ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ถ้าปรารถนา นิพพาน แต่ไม่ออกบวช จะได้ นิพพาน หรือไม่คะ  (อ่าน 5821 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือได้อ่านศึกษา พระธรรม ในเว็บนี้มานาน จึงพอจะเข้าใจว่าตอนนี้ในศาสนาพุทธ นั้นไม่ให้มีการบวชภิกษุณี ดังนั้นถ้าเราปรารถนา การพ้นจากสังสารวัฏ แล้วไม่ออกบวช เหมือนพระภิกษุณี จะได้สำเร็จธรรมหรือไม่คะ เรียนถามด้วยความสงสัยเรื่องนี้มากคะ

 อยากให้เพื่อน ผู้หญิง ทุกท่าน ช่วยแสดงความเห็นกันด้วยคะ

  :58: :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
นางวิสาขา ก็ไม่ได้เป็นพระแต่ก็สามารถที่จะสำเร็จพระโสดาบันได้ (เข้าสู่กระแส พระนิพพาน)
ก็แล้วทำไม ถึงมีอุบาสก และอุบาสิกา  ทำไม ไม่ต้องมีแต่พระภิกษุ

คำตอบก็คือ  อยู่ที่ศีล อยู่ที่การประพฤติปฏิบัติของผู้ที่ครองเพศนั้นๆ
การที่จะสำเร็จ โสดาบันได้นั้น ต้องละสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส

มิได้บอกว่า ให้เป็นนักบวช แล้วจะสำเร็จได้เลย
แม้นักบวชเองก็ต้องกระทำกิจเช่นเดียวกัน

เพียงแต่ในการครองเรือน ถือเพศฆราวาสนั้น มีกิจมาก มีการงานมาก
ทำให้ไม่สามารถที่จะกระทำความเพียร ความบริสุทธิ์ได้เต็มที่
ผู้ที่เห็นภัยจากการครองเรือนจึงหันมาออกบวช เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติสมณธรรมได้เต็มที่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 14, 2012, 11:46:02 am โดย ธรรมะ ปุจฉา »
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อานนท์ ! ผู้ใดจะเป็นภิกษุก็ตาม  เป็นภิกษุณีก็ตาม  เป็นอุบาสก  หรือเป็นอุบาสิกาก็ตามที,
ถ้าเป็นผู้ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม  ปฏิบัติชอบยิ่ง  ปฏิบัติตามธรรมอยู่,
ผู้นั้นแลชื่อว่าได้สักการะ  ได้ให้ความเคารพนับถือ  และบูชาเราตถาคตด้วยการบูชาอย่างสูงสุด
ด้วยประการฉะนี้แล. (มหาปรินิพพานสูตร ๑๐/๑๓๓)


การที่ผู้หญิงมานุงขาวห่มขาว ถือศีลแปด นำมาปฏิบัติ อย่างนี้ก็เรียกว่านักบวชด้วยเหมือนกัน     

      บวช แปลกันว่า งดเว้นจากการทำความชั่วต่าง ๆ ด้วยการสละโลกีย์ทิ้งเหย้าเรือนไปถือเพศ เป็นนักบวช เป็นสมณะ เป็นภิกษุสามเณร เป็นต้น  เพื่อขัดเกลากิเลสและเพื่อความหลุดพ้นจากกองทุกข์ทั้งมวล
     ในปัจจุบัน  การสละเหย้าเรือนไปถือศีลปฏิบัติธรรมที่วัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมในระยะยาวบ้างชั่วคราวบ้างก็นิยมเรียกว่า บวช เช่นบวชชี บวชชีพราหมณ์ บวชเนกขัมมะ อย่างนี้เป็นต้น

  จึงสรุปรวมลงว่า เป็นผู้หญิง เป็นฆราวาส ก็สามารถที่จะสำเร็จธรรมได้
       (แต่อาจจะต้องใช้ความเพียรมากหน่อย)
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุกับคำตอบของท่านธรรม ปุจฉา ครับ

- ถ้าอ่านในพระสูตร และ พระปริตร ทั้งหลาย จะเ็ห็นว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าที่ไม่ได้ออกบวชตั้งแต่แรกก็มีมาก เมื่อท่านตรัสรู้บรรลุธรรมแล้วจึงออกบวชก็มีเยอะแต่จะต่างจากพระพุทธเจ้าก็ที่ไม่ได้เผยแพร่พระพระพุทธศาสนาเท่านั้น การสั่งสมบารมีก็น้อยกว่าพระพุทธเจ้าเป็นอันมาก ผู้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ทั้งๆที่ยังไม่ได้บวชก็มีมาก

- แต่บุคคลใดผู้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า ได้อยู่ในร่มของพระพุทธศาสนาแล้ว จะบรรลุอรหันต์แม้ก่อนบวชหรือหลังบวชก็จัดเป็นผู้บวชในพระพุทธศาสนาแล้วทั้งสิ้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 14, 2012, 06:36:38 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
สำหรับผู้มีความปรารถนา ในนิพพาน แล้ว ไม่ออกบวช ก็ได้นิพพานนะจ๊ะ ขึ้นอยู่กับสภาวะธรรมสมบูรณ์หรือไม่ การเป็นสงฆ์ ก็เป็น สมมุติสงฆ์ ที่สวดยกขึ้นฐานะ ยอมรับใหหมู่สงฆ์ สมมุติสงฆ์ด้วยกัน ให้ร่วมทำสังฆกรรมด้วยกันได้ 

  แต่สำหรับสงฆ์ แท้ ๆ ก็คือ อริยะสงฆ์ ซึ่งมีตั้งแต่ พระโสดาบัน ขึ้นไป มีทั้งที่เป็น ฆราวาส และ พระสมมุติสงฆ์ ดังนั้น การปรารถนานิพพาน ก็คือ ผู้ที่เห็นโทษเห็นภัยในวัฏฏะสงสาร แล้วมุ่งมั่นภาวนา เพื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ เพื่อเข้านิพพาน จึงเป็นได้ทั้ง ฆราวาส และ สมมุติสงฆ์

  การเป็นสมมุติสงฆ์ ในปัจจุบัน อาจจะไม่สนับสนุนการภาวนา ก็ได้

     ทำไม อาตมาไม่อยู่ วัด ก็เพราะว่า สมมุติสงฆ์ ในปัจจุบันมีหน้าที่ มากกว่า การภาวนาเพื่อพ้นจากสังสารวัฏ ซึ่งเป็นหน้าที่ตามสังคม ไม่ว่า ต้องเรียน ต้องสอน ต้องก่อสร้าง ต้องบริการสังคม สมกับคำว่าเนื้อนาบุญ ของประชาชนในปัจจุบัน

       เอาง่าย ๆ อาตมารับหน้าที่สอน ธรรมศึกษาชั้น โท และ เอก วันหนึ่ง ๆ ก็ต้องนั่งอ่านตำรา และ ออกข้อสอบ นั่งพิมพ์ข้อสอบ บางครั้งถึงเช้า เลยเตรียมตัวสอนผู้ที่มาเรียน อย่างนี้เป็นต้น จะเห็นว่า กิจวัตร 10 อย่าง ก็แทบจะไม่ได้กระดิกตัวไปภาวนา แล้ว ยังมีเรื่อง การเรียน การสอน อีก การสังคม สวดมนต์ กิจนิมนต์อีก อันนี้แหละที่ทำให้พระสงฆ์ ในปัจจุบัน มีโอกาสภาวนาน้อยลง เพราะต้องปรับเป็น โลกาภิวัฒน์ ตามสังคมด้วย ก็ต้องมีทำอย่างนี้อย่างน้อย 90 เปอร์เซ็นต์ เพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนา

    ดังนั้นการจะภาวนาเพื่อพระนิพพาน บางครั้งฆราวาส ได้เปรียบมากกว่าสงฆ์ อีกในปัจจุบัน ฆราวาสมีสิทธิ์เลือก สถานที่ครูอาจารย์ หยุด ทำ ต่อได้อิสระ อย่างน้อย พระโสดาบัน ถึง พระอนาคามี ได้แน่นอน

   ดังนั้นจากหัวข้อกระทู้ที่ถามไว้

     สำหรับอาตมา แล้ว ฆราวาสได้เปรียบ ในเรื่องการภาวนามากกว่า ในปัจจุบัน นี้นะครับ

     สำหรับสงฆ์ ยังถูกจำกัด ด้วยพรรษา คือ จะมีอิสระในการภาวนา ตั้งแต่พรรษา 5 ในการภาวนา

    หัวใจสำคัญ อยู่ที่การภาวนา ไม่ได้อยู่เป็นอะไร เป็นใคร ตราบใดที่ยังมีผู้ประพฤติตามมรรค ตราบนั้นโลกนี้ก็จะไม่สิ้นสูญจากพระอรหันต์
   
เจริญธรรม

   
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ