ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สตรีนิยมไม่ใช่ทางนิพพาน : มรรคาภิกษุณีในสังคมไทย  (อ่าน 3007 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

 :25: :25: :25:

สตรีนิยมไม่ใช่ทางนิพพาน : มรรคาภิกษุณีในสังคมไทย

คัคนางค์ ยาวะประภาษ นำเสนอเรื่องภิกษุณีในไทยว่า แม้จะมีการเคลื่อนไหวดิ้นรนเพื่อให้เกิดการรื้อฟื้น “การบวชภิกษุณี” และการยอมรับภิกษุณีในสังคมไทย แต่กระนั้นการเคลื่อนไหวของคณะภิกษุณีและผู้สนับสนุนก็ไม่ได้เป็นแนวทางของสตรีนิยม (feminist) หากแต่เป็นการแสวงหาอิสรภาพในทางศาสนา

คณะภิกษุณีเข้าพบคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ที่มา: NHRC/แฟ้มภาพ)

14 พ.ย. 61 มีวงเสวนาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์) เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ที่ผ่านมาในชื่อ “สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เสวนาครั้งที่ 5” ที่ ณ ห้องบรรยายโครงการปริญญาเอก ชั้น 4 ตึกสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

หนึ่งในหัวข้อที่น่าสนใจ คือหัวข้อเสวนาของอาจารย์ ดร. คัคนางค์ ยาวะประภาษ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอยกประเด็นของการรื้อฟื้นภิกษุณีในสังคมไทยด้วยหัวข้อ “Redefining Thai Tradition: Thai Bhikkhuni (female Buddhist monks) and Women Empowerment” คัดนางค์อธิบายถึงปูมหลังของกระแสภิกษุณีรอบใหม่ที่เกิดขึ้น ประเด็นความไม่เท่าเทียมทางเพศที่แฝงอยู่ในคติด้านศาสนาของสังคมไทย ทัศนคติต่อเพศของบรรดาภิกษุณี รวมถึงการรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนของภิกษุณีในไทย


@@@@@@

ช่วงต้นการนำเสนอคัคนางค์ ได้เกริ่นถึงพื้นที่ทางจิตวิญญาณซึ่งไม่เท่ากันระหว่างเพศหญิงและเพศชายในกรอบของพระพุทธศาสนา ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ทั่วไปในสังคมไทย แต่ไม่ค่อยจะมีใครวิพากษ์ ด้วยถือกันว่าเป็นเรื่องที่ยอมรับได้

โดยเธอได้เสนอในส่วนนี้ว่า ในการเป็นพระ ซึ่งเป็นสถานะที่มีตำแหน่งทางสังคม ได้รับการนับถือ อีกทั้งยังมีความสำคัญในแง่ของที่เป็นแหล่งที่จะสร้างบุญให้แก่คนธรรมดาทั่วไปได้ แม้ว่าในธรรมวินัยจะมีช่องทางให้ผู้หญิงสามารถก้าวเข้าสู่สถานะพระได้เสมอเหมือนผู้ชาย แต่ในท้ายที่สุดสังคมไทยก็ไม่อนุญาตให้มี สถานะทางศาสนาที่สังคมส่วนใหญ่จัดสรรไว้ให้คือ แม่ชี ซึ่งในความเป็นจริงแล้วก็ไม่ได้มีคุณสมบัติสูงเท่าพระแต่อย่างใด พวกเธอทำได้แค่นุ่งขาวห่มขาวและดำรงตนอยู่ตรงกลางระหว่าง การเป็นฆราวาสและการเป็นนักบวช

@@@@@@

คัคนางค์ได้อธิบายต่อไปว่า สถานะภิกษุณีสูญหายมานานแล้ว และเป็นอย่างนี้จนประมาณปี 2543 เมื่อมีคนไทยคนแรกได้บวชเป็นภิกษุณีที่ประเทศศรีลังกา กระแสภิกษุณีก็เริ่มเติบโตขึ้นมานับแต่นั้น โดยในปัจจุบันมีการก่อตั้งเป็นสำนักภิกษุณี และมีการบวชให้ผู้ที่สนใจจะเดินตามเส้นทางแห่งภิกษุณีเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม ในสังคมไทยก็ยังคงถกเถียงกันถึงความถูกต้องของสถานะภิกษุณี เพราะไม่เพียงปัญหาที่ภิกษุณียังไม่ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์กลุ่มหลักในประเทศแล้ว ความถูกต้องในแง่พระวินัยยังเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง ตามตัวบทของพระศาสนานั้น การจะบวชเป็นภิกษุณีได้ จำเป็นต้องทำพิธีจากทั้งภิกษุและภิกษุณีนิกายเถรวาท อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุที่ในช่วงแรกไม่มีภิกษุณีนิกายเถรวาท จึงได้ขอความช่วยเหลือจากภิกษุณีนิกายมหายาน จนเกิดเป็นประเด็นปัญหาว่าถูกต้องหรือไม่? ที่ให้นักบวชจากนิกายที่ต่างกันทำพิธีให้


@@@@@@

ทั้งนี้การรื้อฟื้นสถานะภิกษุณีนั้น คัคนางค์เสนอว่า คณะภิกษุณีมองว่าคณะของพวกเขาหาได้เป็นนักสตรีนิยมไม่ เพศชายหญิงและสตรีนิยมนั้นเป็นเรื่องทางโลก ถ้ายังยึดและเดินตามทางแบบนี้ก็แสดงว่ายังไม่เข้าถึงพระธรรม เป้าหมายที่พวกท่านบวชเป็นภิกษุณีนั้น ส่วนมากถ้าไม่ตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ในแบบที่ผู้ชายก็สามารถบวชเป็นพระได้ ก็เป็นไปเพื่อเข้าถึงความสุขขั้นสูงสุดที่เรียกว่า “นิพพาน”

คัคนางค์ วิเคราะห์ด้วยว่าการรื้อฟื้นสถานะภิกษุณีในสังคมไทย ไม่ใช่เป็นการเรียกร้องสิทธิสตรี และไม่ใช่การต่อต้านหรือต่อสู้แต่อย่างใด หากแต่เป็นความพยายามที่จะเข้าถึงอิสรภาพทางจิตวิญญาณตามแนวทางของศาสนา เป็นการข้ามผ่านเรื่องของเพศไปสู่สถานะนักบวชที่พร้อมจะเดินต่อเพื่อไปสู่ความหลุดพ้น

@@@@@@

ด้านผู้สื่อข่าวได้สอบถามเพิ่มถึงประเด็นการสึก เพราะเป็นหนึ่งในตัวเลือกทางศาสนาที่ทำให้นักบวชกลับมาเป็นคนธรรมดาได้ คัคนางค์ตบคำถามเพิ่มเติมว่า โดยส่วนใหญ่ภิกษุณีจะไม่สึก เพราะกระบวนการในการบวชนั้นซับซ้อนพอที่จะพิสูจน์ความตั้งใจระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม บางรายที่ยังมีปัญหาครอบครัวก็อาจจะสึกไป

สำหรับการเสวนา “สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์เสวนาครั้งที่ 5” ครั้งนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ institut de recherche sur l’asie du sud-est contemporaine (Irasec) โดยประเด็นที่จะเสวนานั้นจะเน้นไปที่ประเด็นสตรีศึกษา


source :- https://prachatai.com/journal/2018/11/79621
ขอบคุณเว็บไซต์ : dhamma.serichon.us/ข่าว/สตรีนิยมไม่ใช่ทางนิพพา/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 04, 2019, 05:53:47 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ส่วนตัว เราเอง นั้น ก็อยากได้สิทธิสตรี ทัดเทียม กับพวกผู้ชาย
ผู้หญิงเก่ง ๆ มีเยอะนะ ถ้าออกมาพูดสอน ธรรม น่าจะมีชื่อเสียง มากกว่า ผู้ชาย นะคะ

 :58: :58: :58:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

bangsan

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 109
  • ( รูปพระอาจารย์ กิตติวุฑโท )
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันตราย มากเลยนะครับ เรื่องนี้
ถ้าพิจารณา ให้ดีแล้ว ทำไมพระพุทธเจ้าจึงไม่ให้ผู้หญิงสอนธรรม พระภิกษุ แม้บวชใหม่

เพราะความคิดของ คุณ อาริสา เป็นความคิดของผู้หญิงทุกคนที่อยากบวช

วันนี้กลุ่มผู้หญิงที่ไปบวช ที่ศรีลังกา ต้องการเรียกตนเองว่า เถรวาททำไม ทั้ง ๆที่สายที่บวชมาจาก มหายาน ต้องการทำอะไร ต้องการเสมอพระภิกษุในเถรวาท เพื่ออะไร ทำไมไม่ยอมรับในความเป็นมหายานไป เสียละ

แต่นี่ที่ทำเรียกร้องสิทธิสตรี อยู่นะ  สิ่งที่ทำอยู่ตอนนี้คือเรียกร้องกับ รัฐบาล คือ เรื่อง กฏหมาย
แต่ความเป็นพระ มันต้องตามหลักธรรม และ วินัย มันต้องพูดเจรจากับ คณะ มส จึงจะถูกต้อง
แต่ถ้า คณะ มส ตัดสินวินิจฉัยแล้ว ก็ควรฟังตามคณะ มส ก็น่าจะจบแต่ออกไปดิ้นทางกฏหมาย เพื่อให้กฏหมายมาบีบ คณะ มส หรือ ให้สังคม กดดัน คณะ มส

มองอย่างไร ก็เป็น มหันตภัยทาง พระพุทธศาสนา ในประเทศไทย

ถ้าภิกษุณี ที่เป็นฝ่าย มหายานขณะนี้ ถ้าประกอบด้วย ธรรมควรจะยุติ การเรียกร้องได้แล้ว
เพราะที่ผ่านมา คณะสงฆ์ไทย ฝ่าย มส ก็ไม่ได้ห้ามในการเปิดวัด สำนัก ส่วนของ ภิกษุณี เหล่านี้ในประเทศไทย คณะ มส. ยังไม่ได้จัดการเพราะเห็นว่า เป็นฝ่าย มหายาน

เลยเถิดไปใหญ่ แล้ว เรื่องนี้

 :96: :96: :96:
บันทึกการเข้า
ธรรม ธรรม ทำ ทำ ธรรม แล้ว ก็ ทำด้วย

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 st11


ผมว่านะ..เรื่องการได้มาซึ่งเพศบรรพชิตของผู้หญิง(ที่ไม่ใช่แม่ชี)ในสังคมปัจจุบัน เป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก เพราะคนไทยส่วนใหญ่เป็นเถรวาท

แต่ถ้ายกประเด็น สิทธิในการเผยแผ่ธรรมวินัยขึ้นมาพิจารณา ข้อนี้มีความเป็นไปได้ ทัศนคติของสังคมไทยยังยึดติดกับผู้ชายโกนผมห่มเหลือง ไม่คุ้นกับผู้หญิงห่มผ้าเหลือง หากกล่าวถึงแม่ชี คนไทยก็ไม่ค่อยจะยกย่องเท่าใดนัก

อย่างไรก็ตาม หากอ่านพระไตรปิฎกในรื่องพุทธวงศ์แล้ว จะเห็นว่า "พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ล้วนมี อัครสาวิกาเบื้องขวา/ซ้าย ทั้งสิ้น" นั่นเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า แม้สตรีจะมีส่วนทำให้อายุของศาสนาสั้นลง แต่พุทธศาสนาจะขาดภิกษุณีมิได้

มองในแง่ดี..อย่างน้อยก็จะทำให้ "พุทธบริษัท" ครบองค์ ๔.(ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา)

สตรีท่านใด..ต้องการบวชเป็นภิกษุณีที่ถูกต้องตามแบบเถรวาท
แนะนำว่า ควรอธิษฐานให้เกิดในสมัยพุทธกาล(ห้ามอธิษฐานขอเป็นผู้ชาย)
คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ...


 :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2019, 10:34:01 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นั่นไง กดดัน ทางเพศ
ผู้หญิง เก่ง ๆ มีเยอะ นะ ไม่ใช่ เฉพาะ ผู้ชายที่เก่ง

 :49:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

axe

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 187
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คุณอาริสา เข้าใจผิดแล้ว

ภิกษุณี ไม่มีหน้าที่แสดงธรรม แบบ พระภิกษุ เพราะอยู่ในวินัย ของภิกษุณี

ดังนั้นภิกษุณี สามารถแสดงธรรม ได้ ในกลุ่มภิกษุณี และ สิกขมานา เท่านั้นไม่มีสิทธิ์เที่ยวไปสอนชาวบ้านอย่างพระภิกษุ เพราะวินัยบัญญํติ ขอบเขตให้ภิกษุณี ทำได้เท่านั้น

แม้ภิกษุณี ก็ไม่มีหน้าที่ไปสอนพระภิกษุ แม้ บวชในวันนั้น ลำดับพรรษาก็ใช้ไม่ได้ในหมู่พระภิกษุ ต้องนั่งต่อท้ายพระภิกษุ เท่านั้นถามว่า เพราะอะไร ก็เพราะว่า วินัยบัญญัติ ของภิกษุณีเป็นอย่างนั้น

ดังนั้น โปรดอย่าเข้าใจผิด บวชเป็นภิกษุณี จะทำสถานีวิทยุ ออกรายการทีวี สอนธรรมะ ได้อย่างพระภิกษุ เพราะว่าวินัยบัญญัติ ของภิกษุณีเถรวาทนั้น ไม่ให้กระทำอย่างนั้น

หวัดดีครับ คุยแค่นี้นะ

บันทึกการเข้า
หนุ่มหล่อ ใจดี AXE

wayu

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 162
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ต่อไป ก็ต้องเรียกร้อง สิทธิในการสอน อีก ว่า สตรี มีสิทธิ์ ออกมาสอน จัดรายการวิทยุ และ ทำรายการสถานี พิมพ์หนังสือ ได้แบบพระภิกษุ

  อนาคต อย่างนี้แน่นอน

   :93: ask1 :character0029: :s_laugh: :smiley_confused1: :72: :13:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ภิกษุณีที่เก่งๆมีอยู่ อย่างเช่น รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ท่านเขียนบทความได้ดี
ลองไปอ่าน ได้ที่ "มติชนสุดสัปดาห์" หรือคลิกเข้าไปตามลิงค์นี้ครับ
https://www.matichonweekly.com/magazine-column/dhamma
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :49: :character0029: :character0029: :character0029:
บันทึกการเข้า

saichol

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 247
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :c017: st12 st12 st12
บันทึกการเข้า