ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การที่ควรและมิควรปฏิบัติของ องค์พระมหากษัตริย์.! อย่าเสวยผลไม้ที่มีต้นและผลดำ.!!  (อ่าน 487 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



๗ มหาราชของชาติไทย


การที่ควรปฏิบัติและมิควรปฏิบัติ ของ องค์พระมหากษัตริย์.! อย่าเสวยผลไม้ที่มีต้นและผลดำ.!!

จากหนังสือ “บรมราชาภิเษก” ศึกษาค้นคว้าโดย นางณัฏฐภัทร จันทวิช ซึ่งบริษัท รุ่งอรุณ พับลิชชิ่ง จำกัด จัดพิมพ์เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๖ รอบ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๒ ในบทสรุปวิเคราะห์มีข้อความที่น่าสนใจเกี่ยวกับคติความเชื่อดั้งเดิมของคนไทย ที่กำหนดข้อควรและไม่สมควรที่พระเจ้าอยู่หัวจะพึงปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้พระองค์มีความเจริญรุ่งเรือง ประกอบด้วยฤทธานุภาพและตบะอันสูง ในหัวข้อ “การที่ควรปฏิบัติและมิควรปฏิบัติขององค์พระมหากษัตริย์”

@@@@@@

ข้อควรปฏิบัติและยึดถือ มี ๙ ประการ คือ
    ๑. เมื่อจะเสวยพระกระยาหาร ประทับหันพระพักตร์ไปทางตะวันออก
    ๒. ให้เสวยปลาที่มีรสโอชา
    ๓. ให้เสวยผลไม้ที่มีรสหวาน
    ๔. ให้ดมกลิ่นดอกไม้อันหอม
    ๕. ให้สรง (อาบน้ำ) ระหว่างเวลาเที่ยง
    ๖. ให้ลูบไล้พระวรกายด้วยเครื่องหอม
    ๗. เมื่อจะบรรทมให้บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
    ๘. เมื่อตื่นพระบรรทมแล้วให้สรงพระพักตร์ด้วยน้ำสังข์ และน้ำที่มีกลิ่นหอม และให้หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก
    ๙. ให้ทรงพระภูษาเนื้อละเอียด


@@@@@@

ส่วนการที่มิควรปฏิบัติสำหรับพระมหากษัตริย์ มี ๑๐ ประการ คือ
     ๑. อย่าทอดพระเนตรดูแสงพระอาทิตย์
     ๒. อย่าบรรทมตื่นสายจนแสงพระอาทิตย์ขึ้น
     ๓. อย่าเสวยพระกระยาหารในเวลาบ่ายถึงยามหนึ่ง
     ๔. อย่าเสวยผลไม้ที่มีต้นและผลดำ
     ๕. อย่าเสวยน้ำที่มีมันตมและห้วยหนอง
     ๖. อย่าเสวยเนื้อปลาที่คาวและไม่มีมัน
     ๗. อย่าเสวยพระโอสถที่หมอปรุงขึ้นในที่มิชอบ
     ๘. อย่าเสวยสิ่งที่ต้องขบ ต้องกัด
     ๙. อย่าเสพกามคุณด้วยสตรีที่มีอายุ ๔๐-๕๐ ปี
     ๑๐. อย่าทรงพระภูษาเนื้อหยาบ

@@@@@@

นอกจากนี้ พระองค์ยังต้องทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจที่สำคัญๆ เรียกว่า “จักรวรรดิวัตร” ซึ่งมีอยู่ ๕ ประการ คือ
     ๑. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ เคารพและเชิดชูธรรม ตั้งตนอยู่ในธรรม
     ๒. ธรรมิการักขา ให้ความคุ้มครองโดยธรรม ด้วยการรักษาคุ้มครองป้องกันอันชอบธรรม แก่ชนทุกหมู่เหล่าในแผ่นดิน
     ๓. อธรรมการ คือจัดการป้องกันแก้ไขมิให้มีการกระทำที่ไม่เป็นธรรมเกิดขึ้นในบ้านเมือง
     ๔. ธนานุประทาน แบ่งปันทรัพย์เฉลี่ยให้แก่ผู้ยากไร้ ด้วยการจัดให้ราษฎรมีการหาเลี้ยงชีพพึ่งตนเองได้
     ๕. ปริปุจฉา คือการมีที่ปรึกษาที่ทรงวิชาการ ทรงคุณธรรม เป็นผู้ประพฤติดี ประพฤติชอบ ที่จะช่วยให้เจริญปัญญาและกุศลธรรม


@@@@@@

นอกจากนี้แล้ว องค์พระมหากษัตริย์ยังต้องทรงประกอบราชสังคหะ คือต้องทำนุประชาราษฎร์ด้วยหลักธรรมที่เรียกว่า “ราชสังคหวัตถุ” ทั้งยังต้องเป็นผู้ละเว้นอคติทั้งปวงด้วย

สำหรับ ราชสังคหวัตถุ มี ๔ ประการ คือ
     ๑. สัสสะเมธังฉลาดที่จะบำรุงธัญญาหาร
     ๒. วาจาเปยะมีวาทะดูดดื่มใจ
     ๓. ปุริสเมธังฉลาดสงเคราะห์บุรุษ
     ๔. สัมมาปาสังสามารถผูกน้ำใจมนุษย์ให้นิยมยินดี

@@@@@@

สำหรับ อคติต่างๆ ที่ต้องละเว้น มี ๔ ประการ คือ
     ๑. ฉันทาคติลำเอียงเพราะชอบ
     ๒. โทสาคติลำเอียงเพราะชัง
     ๓. ภยาคติลำเอียงเพราะขลาดกลัว
     ๔. โมหาคติลำเอียงเพราะหลงหรือเขลา


@@@@@@

ธรรมดังกล่าวเหล่านี้ เป็นธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ว่า เป็นธรรมที่องค์พระมหากษัตริย์หรือผู้นำรัฐพึงกระทำ ซึ่งก็นับว่าเป็นการยากยิ่งที่บุคคลธรรมดาจะปฏิบัติได้อย่างสม่ำเสมอ แต่ก็นับว่าเป็นบุญของประชาชนชาวไทย ที่มีองค์พระมหากษัตริย์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยคุณธรรมนี้มาตลอด ทำให้ชาติไทยมีความร่มเย็น สุขสงบ และเจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับ



ขอบคุณที่มา : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9620000035831
เผยแพร่ : 15 เม.ย. 2562 11:11, โดย : โรม บุนนาค
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ