูกรโมคคัลลานะ เธอพออดพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้แลหรือ
ทุกขเวทนาคลายลงไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบขึ้นไม่ปรากฏแลหรือ?

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้
เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์ย่อมกำเริบหนัก ยังไม่คลายลง ความกำเริบย่อมปรากฏ
ความทุเลาไม่ปรากฏ.


   [๔๒๒] พ. ดูกรโมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคล
เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โพชฌงค์
๗ เป็นไฉน?

   [๔๒๓] ดูกรโมคคัลลานะ สติสัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญ
แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯลฯ อุเบกขา
สัมโพชฌงค์ เรากล่าวไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ


ความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรโมคคัลลานะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล เรากล่าวไว้
ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้
เพื่อนิพพาน.

   [๔๒๔] ท่านพระโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค โพชฌงค์ดีนัก ข้า
แต่พระสุคต โพชฌงค์ดีนัก พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ท่านพระมหา
โมคคัลลานะปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาค ท่านพระมหาโมคคัลลานะหายจากอาพาธ
นั้นแล้ว และอาพาธนั้นอันท่านพระมหาโมคคัลลานะละได้แล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.

                 จบ สูตรที่ ๕

คิลานสูตรที่ ๓
พระผู้มีพระภาคหายประชวรด้วยโพชฌงค์ ๗


   [๔๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคทรงประชวร ไม่สบาย เป็นไข้หนัก.


   [๔๒๖] ครั้งนั้น ท่านพระมหาจุนทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระจุนทะว่า
ดูกรจุนทะ โพชฌงค์จงแจ่มแจ้งกะเธอ.

   จ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อัน
บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน?


   [๔๒๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สติสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว
อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน
ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ชอบแล้ว อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.


   [๔๒๘] ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก ดูกรจุนทะ โพชฌงค์ดีนัก ท่านพระมหาจุนทะ
ได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้แล้ว พระศาสดาทรงพอพระทัย พระผู้มีพระภาคทรงหายจากประชวรนั้น
และอาพาธนั้น อันพระผู้มีพระภาคทรงละแล้ว ด้วยประการฉะนี้แล.
                 จบ สูตรที่ ๖

ว่าด้วยมีตนเป็นเกาะ
   [๗๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:

   สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เวฬุวคาม ใกล้เมืองเวสาลี ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า มาเถิด ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเข้า
จำพรรษาในเมืองเวสาลีโดยรอบ ตามมิตร ตามสหาย ตามพวก (ของตนๆ) เถิด เราจะเข้า
จำพรรษา ณ เวฬุวคามนี้แล ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าจำพรรษา
ในเมืองเวสาลีโดยรอบ ตามมิตร ตามสหาย ตามพวก (ของตนๆ).


   [๗๐๙] ส่วนพระผู้มีพระภาคทรงเข้าจำพรรษา ณ เวฬุวคาม นั้นแหละ เมื่อพระผู้มี
พระภาคทรงเข้าจำพรรษาแล้ว อาพาธกล้าบังเกิดขึ้น เวทนาอย่างหนักใกล้มรณะเป็นไปอยู่ ได้
ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคทรงพระดำรงสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้น ไม่ทรงพรั่นพรึง

ครั้งนั้น พระองค์ทรงพระดำริว่า การที่เรายังไม่บอกภิกษุผู้อุปัฏฐาก ยังไม่อำลาภิกษุสงฆ์ แล้ว
ปรินิพพานเสียนั้น หาสมควรแก่เราไม่ ไฉนหนอ เราพึงขับไล่อาพาธนี้เสียด้วยความเพียร แล้ว
ดำรงชีวิตสังขารอยู่


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงขับไล่พระประชวรนั้นด้วยความเพียร แล้วทรง
ดำรงชีวิตสังขารอยู่

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงหายจากพระประชวรแล้ว ทรงหายจากความไข้
ไม่นาน ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ในร่มแห่งวิหาร.


   [๗๑๐] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นพระผู้มีพระภาคทรงอดทน ข้าพระองค์เห็นพระผู้มีพระภาคทรง
ยังอัตภาพให้เป็นไป กายของข้าพระองค์ประหนึ่งจะงอมระงมไป แม้ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้า
พระองค์


แม้ธรรมทั้งหลายก็ไม่แจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์ เพราะความประชวรของพระผู้มีพระภาค
แต่ข้าพระองค์มาเบาใจอยู่หน่อยหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคยังไม่ทรงปรารภภิกษุสงฆ์ แล้วตรัส
พระพุทธพจน์อันใดอันหนึ่ง จักยังไม่เสด็จปรินิพพานก่อน

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ก็บัดนี้ ภิกษุสงฆ์จะยังมาหวังอะไรในเราเล่า ธรรมอันเราแสดงแล้วกระทำไม่ให้มีในภายใน ไม่ให้มีในภายนอก กำมืออาจารย์ในธรรมทั้งหลาย มิได้มีแก่ตถาคต ผู้ใดพึงมีความดำริฉะนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่าภิกษุสงฆ์ยังมีตัวเราเป็นที่เชิดชู ผู้นั้นจะพึงปรารภภิกษุสงฆ์ แล้วกล่าวคำอันใดอันหนึ่งแน่นอน

ดูกรอานนท์ ตถาคตมิได้มีความดำริอย่างนี้ว่า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์
หรือว่าภิกษุสงฆ์มีตัวเราเป็นที่เชิดชู ดังนี้ ตถาคตจักปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวคำอันใดอันหนึ่ง
ทำไมอีกเล่า บัดนี้เราก็แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว วัยของเราเป็นมาถึง ๘๐ ปีแล้ว

เกวียนเก่ายังจะใช้ไปได้ก็เพราะการซ่อมแซมด้วยไม้ไผ่ ฉันใด กายของตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ยังเป็นไปได้ก็คล้ายกับเกวียนเก่าที่ซ่อมแซมแล้วด้วยไม้ไผ่ ฉะนั้น.


   [๗๑๑] ดูกรอานนท์ สมัยใด ตถาคตเข้าเจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เพราะไม่กระทำ
ไว้ในใจซึ่งนิมิตทั้งปวง เพราะดับเวทนาบางเหล่าแล้วอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมผาสุก
เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ จง
มีธรรมมีเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด.

   [๗๑๒] ดูกรอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่


ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติกำจัดอภิชฌา และโสมนัสในโลกเสีย
ดูกรอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะมีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ
มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล.

   [๗๑๓] ดูกรอานนท์ ก็ผู้ใดผู้หนึ่งในบัดนี้ก็ดี ในเวลาที่เราล่วงไปแล้วก็ดี จักเป็น
ผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง คือ มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง
ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ภิกษุเหล่านั้นจักเป็นผู้เลิศ.

                 จบ สูตรที่ ๙

คิลลานสูตร
จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐานทุกขเวทนาไม่ครอบงำ


   [๑๒๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในป่าอันธวัน ใกล้พระนครสาวัตถี อาพาธ
ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่าน พระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้
ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อไหน ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิด
ขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต?


   [๑๒๘๔] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่นอยู่ใน       
สติปัฏฐาน ๔ ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? เรา
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต
อยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล
ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต.

                 จบ สูตรที่ ๑๐

ที่มา พระไตรปิฎก  เล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2011, 08:35:03 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 11:02:12 am »
0
โพชฌังคปริตรในปัจจุบัน

โพชฌังคปริตรที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้เป็นร้อยแก้ว มีปรากฏในมหาวรรคสังยุต ปฐมคิลานสูตร, ทุติยคิลานสูตร และตติยคิลานสูตร
 
หากต้องการดูร้อยแก้วภาษาบาลีของโพชฌังคปริตรตามพระสูตร สามารถดูได้ที่
http://www.learntripitaka.com/Tripitaka-Pali2.html

ส่วนโพชฌังคปริตรในปัจจุบันเป็นร้อยกรองที่พระเถระชชาวลังการจนาขึ้น โดยนำข้อความจากกพระสูตรมาประพันธ์เป็นร้อยกรอง(พระปริตรแปลพิเศษฉบับพม่า หน้า๙)


โพชฌงค์เจ็ดมีดังต่อไปนี้ คือ
๑. สติสัมโพชฌงค์   องค์แห่งการรู้แจ้ง   คือสติ
๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์   องค์แห่งการรู้แจ้ง   คือการรู้เห็นธรรม
๓. วิริยสัมโพชฌงค์   องค์แห่งการรู้แจ้ง   คือความเพียร
๔. ปิติสัมโพชฌงค์   องค์แห่งการรู้แจ้ง   คือความอิ่มใจ
๕. ปัสสิทธิสัมโพชฌงค์   องค์แห่งการรู้แจ้ง   คือความสงบใจ
๖. สมาธิสัมโพชฌงค์   องค์แห่งการรู้แจ้ง   คือความตั้งมั่น
๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์   องค์แห่งการรู้แจ้ง   คือความวางเฉย


บทสวดที่ใช้กันในปัจจุบันมีดังนี้

                                บทขัดโพชฌังคปริตร
    ๑. สังสาเร  สังสะรันตานัง                  สัพพะทุกขะวินาสะเน
        สัตตะ  ธัมเม  จะ โพชฌังเค            มาระเสนาปะมัททะเน

   ๒. พุชฌิตฺวา  เย จิเม  สัตตา                 ติภะวา มุตตะกุตตะมา
        อะชาติมะ ชะราพฺยาธิง                 อะมะตัง  นิพภะยัง คะตา


บุคคลผู้ประเสริฐ พ้นแล้วจากภพทั้งสาม บรรลุพระนิพพาน อันไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย ไม่มีอันตรายใดๆ เพราะรู้แจ้งโพชฌงค์เจ็ด เครื่องขจัดทุกข์ทั้งปวงของเหล่าสัตว์ผู้ท่องเที่ยวไปในวัฏสงสาร ซึ่งย่ำยีมารและกองทัพได้

   ๓. เอวะมาทิคุณูเปตัง                    อะเนกะคุณะสังคะหัง
        โอสะธัญจะ  อิมัง  มันตัง          โพชฌังคัง ตัง ภะณามะ เห .


ขอเราทั้งหลายจงร่วมกันสวดโพชฌังคปริตร ซึ่งมีคุณอย่างนี้เป็นต้น อันเป็นที่รวมแห่งคุณเป็นอเนก เป็นโอสถ และเป็นมนต์

                                      โพชฌังคปริตร
    ๑. โพชฌังโค  สะติสังขาโต                 ธัมมานัง  วิจะโย  ตะถา
        วีริยัมปีติปัสสัทธิ                             โพชฌังคา  จะ  ตะถาปะเร

   ๒. สะมาธุเปกขา โพชฌังคา                  สัตเตเต  สัพพะทัสสินา
        มุนินา  สัมมะทักขาตา                          ภาวิตา  พะหุลีกะตา

   ๓. สังวัตตันติ  อะภิญญายะ                       นิพพานายะ  จะ  โพธิยา
        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                          โสตถิ  เต โหตุ  สัพพะทา


โพชฌงค์เจ็ด คือ สติสัมโพชฌงค์  ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์  วิริยสัมโพชฌงค์
ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ และอุเบกขาสัมโพชฌงค์
พระมุนีผู้รู้แจ้งสภาวธรรมทั้งปวงตรัสว่า ผู้บำเพ็ญและกระทำโพชฌงค์ให้มาก ย่อมรู้แจ้ง บรรลุถึงพระนิพพานและความตรัสรู้ ด้วยสัจวาจานี้ ขอข้าพเจ้าจงมีความสวัสดีทุกเมื่อเทอญ


   ๔. เอกัสฺมิง  สะมะเย  นาโถ                โมคคัลลานัญจะ  กัสสะปัง
        คิลาเน  ทุกขิเต  ทิสฺเว                           โพชฌังเค  สัตตะ  เทสะยิ


สมัยหนึ่ง พระโลกนาถทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะและพระมหากัสสปะอาพาธได้รับความทุกข์ จึงทรงแสดงโพชฌงค์เจ็ด

   ๕. เต จะ  ตัง  อะภินันทิตฺวา                     โรคา  มุจจิงสุ  ตังขะเณ
        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                          โสตถิ  เม โหตุ  สัพพะทา


พระเถระทั้งสองยินดีรับโพชฌงค์นั้น หายจากโรคทันที ด้วยสัจวาจานี้ ขอข้าพเจ้าจงมีความสวัสดีทุกเมื่อเทอญ

    ๖. เอกะทา  ธัมมะราชาปิ                     เคลัญเญนาภิปีฬิโต
        จุนทัตเถเรนะ  ตังเยวะ                       ภะณาเปตฺวานะ  สาทะรัง


ครั้งหนึ่ง สมเด็จพระธรรมราชาทรงพระประชวรหนัก รับสั่งให้พระจุนทะเถระสาธยายโพชฌงค์ถวายโดยเคารพ

   ๗. สัมโมทิตฺวานะ  อาพาธา                      ตัมหา  วุฏฐาสิ  ฐานะโส
        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                          โสตถิ เม โหตุ  สัพพะทา


พระองค์ทรงแช่มชื่นพระทัย หายจากพระประชวรโดยพลัน ด้วยสัจวาจานี้ ขอข้าพเจ้าจงมีความสวัสดีทุกเมื่อเทอญ

   ๘. ปะหีนา  เต จะ  อาพาธา               ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง
        มัคคาหะตะ กิเลสาวะ                           ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง
        เอเตนะ  สัจจะวัชเชนะ                          โสตถิ เม  โหตุ  สัพพะทา


พระพุทธเจ้าและพระเถระผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐทั้งสาม ได้หายจากอาพาธแล้ว ดุจกิเลสที่ถูกอริยมรรคประหาร ไม่กำเริบอีก ด้วยสัจวาจานี้ ขอข้าพเจ้าจงมีความสวัสดีทุกเมื่อเทอญ

ที่มา  หนังสือพระปริตรธรรม (พระคันธสาราภิวงศ์ ธรรมาจริยะ อภิวังสะ)วัดท่ามะโอ ลำปาง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2011, 11:06:19 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 01:54:56 pm »
0
บทนำของ โพชฌงคปริต นั้น สามารถต่อชีวิตได้หรือไม่

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=812.0

มีหลักฐาน หรือป่าวคะ ว่าผู้สวด คาถาโพชฌงค์แล้ว หายป่วย นอกจากพระอรหันต์...

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2181.0

วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=22.0

ธรรมโอสถ... อาการสามสิบสอง ธรรมกรรมฐานที่ใช้รักษาโรค ๓๒ ชนิด

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1534.0

โพชฌงค์ 7

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2431.0

รวบรวมที่คิดว่าสำคัญเกี่ยวกับเรื่องโพชฌงค์ ไว้ให้อ่านครับ เพราะเป็นธรรมะ

ที่พระอาจารย์ กล่าวบ่อย ๆ และ มาก

 :s_good:
บันทึกการเข้า

The-ring

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 116
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 03:11:58 pm »
0
"คิริมานนทสูตร"เป็นธรรมโอสถเหมือนกับ"โพชฌงคสูตร"

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=936.0

ตรงนี้ก็มีให้อ่านยาวเหมือนกันนะครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

นาตยา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 136
  • ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่านที่เป็นกัลยาณมิตร
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 03:14:14 pm »
0
วิชากรรมฐานและคำสอนของหลวงปู่ จากเอกสาร นำโพสต์ไว้บ้างบางท่านไม่ได้อ่าน

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1539.0

มาช่วยเสิรมวิชาที่หลวงปู่ถ่ายทอดไว้คะ

 :25:
บันทึกการเข้า

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 03:19:42 pm »
0
สรุปแล้วคุณ จขกท.  ต้องการนำเสนอว่า

ถ้าเพียงสวด ก็สามารถเข้าถึงความระงับทุกขเวทนา ได้ใช่หรือป่าวคะ

หรือว่ามีเลศนัยอื่นเพิ่มขึ้น หากจะว่า ดิฉันไม่มีศรัทธา เคยสวดตอนที่ไม่สบาย

แต่สวดแล้วก็ไม่สามารถหายป่วยได้ ต้องเข้า โรงพยาบาลรักษาตัวคะ

หรือเป็นเรื่องที่เอาไว้เป็นที่พึ่งทางใจ ไม่ให้กระสับกระส่าย ก็เคยสงสัยอยู่เหมือนกัน

 :25:
บันทึกการเข้า

PISSAMAI

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 17, 2011, 03:23:30 pm »
0
ธรรมะของพระพุทธเจ้า นั้นเป็นเรื่องทางใจ ตามที่ จขกท. นำไว้ในเรื่อง จิตประภัสสร ดังนั้น

การปฏิบัติธรรม ย่อมไม่น่าจะมีผลทางกาย ใช่หรือป่าวคะ

การเจริญสวดบทโพชฌงค์ พระทั่วประเทศ ก็มักจะบอกว่าสวดบทนี้แล้วหายป่วยด้วยอานุภาพ พระปริต

แต่ความเป็นจริง มีกี่คนที่สวดแล้วหาย ตามประวัติก็มีแต่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และ พระสาวก ที่เป็นพระอรหันต์

เท่านั้นที่สวดบทนี้แล้วหาย บทสวดนี้น่าจะเป็น เคล็ดวิชา จิตขั้นสูงมากกว่า ที่เราเข้าใจในปัจจุบัน

เห็นด้วยคะ กับ คุณ SAWWALUK
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 08:58:41 am »
0
 
          ภาวนา คือ การอบรม ท่านหมายถึง การอบรมโพชฌงค์ 7
 
          โพชฌงค์ แปลว่า องค์ธรรมเพื่อการตรัสรู้ หรือว่าองค์ธรรมเพื่อปัญญาที่เรียกว่า โพธิ โพชฌะ แปลว่า ปัญญา พุชฌะ ธาตุเดียวกับพุทธะ มาจาก รากศัพท์เดียวกับพุทธะ พุชฌะ โพธิ แล้วบวกด้วย อังคะ ก็คือ องค์ ถ้าเป็นบาลีก็จะเป็นโพชฌังโค มาเขียนเป็นไทยก็คือ โพชฌงค์ แปลว่า องค์แห่งปัญญา  องค์แห่งธรรมที่ให้เกิดปัญญา องค์แห่งธรรมที่นำไปสู่โพธิ คือการตรัสรู้หรือความรู้แจ้งเห็นจริง โพชฌงค์นี่มีคุณลักษณะพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ
 
          ในสมัยพุทธกาล มีเถระบางท่านที่ท่านเจ็บไข้ไม่สบาย แล้วก็เมื่อมีผู้ไปสวดโพชฌงค์ให้ฟังก็ปรากฏว่าหาย บางคราวพระพุทธเจ้าเองก็ทรงอาพาธ และรับสั่งให้สาวกมาสวดโพชฌงค์ให้ทรงสดับก็ทรงหายจาก อาพาธ ประวัติของอันนี้ก็เลยเป็นธรรมเนียมเป็น ประเพณี เป็นอะไรอย่างหนึ่งในสังคมไทยว่า เมื่อคนเจ็บหนักป่วยหนักก็มักจะนิมนต์พระไปสวดโพชฌงค์ ก็หายบ้าง ดีขึ้นบ้าง ตายบ้าง ไม่แน่นอน แต่ว่า พระอรหันต์แต่โบราณนั้นท่านหาย ที่ท่านหายก็เพราะว่าท่านมีคุณธรรมเหล่านี้อยู่พร้อมและท่านก็รู้เรื่อง
 
          ทีนี้คนธรรมดาฟังก็ไม่รู้เรื่อง คุณธรรมที่เป็นโพชฌงค์ 7 ประการนั้นก็มีบ้างไม่มีบ้าง บางคนก็ไม่รู้จักด้วยซ้ำไป เมื่อเป็นอย่างนี้ การสวดก็เลยไม่ค่อยได้ผล เพราะความไม่เข้าใจไม่รู้ ปีติมันไม่มี นอกจากว่าบางคนเขาอาจจะน้อมใจให้เลื่อมใสในคำสวดนั้น ก็พอไปได้ ถือเอาคำสวดนั้นเป็นอารมณ์ ถ้าเผื่อดับจิตในขณะนั้นก็อาจไปสุคติได้
 
          หัวข้อของโพชฌงค์ก็คือ สติ ธัมมวิจยะหรือธัมมวิจัย วิริยะความเพียร ปีติความอิ่มใจ ปัสสัทธิความสงบหรือการผ่อนคลาย สมาธิความ ตั้งใจมั่น หรือจิตใจมั่นคง อุเบกขาความวางเฉย
 
          โพชฌงค์ 3 ข้อ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ เป็นปฏิปักษ์ต่อความหดหู่ คือเมื่อใดจิตใจหดหู่ ก็ให้เจริญโพชฌงค์ทั้ง 3 ข้อ ธัมมวิจยะ คือ การเลือกเฟ้นธรรม การใคร่ครวญธรรม วิริยะความเพียร และปีติ
 
          3 ข้อหลังเป็นปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน เมื่อใดเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นมาก็ให้เจริญโพชฌงค์ 3 ข้อหลัง ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา

 
          ส่วนสตินั้นเป็นอุปการะต่อโพชฌงค์ทุกข้อ

โพชฌงค์ข้อที่ 1 สติ
 
          ต่อไปจะพูดถึงสติในฐานะที่เป็นชาครธรรม ชาครธรรม แปลว่า ธรรมที่ทำให้ตื่นอยู่ มีพระพุทธพจน์ว่า สติ โลกสฺมิ ชาคโร สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก เหมือนพวกยามที่หลับไม่ได้ ต้องตื่นอยู่ตลอด ฉะนั้นสติเป็นยามเฝ้าจิต พยายามกีดกันอกุศลไม่ให้เข้าไปสู่จิตให้กุศลเข้าไปสู่จิต เหมือนยามที่คอยดูแลไม่ให้คนเข้าไปและ

ให้คนที่ควรเข้าได้เข้าไป นี่ก็เป็นหน้าที่ของยามเหมือนสติ พยายามกีดกันอกุศลและเปิดทางให้กุศล ให้ความดีเข้าไป สติในฐานะเป็นอัปปมาทธรรม ธรรมคือความไม่ประมาท ฉะนั้น พอพูดถึงสติแล้วท่านจะไขความว่า ความไม่ประมาท หรือเวลาพูดถึงความไม่ประมาท ก็จะพูดว่าไม่เป็นอยู่โดยความขาดสติ อยู่ด้วยสติ สติคือความไม่ประมาท ความไม่ประมาทคือสติ มันก็เท่ากัน อันนี้มีแสดงไว้หลายแห่ง
 
          สติในฐานะเป็นพลธรรม คือ ธรรมที่เป็นกำลังหนุนไปสู่โลกุตตรธรรม เป็นพลธรรม พละ 5
 
          สติในฐานะเป็นนาถกรณธรรม คือ ธรรมเป็นที่พึ่ง ในธรรมเป็นที่พึ่ง 10 ข้อ มีสติอยู่ข้อหนึ่งด้วย สติในที่นั้นคือระลึกสิ่งที่ได้เคยทำ และคำที่เคยพูดแม้ นานได้ ไขความตามพุทธพจน์ได้ตามนั้น
 
          สติในฐานะเป็นอุปการธรรม พระพุทธเจ้าทรงแสดงว่า ธรรมมีอุปการะมาก 2 อย่าง คือ สติกับสัมปชัญญะ ถ้ามีสติและมีสัมปชัญญะก็จะมี เครื่องมือหรือมีธรรมที่เป็นอุปการะต่อชีวิต เพราะชีวิตปราศจากสติและสัมปชัญญะไม่ได้ สติจะต้องใช้ในฐานะธรรมที่มีอุปการะต่อธรรมทั้งปวง และมีอุปการะต่อการกระทำทั้งปวง
 
          สติในฐานะเป็นธรรมเครื่องยับยั้งหรือเป็นเครื่องกั้นกระแสกิเลส ตามพระพุทธพจน์ที่ว่า ยานิ โสตานิ โลกสฺมึ สติ เตสํ นิวารณํ กระแสตัณหาเหล่าใดในโลก สติเป็นเครื่องกั้นกระแสตัณหาเหล่านั้น สติเป็นเหมือนทำนบที่กั้นกระแสน้ำไม่ให้ไหลบ่าไปในทางที่ไม่ต้องการ เป็นเครื่องกั้นกระแสกิเลส มีสติ สติ แปลว่า ไปเร็ว แล่นไปเร็ว คือว่า ให้ทันกับกิเลส สติถ้าอบรมให้ดี มันจะแล่นไปรับ แล่นไปดัก หรือแล่นไปประหารกิเลสได้เร็ว

แต่ถ้าสติไม่ทัน กิเลสท่วมทับ ทำนบมัน ไม่แข็งแรงพอหรือมันเตี้ยไป กระแสน้ำมันไหลบ่า ขึ้นไป ฉะนั้นสติเป็นธรรมเครื่องยับยั้ง เป็นเครื่องกั้นกระแสกิเลส ฉะนั้น บางทีเราก็ได้ยินคนพูดว่า ลืมสติไป โกรธจนยั้งสติไม่อยู่ ขาดสติไป โกรธจนขาดสติ ความโกรธก็ครอบงำท่วมทับจิตใจได้เต็มที่ เหมือน น้ำไหลบ่าทำนบพัง
 
          สติช่วยให้ปัญญาทำงานได้เต็มที่ ว่ามองอะไรได้ชัดเจน เหมือนหยิบเอาของมาวางไว้บนฝ่ามือ แล้วก็เพ่งดู ปัญญาเหมือนกับดวงตาที่จะเพ่งดู สติเหมือนกับเราดึงเอาของมาไว้บนฝ่ามือ เข้ามามองดูใกล้ๆ ให้ชัดเจน สติมา ช่วยปัญญาให้ทำงานได้เต็มที่
 
          สติในฐานะที่ทำให้แก่ช้า อายุยืน มีพระพุทธภาษิตที่ว่า มนุชสฺส สทา สติมโต บุคคลที่มีสติทุกเมื่อนั้น และมีความรู้หรือรู้จักประมาณใน โภชนะที่ได้แล้ว เวทนาของท่านผู้นั้นก็จะเบาบาง ค่อยๆ ย่อยอาหาร ค่อยๆ หล่อเลี้ยงอายุไปให้ยืนนาน อยู่ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 15 ข้อ 366
 
          มีพระพุทธภาษิตอยู่หลายตอนที่พูดถึงคุณของสติ เช่นว่า สติมา สุขเมธติ คนมีสติย่อมจะได้รับความสุข สติมโต สุเว เสยฺโย คนมีสติ ดีทุกวัน ประเสริฐทุกวัน ดีขึ้นทุกวัน สติมโต สทา ภทฺทํ ความเจริญย่อมมีแก่ผู้มีสติทุกเมื่อ คนมีสติเจริญทุกเมื่อ อีกข้อความว่า ผู้มีสติมีความวางเฉย ไม่ดูหมิ่นใครๆ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา วิเศษกว่าเขา หรือต่ำกว่าเขา กิเลสก็ไม่ฟูขึ้นสำหรับบุคคลเช่นนั้น แต่มีสติวางเฉยได้ทุกเมื่อ
 
          มีพระพุทธภาษิตที่ตรัสสอนพระโมฆราช ผู้เป็นมานพคนที่ 15 ในบรรดามานพ 16 คน ที่มาทูลถามพระพุทธเจ้าถึงปัญหาที่พราหมณ์พาวรี  ผู้เป็นอาจารย์แต่งมาให้ถามพระพุทธเจ้า
 
          พระโมฆราชทูลถามว่า กถํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ มจฺจุราชา น ปสฺสติ คนพิจารณาโลกอยู่อย่างไร มัจจุราชจึงจะมองไม่เห็น
 
          พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า สุญฺ�โต โลกํ อเวกฺขสฺสุ โมฆราช สทาสโต ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาโลกโดยความเป็นสุญญตา ของว่าง สิ่งว่าง ถอนอัตตานุทิฐิ ความเป็นตัวตนเสีย เมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะข้ามมัจจุราชได้ เอวํ โลกํ อเวกฺขนฺตํ เมื่อพิจารณาโลกอย่างนี้ มจฺจุราชา น ปสฺสติ มัจจุราชก็จะมองไม่เห็น หมายความว่า ข้ามพ้นความตาย คือว่า จะตายอีกหนเดียวเฉพาะที่เกิดมาแล้วในชาตินี้ ต่อไปก็จะไม่ตายเพราะไม่เกิด
 
          สติที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ก็ล้วนแต่เป็นธรรมที่ นำไปสู่โพชฌะคือธรรมเป็นเครื่องทำให้ตื่นอยู่ มีความรู้ความเข้าใจในชีวิต จนถึงกับสามารถละกิเลสได้ สามารถ ถ่ายถอนกิเลสได้ นำไปสู่ความหลุดพ้น
 
          ขอเพิ่มเติมเกี่ยวกับสุญญตาสักเล็กน้อยนะครับ
 
          สุญญตานี่ ทางมหายานเขาบอกว่า ทางเถรวาท เข้าถึงแต่บุคคลสุญญตา คือ ว่างจากบุคคล คือ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา แต่ยังมีขันธ์ ยังมีธาตุ   มีอายตนะ ก็แปลว่า ไม่เข้าถึงธรรมสุญญตา แต่นี่ก็ทางมหายานว่า แต่เถรวาทว่าไม่ใช่หรอก เถรวาทก็เข้าถึงธรรมสุญญตาเหมือนกัน สุญญตากับอนัตตาเป็นคำที่ใช้แทนกันได้ ทางเถรวาทก็มีธรรมสุญญตาเหมือนกัน  เช่นว่า สพฺเพ ธมฺมา นาลํ อภินิเวสาย ธรรมทั้งปวงอันบุคคลไม่ควรยึดมั่นถือมั่น แม้แต่ธรรม
 
          ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมเป็นเหมือนพ่วงแพ สำหรับให้ข้ามฝั่ง เมื่อข้ามฝั่งได้แล้วก็ให้ทิ้งแพเสีย ไม่ต้องแบกแพขึ้นไปด้วย เราสอนให้ละแม้แต่ธรรม จะป่วยกล่าวไปใยถึงอธรรมเล่า
 
          อันนี้ชั้นสูงนะครับ ถ้าเผื่อในชั้นต้นก็ต้องถือธรรมไปก่อน เว้นอกุศลธรรม ถือกุศลธรรม เว้นบาปถือบุญ เว้นความชั่วถือความดีไปก่อน เหมือนกับว่า เมื่อยังไม่ถึงฝั่ง ยังอยู่ในทะเล ก็อาศัยเรือไปก่อน ถ้าอวดดีไม่อาศัยเรือ ทิ้งเรือกลางทะเลก็เป็นเหยื่อของปลา ของสัตว์ร้ายในทะเล ทะเลก็เหมือนสังสารวัฏฏ์
 
          ฉะนั้นทางเถรวาทก็สอนสุญญตาธรรมเหมือนกัน หมายความเมื่อถึงที่สุดแล้ว ก็ละทั้งอธรรมและธรรมละทั้งบาปทั้งบุญ เป็นผู้ไม่มีบุญไม่มีบาป คนมีบุญก็เป็นทุกข์ อย่างคนมีบุญ คนมีบาปก็ทุกข์อย่างคนมีบาป แต่ว่าทุกข์อย่างคนมีบุญดีกว่าทุกข์อย่างคนมีบาปสักหน่อย คนมีเสน่ห์ก็เป็นทุกข์อย่างคนมีเสน่ห์ คนไม่มีเสน่ห์ก็เป็นทุกข์อย่างคนไม่มีเสน่ห์ มันก็ยังอยู่ในทุกข์เหมือนกัน
 
          นี่เพิ่มเติมเรื่องสุญญตา แต่เราต้องทำความเข้าใจให้ดีนะครับ  เดี๋ยวไปถึงข้อธัมมวิจยะ ผมจะวิจัยให้ฟัง มิฉะนั้นแล้วจะสับสนไปหมด  เอาไปคละกัน เหมือนด้ายที่ปนกันยุ่งแก้ไม่ออก อะไรเป็นโลกียะ อะไรเป็นโลกุตตระ ควรจะทำอย่างไร เหมือนคนไม่มีความรู้เรื่องยา มันหยิบไม่ถูก ไม่รู้ยาไหนแก้โรคอะไร
 
          เหตุให้เกิดสติ 16 อย่าง มีอะไรบ้าง
          1.  สติเกิดแก่ท่านผู้รู้ เช่น ท่านผู้ระลึกชาติได้เอง เกิดมาแล้วระลึกชาติได้ อาจจะพบอยู่ต่อเนื่องทั้งในเอเชียและยุโรป

          2.  สติเกิดขึ้นเพราะการเตือน เช่น ผู้ที่หลงลืม พอมีผู้เตือนก็ระลึกได้เพราะการเตือน

          3.  สติเกิดขึ้นเพราะอาศัยนิมิตที่สำคัญ เช่น พระราชาได้อภิเษกในราชสมบัติ หรือว่าบุคคลได้บรรลุโสดาปัตติผลก็ดี เมื่อนั้นสติเกิดขึ้น เพราะวิญญาณอาศัยนิมิตที่สำคัญ คือ อย่างพระราชาได้อภิเษก ราชสมบัติที่ใด วันใด เดือนใด ปีใด พอถึงที่นั้น อันนั้น ปีนั้น ก็ระลึกขึ้นมา ถึงวันที่ได้อภิเษก สถานที่ที่ได้อภิเษก หรือบุคคลได้บรรลุธรรมโสดาปัตติผลในที่ใด ด้วยธรรมอันใด ก็ระลึกถึงที่นั้นโดยธรรมอันนั้นนี้ เรียกว่าเกิดขึ้นเพราะอาศัยนิมิตที่ สำคัญ นิมิต แปลว่า เครื่องหมาย

          4.  สติเกิดขึ้นเพราะวิญญาณอาศัยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เช่น คนได้ความสุขในที่ใด ก็ระลึกถึงที่นั้นว่าเราได้อาศัยความสุขในที่โน้น คนได้รับความสุขในที่ใด ก็นึกถึงที่ตรงนั้นบ่อยๆ เพราะความสุขความพอใจทำให้คนอยากจะทำซ้ำในสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขและระลึก ถึงสถานที่ เวลา ที่ทำให้เกิดความสุข

          5.  สติเกิดขึ้นเพราะวิญ

          6.  สติเกิดขึ้นเพราะนิมิตที่เหมือนกัน เช่น ได้เห็นคนที่คล้ายกัน แล้วก็ระลึกถึงมารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย เป็นต้น หรือว่าได้เห็นสัตว์ตัวใดตัวหนึ่งแล้วก็ระลึกถึงสัตว์อื่นที่คล้ายกัน นี่เรียกว่า สติเกิดขึ้นเพราะนิมิตที่เหมือนกัน

          7.  สติเกิดขึ้นเพราะนิมิตที่ไม่เหมือนกัน เช่น ระลึกได้ว่าสีของสัตว์ตัวโน้นเช่นนี้ เสียงของคนโน้นเช่นนี้ เป็นต้น

          8.  สติเกิดขึ้นเพราะลักษณะ เช่น เจ้าของโคเห็นโคของตัวแล้วก็รู้ได้จำได้ เพราะมีตำหนิตรงไหน หรือว่าลักษณะต่างกันก็รู้ได้

          9.  สติเกิดขึ้นเพราะความระลึก เช่น ผู้ที่สติฟั่นเฟือนเมื่อได้ผู้อื่นเตือนให้ระลึกอยู่บ่อยๆ ก็ระลึกได้


          10. สติเกิดขึ้นเพราะสังเกต เช่น คนที่เคยเรียนหนังสือได้เรียนรู้มาว่าตัวอักษรอย่างนี้ต้องเขียนอย่างนี้ นี่เรียกว่าเกิดขึ้นเพราะความสังเกต

          11.  สติเกิดขึ้นเพราะการนับ เช่นว่า เพราะเคยได้เรียนการนับมา จึงนับได้มาก นี่ก็คือการคำนวณ คนที่เก่งทางคำนวณ เขาจะคำนวณได้เร็ว คิดอะไรได้เร็ว เคยเห็นเด็กมาแข่งขันทางทีวี เขาจะคิดได้เร็วมาก ซึ่งไม่น่า ทำได้แต่เขาทำได้เพราะฝึกฝนทางนี้มา

          12. สติเกิดขึ้นเพราะความจำ เช่น เคยท่องจำ ผู้จำจึงสามารถจำได้มาก อันนี้คือเขาจำมา พอระลึกได้ ก็ไปได้หมด บางทีคำภาษาบาลี พอได้บาทต้น บาทที่ 2 ก็มา บาทที่ 3 ก็มา ได้ไปเรื่อย นั่นคือสติเกิดขึ้นเพราะความจำเคยท่องมา และจะจำได้มากขึ้นเรื่อย ไม่ใช่ว่าจะลืม พื้นฐานดีๆ อ่านทีเดียวก็จำ จำแล้วก็ไม่ค่อยลืม จำง่ายลืมช้า มันเป็นลักษณะประหลาดอันหนึ่งสำหรับคนที่เคยท่องจำ แต่บางคนจะตรงกันข้าม ลืมง่ายจำช้า

          13. สติเกิดขึ้นเพราะภาวนา เช่น การระลึกชาติได้ของผู้ที่บำเพ็ญภาวนาที่เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ญาณ คือ การตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่ในปางก่อน ท่านใช้คำว่าสติเหมือนกัน

          14. สติเกิดขึ้นเพราะเปิดตำราออกดู เหมือนพระราชาให้นำพระราช-กำหนดมาเปิดออกดู แล้วก็ทรงระลึกได้ถึงพระราชกำหนดนั้น

          15. สติเกิดขึ้นเพราะเก็บไว้ เช่น เห็นของที่เก็บไว้แล้วระลึกได้ มันคงมีอะไรต่อเนื่องด้วยนะครับ คนที่ค้นคว้าเก่งๆ เขาระลึกได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน ใครถามอะไรก็มักจะตอบได้ทันที และการค้นคว้าก็จะสะดวกขึ้นมากด้วย หนังสืออะไรอยู่ที่ไหนมากมายก่ายกอง ก็ระลึกได้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน ก็สะดวกกับการที่จะไปค้นหา ได้ข้อมูลเยอะเลย

          16. สติเกิดขึ้นเพราะได้พบ เช่น เพราะว่าเราได้เห็นจึงระลึกถึงรูปได้ เพราะได้ฟังจึงระลึกถึงเสียงได้
 

          อันนี้เป็นสติที่เกิดขึ้นด้วยอาการ 16 อย่าง อันนี้มาจากมิลินทปัญหา พระนาคเสนตอบพระเจ้า มิลินท์ถามว่าสติเกิดขึ้นอย่างไร พระนาคเสนก็ถวายพระพรว่าเกิดขึ้นด้วยอาการ 16 อย่างดังที่กล่าวมานี้
 
          การมีสติ ทำให้เป็นคนมีโชคดี มีเรื่องอยู่ 4 - 5 เรื่อง ที่ทำให้เป็นคนมีโชคดี คือ มีการตั้งคำถามว่า ทำอย่างไรจึงจะเป็นคนโชคดี นี่เป็นคำตอบของ แม็ค กัลเตอร์ เป็นนักปราชญ์ จากหนังสือเรื่อง The 5 ways to improve your luck ในหนังสือรีดเดอร์ ไดเจสท์  ปี 1977 เดือนกรกฎาคม ให้หลักไว้ 5 หลักด้วยกัน
 
          1.  มีเพื่อนดี ก็คือ กัลยาณมิตร อันนี้ก็ ตรงกับหลักพระพุทธศาสนา การมีมิตรสหายดี เป็นบุพพนิมิตของการได้อริยมรรคมีองค์ 8 เหมือนกับ   เมื่อแสงเงินแสงทองขึ้นมา เป็นบุพพนิมิตว่าดวงอาทิตย์จะขึ้นมาในไม่ช้า การที่ได้มิตรดีก็เป็นบุพพนิมิต เป็นเครื่องหมายเบื้องต้นว่าจะไปสู่ความสุขความเจริญและก็ได้อริยมรรคมีองค์ 8 ในธรรมหลายหมวดที่แสดงว่าจะไปสู่ความสุขความเจริญ พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดง กัลยาณมิตร คือ มิตรดีว่าเป็นหลักหนึ่งที่จะทำให้ประสบความสำเร็จหรือมีโชคดี
 
          2.  เชื่อแรงสังหรณ์ไว้บ้าง แรงสังหรณ์ คือ ความรู้สึกของใจ คือ ตอบไม่ได้ว่าเพราะอะไร แต่ว่ามันรู้สึกขึ้นมา เพราะในตัวคนเรานี่มันมีอยู่ 2 ตัว คือ ตัวนอกกับตัวใน หรือจะเรียกว่าจิตสำนึกกับจิตใต้สำนึกก็ได้ เวลาเรานอนหลับ บางทีจิตใต้สำนึกมันทำงาน unconcious mind ทำงาน อะไรที่เราลังเลไม่แน่ใจ ในจิตสำนึกไม่สามารถจะตอบได้ แต่จิตใต้สำนึกจะบอกเราว่าควรจะทำอย่างไร คือ ถ้าเราไม่ฝืนจิตใต้สำนึก เราก็จะทำสิ่งนั้น

ได้ถูกต้องตามที่จิตใต้สำนึกได้บอกเราว่าควรจะทำอย่างไร นี่คือแรงสังหรณ์   ที่เขาเรียกในภาษาโลกๆ ว่าแรงสังหรณ์ ท่านบอกว่าให้เชื่อแรงสังหรณ์ไว้บ้าง ถ้าเราเชื่อเรื่องเทวดา บางทีท่านก็บอกว่าเชื่อเทพสังหรณ์ มาในความฝัน เทวโต ปสงฺหรณโต โดยการนำมาของเทพ เทวดาที่เป็นมิตรเป็นสหาย เป็น ผู้มีอุปการะ เป็นผู้หวังดีต่อเรา มีบุญคุณต่อกัน หวังดีต่อกัน หรือเราเคย ทำบุญอุทิศให้เทวดา เทวดามีความหวังดีต่อเรา ก็นำข่าวมาบอก

แต่ว่าบอกตรงๆ ไม่ได้ เราวิ่งหนี เทวดาก็เลยมาปรากฏในความฝัน เขาเรียกว่า เทวโต ปสงฺหรณโต โดยการนำเข้าไปของเทวดา หรือเทพสังหรณ์ อันนี้ก็เป็นไปได้ ดังนั้น ท่านจึงบอกว่า เทวตานุกมฺปิโต โปโส บุคคลผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว สทา ภทฺรานิ ปสฺสติ ย่อมพบแต่ความเจริญ
 
          ทางพุทธก็ไม่ได้ปฏิเสธเรื่องเทวดา แต่ว่าอย่าไปอ้อนวอนท่านมากเกินไป ให้อยู่อย่างเป็นเพื่อนกัน เป็นมิตรกัน ถ้าท่านจะให้อะไรก็ให้เอง ไม่ต้องไปขอ เรามีแต่ว่าทำความดี ทำบุญกุศลใดก็อุทิศให้
 
          3.  มีความกล้าเสี่ยงบ้าง คือ ไม่ขี้ขลาดเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะบ้าบิ่นเกินไป ความขี้ขลาดเป็นส่วนสุดข้างหนึ่ง ความบ้าบิ่นก็เป็นส่วนสุดอีก ข้างหนึ่ง สิ่งที่ดีหรือมัชฌิมาปฏิปทา หรือว่าเป็นคุณธรรม ก็คือความกล้า กล้าในสิ่งที่ควรกล้า และมีคุณสมบัติของผู้กล้า ถ้ากล้าโดยไม่มีคุณสมบัติ ของผู้กล้าก็ไม่ใช่ผู้กล้าแท้ เป็นผู้กล้าเทียม เช่น กล้ารังแกผู้หญิง กล้ารังแกเด็ก กล้ารังแกคนที่ไม่มีกำลังต่อสู้ อย่างนี้เป็นผู้กล้าเทียม
 
          กล้าเสี่ยงคือว่า มันมีหลายอย่างที่เราไม่แน่ใจว่าทำอย่างไรดี ลองเสี่ยงดู ไม่มั่นใจนัก สมมติว่าเด็กที่จะไปสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่แน่ใจว่าจะสอบได้  หรือเปล่า อาจจะตกก็ได้ ลองเสี่ยงดู แต่ถ้าเผื่อไม่กล้าเสี่ยงเสียเลย มันก็จะไม่ได้เลย หรือว่ามีทุนอยู่ก้อนหนึ่ง ต้องการที่จะลงทุนทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็ต้องเสี่ยงกับกำไรหรือขาดทุน หรือว่าถ้าเผื่อดีก็อาจจะได้กำไรมา ถ้าเผื่อไม่ดีก็อาจจะหมดตัว เกลี้ยงกระเป๋าไป แต่ก็ไม่ควรเสี่ยงขนาดนั้น ก็ควรจะเหลือให้ติดกระเป๋าไว้บ้าง ไม่ควรจะไปลงทุนทั้งหมดแบบนักเล่นการพนัน เล่นเทกระเป๋าเลย แพ้ก็เป็นอันว่าหมดตัว ก็ไม่ถึงขนาดนั้น
 
          ในชีวิตของคนเรา มันก็มีเรื่องจะต้องเสี่ยงอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน ถ้าเราไม่กล้าเสี่ยงอะไรเลย เราก็จะไม่ได้อะไรเลย คนที่เขากล้าเสี่ยง เขาก็เอาไปหมด
 
          4.  จำกัดความสูญเสีย คือ เลิกทำทันทีเมื่อ เห็นว่าพลาดท่า หรือรีบถอนตัวเสีย เมื่อเห็นว่าผิดทางและจะไปไม่ไหว นี่เรียกว่าจำกัดความสูญเสีย แปลว่า ให้เสียไปเท่าที่เสียไปแล้ว เสียเท่านี้ก็ให้เสียเท่านี้ ไม่ต้องเสียอีก ถ้าจำเป็นต้องเสียนิ้วก้อย ถ้าจำเป็นต้องตัดนิ้วไป เพื่อรักษาข้อมือเอาไว้ นี่เรียกว่าจำกัดความ สูญเสีย หรือ

เราคบคนแล้วเสียอะไรไป เรารู้สึกว่ายิ่งคบ ก็ยิ่งเสียหนักเข้าไปอีก ก็อย่าไปเสียดายเลย เลิกคบไป จำกัดความสูญเสียไว้แค่นี้ ที่เสียไปแล้วเสียไป ไม่ดื้อดึง เห็นท่าว่าจะไม่ดี ก็รีบถอนตัวเสีย ไม่เสียหายอะไร  ถ้าเราเข้าศาสนาผิด เข้าลัทธิผิด รู้ตัวว่ามันผิดเสียแล้ว ขืนเดินหน้าต่อไปมันก็ยิ่งผิดลึกเข้าไปอีก ก็รีบถอนตัวออกมาเสีย อย่างนี้เรียกว่ารู้จักจำกัดความสูญเสีย
 
          5.  เตรียมแก้ปัญหา มีนิสัยระวังตัว ไม่ประมาท อันนี้แหละคือสติ ไม่ประมาทก็คือมีสติ ที่ให้คำจำกัดความไว้แล้ว สติคือการอยู่ด้วยความไม่ประมาท
 
          ฉะนั้น สติก็เป็นข้อหนึ่งในเหตุที่ทำให้เป็นคน โชคดี


หนังสือ วิธีทำจิตให้บริสุทธ์ (อ.วศิน อินทสระ)
ที่มา  http://www.ruendham.com/book_detail.php?id=60&content=804&name_content=%B7%D3%A8%D4%B5%E3%CB%E9%BA%C3%D4%CA%D8%B7%B8%D4%EC%20%C7%D4%B8%D5%B7%D5%E8%207.%20%C0%D2%C7%B9%D2&key_run=1085
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 09:04:10 am »
0
ยังไม่หมดนะครับ ยังมีอีกมากมาย มหาศาลกว่าอะไรทั้งหมด

มโหฬารไม่มีวันหายหด ขอจงโปรด..ด..ด..ด..ติดตามตอนต่อไป

ของดีต้องอยู่ตอนท้ายๆ ใจเย็นๆพี่น้อง

 :49: :) ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 09:21:07 am »
0
โพชฌงค์ข้อที่ 2 ธัมมวิจยะ
 
          ธัมมวิจยะ แปลว่า การวิจัยธรรมถูกต้อง บางทีก็เรียกว่า ธัมม-ววัตถานะ กำหนดธรรมอันถูกต้อง ถ้าเราวิจัยธรรมถูกต้องและกำหนดธรรมถูกต้อง และก็จะคลายความสงสัยในธรรมเสียได้ เหมือนแพทย์ที่มีความรู้จริง หรือเภสัชกรที่มีความรู้จริง ก็สามารถบอกเราเรื่องโรคเรื่องยาได้ถูกต้องว่าเป็นโรคนี้ต้องกินยานี้ คือว่า วินิจฉัยโรคได้ตรงถูกต้อง แล้วก็ให้ยาถูกต้อง โรคมันจะค่อยๆ บรรเทาลงไป หายไป การวินิจฉัยโรคเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าวินิจฉัยโรคไม่ถูก มันรักษาไม่หาย ยิ่งรักษาไปบางทีโรคก็ยังเพิ่มมากขึ้น วินิจฉัยโรคไม่ถูก ไม่รู้เป็น

อะไร ให้ยาสุ่มสี่สุ่มห้า แพทย์ที่มีความรู้จริง  บางทีคนไข้ไปเล่าอาการให้ฟัง เขาก็รู้แล้วว่าคนไข้เป็นอะไร ด้วยประสบการณ์และด้วยความชำนาญในการรักษาโรค แพทย์เภสัชกรมีความรู้เรื่องยา เรื่องการรักษาอย่างไร การวินิจฉัยธรรมก็ทำนองเดียวกัน รู้ว่าควรจะปฏิบัติธรรมอย่างไร ควรจะให้ธรรมตัวไหนในการปฏิบัติธรรม ผมจะค่อยๆ ลงรายละเอียด ในเรื่องนี้
 
          มีพุทธศาสนสุภาษิตบอกไว้ว่า โยนิโส วิจิเน ธมฺมํ พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย ปญฺญายตฺถํ วิปสฺสติ ย่อมจะเห็นเนื้อความของธรรมนั้นด้วยปัญญา
 
          มีเถรภาษิตของพระมหาจุนทเถระ น้องชายของพระสารีบุตรว่า สุสฺสูสา สุตวฑฺฒนี การฟังด้วยดีทำให้เจริญ สุตะ คือ สิ่งที่ได้ฟังได้เล่าเรียน การฟังดีทำให้การศึกษาเจริญ ถ้าฟังไม่ดีการศึกษาไม่เจริญ สุตํ ปญฺ�าย วฑฺฒนํ การศึกษาที่เจริญดีแล้ว ทำให้ปัญญาเจริญ ปญฺ�าย อตฺถํ ชานาติ บุคคลย่อมรู้เนื้อความด้วยปัญญา �าโต อตฺโถ สุขาวโห เนื้อความที่บุคคลรู้แล้วนำความสุขมาให้ อัตโถ นี่แปลว่า ประโยชน์ก็ได้ แปลว่า เนื้อความก็ได้ แปลว่า ความเจริญก็ได้ แปลได้หลายอย่าง
 
          นี่เป็นภาษิตของพระมหาจุนทเถระ คาถาในพระไตรปิฎก เล่มที่ 26 หน้า 290 ฉบับภาษาบาลี
 
          นี่เป็นการแสดงถึงธรรมวิจัยเหมือนกัน
 
          ถ้าเราไม่แม่นจริง แล้ววินิจฉัยธรรมผิด ถ้าเป็นหัวหน้าหมู่ เป็นคณาจารย์ หมายถึง อาจารย์ของคณะก็แนะนำลูกศิษย์ผิด ลูกศิษย์ก็เดินตามผิด ไม่เป็นห่วงลูกศิษย์หรือแล้วก็พากันผิดเป็นพวงใหญ่ ก็นำไปสู่ความเสื่อม ความพินาศ ความเดือดร้อน จะไปแก้ตัวกับยมบาลอย่างไร เพราะว่าให้คำสอนที่ผิด วินิจฉัยธรรมผิด ด้วยความไม่ระมัดระวัง หรือจะเป็นด้วยความ อวดดีของตัวก็ตามเถอะ แต่ถ้าสอนตามพระไตรปิฎก พระไตรปิฎกนั้น

รับรองกันว่าเป็นคำสอนของพระพุทธ- เจ้าบ้าง พระอรหันต์สาวกบ้าง เช่น พระสารีบุตร เป็นต้น พระพุทธเจ้าก็ตาม พระอรหันต์สาวกก็ตาม ท่านรับผิดชอบอยู่แล้วก็อรรถกถา ข้อความในอรรถกถา พระ-อรรถกถาจารย์ท่านรับผิดชอบว่าเราอาศัยพระไตรปิฎกบ้าง ในอรรถกถาบ้าง ท่านรับผิดชอบอยู่ ท่านวินิจฉัยไว้ให้แล้วเราก็เดินตามทางของท่าน ถ้าสอนไปตามพระไตรปิฎก ดูอรรถกถา ดูฎีกา ดูปกรณ์พิเศษต่างๆ ที่พระอาจารย์ที่มีความรู้จริงๆ ที่ท่านนำทางไว้ให้แล้วเราสบาย
 
          แต่ที่ผิดพลาดส่วนมาก เป็นเพราะว่ายังเรียนไม่เท่าไหร่ แต่ว่าต้องการเป็นศาสดาเร็วเกินไป มันก็นำหมู่คณะไปในทางที่ผิด เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วก็จมไม่ลง มีทิฐิมานะค้ำคออยู่ว่าเป็นคณาจารย์ของหมู่คณะกลับลำไม่ได้
 
          การวิเคราะห์ธรรมหรือวิจัยธรรม เช่นว่า สมถะวิปัสสนา บางคนบอกว่าต้องเจริญสมถะก่อน แล้วจึงค่อยทำวิปัสสนา บางคนก็บอกว่าไม่ต้องทำสมถะก็ได้ ทำแต่วิปัสสนาอย่างเดียว อะไรถูกอะไรผิด เรามีอะไรเป็นเครื่องวิจัยธรรม ลูกศิษย์ทั้งหลายก็ค่อนข้างจะหัวปั่น บางอาจารย์ก็บอกว่าอย่าทำเลยสมถะ บางอาจารย์ก็บอกว่าต้องทำ สมถะก่อน ไม่ทำสมถะแล้วทำวิปัสสนาไม่ได้ อย่างนี้นะครับ พูดกันไปพูดกันมา
 

          เรามีหลักอะไร ก็ใช้หลักคือดูพระไตรปิฎก ฯลฯ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
 
          จะนำข้อความในยุคนัทธกถา แปลว่า กถาที่ผูกกันเป็นคู่ เป็นสุภาษิตของพระอานนท์ว่า
 
          สมัยหนึ่ง พระอานนท์เถระอยู่ที่โฆษิตาราม เมืองโกสัมพี ได้กล่าวแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุหรือภิกษุณีผู้ใดก็ตาม พยากรณ์การบรรลุอรหัตผล (คำว่า พยากรณ์ แปลว่า บอก) ในสำนักของท่าน ย่อมพยากรณ์โดยมรรค ทั้ง 4 ครบถ้วน หรือพยากรณ์โดยมรรคอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง 4 นั้น คือ

          1.  ภิกษุเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องต้น แปลว่า สมถะนำ  วิปัสสนา มรรคย่อมเกิดขึ้น เธอเสพมรรคนั้น หมายความว่า เจริญมรรคนั้น อบรมมรรคนั้น และทำให้มากซึ่งมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายถูกละไป อนุสัยทั้งหลายย่อมสิ้นไป

          2.  ภิกษุเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น แปลว่า เจริญวิปัสสนา ก่อน แล้วตามมาด้วยสมถะ ข้อความต่อไปก็เหมือนกัน

          3.  ภิกษุเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป

          4.  ใจของภิกษุที่ปราศจากความฟุ้งซ่านในธรรม กล่าวคือ ปราศจาก วิปัสสนูปกิเลส (หมายถึง เครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา สิ่งซึ่งทำให้วิปัสสนา เศร้าหมอง มันไม่เชิงเป็นกิเลส แต่เป็นสิ่งที่ทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง เช่น ปีติ เป็นต้น) แล้วก็ตั้งมั่นเป็นอารมณ์เดียว มรรคย่อมเจริญขึ้น เธอก็อบรมมรรค นั้น และทำให้มากด้วยมรรคนั้น สังโยชน์ทั้งหลายย่อมจะถูกละไป อนุสัย ทั้งหลายก็สิ้นไป

 
          วิปัสสนูปกิเลส สิ่งซึ่งทำให้วิปัสสนาเศร้าหมอง จะเกิดขึ้นเมื่อเจริญวิปัสสนาถูกทางเท่านั้น ถ้าผิดทางแล้ววิปัสสนูปกิเลสไม่เกิด คล้ายๆ เราถ้าเดินทางผิด มันไม่ไปเจอตรงนั้น วิปัสสนูปกิเลสมันดักอยู่ช่วงหนึ่ง ของผู้เจริญวิปัสสนา ถ้าไปผิดทางไม่เจอ ต้องผู้เจริญวิปัสสนาถูกทางเท่านั้นจึงจะเจอ
 
          ผมขอขยายความใน 4 ข้อนี้ ของภาษิต พระอานนท์
          ในข้อที่ 1 หมายความว่า เจริญสมถะก่อน เมื่อใจเป็นสมาธิจนได้ฌานหรือได้ปีติในความสงบแล้ว ก็ถือเอาฌานหรือปีตินั้นเป็นบาท สำหรับเจริญวิปัสสนา ทำสมถะก่อนแล้วเจริญวิปัสสนาตามมา

          ข้อที่ 2 หมายความว่า เจริญวิปัสสนาก่อน คือเดินตามสายวิปัสสนา ที่เรียกว่า วิปัสสนายานิก โดยวิธีการของวิปัสสนา เมื่อได้วิปัสสนาแล้วดำรงอยู่ใน   วิปัสสนานั้น ทำสมาธิให้เกิดขึ้นภายหลัง หรือบางทีสมาธิ  มันเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติก็มี คือสมาธิมันเกิดขึ้นเมื่อเจริญวิปัสสนาไปถึงระดับหนึ่ง เรียกว่า วิปัสสนาสมาธิ คือ สมาธิที่เกิดขึ้นเพราะการเจริญวิปัสสนา

          ข้อที่ 3 ที่ว่าเจริญสมถะและวิปัสสนาคู่กันไป หมายความว่าทำพร้อมกันไป ควบคู่กันไป เป็นยุคนัทธกถา แปลว่า ผูกพันกันไปเป็นคู่ แต่หมายความว่าทำสลับกัน เพราะว่าจะเข้าสมาบัติหรือเข้าฌานด้วยจิตดวงนั้น แล้วพิจารณาสังขารด้วยจิตดวงนั้นไม่ได้ ต้องออกจากฌานหรือออกจากสมาบัติเสียก่อน แล้วจึงพิจารณาสังขาร

เช่นว่า เข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌาน แล้วจึงพิจารณา สังขาร พิจารณาสังขารแล้วเข้าสู่ทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว พิจารณาสังขาร ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจาก เนวสัญญานาสัญญายตนะแล้วพิจารณาสังขารอีก อาการเข้าฌานเป็นสมถะ การพิจารณาสังขารเป็นวิปัสสนา ทำคู่กันไป ทำสลับกันไป

          ในข้อที่ 4 คือ ใจปราศจากวิปัสสนูปกิเลส ตั้งมั่นในอารมณ์ของวิปัสสนา
 
          ที่พูดมานี้ค่อนข้างยากหน่อย แต่ว่าพอเข้าใจได้ นี่คือการวิจัยธรรม คือเราอิงอาศัยหลักในพระไตรปิฎก หรืออรรถกถา หรือตำราในทางพุทธศาสนา ที่พอเชื่อถือได้ แล้วก็ตกลงใจ อย่างนี้ก็ไม่ค่อยพลาด ไม่ผิด ถ้าเผื่อว่าไปเอง คิดไปเอง พูดไปเอง โดยไม่มีหลักก็มักจะผิดพลาดได้ ผมได้เรียนท่านผู้ฟังไว้ว่า ถ้าผิด

พลาดไปแล้ว ไม่ห่วงลูกศิษย์หรือลูกศิษย์เขาก็เชื่อถือ แล้วก็ตามกันไปเป็นพวง แล้วก็ผิดกันไปเป็นพวง เหมือนที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เมื่อ โคทั้งฝูงกำลังข้ามฟาก ถ้าโคนายฝูงนำไปถูกต้องก็ขึ้นท่าได้อย่างปลอดภัย แต่ถ้าโคนายฝูงซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่นำไปผิด ขึ้นท่าผิด แล้วก็จะจมน้ำตายไปหมด ก็น่ากลัวไม่ใช่น้อยเหมือนกัน
 
          มีของฝากเพิ่มให้นิดหนึ่งนะครับ ได้บันทึกเอาไว้นานแล้วว่า หากไม่ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น ก็พึงสำเหนียกว่าจะฉลาดในวาระจิตของตน
 
          ผู้ฉลาดในวาระจิตของตนเป็นอย่างไร
 
          ท่านว่าเปรียบเหมือนหนุ่มสาวผู้ชอบแต่งตัว ดูหน้าของตนด้วยกระจกใสหรือในภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้า ก็จะพยายามกำจัดออกเสีย ถ้าไม่เห็นธุลีหรือจุดดำที่หน้า ก็จะรู้สึกดีใจ ปลื้มใจ ว่าเป็นลาภของเรา หน้าของเราสะอาดฉันใด ผู้ฉลาดในวาระจิตของตนก็ฉันนั้น ย่อมพิจารณาว่าเราเป็นผู้ได้ความสงบใจในภายในหรือไม่หนอ จิตของเราสงบดีอยู่หรือไม่หนอ เราได้ความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งหรือไม่หนอ การพิจารณาเช่นนี้เป็นสิ่งมีอุปการะมากในกุศลธรรม
 
          ถ้าพิจารณาเห็นว่าเราได้ความสงบจิตในภายใน แต่ไม่ได้ความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ท่านใช้คำว่าอธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา ไม่ได้เห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วไซร้ พึงตั้งอยู่ในความสงบจิต คือรักษาความสงบจิตไว้ แล้วพึงทำความเพียรเพื่อความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ต่อมาเขาย่อมได้ความสงบจิตและได้ความเห็นแจ้งในธรรม คือได้ทั้ง 2 อย่าง

          ถ้าเขาได้ความเห็นแจ้งในธรรมด้วยปัญญา คือ อธิปัญญา ธรรมวิปัสสนา แต่ไม่ได้ความสงบจิต เธอพึงรักษาความเห็นแจ้งในธรรมไว้ แล้วพึงทำความเพียรเพื่อความสงบจิต ต่อมาเธอย่อมได้ทั้ง 2 อย่าง

 
          ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ได้ทั้ง 2 อย่าง ก็ไม่ควรท้อถอย แต่ควรทำความพอใจ ความพยายาม อุตสาหะ ขะมักเขม้น ทำสติและสัมปชัญญะให้ยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้กุศลธรรมเหล่านั้น เหมือนคนที่ผ้านุ่งหรือผ้าห่มถูกไฟไหม้ หรือศีรษะถูกไฟไหม้ ย่อมอุตสาหะพยายามเพื่อดับไฟนั้นเสีย
 
          เมื่อได้ทั้งความสงบจิตและความเห็นแจ้งในธรรมแล้ว พึงตั้งอยู่ในกุศลธรรมนั้นแหละ แล้วทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสิ้นอาสวะ ปัจจัย 4 สถานที่ต่างๆ และบุคคลที่ควรเกี่ยวข้องก็มี ไม่ควรเกี่ยวข้องก็มี คือเมื่อเกี่ยวข้องกับสิ่งใดเข้ากุศลธรรมเสื่อม  ไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น ก็ไม่ควรเกี่ยวข้องด้วยสิ่งนั้น ถ้าเกี่ยวข้องแล้วอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น ก็ควรจะเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น
 
          นี่ถอดความมาจากนัยพระพุทธพจน์ ในอังคุตตรนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ 24 ข้อ 54 ภาษาบาลี
 
 
          ต่อเรื่องธรรมวิจัยนะครับ
 
          ควรจะพิจารณาตามแนวนี้บ้างตามสมควร คือ
 
          เมื่อคิดธรรมหรือวิจัยธรรม วิเคราะห์ธรรม ก็ให้ลองคิดดูตามพยัญชนะและอรรถ เช่น เรื่องกามคุณ โดยพยัญชนะ มันแปลว่าอะไร ที่จริง พระพุทธเจ้าท่านตรัสถึงโทษของกามไว้เยอะ ทำไมเรียกว่า กามคุณ บางคนแปลว่า คุณของกาม ความจริงไม่ใช่คุณ (คุ-ณะ) ตัวนี้ แปลว่า กลุ่ม หรือ Group

กลุ่มกาม มีคำเทียบว่า สุตคุณ แปลว่า กลุ่มด้าย มาลาคุณ แปลว่า กลุ่มดอกไม้ ทีนี้เราก็จะตีความไม่ผิดว่า กามคุณ แปลว่า กลุ่มกาม ไม่ใช่คุณของกาม ถ้าเป็นคุณของกามหรือรสของกาม ท่านใช้คำว่า อัสสาทะ  โทษของกาม ใช้ว่า กามาทีนวะ อย่างกามาทีนวกถา ในอนุปุพพิกถา 5

 
          กลุ่มของกามคืออะไร ก็คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ 5 อย่างนี้ เรียกว่า กามคุณที่น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าพอใจ ท่านใช้คำว่า อิฏฐา กันตา มนาปา รูปา สัทธา คันธา รสา โผฏฐัพพา
 
          วิเคราะห์ต่อไปว่า โผฏฐัพพะ คืออะไร นี่ผมยกตัวอย่างวิจัยธรรมนะครับ โผฏฐัพพะคืออะไร กับสัมผัสเหมือนกันอย่างไร
 
          โผฏฐัพพะก็คือ สิ่งที่ถูกต้องได้ด้วยกาย โผฏฐัพพะต่างกับสัมผัส   คือว่า สัมผัสใช้ได้ทั้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เป็นจักขุสัมผัส     โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส     มโนสัมผัส แต่โผฏฐัพพะใช้เฉพาะกายอย่างเดียว คือสิ่งที่มาถูกต้องกาย โผฏฐัพพะ คือ คู่กับกาย กาโย อาทิตฺโต โผฏฺฐัพฺพา อาทิตฺตา กายเป็นของร้อ โผฏฐัพพะที่กายไปถูกต้องก็เป็นของร้อน จำกัดอยู่เฉพาะสิ่งที่คู่กับกายหรือเป็นสิ่งที่กายจะไปถูกต้อง ผิวหนังนั้นเอง
 
          ถ้าจะพิจารณาต่อไปว่า กามมีคุณอยู่หรือไม่ อันนี้ก็มีพระพุทธภาษิตตอบไว้ว่า สุขโสมนัสอันใดเกิดจากกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ นั่นแหละครับ นั่นเป็นอัสสาทะของกาม ท่านไม่ใช้คำว่าคุณ แต่ใช้คำว่า อัสสาทะของกาม ทุกข์โทมนัสอันใดเกิดจากกาม อันนั้นเป็นโทษของกาม เป็นกามาทีนวะ
 
          อันนี้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 20
 
          นี่เป็นตัวอย่างการคิดตามพยัญชนะ
 
          อีกนิดหนึ่ง พระสงฆ์ที่จัดเข้าไว้ในพระรัตนตรัย หมายถึง พระสงฆ์ทั่วไปหรือพระสงฆ์ในระดับใด อันนี้เรามีหลักฐานอะไร ก็หมายถึง พระสงฆ์ที่เป็นอริยบุคคล หรืออริยสาวก อริยสงฆ์ นั่นเอง ที่เข้าในรัตนตรัย ถ้าพระสงฆ์ทั่วไปนั้นเป็นสมมติสงฆ์ ดูในสังฆคุณก็เห็น จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺ�ปุริสปุคฺคลา เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ นี่แหละสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่จัดเข้าในพระรัตนตรัยที่เราสวดในสังฆคุณอยู่ทุกวัน
 
          มีของฝากเล็กๆ น้อยๆ ตรงนี้นะครับ บันทึกไว้วันที่ 19 เมษายน 2533 ทำอย่างไรจึงจะมีเสน่ห์ ใครลองเอาไปทำดู เผื่อจะมีเสน่ห์ แต่ก็ต้อง มีทุกข์อย่างคนมีเสน่ห์ คนไม่มีเสน่ห์ ก็ทุกข์อย่างคนไม่มีเสน่ห์ อย่างที่พูดแล้ว
 
          เสน่ห์ คือเป็นคนน่ารัก น่าคบ มีหลักอยู่ ดังนี้
          1. มีความจริงใจ แต่แสดงความจริงใจอย่างระมัดระวัง ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เพราะความจริงใจของเรา หรืออ้างเอาความจริงใจของตนเป็นที่ตั้ง แล้วก็เที่ยวพูดก้าวร้าวต่อผู้อื่น
 
          2.  เสริมสร้างบุคลิกภาพให้น่านิยม เช่น มีกิริยาวาจาดี มีคุณธรรม และแสดงคุณธรรมให้ปรากฏตามโอกาสอันควร ไม่ควรแสดงคุณธรรม นั้นพร่ำเพรื่อจนน่าเบื่อ หรือเป็นเชิงยกตนข่มผู้อื่น การแต่งกาย การพูดจา การวางตัว อยู่ในลักษณะที่พอดี ไม่มาก ไม่น้อย เหมาะสมแก่ภาวะและฐานะของตน รู้จักร่าเริง ในโอกาสอันควรร่าเริง สงบในโอกาสที่ควรสงบ

 
          3. รู้จักเสนอตัวให้ของเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น แม้เขาไม่ได้ออกปาก จะได้คะแนนนิยมมากกว่าเมื่อเขาขอร้อง เราช่วยเมื่อเขาขอร้องก็ได้คะแนนนิยมดีแล้ว แต่ถ้าเรารู้จักเสนอตัว เวลาที่รู้ว่าผู้อื่นเขาลำบาก มีน้ำใจช่วยเหลือโดยที่เขาไม่ต้องขอร้องก็จะดียิ่งขึ้น
 
          4. ขอให้ตระหนักว่า เสน่ห์ในตัวคนนั้นเพิ่มได้ ลดได้ สุดแล้วแต่การกระทำของเรา ถ้าเราทำตนให้มีคุณค่าต่อเขา เสน่ห์ของเราก็จะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเราทำตัวให้ปราศจากคุณค่าสำหรับตัวเขา เสน่ห์ในตัวเราก็จะลดลง สรุปว่าทำตัวให้มีคุณค่า
 
          5. เรารักใครต้องเข้าใจเขาด้วย เพราะว่าความรักที่ปราศจากความเข้าใจนั้นก็มี แต่จะทรมานอีกฝ่ายหนึ่งให้เดือดร้อน เพราะความเห็นแก่ตัวเอาแต่ใจตัว เสน่ห์ของเราจะลดลง ถ้าเราต้องการความรัก ก็ต้องทำตนให้น่ารัก หรือต้องการความเคารพนับถือ ก็ต้องทำตนให้น่าเคารพนับถือ เราต้องปรับปรุงตัวเอง บุคลิกภาพ อุปนิสัยใจคอเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับความมีเสน่ห์หรือไม่มี
 



หนังสือ วิธีทำจิตให้บริสุทธ์ (อ.วศิน อินทสระ)
ที่มา  http://www.ruendham.com/book_detail.php?id=60&content=804&name_content=%B7%D3%A8%D4%B5%E3%CB%E9%BA%C3%D4%CA%D8%B7%B8%D4%EC%20%C7%D4%B8%D5%B7%D5%E8%207.%20%C0%D2%C7%B9%D2&key_run=1085


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 09:32:47 am »
0
          พูดเรื่องธรรมวิจัยต่อนะครับ
 
          การวิจัยธรรม ลองคิดเทียบเคียง ให้เห็นข้อแตกต่าง เช่น ทมะกับขันติต่างกันอย่างไร
 
          โดยทั่วไป ทมะ แปลว่า ข่มใจ แปลขันติว่า ความอดทน ทีนี้ก็แยกกันไม่ค่อยออก มันต่างกันอย่างไร
 
          ถ้าหาคำแปลให้ดีกว่านั้น เช่น ถ้าแปลทมะว่า การฝึก ก็จะตรงกว่า ทีนี้ก็จะเห็นความแตกต่าง ทมะการฝึก ฝึกอินทรีย์ คือ ฝึกตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ให้ใช้การงานได้ตามประสงค์ เหมือนคนฝึกช้างฝึกม้าหรือฝึกโคไว้ใช้งาน สัตว์ที่ได้รับการฝึกแล้วเป็นสัตว์ที่  เรียกว่า สัตว์อาชาไนย เป็นสัตว์ประเสริฐ แต่คนที่ฝึกแล้วประเสริฐกว่านั้น ฉะนั้น ทมะก็เล็งไปที่การฝึก
 
          ขันติ อดทนในการฝึกนั้น ก็จะต้องเอาความอดทนเข้ามาช่วย มิฉะนั้นแล้วเราจะฝึกไม่สำเร็จ เพราะว่าเบื่อเสียก่อน หรือว่าการฝึกมันก็ต้องเจ็บปวด ก็ต้องอดทนจนกว่าจะฝึกสำเร็จ อย่างนี้เป็นตัวอย่าง
 
          การวิจัย หลักสำคัญก็คือว่า อะไรเป็นบุญกุศล อะไรเป็นบาป อะไรดี ชั่ว อะไรควรเว้นควรละ อะไรควรบำเพ็ญ อย่างนี้นะครับ
 
          ลองดูต่อไป เช่น วิภวตัณหา กับนิพพิทา อันแปลว่า เบื่อหน่าย วิภวตัณหา อยากไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่ ก็คือเบื่อเหมือนกัน มันต่างกันอย่างไร

 
          วิภวตัณหาอยากในทางผละออก เป็น Negative desire ความอยากในทางผลักออก เจือด้วยโทสะ อยากทำลาย อยากด่า อยากฆ่าเขา วิภวตัณหาทำให้เดือดร้อนวุ่นวายไปหมด อึดอัดขัดใจ เห็นอะไรขวางหูขวางตาไม่รื่นรมย์ วิภวตัณหาเป็นอกุศลธรรมอย่างหนึ่ง
 
          นิพพิทา แปลว่า เบื่อหน่ายเหมือนกัน เบื่อหน่ายในสังขาร ความไม่ยึดติดจะตามมาด้วย  การคลายความกำหนัดยินดี วิราคะ แล้วก็จะวิมุตติ หลุดพ้น วิสุทธิ์ สันติ แล้วก็นิพพาน วิสุทธิ์สะอาด สันติ สงบแล้วก็นิพพานเป็นฝ่ายกุศลธรรม
 
          นิพพิทาเกิดขึ้นแล้วก็ทำให้ใจสงบ คือเห็นโลก แล้วใจมันถอยออกมาสงบ

 
          ดูเหมือนคล้าย แต่ผลมันต่างกันมาก
 
          ลองดูต่อไป ตัณหากับธรรมฉันทะ
 
          ตัณหามีคำจำกัดความที่เป็นพุทธดำรัส ในธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ใจความว่า ความทะยานอยาก อันเป็นไปเพื่อภพใหม่ ประกอบด้วยความเพลิน เพราะราคะ นนฺทิราคสหคตา เพลิดเพลินยิ่งในอารมณ์นั้น
 
          ธรรมฉันทะ แปลว่า พอใจในธรรม หมายถึง ความปรารถนาที่จะกระทำกิจที่เป็นกุศล ละอกุศลบาปธรรม เช่นที่พระพุทธเจ้าตรัสถึงสัมมาวายามะว่า ฉนฺทํ ชเนติ วายมติ วิริยํ อารภติ จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ ยังฉันทะให้เกิดขึ้น วายมติ พยายาม วิริยํ อารภติ ปรารภความเพียร จิตฺตํ ปคฺคณฺหาติ ปทหติ ประคองจิตตั้งจิตไว้ เพื่อทำอกุศลจิตที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อทำกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิด ขึ้น เพื่อให้กุศลที่เกิดแล้วดำรงอยู่และเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป
 
          คนส่วนมากกลัวความอยาก เกรงว่าจะเป็นตัณหา ก็เลยไม่ค่อยอยากอะไร และความอยากที่ไม่เป็นตัณหา เป็นธรรมฉันทะก็มี อยากได้ อยากอย่างนั้นได้เป็นบุญ รวมความว่า ความอยาก ความปรารถนา ความต้องการ ที่เป็นตัณหาก็มี ที่เป็นธรรมฉันทะก็มี ที่เป็นตัณหาก็เป็นอกุศล เป็นสมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์ ในที่เป็นธรรม

ฉันทะก็เป็นฝ่ายมรรค เป็นกุศล เป็นเหตุให้เกิดสุข การอยากทำงาน อยากบำเพ็ญประโยชน์ให้พอสมเหตุสมผล ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนมากนัก ไม่มีตัณหาแทรก ไม่เป็นกิเลส แต่เป็นกุศลธรรม ควรเพิ่มพูน พุทธบริษัทต้องศึกษาให้เข้าใจ แยกให้ออกว่าอะไรเป็นกิเลส อะไรเป็นกุศลธรรม มิฉะนั้นก็จะไขว้เขว ปฏิบัติสับสนกันไปหมด เพราะว่าเข้าใจไม่ตรงกัน
 
          ดูต่อไปนะครับ สันโดษกับความเกียจคร้าน คนส่วนมากก็เข้าใจว่า สันโดษก็คือ ไม่ทำอะไร อยู่เฉยๆ เอียงไปทางความเกียจคร้าน
 
          ความเกียจคร้านนี่ท่านใช้คำว่า โกสัชชะ เป็นอกุศลที่ต้องละ มีอาการไม่อยากทำอะไร แม้เป็นกุศล แม้ที่เป็นความดี และเป็นสิ่งควรทำ มักให้อ้างเหตุ ไม่ทำงาน ไม่บำเพ็ญคุณงามความดี อ้างว่าหนาวนัก ร้อนนัก ยังเช้าอยู่ เวลาเย็นแล้ว หิวนัก อิ่มนัก เป็นต้น แล้วไม่ทำงาน
 
          ความสันโดษ เป็นอาการของใจที่รู้จักพอในปัจจัย 4 ว่า รู้จักพอใจตามที่ได้ ตามกำลัง ตามสมควรแก่ตน เหมาะสมแก่ตน ไม่อยากได้  จนเกินเหตุ แต่ไม่รู้จักพอในการศึกษาหาความรู้ ในการบำเพ็ญคุณงามความดีในกุศลธรรม มีพระพุทธภาษิตที่ว่า
 
          อสนฺตุฏฺฐิตา กุสเลสุ ธมฺเมสุ อปฺปวาณิตา ปธานสฺมึ
 
          เราบัญญัติธรรม 2 อย่าง คือ ความไม่สันโดษในกุศลธรรม และความไม่ถอยกลับในความเพียร เป็นของคู่กัน ทรงยกย่องธรรม 2 อย่างนี้ว่าได้ทรงปฏิบัติเห็นคุณมาด้วยพระองค์เองแล้ว จนได้บรรลุพระสัมมาสัม-โพธิญาณ ทรงชักชวนภิกษุทั้งหลายให้ทำเช่นนั้นด้วย ก็จะได้บรรลุกิจที่บรรพชิตประสงค์ในการออกบวช แม้คฤหัสถ์ก็เหมือนกันก็ต้องประกอบอยู่ด้วยธรรมนี้ คือไม่สันโดษในกุศลธรรม สันโดษในปัจจัย 4
 
          แต่ทีนี้คนส่วนมากเข้าใจผิดเสีย กลายเป็นไม่สันโดษในสิ่งที่ พระพุทธเจ้าสอนให้สันโดษ กลับไปสันโดษในคุณงามความดี ในกุศลที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไม่ให้สันโดษ ผลจึงกลับตรงกันข้าม คือ กุศลเสื่อมไป อกุศลเพิ่มพูนขึ้น ทั้งในส่วนบุคคลและในส่วนสังคม อบายมุขก็มาก เต็มบ้าน เต็มเมือง แสดงถึงคนเกียจคร้านในการทำงาน อยากได้เงินโดยไม่ต้องทำงาน ขโมยก็ชุกชุม เป็นที่หวาดหวั่นของคนทั่วไป แสดงว่าคนไม่ได้ตั้งอยู่ในสันโดษ คือไม่พอใจสิ่งของที่เป็นของตน ไม่พอใจในกุศลสุจริต
 

          สันโดษช่วยป้องกันอทินนาทาน ถ้าคนมีธรรมข้อสันโดษโดยทั่วถึง งบประมาณในการป้องกันและปราบปรามขโมยโจรผู้ร้ายก็จะลดลง หรืออาจจะยกเลิกไปได้เลย คือว่าการลงทุนทางเศรษฐกิจที่สูญเปล่า ก็ไม่ต้องมี เช่น เหล็กดัดตามบ้าน กุญแจรั้วที่แข็งแรง มันต้องลงทุนเยอะเหมือนกัน กุญแจก็ต้องใช้กุญแจ อย่างดี แพง ถ้าไม่มีขโมย เรื่องพวกนี้มันก็ไม่ต้องมี
 
          สันโดษเป็นธรรมพื้นฐานที่จะนำไปสู่กุศลธรรมต่างๆ มากมาย ส่วนความเกียจคร้านก็เป็นกิเลส ที่จะนำไปสู่ความชั่วต่างๆ มากมายเหมือนกัน
 
          ดูการวิจัยธรรมต่อไป ทำไมคนเราจึงมีฉันทะต่างกัน แม้จะเกิดในพ่อแม่เดียวกัน อยู่ในสิ่งแวดล้อมเดียวกัน ทำไมจึงมีฉันทะต่างกัน คำตอบก็คือว่า เพราะคิดต่างกัน มีพระพุทธพจน์ที่ว่า สงฺกปฺปนานตฺตํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ ฉนฺทนานตฺตํ เพราะอาศัยความคิด  ต่างกัน ฉันทะจึงต่างกัน อาศัยความพอใจต่างกัน ความเร่าร้อนจึงต่างกัน อาศัยความเร่าร้อนที่ต่างกัน ความแสวงหาที่ต่างกันก็เกิดขึ้น รวมความว่า ความคิด ความพอใจ ความเร่าร้อนและการแสวงหาก็จะต่างกันไป
 
          อริยปริเยสนา แปลว่า การแสวงหาที่ประเสริฐ อนริยปริเยสนา การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ เริ่มต้นที่ ความคิด
 
          สุจริตและทุจริต เริ่มต้นที่ความคิด ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว ฉะนั้นต้องทำใจให้แข็งแกร่ง ยืนหยัดในทางที่ดี ที่ถูกต้อง ก็จะได้สิ่งที่ถูกต้อง และจะได้ฉันทะที่ถูกต้อง
 
          อันนี้ขอให้ท่านผู้ฟังคิดดูให้ดี เป็นพระพุทธพจน์ที่น่าสนใจมาก  ว่าทำไมคนเราจึงมีฉันทะต่างกัน แม้จะเกิดจากพ่อแม่เดียวกัน สิ่งแวดล้อม    เดียวกัน คำตอบก็คือ มีฉันทะต่างกัน อาศัยความพอใจที่ต่างกัน นี่มาจากนิทานวรรค ธาตุสังยุตต์ ในสังยุตตนิกาย พระไตรปิฎก เล่มที่ 16 หน้า 173 ข้อ 344
 
          ดูต่อไปเรื่องความรักกับเมตตา เราจะวิเคราะห์อย่างไรว่าเหมือนกันหรือต่างกันอย่างไร มันมีเส้นอยู่ที่ไหน
 
          เมตตาเป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งในพรหมวิหาร 4 หมายถึง ความปรารถนาดีต่อผู้อื่น สัตว์อื่น และต้องการจะน้อมนำสุขเข้าไปให้ ถ้าเมตตา ทั่วหน้า เป็น สัมสัมเภท ไม่มีเขตแดน ไม่มีประมาณ ท่านก็เรียกว่า เมตตา-อัปปมัญญา เมื่อเราสำรวมจิตแผ่เมตตาเป็นอัปปมัญญา เราก็จะแผ่ทั่วไปคือ ไม่เจาะจง ก็จะว่า สพฺเพ สตฺตา สุขิตา โหนฺตุ แปลว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีความสุขเถิด อันนี้เป็นอัปปมัญญา เพราะไม่มีประมาณ
 
          ถ้าสุดวิสัยที่จะแผ่เมตตา แผ่กรุณาได้แล้วเราก็ปลงใจเสียด้วย อุเบกขา ว่า สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน ผู้ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว หรือว่าจะปรากฏด้วยกรรมของตนเอง
 
          อันนี้เป็นการเจริญเมตตา
 
          มาดูเรื่องความรัก ความรักที่เจือด้วยราคะ เป็นความเสน่หา เป็นกิเลสชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นในใจ  แล้ว ก็ทำให้กระวนกระวาย ก็เพื่อสนองความต้องการของตน ถ้าระวังไม่ดีก็จะเป็นความเห็นแก่ตัว ริษยา หวงแหน ผูกพันยึดครองเป็นเจ้าของ ถ้าได้ตามที่อยาก ก็หลงใหล หมกมุ่น ถ้าไม่ได้ก็โกรธแค้น อาฆาต พยาบาท ทำลายล้าง เกลียดชัง
 
          ชาวโลกส่วนมากสรรเสริญความรัก ปูทาง หลอกล่อให้คนรักกัน แต่ว่าพระพุทธเจ้าหรือพระอริยเจ้า ทั้งหลายเตือนเอาไว้ว่า บุคคลไม่ควรกระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก เพราะว่าการพลัดพรากจากสิ่งอัน เป็นที่รักนั้นเป็นความทรมาน สิ่งผูกพันเครื่องร้อยรัด ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีสิ่งอันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก คือว่า ทั้งไม่มีสิ่ง

อันเป็นที่รักและไม่มีสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก คือ ไม่รักและไม่ชังนั่นเอง นี่เป็นเพียงท่านบอกความจริงให้  ทราบ ผู้ที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับความรักก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง แต่ถ้ายังสมัครใจที่จะรักอยู่ ด้วยเห็นว่ามีความสุข มีความสบาย มีความนุ่มนวล มีความรู้สึกอยากจะรักอยู่ ก็ต้องระวังให้ความทุกข์น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เหมือนกินปลาที่มีก้างก็ต้องระวังเลือกเอาก้างออก
 
          ตามพระพุทธภาษิตที่ว่ามาเมื่อครู่นี้ว่า ถ้าไม่มีสิ่งอันเป็นที่รักและไม่รัก คือไม่รักไม่ชัง ตัดได้ทั้ง 2 อย่างแล้ว เครื่องผูกมัดก็ไม่มี จิตก็มั่นคงแล้วก็หลุดพ้น  ได้ อย่างน้อยก็พ้นจากความเศร้าโศก เพราะความวิบัติของสิ่งเหล่านั้น
 
          ชาวโลกส่วนมากก็หลงใหล นักดนตรี นักร้อง ยอมเสียเงินแพงๆ เพื่อให้ได้เห็นได้เข้าชมนักร้อง นักดนตรี ที่เขาชอบ แม้รายได้จะน้อยอยู่แล้วก็ไม่เป็นไร ก็เหยียดผู้ไม่ชอบดนตรี ว่ามีสันดานหยาบด้วย
 
          แต่พระพุทธเจ้าผู้มีพระปัญญาละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง ทรงมีบัญญัติห้ามผู้มุ่งปฏิบัติเพื่อการขัดเกลาจิตใจ ไม่ให้ร้องรำขับร้อง และไม่ให้ดูฟ้อนรำ ไม่ให้ฟังเพลง ฟังดนตรี ห้ามภิกษุสามเณร คฤหัสถ์ผู้ถือศีล 8 เหตุผลเป็นอย่างไร เหตุผลก็คือว่า ดนตรีและขับร้อง ฟ้อนรำ โน้มเอียงไปในทางราคะ จูงจิตไปในทาง

กำหนัด รักใคร่ เคยมีนักดนตรีนักเต้นรำไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า เคยได้ยินคำของอาจารย์เก่าๆ พูดว่า นักเต้นรำที่ทำให้คนหัวเราะ ทำให้คนพอใจด้วยคำจริงบ้างคำเท็จบ้าง เมื่อตายแล้วไปเกิดเป็นสหายของเทวดาผู้ร่าเริง ข้อนี้พระผู้มีพระภาคทรงมีความเห็นอย่างไร

 
          เมื่อเขาอ้อนวอนถามถึง 3 ครั้ง 2 ครั้งแรก พระพุทธเจ้า ทรงปฏิเสธด้วยความเอ็นดูแก่เขาว่าอย่าถามเรื่องนี้เลย ให้ถามเรื่องอื่นเถอะ แต่เขาก็อ้อนวอนถามถึง 3 ครั้ง เมื่อถามครั้งที่ 3 แล้ว พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่า
 
          สัตว์ทั้งหลาย มีราคะ โทสะ และโมหะมากอยู่แล้ว นักเต้นรำ  นักขับร้อง ไปเพิ่มราคะ โทสะ และโมหะให้เขาอีก พวกร้องรำทำเพลง     เหล่านั้นเมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงนรกเป็นแน่แท้
 
          อันนี้จากพระไตรปิฎกชื่อ ตาลปุตตสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 18  ข้อ 589
 
          ในกรณีที่กล่าวนี้ คือว่าถ้าไม่มีบุญกุศลอย่างอื่นช่วยเอาไว้ ถ้าเพียงแต่มีอาชีพเป็นนักเต้นรำ ขับร้อง ไม่มีบุญกุศลอย่างอื่นช่วยเอาไว้ มันก็ต้องเป็นไปตามนั้น อันนี้ก็มีเงื่อนไขเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่มีเงื่อนไข
 
          พวกที่ผลิตสื่อเพื่อยั่วยุราคะ โทสะ โมหะ อวิชชา ก็จะน่าหวาดหวั่นเพียงใดต่อคติสัมปรายภพของพวกเขา คือต่ออนาคตในชาติหน้า
 
          สิ่งที่โลกนิยม ไม่ใช่สิ่งที่ดีเสมอไปนะครับ คือว่า อาจจะชวนกันไปนรกก็ได้ หนุ่มตาลบุตร คนที่มาถามก็ร้องไห้ ว่าเชื่อผิดๆ มาเสียตั้งนาน  ขอให้ระวังความเชื่อของพวกเราเองไว้ด้วยนะครับ คำพูด อะไรที่ผิดหลักของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นจอมปราชญ์ เชื่อพระพุทธเจ้าไว้ดีกว่า ปลอดภัยกว่า ใครสอนผิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็อย่าไปถือเอา ใครทำผิดจากที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ทำ ก็ไม่ทำตาม
 
          นี่พูดถึงความรักความใคร่ที่เจือด้วยราคะ  ท่านจะเห็นว่ามันต่างกับเมตตาเยอะแยะเลย และห่างกันมากเลย แต่ว่าบางทีมันก็ผสมกันอยู่ มีความรักด้วย มีราคะด้วย มีเมตตาด้วย ผสมกันอยู่ ไม่ใช่จะแยกกันได้โดยง่าย ส่วนมากจะเป็นอย่างนั้น
 
          คราวนี้มาพูดถึงความรักที่ไม่เจือด้วยราคะ เป็นความรักอย่างพี่น้อง อย่างมิตรภาพ ความรักอย่างนี้ ใกล้กับเมตตา มุ่งเกื้อกูลกัน ช่วยเหลือกัน เป็นสำคัญ คนเรามีความรักเหมือนกัน คือชอบพอสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นพิเศษ ต่างกันที่วัตถุแห่งความรัก เช่น รักต้นไม้ รักดอกไม้ รักเพื่อน รักพ่อ รักแม่ รักศาสนา สำหรับนักปรัชญา วัตถุ

แห่งความรักของเขาก็คือ รักความรู้  นักปรัชญาอาจจะยอมเสียสละทุกอย่าง เพื่อแสวงหาความรู้ เมื่อได้ความรู้มาแล้วก็พอใจ ปรัชญาจึงแปลว่า ความรักในความรู้ นักปรัชญาจึงหมายถึงผู้รักในความรู้ วิญญาณของคนพวกนี้ก็กระหายต่อความรู้อยู่เสมอ   ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ
 
          ผู้ที่ใฝ่ธรรม ศึกษาและปฏิบัติธรรมจนได้รู้รสเข้าถึงรสแห่งธรรมแล้ว ก็จะรู้สึกติดใจในรสแห่งธรรม เกิดความรักธรรมขึ้นมาอย่างจับใจ เพลิดเพลินอยู่ในการศึกษาปฏิบัติธรรม สั่งสอนธรรมอย่างไม่รู้เบื่อ เรียนธรรม อย่างไม่รู้เบื่อ อ่านหนังสือธรรม วิเคราะห์วิจัย รู้สึกและเห็นตามพุทธพจน์ ที่ว่า รสแห่งธรรม ชนะรสทั้งปวง

สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทั้งปวง สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทั้งปวง ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ถ้ามีใครถามว่า ทำอย่างไรถึงจะสิ้นทุกข์ ก็ต้องบอกว่าต้องไปจัดการกับตัณหา ตัณหายิ่งเบาบางลง ยิ่งน้อยลงเท่าไหร่ ทุกข์ก็น้อยลงเท่านั้น
 
          ด้วยเหตุนี้จึงพอใจในการที่จะให้ธรรม สั่งสอนธรรม เพราะการให้ธรรมชนะการให้ทั้งปวง ความยินดีในธรรมชนะความยินดีทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
 
          จะเห็นได้อีกอย่างหนึ่งว่า ความรักที่ไม่เจือด้วยราคะ จะมีขอบเขตกว้างขวาง บางทีก็เรียกว่า เมตตาสากล (universal loving kindness) หรือ เมตตาอัปปมัญญา เช่น ความรักความหวังดีของพระโพธิสัตว์ที่มีต่อสรรพสัตว์ ความปรารถนาดีของพระพุทธเจ้าที่มีต่อสัตว์โลก ทรงมีพระมหากรุณาที่จะช่วยเขาให้พ้นทุกข์
 
          ถ้าแยกให้ชัดจริงๆ ระหว่างความรักกับเมตตาก็คือ ความรักจะ มีความผูกพัน วางอุเบกขาไม่ค่อยลง ส่วนเมตตานั้นไม่มีความผูกพัน วางอุเบกขาได้สะดวก เมื่อถึงคราวจำเป็น เพราะว่าสายทางเดินของความรักกับของเมตตานั้นมันคนละเส้นทางกัน แต่บางคราวมักจะคละกันอยู่ ปนกันอยู่ แต่ถ้าเป็นเมตตาที่บริสุทธิ์ล้วนๆ ก็จะวางอุเบกขาได้สะดวก ความรักที่เจือด้วยราคะก็มักจะคละกันอยู่กับเมตตา คือมีเมตตาด้วย มีความรักด้วย ทำให้คละอยู่ อยู่ใกล้กันมาก
 
          ฉะนั้น เวลาเจริญเมตตา ท่านจึงให้ระวังข้าศึกใกล้คือราคะ คนไม่สังเกตอาจแยกไม่ออกและเป็นไปได้โดยไม่รู้ตัว กว่าจะรู้สึกตัวก็ถลำไปแล้ว กิเลสนี่มันมีเสน่ห์และมีเล่ห์เหลี่ยมกลอุบายเยอะ ตามมันไม่ค่อยทัน
 
          เมตตาที่แท้จริงจะจบลงด้วยอุเบกขา ซึ่งเป็นคุณธรรมที่ดีมาก ทำให้จิตใจสงบ ราบเรียบ สะอาด ผ่องแผ้ว แต่ความรักแบบโลกียะ เนื่องจากชอบพออย่างผูกพัน จึงมักจะจบลงด้วยความโศก ระหว่างที่รักอยู่ก็มีความหวาดหวั่น มีความกลัว กลัวความพลัดพราก กลัวความสูญเสีย พอหลุดพ้นจากความรักได้ ความโศกหรือความกลัวก็จะไม่มี อันนี้เป็นนัยพระพุทธพจน์
 
          วิธีหนึ่งที่เราจะทำได้ดี คือพยายามทำตัวให้ เป็นกันเองกับความพลัดพราก ความสูญเสีย ความผิดหวัง คล้ายๆ หมองูที่อยู่กับงู หรือคนที่อยู่กับเสือ คุ้นเคยเป็นกันเองจนไม่กลัว หรือเอาหลักธรรมอภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ข้อ เราพิจารณาทุกวันหรือวันละหลายๆ ครั้งว่าเรามีความแก่เป็นธรรมดา ล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้ เรามีความเจ็บ

ไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้ เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้น ความตายไปได้ เราจะต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจเป็นธรรมดา ไม่อาจจะล่วงพ้นไปได้ เรามีกรรมเป็นของของตน เป็นผู้รับผลแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว
 
          พิจารณาบ่อยๆ วันละ 2 - 3 ครั้ง ตื่นนอน ก่อนนอน อะไรก็แล้วแต่ ก็นึกถึงพวกนี้ไว้บ่อยๆ แล้วเราก็จะเป็นกันเองกับความผิดหวัง ความพลัดพราก ความสูญเสีย ได้อะไรมาก็เป็นสมบัติ แต่ก็นึกถึงวิบัติด้วยเสมอ นึกอยู่เสมอ มันอยู่กับใจของเรา คุ้นเคยกับใจของเรา และก็จะบรรเทาความหวาดกลัว ความหวาดหวั่นพรั่นพรึงหรือความกลัว กลัวความพลัดพราก กลัวความ สูญเสีย กลัวความอะไรต่างๆ ที่คนทั้งหลายเขากลัวกันอยู่
 
          ลองดูต่อไป คนที่รักลูกมากเพียงใด ก็มีความกลัวแอบแฝง ซ่อนเร้นอยู่ในใจมากเท่านั้น พอได้โอกาสความกลัวก็แสดงตัวออกมา เช่น ลูกกลับบ้านมืดค่ำ ต้องผ่านทางเปลี่ยว ลูกไปเที่ยวทางเรือ ทางรถ ทางเครื่องบิน ไปไหน พ่อแม่ที่รักลูกมาก ก็อดวิตกกังวลถึงลูกในขณะที่ เดินทางไม่ได้
 
          นี่ก็จะทดสอบให้เห็นว่า สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่สร้างความวิตกกังวล ไม่ใช่น้อยเลย อันนี้ก็บอกความจริงให้ทราบ ส่วนจะทำใจได้แค่ไหน ก็แล้วแต่จะทำเอา
 
          ความที่เราเมตตากรุณาต่อกัน ซึ่งถ้าจะยืมมาใช้ในความหมายของ ความรักที่แท้จริงแล้ว ก็เป็นสภาพที่ปราศจากความเห็นแก่ตัว ปลดปล่อยอีกคนหนึ่งให้เป็นอิสระ ให้เขามีสันติสุข เรามีชีวิตอยู่เหมือนสายพิณที่แม้จะ ต่างสายกัน แต่เมื่อบรรเลงเพลงขึ้นมาก็เป็นเพลงเดียวกัน เรามีธรรมะเป็นสายสัมพันธ์ ซึ่งทำให้เราบรรเลงเพลงเดียวกัน แต่ถ้าสายพิณ 2 สายพันกันเป็นสายเดียวกันเมื่อใด เมื่อนั้นก็จะสูญเสียความไพเราะไป

ความรักที่เห็นแก่ตัวไม่ใช่ความรักที่แท้จริง เขาเห็นแก่ตัวต่างหาก เขาถือเอาอีกคนหนึ่งเป็นเครื่องมือแสวงหาความสุข ความพอใจของตน พอเขาไม่ได้ดังใจเขาก็โกรธ เกลียดและทำลาย เขาจะต้องเบียดเบียนบีบคั้น ความรักที่ไม่เห็นแก่ตัวเป็นความรักที่แท้จริง เป็นการปลดปล่อยให้มีเสรีภาพ ให้มีสันติสุข แต่เรามีธรรมะเป็นเครื่องร้อยเอาไว้ ให้เรามีที่ป้องกันโดยธรรม ความรักอย่างหนึ่งเร่าร้อน ความรักอีกอย่างหนึ่งสงบเย็น ควรจะเลือกดำเนินความรักอย่างใด ความรักปัญญา ความรักสันติสุข เป็นสิ่งพึงปรารถนาอย่างยิ่ง ขอให้เราปลูกฝังนิสัยมาทางนี้
 
          นี่ก็เป็นสิ่งที่ผมเพิ่มให้นะครับ ในระหว่างความรักกับเมตตา ธรรมดาของชีวิตคนต้องผ่านความรักชนิดที่เร่าร้อนมาก่อน เป็นเงื่อนไขทางร่างกาย และก็เพื่อการเรียนรู้บางอย่าง แต่เมื่อถึงวาระที่จะต้องสงบเย็น ก็ควรให้สงบเย็น ยิ่งผ่านวาระต้นไปแล้ว ยิ่งเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดี เพราะว่าจะได้อยู่กับความรักที่สงบเย็นนานๆ เท่าที่ชีวิตในช่วงหลังยังเหลืออยู่
 
          นี่คือการวิเคราะห์ให้เห็นว่าความรักกับความเมตตาเป็นอย่างไร
 
          ที่ยกตัวอย่างมาแล้วเหล่านี้ คือ คิดให้เห็น ข้อแตกต่าง ต่อไปก็มาถึงลำดับที่ว่า คิดให้เห็นเหตุผล ลองยกตัวอย่างนะครับ
 
          มีท่านผู้หนึ่งกล่าวว่า การสมาทานศีลต้องเปล่งวาจาให้ตนเองได้ยินเป็นอย่างน้อย จึงจะสำเร็จ   ผลเป็นสมาทาน และถือว่าเป็นการรับศีล รักษาศีล บังเอิญมีพระภิกษุผู้รักการค้นคว้าท่านหนึ่งนำเรื่องนี้      มาถามผมว่า ได้พบที่มาหลักฐานถึงเรื่องนี้บ้างหรือไม่ ผมก็เรียนท่านว่าไม่เคยพบ ถ้าจะให้ออกความเห็นก็เห็นว่าการจะสมาทานศีลขึ้นอยู่กับเจตนาที่จะงดเว้น คือตั้งใจ ที่จะงดเว้นการกระทำ คำพูดอันไม่เหมาะสม ไม่ควร   นั้นๆ ท่านเรียกว่า วิรัติเจตนา ซึ่งในอรรถกถา ทีฆนิกาย อังคุตตรนิกาย แสดงวิรัติเจตนาไว้ 3 อย่าง ดังนี้
 
          1.  สัมปัตตวิรัติ คือ เมื่อไปพบสิ่งที่จะล่วงละเมิดได้ แต่ไม่ล่วงละเมิด งดเว้นในขณะนั้นเลยทีเดียว เช่นว่า ไปพบกระเป๋าสตางค์คนที่จะเอาได้ เจ้าของเผลอ ถ้าจะหยิบมาก็หยิบได้ แต่ว่าไม่เอา พอไปเจอสัตว์ที่พอจะมาแกงได้ เช่น ไปเจอปลากำลังดิ้นอยู่บนถนน ก็พอจะเอามาได้ ไม่ต้องใช้ความพยายามมาก แต่ก็ไม่เอา ทั้งๆ ที่ไม่ได้สมาทานศีล ไม่ได้ตั้งใจเอาไว้ เพราะเข้าใจผู้อื่นและก็มีเมตตาต่อสัตว์ เรียกว่า สัมปัตตวิรัติ งดเว้นอารมณ์ หรือสิ่งที่จะล่วงละเมิดที่มาถึงเข้า และก็ไม่ล่วงละเมิด
 
          2.  สมาทานวิรัติ งดเว้นโดยการสมาทาน คือ ตั้งใจไว้ว่าจะงดเว้น ตั้งใจเองก็ได้ หรือปฏิญาณต่อหน้าพระสงฆ์หรือผู้มีศีลก็ได้ ต่อหน้าพระพุทธ-รูปก็ได้ ตั้งใจเองก็ได้ ไม่ต้องรับศีลจากใครก็ได้ ไม่ต้องไปเปล่งวาจากับใครก็ได้ เพียงแต่ตั้งใจที่จะรักษา ก็จะสำเร็จเป็นสมาทานวิรัติ
 
          เช้าขึ้นมาก็ตั้งใจว่า ข้าพเจ้าจะงดเว้นอย่างนั้นๆ อย่างนี้ก็เป็นการสมาทานศีลแล้ว ถ้าเผื่อท่านที่รักษาศีลอยู่ ตามปกติแล้วก็ไม่ต้องสมาทาน ก็ได้ ไม่ต้องรักษาศีลก็ได้ ศีลมันรักษาคนนั้นอยู่แล้ว คือเขาเป็นคนมีศีล ตามปกติอยู่แล้ว ไม่ต้องไปรักษาก็ได้
 
          เหมือนต้นไม้ใหญ่ ไม่ต้องมีใครไปรักษามัน มันรักษาตัวมันเองได้ คนต้องไปพึ่งมันด้วยซ้ำไป คนที่มีศีลมีธรรมอยู่ตัว ไม่ต้องไปลำบากกับการ ที่จะต้องงดเว้น กับการที่จะต้องรักษา
 
          คนที่สมาทานเข้าพรรษา ไม่กินเหล้า ก็อดได้ตลอดพรรษา บางทีถ้าเผื่อมันอยากกิน ในใจมันนึกว่าเมื่อไหร่จะออกพรรษาเสียที รู้สึกว่าพรรษานี้มันยาวนานเหลือเกิน แปลว่า รักษาศีล แต่ว่ามันดิ้นขลุกขลักอยู่นั่นแหละ รักษาศีล ศีลมันจะไปให้ได้ มันจะไม่อยู่ และคอยคุ้มครองรักษาเอาไว้  โดยความไม่เป็นสุข แต่คนที่เขา

มีศีลอยู่ตามปกติ เขาไม่เดือดร้อนอะไรเลย จะเข้าพรรษา ออกพรรษา เขาไม่กินอยู่ตลอดปี 10 ปี 20 ปี 50 ปี เขาไม่กิน เอามาให้ก็ไม่กิน ไม่ต้องพูดถึงว่าจะต้องไปซื้อกิน อย่างนี้เขาก็มีศีลอยู่ตามปกติ เขาไม่ต้องสมาทาน สบายอยู่แล้ว จิตตุปบาทในการที่ จะไปกินเหล้ามันไม่มี จิตตุปบาทที่จะไปขโมยของมัน ไม่มี มันก็ไม่ต้องระวังอะไรเลย อยู่สบายๆ ไม่ต้องไปเปล่งวาจาขอศีลกับใคร
 
          นี่เหตุผลเห็นไหมครับ เพราะเราคิดให้เห็นเหตุผล แม้แต่ที่กล่าวข้างหน้าว่าสมาทานศีลต้องเปล่งวาจาให้ตนได้ยินด้วยอย่างนี้ มันก็ทำกันไปตามประเพณี ตามพิธีการ มันไม่ใช่เนื้อแท้ของการรักษาศีล
 
          3.  สมุจเฉทวิรัติ เว้นเด็ดขาด ยิ่งสบายใหญ่ เพราะเป็นการตัดขาดจากความชั่วนั้นๆ ด้วยอริยมรรค เป็นการเว้นของพระอริยเจ้าผู้ได้บรรลุมรรคผลแล้ว ไม่มี แม้แต่ความคิดที่จะทำความชั่วนั้น ท่านไม่ลำบากเพราะ เว้นขาดไปเลย
 
          วิรัติ 2 อย่างแรกก็เป็นของปุถุชน ยังไม่ แน่นอน มันกลับกลอกยังวางใจไม่ได้ ถูกสิ่งยั่วยวน   หนักเข้า ต้านไม่อยู่ก็อาจจะล่วงละเมิดได้ อย่างที่ 3 นี่เป็นของพระอริยเจ้าละได้เด็ดขาด วางใจได้ ท่านเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เสตุฆาตวิรัติ แปลว่า เว้นโดยการ ชักสะพานเสีย ตัดตอน ไม่ยื่นสะพานออกไปรับ ไม่ทอดสะพานไปให้อีกฝ่ายเดินเข้ามา
 
          เวลาฟังรายการต่างๆ ก็ได้ยินเสมอ มีคนพูด พระก็พูด ชาวบ้าน ก็พูด เมื่อคืนก็ฟังรายการหนึ่งก็พูดกันเหมือนกันว่า รักษาศีล 5 ก็พอแล้ว มันไม่พอนะครับ ทำไมจะต้องสันโดษในกุศลธรรม พระพุทธเจ้าท่านบอกอย่าไปสันโดษในกุศลธรรม สันโดษมากเหลือเกิน รักษาศีล 5 ก็พอแล้ว ถ้าพอแล้วพระพุทธเจ้าไม่

ต้องเกิดหรอก เพราะศีล 5 เขามีมาตั้งแต่ก่อน พุทธกาล เป็นศีลของโลกที่มีมาอยู่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิด จะสอนหรือไม่สอน เขาก็สอนกันมาอยู่แล้ว ศาสนาอื่นๆ เขาก็สอนอยู่เรื่องศีล 5 บางศาสนาเขาเคร่งครัดกว่าเราอีก ในเรื่องของศีลข้อ 5 เรื่องสุรา บางศาสนานี่ศาสนิกชนเขาไม่กินเลย เขาเคร่งกว่าเสียอีก
 
          มันไม่พอหรอกครับ ศีล 10 ก็ไม่พอ ศีล 227 ก็ไม่พอ ทำไมจึงว่าไม่พอ เพราะว่ามันอยู่แค่ศีล ก็รักษากายกับวาจา แต่ว่าใจมันร้อนอยู่ และที่จริงแล้วสิ่งที่ช่วยให้ศีลดีก็คือ คุณธรรม ตัวธรรมะต่างหาก คนไม่มีธรรมรักษาศีลไม่ได้หรอก แต่ถ้าคนมีธรรมก็รักษาได้ง่าย พื้นฐานของการรักษาศีลมันก็คือธรรมนั่นเอง ต้องเน้นให้คนมีธรรม ก็รักษาศีลได้เอง แต่เอาเถอะ ก็ควบคู่กันไป เรียกว่า ศีลธรรม หรือว่าศีลและธรรมก็ได้
 
          แต่ถ้าเรามาเน้น แต่ว่าให้ช่วยกันรักษาศีลๆ โดยไม่ให้คนประพฤติธรรม มันรักษาไม่ได้ ไม่มีธรรมเป็นเครื่องรักษา อย่างมีหิริโอตตัปปะ ขันติโสรัจจะ เป็นธรรมที่จะช่วยรักษาศีล ถ้าไม่มีความอดทนจะรักษาศีลได้ อย่างไร ไม่มีหิริโอตตัปปะจะรักษาศีลได้อย่างไร
 
          เหมือนเราบอกให้เด็กชนบทกินนมให้มากๆ กินอาหารโปรตีนให้      มากๆ ให้มีประโยชน์ เราก็สอนได้เราก็สอนไป แต่แกไม่มีจะกิน แกทำไม่ได้ แล้วเราจะไปสอนคนยากคนจนที่แกไปเที่ยวคุ้ยถังขยะหากินอยู่ ว่าให้กิน       อาหารที่ดี ที่มีประโยชน์ ก็พรรณนาไปว่า อาหารที่มีประโยชน์มีอะไรบ้าง       มีคุณค่า ให้ครบ 5 หมู่ แต่แกเที่ยวค้นขยะอยู่ แกจะกินอย่างไร จะสอนมันต้องคนมีอันจะกิน แต่กินไม่เป็นอย่างนั้นแหละไปสอน

แล้วได้ผล มันมีทุกอย่างอาหาร 5 หมู่ แต่กินไม่เป็น เขาจะกินแต่สิ่งที่เขาชอบ สิ่งที่เขาไม่ชอบเขาไม่กิน ถึงรู้ว่ามีประโยชน์แต่ก็ไม่ชอบ คนประเภทนี้แหละเราสอนให้เขากินอาหารที่มีประโยชน์ เขาทำได้ เขาพยายามฝึกฝน เขาทำได้ แต่คนไม่มีจะกิน มันทำไม่ได้ มีอะไรจะกินมันก็กินอันนั้น กินกบ กินเขียด อะไรก็กิน คือคำสอนมันจะต้องสัมพันธ์กับเศรษฐฐานะความเป็นอยู่ของเขา
 
          อันนี้แหละครับที่เราสอนศีลธรรมกันไม่ค่อย ได้ผล ไม่ค่อยนึกถึงสภาพแวดล้อมของชีวิตมนุษย์ หรือไม่ค่อยได้คิดถึงเงื่อนไขทางสังคม แต่ว่ายัดเยียดแต่คำสอนอย่างเดียว จะต้องทำอย่างนั้น จะต้องทำอย่างนี้ แต่ว่าสิ่งแวดล้อมเกื้อกูลให้เขาทำได้มันไม่มี
 
          ถ้าเราจะให้คนเขาปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎ จราจรให้จอดรถตามที่จอด อย่าไปจอดตามที่ขาวแดง อย่าไปจอดในที่ห้ามจอด คิดว่าไม่มีใครอยากจอดตรงนั้นหรอกถ้ามีที่ให้จอด บางแห่งมันไม่มีจริงๆ เขาก็เที่ยว วนหาไป เดี๋ยวก็จอดเข้าไปตรงนั้น นี่คือสิ่งแวดล้อม ที่บังคับให้เขาทำลงไป ก็ถูกละครับ คนที่มักง่ายก็มี เห็นแก่ความ

สะดวกของตัว ไม่คิดถึงเรื่องอะไรหรือความเดือดร้อน ไม่คิดถึงระบบกฎเกณฑ์ มักง่ายอย่างนี้ ก็มี ไม่ใช่ไม่มี แต่ว่าสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่เราจะต้อง  นึกถึงเสมอว่า ถ้าเราสอนสิ่งใดก็ต้องนึกถึงว่าสิ่งที่จะเกื้อกูลให้เขาทำได้ มันมีหรือไม่มี ถ้าไม่มีเขาทำไม่ได้ แต่ถ้ามันมีอยู่แล้วแต่เขาทำไม่ได้ อันนั้นแหละเป็นโทษ ก็ควรจะต้องถือว่าเป็นโทษที่ควรตำหนิหรือควรจะได้รับโทษตามสมควร
 
          ไม่มีใครอยากนอนข้างถนน อยากมีบ้านอยู่ แต่มันไม่มีบ้านจะอยู่ ก็ต้องนอนข้างถนน มันก็เป็นอย่างนี้
 
          นี่ผมพูดมาจากเรื่องศีล 5 มันไม่พอหรอก มันต้องมีสมาธิ ต้องมีปัญญา ต้องอบรมคุณธรรม หรือคนมีคุณธรรม และมีจัดสิ่งเกื้อกูลให้มี คุณธรรม ก็สำคัญเหมือนกัน ไม่ใช่ไม่สำคัญ
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2011, 09:36:46 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 09:40:48 am »
0
          อีกเรื่องหนึ่งเราลองมาวิจัยธรรมกันดู บอกว่าอาราธนาศีลมีวิสุงกับ ไม่มีวิสุง อาราธนาศีลนั้นไม่มีผลในการที่จะศีลขาดหรือไม่ คือว่าจะอาราธนาแบบมีวิสุงหรือไม่มีวิสุงก็ตาม ถ้าคิดโดยเหตุผลแล้วศีลข้อใดขาดมันก็ขาดเฉพาะข้อนั้น ไม่พาข้ออื่นขาดไปด้วย ที่ถือกันว่าถ้าอาราธนาศีลแบบไม่มีวิสุง ข้อปาณาขาดก็ขาดหมดทั้ง 5 ข้อ หรือข้อสุราขาดอีก 4 ข้อก็ขาดไปด้วย มันเป็นไปไม่ได้หรอกครับ โดยเหตุผลแล้วเป็นไปไม่ได้ ศีลต้องขาด

พร้อมด้วยองค์ของศีลข้อนั้นๆ คือต้องไปล่วงละเมิดศีลข้อนั้นมันจึงขาด  ไม่ทำก็ไม่ขาด ไม่เหมือนปาราชิกของพระ ท่านบัญญัติเอาไว้ชัดเจนว่า ในปาราชิก 4 ถ้าเผื่อล่วงละเมิดข้อใดข้อหนึ่งก็เป็นอันว่าขาดหมด หมายถึงว่า ขาดจากการเป็นพระ ท่านระบุไว้ชัดเจน เป็นปฏิญาณไว้ตั้งแต่ต้น ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาบวชก็รู้แล้ว อย่างนั้นก็อีกเรื่องหนึ่งคนละเรื่องกัน
 
          นี่เราวิเคราะห์ดูให้เห็นเหตุผล เมื่อเห็นเหตุผลอย่างนั้นแล้วก็จะปฏิบัติถูก ไม่ปฏิบัติแบบงมงาย แบบถือตามๆ กันมา เชื่อตามๆ กันมา  ไม่ต้องวิเคราะห์ด้วยเหตุผล ถือตามๆ กันมาแบบเถรส่องบาตร
 
          เจ้าอาวาส ท่านฉันเสร็จแล้วก็ล้างบาตร แล้วก็เช็ดบาตร แล้วเอาบาตรไปส่องกับตะวัน ลูกศิษย์ฉันเสร็จแล้วก็ไปส่องด้วย ถามว่าส่องทำไม บอกไม่รู้ ท่านเจ้าอาวาสท่านส่องก็ส่องด้วย ส่องตามกันหมดทุกองค์ ท่านเจ้าอาวาสท่านมีเหตุผล ท่านส่องดูรูรั่ว เพราะในวินัยห้ามไม่ให้  ใช้บาตรที่มีรอยทะลุจนถึงเมล็ดข้าวรั่วลงมาได้ ท่านก็คอยดูว่าบาตรมันมีรอยทะลุหรือเปล่า สนิมกินหรือเปล่า พระบวชใหม่ บาตรก็ยังใหม่อยู่ ก็ไปส่องด้วย เจ้าอาวาส ใช้บาตรมานานกลัวจะทะลุก็ส่องดู นั่นคือเหตุผล
 

          ทำตามกันแบบท่านเจ้าอาวาสทำก็ทำด้วย เรียกว่า เถรส่องบาตร ทำตามโดยไม่รู้เหตุผล แฟชั่น นั่นก็เถรส่องบาตรเหมือนกัน เวลานี้แฟชั่นเป็นยังไงก็ ตามเขาไป ไม่รู้ว่ามันเหมาะสมกับตัวหรือเปล่า ทำไม  ไม่คิดด้วยสมองของตัวว่ามันคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร เรียนหนังสือเป็นนักศึกษาแล้ว ทำไมเรื่องแค่นี้คิดไม่เป็น อย่างนี้เป็นต้น

โพชฌงค์ข้อที่ 3 วิริยะสัมโพชฌงค์
 
          วิริยะสัมโพชฌงค์นี้ คือ ความเพียร ประคับประคองธรรมวิจัย เมื่อใดตรองเห็นด้วยปัญญา ธรรมวิจัยนี่เป็นตัวปัญญานะครับ ตัวแรกของสัมโพชฌงค์ คือ สติ ธรรมวิจัยเป็นปัญญา ตรองเห็นว่าอะไรเป็นความดี อะไรเป็นความชั่ว อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไรมีโทษ อะไรไม่มีโทษ ละทิ้งสิ่งที่เป็นโทษ เลือกถือไว้เฉพาะสิ่งที่เป็นคุณเป็นกุศล นี่โดยสรุปนะครับ แล้วก็เอาความเพียรเข้ามาประคองไว้ อย่างที่ท่านกล่าวถึงความเพียรว่า เพียรระวังไม่ให้บาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น นี่ผมจะต่อมาที่วิริยะ- สัมโพชฌงค์นะครับ
 
          เพียรระวังไม่ให้บาปอกุศลหรือความชั่วที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น เพียรละบาปอกุศลที่เกิดแล้ว เหมือนเรากินยารักษาโรคที่เกิดขึ้นแล้วก็กินยาให้มันถูกกับโรค ประการแรกก็เรียกว่าระวังไม่ให้โรคที่ยังไม่เกิด ไม่ให้เกิดขึ้น ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วก็ต้องหายากินให้ถูกกับโรค ให้ตรงกับโรค
 
          ต่อมาก็พยายามให้บุญกุศลที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เรียกว่า ภาวนาปธาน เหมือนกับการบำรุงสุขภาพที่หายจากโรคแล้วให้ดีขึ้น และพยายามรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม และให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นไป เรียกว่า อนุรักขนาปธาน รักษากุศลความดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม เหมือนว่าเรารักษาสุขภาพที่ฟื้นขึ้นมาใหม่ได้แล้ว

หายจากโรคแล้วบำรุงสุขภาพได้ดีแล้ว ก็รักษาสุขภาพเอาไว้ไม่ให้เสื่อมลงไปอีก รักษาสุขภาพจิต นั่นสุขภาพกาย ทีนี้สุขภาพจิตก็เหมือนกัน เพียรพยายามรักษาสุขภาพจิตที่เราทำให้ดีขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อมลง ไปอีก ถ้าไม่รักษามันจะเสื่อมลงไป บางทีก็รักษายาก สุขภาพที่เสื่อมลงไปเป็น ครั้งที่ 2 ที่ 3 ก็รักษายากขึ้น อายุก็มากขึ้น ก็รักษายากขึ้น
 
          นี่เป็นวิริยะสัมโพชฌงค์ พระพุทธภาษิตที่คนทั้งหลายจำได้โดย มากและกินใจ ให้เป็นกำลังใจแก่เราเป็นอันมากก็คือ วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ บุคคล ย่อมจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร อันนี้เป็นพุทธภาษิตที่บำรุง กำลังใจ อุดหนุนกำลังใจของเราเป็นอย่างยิ่ง ความทุกข์อะไรบ้างที่จะต้องล่วงได้ด้วยความเพียร ผมจะลองขยายขอบเขตออกไปแล้วค่อยขมวดลงมาที่ วิริยะสัมโพชฌงค์ แต่ว่าจะขยายขอบเขตออกไปให้คนทั่วไปปฏิบัติได้ด้วย เช่น
 
          ความทุกข์จากความลำบากยากจน หลายคนยากจนเพราะว่าเกียจคร้าน ใฝ่อบายมุข ทำให้ชีวิตตกต่ำ แต่พอรู้สึกตัว เปลี่ยนวิถีชีวิตเสียใหม่ ก็กลับหาทรัพย์ได้มั่งมีขึ้น สมตามพระพุทธภาษิตที่ว่า ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ แปลว่า ผู้ที่มีความเพียร ขยัน ลุกขึ้น มีธุระอยู่เสมอ ไม่อยู่ว่าง ทำการงานให้เหมาะสม หาทรัพย์ได้ ท่องเอาไว้เป็นคาถาประจำตัว สำหรับคนที่จะหาทรัพย์ ปฏิรูปการี แปลว่า ทำให้เหมาะสม ธุรวา มีธุระอยู่เสมอ ไม่อยู่ว่าง อุฏฺฐาตา ขยันลุกขึ้น ไม่เห็นแก่หลับนอน วินฺทเต ธนํ ย่อมจะหาทรัพย์ได้
 
          เคยอ่านหนังสือเรื่องคนจีนโพ้นทะเล คนจีน  ในเมืองไทยก็ได้ เขาขยัน เราก็ชอบพูดกันถึงว่าเสื่อผืนหมอนใบมาจากเมืองจีน มาตั้งตัวได้เป็นเจ้าสัว เป็นอาเสี่ยอยู่เมืองไทย นายธนาคารก็มีเยอะ ถ้าเขาตั้งหน้าตั้งตาหาทรัพย์ เขาก็ต้องอย่างนี้แหละ ปฏิรูปการี ทำให้เหมาะสม ธุรวา มีธุระอยู่เสมอ ไม่อยู่ว่าง อุฏฐาตา ขยันลุกขึ้น ไม่เกียจคร้าน ไม่เห็นแก่นอน วินทะเต ธะนัง หาทรัพย์ได้
 
          หรือว่าพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า กาลาคตญฺจ นหาเปติ อตฺถํ แปลว่า คนขยันย่อมไม่ทำประโยชน์ที่มาถึงแล้วให้เสื่อมไป ถ้าคนเกียจคร้าน ประโยชน์มาถึงเข้า โอกาสมาถึงเข้า ก็ปล่อยให้โอกาสนั้นล่วงเลยไป เสื่อมไป
 
          เมื่อทำกิจโดยเบื่อหน่าย ประโยชน์ก็ไม่สำเร็จโดยชอบ เมื่อทำกิจโดยไม่เบื่อหน่าย ประโยชน์ก็จะสำเร็จโดยชอบ บุคคลพึงได้ประโยชน์ในที่ใดโดยประการใด ก็พึงบากบั่นในที่นั้น โดยประการนั้น ประโยชน์ในที่นี้ หมายถึง ประโยชน์โดยชอบธรรม ไม่ใช่ประโยชน์โดยความเห็นแก่ตัว หรือว่ามุ่งแต่ประโยชน์ของ ตัวโดยทำลายประโยชน์ของผู้อื่น พึงได้ประโยชน์ในที่ใด โดยประการใด ประโยชน์โดยชอบธรรม บุคคลพึงบากบั่นในที่นั้น โดยประการนั้น
 
          มีคนยากจนไม่น้อยในบ้านเมืองของเรา กลายเป็นคนมั่งมี เพราะความขยัน ประกอบการงานที่เหมาะสมอยู่เสมอ
 
          ต่อไปความทุกข์ยากจากความเจ็บป่วย บางคนเกียจคร้านเอาแต่ นั่งๆ นอนๆ จนป่วยทั้งทางกายและทางจิต คิดฟุ้งซ่านไปต่างๆ ทำให้มีความ  เครียด ร่างกายก็เจ็บป่วย อันเนื่องมาจากป่วยทางจิตก่อน อันนี้ภาษาทางวิชาการท่านเรียกว่า Psychopathic illness ซึ่งหมายความว่า ความทุกข์ จากการที่มีโรคทางใจ (suffering from mental disease) ความทุกข์ที่เป็นโรคทางใจขึ้นมาก่อน ทำให้ตื่นเต้นง่าย ตกใจง่าย กระวนกระวายไม่มีสุข ไม่สงบ ถ้าเขาใช้ความเพียรไปในทางหนึ่งทางใดให้สงบ ก็จะหายจากความเจ็บป่วยเหล่านั้นได้ ทำให้บรรเทาลงได้
 
          ส่วนความป่วยทางกายจริงๆ โดยไม่เกี่ยวกับจิตเลยนั้น ถ้ามีความเพียร มีความบากบั่น มั่นคง ในการรักษาตัวเอง ดูแลตัวเองให้ดี ประกอบด้วยความรู้ในอาหารและยา เว้นของแสลงแก่โรค บริโภคอาศัยแต่สิ่งที่เป็นสัปปายะแล้ว อาจไม่ต้องไปหาหมอเลยหรือหาแต่น้อยที่สุด แต่คนป่วยต้อง มีกำลังใจ และควบคุมตัวเอง ดูแลตัวเองได้ ความทุกข์จากความเจ็บป่วย เช่นนี้ ก็ล่วงพ้นได้ด้วยความเพียรเหมือนกัน
 
          ทีนี้เขาให้ดูต่อไป เช่น ความทุกข์ในอบายภูมิและความทุกข์ในสังสารวัฏฏ์
 
          ความทุกข์ในอบายภูมิ คือ การที่ต้องเกิดในนรก เปรต อสุรกาย หรือสัตว์เดรัจฉาน ก็มีบาปเป็นแดนเกิด ผู้ใดเพียรพยายามในการเว้นบาป และเพียรในการบำเพ็ญบุญกุศล ผู้นั้นก็จะพ้นจากความทุกข์ในอบายภูมิ ความดีหรือบุญเป็นชื่อของความสุข ถ้าก้าวขึ้น มาสู่อริยภูมิ ตั้งแต่พระโสดาบันหรือตั้งแต่โสดาปัตติผลขึ้นไปด้วยแล้ว อบายภูมิก็เป็นอันปิดสนิท ถึงจะทำบาปทำชั่วมาเท่าไหร่ที่จะเป็นเหตุให้ไปอบาย แต่ถ้าก้าวขึ้นสู่อริยภูมิตั้งแต่โสดาปัตติผลขึ้นไปแล้ว อบายภูมิเหล่านั้นก็ปิดสนิท ไม่เปิดสำหรับบุคคลเช่นนั้นอีก ถ้ามีความเพียรต่อไปถึงอรหัตผล ทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ อันยืดเยื้อ ยาวนานก็เป็นอันสิ้นสุดลง
 
          มีตัวอย่างพระเถระในสมัยพุทธกาลมากหลาย  ที่ได้ใช้ความเพียรพยายาม แม้ได้เคยทำบาปมาก่อน มีชีวิตที่คลุกเคล้าด้วยบาปมาก่อน แต่ว่าภายหลังมารู้สึกตัวและพยายามบำเพ็ญเพียรจนก้าวขึ้นสู่อริยภูมิ ก็สามารถ ที่จะปิดอบายได้
 
          เรื่องพระมิลกะ เป็นผู้มีความเพียรเอาชนะความทุกข์ได้ คือ ท่านมีอาชีพเป็นพรานเนื้อ ตอนหลังมาบวชเพราะเห็นกรรมมาปรากฏ และพยายามทำความเพียรจนบรรลุมรรคผล
 
          มีภิกษุ สามเณร คฤหัสถ์ เป็นอันมากที่สามารถเอาชนะความทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ได้ด้วยความเพียร อย่างน้อยสังสารวัฏฏ์มันก็สั้นเข้า มันไม่ยาวเหมือน สังสารวัฏฏ์ของคนพาล อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ทีโฆ พาลสฺส สํสาโร สังสารวัฏฏ์ของคนพาลนั้นยาว แต่สังสารวัฏฏ์ของคนดี คนที่เป็นบัณฑิต คนที่เป็นนักปราชญ์ คนที่เห็นภัยในวัฏฏะมันจะสั้นเข้า
 

          ถ้าเผื่อประกอบด้วยความเพียรที่เป็นโพชฌงค์ คือ ความเพียรที่จะละความชั่ว ทำความดี รักษาความดี มีจิตใจจดจ่ออยู่ที่ความดี อย่างนี้มันก็จะเร็วขึ้น การละอกุศล ความเพียรในการละอกุศล ความเพียรในการทำกุศลเกิดขึ้น
 
  โพชฌงค์ข้อที่ 4 ปีติสัมโพชฌงค์
 
          ปีติ คือ ความอิ่มใจ ความรู้สึกสุขสบายใจ โดยทั่วไปท่านจะพูดถึงปีติไว้ 5 อย่าง
          1. ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อย มีอาการให้ขนลุกขนชัน

          2. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ มีอาการเสมือน สายฟ้าแลบ

          3. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพักๆ มีอาการ  เหมือนคลื่นกระทบฝั่ง มันมาเป็นลูกๆ กระทบฝั่งแล้ว  ก็หายไป เดี๋ยวก็เกิดขึ้นใหม่

          4. อุพเพคาปีติ ปีติโลดโผน มีอาการเหมือนจะล่องลอยไปในอากาศ คนที่เจริญกรรมฐานจะเป็น   สมถะสลับวิปัสสนา วิปัสสนาสลับสมถะก็ได้ เดินจงกรม ไปๆ มันเหมือนจะตัวลอย ความรู้สึกเหมือนเท้าไม่    ติดพื้น นั่นเป็นเพียงความรู้สึกของอุพเพคาปีติ ปีติโลดโผน มีอาการเหมือนล่องลอยไปในอากาศ

          5. ผรณาปีติ ปีติซาบซ่านไปทั่วสรรพางค์กาย เหมือนเรากินน้ำเข้าไปเต็มกระเพาะ ในกระเพาะมันมีแต่น้ำเต็มไปหมดเลย ไม่มีส่วนใดที่ไม่มีน้ำ ไม่มีส่วนใดของสรรพางค์กายที่ไม่มีปีติ

 
          เหตุให้เกิดปีติ
          1. ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
          2. ระลึกถึงคุณของพระธรรม
          3. ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์
          4. ระลึกถึงศีลที่บริสุทธิ์ของตน
          5. ระลึกถึงทานที่ได้บริจาคแล้ว
          6.  การระลึกถึงบุคคลที่ทำให้เป็นเทวดาหรือคุณที่ทำให้บุคคลเป็นเทวดา
          7.  การระลึกถึงคุณของพระนิพพาน เป็นที่สงบระงับความทุกข์ทั้งปวง
          8. การเว้นจากบุคคลที่จิตใจเศร้าหมองโลเล
          9. คบคนที่มีจิตใจหนักแน่น
          10. การพิจารณาถึงปสาทนียะ คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัส สอนไว้อันเป็นที่ตั้งของความเลื่อมใสของตน สูตรใดที่เราเลื่อมใสมากๆเราอ่านสูตรนั้นบ่อยๆ เราก็เกิดปีติ
          11. ความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในปีตินั้น

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 09:54:37 am »
0
โพชฌงค์ข้อที่ 5 ปัสสัทธิ
 
          ปัสสัทธิ ความผ่อนคลาย สงบ
          เมื่อได้ปีติแล้ว เมื่อปีติมากเกินไปก็ต้อง ผ่อนคลาย มันจะฟุ้งซ่านไปในปีติ ต้องผ่อนคลายปีติ ลงให้เหลือเป็นปัสสัทธิ คือ ความสงบระงับ คือเป็นเวลา ที่ควรจะต้องข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม ถ้ามีปีติมาก มันก็ติดไปข้างฟุ้งซ่าน เราก็ควรข่มปีตินั้นด้วยการเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ แปลว่า สงบ แปลว่า ผ่อนคลาย เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ แล้วก็อุเบกขาสัมโพชฌงค์
 
          ธรรม 7 ประการที่จะให้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เกิดขึ้น นี่เป็นเหตุเกิดของปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ดังนี้
          1.  การได้โภชนะที่ประณีต หรือโภชนะอาหาร สัปปายะ ในที่นี้ไม่ใช่ประณีตอย่างเอร็ดอร่อย อย่างที่เป็นเหตุให้เกิดกิเลส แต่หมายถึงว่าได้อาหารที่เหมาะสม กับการที่จะทำให้ไม่ฟุ้งซ่าน

          2.  ได้ฤดูที่ถูกใจ ที่พอใจ บางคนเวลาหน้าหนาวก็ไม่สบาย บางคนไม่สบายหน้าร้อน ชอบหน้าหนาว บางคนขี้หนาว บางคนขี้ร้อน ก็ได้ฤดูเป็นที่พอใจ

          3.  ได้อิริยาบถเป็นที่สบาย คือ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน  ก็มีความสุข ความพอใจ

          4.  ความเพียรพยายามพอเหมาะ ไม่มากเกินไป ไม่น้อยเกินไป  พอเหมาะแก่อัตภาพของผู้นั้น ควรจะใช้ความเพียรเท่าไหร่ เหมาะแก่อายุ เหมาะแก่สภาพทางร่างกาย

          5.  เว้นจากการคบคนซึ่งมีกายกระสับกระส่าย คือ ไม่สงบกาย วาจาไม่สงบ กระสับกระส่ายอยู่เรื่อย ฟุ้งซ่านอยู่เรื่อย คุยอยู่เรื่อยไม่รู้จักหยุด ต้องเว้นจากการคบคนที่เป็นเช่นนั้น

          6.  ได้คบคนที่มีกายสงบ มีวาจาสงบ มันก็เป็นปัสสัทธิอยู่ในตัว เพราะว่าเราก็พลอยสงบด้วยเมื่ออยู่ใกล้ๆ

          7. ความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในปัสสัทธิสัมโพชฌงค์นั้น คือ จิตใจมีอัธยาศัยน้อมไปในความสงบผ่อนคลาย อันนี้ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม ด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ด้วยอุเบกขาสัมโพชฌงค์
 

          เมื่อปัสสัทธิแล้ว ต่อไปก็จะได้สุขได้สมาธิ ต่อไปจะพูดเหตุที่ได้
 
โพชฌงค์ข้อที่ 6 สมาธิ
 
          ธรรม 11 ประการที่ทำให้เกิดสมาธิ
          1.  วัตถุสะอาด หมายความว่า ร่างกายสะอาด เครื่องใช้ไม้สอยสะอาด ที่อยู่อาศัยสะอาด นี่ก็รวมอยู่ในวัตถุสะอาด

          2.  ฉลาดในนิมิต บางคนชอบถามว่า นั่งสมาธิต้องเห็นนิมิตไหม เห็นก็ได้ไม่เห็นก็ได้ มันเป็น mental creation สิ่งที่จิตสร้างขึ้น คือว่า นั่งไปสักระยะหนึ่ง พอจิตสงบสักหน่อย น้อมจิตไปเพื่อเห็นอะไร ก็เห็นตามที่จิตอยากจะเห็นนั่นแหละ แต่ว่ามันไม่ใช่จริงหรอก เป็นภาพมายาทั้งนั้น ถ้าเผื่อเป็นจริงบ้าง มันก็จริงใน


สมาธิ ในนิมิต ฉลาดในนิมิต คือ รู้ว่าอันนี้มันคือเพียงนิมิต แล้วก็ไล่ไปเสียหรือไม่สนใจ นั่งไป เห็นคนหามศพเดินผ่านไปผ่านมา ก็ไม่สนใจ มันเป็นมายา นี่ก็เรียกว่าฉลาดในนิมิต บางคนก็ชอบเล่นนิมิต มันสนุก ติดอยู่ในนั้นแหละ เรียกว่าไปไม่ถึงไหน ยิ่งคนเจริญวิปัสสนา เจริญวิปัสสนาถูกต้องมันก็ต้องไปเจอวิปัสสนูป-กิเลส แปลว่า

เครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา มีตั้ง 10 อย่าง และก็ไปสนุกอยู่กับวิปัสสนูปกิเลส ไม่ได้ญาณสักทีหนึ่ง ไม่ได้อะไรที่จะก้าวหน้าไป เราต้องรู้เรื่อง เหล่านี้ เรียกว่า ฉลาดในนิมิต

          3.  ทำอินทรีย์ให้สม่ำเสมอกัน อินทรีย์ในที่นี้  ก็คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อินทรีย์ 5 อินทรีย์ภายใน หมายถึงจะต้องทำสัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญาให้เสมอกัน

          4.  ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม ประคองจิตในเวลาที่ควรประคอง

          5.  ยังจิตให้ร่าเริงด้วยความเชื่อพุทธานุสตินะครับ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ ระลึกถึงแต่สิ่งดีๆ ทำจิตให้ร่าเริงด้วยความเชื่อ สิ่งเหล่านี้ทำให้จิตใจร่าเริง


          6.  ความสลดใจ เช่น มรณสติ ระลึกถึงความตาย

          7.  เพ่งจิตดำเนินอยู่ในทางที่ชอบ คือเห็นจิตดำเนินอยู่ในทางที่ชอบแล้วเพ่งจิตอยู่ เหมือนคนขับรถ พอพวงมาลัยตรง ทางตรง แล้วก็ไม่ต้องทำอะไรกับรถเลย เพียงแต่เหยียบคันเร่งไปเฉยๆ เกือบจะไม่ต้องทำอะไรเลย เพ่งไปข้างหน้าเท่านั้น รู้ว่ารถไปในทางที่ถูกต้องแล้ว จิตดำเนินอยู่ในทางที่ชอบที่ถูกต้องแล้ว เป็นสมาธิที่ถูกต้องแล้ว เพ่งจิตอยู่ในทางที่ชอบนั้น สมาธิก็ดำเนินต่อไปได้เรื่อยๆ

          8.  เว้นการคบคนที่มีจิตใจไม่มั่นคง

          9.  คบคนที่จิตใจมั่นคง ท่านสังเกตดูเวลาเราไปคบใครที่จิตใจไม่ มั่นคง พาเราวอกแวก แล้วทำให้เรากระสับกระส่ายวุ่นวายกับเขาไปด้วย แต่ถ้าเราคบคนที่มีจิตใจมั่นคง เล่าอะไรให้เขาฟังเขาก็ตอบด้วยจิตใจที่มั่นคง เล่าไปๆ ก็ไม่เป็นไรหรอก เรื่องธรรมดา ธรรมดาเป็นเช่นนั้นเอง ในเงื่อนไขนี้มันก็ต้องเป็นอย่างนี้แหละ เราฟัง

แล้วก็รู้สึกสบาย คบคนที่มีจิตใจมั่นคงนี่ มีคุณค่ามาก เพราะว่าคนประเภทนี้หาได้ยาก คบเข้าแล้วมีคุณค่ากับชีวิตมาก เราดูวิธีการดำเนินชีวิตของเขาก็ได้เหมือนดวงดาว คือ โคจรไปตามวิถีทางของตน ไม่เหมือนคนประเภทใบไม้ร่วง คนที่จิตใจไม่มั่นคงเหมือนคนประเภทใบไม้ร่วง แล้วแต่ลมจะพัดไปทางไหนก็ไปทางนั้น


          10. พิจารณาฌานและวิโมกข์ ฌาน แปลว่า การเพ่ง ความสงบ   ตามลำดับ หรือมีระดับของความสงบ ฌานที่ 1 ก็สงบในระดับหนึ่ง ฌานที่ 2 ก็สงบในอีกระดับหนึ่ง ก็เรื่อยไป วิโมกข์ คือ ความหลุดพ้น ก็ต้องพูดอีกแผนกหนึ่งนะครับ เดี๋ยวจะเขวกันไป

          11. เป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในสมาธินั้น คือว่า เป็นคนที่สงบได้ง่าย จิตใจมั่นคงได้ง่าย


โพชฌงค์ข้อที่ 7 อุเบกขา
 
          ก่อนจะพูดถึงอุเบกขาจะพูดถึงเหตุเกิดของ อุเบกขา
          1.  ความเป็นผู้วางตนเป็นกลางในสัตว์ทั้งหลาย วางเฉย ถือว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน ผู้ทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว วางตนเป็นกลางได้

          2.  วางเฉยในสังขารทั้งปวง คือว่า สังขารทั้งที่เป็นอุปาทินนกสังขาร คือ สังขารที่มีใจครอง และ  อนุปาทินนกสังขาร คือ สังขารที่ไม่มีใจครอง วางเฉย ได้โดยพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง เป็นไปชั่วคราว การวางเฉยในสังขารเหล่านั้นเสียได้ก็จะเป็นการดี

          3.  หลีกเว้นบุคคลผู้มากไปด้วยความยึดมั่นถือมั่น พยายามไม่ใกล้คนที่มีความยึดมั่นถือมั่น


          4.  คบหาสมาคมกับบุคคลผู้คลายความยึดมั่น ถือมั่น คนที่ปล่อยวาง พยายามเข้าใกล้ พยายามคบหา

          5.  ความเป็นผู้มีอัธยาศัยน้อมไปในอุเบกขานั้น อุเบกขาด้วยญาณนะครับ ไม่ใช่อุเบกขาอัญญาณ เพราะว่าข้าศึกใกล้ของอุเบกขา ก็คือ อัญญาณ คือ ความไม่รู้ ความโง่ ความไม่เข้าใจ นั่นเป็นอุเบกขาที่ใช้ไม่ได้ เป็นข้าศึกใกล้ ฉะนั้นต้องระวังอันนี้ อุเบกขาต้องประกอบด้วยญาณ คือ ความรู้ ความเข้าใจ และวางเฉยได้ เมื่อทำได้อย่างนี้ก็จะเป็นประโยชน์มาก ในการที่จะเจริญอุเบกขา ทำให้มันมีเหตุเกิด แล้วเราประคับประคอง อุเบกขาเอาไว้
 
          การปลอบจิตในเวลาที่ควรปลอบ
          ในเวลาใดที่จิตใจหดหู่ ไม่แช่มชื่น เพราะมีปัญญาน้อย หรือว่าไม่ได้ความสุขที่เกิดจากความสงบ ผู้บำเพ็ญเพียรก็ควรจะปลอบจิตในเวลานั้น โดยวิธีที่ยังจิตให้สังเวชในสังเวควัตถุ 8 ประการ สังเวควัตถุ แปลว่า ที่ตั้งแห่งความสังเวช

          1.  ความเกิด ลองนึกถึงเด็กแดงๆ ที่นอนแบเบาะอยู่ มือสั่นเท้าสั่น ช่วยตัวเองไม่ได้ ต้องการอะไรก็ไม่ได้ เป็นสังเวควัตถุอย่างหนึ่ง
          2.  ดูคนแก่มากๆ ก็ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ ก็เหมือนจะกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งหนึ่ง
          3.  ความเจ็บไข้ บางคนก็ไปดูที่โรงพยาบาล ก็จะเห็นว่า มันเป็น ที่ตั้งแห่งความสังเวชแค่ไหน ว่าเราเกิดมาเพื่อจะแก่ เพื่อจะเจ็บ
          4.  ในที่สุดก็ตาย ปลายทางก็คือ ความตาย
          5.  ความทุกข์ในอบาย ถ้าทำไม่ดีเอาไว้ เดี๋ยวก็ต้องไปเสวยทุกข์ในอบายภูมิ เป็นเปรต สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เป็นทุกข์ทั้งนั้น
          6.  ทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต วัฏฏะการเวียนว่ายตายเกิดเพราะ มีวัฏฏะถึงมีความทุกข์ ถ้าไม่มีวัฏฏะ ตัดวัฏฏะเสียได้ก็ไม่มีทุกข์ ไม่เดือดร้อน
          7. ทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูลในอนาคต คือในอดีตเราก็เคยทุกข์เพราะ เวียนเกิดเวียนตายมาแล้ว ในอนาคตเราก็จะต้องเวียนเกิดเวียนตายต่อไปอีก
          8. ความทุกข์ในปัจจุบันเกี่ยวกับการแสวงหาอาหารมาเลี้ยงชีพ นี่ก็ทุกข์กันเยอะ

 
          เมื่อพิจารณาถึงสังเวควัตถุ 8 ประการนี้แล้ว จิตใจที่หดหู่ก็จะแช่มชื่น เบิกบาน ในการที่จะบำเพ็ญความดี หรือสะสมคุณธรรม นี่เรียกว่า ปลอบจิต ในสมัยที่ควรปลอบ
 
          ในเวลาใดที่จิตใจหดหู่ไม่แช่มชื่น เพราะมีปัญญาน้อย หรือว่าเพราะไม่ได้ความสุขที่เกิดจากความสงบ ผู้บำเพ็ญเพียรก็ควรจะปลอบจิตในเวลานั้น โดยวิธียังจิตให้สังเวช โดยสังเวควัตถุ 8 ประการ คือ
 
          ความเกิด ความเกิดนี้เป็นสังเวควัตถุอย่างหนึ่ง เพราะว่าถ้าเราคิดเป็น ความเกิดมันเป็นเบื้องต้นของความทุกข์ต่างๆ ความทุกข์จากความแก่ ความเจ็บ ความตาย ในระหว่างนั้นก็มีความทุกข์จากความพลัดพราก ความทุกข์จากความต้องการแล้วไม่สมหวัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากความเกิดทั้งนั้น คือ ถ้าไม่เกิดมาแล้ว ความทุกข์เหล่านั้นก็ไม่มี ท่านเปรียบไว้ในตำราว่าเหมือนเห็ดที่โผล่ขึ้นมาพร้อมด้วยดิน คือ มีดินติดมาด้วย ว่าคนเราเกิดมาก็มีทุกข์ติดมาด้วย ถ้าไม่มีความเกิด แล้วก็ดับภพ ดับความเกิด เป็นการดับทุกข์
 
          เกิดมาในวัยเด็ก กว่าจะโต ร้องไห้ไม่รู้เท่าไหร่ เสียใจไม่รู้เท่าไหร่ พอเป็นเด็กวัยรุ่น เป็นหนุ่มเป็นสาว มันก็มีความทุกข์ของวัยนั้นๆ อยู่ตลอดเวลา นึกถึงความแก่ ยิ่งแก่เท่าไหร่ ก็ยิ่งมีความทุกข์มากขึ้น มันซ่อมแซม ไม่ไหว เหมือนกับรถที่อายุมากขึ้น มันก็ซ่อมไม่ไหว เปลี่ยนไม่ไหว ในที่สุดก็ต้องทิ้งทั้งคัน
 
          ความเจ็บเป็นสิ่งที่คนกลัว เวลานี้เทคโนโลยี   ในการรักษาโรคก็มีมาก ช่วงเวลาที่ความเจ็บก่อนจะตาย 4 - 5 เดือนนี่ กินเงินมาก ถ้าคนมีเงินมากเท่าไหร่ ก็กินเงินมากเท่านั้น ไม่สามารถจะปล่อยไปตามธรรมชาติได้ คนเมื่อก่อนนี้เขาปล่อยไปตามธรรมชาติ คือว่าได้แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่ต้องมีเครื่องช่วยหายใจ เวลานี้มีเครื่องช่วยหายใจอยู่ตั้งนานหลายเดือน นอนไม่รู้สึกตัวอยู่ แต่ก็ยังให้นอนอยู่อย่างนั้น ก็เป็นความทรมานไม่น้อย  ทีเดียว ในที่สุดก็ต้องตาย ใครก็ต่อกรกับมัจจุราชไม่ได้ นี่ก็เป็นสังเวควัตถุ เป็นเรื่องควรสังเวชสลดจิตทั้งนั้น
 
          ถ้าทำบาปกรรมเอาไว้ บางคนก็เพื่อให้มีความสุขในโลกนี้ ในชีวิตนี้ ก็ทำทุกอย่างที่จะให้ได้เงินมาทำบาปทำกรรม ทำเวร คดโกง สุรุ่ยสุร่าย  ต้องไปทุกข์ในอบายอีก ทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูล ในอดีตก็เคยเวียนว่าย ตายเกิดมาไม่รู้เท่าไหร่ จำไม่ไหว พระพุทธเจ้าบอกว่า ถ้าเผื่อเอากระดูกมากองรวมกันก็เป็นภูเขาใหญ่ ระหว่างที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่แต่ละชาติ เอากระดูก มารวมกัน ก็จะได้กระดูกเป็นภูเขาใหญ่ ยังจะต้องเวียนว่ายตายเกิดต่อไปในอนาคตอีกไม่รู้เท่าไหร่ ถ้าเป็นคนพาล วัฏสงสารมันก็ยาวออก ถ้าเป็นบัณฑิต วัฏฏสงสารมันก็สั้นเข้า มันค่อยยังชั่วหน่อย
 
          ความทุกข์ในปัจจุบันที่เกี่ยวกับการแสวงหาอาหารมาเลี้ยงชีพ อันนี้ก็เห็นกันอยู่ทุกคน ไม่ต้องไปพรรณนาอะไร ว่าถ้าไม่กินก็คงสบายขึ้นเยอะ แต่เพราะคนเราต้องกินนี่แหละ จะทำงานได้หรือไม่ได้ จะเจ็บ จะป่วยจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือคนแก่ มันก็ต้องกินทั้งนั้น จะมีรายได้หรือไม่มีรายได้ จะต้องมีการกิน เพราะโดยปกติธรรมดาแล้ว สพฺเพ สตฺตา อาหารฏฺฐิติกา สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นอยู่ได้ด้วยอาหาร ไม่มีอาหารก็อยู่ไม่ได้ ต้องตาย ไม่ว่าจะเป็นข้าวหรือน้ำ
 
          ที่จริงอินทรีย์ร่างกายมันจะตายอยู่ทุกวัน แต่เราช่วยมันไว้ทัน ถ้าช่วยไม่ทันก็ต้องตาย เหนื่อยจะตายอยู่แล้ว ก็พักเสีย หิวจะตายอยู่แล้ว ก็กินอาหารเสีย กระหายจะตายอยู่แล้ว ก็ดื่มน้ำเสีย มันจะตายอยู่ทุกวัน  ก็เป็นสังเวควัตถุ ชีวิตนี้จะตายอยู่ทุกวัน ถ้าหาน้ำอาหารมาบำบัดไม่ทัน หรือไปอยู่ในที่แคบไม่มีอากาศหายใจ มันก็อึดอัดจะตาย เราก็ช่วยเอาไว้ เปิดประตู เปิดหน้าต่าง ทำนั่นทำนี่ ช่วยเอาไว้ มันก็อยู่ต่อไปได้ แต่จริงๆ แล้วมันจะไม่อยู่ มันจะตายอยู่ทุกวัน
 
          เมื่อพูดถึงตอนนี้ พระพุทธเจ้าท่านก็ให้ระลึกถึงความตายทุกลมหายใจเข้าออก เราอาจจะหายใจเข้า แล้วไม่หายใจออกหนอ เราอาจจะหายใจออก แล้วไม่หายใจเข้าหนอ เคยถามคนที่เป็นโรคหืดแรงๆ ที่หายใจไม่ค่อยออก ท่านบอกว่าทรัพย์สมบัติในโลกนี้ ในเวลานั้นไม่ต้องการทั้งนั้น ขอต้องการอย่างเดียวว่าให้มัน หายใจออกได้และหายใจเข้าได้เท่านั้น
 
          แต่โดยเวลาปกติ เราก็ไม่รู้สึกคุณค่าของการหายใจ แก้แค้นกันจองเวรกัน ประหัตประหารกัน ทำให้คนอื่นหายใจไม่ออก คือทำให้เขามีทุกข์ พระพุทธเจ้า ได้พระนามว่าเป็นผู้ยังสัตว์ผู้หายใจไม่ออกให้หายใจออก เรียกว่าช่วยให้คน ที่มีความทุกข์หนักให้เบาลงหรือหายไป หายใจไม่ทั่วท้อง หายใจไม่ออก ให้หายใจออก
 
          ความทุกข์ในปัจจุบันเกี่ยวกับการหาอาหารมาเลี้ยงชีพ ลองดูให้กว้างๆ ไกลๆ ดูให้ทั่วๆ มองดูไปตามอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง มองดูไปในป่าละเมาะ มองดูในทุกหนทุกแห่ง เราจะเห็นทุกหนทุกแห่งมีการหากินอยู่ทั้งวันทั้งคืน ทำอะไรต่ออะไรมากมาย เพื่อจะได้ทำมาหากิน มันเป็นความทุกข์ชนิดหนึ่งของชีวิตที่แก้ไขค่อนข้างได้ยาก ถ้ายังกินอยู่ คนที่มั่งมีศรีสุข มีอันจะกิน ก็สบายไปหน่อยกับเรื่องกิน ไม่ต้องเดือดร้อนกับเรื่องกิน

หรือบางทีก็เดือดร้อนเหมือนกัน ไม่รู้จะกินอะไร มันมีเยอะเหลือเกิน เป็นทุกข์ เพราะไม่รู้จะกินอะไร แต่อีกพวกหนึ่งก็เป็นทุกข์เพราะไม่มีอะไรจะกิน ถ้าคิดได้อย่างนี้แล้ว เราจะไปผลาญทรัพยากรของสังคมของโลกได้อย่างไร เมื่อนึกถึงคนที่ไม่มีอันจะกิน เราจะไปกินฟุ่มเฟือยได้อย่างไร มันทำ  ไม่ได้อยู่ดี ไม่ได้นึกถึงปากท้องของตัว แต่นึกถึงปากท้องของผู้อื่น เรื่องพวกนี้คุยไปก็มีเยอะครับ คิดเอาเองบ้างก็แล้วกันครับ
 
          เมื่อพิจารณาสังเวควัตถุ 8 ประการนี้แล้ว จิตใจที่หดหู่ก็จะแช่มชื่น เบิกบาน ในการที่ได้บำเพ็ญความดี หรือสมณธรรม หรือคุณงามความดี คุณธรรมอันนี้ ก็ได้ชื่อว่าเป็นการปลอบจิตในสมัยที่ควรปลอบ ขอให้นึกถึง   บ่อยๆ นะครับ สังเวควัตถุ 8 ประการ
 
          ให้เพ่งจิตในกาลที่ควรเพ่ง
          คือ ในเวลาใดที่จิตของผู้บำเพ็ญเพียรไม่หดหู่ ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นไปสม่ำเสมอในอารมณ์ ดำเนินไปตามวิถีแห่งสมถะหรือวิปัสสนา ในเวลานั้น   ไม่ต้องประคองหรือข่มหรือปลอบจิต เพียงแต่เพ่งดูจิตเท่านั้นก็พอแล้ว เหมือนสารถีนั่งดูม้าซึ่งวิ่งเรียบร้อยเสมอ หรือเหมือนรถยนต์เข้าทางดีแล้ว เราวิ่งไปตรง ถนนตรง ผู้ขับขี่ก็เพ่งไปข้างหน้าอย่างเดียว ไม่ต้องทำอะไร เหยียบคันเร่งไว้เฉยๆ รถก็จะไปเอง
 
          เว้นการคบคนผู้มีจิตไม่มั่นคง อันนี้หมายความว่าเว้นจากการ คบหาสมาคมกับบุคคลที่มีอัธยาศัยไม่น้อมไปในการ บำเพ็ญสมถะ หรือ เนกขัมมะปฏิปทา ตอนนี้กำลังพูดถึงเรื่องสมาธิอยู่นะครับ คือการใฝ่หาความสงบ เว้นจากบุคคลที่มีกิจมาก มีธุระมาก จิตใจฟุ้งซ่าน มีจิตใจไม่มั่นคง
 
          คบหาบุคคลผู้มีจิตใจน้อมไปในทางสงบ มีธุระน้อย มีจิตใจมั่นคง มีอัธยาศัยน้อมไปในสมาธิ

 
          ทำความเพียรให้สม่ำเสมอ ถึงพร้อมด้วยอัปปนาโกศล 10 ประการ ตามที่กล่าวมาข้างต้น เป็นอัปปนาโกศล แปลว่า ความฉลาดในอัปปนา ในความแน่วแน่ของจิต 10 ประการ อัปปนาสมาธิก็จะเป็นไปสม่ำเสมอ ถ้าอัปปนายังไม่เกิดก็ไม่ควรละความเพียรเสีย ควรจะมีความพยายามเรื่อยไป เพราะว่าผู้ละความเพียรเสียแล้วจะบรรลุคุณวิเศษใดๆ ไม่ได้เลย
 
          เมื่อพยายามเรื่อยไป จิตก็จะถึงอัปปนา คือ ความแน่วแน่ก็จะเข้าปฐมฌาน ละองค์ 5 คือ นิวรณ์ 5 แล้วก็ประกอบด้วยองค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา วิตกในฌานนี้ไม่ใช่ความวิตกกังวล ไม่ใช่ความคิด หมายถึง การที่จิตจับอารมณ์ได้ เช่น เจริญอานาปานสติกรรมฐาน มีลมหายใจเป็นอารมณ์ ทีแรกๆ จิตมันจะจับลมหายใจไม่ได้ จิตมันจะแล่นไปแล่นมา วิ่งไปวิ่งมาวอกแวก ไม่อยู่กับลมหายใจ ทำไปๆ ก็จะแนบสนิทเป็นอันเดียวกัน ระหว่างจิตกับลมหายใจ เรียกว่า วิตก คือ จิตจับอารมณ์ได้ เหมือนกับเราจับเด็กซน วิ่งหนี ก็วิ่งจับ เหนื่อยนิดหน่อย แต่พอวิ่งไปๆ เด็กมันก็เหนื่อยเหมือนกัน ก็จับได้ จับแล้วก็เอามาแนบไว้กับอก อันนั้นคือ วิตก
 
          อารมณ์เปรียบเหมือนเด็ก จับอารมณ์ได้
 
          ต่อไปเราก็จะเคล้าคลึง ลูบผมลูบหลังเด็กด้วยความเมตตากรุณา นั่นคือ วิจาร ปีติก็ความอิ่มใจ สุขก็คือความสุขเย็น เอกัคคตาคือความเป็นอารมณ์เดียว แนบสนิทอยู่เป็นอัปปนา
 
          กุศล อกุศล ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
          สมาธิ เป็นปฏิปักษ์ต่อกามฉันทะ
          ปีติ เป็นปฏิปักษ์ต่อพยาบาท
          สุข เป็นปฏิปักษ์ต่ออุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญ
          วิตก เป็นปฏิปักษ์ต่อถีนมิทธะ ความคร้านกาย คร้านใจ คือถ้า จิตอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งโดยเฉพาะแล้ว ความคร้านมันจะไม่มี
          วิจาร เป็นปฏิปักษ์ต่อวิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
 

          ธรรมที่เกื้อกูลกัน
          ปีติ เมื่อแก่เต็มที่ คือมีมากก็ทำให้เกิดปัสสัทธิ ความสงบระงับ 2 ประการ คือ กายปัสสัทธิ ความสงบ ระงับทางกาย และจิตตปัสสัทธิ ความสงบระงับทางจิต
          ปัสสัทธิ เมื่อแก่เต็มที่ ก็จะก่อให้เกิดสุขกายสุขใจ
          ความสุขเมื่อมาก ก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ
          ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วคราว ชั่วขณะ
          อุปจารสมาธิ สมาธิจวนจะถึงฌาน
          อัปปนาสมาธิ สมาธิที่เป็นฌาน

 
          อุปจารสมาธิ เหมือนเราจับปลา จับแล้วหลุด จับแล้วหลุด จับได้ตัวมันแล้วแต่มันหลุดไป ทีนี้มันมีอยู่ครั้งหนึ่งที่มันจับได้ ปลาไม่หลุด นั่นคือ อัปปนาสมาธิ
 
          ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ นี่มันจะต่อเนื่องกันมา
 
          ปีติในองค์ฌาน เป็นผรณาปีติ ซาบซ่านไป   ทั้งตัวไปทั้งหมด ที่ท่านเปรียบเหมือนดอกบัวในน้ำ ไม่มีส่วนใดของดอกบัวที่ไม่สัมผัสน้ำเลย ทั่วทั้งดอกสัมผัสอยู่กับน้ำ แช่อยู่กับน้ำ ถ้าได้ฌานสูงๆ ขึ้นไป จตุตถฌาน จิตจะขาวผ่องเหมือนกับคนนั่งคลุมผ้าขาวอยู่ทั้งผืน
 
          ปีติและสุข ทั้ง 2 ประการนี้ บางแห่งก็ มาด้วยกัน แต่บางแห่งก็ไม่ได้มาด้วยกัน ในที่ใดมีปีติ ในที่นั้นมักจะมีสุข แต่ความสุขไม่จำเป็นต้องมีปีติเสมอไป เปรียบปีติเหมือนผู้เดินทางกันดาร ได้ข่าวว่าจะถึงชายป่า หรือถึงริมแม่น้ำ เพียงได้ข่าวนะครับ ส่วนสุขนั้นเหมือนบุคคลที่เดินทางกันดาร ถึงใต้ร่มไม้นั่งพักผ่อนตามสบายแล้ว ได้ดื่มน้ำแก้กระหายแล้ว อันนี้ความสุข ปีติกับสุข มันมีข้อที่ต่างกัน
 
          วสี 5
          การทำสมาธินี้ ให้ได้วสี 5 ก็จะเป็นประโยชน์กับจิตใจมาก
          อาวัชชนวสี ชำนาญในการนึก
          สมาปัชชนวสี ชำนาญในการเข้า
          อธิฏฐานวสี ชำนาญในการยับยั้งไว้ คือจะหยุดอยู่แค่ไหนก็หยุดอยู่ตรงนั้นได้ จะหยุดที่ฌานไหนก็หยุดได้
          วุฏฐานวสี ชำนาญในการออก
          ปัจจเวกขณวสี ชำนาญในการพิจารณา

 
          ดูลีลาการนิพพานของพระพุทธเจ้า ท่านชำนาญมากจะออกจากไหน จะอยู่ที่ไหนได้ทุกอย่าง เมื่อชำนาญในวิธีทั้ง 5 คือ วสีทั้ง 5 แล้ว ก็ให้พิจารณาถึงโทษของปีติและสุขว่ายังเป็นของหยาบ แล้วก็คลายปีติและสุขนั้นเสียจิตก็จะดำเนินต่อไปสู่ทุติยฌาน คือ ฌานที่ 2 และก็ในฌานอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกัน เมื่อเข้าถึงตติยฌาน ท่านเรียกว่า อุเปกขโก หมายความว่า ผู้เพ่งเฉยอยู่และประกอบด้วยอุเบกขาอันหมดจด
 
          ขอซ้ำอีกสักครั้งหนึ่งนะครับ สำหรับเรื่ององค์ 5 คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
 
          วิตกนั้น คือ การที่จิตแนบสนิทอารมณ์ ในภาษาตำราส่วนมาก ท่านจะใช้คำว่า "ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์" ฟังค่อนข้างยาก ก็คือว่า จิตแนบกับอารมณ์ เห็นว่าเราเจริญอานาปานสติกรรมฐาน แล้วธรรมดาจิตก็จะไม่แนบกับอารมณ์ คือจิตมันจะแล่นไป ท่องเที่ยวไป ไม่อยู่กับอารมณ์ จิตแนบอยู่กับอารมณ์สนิท คืออยู่กับลมหายใจเข้าออก นั่นเรียกว่า วิตก ในตำราทั่วไปท่านจะเปรียบการฝึกลูกวัว
 
          จิตเหมือนกับลูกวัว อารมณ์นั้นเปรียบเหมือนหลัก สติเปรียบเหมือนเชือก เอาเชือกเป็นสติ เชือกผูกลูกวัวแล้วก็นำมามัดไว้กับหลัก ลูกวัวคือจิต หลักก็คืออารมณ์ เช่น อานาปานสติ ทีแรกๆ วัวมันจะดิ้นไม่อยู่กับหลัก จะเวียนหลัก เวียนไปๆ ถ้าเผื่อหลักไม่ล้มแล้วเชือกไม่ขาด ลูกวัวก็จะค่อยๆ เวียนใกล้หลักเข้ามาทุกที คือเชือกมันจะสั้นเข้า ค่อยๆ ใกล้หลักเข้ามา ค่อยๆ มัดตัวเข้ามา ในที่สุดเชือกก็จะหมด แล้วลูกวัวก็จะหมอบลงกับหลัก เปรียบเหมือนจิตหมอบลงกับอารมณ์ คืออยู่แนบสนิทกับอารมณ์ เรียกว่า วิตก

          ตอนแรกผมเปรียบเหมือนคนวิ่งจับเด็ก อะไรเป็นอารมณ์ อะไรเป็นจิต อันนี้ก็เอาไปคิดเอาเองก็แล้วกัน เปรียบให้เห็นง่ายว่าเลี้ยงจิตคล้ายๆ เลี้ยงเด็ก   เด็กมันก็ซน เราก็ตามดู ถ้าไม่อันตราย เราก็ปล่อยไป ถ้าอันตรายก็ดึงกลับมา

 
          วิจารก็คือ การที่จิตเคล้าอยู่กับอารมณ์ ไม่ไปไหน บางทีท่านก็เปรียบวิตกเหมือนกับไม้ที่ตีระฆังไม้กระทบระฆัง แนบสนิทระฆังนั้นเป็นวิตก เสียงครางของระฆังนั้นก็เป็นวิจาร
 
          พูดถึงเรื่องฌาน องค์ของฌาน คือ ฌานที่ 1 ละองค์ 5 ก็คือ ละนิวรณ์ 5 ประกอบด้วยองค์ 5 ก็คือ ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา เอกัคคตา คือ ความแน่วแน่อัปปนามันมาก่อนแล้ว ต้อง มีความแน่วแน่อยู่ก่อนแล้ว เอกัคคตามันจะมีอยู่ตลอดไปทุกระดับของฌาน
 
          อุเบกขา 10 ประการ
          เมื่อชำนาญในวสี 5 แล้วก็พิจารณาถึงโทษ    ของปีติและสุขว่ายังหยาบ แล้วก็คลายปีติและสุขนั้น เข้าสู่ทุติยฌาน คือ ฌานที่ 2 ในฌานอื่นๆ ก็ทำนองเดียวกัน เมื่อเข้าถึงตติยฌาน ท่านก็จะเรียกว่า อุเปกขโก เป็นผู้วางเฉย เป็นผู้เพ่งเฉยอยู่ มีอุเบกขา อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน มีสติ มีสัมปชัญญะ อันนี้เป็นฌานที่ 3
 
          อุเบกขา 10 ประการ
          1. ฉฬังคุเบกขา อุเบกขาที่ประกอบด้วยองค์ 6 คือ การวางเฉยในอารมณ์ทั้ง 6 คือ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ในอารมณ์ทั้ง 6 ตาเห็นรูป หูฟังเสียง เป็นต้น

          2. พรหมวิหารุเบกขา การวางเฉยในพรหมวิหาร อุเบกขาที่กล่าวถึงในพรหมวิหารก็คือ วางใจเป็นกลาง เว้นอคติ 4 และวางเฉยในเหตุสุดวิสัยที่จะแก้ไขได้ มีเมตตาแล้ว กรุณาแล้ว มุทิตาแล้ว แต่ช่วยอะไรเขาไม่ได้ ก็ต้อง สพฺเพ สตฺตา กมฺมสฺสกา สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน วางใจเป็นกลางเสีย ตกลงใจว่าสุดแล้วแต่กรรมของเขา เว้นอคติ 4 ไม่ลำเอียง เพราะรัก เพราะเกลียด เพราะกลัว หรือเพราะหลง

          3. โพชฌังคุเบกขา อุเบกขาในโพชฌงค์ คือ อุเบกขาซึ่งอิงวิราคะ อิงวิเวก ก็ค่อนข้างสูงนะครับ


          4. วิริยุเบกขา อุเบกขาที่เกี่ยวกับความเพียร อันนี้หมายความว่า อุเบกขา คือ ทางสายกลางในการทำความเพียร ไม่หย่อนเกินไป ไม่ตึงเกินไป

          5. สังขารุเบกขา การวางเฉยในสังขาร ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5

          6. เวทนูเบกขา อุเบกขาในเวทนา หมายถึง อุเบกขาเวทนา คือ อทุกขมสุขเวทนา เป็นท่ามกลางระหว่างสุขและทุกข์ ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข

          7. วิปัสสนูเบกขา อุเบกขาที่เกี่ยวกับวิปัสสนาปัญญา อิงอาศัยพิจารณาไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

          8. ตัตรมัชฌัตตุเบกขา คือ การวางเฉยในอารมณ์นั้นๆ ทุกๆ อย่าง

          9. ฌานุเบกขา อุเบกขาในฌาน ในที่นี้ หมายถึง ตติยฌาน อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน มีอุเบกขาอยู่ มีสติและสัมปชัญญะ

          10.  ปาริสุทธุเบกขา อุเบกขาอันบริสุทธิ์ที่  เกี่ยวเนื่องในฌานที่ 4 นี่หมายถึงอุเบกขาในฌานที่ 4 เช่น คำว่า มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ อุเปกฺขา สติปาริสุทฺธึ จตุตฺถํ ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ เข้าสู่จตุตถฌาน ซึ่งมีสติบริสุทธิ์อยู่ เพราะอุเบกขา

 
          ผมอธิบายรายละเอียด 10 ข้อนี้ นิดหนึ่ง ในอุเบกขาทั้ง 10 ข้อนี้
          ข้อ 1  อุเบกขาในฉฬังคุเบกขา อุเบกขาในอารมณ์ทั้ง 6
          ข้อ 2  อุเบกขาในพรหมวิหาร
          ข้อ 3  อุเบกขาในโพชฌงค์
          ข้อ 8  อุเบกขาในตัตรมัชฌัตตา วางเฉยในสิ่งนั้นๆ ทุกประการ
          ข้อ 9 อุเบกขาในตติยฌาน
          ข้อ10  อุเบกขาในจตุตถฌาน

 
          รวมเป็น 6 อย่าง อุเบกขาทั้ง 6 อย่างนี้ รวมลง ในข้อ 8 ตัตรมัชฌัตตา หรือเป็นอย่างเดียวกัน แต่ที่แยกให้ต่างกันก็เพื่อให้เห็นการทำหน้าที่ที่ต่างกัน เหมือนคนๆ เดียวกันทำหน้าที่ต่างกัน หรือมีฐานะหน้าที่ต่างกัน หรือคนต่างวัยกันจึงแยกออกมา ที่จริงพูดถึงตัตรมัชฌัตตาข้อเดียว อีก 5 ข้อก็จะรวมลงไปได้หมด
 
          ต่อมาอีก 2 ข้อ สังขารุเบกขา ความวางเฉยในสังขารและวิปัสสนูเบกขา อุเบกขาในวิปัสสนา 2 ข้อนี้ก็เป็นอย่างเดียวกัน เป็นปัญญาเหมือนกัน แต่แยก เป็น 2 โดยหน้าที่ คือว่า เห็นไตรลักษณ์ ด้วยวิปัสสนา ปัญญา ด้วยวิปัสสนาญาณ แล้วก็วางเฉยในสังขาร เป็น สังขารุเบกขา การที่เห็นไตรลักษณ์ด้วยวิปัสสนาปัญญา ซึ่งเรียกว่า วิปัสสนูเบกขา แล้วก็วางเฉยในสังขาร เป็นสังขารุเบกขา 2 ข้อนี้รวมกันก็ได้ ที่แยกออกไปเพื่อให้มองเห็นการทำหน้าที่ที่ต่างกัน
 

          ต่อไปอีก 2 ข้อ คือ วิริยุเบกขา อุเบกขาที่เกี่ยวกับวิริยะ คือ ความเพียร กับเวทนูเบกขา อุเบกขาที่เกี่ยวกับเวทนา คือ อทุกขมสุขเวทนา อันนี้จะ ต่างกันโดยสิ้นเชิง คือ ไม่เกี่ยวข้อง ความเพียรพอดี ไม่หย่อนไม่ตึง นั่นคืออย่างหนึ่ง แล้วก็เวทนาที่ไม่สุข ไม่ทุกข์ อีกอย่างหนึ่ง 2 ข้อนี้ต่างกัน
 
          นี่เทียบให้ดู เพ่งพิจารณาดูแล้วก็เทียบให้ดูว่าทั้ง 10 อย่างนี้มันเป็นอย่างเดียวกันหรือรวมลงในข้อเดียวกันถึง 5 - 6 อย่าง อีก 2 อย่างก็เป็นอย่างเดียวกัน แล้วที่ต่างกันจริงๆ ก็มี 2 ข้อ นอกจากนั้นก็จะคล้ายคลึงกันหรือว่าต่อเนื่องถึงกัน
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2011, 10:12:48 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 10:06:57 am »
0
          เนื่องจากอุเบกขาที่กล่าวถึงในตติยฌานนี้มีความหมายมาก ได้มีความสำคัญเป็นอันมาก ผมจะให้รายละเอียดอีกนิดหนึ่งว่า
 
          ท่านที่ได้รูปฌานที่ 3 คือ ตติยฌานและอรูปฌานที่ 3 คือ อากิญจัญญายตนฌาน จะเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติพิเศษมากเลย คือ มีความสุข ความอดทน ความวางเฉย และความมั่นคงเป็นอย่างยิ่ง กระแสของตติยฌาน ทำให้อารมณ์ต่างๆ ทั้งดีและชั่วสะท้อนกลับ (ตรงนี้ขอให้ทำความเข้าใจให้ดีและเป็นประโยชน์มากเลย) ไม่อาจจะแทรกซึมเข้าสู่จิตใจของท่านผู้มีฌานนี้ได้ เพราะท่านผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา สติ สัมปชัญญะ อย่างเต็มที่และมีความสุขอย่างยิ่ง
 
          อุเปกฺขโก จ วิหรติ สโต จ สมฺปชาโน อุเปกฺขโก สติมา สุขญฺจ วิหรติ
          ส่วนท่านที่ได้อากิญจัญญายตนฌาน คือ อรูปฌานที่ 3 นั้น เป็น ผู้ที่มีกำลังใจแกร่งกล้าอย่างยิ่ง ไม่หวั่นไหวต่อความรักหรือความชังของใคร เป็นผู้ดำรงอยู่ในอุเบกขาธรรมได้อย่างดียิ่ง ท่านไม่ชอบสิ่งใดไม่ชังสิ่งใดในโลก สภาพจิตเช่นนี้เป็นที่ต้องการของผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาทั้งหลาย และสภาพจิตเช่นนี้เหมือนกันที่ทำให้

นักพรต มักจะหลงผิดคิดว่าได้บรรลุถึงอริยภูมิแล้ว (ท่านกำหนด คำว่าอริยภูมิให้ดีนะครับ ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ตั้งแต่ โสดาปัตติผลขึ้นไป เรียกว่า อริยภูมิ) ทำให้ท่านเหล่านี้เข้าใจผิดคิดว่าบรรลุถึงอริยภูมิแล้วด้วยสภาพจิตเช่นนี้ แต่พอเลิกบำเพ็ญจึงได้รู้ว่าตนยังไม่ถึง อริยภูมิ เพราะว่าฌานเป็นสิ่งที่ต้องรักษาอยู่เสมอ พอเลิกทำก็เสื่อม เหมือนคนกินยาคุมโรคไว้ พอเลิกกินยาโรคก็กำเริบต่อไป

 
          ส่วนสภาพจิตของท่านผู้ถึงอริยภูมิแล้ว คงมั่นคง อยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนคนหายจากโรคแล้ว หยุดกินยาโรคก็ไม่กำเริบขึ้นอีก เป็นสิ่งที่น่าต้องการกว่าเยอะเลย
 
          นี่เป็นเรื่องของอุเบกขา 10 นะครับ
 
          ขอสรุปเรื่องโพชฌงค์ 7 สักหน่อย กล่าวโดยสรุป

          1.  สติที่รู้เท่าทันอารมณ์ทั้ง 6 ก็เป็นสติสัมโพชฌงค์ คือให้สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน

          2.  ปัญญาที่เลือกเฟ้นธรรมที่เป็นกุศล อกุศล ควรละ ควรบำเพ็ญ มีเหตุผลพร้อมบริบูรณ์ เป็นธรรมวิจัยสัมโพชฌงค์ คือเลือกเอาส่วนที่ดีไว้ ทิ้งส่วนที่ไม่ดีไป


          3.  ความเพียร ประคองจิตให้อยู่ในกุศลธรรมสม่ำเสมอ ระวังบาปอกุศล เพียรละบาปอกุศลที่เกิดแล้ว เพียรพยายามให้กุศลที่ยังไม่เกิดได้ เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญยิ่งขึ้นไป แล้วก็รักษาไว้ไม่ให้เสื่อม นี่เป็นวิริยะสัมโพชฌงค์

          4.  เมื่อปีติเกิดขึ้น อันเนื่องมาจากธรรมทั้ง 3 แล้ว ก็กำหนดรู้ปีติว่ายังหยาบนัก เป็นวิปัสสนูปกิเลสเครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนา เมื่อกำหนดรู้ว่าปีติยังหยาบนัก ปีติก็คลายลง เป็นปัสสัทธิ คือ ความสงบกายสงบใจ มีความสุขอันประณีต เป็นนิรามิสสุข คือ สุขที่ไม่อิงอาศัยอามิส แต่อิงอาศัยธรรม อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ คือคลายความกำหนัดย้อมใจ จัดเป็นปัสสัทธิสัมโพชฌงค์
 

          จิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวไปตามความยั่วยวนต่างๆ เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์
 
          ความวางเฉยหรือจิตวางเฉยอยู่เพ่งดูจิต ประกอบด้วยสมาธิ อาศัย วิเวก อาศัยวิราคะนั้น เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์
 
          ท่านจะพบว่าธรรมทั้ง 7 ประการที่เป็นโพชฌงค์จะสืบเนื่องหรือต่อกัน ทยอยส่งกันมาโดยลำดับ แล้วก็ประคับประคองจิตเพื่อให้รู้หรือเข้าถึงโพธิ คือ ปัญญาที่ไร้ทุกข์ ก็มีความสุขที่เป็นนิรามิส สุขที่ไม่เจือด้วยอามิส
 
          ผมจะพูดถึงวิปัสสนูปกิเลส เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้บำเพ็ญวิปัสสนา เพราะว่าผู้เจริญวิปัสสนาทุกคนจะต้องมาพบกับสิ่งนี้ ถ้าเดินทางถูก
 
          เมื่อผู้บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนาอยู่โดยชอบหรือว่าทำถูกทาง ไม่ใช่ เดินผิดทาง แล้วก็ยังไม่ได้สำเร็จมรรคผลนั่นเอง ทำไปๆ วิปัสสนูปกิเลส ธรรมเครื่องเศร้าหมองของวิปัสสนาก็จะเกิดขึ้น
 
          วิปัสสนูปกิเลส มี 10 ประการ

          1.  โอภาส คือ แสงสว่าง บางท่านก็เกิดแสงสว่างขึ้น ใกล้ๆ ที่นั่งหรือบริเวณที่นั่ง บางท่านก็ไกลออกไปทั่วห้อง บางท่านก็ไปได้ไกลเป็นโยชน์ก็มี บางท่าน ก็แสงสว่างมากกว่านั้น
          2.  ปีติ ความเอิบอิ่ม
          3.  ปัสสัทธิ ความสงบกาย กายสงบนุ่มนวล ไม่แข็งกระด้าง ไม่เหน็ดเหนื่อย

          4.  อธิโมกข์ ความน้อมใจเชื่อหรือศรัทธาที่แรงกล้าต่อการปฏิบัติ
          5.  ปัคคาหะ ความเพียรอันรุดไปข้างหน้าไม่รู้สึกเบื่อ
          6.  ญาณ คือ ความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติ

เรื่องนี้มีคนเคยถามว่า ไม่ต้องเรียนอะไร ปฏิบัติไปก็จะรู้ไปเอง ไม่ต้องเรียนปริยัติ ก็คงจะมาถึงตรงนี้นะครับ วิปัสสนูปกิเลส ข้อญาณ คือ ความรู้ใหม่เกิดขึ้น แต่ทีนี้ก็รู้เฉพาะเรื่องนั้น รู้เฉพาะเรื่องบางเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่จะรู้เรื่องอื่นด้วย เรื่องอะไรที่มันจะต้องรู้ด้วยการเรียนก็ต้องเรียน ถ้าไม่เรียนก็ไม่รู้

เหมือนช่างเหล็กหรือช่างทองตีเหล็กไปทำทองไปก็จะมีความรู้เรื่องเหล็กเรื่อง ทองเพิ่มขึ้น ช่างทำรถยนต์ทำไปๆ ก็มีความรู้เรื่องรถยนต์มากขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะไปรู้เรื่องเครื่องบินด้วย เรื่องเรือยนต์ด้วย มีแต่รู้เรื่องรถยนต์นั่นแหละเพิ่มขึ้น จะเป็นความรู้ใหม่ๆ จากการปฏิบัติ เป็นภาวนามยปัญญา นี่ขอได้โปรดเข้าใจตามนี้ด้วย มี


คนมาซักถามผมอยู่เป็น ชั่วโมงเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่าไม่ต้องเรียนธรรมะ ให้ปฏิบัติไปเถอะแล้วจะรู้เอง ก็ถามว่า รู้
อะไรๆ ผมบอกว่า ก็รู้สิ่งที่เขาทำนั่นแหละ สิ่งที่เขาไม่ทำก็ไม่รู้ ปฏิบัติก็รู้เรื่อง ปฏิบัติ อย่างที่เปรียบให้ฟังนั่นแหละว่า ถ้าเราทำอะไรกับสิ่งใดทุกวัน ก็รู้เรื่องนั้นเพิ่มขึ้น แต่เรื่องอื่นมันไม่รู้

          ฉะนั้นในตำราของเราบอกว่า พระอรหันต์ วิปัสสนา ท่านรู้ในเรื่องการละกิเลส การหมดกิเลส รู้ในความสิ้นกิเลส แต่จะให้ไปรู้เรื่องอื่นด้วย ท่านไม่รู้ ถ้าจะรู้ปริยัติ ท่านก็ต้องมาเรียนกับพระปุถุชนที่รู้ปริยัติ พระอรหันต์ยังต้องเรียนธรรมะ เรียกว่า ภัณฑาคาริกปริยัติ เรียนไว้สำหรับเป็นประโยชน์แก่      ผู้อื่น ไม่ใช่ประโยชน์กับตัวท่านเอง

          7. ความสุขความสบายกายสบายใจ
          8.  อุปัฏฐาน ความปรากฏขึ้นของสิ่งต่างๆ ซึ่งต้องการรู้เห็นเหมือนได้ทิพจักษุ อันนี้ก็ยิ่งยั่วยวนใหญ่นะครับ
          9.  ความวางเฉย
          10.  นิกันติ ความใคร่ ความพอใจ ความยินดีในสิ่งนั้น

 
          เมื่อวิปัสสนูปกิเลส 10 ประการเกิดขึ้น ผู้บำเพ็ญเพียรก็มักจะเข้าใจผิดว่าตนได้บรรลุมรรคผล แล้ว ก็มักจะหลงใหลเพลิดเพลินอยู่กับวิปัสสนูปกิเลส นั้น ในที่สุดก็พลาดจากทาง วิปัสสนูปกิเลสนี้เหมือนมารที่มายั่วยวนให้หลงทาง คือให้พลาดจากทาง ชวนให้ แวะไปทางอื่น ไม่ไปสู่ทางที่จะให้บรรลุธรรม
 
          ส่วนผู้ปฏิบัติที่มีสติสัมปชัญญะดี พิจารณาอยู่เสมอว่านี้ไม่ใช่ทาง แล้วก็พยายามละวิปัสสนูปกิเลสทำความเพียรรุดหน้าต่อไป
 
          นี่คือ ถ้าเป็นวิสุทธิ 7 ก็จัดเป็นมัคคามัคค-ญาณทัสสนวิสุทธิ แปลว่า ความบริสุทธิ์แห่งการรู้เห็นว่าอะไรคือทาง อะไรไม่ใช่ทาง ก็ละวิปัสสนูปกิเลสนี้เสียก็จะเข้าทางได้



หนังสือ วิธีทำจิตให้บริสุทธ์ (อ.วศิน อินทสระ)
ที่มา  http://www.ruendham.com/book_detail.php?id=60&content=804&name_content=%B7%D3%A8%D4%B5%E3%CB%E9%BA%C3%D4%CA%D8%B7%B8%D4%EC%20%C7%D4%B8%D5%B7%D5%E8%207.%20%C0%D2%C7%B9%D2&key_run=1085


ยังไม่จบครับ มีอีกเยอะ อดใจรอสักนิด :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 18, 2011, 10:17:49 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 11:08:27 am »
0
โพชฌงค์ ชุดนี้ พิศดารจริง ๆ ครับ อ่านเป็นชม. เลยครับ

ผมสนใจ คำนี้ครับ

  8. ตัตรมัชฌัตตุเบกขา คือ การวางเฉยในอารมณ์นั้นๆ ทุกๆ อย่าง

  เพราะได้ยินพระอาจารย์เคยพูดถึง อุเบกขา อันนี้บ่อย ๆ ครับ

  :25:
บันทึกการเข้า

มะเดื่อ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 181
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: มกราคม 18, 2011, 11:18:06 am »
0
ถ้าพิจารณาตามที่พระอาจารย์ แนะนำท่านเน้น เหตุคือ 3 องค์

  คือ 1. สติสัมโพชฌงค์

      2. ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์

      3. วิริยะสัมโพชฌงค์


    :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 09:21:19 pm »
0
โพชฌงค์ พุทธวิธีเสริมสุขภาพ 
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


วันก่อนนี้โยมได้ปรารภทำนองอาราธนาว่า ถ้าอาตมภาพแสดงเรื่องโพชฌงค์ก็คงจะดี
โพชฌงค์นี้ เป็นหลักธรรมสำคัญหมวดหนึ่ง ญาติโยมหลายท่านรู้จักในชื่อที่เป็นบทสวดมนต์ เรียกว่าโพชฌงคปริตร และนับถือกันมาว่าเป็นพุทธมนต์สำหรับสวดสาธยายเพื่อให้คนป่วยได้สดับตรับฟัง แล้วจะได้หายโรค
ที่เชื่อกันอย่างนี้


ก็เพราะมีเรื่องมาในพระไตรปิฎกเล่าว่า พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยอาพาธและพระพุทธเจ้าเสด็จไปเยี่ยม แล้วทรงแสดงเรื่องโพชฌงค์นี้ ตอนท้ายพระมหากัสสปเถระก็หายจากโรคนั้น

อีก คราวหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะ ซึ่งเป็นอัครสาวกฝ่ายซ้ายก็อาพาธ และพระพุทธเจ้าเสด็จไปเยี่ยม ก็ได้ทรงแสดงโพชฌงค์นี้อีก แล้วพระมหาโมคคัลลานะก็หายโรค

อีกคราวหนึ่ง พระพุทธองค์เองทรงอาพาธ ก็ตรัสให้พระมหาจุนทะ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่รูปหนึ่งแสดงโพชฌงค์ถวาย แล้วพระพุทธเจ้าก็หายประชวร จากเรื่องราวที่กล่าวถึงนี้ พุทธศาสนิกชนก็เลยเชื่อกันมาว่า บทโพชฌงค์นั้น สวดแล้วจะช่วยให้หายโรค


แต่ที่เราสวดกันนี้เป็นการสวดคำบาลี ผู้ฟังก็ฟังไป ซึ่งบางทีอาจจะไม่เข้าใจเนื้อความก็ได้ แต่ที่ท่านแสดงในพระ ไตรปิฎกนั้น ท่านแสดงเนื้อหาคือตัวหลักธรรม และธรรมะที่แสดงนั้นเป็นธรรมเกี่ยวกับปัญญา เป็นธรรมะขั้นสูง ซึ่งความจริงก็เป็นเรื่องของการทำใจให้สว่าง สะอาด ผ่องใส เป็นการรักษาใจ
 
พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
เป็นธรรมดาว่ากายกับใจนั้นเป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน พอกายเจ็บป่วยไม่สบาย คนทั่วไปก็มักจะพาลจิตใจไม่สบาย เศร้าหมอง กระวนกระวาย กระสับกระส่ายไปด้วย และในทำนองเดียวกัน เมื่อจิตใจไม่สบายก็พลอยให้กายไม่สบายไปด้วย เริ่มต้นตั้งแต่รับประทานอาหารไม่ได้ ร่างกายเศร้าหมอง ผิวพรรณซูบซีด เป็นสิ่งที่เนื่องอาศัยกัน

ในทางตรงข้าม คือในทางที่ดี ถ้าจิตใจดี สบาย บางทีก็กลับมาช่วยกาย เช่นในยามเจ็บป่วย ถ้าจิตใจสบาย เช่น มีกำลังใจ หรือจิตใจผ่องใสเบิกบาน โรคที่เป็นมากก็กลายเป็นน้อย หรือที่จะหายยากก็หายง่ายขึ้น ยิ่งถ้าหากว่า กำลังใจที่ดีนั้นมีมากถึงระดับหนึ่ง ก็ไม่เพียงแต่ทำให้โรคบรรเทาเท่านั้น แต่อาจจะช่วยรักษาโรคไปด้วยเลย ทั้งนี้ก็อยู่ที่ว่าจะช่วยทำใจของเราหรือรักษาใจของเราได้มากแค่ไหน

พระพุทธเจ้าและพระมหาสาวกนั้น ท่านมีจิตใจที่พัฒนาให้ดีงามเต็มที่ มีสุขภาพด้านจิตที่สมบูรณ์แล้ว เมื่อถึงเวลาที่ต้องการ ก็จึงเรียกเอาด้านจิตมาช่วยด้านกายได้เต็มที่ ถ้าไม่เหลือวิสัยของเหตุปัจจัย ก็เอาของดีที่มีในใจออกมารักษากายที่เป็นโรคให้หายไปได้

หลักโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป ไม่เฉพาะสำหรับผู้ป่วยเท่านั้น ถ้าวิเคราะห์ดูความหมายของศัพท์ ก็จะเห็นว่าศัพท์เดิมนั้นท่านมีความมุ่งหมายอย่างไร
 
โพชฌงค์มา จากคำว่า โพชฺฌ กับ องฺค หรือโพธิกับองค์ จึงแปลว่า องค์แห่งผู้ตรัสรู้ หรือองค์แห่งการตรัสรู้ก็ได้ พูดตามศัพท์ก็คือองค์แห่งโพธิ หรือองค์แห่งโพธิญาณนั่นเอง หมายถึงองค์ประกอบหรือหลักธรรมที่เป็นเครื่องประกอบของการตรัสรู้หรือองค์ ประกอบแห่งโพธิญาณ แสดงว่าหลักธรรมนี้สำคัญมาก เพราะเป็นธรรมที่จะช่วยให้เกิดการตรัสรู้

การตรัสรู้นั้นเป็น เรื่องของปัญญา ปัญญาคือความรู้ความเข้าใจขั้นที่จะทำให้ตรัสรู้นี้ มีความหมายลึกซึ้งลงไปกล่าวคือ การตรัสรู้นั้นหมายถึงว่า

 
ประการที่ ๑ รู้แจ้งความจริงของสิ่งทั้งหลาย เห็นสว่างโล่งทั่วไปหมด ไม่มีจุดหมองจุดมัว เพราะความรู้นั้นชำระใจให้หมดกิเลส ให้บริสุทธิ์ด้วย เพราะฉะนั้น ปัญญาตรัสรู้นี้จึงหมายถึงความรู้บริสุทธิ์ หรือความรู้ที่เป็นเหตุให้เกิดความบริสุทธิ์

ประการที่ ๒ ปัญญาที่ทำให้ตรัสรู้นี้ทำให้เกิดความตื่น คือ เดิมนั้นมีความหลับอยู่ คือมัวเพลิน มัวประมาทอยู่ ไม่ลืมตาลืมใจดูความเป็นจริง และมีความหลงใหล เช่น มีความหมกมุ่นมัวเมายึดติดในสิ่งต่าง ๆ เมื่อปัญญารู้แจ้งความจริง ตรัสรู้แล้วก็กลายเป็นผู้ตื่นขึ้น พ้นจากความหลับ จากความประมาทมัวเมา พ้นจากความยึดติดต่าง ๆ พูดสั้น ๆ ว่า ตื่นขึ้นทั้งจากความหลับใหลและจากความหลงใหล
 
และประการที่ ๓ จากการที่บริสุทธิ์และตื่นขึ้นมานี้ ก็ทำให้จิตใจของผู้นั้นมีความเบิกบานผ่องใส ปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ อันนี้คือสภาพจิตที่ดีงาม ถ้าเรียกในสมัยปัจจุบันก็ว่าเป็นสุขภาพจิตที่ดีมาก ถ้าท่านผู้ใดก็ตามได้มีสุขภาพจิตอย่างนี้แล้ว แม้จะไม่ถึงขั้นหมดกิเลสโดยสิ้นเชิง ก็นับว่าเป็นผู้มีความสุขมาก
 

ถ้าเป็นผู้ป่วยไข้ก็เรียกว่ามีสภาพจิตที่เหมือนกับไม่ได้ป่วย ดังที่พระพุทธเจ้าเคยตรัสสอนท่านผู้สูงอายุ ท่านผู้เจ็บป่วยกระเสาะกระแสะ กระสับกระส่ายในวัยชราว่า ให้ทำใจว่า ถึงแม้กายของเราจะป่วย แต่ใจของเราจะไม่ป่วยด้วย

ถ้าทำได้อย่างนี้ ก็จะเป็นจิตใจที่มีความสุข และก็จะช่วยผ่อนคลาย ห่างหายจากโรคนั้น หรืออย่างน้อยก็บรรเทาทุกขเวทนาที่เกิดจากโรคนั้นลงได้ อันนี้คือการอธิบายความหมายของคำว่า โพชฌงค์ ที่แปลว่าองค์แห่งการตรัสรู้
 
องค์แห่งการตรัสรู้และสุขภาพที่สมบูรณ์
ต่อจากนี้ก็ควรจะมาสำรวจกันว่า หลักธรรมที่เป็นองค์ประกอบของการตรัสรู้นั้นมีอะไรบ้าง และมีความหมายอย่างไร โพชฌงค์มี ๗ ประการด้วยกัน เรียกกันว่า โพชฌงค์ ๗ เหมือนอย่างที่บอกไว้ในบทสวดมนต์ว่า โพชฌังโค สะติ สังขาโต... โพชฌงค์ เริ่มด้วย

องค์ที่ ๑ คือ สติ
องค์ที่ ๒ คือ ธัมมวิจยะ
องค์ที่ ๓ คือ วิริยะ
องค์ที่ ๔ คือ ปีติ
องค์ที่ ๕ คือ ปัสสัทธิ
องค์ที่ ๖ คือ สมาธิ
องค์ที่ ๗ คือ อุเบกข


รวมเป็นองค์ธรรมที่เรียกว่า โพชฌงค์ ๗ ประการด้วยกัน ทีนี้ลองมาดูความหมายเป็นรายข้อเสียก่อน
ใน หลักธรรมที่เรียกว่า “ โพชฌงค์ ” หรือองค์แห่งการตรัสรู้นั้น การตรัสรู้เป็นจุดหมายที่ต้องการ องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ก็เปรียบเสมือนเครื่องมือที่จะช่วยให้บรรลุจุดหมาย ที่ต้องการ ก่อนที่จะใช้เครื่องมือก็ต้องทำความรู้จักกับเครื่องมือหรือุปกรณ์ก่อนว่า อุปกรณ์แต่ละอย่างนั้นมีอะไรบ้าง จะใช้สำหรับทำอะไร

องค์ประกอบที่ ๑ “ สติ ” สติเป็นธรรมที่เรารู้จักกันดี แปลว่าความระลึกได้ ระลึกได้อย่างไร ท่านบอกว่าสตินั้นมีลักษณะที่เป็นเครื่องดึงจิตไว้กับสิ่งนั้น ๆ ซึ่งภาษาธรรมเรียกว่า “ อารมณ์ ” ดึงจิตหรือกุมจิตไว้กับอารมณ์
อารมณ์ ในที่นี้ก็คือ สิ่งที่เราต้องเกี่ยวข้องทุกอย่าง สิ่งที่เรารับรู้ สิ่งที่ใจเรานึกถึงได้ เรียกว่า “ อารมณ์ ” ไม่ใช่

อารมณ์อย่างในภาษาไทย ในที่นี้เพื่อกันความสับสนกับ ภาษาไทยก็จะพูดว่า สิ่ง แทนที่จะพูดว่า อารมณ์
สติมีหน้าที่ดึงหรือตรึงจิตไว้กับสิ่งนั้น ๆ ถ้าเราจะทำอะไรก็ให้จิตระลึกถึงสิ่งนั้น ดึงเอาไว้เหมือนกับเชือก สมมติว่ามีหลักปักไว้ และมีสัตว์ตัวหนึ่ง เป็นต้นว่าลิง ถูกเชือกผูกไว้กับหลักนั้น จิตของเรานี้เปรียบเทียบได้กับลิงเพราะว่าวุ่นวายมาก ดิ้นรนมาก อยู่ไม่สุข ท่าน


เปรียบว่าต้องผูกลิงเอาไว้กับหลัก มิฉะนั้นลิงก็จะหนีไป ไม่อยู่กับที่ หรือหลุดหายไปเลย สิ่งที่จะผูกลิงก็คือเชือก เมื่อเอาเชือกมาผูกลิงมัดไว้กับหลัก ลิงไปไหนไม่ได้ ก็วนอยู่กับหลักหรือใกล้ ๆ หลัก

ท่านเปรียบในทางธรรมว่าจิตนั้น เหมือนกับลิง หลักที่ผูกไว้นั้น เหมือนกับสิ่งที่เราเกี่ยวข้อง ต้องทำในขณะนั้น จะเป็นกิจที่ต้องทำ หรือเป็นธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็คือหลักนั้น เชือกที่ผูกก็คือสติ สติเป็นตัวที่ผูกจิตไว้กับหลักหรือสิ่งนั้นดึงไว้ คุมไว้ กำกับไว้ ไม่ให้หลุดหายไป

ถ้าเป็นสิ่งเฉพาะหน้า ซึ่งปรากฏอยู่หรือโผล่เข้ามา ก็เพียงแต่ดึงจิตไว้กับสิ่งนั้น ๆ กุมไว้ กำกับไว้ไม่ให้หลุดลอยหรือผ่านหายไปไหน อย่างที่พูดกันว่า เวลาทำอะไรก็ให้ระลึกไว้
คือคอยนึกถึงสิ่งที่เรากำลังทำนั้น นึกถึงอยู่เรื่อย ๆ ให้สิ่งนั้นอยู่ในการรับรู้หรืออยู่กับจิตของเรา ไม่ให้คลาดไม่ให้พลัดกันไป อย่าให้สิ่งนั้นหลุดหาย หรืออย่าให้จิตของเราฟุ้งซ่านล่องลอยไปที่อื่น

แต่ทีนี้ ถ้าสิ่งนั้นอยู่ห่างไกลออกไป ไม่ปรากฎอยู่ เช่น เป็นเรื่องอดีตผ่านไปแล้ว ยกตัวอย่างเช่น ธรรมคือคำสอนที่ได้ฟังมาก่อนหรือสิ่งที่ได้เล่าเรียนไว้ เมื่อหลายวันหรือหลายเดือนมาแล้ว สิ่งนั้นอยู่ห่าง สติก็ทำหน้าที่ดึงเอามา เมื่อกี้ดึงไว้ไม่ให้ไปไหน ให้อยู่กับสิ่งนั้น ทีนี้ถ้าสิ่งนั้นอยู่ห่างก็ดึงเอามา หรือดึงจิตไปไว้กับสิ่งนั้น ให้ไปอยู่ด้วยกัน นี่คือสิ่งที่เรียกว่า สติ

สติดึงเอาจิตมา กำกับไว้กับสิ่งที่ต้องการ หรือสิ่งที่เราควรจะเกี่ยวข้อง ทำให้สิ่งนั้นอยู่ในการรับรู้ของจิต ไม่หลุดลอย ไม่หล่นหาย ไม่พลัดกันไปเสีย นี้คือหน้าที่ของสติ ประโยชน์ของสติก็อยู่ตรงนี้ อันนี้คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่เรียกว่า องค์ประกอบที่ ๑ ได้แก่ สติ

องค์ประกอบที่ ๒ “ ธัมมวิจยะ ” หรือ “ ธรรมวิจัย ” แปลว่า การวิจัยธรรม วิจัย นั้นแปลว่า การเฟ้นหรือเลือกเฟ้น คือการใช้ปัญญาไตร่ตรอง พิจารณา สอดส่อง ค้นคว้าธรรม ก็คือความจริง ความถูกต้อง สิ่งที่ดีงาม สิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล หรือคำสอนที่ให้

ความรู้เกี่ยวกับความจริง ความถูกต้องดีงาม และสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลนั้น สิ่งนั้นอาจจะอยู่ต่อหน้าก็ได้ เช่นเรามองเห็นอะไรอยู่ข้างหน้าหรือขณะนี้ เรากำลังเผชิญกับอารมณ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เราก็เฟ้น คือมองค้นหาให้เห็นธรรม เฟ้นเอาธรรมออกมาให้ได้ หรือมองให้เป็นธรรม

ถ้ามองไม่ดี ใจของเราก็วุ่นวาย ปั่นป่วน กระวนกระวาย เดือดร้อน แต่ถ้ามองให้ดี ถึงแม้สิ่งนั้นคนทั่วไปเขาว่าไม่ดี ไม่ชอบใจ เมื่อจำเป็นที่เราจะต้องเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นเฉพาะหน้าแล้ว เราก็มองให้มันเป็นธรรมไป หรือมองให้เห็นธรรมขึ้นมา ทำแบบนี้ก็เป็นธรรมวิจัยอย่างหนึ่ง เรียกว่ามองอะไรก็ได้ ถ้ามองดีแล้วมันเป็นธรรม หรือทำให้เห็นธรรมได้หมด


เหมือนอย่าง อาจารย์ที่สอนธรรมบางท่าน ท่านเน้นในเรื่องนี้ว่า มองอะไรให้เห็นเป็นธรรม มองใบไม้ อิฐ ดิน อะไรก็เป็นธรรมหมด ถ้ามองไม่ดี อะไร ๆ ก็เป็นอธรรมไปหมด ทำให้ใจของเราเสียหาย เช่นเห็นคนไม่น่าดู ถ้ามองไม่ดีก็เกิดโทสะ แต่ถ้ามองให้ดีอาจจะเกิดกรุณา เกิดความสงสาร อย่างนี้เป็นต้น

หรือ อย่างพระเถรีท่านหนึ่งในสมัยพุทธกาล ถึงวาระมีหน้าที่ไปจัดอุโบสถก็ไปจุดเทียนขึ้น แสงเทียนสว่าง มองที่เปลวเทียนนั้น เห็นความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป พอมองอย่างนี้ก็เห็นธรรม ทำให้เกิดปัญญาขึ้นมา

ฉะนั้น สิ่งทั้งหลายนี้อยู่ที่เรามอง จึงต้องรู้จักมอง มองให้ดี มองให้เป็น มองให้เห็นธรรม หรือมองให้เป็นธรรม
ทีนี้ประการต่อไป ธรรมวิจัยนั้นพิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่สติดึงมา อย่างที่อาตมภาพได้กล่าวเมื่อกี้ว่า เราอาจจะใช้

สติดึงสิ่งที่อยู่ห่างไกล เช่น สิ่งที่เราได้เล่าเรียนมาแล้ว ได้ฟังมาก่อนแล้ว อาจเป็นธรรมคำสอนต่าง ๆ เข้ามาสู่จิตแล้วก็ใช้ปัญญาพิจารณาเฟ้นหาความหมาย เฟ้นหาสาระเลือกเฟ้นเอามาใช้ให้เหมาะหรือให้ตรงกับที่ต้องการจะใช้ให้ได้ผล


เช่น เวลาเราอยู่นิ่ง ๆ ว่าง ๆ เราก็ระลึกนึกถึง ทบทวนธรรมที่ได้เล่าเรียนมาแล้ว เอามาเลือกเฟ้น นำมาใช้ให้ถูกกับโอกาส ใช้ให้เหมาะกับกิจเฉพาะหน้าหรือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของเราให้ถูกต้องได้ ให้พอดี การเลือกเฟ้นออกมาให้ถูกต้องนี้ก็เรียกว่าธรรมวิจัยเหมือนกัน แม้กระทั่งว่า เฟ้นให้รู้ว่าความหมายของหลักธรรมนั้นคืออะไร ใน
กรณีนั้น ๆ มุ่งเอาแง่ไหน อย่างนี้ก็เรียกว่า “ ธรรมวิจัย ”

องค์ประกอบที่ ๓ “ วิริยะ ” วิริยะ แปลว่าความเพียร ความเพียรนี้แปลตามศัพท์ว่า ความเป็นผู้กล้าหาญหรือความแกล้วกล้า วิริยะหรือวีริยะก็มาจาก วีระ ได้แก่ความเป็นวีระ อย่างที่เราพูดกันในคำว่า วีรชน วีรบุรุษ วีรสตรี เป็นต้นนั่นเอง


วิริยะ หรือความแกล้วกล้านี้ หมายถึงพลังความเข้มแข็งของจิตใจ ที่จะเดิน ที่จะก้าวหน้า
ต่อไป ถึงจะเผชิญอุปสรรค ความยุ่งยาก ความลำบาก ถึงจะเป็นงานหนัก หรือมีภัย ก็ไม่ครั่นคร้าม ไม่หวั่นหวาด ไม่กลัว ใจสู้ ไม่ย่อท้อ ไม่ท้อถอย และไม่ท้อแท้ มีกำลังประคับประคองใจของตัวเองไว้ไม่ให้ถอย อันนี้เรียกว่า
วิริยะ ก็เป็นหลักสำคัญ เป็นตัวกำลังความเข้มแข็ง เป็นองค์ประกอบที่จะให้ทำได้สำเร็จ

องค์ประกอบที่ ๔ “ ปีติ ” ปีติ แปลว่าความอิ่มใจหรือความดื่มด่ำ ความซาบซึ้ง ปลาบปลื้ม จิตใจของเราก็ต้องการอาหารหล่อเลี้ยง คล้ายกับร่างกายเหมือนกัน ปีตินี้เป็นอาหารหล่อเลี้ยงสำคัญของจิตใจ


บางท่านที่ได้เจริญ ธรรมดีแล้ว แม้จะรับประทานอาหารทางกายไม่มาก แต่ถ้าอิ่มใจ สามารถทำใจของตนเองให้มีปีติได้เสมอ ก็จะเป็นผู้ผ่องใสกระปรี้กระเปร่า ร่างกายก็พลอยเอิบอิ่มไปด้วยได้เหมือนกัน อย่างที่ท่านเรียกว่า ปีติภักขา แปลว่า ผู้มีปีติเป็นภักษา คือ มีปีติเป็นอาหาร

เพราะฉะนั้น วิธีการอย่างหนึ่งที่จะช่วยจิตใจของตัวเอง ก็คือพยายามสร้างปีติขึ้นมา ปีติเป็นอาหารหล่อเลี้ยงจิตใจให้เอิบอิ่ม ความอิ่มใจช่วยได้มาก

บางคนแม้จะรับประทานอาหารได้มาก แต่ถ้าจิตใจมีความวิตกกังวล เร่าร้อนใจ ร่างกายก็อาจจะซูบซีด ทรุดโทรมลงได้ แต่คนที่สบายใจ มีอะไรช่วยให้ดีใจ อิ่มใจอยู่เสมอ ก็อาจทำให้ร่างกายดี มีผิวพรรณผ่องใสไปด้วย โดยที่อาหารกายนั้นมี่แต่เพียงพอประมาณ เพราะฉะนั้น ปีตินี้จึงเป็นหลักสำคัญอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ควรจะสร้างให้เกิดมีในใจของตนเสมอ ๆ

องค์ประกอบที่ ๕ “ ปัสสัทธิ ” ปัสสัทธิ แปลว่าความผ่อนคลาย หรือสงบเย็น ไม่กระสับกระส่าย ไม่เครียด ท่านแบ่งเป็นกายผ่อนคลายกับใจผ่อนคลาย หรือสงบเย็นกายกับสงบเย็นใจ คือไม่กระสับกระส่าย ไม่เขม็งเครียด สงบเย็นกายท่านหมายเอาลึกซึ้งถึงการสงบผ่อนคลายของกองเจตสิก แต่เราจะถือเอาการสงบผ่อนคลายของร่างกายธรรมดาก็ได้ ง่าย ๆ


คน เราถ้ามีความเครียด มีเรื่องไม่สบายใจแล้ว มันจะเครียดทั้งกายและใจ สภาพที่ตรงข้ามกับปัสสัทธิ ก็คือความเครียด เมื่อมีเรื่องกลุ้ม กังวลใจ อะไรต่าง ๆ ทางใจแล้ว ก็พลอยเครียดทางกายด้วย ไม่มีความสุข และจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมลงด้วย

หรือถ้ากายเครียด ใจก็พลอยเครียดไปด้วย เช่น พระพุทธเจ้าครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ก่อนตรัสรู้ ทรงทดลองบำเพ็ญทุกรกิริยา กลั้นลมหายใจจนกายสะท้าน ก็เกิดความเครียด ความกระสับกระส่ายทั้งทางกายและทางใจเช่นเดียวกัน

ฉะนั้น ท่านจึงให้เจริญธรรมที่ตรงข้ามกับความเครียดนี้ นั่นก็คือ ปัสสัทธิ ความสงบเย็น ความผ่อนคลาย ร่างกายก็ผ่อนคลาย จิตใจก็ผ่อนคลาย ภาวะนี้เรียกว่าปัสสัทธิ เป็นสิ่งที่ดีมาก เป็นตัวที่มักจะมาตามปีติ คือ พออิ่มใจ ก็เกิดความผ่อนคลาย สบาย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 20, 2011, 09:40:46 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 09:35:10 pm »
0
องค์ประกอบที่ ๖ “ สมาธิ ” สมาธิ แปลว่า ความตั้งจิตมั่น หรือแน่วแน่อยู่กับสิ่งนั้น ๆ ถ้าพิจารณาสิ่งใด ก็ให้จิตใจแน่วแน่จับอยู่ที่สิ่งนั้น ถ้าทำกิจทำงานอะไร ก็ให้ใจของเราแน่วอยู่กับสิ่งนั้น อย่างที่เรียกว่า ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน อันนี้เรียกว่า สมาธิ

ใจอยู่กับสิ่งที่นิ่ง ไม่เคลื่อนที่ก็มี สมาธิก็จับนิ่งสนิทอยู่ แต่ถ้าทำกิจอะไรที่เป็นความ
เคลื่อนไหว เป็นการเคลื่อนที่ไป สมาธิก็คงอยู่ คือจิตอยู่ด้วยกับสิ่งที่กำหนด เป็นไปแบบเรียบสนิท อันนี้ก็เรียกว่า สมาธิ จิตใจที่แน่วแน่เป็นจิตใจที่มีกำลังมาก เฉพาะอย่างยิ่งคือเป็นจิตใจซึ่งเหมาะที่จะใช้งานให้ได้ผลดี

ใน ข้อ ๑ ที่ว่าด้วยสติ ได้บอกว่าสติเป็นตัวที่จับ ดึงตรึง หรือกำกับไว้ ทำให้จิตอยู่กับสิ่งที่กำหนด ไม่หลุดลอยหาย หรือคลาดจากกันไป ในข้อ ๖ นี้ก็ว่า สมาธิ คือการที่จิตอยู่กับสิ่งที่กำหนดนั้น แน่วแน่ ตั้งมั่น แนบสนิท โยมบางท่านก็จะสงสัยว่า สติกับสมาธินี้ฟังดูคล้ายกันมาก จะเห็นความแตกต่างกันได้อย่างไร

ขอชี้แจงว่า คำอธิบายข้างต้นนั้นแหละ ถ้าอ่านให้ดีก็จะมองเห็นความแตกต่างระหว่างสติกับสมาธิ การทำให้จิตอยู่กับสิ่งที่กำหนดเป็นสติ การที่จิตอยู่กับสิ่งที่กำหนดได้เป็นสมาธิ

การดึง การตรึง การจับ การกำกับไว้ เป็นการทำให้จิตอยู่กับสิ่งที่กำหนด การดึง การตรึง การจับ การกำกับนั้น จึงเป็นสติ ส่วนการที่จิตตั้งมั่น แน่วแน่ แนบสนิท เป็นอาการที่จิตอยู่กับสิ่งที่กำหนด การตั้งมั่น แน่วแน่ แนบสนิท นั้น จึงเป็นสมาธิ


สิ่งทั้งหลายที่เข้ามาสู่การรับรู้ของเรา หรือสิ่งที่ใจเรารับรู้นั้น ผ่านเข้ามาทางตาบ้าง ทางหูบ้าง ทางจมูกบ้าง ทางลิ้นบ้าง ทางกายบ้าง ปรากฎขึ้นมาในใจบ้าง ศัพท์ทางพระเรียกว่า อารมณ์

เมื่ออารมณ์เข้ามาแล้ว มันก็ผ่านหายไป ทีนี้ ถ้ามันไม่เกี่ยวอะไรกับเรา มันจะผ่านหายไป ก็ช่างมัน เราก็ไม่ต้องไปยุ่งด้วย แต่เราจะต้องใช้ หรือจะต้องเกี่ยวข้องขึ้นมา แล้วมันหายไป หลุดลอยไป ไม่ยอมอยู่กับเรา เราก็จะไม่ได้ประโยชน์ที่ต้องการ ตอนนี้แหละ ผลเสียก็จะเกิดแก่เรา เราจึงต้องมีความสามารถที่จะดึงเอามันไว้ ไม่ให้หลุดลอยหายหรือผ่านหายไป การดึงเอาสิ่งนั้นไว้ เอาจิตกำกับมันไว้ หรือตรึงมันไว้กับจิต นี่แหละคือบทบาทของสติได้แก่การคอยนึกเอาไว้ ไม่ให้อารมณ์นั้นหลุดลอยหายไป


อีกอย่างหนึ่ง อารมณ์นั้นเข้ามาแล้วและผ่านล่วงไปแล้ว ไม่ปรากฎต่อหน้าเรา แต่ไปอยู่ในความทรงจำ ตอนนี้เราเกิดจะต้องใช้ จะต้องเกี่ยวข้องกับมัน เราจะทำอย่างไร เราก็ต้องมีความสามารถที่จะดึงเอามันขึ้นมาไว้ต่อหน้าเราขณะนี้ การดึงเอาอารมณ์ที่ผ่านล่วงไปแล้วขึ้นมาให้จิตพบกับมันได้ นี่ก็เป็นบทบาทของสติ ได้แก่การระลึกขึ้นมา ทำให้สิ่งที่ผ่านล่วงแล้วโผล่ขึ้นมาปรากฏอยู่ต่อหน้า

อย่างไรก็ ดี การดึง การตรึง การจับ หรือการกำกับไว้ ย่อมเป็นคู่กันกับการหลุด การพลัด การพราก การคลาด หรือการหายไป การนึกและระลึกก็เป็นคู่กับการเผลอและการลืม ดังนั้น เพื่อไม่ให้เผลอหรือลืม ไม่ให้อารมณ์หลุดลอยหายไปจากจิต หรือไม่ให้จิตพลัดพรากกันกับอารมณ์ ก็ต้องคอยกำกับ จับ ดึง เหนี่ยว รั้งไว้เรื่อย ๆ
ถ้าจะให้มั่นใจหรือแน่ใจยิ่งกว่านั้น ก็ต้องให้จิตตั้งมั่นหรือแน่วแน่อยู่กับอารมณ์นั้น หรือให้อารมณ์นั้นอยู่กับจิตแนบสนิทหรือนิ่งสนิทไปเลย ถ้าถึงขั้นนี้ได้ ก็เรียกว่าเป็นสมาธิ


เราจะใช้ จะทำ จะดู จะพิจารณาสิ่งใด สิ่งนั้นก็ต้องอยู่ในกำกับหรือปรากฏอยู่ต่อหน้า ถ้าของนั้นเป็นสิ่งที่เลื่อนไหล หรือจะปลิวลอย เช่นอย่างแผ่นผ้าหรือสำลีที่อยู่กลางลมพัด ก็ต้องมีอะไรผูกรั้งดึงไว้ ไม่ให้หลุดลอยหรือเลื่อนไหลหายไป เมื่อสิ่งนั้นถูกผูกรั้งดึงไว้แล้ว เราก็จัดการพิจารณาดู และทำอะไร ๆ กับมันได้ตามต้องการ

ในกรณี ที่งานซึ่งจะทำกับแผ่นผ้าหรือสำลีนั้นไม่จำเป็นต้องให้ละเอียดชัดเจนนัก เมื่อแผ่นผ้าหรือสำลีถูกดึงรั้งตรึงไว้แล้ว ถึงจะสั่นจะไหวหรือจะส่ายไปมาบ้าง ก็ยังทำงานได้สำเร็จ ถึงจะดู ก็พอมองเห็นและบอกได้ว่ามีสีสันและรูปทรงอย่างไร

แต่ในกรณีที่ เป็นงานละเอียด เช่น ต้องการเห็นรายละเอียดชัดเจน ถึงแม้จะมีเชือกดึงไว้ ตรึงไว้ แต่ถ้ายังสั่นไหว ส่ายอยู่ ก็ไม่สามารถเห็นรายละเอียดหรือทำงานที่ต้องใช้ความแม่นยำให้สำเร็จได้ ในกรณีนี้จะต้องปัก ตอก ยึด หรือประทับให้แน่นแนบนิ่งสนิททีเดียว จึงจะดูให้เห็นชัดในรายละเอียด หรือทำสิ่งที่จำเพาะให้แม่นยำได้

ในทำนองเดียวกัน ถ้าจิตจะมอง จะพิจารณา หรือทำกิจกับอารมณ์ใดที่ไม่ต้องการความละเอียดชัดเจนนัก เพียงมีสติคอยดึง ตรึง จับ กำกับ หรือคอยรั้งไว้ ก็เพียงพอที่จะทำงานได้สำเร็จ แต่ถ้าเรื่องใดต้องการความชัดเจนในส่วนรายละเอียด หรือต้องการการกระทำที่แม่นยำแน่นอน ตอนนี้จำเป็นจะต้องให้จิตถึงขั้นมีสมาธิแน่วมากทีเดียว

ท่านเปรียบเทียบไว้ เหมือนกับว่าเราเอาลูกวัวป่าตัวหนึ่งมาฝึก วัวจะหนีไปอยู่เรื่อย เราก็เอาเชือกผูกวัวป่านั้นไว้กับหลัก ถึงแม้วัวจะดิ้นรนวิ่งหนีไปทางไหน ก็ได้แค่อยู่ในรัศมีของหลัก วนอยู่ใกล้ ๆ หลัก ไม่หลุด ไม่หายไป แต่ถึงอย่างนั้น วัวนั้นก็ยังดิ้นรนวิ่งไปมาอยู่ ต่อมานานเข้า ปรากฏว่าวัวป่าคลายพยศ มาหยุดหมอบนิ่งอยู่ที่หลัก สงบเลย

ในข้ออุปมานี้ ท่านเปรียบการเอาเชือกผูกวัวป่าไว้กับหลักเหมือนกับเป็นสติ ส่วนการที่วัวป่าลงหมอบนิ่งอยู่ใกล้หลักนั้น เปรียบเหมือนเป็นสมาธิ

ความจริง สติกับสมาธิ ทั้ง ๒ อย่างนี้ทำงานด้วยกัน ประสานและอาศัยกัน สติเป็นตัวนำหน้าหรือเป็นตัวเริ่มต้นก่อน แล้วสมาธิก็ตามมา ถ้าสมาธิยังไม่แน่ว ยังไม่เข้มมากหรือคอยดึงแรง ๆ อยู่เรื่อย แต่พอสมาธิแน่วสนิทอยู่ตัวดีแล้ว สมาธิก็กลายเป็นตัวเด่นแทน สติที่คอยกำกับหรือคอยตรึง ๆ ดึง ๆ ไว้ จะทำงานเพียงนิด ๆ แทบไม่ปรากฎตัวออกมา แต่ก็ทำงานอยู่นั่นตลอดเวลา ไม่ได้หายไปไหน

เปรียบเทียบเหมือนกับว่า เอาแผ่นผ้ามาขึงกลางลม โดยเราเอาเชือกดึงไว้หรือขึงไว้ แผ่นผ้าถูกลมพัด แต่ก็ไม่หลุดลอยหายไป เพราะถูกเชือกดึงเอาไว้ อย่างไรก็ตามถึงแม้แผ่นผ้าจะไม่หลุดลอยหายไป แต่มันก็ขยับอยู่เรื่อย ยังส่ายไปส่ายมา พลิ้วไปพลิ้วมาอยู่ที่นั่น ไม่นิ่ง

ในตัวอย่าง เปรียบเทียบนี้ มีทั้งการดึงของเชือกและการอยู่นิ่งของแผ่นผ้ามาด้วยกัน คือตอนที่เชือกดึงไว้ ก็มีการอยู่ตัวของแผ่นผ้าด้วย แต่การอยู่ตัวนั้นมีอยู่ชั่วเดี๋ยวเดียว ๆ ความเด่นไปอยู่ที่การดึงหรือรั้งของเชือก การดึงของเชือกนั้นคือสติ ส่วนการอยู่ตัวหรือ

อยู่นิ่งของแผ่นผ้าเท่ากับสมาธิ จะเห็นว่าตอนนี้สติเป็นตัวเด่น ทำงานหนัก ทำงานมาก ส่วนสมาธิมีได้นิดหนึ่ง ๆ ไม่เด่นออกมา คือ สติดึงไว้ อยู่ตัวได้นิดก็ขยับไปอีกแล้ว ดึงไว้ อยู่ตัวได้นิดก็ไปอีกแล้ว ตัวดึงเลยเด่น ส่วนการหยุดนิ่งสั้นเหลือเกิน ชั่วขณะ ๆ เท่านั้น

อีกกรณีหนึ่ง เป็นแผ่นเหล็กเอามาตั้งไว้ ก็ต้องเอาเชือกผูกดึงรั้งไว้เหมือนกัน แต่เมื่อถูกลมพัด แผ่นเหล็กนั้นไม่ค่อยจะหวั่นไหว ไม่ค่อยจะขยับ อยู่ตัวนิ่งดีกว่าแผ่นผ้า ตอนนี้การทำงานของสติ คือเชือกที่ดึง ไม่เด่น แต่ก็มีอยู่คล้าย ๆ แอบ ๆ อยู่ ตัวที่เด่นคือความอยู่ตัวนิ่งของแผ่นเหล็ก สติได้แต่คลอ ๆ ไว้ แต่ทั้ง ๒ อย่างก็อยู่ด้วยกัน

ในกรณีของแผ่นผ้าที่ขยับ ๆ หรือส่าย ๆ ไหว ๆ นั้น ถ้ามีรูปภาพที่เขียนไว้ใหญ่ ๆ หรือตัวหนังสือโต ๆ ก็อ่านได้พอใช้การ แต่ถ้าเป็นลวดลายละเอียดหรือตัวหนังสือเล็ก ๆ ก็เห็นไม่ถนัด อ่านได้ไม่ชัดเจน หรือถ้าละเอียดนักก็มองไม่ออกหรืออ่านไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นเรื่องที่ดูพอเห็นผ่าน ๆ เป็นเรื่องหยาบ ๆ เห็นง่าย เพียงคอยมีสติกำกับไว้ ถึงแม้จิตจะอยู่ตัวเป็นสมาธิเพียงชั่วขณะสั้น ๆ ก็พอให้สำเร็จกิจ ใช้งานได้ แต่ถ้าเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาตรวจดูละเอียด ก็ต้องให้จิตเป็นสมาธิอยู่ตัวแน่วแน่มาก ๆ จึงจะมองเห็นได้ถนัดชัดเจนยิ่ง ละเอียดลึกซึ้งซับซ้อนมาก ก็ยิ่งต้องการจิตที่เป็นสมาธิแน่วสนิททีเดียว


ถ้าเปรียบเทียบก็เหมือนกับจะใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูจุลินทรีย์ที่แสนเล็ก หรืออะไรที่เล็กเหลือเกิน สิ่งที่ถูกดู ถูกตรวจพิจารณา ซึ่งถูกเครื่องจับกำกับไว้ จะต้องนิ่งแน่วประสานกับตาและเลนส์ที่ส่องดูอย่างสนิททีเดียว
ตอนนี้แหละที่สมาธิเป็นตัวจำเป็น ต้องมีให้มาก เวลาที่เราจะเอาจิตไปใช้งานสำคัญ ๆ จะในแง่พลังจิตก็ดี ในแง่ของการพิจารณาเรื่องละเอียดซับซ้อนมากด้วยปัญญาที่คมกล้าก็ดี ท่านจะเน้นบทบาทของสมาธิอย่างมาก เรียกว่าสมาธิเป็นบาทหรือเป็นฐานของงานใช้กำลังจิต หรืองานใช้ปัญญานั้น ๆ
 
ตอนที่สมาธิยังอ่อน อยู่ชั่วขณะเดี๋ยวหนึ่ง ๆ จะไป ๆ ก็ต้องใช้สติคอยดึงอยู่เรื่อย ๆ สติก็จึงทำงานมาก เป็นตัวเด่นอย่างที่กล่าวแล้ว ตอนนั้นจึงอยู่ในภาวะที่คอยดึงไว้กลัวจะหลุดไป เหมือนคอยดึงฉุดหรือชักเย่อกันอยู่ พอแน่วแน่อยู่ตัวสนิทดีแล้วก็หมดเรื่องที่จะต้องคอยฉุด พ้นจากการที่จะต้องคอยดึงกันที สติก็เพียงแต่คลออยู่ ก็เอาจิตที่เป็นสมาธิไปใช้งานได้เต็มที่

อย่างที่กล่าวแล้วว่า ระหว่างสติกับสมาธินั้น สติเป็นตัวนำหน้าหรือเป็นตัวเริ่มต้นก่อน แม้ว่าจุดหมาย เราจะต้องการสมาธิ โดยเฉพาะต้องการสมาธิที่แน่วแน่เข้มมาก แต่ก็จะต้องเริ่มงานด้วยสติ ดังนั้น ในการฝึกสมาธิ จึงต้องเริ่มต้นด้วยการเอาสติมาชักนำ หรือมาจับตั้งจูงเข้า คือเอาสติมากำหนดอารมณ์หรือสิ่งที่ใช้เป็นกรรมฐานนั้น ๆ ก่อน

ดังจะเห็นว่าในการฝึกสมาธิหรือเจริญสมาธินั้น วิธีฝึกทั้งหลายจะมีชื่อลงท้ายด้วยสติกันทั่วไป เช่น อานาปานสติ พุทธานุสติ มรณสติ เป็นต้น พูดง่าย ๆ ว่า สติเป็นเครื่องมือของสมาธิภาวนา หรือสมาธิภาวนาใช้สติเป็นเครื่องมือนั่นเอง พูดเรื่องสติมาเสียนาน ขอยุติเอาไว้แค่นี้ก่อน ยังมีองค์ประกอบข้อสุดท้าย ที่จะต้องพูดต่อไปอีก

องค์ประกอบที่ ๗ ซึ่ง เป็นข้อสุดท้าย คือ “ อุเบกขา ” อุเบกขาแปลกันง่าย ๆ ว่า ความวางเฉย วางเฉยอย่างไร ถ้าเราเห็นอะไร รับรู้อะไรแล้วเราวางเฉยเสีย บางทีมันเป็นแต่เพียงความวางเฉยภายนอก หรือพยายามทำเป็นเฉย แต่ใจไม่เฉยจริง และไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร อย่างนี้ไม่ถูกต้อง เฉยอย่างนี้ไม่ใช่อุเบกขา

ความวางเฉยในที่นี้ หมายถึง ความเรียบสงบของจิตที่เป็นกลาง ๆ ไม่เอนเอียงไปข้างโน้นข้างนี้ และเป็นความเฉยรู้ คือ รู้ทันจึงเฉย ไม่ใช่เฉยไม่รู้ หรือเฉยเพราะไม่รู้ เป็นการเฉยดูอย่างรู้ทัน และพร้อมที่จะทำการเมื่อถึงจังหวะ

ท่านเปรียบจิตที่เป็นอุเบกขานี้ว่า เป็นจิตที่ทุกอย่างเข้าที่ดีแล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเข้าที่ถูกจังหวะกันดีแล้ว ใจของเราจึงวางเฉยดูมันไป เหมือนอย่างเมื่อท่านขับรถตอนแรก เราจะต้องวุ่นวายเร่งเครื่องปรับอะไรต่ออะไรทุกอย่างให้มันเข้าที่ พอทุกอย่างเข้าที่แล้ว เครื่องก็เดินดีแล้ว วิ่งเรียบสนิทดีแล้ว ต่อแต่นี้เราก็เพียงคอยมองดู คุมไว้ ระวังไว้ ให้มันเป็นไปตามที่เราต้องการเท่านั้น

การที่ทุกสิ่งเข้าที่ เรียบร้อยดีแล้ว เดินดีแล้ว เราได้แต่คุมเครื่องอยู่มองดูเฉย ๆ นี้ สภาวะนี้เรียกว่าอุเบกขา เป็นสภาพจิตที่สบาย เพราะว่าทำทุกอย่างดีแล้ว ทุกอย่างเดินเข้ารูปของมันแล้ว เหมือนอย่างว่า ถ้าเป็นพ่อเป็นแม่ เมื่อลูกเขารับผิดชอบตัวเองได้ เขามีการมีงานต่าง ๆ ทำแล้ว เราช่วยเขามาแล้ว เขาดำเนินการของเขาได้ ทำงานของเขาได้ดีแล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็เพียงแต่มองดูเท่านั้น ไม่เข้าไปวุ่นวาย ไม่ก้าวก่ายแทรกแซงในชีวิตหรือในครอบครัวของเขา

จิตใจที่วางเฉยอย่างนี้ได้เรียบกา อุเบกขา อุเบกขาไม่ใช่ไม่รับ รู้อะไร ไม่ใช่เฉยเมยไม่รู้เรื่องหากแต่รับรู้อย่างผู้มีปัญญา รู้ว่าอะไรเป็นอะไร เมื่อเข้าที่ดีแล้ว ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี รู้ว่าคนเขาควรรับผิดชอบตัวเองในเรื่องนี้ ใจเราวางเป็นกลางสนิท สบาย อย่างนี้เรียกว่า “ อุเบกขา ”

ทั้งหมดนี้คือตัวองค์ธรรม ๗ ประการ ที่เป็นองค์ประกอบขององค์รวมคือ โพธิ หรือการตรัสรู้ เวลาเอามาพูดแยก ๆ กันอย่างนี้ บางทีก็เข้าใจไม่ง่ายนัก แต่ก็พอเห็นเค้าได้ว่า ธรรมทั้ง ๗ อย่างนี้ ไม่ต้องเอาครบทั้งหมดหรอก แม้เพียงอย่างเดียว ถ้ามีสักข้อก็ช่วยให้จิตใจสบายแล้ว

ถ้าเป็น ผู้เจ็บไข้ มีเพียงอย่างเดียวหรือสองอย่าง จิตใจก็สบาย เช่น มีสติ จิตใจไม่หลงใหลฟั่นเฟือน หรือมีปัสสัทธิกายใจผ่อนคลาย เรียบเย็น สบาย ไม่มีความเครียด ไม่กังวลอะไร แค่นี้ก็เป็นสภาพจิตที่ดีแล้ว ถ้ารู้จักมองด้วยธัมมวิจยะก็ทำใจได้ ยิ่งถ้ามีวิริยะ มีกำลังใจด้วย ก็เห็นชัดเจนว่าเป็นสภาพดีที่พึงต้องการแน่ ๆ จิตใจของผู้เจ็บไข้นั้นจะไม่ต้องเป็นที่น่าห่วงกังวลแก่ท่านผู้อื่น ยิ่งมีปีติ มีสมาธิ มีอุเบกขาที่สร้างขึ้นมาได้ก็ยิ่งดี

 
บูรณาการองค์ประกอบให้เกิดสุขภาพเป็นองค์รวม
แต่ที่ท่านต้องการก็คือ ให้องค์ธรรมทั้ง ๗ นี้มาทำงานร่วมกันครบถ้วน จึงจะเรียกว่าเป็น “ โพชฌงค์ ” ที่จะให้เกิดการตรัสรู้ ทำให้กลายเป็นผู้ตื่น ให้กลายเป็นผู้บริสุทธิ์ ให้กลายเป็นผู้ผ่องใสเบิกบาน โดยที่องค์ธรรมทั้ง ๗ นี้มาทำงานร่วมกันครบบริบูรณ์ เป็นองค์รวมอันหนึ่งอันเดียว

ท่านแสดงลำดับวิธีการที่องค์ธรรมทั้ง ๗ ประการนี้มาทำงานร่วมกันไว้ว่า

เริ่มต้นด้วยข้อ ๑ คือสติ สติอาจจะดึงสิ่งที่เราเกี่ยวข้องเฉพาะหน้าไว้ให้อยู่กับจิต หรือให้จิตอยู่กับสิ่งที่พิจารณาหรือที่กระทำนั้นอย่างหนึ่ง หรืออาจจะดึงสิ่งที่ห่างไกลเข้ามา คือเรื่องที่ผ่านไปแล้ว เช่น ธรรมที่ได้เล่าเรียนมาแล้ว ก็มานึกทบทวนระลึกขึ้นในใจอย่างหนึ่ง สตินี้เป็นตัวแรกที่จะเข้าไปสัมผัสกับสิ่งที่เราเข้าไปเกี่ยวข้อง พอสติดึงเอาไว้ ดึงเข้ามา หรือระลึกขึ้นมาแล้ว


ต่อไปขั้นที่ ๒ ก็ใช้ธรรมวิจัย เลือกเฟ้นไตร่ตรองธรรม เหมือนกับที่อาตมภาพกล่าวสักครู่นี้ว่า เมื่อจิตของเราพบปะกับอารมณ์นั้นหรือสิ่งนั้นแล้ว ก็มองให้เป็นธรรม มองให้เห็นธรรม มองอย่างท่านพระเถรีที่กล่าวถึงเมื่อกี้ ที่

มองดูเปลวเทียนก็มองเห็นธรรม เกิดความเข้าใจ หยั่งลงไปถึงความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความดับไปของสิ่งทั้งหลาย หรือถ้ามองเห็นภาพหมู่มนุษย์กำลังวุ่นวายกัน ก็อย่าให้จิตใจปั่นป่วน วุ่นวายสับสน มองให้เห็นแง่ด้านที่จะเกิดความกรุณา ให้จิตใจมองไปในด้านความปรารถนาดี คิดจะช่วยเหลือ หรือเป็นเรื่องน่าสงสาร
 
ถ้าเป็นสิ่งที่ล่วงแล้ว ก็ดึงจิตกับอารมณ์เข้ามาหากัน แล้วก็มองเห็นธรรมในอารมณ์นั้น หรือระลึกถึงคำสอน นำเอาธรรมที่ได้เรียนมานั้นขึ้นมาไตร่ตรองดู เฟ้นให้เห็นความหมาย เข้าใจชัดเจนดี หรือเลือกเฟ้นให้ได้ว่า ในโอกาสเช่นนี้ ขณะนี้ เราควรจะใช้ธรรมข้อไหนแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพราะบางทีเราไม่สามารถทำใจได้ไหวกับสิ่งที่เราเห็นเฉพาะหน้า
 

ถึงแม้ท่านจะบอกว่า ให้มองอารมณ์ที่เห็นเฉพาะหน้านี้เป็นธรรมหรือมองให้เห็นธรรม แต่เราทำไม่ไหว เราก็อาจจะระลึกนึกทบทวนไปถึงธรรมที่ผ่านมาแล้ว เพื่อเอามาใช้ว่า ในโอกาสนี้จะเลือกเอาธรรมอะไรมาใช้จึงจะเหมาะ จึงจะเป็นประโยชน์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ อันนี้ก็เป็นข้อที่ ๒ เรียกว่าธรรมวิจัย

อย่างน้อยการที่ได้ทบทวน นึกถึงธรรมที่ได้เล่าเรียนมานั้น ก็ทำให้จิตมีงานทำ ก็สบายใจขึ้น ถ้าเลือกได้ธรรมที่ต้องการ หรือเฟ้นได้เข้าใจความหมาย ก็จะเกิดกำลังใจขึ้นมา จิตก็จะมีแรงก้าวหน้าต่อไป


ต่อไปก็ผ่าน เข้าสู่ข้อที่ ๓ คือ วิริยะ ที่แปลว่าความแกล้วกล้า ความมีกำลังใจ จิตใจของเรานั้นมักจะท้อถอย หดหู่ บางทีก็ว้าเหว่ เหงา เซ็ง หรือไม่ก็ดิ้นรนกระสับกระส่าย วุ่นวายใจ กลัดกลุ้ม ที่เป็นอย่างนี้เพราะจิตไม่มีที่ไป จิตของเราเคว้งคว้าง

แต่ถ้าจิตมีทางไป มันก็จะแล่นไป เพราะจิตนี้ปกติไม่หยุดนิ่ง ชอบไขว่คว้าหาอารมณ์ แต่เราคว้าอะไรที่จะให้เป็นทางเดินของจิตไม่ได้ จิตก็ว้าวุ่นและวนเป็นวัฎฎะ วิ่งพล่านในวงจรที่ไม่ดีไม่งามอยู่อย่างนั้นนั่นเอง ทำความเดือดร้อนใจให้แก่ตนเอง ทีนี้ถ้าทำทางเดินให้แก่จิตได้แล้ว จิตก็จะมีพลัง ก็จะเกิดวิระยะ มีกำลังใจที่จะวิ่งแล่นไป

ถ้ามี ธัมมวิจยะ คือมองและเฟ้นธรรมให้ปัญญาเกิด มีความสว่างขึ้นมาในอารมณ์นั้น ก็เป็นทางเดินแก่จิตได้ จิตก็จะมีทางและวิ่งแล่นไปในทางนั้น คือมองเห็นเรื่องที่จะทำ มองเห็นทางที่จะก้าวหน้าไป รู้จุดรู้แง่ รู้วิธีที่จะแก้ไขจัดการกับเรื่องนั้น ๆ หรือที่จะปฏิบัติ


ต่อสิ่งนั้น ๆ แล้ว ก็จะมีแรงขึ้น ก็จะเกิดกำลังใจขึ้น ทั้งสองข้อนี้เป็นสิ่งที่เนื่องอาศัยกัน อันนี้เรียกว่า วิริยะ คือความมีกำลังใจที่จะก้าวไป เป็นเครื่องประคับประคองจิตไม่ให้หดหู่ ไม่ให้ท้อแท้หรือท้อถอย พอเกิดวิริยะ จิตมีกำลังแล้ว ปีติ ความอิ่มใจก็เกิดขึ้นด้วย คนที่มีกำลังใจ ใจเข้มแข็ง ใจได้เห็นเป้าหมายอะไรขึ้นมาแล้วก็จะเกิดปีติ มีความอิ่มใจขึ้น อย่างที่เรียกว่า เกิดมีความหวัง

ท่านเปรียบเหมือนกับว่า คนหนึ่งเดินทางไกลฝ่ามากลางตะวันบ่าย แดดร้อนจ้า บนท้องทุ่งโล่งที่แห้งแล้ง มองหาหมู่บ้านและแหล่งน้ำสระห้วยลำธารก็ไม่เห็น เดินไป ๆ ก็เหน็ดเหนื่อย ชักจะเมื่อยล้า ทำท่าจะเกิดความท้อแท้และท้อถอยอ่อนแรงลงไป ใจก็หวาดหวั่นกังวล เกิดความเครียดขึ้นมา

แต่ตอนหนึ่งมองไปลิบ ๆ ข้างหน้าด้านหนึ่ง เห็นหมู่ไม้เขียวขจีอยู่ไกล ๆ พอเห็นอย่างนั้นก็เอาข้อมูลที่มองเห็นในแง่ต่าง ๆ มาคิดพิจารณาตรวจสอบกับความรู้ที่ตนมีอยู่ ก็รู้แจ้งแก่ใจว่าที่นั่นมีน้ำ พลันก็เกิดวิริยะ มีกำลังเข้มแข็งขึ้นมาก้าวหน้าต่อไป และพร้อมกับการก้าวไป เดินไป หรือวิ่งไปนั้น หัวใจก็เกิดความชุ่มชื่น เปี่ยมด้วยความหวัง ทั้งที่ยังไม่ถึงน้ำ ก็ชุ่มฉ่ำใจ เกิดความอิ่มใจด้วยปีติ

พอเกิดความอิ่มใจแล้ว ก็จะมีความผ่อนคลายสบาย ใจสงบลงได้ หายเครียด เพราะคนที่เครียดกระสับกระส่ายนั้น ก็เนื่องด้วยจิตเป็นอย่างที่พูดเมื่อกี้นี้ว่า หวาดหวั่นกังวล อ้างว้าง หรือวนอยู่ ติดค้างอยู่ ไม่มีที่ไป ก็เคว้งคว้าง ๆ จิตก็ยิ่งเครียดยิ่งกระสับกระส่าย พอจิตมีทางไปแล้ว ก็มีกำลังใจเดินหน้าไป มีความอิ่มใจ ก็มีความผ่อนคลาย สบาย สงบไปด้วย หายเครียด หายกระวนกระวายใจ จิตก็ผ่อนคลาย สงบระงับ กายก็ผ่อนคลาย สงบระงับ อันนี้เรียกว่า เกิดปัสสัทธิ

พอเกิดปัสสัทธิแล้ว จิตซึ่งเดือดร้อนวุ่นวายเพราะความเคว้งคว้างกระสับกระส่าย เมื่อมีทางไปแล้วก็เดินเข้าสู่ทางนั้น ความกระสับกระส่าย กระวนกระวาย ความหวาดหวั่นกังวลและเครียดก็หายไป จิตก็นิ่งสงบ แน่วแน่ไปกับการเดินทางและกิจที่จะทำในเวลานั้น ก็เกิดเป็นสมาธิขึ้นแล่นแน่วไปในทางนั้น วิ่งไปทางเดียวอย่างแน่วแน่ และมีกำลังมาก

ท่านเปรียบเหมือนกับน้ำที่เรารดลงมาจากที่สูง น้ำที่เราเอาภาชนะหรือที่บรรจุขนาดใหญ่เทลงบนยอดภูเขา ถ้าน้ำนั้นไหลลงมาอย่างกระจัดกระจายก็ไม่มีกำลัง แต่ถ้าเราทำทางให้ จะต่อเป็นท่อก็ตาม หรือขุดเป็นร่องน้ำก็ตาม น้ำที่ลงมาตามทางนั้นจะไหลพุ่งเป็นทางเดียว และมีกำลังมาก เหมือนจิตที่ได้ทางของมันชัดเจนแล้ว ก็จะเป็นจิตที่ไหลแน่วไปในทางนั้น และมีกำลังมาก นี้เป็นจิตที่มีสมาธิ


เมื่อจิตมีสมาธิ ก็เป็นอันว่าทุกอย่างเดินไปด้วยดีแล้ว เมื่อจิตมีทางไป ไปในทางที่ถูกต้องสู่จุดหมาย เดินไปด้วยดี ไม่มีห่วงกังวล ใจก็สบาย ปล่อยวาง เฝ้าดูเฉย วางทีเป็นกลางอยู่ จิตที่เฝ้าดูเฉยนี้คือจิตที่มีอุเบกขา เป็นกลาง ไม่เกาะเกี่ยวสิ่งใด เพราะไม่ต้องกังวลถึงงานที่ทำ

เหมือนอย่างคนขับรถที่ว่า เมื่อกี้นี้ เขาเพียรพยายามในตอนแรกคือ เร่งเครื่อง จับโน่น ดึงนี่ เหยียบนั่น แต่เมื่อเครื่องเดินไปเรียบร้อยเข้าที่ดีแล้วก็ปล่อย จากนั้นก็เพียงนั่งมองดูเฉยสบาย คอยคุมอยู่ และอะไร ๆ ไปตามจังหวะของมันเท่านั้น ตอนนี้จะคุยจะพูดอะไรกับใครก็ยังได้ ถ้าทำอย่างนี้ได้ จิตที่เดินไปในแนวทางของการใช้ปัญญา ก็จะเจริญปัญญา เกิดความรู้ความเข้าใจเพิ่มพูนเป็นปัญญายิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้าเดินไปในทางของการทำกิจเพื่อโพธิ ก็จะบรรลุโพธิคือการตรัสรู้

 
เป็นอันว่า จุดเริ่มต้นที่สำคัญคือ ต้องมีสติ สตินั้นก็นำมาใช้ประโยชน์ดังที่กล่าวแล้ว ให้มันส่งต่อกันไปตามลำดับ เป็นธรรมที่หนุนเนื่องกัน ๗ ประการ ถ้าทำได้เช่นนี้ ก็เป็นประโยชน์ช่วยให้บรรลุถึงจุดหมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้น หรือจะใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

แม้แต่ถ้าใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันถูกต้อง ก็เป็นการปฏิบัติเพื่อความหลุดพ้นไปด้วยในตัวนั่นเอง เพราะการปฏิบัติที่ว่าเพื่อความหลุดพ้นนั้น ก็คือการที่สามารถทำจิตใจของตนเองให้ปลอดโปร่งผ่องใสด้วยสติปัญญานั่นเอง จะเป็นเครื่องช่วยในทางจิตใจของแต่ละท่านทุก ๆ คน ทำให้เกิดความโล่งเบา เป็นอิสระ

 
อาตมภาพแสดงธรรมเรื่องโพชฌงค์มานี้ ก็ได้พูดไปตามหลัก ให้เห็นความหมายของแต่ละข้อและความสัมพันธ์กัน แต่สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าเราจะนำมาใช้อย่างไรในกรณีแต่ละกรณี อันนี้เป็นเพียงการพูดให้เห็นแนวกว้างๆ เท่านั้น จะให้ชัดเจนได้ก็ต่อเมื่อเรานำไปใช้ในเหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ในเรื่องแต่ละ เรื่องว่าจะใช้อย่างไรให้เห็นประจักษ์แก่ตนเอง เมื่อได้เห็นประโยชน์ประจักษ์ขึ้นมาครั้งหนึ่ง เราก็จะมีความชัดเจนขึ้นและนำไปใช้ได้ผลดียิ่ง ๆ ขึ้น
 
โอกาสนี้ อาตมภาพก็ถือว่าเป็นการพูดเริ่ม หรือเป็นการบอกแนวทางให้หลักการไว้ เป็นความเข้าใจทั่วไป เกี่ยวกับเรื่องโพชฌงค์ ก็พอสมควรแก่เวลา ขอส่งเสริมกำลังใจโยม ขอให้โยมเจริญด้วยหลักธรรมเหล่านี้ เริ่มต้นด้วยสติเป็นต้นไป

โดยเฉพาะข้อหนึ่งที่อยากให้มีมาก ๆ ก็คือ ปีติ ความอิ่มใจ จะได้ช่วยเป็นอาหารใจ คือ นอกจากมีอาหารทางกายเป็นภักษาแล้ว ก็ขอให้มีปีติเป็นภักษาด้วย คือ มีปีติเป็นอาหารใจ เป็นเครื่องส่งเสริมให้มีความสุข เมื่อมีความสุขกายแล้วมีความสุขใจด้วย ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสุขโดยสมบูรณ์ มีสุขภาพพร้อมทั้งสองด้าน คือด้านกายและด้านใจ มีทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต

หลักธรรมที่ อาตมภาพนำมาชี้แจงเหล่านี้ หากว่าได้นำไปใช้ ก็จะเป็นพรอันประเสริฐที่เกิดขึ้นในจิตใจของโยมแต่ละท่านเอง อาตมภาพขอให้ทุกท่านได้รับประโยชน์จากหลักธรรมชุดนี้โดยทั่วกัน

ที่มา http://www.kanlayanatam.com/sara/sara116_3.htm
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 20, 2011, 09:42:33 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 09:53:28 pm »
0
ประโยชน์ของการสวดมนต์ (ทางการแพทย์)
จาก นิตรสารชีวจิต ฉบับแรกของเดือนมกราคม 2551
เรื่องVibrational Therapy : สวดมนต์บำบัด โดย: ชมนาด


เชื่อหรือไม่ ว่าหากเราสวดมนต์(ไม่ว่าศาสนาใดก็ตาม) เพื่อให้ใครสักคนหายป่วย แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลก แต่พลังแห่งบทสวดนั้นจะเดินทางไปเยียวยาความเจ็บป่วยของเขาได้ ??? เพราะการสวดมนต์บำบัดทำให้เกิดทั้งคลื่นเสียงที่สามารถเดินทางลึกเข้าไปในสมอง และคลื่นไฟฟ้าที่ส่งกระจายไปในชั้นบรรยากาศไกลๆได้

การสวดมนต์บำบัด คือหลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy หรือ Vibrational Medicine คือการใช้คุณสมบัติของคลื่นบางคลื่นมาบำบัดความเจ็บป่วย ซึ่งมีหลากหลายวิธี อาทิ เก้าอี้ไฟฟ้า เครื่องนวดต่างๆ ก็เป็นVibrational Therapy เช่นกัน แต่เป็นคลื่นไฟฟ้าเชิงฟิสิกส์ ที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ต่างจาก สวดมนต์บำบัดซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
                                     
ดังนั้นมาดูพลังแห่งการสวดมนต์บำบัดกัน ว่าคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร ???

คลื่นแห่งการเยียวยา
การสวดมนต์ใช้หลักการทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความสม่ำเสมอ เพื่อเข้าไปกระตุ้นร่างกายให้เกิดการเยียวยา ซึ่งหากคลื่นเสียงที่มากระทบดังแบบไร้ระเบียบ คือประกอบด้วยเสียงที่มีความถี่ต่างๆกัน ก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อการบำบัดกลไกดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อหูของเราได้ยินเสียง บทสวด ก็จะส่งสัญญาณต่อไปยังศูนย์การได้ยินที่อยู่บริเวณสมองกลีบขมับ ก่อนส่งไปบริเวณก้านสมอง ซึ่งเมื่อได้รับคลื่นเสียงช้าๆ สม่ำเสมอประมาณ 15 นาที ก็จะหลั่งสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์มากมาย

เสียงสวดมนต์ด้วยสมาธิเป็นยา :ให้ผลกับร่างกายเอนกอนันต์
รอง ศาสตราจารย์ ดร. สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายเพิ่มเติมดังนี้

“สมองของเราเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงช้าๆ สม่ำเสมอประมาณ 15 นาทีขึ้นไป จะทำให้เซลล์ประสาทของระบบประสาทสมองสังเคราะห์สารสื่อประสาทหลายๆชนิด บริเวณก้านสมองจะหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ ซีโรโทนิน (serotonin) เพิ่ม ขึ้นซึ่งมีฤทธิ์คล้ายยานอนหลับ ช่วยการเรียนรู้ ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอื่นๆ

เช่น เมลาโทนิน ซึ่งเปรียบคล้ายกับยาอายุวัฒนะ เพราะจะช่วยยึดอายุการทำงานของเซลล์ประสาท เซลล์ร่างกาย ให้ชีวิตยืนยาวขึ้น และยังมีคุณสมบัติช่วยให้นอนหลับ เพิ่มภูมิต้านทาน ทำให้เซลล์สดชื่นขึ้น รวมถึง โดปามีน มีฤทธิ์ลดความก้าวร้าวและอาการพาร์กินสัน นอกจากนี้ปริมาณของซีโรโทนินมีความสัมพันธ์ต่อการกระตุ้นการหลั่งสารสื่อ ประสาทอื่นๆ

เช่น อะเซทิลโคลีน ช่วยในกระบวนการเรียนรู้และความจำ ช่วยขยายเส้นเลือด ทำให้ความดันลดลง และยังช่วยลดปริมาณ อาร์กินิน วาโซเปรสซิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมความก้าวร้าว ความสมดุลของน้ำ และซีโรโทนินยังเข้าไปลดปริมาณของสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นของการ ทำงานของต่อมหมวกไตให้ลดลง ส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานน้อยลง ร่างกายจึงรู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง และไม่เครียด ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น”

ดังนั้น จุดสำคัญจึงอยู่ที่ร่างกายจะสามารถสร้างสารสื่อประสาทได้หรือไม่ อาจารย์สมพรเสริมว่า “หลัก การสำคัญอยู่ที่หากมีสิ่งเร้า หลายๆประเภทเข้ามารบกวนกระบวนการทำงานของคลื่นสมอง พร้อม ๆ กัน ทำให้สัญญาณคลื่นสมองเปลี่ยนไป การหลั่งสารสื่อประสาทจะสับสน ไม่มีผลในการเยียวยา สิ่งเร้านี้มาจากหลายส่วน ทั้งตัวเอง

เช่น บางคนปากสวดมนต์ แต่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น ก็ไม่ได้ประโยชน์ และการเกิดเสียงดังอื่นๆ เข้ามารบกวนขณะสวดมนต์ เพราะประสาทสัมผัสของมนุษย์รับรู้ได้ไวและอ่อนไหวมาก เรามีตัวประสาทรับสัญญาณมากมาย เรารับสิ่งเร้าได้ทั้งจากทางปาก ตา หู จมูก การเคลื่อนไหว และใจ เหล่านี้ทำให้สัญญาณคลื่นสมองสับสนและเปลี่ยนไป ร่างกายก็จะสร้างซีโรโทนินได้ไม่มากพอ”และไม่ใช่เฉพาะสาร สื่อประสาทที่มีประโยชน์เท่านั้นที่เราจะได้จากการสวดมนต์ แต่การสวดมนต์ยังทำให้อวัยวะต่างๆได้รับการกระตุ้น คล้ายกับการนวดตัวเองจากการเปล่งเสียงสวดมนต์


สวดมนต์กระตุ้นอวัยวะ
อาจารย์ เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต อธิบายหลักการนี้ว่า
“เวลา เราสวดมนต์นานๆ คำแต่ละคำจะสร้างความสั่นสะเทือนไม่เท่ากันตามฐานที่เกิดของเสียงหรือตาม วิธีเปล่งเสียง แม้ว่าเสียงจะออกมาจากปากเหมือนกัน แต่ว่าเสียงบางเสียงออกมาจากริมฝีปาก บางเสียงออกมาจากปุ่มเหงือก บางเสียงออกมาจากไรฟัน บางเสียงออกมาจากคอ

ดังนั้น ถ้าเราสวดมนต์ถูกต้องตามฐานกรณ์จึงเกิดพลังของการสั่น” และเมื่อเกิดพลังของการสั่น การสั่นนี้จะเข้าไปเยียวยาอาการป่วยได้อย่างไร อาจารย์เสถียรพงษ์อธิบายต่อว่า “เวลา เราสวดมนต์ เสียงสวดจะไปช่วยกระตุ้นต่อมต่างๆ ซึ่งจะช่วยปราบเชื้อโรคบางชนิด

เช่นการวิจัยของฝรั่ง พบว่า อักษร เอ บี ซี ดี จะช่วยกระตุ้นระบบน้ำย่อย ส่วนบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เสียงอักขระแต่ละตัวมีคำหนักเบาไม่เท่ากัน บางตัวสั่นสะเทือนมาก บางตัวสั่นสะเทือนน้อย ทำให้ต่อมต่างๆในร่างกายถูกกระตุ้น เมื่อต่อมที่ฝ่อถูกกระตุ้นบ่อยๆเข้า ก็คงคืนสภาพ อาการป่วยก็จะดีขึ้น”

นอกจากนี้ยังมีบทความที่อธิบายเกี่ยวกับการฝึกเปล่งเสียงเพื่อรักษาโรคจากเสียงต่างๆ เช่น
โอม ...... กระตุ้นหน้าผาก                       ฮัม ....... กระตุ้นคอ
ยัม .......  กระตุ้นหัวใจ                            ราม .......กระตุ้นลิ่นปี่
วัม .......  กระตุ้นสะดือ                            ลัม ....... กระตุ้นก้นกบ เป็นต้น


แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น การสวดมนต์ให้ประโยชน์ทางใจที่มีคุณค่ากับผู้สวด
รองศาสตราจารย์จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปว่ามี 2 ข้อคือ
 
1. การสวดมนต์เป็นเครื่องช่วยให้เกิดสมาธิ โดยต้องสวดเสียงดัง ให้หูได้ยินเสียงตัวเอง และจิตใจต้องจดจ่ออยู่กับเสียงสวด เมื่อใจไม่ฟุ้งไปที่อื่น ใจอยู่กับเสียงเดียว จึงเกิดสมาธิ

2. ถ้าเข้าใจความหมายของบทสวดนั้นๆ จะทำให้เรามีความเลื่อมใสศรัทธา เพราะบทสวดของทุกศาสนาเป็นเรื่องของความดีงาม จิตใจก็จะสะอาดขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น เป็นการยกระดับจิตใจของผู้สวด

 
เมื่อร่างกายที่รับสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์และการกระตุ้นระบบอวัยวะต่างๆให้ทำ งานเป็นปกติ เท่ากับว่าเราได้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ย่อมทำให้ภูมิชีวิตดีขึ้นเป็นลำดับ ความป่วยก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศที่อาจารย์ สมพร สรุปให้ฟังว่า การสวดมนต์ช่วยบำบัดอาการป่วยและโรคร้ายดังต่อไปนี้
 
1. หัวใจ                                     2. ความดันโลหิตสูง           
3. เบาหวาน                                4. มะเร็ง
5. อัลไซเมอร์                              6. ซึมเศร้า                             
7. ไมเกรน                                  8. ออทิสติก
9. ย้ำคิดย้ำทำ                             10. โรคอ้วน                         
11. นอนไม่หลับ                          12.พาร์กินสัน

 
ที่มา http://www.dhammakaya.org/forum/index.php?topic=464.0
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 20, 2011, 10:05:39 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #19 เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 09:58:22 pm »
0
สวดมนต์อย่างไรให้หายจากโรค

สวดมนต์บำบัดมีวิธีการและจุดประสงค์ที่หลากหลาย สรุปออกมาได้ 3 แบบ

1. การสวดมนต์ด้วยตัวเอง
เป็นการเหนี่ยวนำตัวเอง จึงเป็นที่มาของคำว่า Prayer Therapy ถือ เป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะหากใครสักคนคิดที่จะสวดมนต์ นั่นหมายความว่าเขากำลังมีความปรารถนาดีต่อตนเอง วิธีการที่อาจารย์สมพรแนะนำคือ
 
- ควรสวดด้วยตัวเอง และไม่ควรสวดมนต์หลังกินอาหารทันที ควรทิ้งช่วงให้ร่างกายเริ่มผ่อนคลาย อาจเป็นเวลาก่อนเข้านอน
- หาสถานที่ที่สงบเงียบ
- สวดบทสั้น ๆ 3-4 พยางค์ โดยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายได้หลั่งสารซีโรโทนิน แต่หากสวดมนต์ด้วยบทยาวๆ จะได้ความผ่อนคลายและความศรัทธา
- ขณะสวดมนต์ให้หลับตา สวดให้เกิดเสียงดังเพื่อให้ตัวเองได้ยิน


2. การฟังผู้อื่นสวดมนต์
เป็นการเหนี่ยวนำโดยคลื่นเสียง จากผู้อื่น เช่น การฟังเสียงพระสวดมนต์ เสียงผู้นำสวดในศาสนาต่างๆ หากผู้สวดมีสมาธิ เสียงสวดนั้นจะนุ่ม ทุ้ม ทำให้เกิดคลื่นที่ช่วยเยียวยา (healing) ผู้ฟัง แต่หากผู้สวดไม่มีสมาธิ ไม่มีความเมตตา เสียงสวดที่เกิดขึ้นอาจเป็นคลื่นขึ้นๆลงๆ นอกจากจะไม่ช่วยเยียวยาอาการป่วย อาจทำให้เสียสุขภาพได้
 
3. การสวดมนต์ให้ผู้อื่น
ปรากฏการณ์ มากมายที่เราเห็นในสังคม เมื่อใครสักคนเจ็บป่วย เรามักสวดมนต์อธิษฐานขอให้ความเจ็บป่วยของเขาหายไป บางครั้งอยู่ห่างกันคนละซีกโลก เสียงสวดมนต์เหล่านี้จะมีผลทำให้สุขภาพเขาดีขึ้นจริงหรือไม่ อาจารย์สมพรอธิบายดังนี

คลื่นสวดมนต์ เป็นคลื่นบวก เพราะเกิดจากจิตใจที่ดีงาม ปรารถนาดีต่อผู้ป่วย และเมื่อเราคิดจะส่งสัญญาณนี้ออกไปสู่ที่ไกลๆ มันจะเดินทางไปในรูปของคลื่นไฟฟ้า ซึ่งมนุษย์มีเซลล์สมองที่สามารถส่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าและสารเคมีได้ถึง สิบยกกำลังสิบ คลื่นนี้จึงเดินทางไปได้ไกลๆ บางทีพ่อกำลังป่วยหนักอยู่ที่นี่ แต่ลูกอยู่ต่างประเทศ ก็สามารถรับคลื่นนี้ได้และรู้ว่ามีใครกำลังไม่สบาย ที่เราเรียกว่า ลางสังหรณ์หรือสัมผัสที่หก

การรับรู้ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้รับผู้ส่งด้วย ถ้าคนไหนรับสัญญาณคลื่นแห่งบทสวดมนต์ได้จึงได้ผล เหมือนเราเปิดวิทยุ ถ้าคนฟังปิดหูก็จะไม่ได้ยิน ดังนั้นถ้าต่างฝ่ายต่างเปิดรับคลื่นบวกที่เราส่งไปผู้ป่วยก็จะได้รับ และทำให้อาการป่วยดีขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องของความมหัศจรรย์ แต่เป็นหลักธรรมชาติทั่วไป
เลือกสวดมนต์อย่างไรดี แล้วบทสวดที่เลือกควรใช้บทไหนดี อาจารย์สมพรแนะนำว่า

“น่าแปลกที่บทสวดในศาสนาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีจังหวะขึ้นๆ ลงๆ เหมือนจังหวะเพลง จะมีโทนเสียงแค่ไม้เอกไม้โทเท่านั้น สักสามสี่พยางค์ มาสวดซ้ำไปมาได้ทั้งนั้น”


พระพุทธศาสนา มีบทสวดมากมายหลายบท ให้เลือกใช้ตามความชอบ ยกตัวอย่างเช่น อิติปิโส หรือนะโมตัสสะ นะโมพุทธายะ หรือสัพเพสัตตา ฯลฯ เลือกท่อนใดท่อนหนึ่งแล้วสวดวนไปวนมา หรือโพชฌงค์ 7 ที่หลายคนนิยมสวดให้ตัวเองหรือคนไข้หายป่วย

“ข้อที่น่าสังเกตคือ บทสวดโพชฌงค์ 7 จะมีความแตกต่างจากบทสวดอื่นๆคือ คลื่นเสียงของบทสวดจะมีแค่เสียงสระ มีแค่สองจังหวะ คลื่นเสียงจากบทสวดจึงทำให้เกิดคลื่นที่เยียวยาได้ดีที่สุด”
อยากให้ตัวเองและผู้อื่นมีสุขภาพกายใจเป็นสุขและยังน้อมนำกุศลจิต เริ่มจากการสวดมนต์เป็นประจำด้วยสมาธิ


ที่มา http://www.dhammakaya.org/forum/index.php?topic=464.0
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #20 เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 10:04:35 pm »
0
ทำไมโพชฌงค์ 7 ประการ จึงสามารถบำบัดรักษาแก้โรคภัยต่างๆได้


ในบทสวดโพชฌงค์ 7 นั้น แม้แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาพาธด้วยโรคภัย พระจุนทะเถระก็ยังมาแสดงโพชฌงค์ เพื่อบำบัดอาการอาพาธของพระศาสดาจนหาย ความหมายในโพชฌงค์ 7 ประการ มีความหมายพิศดารประการใด อย่างไร

จริงๆแล้ว ความหมายในโพชฌงค์ 7 ประการนี่ เป็นข้อธรรม และก็เป็นกระบวนการกำจัดมลพิษภายในจิตวิญญาณ เป็นขบวนการในการจัดระเบียบของจิตวิญญาณความรู้สึกนึกคิดของตนให้เป็นผู้ ซื่อตรงถูกต้องตามครรลองคลองธรรม หรือครรลองของสภาวะธรรมนั้นๆ ซึ่งมีอยู่ในตนของตน

ฉะนั้น ความหมายของโพชฌงค์
ในข้อแรกก็คือ สติสัมโพชฌงค์ นั่นก็คือ โพชฌงค์ข้อแรกต้องปฏิบัติตนให้เป็นคนมีสติ และในความหมายของ
โพชฌงค์ก็คือ วิถีแห่งการบรรลุธรรม วิถีแห่งความพ้นทุกข์หรือไม่ก็วิถีแห่งการตัดอาสวะกิเลส เป็นกระบวนการทางจิตชนิดหนึ่ง เป็นอารมณ์แห่งจิตที่ทำงานเป็นอารมณ์แห่งจิตที่มีสาระ เป็นอารมณ์แห่งจิตที่มีความหมายพัฒนาไปเป็นจิตที่ประเสริฐ ในสติสัมโพชฌงค์ เมื่อบุคคลใดเป็นผู้ยังให้เกิดขึ้น ยังให้ตั้งขึ้น และมีขึ้น


พระพุทธเจ้ากล่าวว่าเมื่อมีสติแล้วจะต้องมีธัมมวิจยะ คือการวิจารณ์ธรรม เลือกเฟ้นธรรม แสวงหาธรรม ที่เหมาะตรงถูกต้องแก่ตนที่สามารถปฏิบัติได้ เมื่อมีสติมีการแสวงหาวิจารณ์ธรรมที่ดีอยู่แล้ว ที่ตรงถูกต้องก็ต้องทำด้วย
ความ พียร มานะพยายามบากบั่นอย่างยิ่ง เมื่อมีความเพียรแล้ว ผลที่ได้รับกลับมาก็คือความปีติสุข นั่นก็คือเป็นอารมณ์หนึ่งในโพชฌงค์ เมื่อมีปิติสุขซึ่งเป็นผลที่ได้รับจากการทำด้วยความวิริยะพากเพียรแล้ว

สิ่งที่จะตามมาจากปีติสุขก็คือ ความผ่อนคลาย ความปล่อยวาง ในสิ่งที่เป็นทาสจากตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายถูกต้องสัมผัสใดๆ ผ่อนคลายจากความชั่วเลวร้ายเสียหาย ทั้งกาย วาจาและใจ
เมื่อมีความผ่อนคลายปล่อยวางแล้วก็จะขยับเข้าไปถึงความหมายหรือองค์คุณแห่งสมาธิ คือความตั้งมั่นแห่งจิต
ผลแห่งสมาธินั้นเมื่อตั้งมั่นดีแล้ว จะเป็นเอกัคคตา คือเป็นหนึ่งเดียว มีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว กระบวนการต่างๆ


เหล่า นั้นทั้ง 7 ประการที่กล่าวมาแล้ว เป็นกระบวนการของโพชฌงค์ ทั้ง7 เราจะเห็นว่าเป็นกิริยาอาการของการที่จะนำพาเราเข้าไปสู่วิถีแห่งการพัฒนา จิตวิญญาณ ที่สามารถจะมีอิสระเสรีภาพในสิ่งที่ร้อยรัดผูกพัน
หรือห่วงหาอาวรณ์ใดๆ ต่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส และกายถูกต้องสัมผัส

ความหมายของโพชฌงค์ 7 ประการก็คือ กุญแจที่จะปลดปล่อยไขประตูและก็ปลดปล่อยเราให้ออกมาจากคุกของอารมณ์ คุกที่กักขังเราไว้ คุกที่ควบคุมกักขังตัวเรานั้น ไม่ใช่เป็นคนอื่น ใครอื่น สิ่งอื่น หรือที่อื่นๆ แต่เป็นตัวเราเองที่เรากักขังตัวเองไว้ ในอารมณ์ใดๆ โดยที่เราไม่รู้เท่าทันมัน รวมทั้งขังตัวเองเอาไว้ในสุข ทุกข์ เวทนา และก็กิจกรรมหรือการที่เป็นไปในกาย เช่นเกิดอาพาธ เกิดโรค หรือกักขังตัวเองไว้ในเวทนาของโรคนั้นๆ

ฉะนั้นการเจริญโพชฌงค์ก็คือการปลดปล่อยตัวเองออกจากเวทนา
และโรคร้ายเหล่านั้นก็จะหมดออกไปจากอารมณ์ เมื่อโรคออกจากอารมณ์เหล่านั้น ใจก็เป็นปรกติ

โดยหลักวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติของร่างกายแล้ว โรคทั้งหลายเกิดจากใจบกพร่องไม่ถูกต้องกันเสีย 90 กว่าเปอร์เซนต์ เมื่อใจเป็นปรกติถูกต้องไม่บกพร่อง ร่างกายก็จะสร้างแอนตี้บอดี้ สามารถที่จะมีกระบวนการกำจัดขัดเกลา ทำลายร้างสิ่งที่แปลกปลอม หรือสิ่งที่เข้ามาเกาะกินสุขภาพของกายสุขภาพของจิตหรือสุขภาพของใจ ร่างกายก็จะสร้างสารชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นสารที่จะทำลายศัตรูที่แปลกปลอมเข้ามาในกายนี้ เรียกว่าเป็นการต้านทานและก็ภูมิคุ้มกัน


ขบวนการของโพชฌงค์ก็คือกระบวนการที่เหมือนยารักษาโรค เป็นสูตรสำเร็จในการที่จะชำระ แกะ แคะ เกา และก็ขัดสีฉวีวรรณจิตนี้ให้ผุดผ่อง และก็เป็นกระบวนการของจิตที่ปล่อยวางจากอารมณ์สุขทุกข์และเวทนาทั้งปวงได้ อย่างที่สุด

หวังว่าพวกเราจะเข้าใจความหมายของโพชฌงค์ได้อย่างพอสมควร

สติสัมโพชฌงค์(ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง)

ธัมมวิจยะสัมโพชฌงค์( ความเฟ้นธรรม,ความสอดส่องค้นหาธรรม )

วิริยะสัมโพชฌงค์(ความเพียร)

ปีติสัมโพชฌงค์(ความอิ่มใจ)

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์(ความสงบกายสงบใจ)

สมาธิสัมโพชฌงค์(ความมีใจตั้งมั่น,จิตแน่วในอารมณ์)

อุเบกขาสัมโพชฌงค์(ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง)



ขอคอบคุณที่มา
http://board.palungjit.com/f17/ทำไมโพชฌงค์-7-ประการ-จึงสามารถบำบัดรักษาแก้โรคภัยต่างๆ-89152.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 20, 2011, 10:07:00 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

samapol

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 304
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: มกราคม 20, 2011, 10:33:53 pm »
0
ความแท้จริงของ การรักษา อยู่ที่องค์ โพชฌงค์ไหนครับ
และผู้ที่รักษาหายได้ต้องเป็นพระอรหันต์ ด้วยใช่หรือป่าวครับ บรรดา
พุทธสาวก ที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา มีประวัติใช่ โพชฌงค์รักษา มีหรือไม่ครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #22 เมื่อ: มกราคม 22, 2011, 08:28:45 pm »
0
ความแท้จริงของ การรักษา อยู่ที่องค์ โพชฌงค์ไหนครับ
และผู้ที่รักษาหายได้ต้องเป็นพระอรหันต์ ด้วยใช่หรือป่าวครับ บรรดา
พุทธสาวก ที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา มีประวัติใช่ โพชฌงค์รักษา มีหรือไม่ครับ

 :25: :25: :25:

เรื่องนี้ผมได้เคยคุยกับพระอาจารย์แบบไม่เป็นทางการมาแล้ว

และผมก็ขอตอบแบบไม่เป็นทางการ ความจริงเป็นคำตอบชั่วคราวมากกว่า

พรุ่งนี้ผมจะได้พบท่าน จะเอาคำตอบดีๆมาฝาก

พูดซะยาวเลย คำตอบคือ "สมาธิ"

 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #23 เมื่อ: มกราคม 24, 2011, 09:59:34 am »
0
ความแท้จริงของ การรักษา อยู่ที่องค์ โพชฌงค์ไหนครับ
และผู้ที่รักษาหายได้ต้องเป็นพระอรหันต์ ด้วยใช่หรือป่าวครับ บรรดา
พุทธสาวก ที่เป็นอุบาสก อุบาสิกา มีประวัติใช่ โพชฌงค์รักษา มีหรือไม่ครับ

 :25: :25: :25:

คุณ samapol และเพื่อนๆทุกท่านครับ สิ่งที่ผมจะตอบต่อไปนี้ ขอให้ทุกท่านทราบว่า

ได้รับความกรุณาจากพระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส

ท่านกล่าวว่า จะบอกเฉพาะศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้น

ดังนั้นผมขอเลือกที่จะตอบบางส่วนเท่านั้น ขอให้ดูวิชาต่อไปนี้ครับ



วิชาโลกุดร สยบมาร

๑. ตั้งที่กลางสะดือ      ภาวนาว่า   สติสัมโพชฌงค์

๒.ตั้งที่เหนือสะดือ ๒ นิ้ว    ภาวนาว่า   ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

๓.ตั้งที่หทัย      ภาวนาว่า   วิริยะสัมโพชฌงค์

๔.ตั้งที่คอกลวง      ภาวนาว่า   ปีติสัมโพชฌงค์

๕.ทั้งที่โคตรภูท้ายทอย   ภาวนาว่า   ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์

๖. ตั้งที่กลางกระหม่อม   ภาวนาว่า   สมาธิสัมโพชฌงค์

๗.ตั้งที่ระหว่างคิ้ว      ภาวนาว่า   อุเบกขาสัมโพชฌงค์

แล้วเปลี่ยนมา      ภาวนาว่า   โลกุตตะรัง จิตตัง ฌานัง


ผลประโยชน์ของวิชาโลกุดร สยบมาร

๑. แผ่ให้ผู้ที่ลำบาก

๒.แผ่บารมีให้มาร

๓.ทำจิตให้หลุดพ้น

๔.บูชาคุณครูบาอาจารย์

๕. เมตตา

๖.ปราบมาร

๗. มีความเพียร

๘. ปราบคนทุศีล

๙. รักษาโรคกาย โรคจิต ตนเอง และผู้อื่น


อ้างอิง หนังสือ วิชากัมมัฏฐาน และคำสอนหลวงปู่ คัดลอกมาจากเว็บสมเด็จสุก

วิชานี้มีแต่หัวข้อ ไม่มีรายละเอียดในการปฏิบัติ นั่นคือ ผลของการสงวนไว้เฉพาะศิษย์ใกล้ชิด

วิธีปฏิบัติก็คือ ให้เดินจิตตามที่ตั้งทั้งเจ็ด เรียงตามที่ระบุไว้ โดยใช้สมาธิเป็นตัวกำกับ


ส่วนเรื่องมีประวัติของฆราวาส หรือสาวกอื่นๆ พิจารณาโพชฌงค์๗ แล้วหายป่วย รึเปล่า ผมตอบไม่ได้

แต่พระอาจารย์บอกว่า วิธีนี้จะได้ผลดีกับพระอรหันตผลเท่านั้น

ผมเลยตั้งข้อสังเกตว่า ในพระสูตรเท่าที่เราค้นกันได้ มีผู้ที่เกี่ยวข้อง คือ

พระพุทธเจ้า พระโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ และพระจุนทะ

ทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ และเป็นพระเถระทั้งสิ้น

ผมขอตอบเท่านี้ครับ

 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2011, 10:08:10 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #24 เมื่อ: มกราคม 24, 2011, 10:20:09 am »
0
วิธีสวดโพชฌังคปริตร พิชิตโรค

     การสวดมนต์ให้เกิดอานุภาพรักษาความเจ็บไข้อาจทำได้ 2 วิธี คือ ผู้ป่วยสวดด้วยตนเอง หรือ ให้ผู้อื่นสวดให้ฟัง โดยสามารถสวดได้ทุกที่ไม่จำกัด  ขอเพียงแต่มีความตั้งใจที่จะสวด เนื่องจากคำสวดเป็นบาลีอาจสวดผิด-ถูกบ้างก็ไม่เป็นไร  สวดบ่อยเข้าจะชินไปเอง จะสวดคำแปลด้วยหรือไม่สวดก็ได้  แต่ควรอ่านคำแปลเพื่อจะได้รู้ความหมายของบทสวด  ทำให้เกิดความศรัทธามากขึ้น  และการสวดไม่ใช่การบ่นในใจ จึงควรสวดออกเสียงให้ดังพอประมาณและไม่เร็วเกินไป  โดยสวดตามลำดับดังนี้

1. บทกราบพระรัตนตรัย
2. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
3. บทไตรสรณคมน์
4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
6. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
7. บทโพชฌังคปริตร 
8. บทสัพพมงคลคาถา
9. ทำสมาธิ
10. บทแผ่เมตตาแก่ตัวเอง
11. บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
12. บทแผ่กุศล
13. บทอธิษฐานจิต


1. บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง  สัมมาสัมพุทโธ  ภะคะวา,     พระผู้มีพระภาคเจ้า  เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;
พุทธัง  ภะคะวันตัง  อะภิวาเทมิ.     ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า,  ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน.  (กราบ)
สวากขาโต  ภะคะวะตา ธัมโม,   พระธรรม  เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า,  ตรัสไว้ดีแล้ว;
ธัมมัง นะมัสสามิ.   ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม. (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,  พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า,  ปฎิบัติดีแล้ว;
สังฆัง  นะมามิ.  ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.  (กราบ)

2. บทนอบน้อมพระพุทธเจ้า
(สวด 3 จบ)
นะโม  ตัสสะ  ภะคะวะโต,  ขอนอบน้อม แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระองค์นั้น;
อะระหะโต,    ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส;
สัมมาสัมพุทธัสสะ.     ตรัสผู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

3. บทไตรสรณคมน์
พุทธัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
ธัมมัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
สังฆัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ,

       ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า   พระธํรรม   และพระสงฆ์  เป็นที่พึ่งตราบถึงพระนิพพาน;

***หมายเหตุ  บทนี้สวดเพื่อปฎิญาณตนรับเอาพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง  หรือเป็นผู้นำในชีวิต  คือ ยอมมอบกายถวายชีวิตอยู่ภายใต้การนำของพระรัตนตรัย  ในที่นี้จะแตกต่างจากการสวดโยทั่วไป  เพราะมีความนิยมว่า  หากสวดให้ผู้ป่วยฟัง  หรือสวดสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาให้เพิ่มคำสวดว่า "ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง"  แปลว่า ตราบถึงพระนิพพาน

ทุติยัมปี   พุทธัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
ทุติยัมปี   ธัมมัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
ทุติยัมปี   สังฆัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ,

         แม้ครั้งที่ 2  ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า   พระธํรรม   และพระสงฆ์  เป็นที่พึ่งตราบถึงพระนิพพาน;

ตติยัมปี   พุทธัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
ตติยัมปี   ธัมมัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ,
ตติยัมปี   สังฆัง  ชีวิตัง  ยาวะ  นิพพานัง  สะระณัง  คัจฉามิ,

         แม้ครั้งที่ 3  ข้าพเจ้าถือเอาพระพุทธเจ้า   พระธํรรม   และพระสงฆ์  เป็นที่พึ่งตราบถึงพระนิพพาน;

4. บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
อิติปิ โส  ภะคะวา,  พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น;
อะระหัง,  เป็นผู้ไกลจากกิเลส;
สัมมาสัมพุทโธ,  เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง;
วิชชาจะระณะสัมปันโน,  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชาและจรณะ;
สุคะโต,  เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี;
โลกะวิทู,  เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง;
อะนุตตะโร   ปุริสะทัมมะสาระถิ,  เป็นผู้สามารถฝึกบุรษที่สมควรฝึกได้  อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า;
สัตถา  เทวะมะนุสสานัง,  เป็นครูผู้สอนของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย;
พุทโธ,  เป็นผู้รู้  ผู้ตื่น  ผู้เบิกบานด้วยธรรม;
ภะคะวาติ,  เป็นผู้มีความจำเริญ   จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์;

 
5. บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
สวากขาโต  ภะคะวะโต   ธัมโม,  พระธรรม  เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า  ตรัสไว้ดีแล้วโดยพระองค์เอง;
สันทิฏฐิโก,  เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติพึงเห็นได้ด้วยตนเอง;
อะกาลิโก,  เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า  ท่านจงมาดูเถิด;
โอปะนะยิโก,  เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
ปัจจัตตัง   เวทิตัพโพ วิญญูหีติ.  เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน;
 
6. บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
สุปะฏิปันโน  ภะคะวะโต  สาวะกะสังโฆ,     สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด,     ปฏิบัติดีแล้ว;
อุชุปะฏิปันโน   ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,   สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด,   ปฏิบัติตรงแล้ว;
ญายะปฏิปันโน  ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,   สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด,   ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว;
สามีจิะฏิปันโน   ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ,   สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด,   ปฏิบัติสมควรแล้ว;
ยะทิทัง,   ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :-
จัตตาริ   ปุริสะยุคานิ   อัฏฐะ   ปุริสะปุคคะลา,   คู่แห่งบุรุษ 4 คู่  นับเรียงตัวบุรุษ ได้ 8 บุรุษ;
เอสะ   ภะคะวะโต   สาวะกะสังโฆ,   นั้นแหละ   สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า;
อาหุเนยโย,   เป็นสงฆควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา;
ปาหุเนยโย,   เป็นสงฆควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ;
ทักขิเณยโย,   เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน;
อัญชลีกะระณีโย,   เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี;
อะนุตตะรัง   ปุญญักเขตตัง   โลกัสสาติ.   เป็นเนื้อบุญของโลก   ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
 
7. โพชฌังคปริตร
โพชฌังคปริตร   สติสังขาโต,   โพชฌงค์   กล่าว คือ สติ;
ธัมมานัง   วิจะโย   ตะถา,   ธัมมวิจยะ;
วิริยัมปีติปัสสัทธิ-                วิริยะ   ปีติ   ปัสสิทธิ;
โพชฌังคา  จะ ตะถาปะเร,   และโพชฌงค์อื่นอีก 2:-
สะมาธุเปกขะโพชฌังคา,   คือสมาธิและอุเบกขา;


สัตเตเต   สัพพะทัสสินา   มุนินา   สัมมะทักขาตา,  ธรรม 7 ประการนี้  อันพระมุนี   ทรงเห็นทั่ว   ตรัสไว้ชอบแล้ว;
ภาวิตา   พะหุลีกะตา,   ทรงบำเพ็ย   กระทำให้มากแล้ว;
สังวัตตันติ   อภิญญายะ,   ย่อมเป็นไป  เพื่ออภิญา;
นิพพานายะ  จะ  โพธิยา,   เพื่อพระนิพพาน  และโพธิญาณ;
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ,   ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ  เม   โหตุสัพพะทา.   ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.


เอกัสมิง   สะมะเย   นาโถ,   สมัยหนึ่ง   พระโลกนาถ;
โมคคัลลานัญจะ   กัสสสะปัง   คิลาเน   ทุกขิตา   ทิสวา,   ทอดพระเนตรเห็นพระโมคคัลลานะ 
และพระกัสสปะ   อาพาธ เป็นทุกข์;
โพชฌังเค   สัตตะ   เทสะยิ,   จึงแสดงโพชฌงค์ 7 ให้ฟัง;
เต   จะ  ตัง   อะภินันทิตวา,   พระเถระทั้ง 2   ยินดีพุทธภาษิตนั้น;
โรคา  มุจจิงสุง   ตังขะเณ,   โรคทั้งหลาย   ก็สงบ   ในขณาะนั้น;
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ,   ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ  เม  โหตุ  สัพพะทา.   ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.


เอกะทา   ธัมมะราชาปิ,   คราวหนึ่ง  องค์พระธรรมราชา  เอง;
เคลัญเญนาภิปีฬิโต,   ทรงพระประชวรไข้;
จุนทัตเถเรนะ   ตัญเญวะ   ภะณาเปตวานะ   สาทะรัง,    รับสั่งให้พระจุนทเถระกล่าวโพชฌงค์ 7 นั้น
ถวายโดยเคารพ;
สัมโมทิตวา  จะ  อาพาธา  ตัมหา  วุฏฐาสิ  ฐานะโส,   ทรงบันเทิง  พระพฤทัย 
หายจากพระประชวร  โดยแท้จริง;
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ,   ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ  เม  โหตุ  สัพพะทา.   ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.


ปะหีนา   เต  จะ  อาพาธา  ติณณันนัมปิ  มะเหสินัง,   ก็ อาพาธเหล่านั้น
อันมหาฤษี  ทั้ง 3 ละได้แล้ว  ไม่กลับเป็นอีก;
มัคคาหะตะกิเลสา  วะ,   ดุจกิเลสที่อริยมรรคกำจัดแล้ว;
ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง,  ถึงความไม่เกิดอีกเป็นธรรมดา;
เอเตนะ   สัจจะวัชเชนะ,   ด้วยการกล่าวสัจวาจานี้;
โสตถิ  เม  โหตุ  สัพพะทา.   ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าเถิด.

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #25 เมื่อ: มกราคม 24, 2011, 10:28:15 am »
0
8. สัพพมงคลคาถา
          ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง   รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ     สะทา โสตถี  ภะวันตุเม.
          ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง   รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ     สะทา โสตถี  ภะวันตุเม.
          ภะวะตุ  สัพพะมังคะลัง   รักขันตุ  สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ     สะทา โสตถี  ภะวันตุเม.
          ขอมงคลทั้งปวงจงมี  ขอเทวดาทั้งปวงจงคุ้มครอง  ด้วยอานุภาพของพระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์  ขอความสวัสดี  จงมีแก่ข้าพเจ้าในกาลทุกเมื่อ.
 
9. ทำสมาธิ
          หลังการสวดมนต์  ควรนั่งสมาธิสัก 10 นาที  เป็นอย่างน้อย  เพื่อให้จิตใจปลอดโปร่งสบาย  ร่างกายเรายังต้องอาบน้ำทำความสะอาดทุกวัน จิตใจก็เช่นกัน  ต้องชำระล้างด้วยการปล่อยวางความคิดต่างๆ ให้หมดไปจากใจ

          วิธีทำสมาธิแบบง่ายๆ คือ นั่งกับพื้นหรือบนเก้าอี้  วางมือวางเท้าอย่างไรก็ได้  ให้อยู่ในท่าพอดีไม่ฝืนร่างกายจนถึงกับเกร็ง  อย่าให้หลังโค้งงอ  เมื่อปรับร่างกายเข้าที่แล้วให้หลับตาลงเบาๆ  สบายๆ  คล้ายๆ กับกำลังพักผ่อน  ไม่บีบเปลือกตาจนแน่น  จากนั้นเอาจิตมากำหนดที่ปลายจมูก (ที่อื่นตามที่ท่านรู้มาก็ได้)  หายใจเข้าบริกรราว่า  พุท  หายใจออกบริกรรมว่า  โธ  ให้จิตแนบแน่นอยู่กับลมหายใจเข้า-ออก   หรืออยู่กับคำบริกรรมว่า พุท-โธ  ให้กำหนดเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจิตจะสงบนิ่งเป็นสมาธิก็ไม่ต้องบริกรรมอีก  แต่ขณะใดจิตฟุ้งซ่านรีบใช้สติดึงจิตกลับมาที่คำบริกรรมเพื่อให้จิตมีที่ยึด เหนี่ยวอยู่กับอารมณ์กรรมฐาน

สมาธิรักษาโรคอย่างไร?
         ประโยชน์ของสมาธิมีอย่างมากมาย  ถ้าว่าถึงประโยชน์สูงสุดก์คือ  เพื่อเตรียมจิตให้พร้อมที่จะใช้ปัญญาให้รู้แจ้งเห็นจริงในสภาวธรรม  ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะที่มีผลต่อการรักษาโรค  พระเดชพระคุณ  พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)  ท่านกล่าวว่า

         "สมาธิ   ช่วยเสริมสุขภาพกายและใช้แก้ไขโรคได้   ร่างกายกับจิตใจอาศัยกันและมีอิทธิพลต่อกัน  ปุถุชนทั่วไปเมื่อกายไม่สบาย  จิตใจก็พลอยอ่อนแอเศร้าหมองขุ่นมัว  ครั้นเสียใจไม่มีกำลังใจก็ยิ่งซ้ำให้โรคทางกายนั้นทรุดหนักลงไปอีก  แม้ในเวลาที่ร่างกายเป็นปกติ  พอประสบเรื่องราวให้เศร้าเสียใจรุนแรง  ก็ล้มป่วยเจ็บไข้ไปได้  ส่วนผู้มีจิตใจเข้มแข็งสมบูรณ์  เมื่อเจ็บป่วยก็ไม่สบายอยู่แค่กายเท่านั้น  จิตใจไม่หลายป่วยไปด้วย  ยิ่งกว่านั้นกลับใช้  ใจที่สบายมีกำลังใจเข้มแข็งนั้น  หันกลับมาส่งอิทธิพลบรรเทาหรือผ่อนโรคทางกายได้อีกด้วย  อาจทำให้โรคหายง่ายและไวขึ้น  หรือแม้แต่ใช้กำลังสมาธิระงับทุกขเวทนาทางกายไว้ก็ได้"
 
แผ่เมตตา
         หลังจากสวดมนต์  นั่งสมาธิเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   เชื่อมั่นว่าพลังใจของท่านย่อมเต็มเปี่ยมด้วยบุญ  เพราะได้บำเพ็ญบุญตามหลักของไตรสิกขาครบถ้วน  คือ
 
         ขณะสวดมนต์ผู้สวดมีความสำรวมกายไม่ให้คึกคะนอง  วาจากล่าวแต่คำพุทธสุภาษิต  เรียกว่า ศีล,  จิตใจของผู้สวดจะจดจ่อกับบทสวดไม่วอกแวก  ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวคือการสวดมนต์  เรียกว่า สมาธิ,  ผู้สวดมีความเพียรที่จะละความชั่ว  มีการระลึกถึงแต่สิ่งดีงาม
 
         มีความรู้ตั่วทั่วพร้อมว่าตนกำลังทำความดีอยู่  เรียกว่า ปัญญา  ขอให้ท่านตั้งใจนำบุญนี้ไปก่อประโยชน์สุขทั้งแก่ตนเองและผู้อื่นต่อไป

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)  ท่านสอนว่า  "ขณะที่จิตของท่านเป็นสมาธิ  และแผ่เมตตาออกไปนั้น  บุญกุศลที่ได้เท่ากับสร้างโบสถ์ทั้งหลัง"

10. บทแผ่เมตตาแก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต  โหมิ,   ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข;
นิททุกโข  โหมิ,   ปราศจากความทุกข์;
อะเวโร โหมิ,        ปราศจากเวร;
อัพยาปัชโฌ  โหมิ,    ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง;
อะนีโฆ โหมิ,  ปราศจากความทุกข์กาย ทุกข์ใจ;
สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรามิ,   มีความสุขกายสุขใจ  รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.
 
11. บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ  สัตตา,   สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์  เกิดแก่เจ็บตาย  ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น;
อะเวโร โหนตุ,        จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด  อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย;
อัพยาปัชโฌ  โหนตุ,    จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด  อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย;
อะนีโฆ โหนตุ,  จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด  อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย;
สุขี  อัตตานัง  ปะริหะรันตุ,   จงมีความสุขกายสุขใจ  รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.
 
12. บทแผ่ส่วนกุศล
          การแผ่กุศล  เป็นการอุทิศความดีที่เราทำแล้วให้ผู้อื่นมีมารดาบิดา เป็นต้น  เรื่อยมาตามลำดับ  ทำให้เราได้บุญมากขึ้น  ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า  ปัตติทานมัย  บุญที่เกิดจากการอุทิศาบุญของตนให้ผู้อื่นนั่นเอง
อิทัง  เม  มาตาปิตูนัง  โหตุ,   สุขิตา  โหนตุ  มาตาปิตะโร
,
     
          ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่มารดาบิดาของข้าพเจ้า,  ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้ามีความสุข;
อิทัง  เม  ญาตีนัง  โหตุ,   สุขิตา  โหนตุ  ญาตะโย,
     
          ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า,  ขอให้ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้ามีความสุข;
อิทัง  เม  คะรุปัชฌายาจะริยานัง  โหตุ,   สุขิตา  โหนตุ  คะรุปัชฌายาจะริยา,

     
          ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์และอาจารย์ของข้าพเจ้า,  ขอให้ครูอุปัชฌาย์และอาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข;

อิทัง  สัพพะเทวะตานัง โหตุ,   สุขิตา  โหนตุ  สัพเพ เทวา,     
          ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข;


อิทัง  สัพพะเปตานัง โหตุ,   สุขิตา  โหนตุ  สัพเพ เปตา,     
          ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข;

อิทัง  สัพพะเวรรีนัง โหตุ,   สุขิตา  โหนตุ  สัพเพ เวรี,     
          ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข;


อิทัง  สัพพะสัตตานัง โหตุ,   สุขิตา  โหนตุ  สัพเพ สัตตา,     
          ขอส่วนบุญนี้ จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง,  ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขถ้วนหน้ากัน เทอญ;
   
อธิษฐานจิตเพิ่มบุญบารมี
          เมื่อแผ่เมตตาจบแล้ว  พึงอธิษฐานจิตนึกคิดปรารถนาแต่สิ่งดีงาม  คำว่า อธิษฐาน  โดยทั่วไปหลายถึง  การตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, การนึกปราถนาส่งที่ต้องการจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์  แต่ในทางธรรมหมายถึง  ความตั้งใจมั่นคงตัดสินใจแน่นอนที่จะทำความดี  ดังที่ หลวงพ่อพุทธทาส กล่าวไว้ว่า

"...ตอนที่กล่าวอธิษฐานจิตของตัวเอง  คือตั้งความปราถนาของตัวเองว่า ขอให้เป็นอย่างนั้น  ขอให้เป็นอย่างนี้  รวมใจความสำคัญอยู่ที่ว่า  ขอให้สิ้นกิเลสอาสวะในที่สุด  นี้เป็นเรื่องดี  คือไม่รู้จักลืมวัตถุประสงค์มุ้งหมาย...
บทอธิษฐานจิตนั้น  ตั้งความปราถณาอันสูงไว้เป็นเบื้องหน้า  แล้วก็ย้อมจิตให้เป็นอย่างนั้นจริงๆ อยู่เสมอแล้ว  แน่นอนทีเดียว   ไม่ต้องมีใครมารับประกันก็รับประกันตัวเองได้ว่า  ความเป็นไปในชีวิตของเราผู้เป็นสาวกของพระพุทธองค์นั้น จักเดินไปอย่างถูกทางอย่างรวดเร็วที่สุด"


13. บทอธิษฐานจิต
"ระตะนัตตะยานุภาเวนะ  ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัย  ขอให้ทุกข์  โศก  โรค ภัย  ศัตรู  อุปสรรคอันตรายทั้งปวงของข้าพเจ้าจงพินาศไป  ขอให้ความชนะ  ความสำเร็จ  ทรัพย์และลาภ  ความสวัสดี  ความมีโชค  ความสุข  ความมีกำลัง  สิริ  อายุ  วรรณะ  โภคสมบัติ  ธรรมสารสมบัติ  และควาสำเร็จกิจในความเป็นอยู่  จงบังเกิดมีแก่ข้าพเจ้า 

หากข้าพเจ้ายังไม่ถึงพระนิพพาน  ยังต้องวนเวียนอยู่วัฏสงสาร  ขอให้ข้าพเจ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์  ไปเกิดในตระกูลที่ดีเป็นสัมมาทิฏฐิ  เป็นผู้มีธรรมบริสุทธิ์  ตราบเท่าถึ่งพระนิพพาน เทอญ  นิพพานะปัจจะโย  โหตุ"

ที่มา http://www.waluka.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=13
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #26 เมื่อ: มกราคม 24, 2011, 10:48:28 am »
0
บทเพลง โพชฌังคปริต ล้านนาบารมี

http://www.youtube.com/watch?v=http://gdata.youtube.com/feeds/api/videos/9fQ-cUJqwuY?v=2#errorPrivate video

"อัลบั้มหนึ่งเพชรล้านนา" ลิขสิทธิของ อ.กัญญนัทธ์ ศิริ ศิลปิน ล้านนา/ประพันธ์/ขับร้อง

บทเพลง โพชฌังคปริต ล้านนาบารมี
กัญญนัทธ์ ศิริ / ประพันธ์ทำนอง / ขับร้อง
อาจารย์ นิรุตน์ แก้วหล้า ภาควิชาดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่/ ดนตรี

โพชฌังคปริตร

โพชฌังโค สะติสังขาโต ธัมมานัง วิจะโย ตะถา

วิริยัมปีติ ปัสสัทธิ โพชฌังคา จะ ตะถาปะเร

สะมาธุเปกขะโพชฌังคา

สัตเตเต สัพพะทัสสินา มุนินา สัมมะทักขาตา

ภาวิตา พะหุลีกะตา

สังวัตตันติ อะภิญญายะ นิพพานายะ จะ โพธิยา

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

เอกัสมิง สะมะเย นาโถ โมคคัลลานัญจะ กัสสะปัง คิลาเน ทุกขิเต ทิสวา

โพชฌังเค สัตตะ เทสะยิ

เต จะ ตัง อะภินันทิตวา

โรคา มุจจิงสุ ตังขะเณ

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

เอกะทา ธัมมะราชาปิ เคลัญเญนาภิปีฬิโต

จุนทัตเถเรนะ ตัญเญวะ ภะณาเปตวานะ สาทะรัง

สัมโมทิตวา จะ อาพาธา ตัมหา วุฏฐาสิ ฐานะโส

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

ปะหีนา เต จะ อาพาธา ติณณันนัมปิ มะเหสินัง

มัคคาหะตะกิเลสาวะ ปัตตานุปปัตติธัมมะตัง

เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ

โสตถิ เต โหตุ สัพพะทา

หรือ คลิกเข้าไปฟังหรือดาวน์โหลด บทเพลง โพชฌังคปริต ล้านนาบารมี ได้ที่นี้
http://board.palungjit.com/f17/บทเพลงรักษาผู้เจ็บป่วยโพชฌังคปริต-ล้านนาบารมี-200458.html

ที่มา  http://board.palungjit.com/f17/บทเพลงรักษาผู้เจ็บป่วยโพชฌังคปริต-ล้านนาบารมี-200458.html



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2011, 01:43:02 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ซีรี่ย์ พระปริตร ตอน"โพชฌงคปริตร"(ภาคพิสดาร)
« ตอบกลับ #27 เมื่อ: มกราคม 24, 2011, 12:52:14 pm »
0
อ้างถึง
เรื่องนี้ผมได้เคยคุยกับพระอาจารย์แบบไม่เป็นทางการมาแล้ว

และผมก็ขอตอบแบบไม่เป็นทางการ ความจริงเป็นคำตอบชั่วคราวมากกว่า

พรุ่งนี้ผมจะได้พบท่าน จะเอาคำตอบดีๆมาฝาก

อ้างถึง
คุณ samapol และเพื่อนๆทุกท่านครับ สิ่งที่ผมจะตอบต่อไปนี้ ขอให้ทุกท่านทราบว่า

ได้รับความกรุณาจากพระอาจารย์สนธยา ธัมมวังโส

ท่านกล่าวว่า จะบอกเฉพาะศิษย์ใกล้ชิดเท่านั้น

ดังนั้นผมขอเลือกที่จะตอบบางส่วนเท่านั้น ขอให้ดูวิชาต่อไปนี้ครับ

แสดงว่าได้พบพระอาจารย์ ในวันที่ 23 ม.ค.2554 ใช่หรือไม่คะ

ไม่มีภาพบรรยากาศ งานพบศิษย์กันหรือคะ

 :25:



บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร