ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กราบขอ อโหสิกรรม แล้ว กรรมจะยุติทันทีหรือป่าวครับ  (อ่าน 6043 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมสงสัย อยู่เรื่องครับ เวลาเราไปล่วงเกินใครให้เจ็บช้ำน้ำใจ

แล้ว เราก็เอา ธูป เทียน หรือ บายศรี กระทงขมา ไปทำการขอขมา

และกราบขอ อโหสิกรรม แล้ว กรรมจะยุติทันทีหรือป่าวครับ

ผมดูเวลา พวกคนที่ทำผิด เวลาถูกจับเช่น ไปฆ่าลูกเขาตาย ถูกตำรวจจับแล้ว ก็มากราบอโหสิกรรม

เหมือน ที่ผมดูใน Youtueb ที่คนใช้ลวงเด็กไปจมน้ำตาย แล้วมากราบขอขมาแม่ของเด็ก นี่

กรรม จะยุติได้จริงหรือป่าว ครับ

ถ้าไม่ได้ ทำไมต้องมีการอโหสิ กันด้วยครับ
บันทึกการเข้า

sompong

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 218
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องของกรรม ต้องอ่านในเว็บนี้ดู นะครับในพระพุทธศาสนานี้ แบ่งกรรมเป็น 3 ระดับ ครับ

1. ครุกรรม กรรมหนัก เช่น อภิฐาน 6 เป็นต้น อันนี้ อโหสิกรรม ไม่ได้ครับ

2. กรรมขั้นกลาง เช่น กรรมเนื่องด้วยการผิดศีล เป็นต้น

3. ลหุกรรม กรรมขั้นเบา ผมว่า อโหสิกรรม นั้นน่าจะใช้ได้กับ กรรมขั้นเบา

กรรมมีรายละเอียด อีก 10 ครับ ผมจำไม่ได้

แต่ อโหสิกรรม นั้น ไม่สามารถ แก้กรรมได้ทุกกรรม ครับ
บันทึกการเข้า

ban

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 117
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
0
เรื่องนี้ ผมคิดว่า คำตอบยังไม่เคลียร์ ครับอาจจะเป็นกระทู้เก่าหน่อย แต่พอตามอ่านแล้วรู้สึกว่า มีอะไรยังไม่สมบูรณ์ในคำตอบอยู่ ครับ

 ทีมงานมัชฌิมา ช่วยตอบเพิ่มได้หรือไม่ครับ อนุโมทนา ครับ

  :s_hi: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นเรื่องเก่า ที่ผมถามไว้นานแล้ว แต่เรื่องของกรรมเป็นเรื่องที่ซับซ้อนเกินปัญญาของเราที่จะเข้าใจ

 ฆ่า กันไป ฆ่า กันมา จะสิ้นสุด ก็ต่อเมื่อ เป็นพระอรหันต์ คือ อีกฝ่ายไม่ต้องกลับมาเกิดอีกแล้ว

 ประวัติศาสตร์ โลกเรานั้น ก็ล้วนแต่ฆ่า กันโดยตลอด จะฆ่าโดยตรง โดยอ้อม แบบ ตายทั้งเป็น

 เืรื่องพวกนี้ เป็นเรื่อง ที่เข้าใจยากครับ

      ดังนั้น สิ่งที่ผมอยากให้เห็น ในคำถามเรื่องนี้ ก็คือ ภัยในวัฏฏะสงสาร ที่วนเวียนอยู่ด้วย ความทุกข์

ซ้ำแล้ว ซ้ำเล่า นี่ต่างหากละครับ ที่ควรจะต้องระวัง แลรีบเห็นโทษ จางคลาย เบื่อหน่ายกันให้เร็วที่สุด

 ก่อนที่ครูอาจารย์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ อริยะสาวก จะหมดจากพวกเราไป เพราะยุคนี้ก็คงหวังพึ่งได้ ที่

สังฆะรัตนะ เป็นผู้บอกทาง ชี้ทาง ให้กับเรา ลำพังเราจะอ่านหรือเข้าใจในหลักธรรม กรรมฐานได้เอง นั้น

โอกาส มีเพียง 10 เปอร์เซ็นเท่านั้น เท่าที่ผมนึกได้ ก็อย่างนี้ครับ

   สวัสดี เจริญธรรม ยามเช้า ทุกท่านครับ ......

   :25: :25: :25:

บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28440
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
 
ภาพจาก http://board.postjung.com

ลำดับการให้ผลของกรรม
   ลำดับการให้ผลของกรรมตามลักษณะความหนักเบาไปตามลำดับ มี ๔ คือ
    ๑. ครุกรรม   คือ   กรรมหนัก
    ๒. อาสันนกรรม   คือ   กรรมที่ทำใกล้จะตาย
    ๓. อาจิณณกรรม   คือ   กรรมที่ทำเสมอ ๆ
    ๔. กฏัตตากรรม   คือ   กรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ


  กรรมจะเปลี่ยนแปลงได้มีสองกรณีหลักๆ คือ
     - อุปปีฬกกรรม(กรรมเบียดเบียน) และ
     - อุปฆาตกกรรม(กรรมตัดรอน)


       ส่วนการขออโหสิกรรมแล้ว จะหมดกรรมหรือไม่ จากการที่ได้อ่านได้ฟังมา ขึ้นอยู่ว่า เจ้ากรรมนายเวรจะ
ยอมอโหสิหรือไม่อย่างไร ในกรณีของกรรมหนัก(อนันตริยกรรม) อโหสิหรือไม่อโหสิ ไม่มีผลครับ ต้องลงอบายภูมิอย่างเดียว     

       การกราบขอขมาตามที่เป็นข่าวโดยทั่วไป เป็นการแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์ให้ดูดีเท่านั้น มีผลทางจิตวิทยาต่อสังคมนั้นๆ ช่วยลดความโกรธแค้นพยาบาทของญาติมิตรและผู้เกี่ยวข้องได้ระดับหนึ่ง
       ในแง่ของความเป็นจริง เราไม่อาจรู้วาระจิตของทั้งสองฝ่ายว่า "มีความจริงใจแค่ไหนอย่างไร"

       
      ดังนั้น ในแง่ของคนดู เราคงได้แต่วางอุเบกขา และเชื่อพุทธพจน์ที่ว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม"

       :49:

ภาพจาก www.khaosod.co.th
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28440
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อุปปีฬกกรรม(กรรมเบียดเบียน)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2011, 12:47:55 pm »
0
 

อุปปีฬกกรรม(กรรมเบียดเบียน)

         อุปปีฬกกรรม เป็นกรรมที่มีหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นที่มีสภาพตรงข้ามกับตน คือ บุญเบียดเบียนบาป , บาปเบียดเบียนบุญ ทุกข์เบียดเบียนสุข , สุขเบียดเบียนทุกข์ เช่น ขณะที่มีสุขอยู่ มีสุขภาพแข็งแรงดี
     ต่อมาเกิดโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ทำให้เกิดความทุกข์กายทุกข์ใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ เพราะบาปเบียดเบียนบุญ
     หรือคนบางคนต้องทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความยากลำบาก ต่อมาถูกล็อตเตอรี่ ทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นไม่ต้องตรากตรำทำงานหนักเหมือนแต่ก่อน เพราะผลบุญเบียดเบียนความทุกข์ยากที่เคยได้รับให้ลดน้อยลง

 
          อุปปีฬกกรรมนั้นทำหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมให้มีสภาพตรงข้ามกับตนนั้น เบียดเบียนได้ ๒ ลักษณะ คือ
   ๑. เบียดเบียน เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล
   ๒. เบียดเบียน เพื่อลดกำลัง ไม่ให้ส่งผลได้เต็มที่

          ซึ่งอุปปีฬกกรรมจะทำหน้าที่ ๓ ประการคือ
 
          การเบียดเบียนของอุปปีฬกกรรม มีหน้าที่ ๓ ประการ คือ
 
          ๑. เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ไม่ให้มีโอกาสส่งผล
          ๒. เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ที่มีโอกาสส่งผลอยู่แล้ว ให้มีกำลังลดลง
          ๓. เบียดเบียนรูปนาม ที่เกิดจากชนกกรรมอื่นนั้น

 
๑. อุปปีฬกกรรมที่มีหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ไม่ให้มีโอกาสส่งผล
          อุปปีฬกกรรม มีหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นที่มีสภาพตรงข้ามกับตน และมีโอกาสส่งผลได้ แต่ถูกอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนไว้ไม่ให้ส่งผล มีลักษณะการเบียดเบียน ๒ อย่าง คือ
 
          ๑.๑ กุศลกรรมที่ทำในปัจจุบันภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรม เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล           คือ บุญ ที่ทำในชาตินี้ เบียดเบียนบาป ไม่ให้บาปมีโอกาสนำเกิดในอบายภูมิ (นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน)
 
          ๑.๒ อกุศลกรรมที่ทำในปัจจุบันภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรม เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผล           คือ บาป ที่ทำในชาตินี้ เบียดเบียนบุญ ไม่ให้มีโอกาสนำเกิดในสุคติภูมิ (มนุษย์ เทวดา)

 
          อุปปีฬกกรรมนี้ ได้แก่ อุปถัมภกกรรม นั่นเอง คือ ในขณะที่กุศลอุปถัมภกกรรม กำลังทำหน้าที่ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมอยู่นั้น ในขณะเดียวกันกุศลอุปถัมภกกรรมนั้น ได้ชื่อว่า กำลังทำหน้าที่เบียดเบียนอกุศลชนกกรรม ที่จะได้โอกาสในการส่งผล ไม่ให้มีโอกาสในการส่งผลได้ด้วย
 
๒. อุปปีฬกกรรม มีหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่นที่กำลังส่งผลอยู่ ให้มีกำลังลดน้อยลง
                     อุปปีฬกกรรมนี้ มีหน้าที่เบียดเบียนชนกกรรมอื่น ที่มีสภาพตรงข้ามกับตนและกำลังได้โอกาสให้ผลอยู่ แต่ถูกอุปปีฬกกรรมนี้ เบียดเบียนให้มีกำลังลดน้อยลง ลักษณะการเบียดเบียนมี ๒ อย่าง คือ
 
          ๒.๑ กุศลกรรมที่ทำในปัจจุบันภพนี้ เบียดเบียนอกุศลชนกกรรม ที่กำลังมีโอกาสส่งผลอยู่ให้มีกำลังลดน้อยลง คือ บุญ ที่ทำในชาตินี้ เบียดเบียนบาป ที่จะนำเกิดในอบายภูมิ (นรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน) ให้มีกำลังลดน้อยถอยลง เช่น

 

          พระเจ้าอชาตศัตรูผู้ทำอนันตริยกรรม คือ ปิตุฆาตกรรม ซึ่งเป็นกรรมหนักจะต้องตกอเวจีมหานรก แต่ด้วยพระเจ้าอชาตศัตรู ได้สร้างกุศลไว้อย่างมากมาย คือ เป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาในการทำปฐมสังคายนา ซึ่งในบรรดาปุถุชนทั้งหลายนั้น

     พระเจ้าอชาตศัตรูนับว่า เป็นผู้เลื่อมใสนับถือพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามากที่สุด ด้วยอำนาจของกุศลเหล่านี้ จึงช่วยให้พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ไปตกในอเวจีมหานรก ซึ่งเป็นนรกขุมใหญ่ แต่ไปตกในโลหกุมภีอุสสทนรก ซึ่งเป็นนรกขุมเล็กที่เป็นบริวารของอเวจีมหานรก
 
          ๒.๒ อกุศลกรรมที่ทำในปัจจุบันภพนี้ เบียดเบียนกุศลชนกกรรม ที่กำลังมีโอกาสส่งผลอยู่ ให้มีกำลังลดน้อยลง คือ บาป ที่ทำในชาตินี้ เบียดเบียนบุญ ที่จะนำเกิดในสุคติภูมิ (มนุษย์ เทวดา) ให้มีกำลังลดน้อยถอยลง เช่น การกุศลที่เจือด้วยอกุศล ได้แก่ การสร้างโบสถ์สร้างวิหารเพื่อหาเสียงในการเลือกตั้งด้วยความปีติยินดี แต่เมื่อไม่ได้รับการเลือกตั้งก็รู้สึกเสียใจ เสียดายเงินทองที่ทำไป ทำให้ผลของกุศลที่ได้มีกำลังลดน้อยลง เมื่อผู้นั้นตาย แทนที่จะไปเกิดเป็นติเหตุกบุคคล กลับกลายเป็นทวิเหตุกบุคคลไป เพราะอำนาจของอกุศลที่เกิดขึ้นเข้าเบียดเบียนกุศลให้มีกำลังลดน้อยลง
 
          อุปปีฬกกรรมนี้ ก็ได้แก่ อุปถัมภกกรรม นั่นเอง คือ ในขณะที่กุศลอุปถัมภกกรรม กำลังทำหน้าที่ช่วยอุดหนุนกุศลชนกกรรมอยู่นั้น ในขณะเดียวกันกุศลอุปถัมภกกรรมนั้น ก็ได้ชื่อว่า กำลังทำหน้าที่เบียดเบียนอกุศลชนกกรรม ที่จะได้โอกาสในการส่งผลอยู่ ให้มีกำลังในการส่งผลลดน้อยลงดังกล่าว
 
๓. อุปปีฬกกรรม มีหน้าที่เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมอื่นๆ
           อุปปีฬกกรรมนี้ มีหน้าที่เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมที่มีสภาพตรงข้ามกับตน ลักษณะการเบียดเบียนมี ๒ อย่าง คือ
 
          ๓.๑ กุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจาก อกุศลชนกกรรม คือ บุญเบียดเบียนรูปนามของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดจากบาป และบาปเบียดเบียนรูปนามของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดจากบุญ เช่น สัตว์เดรัจฉาน ที่เกิดมาร่างกายไม่สมบูรณ์ มีโรคภัยเบียดเบียนได้รับความทุกข์ แต่ได้เคยทำบุญรักษาศีลมาในอดีต และในปัจจุบันก็ไม่ได้เบียดเบียนสัตว์ ต่อมามีผู้เลี้ยงดูทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้น มีความสุขสบายโรคภัยไข้เจ็บก็หาย ทั้งนี้ เพราะอำนาจแห่งกุศลอุปปีฬกกรรมที่ตนทำไว้เสมอ ๆ เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจากผลของบาปทำให้ความทุกข์ยากนั้นหายไป
 
          ๓.๒ อกุศลอุปปีฬกกรรม เบียดเบียนรูปนามที่เกิดจาก กุศลชนกกรรมคือ บาปที่เบียดเบียนรูปนามของสัตว์ทั้งหลายที่เกิดจากบุญ เช่น มนุษย์ เกิดมามีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน ต่อมาทำบาปทุจริต มีการเสพสุรา ทำการฉ้อโกงอยู่เสมอ ภายหลังเกิดโรคภัยเบียดเบียน สติฟั่นเฟือน เกิดความวิบัติต่าง ๆ อาชีพการงานฝืดเคือง ทำให้เกิดความร้อนใจ ทั้งนี้เพราะอำนาจของอุปปีฬกกรรมที่ทำนั้น เบียดเบียนให้รูปนามของสัตว์ทั้งหลาย ที่เกิดมามีร่างกายแข็งแรงให้มีสภาพตรงกันข้ามไป

 

อุปปีฬกกรรมฝ่ายกุศล เรื่องต้นคดปลายตรง
          ในสมัยพุทธกาล มีบุรุษผู้หนึ่งชื่อว่า โจรเคราแดง เป็นผู้มีจิตใจเหี้ยมโหดผิดมนุษย์ธรรมดา ก่อนที่จะสมัครเข้าเป็นสมุนของโจร หัวหน้าโจรมาเห็นลักษณะแล้วยังไม่ยอมรับ แต่ด้วยทนคำอ้อนวอนของสมุนโจรด้วยกันที่รับสินบนจากโจรเคราแดงไม่ได้ จึงรับไว้เป็นสมุนโจรด้วยความไม่ค่อยเต็มใจ

     วันหนึ่งพระราชาจับโจรกลุ่มนี้ได้แต่ก็ไม่อยากที่จะฆ่าด้วยตนเอง ต้องการให้โจรฆ่ากันเองมากกว่าจึงประกาศไปว่าถ้าใครคนหนึ่งในกลุ่มนี้รับอาสาที่จะฆ่าโจรทั้งหมดนี้ ก็จะได้รับการปลดปล่อยให้รอดชีวิตไม่ต้องถูกประหาร ไม่มีใครรับอาสานอกจากโจรเคราแดงผู้เดียวเท่านั้น

    เมื่อโจรเคราแดงฆ่าโจรด้วยกันหมดแล้ว ก็ได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระและให้เข้ารับราชการเป็น เพชฌฆาต โจรเคราแดง รับราชการทำหน้าที่ฆ่าคนมาเป็นเวลา ๕๕ ปี ก็ปลดเกษียณอายุ วันแรกที่พ้นจากราชการ เขาก็เตรียมตัวที่จะออกไปซื้อเสื้อผ้าสวย ๆ พร้อมอาหารดี ๆ มารับประทานกับครอบครัว พระสารีบุตร ออกจากนิโรธสมาบัติ พิจารณาดูแล้วเห็นโจรเคราแดงมีอัธยาศัยที่ควรแก่การโปรด จึงอุ้มบาตรไปยืนอยู่หน้าบ้านโจรเคราแดง

    เมื่อโจรเคราแดงเห็นก็เกิดความศรัทธาเลื่อมใส ได้น้อมถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระสารีบุตร และได้ฟังพระธรรมเทศนา แต่จิตใจของโจรเคราแดงนั้นไม่ได้ตั้งมั่นอยู่กับพระธรรม ด้วยอำนาจของอกุศลกรรมที่ทำไว้ จึงได้แต่ปฏิญาณตนขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิตเท่านั้น
 
    พระเถระได้กล่าวอนุโมทนาแล้วลากลับไปยังวิหาร พอพระเถระคล้อยหลังไป ยักขิณีผู้ซึ่งผูกเวรกันไว้แต่ชาติปางก่อน แปลงกายเป็นแม่โคบ้าวิ่งแล่นไล่ชนโจรเคราแดงล้มลงตายในทันที ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต
 

อุปปีฬกกรรม ฝ่ายอกุศล เรื่อง สุนักขัตตลิจฉวี
          ในอดีตกาล มีชายผู้หนึ่งมีบ้านที่อยู่อาศัยใกล้กับพระวิหารอันเป็นที่อยู่ของสามเณร ขณะที่เขากำลังอาบน้ำอยู่ที่ท่าน้ำหน้าบ้าน สามเณรน้อยรูปหนึ่งได้พายเรือผ่านมา เขาจึงวักน้ำสาดไปที่เรือด้วยความคึกคะนอง สามเณรตกใจเอี้ยวหลบทำให้เรือล่มลงจึงรีบว่ายน้ำเข้าฝั่ง แล้วด่าว่าบุรุษผู้นั้น ทำให้บุรุษผู้นั้นโกรธจึงเข้ามาตบที่กกหูแล้วช่วยส่งขึ้นฝั่งไป

    เมื่อบุรุษนั้นตายลงได้มาเกิดเป็นมนุษย์ ชื่อว่า สุนักขัตตลิจฉวี เมื่อเจริญวัยก็ได้บวชในสำนักของพระบรมศาสดา บำเพ็ญกรรมฐานจนได้ทิพพจักขุโดยรวดเร็ว แต่ไม่สามารถที่จะสำเร็จทิพพโสตอภิญญาได้ แม้จะใช้เวลาพยายามอย่างมากก็ตาม ทั้งนี้เพราะเหตุที่ว่าในชาติก่อนนั้นได้ตบกกหูของสามเณรด้วยโทสะ จึงเป็นอุปปีฬกกรรมเบียดเบียนมิให้โสตอภิญญาเกิดขึ้น

    แม้จะใช้เวลาถึง ๓ ปี ก็ไม่สามารถจะบรรลุได้ จึงได้ทูลถามพระพุทธเจ้า พระองค์ก็ทรงนิ่งเฉย มิได้แนะถึงกลอุบายที่ทำให้เกิดโสตอภิญญาแต่อย่างใด จึงเกิดความเบื่อหน่ายทำให้อุปปีฬกกรรมซ้ำเติมขึ้นไปอีก คิดว่าพระพุทธเจ้าทรงรู้แต่จักขุอภิญญาเท่านั้น จะล่วงรู้ถึงโลกุตตรธรรม คือมรรค ผล นิพพานที่ได้ทรงเทศนาไว้คงจะไม่จริงทั้งสิ้น จึงลาสิกขาไปเป็นเดียรถีย์นอกพระพุทธศาสนาในสำนักของนิครนถนาฏบุตร เป็นมิจฉาทิฏฐิ เมื่อสิ้นชีวิตลงไปบังเกิดในนรก ด้วยอำนาจของอุปปีฬกกรรมฝ่ายอกุศลเข้าเบียดเบียน จึงกลายเป็นคนอับโชคไป

 
ดูแผนผังประกอบเพื่อความเข้าใจ


ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section07B_04.htm
ขอบคุณภาพจาก www.oknation.net,www.rmutphysics.com,www.dhammatan.net,
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออนไลน์ ออนไลน์
  • กระทู้: 28440
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อุปฆาตกกรรม(กรรมตัดรอน)
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: ตุลาคม 02, 2011, 01:19:52 pm »
0

อุปฆาตกกรรม(กรรมตัดรอน)

          อุปฆาตกกรรม เป็นกรรมที่มีหน้าที่ ตัดกรรม อื่น ๆ และวิบากของกรรมอื่น ๆ ให้สิ้นลงซึ่งต่างกับอุปปีฬกกรรม ซึ่งมีหน้าที่เบียดเบียนกรรมอื่น ๆ และวิบากมิให้เจริญ คือให้มีกำลังลดน้อยถอยลงเท่านั้น

          อุปฆาตกกรรม เป็นกรรมชนิดที่ตัดกรรมอื่น ๆ อย่างเด็ดขาด เมื่อตัดกรรมใดแล้ว กรรมนั้นไม่สามารถส่งผลให้เกิดขึ้นได้เลยตลอดไป และถ้าตัดวิบากของกรรมนั้นแล้ว ย่อมหมายถึงร่างกาย หรืออวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของผู้นั้น ย่อมเสียไปตลอดชีวิต หรือไม่ก็ตัดชีวิตของผู้นั้นให้สิ้นไปเลย
 
          อุปฆาตกกรรม มีหน้าที่ ๒ อย่าง คือ
 
                  ๑. ตัดชนกกรรมที่เป็นตัวนำเกิด ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป
                  ๒. ตัดชีวิต (รูปนาม) ที่เกิดจากชนกกรรมนั้น ให้สิ้นไป


 
๑.อุปฆาตกกรรม มีหน้าที่ตัดชนกกรรม ที่เป็นกรรมนำเกิดอื่นๆเพื่อไม่ให้มีโอกาส

          อุปฆาตกกรรม มีหน้าที่ตัดชนกกรรมอื่น ๆ เพื่อไม่ให้มีโอกาสส่งผลนี้ มี ๓ ประเภท คือ
          ๑.๑ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัด อกุศลชนกกรรม ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (บุญตัดบาป) มิให้นำเกิดในอบายภูมิ เช่น
 
          องคุลิมาล ก่อนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้เคยฆ่าคนเป็นจำนวนมาก เมื่อตายแล้วจะต้องตกนรกแน่นอน แต่เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ก็ไม่ต้องตกนรก เพราะไม่ต้องเกิดอีก ด้วยอำนาจของ อรหัตตมรรคกุศลกรรม (บุญ) ที่เกิดขึ้นตัด อกุศลชนกกรรม (บาป) ที่ได้ทำในภพนี้และภพก่อนให้หมดไป ไม่ต้องรับผลกรรมที่ทำไว้
 
          ๑.๒ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัด กุศลชนกกรรมอื่น ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (บุญตัดบุญ)
 
          ผู้ที่ทำทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาจนได้ฌาน ต่อมาได้เจริญวิปัสสนากรรมฐานจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ทาน ศีล ที่เป็นกุศลชนกกรรม (บุญ) ก็ไม่สามารถส่งผลให้ไปเกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดาได้ และฌานกุศลชนกกรรม (บุญ) ก็ไม่สามารถส่งผลให้เกิดเป็นพรหมได้ ด้วยอำนาจของอรหัตตมรรคกุศล (บุญ) ซึ่งเป็นกุศลอุปฆาตกกรรมตัดกุศลที่จะนำเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา หรือพรหมให้หมดไป ผู้ที่ทำฌานจนถึงปัญจมฌาน

     เมื่อตายแล้วก็ต้องไปเกิดเป็นจตุตถฌานพรหม ด้วยอำนาจแห่งปัญจมฌานกุศล เป็นอุปฆาตกกรรมตัดมหัคคตกุศลที่ต่ำกว่าไม่ให้มีโอกาสส่งผล ตัดการที่จะไปเกิดเป็น ปฐมฌานพรหม ทุติยฌานพรหม และตติยฌานพรหม ลงไป ในอรูปฌานก็ทำนองเดียวกัน
 
          ๑.๓ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัด กุศลชนกกรรมอื่น ไม่ให้มีโอกาสส่งผลตลอดไป (บาปตัดบุญ)
 
          ผู้ใดผู้หนึ่งได้บำเพ็ญสมถกรรมฐานจนกระทั่งได้ฌาน ต่อมาผู้นั้นได้กระทำอกุศลกรรมที่เป็นปัญจานันตริยกรรม อกุศลปัญจานันตริยกรรมนี้ย่อมเป็น อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดมหัคคตกุศลชนกกรรม ไม่ให้มีโอกาสได้ส่งผลให้ผู้นั้นไปเกิดในพรหมโลก เช่น พระเทวทัต ได้เคยเจริญสมถกรรมฐานจนได้ฌานและอภิญญา ทำให้เหาะเหิรเดินอากาศได้

     แต่เมื่อได้กระทำโลหิตตุปบาทและสังฆเภทอันเป็นกรรมหนัก คือ อนันตริยกรรม เมื่อพระเทวทัตตายลงจึงต้องไปเกิดในอเวจีมหานรก ทั้งนี้ เพราะอนันตริยกรรมนั้นเป็นฝ่ายอกุศลอุปฆาตกกรรม (บาป) ตัดมหัคคตกุศลชนกกรรม คือ ฌาน อภิญญา (บุญ) ทำให้ไม่สามารถจะไปเกิดในพรหมโลกได้

 
ดูแผนผังสรุป



๒.อุปฆาตกกรรม ที่มีหน้าที่ตัดรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมอื่นให้สิ้นไป

          อุปฆาตกกรรมที่มีหน้าที่ตัดรูปนามที่เกิดจากชนกกรรมอื่นให้สิ้นไป มี ๔ ประการ คือ
๒.๑ กุศลอุปฆาตกกรรม   ตัดรูปนามที่เกิดจาก   อกุศลชนกกรรม
๒.๒ กุศลอุปฆาตกกรรม   ตัดรูปนามที่เกิดจาก   กุศลชนกกรรม
๒.๓ อกุศลอุปฆาตกกรรม   ตัดรูปนามที่เกิดจาก   กุศลชนกกรรม
๒.๔ อกุศลอุปฆาตกกรรม   ตัดรูปนามที่เกิดจาก   อกุศลชนกกรรม



          ๒.๑ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก อกุศลชนกกรรม
          ผู้ที่ตายไปแล้ว ไปบังเกิดเป็นสัตว์นรกในนิรยภูมิ ร่างกายและความเป็นไป มีการเห็น การได้ยิน เป็นต้น ของสัตว์เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศลวิบากทั้งสิ้น ในระยะต่อมาสัตว์นรกนั้นได้ระลึกถึงกุศลกรรมที่ตนได้เคยกระทำไว้ได้ โดยอาศัยการเห็นเปลวไฟแล้วระลึกได้ว่า เราเคยได้บวชพระ เคยถวายจีวรแก่พระสงฆ์ เคยปิดทองพระพุทธรูปเป็นต้น หรือโดยอาศัยพระยายมราชเตือนสติให้ก็ระลึกถึงกุศลต่าง ๆ ที่ตนได้เคยกระทำไว้

     ในขณะที่ระลึกถึงนั้น มหากุศลจิตย่อมเกิดขึ้น ในขณะนั้นสัตว์นรกก็จุติลง แล้วไปเกิดเป็นมนุษย์ หรือเทวดาทันที นี้เป็นเพราะกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ระลึกถึงกุศลเก่านั้นได้เอง เป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เป็นอกุศลวิบาก ทั้งนี้ เพราะกุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะที่ระลึกถึงกุศลเก่านั้น จะเป็นกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามของสัตว์นรกอันเกิดจากอกุศลชนกกรรมให้สิ้นไป
 
          ๒.๒ กุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก กุศลชนกกรรม
          ผู้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ที่ยังเป็นฆราวาส ถ้าไม่บวชภายในวันนั้น จะต้องเสียชีวิตทันที ทั้งนี้ เพราะอำนาจของอรหัตตมรรคอรหัตตผลนั้นมีคุณอันประเสริฐ ไม่เหมาะกับเพศฆราวาส ซึ่งเป็นเพศชั้นต่ำ มีฐานะเพียงแค่รักษาศีล ๕ ความเป็นพระอรหันตขีณาสพนั้น ย่อมคู่ควรกับสมณเพศอันเป็นอุดมเพศ จึงจะรองรับคุณอันประเสริฐนั้นได้

     เหมือนกับน้ำมันราชสีห์ ภาชนะทองเท่านั้น ที่สามารถเก็บรักษาน้ำมันนั้นอยู่ได้ ถ้าภาชนะอื่น ๆ ย่อมไม่สามารถรักษาไว้ได้ นี่แสดงให้เห็นว่าอรหัตตมรรคกุศลกรรม เป็นอุปฆาตกกรรมที่ตัดรูปนามของความเป็นมนุษย์ อันเกิดจากอกุศลชนกกรรมมิให้มีโอกาสส่งผล
 
          ๒.๓ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก กุศลชนกกรรม
          คนที่เกิดมามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และอวัยวะของร่างกายครบถ้วนสมบูรณ์ นับว่าเป็นคนที่เกิดจากกุศลวิบาก ต่อมาได้รับอุบัติเหตุ เช่น แขนขาด ขาหัก ตาบอด หรือถึงแก่ความตาย เหล่านี้เป็นเพราะอกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจากกุศลชนกกรรมมิให้มีโอกาสส่งผลอีกต่อไป
 
          ๒.๔ อกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรูปนามที่เกิดจาก อกุศลชนกกรรม
          สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายนั้นเกิดมาจากอกุศลชนกกรรม มี ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น ต่อมาถ้าได้รับอุบัติเหตุ เช่น ถูกรถชนตาย ตกน้ำตาย ถูกฆ่าตาย ความตายของสัตว์เหล่านี้ เป็นเพราะอกุศลอุปฆาตกกรรมที่เคยทำไว้แล้ว เป็นผู้ตัดชีวิต คืออกุศลชนกกรรมให้สิ้นไป ไม่มีโอกาสส่งผลอีก

 
ดูแผนผังสรุป อำนาจพลังแห่งบุญบาปที่ตัดชีวิตให้สิ้นลง


          องค์ธรรมของอุปฆาตกกรรม ได้แก่ อกุศลกรรม ๑๒ และกุศลกรรม ๒๑
 
อุปฆาตกกรรมฝ่ายอกุศล เรื่องกรรมของพระเจ้าพิมพิสาร
          พระเจ้าพิมพิสาร เป็นพระราชาแห่งกรุงราชคฤห์ พระองค์ทรงมีความเลื่อมใส ในพระรัตนตรัยเป็นอันมาก ทรงตั้งอยู่ในโสดาบันบุคคล ทรงเป็นพระราชบิดาของอชาตศัตรูกุมาร อชาตศัตรูกุมารนี้ไปคบหากับพระเทวทัตที่คิดจะเป็นใหญ่แทนพระพุทธเจ้า และตนก็ต้องการขึ้นครองราชสมบัติแทนพระเจ้าพิมพิสาร

    อชาตศัตรูและพระเทวทัตจึงหาวิธีที่จะกำจัดบุคคลทั้งสองด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การจับพระเจ้าพิมพิสารไปขังคุก ให้อดอาหาร กรีดฝ่าเท้าเพื่อมิให้เดินจงกรม จนกระทั่งเกิดทุกขเวทนาอย่างหนักและสวรรคตลงไปเกิดเป็นเทพบุตรในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ
 
          ส่วนพระเจ้าอชาตศัตรู ผู้มีบาปกระทำปิตุฆาตกรรม เสวยราชสมบัติตามประสงค์ก็หาได้มีความสุขสงบพระทัยลงไม่ แม้จะได้ฟังพระธรรมเทศนาขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยอำนาจของอกุศลอุปฆาตกกรรม ตัดรอนให้พระเจ้าอชาตศัตรูสวรรคตลง ไปเกิดเป็นสัตว์นรกใน โลหกุมภี เสวยทุกขเวทนาเป็นเวลาถึง ๖ หมื่นปี เมื่อสิ้นกรรมจากนรกแล้วจักไปบังเกิดเป็นมนุษย์ และตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า มีพระนามว่า พระชีวิตวิเสส

 
ที่มา http://www.buddhism-online.org/Section07B_05.htm
ขอบคุณภาพจาก www.dhammajak.net
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 02, 2011, 08:33:37 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

winyuchon

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 125
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา ให้กับผู้มอบความรู้ประจำเว็บ ครับ มีคำตอบให้เสมอ

 :25:
บันทึกการเข้า

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมสงสัย อยู่เรื่องครับ เวลาเราไปล่วงเกินใครให้เจ็บช้ำน้ำใจ

แล้ว เราก็เอา ธูป เทียน หรือ บายศรี กระทงขมา ไปทำการขอขมา

และกราบขอ อโหสิกรรม แล้ว กรรมจะยุติทันทีหรือป่าวครับ

ผมดูเวลา พวกคนที่ทำผิด เวลาถูกจับเช่น ไปฆ่าลูกเขาตาย ถูกตำรวจจับแล้ว ก็มากราบอโหสิกรรม

เหมือน ที่ผมดูใน Youtueb ที่คนใช้ลวงเด็กไปจมน้ำตาย แล้วมากราบขอขมาแม่ของเด็ก นี่

กรรม จะยุติได้จริงหรือป่าว ครับ

ถ้าไม่ได้ ทำไมต้องมีการอโหสิ กันด้วยครับ
[/quote
สมมติว่ากรรมเกิดขึ้นระหว่างเรากับเขา เมื่อเราขอขมาด้วยความจริงใจ กรรมที่เกิดในจิตเราจะจบไป
แต่เขาจะอโหสิให้เราหรือไม่ มันก็สิทะของเขา
ถ้าเขาไม่อโหสิให้เรา จิตเขาจะจับไว้ แล้วเราต้องยอมรับกรรมที่จะสนองตอบ แบบนี้จะเรียกว่าเวร
การขออโหสินั้น มันจะเป็นตัวชำระจิตเราให้ขาวขึ้น ส่วนเขาจะเมตตาต่อเราหรือไม่ มันก็เรื่องของเขา
ควรทำบ่อยๆ เพื่อชำระจิตของเราเองครับ
บันทึกการเข้า