ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "พระธาตุ อรหันตธาตุ" มีบันทึกในพระไตรปิฎกหรือไม่.?  (อ่าน 9461 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพจาก http://www.bloggang.com/


ask1 "พระธาตุ อรหันตธาตุ" มีบันทึกในพระไตรปิฎกหรือไม่.?
ans1 เรื่องราวของพระธาตุ หรืออรหันตธาตุ ตลอดจนพระบรมสารีริกธาตุ ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกในส่วนของพระสูตร รายละเอียดส่วนใหญ่จะเป็นพระสรีระของพระพุทธเจ้า เป็นที่น่าสังเกตว่า สำนวนในพระสูตรไม่ปรากฏคำว่า"พระบรมสารีริกธาตุ" แสดงว่าคำนี้ถูกแต่งขึ้นภายหลัง
     สำหรับหลักฐานในชั้นของอรรถกถานั้น มีบันทึกอยู่โดยพิสดาร จะนำเสนอเป็นลำดับๆไป จะขอเริ่มด้วยข้อธรรมในมหาปรินิพพานสูตรก่อน

ask1 เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคถูกเพลิงไหม้แล้ว เหลืออะไรบ้าง.?
ans1 เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคถูกเพลิงไหม้อยู่ พระอวัยวะส่วนใด คือ พระฉวี พระจัมมะ พระมังสะ พระนหารู หรือพระลสิกา เถ้า เขม่า แห่งพระอวัยวะส่วนนั้น มิได้ปรากฏเลย เหลืออยู่แต่พระสรีระอย่างเดียว
    เมื่อเนยใสและน้ำมันถูกไฟไหม้อยู่ เถ้า เขม่า มิได้ปรากฏ ฉันใด
    เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคถูกเพลิงไหม้อยู่ พระอวัยวะส่วนใด คือ พระฉวี พระจัมมะ พระมังสะ พระนหารู หรือพระลสิกา เถ้า เขม่าแห่งพระอวัยวะส่วนนั้น มิได้ปรากฏเลย เหลืออยู่แต่พระสรีระอย่างเดียวฉันนั้นเหมือนกัน และบรรดาผ้า ๕๐๐ คู่ เหล่านั้น ไฟไหม้เพียง ๒ ผืนเท่านั้น คือ ผืนในที่สุด กับผืนนอก


ask1 เหตุใดพระสรีระของพระพุทธเจ้า จึงถูกแบ่งออกเป็น ๘ ส่วน.?
ans1 เพราะในเวลานั้น มีกษัตริย์และพราหมณ์รวม ๘ เมืองต้องการนำพระสรีระของพระพุทธเจ้าไปฉลองและสร้างพระสถูป เดิมทีเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ซึงเป็นสถานที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไม่ยินยอม แต่โทณพราหมณ์ได้เจรจาจนตกลงกันได้ พระสรีระของพระพุทธเจ้าถูกแบ่งและนำไปบรรจุในสถูปตามเมืองต่างๆดังนี้
   - เมืองราชคฤห์ ของพระเจ้าอชาตศัตรู
   - เมืองเวสาลี ของกษัตริย์ลิจฉวี
   - เมืองกบิลพัสดุ์ ของกษัตริย์ศากยะ
   - เมืองอัลกัปปะ ของกษัตริย์ถูลี
   - เมืองรามคาม ของกษัตริย์โกลิยะ
   - เมืองเวฏฐทีปกะ ของพราหมณ์คนหนึ่ง
   - เมืองปาวา ของมัลละกษัตริย์
   - เมืองกุสินารา ของเจ้ามัลละ


 ask1 สถูปบรรจุพระสรีระของพระพุทธเจ้ามีกี่แห่ง และอยู่ที่ใหน.?
 ans1 คำตอบน่าจะเป็น ๘ แห่งตามเมืองของเจ้าผู้ครองนครต่างๆ แต่คำตอบนี้ผิดครับ ที่ถูกแล้วมี ๑๐ แห่ง   
    - แห่งที่ ๙ คือ สถูปของโทณพราหมณ์ สถูปนี้บรรจุตุมพะ(ทะนานใช้ตวงพระสรีระ) ในพระสูตรไม่บอกว่าอยู่เมืองไหน ตุมพะนี้โทณพราหมณ์ได้เอ่ยปากขอกับทูตของเมืองต่างๆ
    - แห่งที่ ๑๐ คือ สถูปที่เมืองปิปผลิวัน ของกษัตริย์โมริยะ สถูปนี้บรรจุพระอังคาร เมืองนี้ส่งฑูตมาช้า จึงได้แต่พระอังคารไป



ภาพจาก http://www.wanramtang.com/


    มีข้อธรรมหนึ่งในมหาปรินิพพานสูตรที่น่าสนใจ ขอยกมาแสดงดังนี้

    [๑๖๒] พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ แปดทะนาน เจ็ดทะนาน บูชากันอยู่ในชมพูทวีป
    ส่วนพระสรีระอีกทะนานหนึ่งของพระพุทธเจ้าผู้เป็นบุรุษที่ประเสริฐอันสูงสุด
    พวกนาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม
    พระเขี้ยวองค์หนึ่งเทวดาชาวไตรทิพย์บูชาแล้ว
    ส่วนอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ในคันธารบุรี
    อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ
    อีกองค์หนึ่ง พระยานาคบูชากันอยู่ ฯ


    ด้วยพระเดชแห่งพระสรีระพระพุทธเจ้า นั้นแหละ แผ่นดินนี้ชื่อว่า ทรงไว้ซึ่งแก้วประดับแล้วด้วยนักพรตผู้ประเสริฐที่สุด พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่าอันเขาผู้สักการะๆ สักการะดีแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันจอมเทพจอมนาคและจอมนระบูชาแล้ว อันจอมมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ขอท่านทั้งหลายจงประนมมือถวายบังคมพระสรีระนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้ยากโดยร้อยแห่งกัป ฯ

    พระทนต์ ๔๐ องค์บริบูรณ์ พระเกศาและพระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานำไปองค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆ กันไปในจักรวาล ดังนี้แล ฯ

    ask1 ask1 ans1 ans1
    ข้อธรรมข้างบนอ่านแล้ว "ผมก็ยัง งงๆ" ไม่ค่อยเข้าใจ สิ่งที่เข้าใจได้บ้าง คือ พระสรีระของพระพุทธเจ้าไม่ได้มีอยู่เฉพาะในสถูปทั้ง ๑๐ แห่งเท่านั้น ยังมีอยู่ที่คันธารบุรี ที่แคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ ที่สำคัญก็คือ ที่ภพของพระยานาค และภพของเทวดา ก็มีพระสรีระของพระพุทธเจ้าอยู่ด้วยครับ

    ข้อเท็จจริงต่างๆที่ได้เสนอไปแล้วนั้น ล้วนปรากฏอยู่ใน "มหาปรินิพพานสูตร"
    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915

    ขอปิดท้ายด้วยพุทธพจน์ในพระสูตรนี้
    "บุญย่อมเจริญแก่ผู้ให้ เวรย่อมไม่ก่อแก่ผู้สำรวมอยู่ คนฉลาดเทียว ย่อมละกรรมอันลามก เขาดับแล้วเพราะราคะ โทสะ โมหะ สิ้นไป"
                 
    (ยังมีต่อ..โปรดติดตาม)
       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 03, 2013, 12:08:56 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อัฐบริขารของพระพุทธเจ้า อยู่ที่ไหน.? หลังเสด็จปรินิพพาน

     [๒๘] พระมหาโคดมชินเจ้าผู้ประเสริฐ เสด็จนิพพานที่นครกุสินารา พระธาตุของพระองค์ เรี่ยรายแผ่ไปในประเทศนั้นๆ
     - พระธาตุทะนานหนึ่ง พระเจ้าอชาตศัตรูทรงนำไปไว้ในพระนครราชคฤห์
     - ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองเวสาสี
     - ทะนานหนึ่งอยู่ในนครกบิลพัสดุ์
     - ทะนานหนึ่งอยู่ในอัลลากัปปนคร
     - ทะนานหนึ่งอยู่ในรามคาม
     - ทะนานหนึ่งอยู่ในเวฏฐาทีปกนคร
     - ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองปาวาของมัลลกษัตริย์
     - ทะนานหนึ่งอยู่ในเมืองกุสินารา
     - โทณพราหมณ์ให้ช่างสร้างสถูปบรรลุทะนานทอง
     - กษัตริย์โมริยะผู้มีหทัยยินดี รับสั่งให้สร้างสถูปบรรจุพระอังคาร
     พระสถูปบรรจุพระสารีริกธาตุ ๘ แห่ง เป็น ๙ แห่ง ทั้งตุมพเจดีย์ รวมพระอังคารสถูปด้วยเป็น ๑๐ แห่ง ประดิษฐานอยู่แล้วในกาลนั้น


      :25: :25: :25:

     - พระทาฐธาตุข้างหนึ่งอยู่ในดาวดึงสพิภพ
     - ข้างหนึ่งอยู่ในนาคบุรี
     - ข้างหนึ่งอยู่ในเมืองคันธารวิสัย
     - ข้างหนึ่งอยู่ในเมืองกาลิงคราช
       (พระทาฐธาตุ หรือ พระเขี้ยวแก้ว คือ พระทันตธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระโคตมพุทธเจ้า)
     - พระทันตธาตุ ๔๐ พระเกศธาตุและพระโลมาทั้งหมด เทวดานำไปไว้ในจักรวาลหนึ่งๆ จักรวาลละอย่าง


     ans1 ans1 ans1

     - บาตรไม้เท้าและจีวรของพระผู้มีพระภาค อยู่ในวชิรานคร
     - สบงอยู่ในกุลฆรนคร
     - ผ้าปัจจัตถรณะอยู่ในสีหฬ (ผ้าปัจจัตถรณะ คือ ผ้าปูนอน)
     - ธมกรกและประคตเอว อยู่ในนครปาฏลิบุตร (ธมกรก คือ กระบอกกรองน้ำ)
     - ผ้าอาบน้ำอยู่ในจำปานคร
     - อุณาโลมอยู่ในแคว้นโกศล
       (อุณาโลมเป็นเครื่องหมายที่เกิดขึ้นเหนือหว่างคิ้วบริเวณหน้าผาก มีลักษณะเป็นทักษิณาวัตร (เวียนขวา) รูปก้นหอย เป็นขนอ่อนๆที่ไม่หนาเกินไปไม่บางเกินไป เกิดจากการบำเพ็ญความดีคือเป็นผู้มีความซื่อสัตย์โดยตลอดชีวิต บำเพ็ญสัจจะอย่างยิ่งยวด ทุกชาติที่เกิดมาสร้างความดี ถือเป็นมหาปุริสสลักษณะอย่างหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)


      st12 st12 st12

     - ผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ในพรหมโลก
     - ผ้าโพกอยู่ในดาวดึงส์
       (รอยพระบาทอันประเสริฐที่หิน เหมือนมีอยู่ที่กัจฉตบุรี)
     - ผ้านิสีทนะอยู่ในอวันตีชนบท (ผ้านิสีทนะ คือ ผ้าปูรองนั่ง)
     - ผ้าลาดอยู่ในดาวดึงส์
     - ไม้สีไฟอยู่ในมิถิลานคร
     - ผ้ากรองน้ำอยู่ในวิเทหรัฐ
     - มีดและกล่องเข็มอยู่ในอินทปัตถนคร ในกาลนั้น
     - บริขารที่เหลือ อยู่ในชนบท ๓ แห่งในกาลนั้น


     หมู่มนุษย์ในกาลนั้น จักบูชาบริขารที่พระมุนีทรงบริโภค พระธาตุของพระโคดมผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง กระจายแผ่กว้างไป เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตว์ทั้งหลายเป็นของเก่าในกาลนั้น ฉะนี้แล.


_________________________________
ธาตุภาชนียกถา ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
พระไตรปิฎกภาษาไทย(ฉบับหลวง) เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/read/?33.2/28
ภาพจาก http://www.bloggang.com/


    (ยังมีต่อ..โปรดติดตาม) 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 04, 2013, 12:49:21 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
บาตรของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ "วชิรานคร"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 04, 2013, 12:42:11 pm »
0

บาตรของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ "วชิรานคร"

๒๗. ธาตุภาชนียกถา
ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ

     [๑] พระมหาโคดมชินเจ้าผู้ประเสริฐเสด็จดับขันธปรินิพพานที่กรุงกุสินารา พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แผ่ไปอย่างกว้างขวางในนานาอารยประเทศ
     [๒]  พระบรมสารีริกธาตุทะนานหนึ่งเป็นของพระเจ้าอชาตศัตรู
           อีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงเวสาลี
           อีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงกบิลพัสดุ์
           และอีกทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงอัลลกัปปะ
     [๓] ทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงรามคาม
           ทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงเวฏฐทีปกะ
           ทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงปาวาของมัลลกษัตริย์
           ทะนานหนึ่งอยู่ที่กรุงกุสินารา
     [๔] โทณพราหมณ์ให้ช่างสร้างสถูปบรรจุทะนานทอง
           กษัตริย์กรุงโมริยะผู้มีหทัยยินดีรับสั่งให้สร้างพระสถูปบรรจุพระอังคาร
     [๕] พระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๘ แห่ง ตุมพเจดีย์เป็นแห่งที่ ๙ และพระสถูปบรรจุพระอังคารเป็นแห่งที่ ๑๐ ประดิษฐานอยู่แล้วในกาลนั้น


      st12 st12 st12

    [๖] พระบรมสารีริกธาตุ ๗ อย่าง คือ พระอุณหิส ๑ พระทาฐธาตุทั้ง ๔ และพระรากขวัญ ๒ ข้าง ไม่แตก
พระบรมสารีริกธาตุที่เหลือแตกออกจากกัน
     [๗] พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่เท่ากับเมล็ดถั่วเขียว ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีสีต่าง ๆ กัน
     [๘] พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่มีสีเหมือนทองคำ ขนาดกลางมีสีเหมือนแก้วมุกดา และขนาดเล็กมีสีเหมือนดอกมะลิ รวมทั้งหมดมีประมาณ ๑๖ ทะนาน
     [๙] พระบรมสารีริกธาตุเหล่านั้นทุกขนาด คือ ขนาดใหญ่มี ๕ ทะนาน ขนาดกลางมี ๕ ทะนาน ขนาดเล็กมี ๖ ทะนานเท่านั้น
     [๑๐] พระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้แม้ทั้งหมด ประดิษฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ กัน คือ พระอุณหิสอยู่ที่เกาะสีหล
พระรากขวัญเบื้องซ้ายอยู่ที่พรหมโลก และพระรากขวัญเบื้องขวาอยู่ที่เกาะสีหล



     [๑๑] พระทาฐธาตุองค์หนึ่งอยู่ที่ภพดาวดึงส์
             องค์หนึ่งอยู่ที่นาคปุระ องค์หนึ่งอยู่ที่เมืองคันธารวิสัย
             องค์หนึ่งอยู่ที่เมืองกาลิงคราช
     [๑๒] พระทันตธาตุทั้ง ๔๐ พระเกสาและพระโลมาทั้งหมด เทวดานำมาไว้ จักรวาลละหนึ่งอย่าง

      ans1 ans1 ans1

     [๑๓] บาตร ไม้เท้า และจีวรของพระผู้มีพระภาค อยู่ที่วชิรานคร
             สบงอยู่ที่กุลฆรนคร
             ผ้าปัจจัตถรณะอยู่ที่สีลนคร(กรุงกบิลพัสดุ์)
     [๑๔] ธมกรกและประคดเอว อยู่ที่กรุงปาตลีบุตร
             ผ้าอาบน้ำอยู่ที่กรุงจัมปา
             พระอุณณาโลมอยู่ที่แคว้นโกศล
     [๑๕] ผ้ากาสาวพัสตร์อยู่ที่พรหมโลก
             ผ้าโพกอยู่ที่ดาวดึงส์
             รอยพระบาทอันประเสริฐอยู่ที่หินเหมือน มีอยู่ที่กัจฉตบุรี
             ผ้านิสีทนะอยู่ที่อวันตีชนบท
             ผ้าลาดอยู่ที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์


      :25: :25: :25:

     [๑๖] ไม้สีไฟอยู่ที่กรุงมิถิลา
             ผ้ากรองน้ำอยู่ที่วิเทหรัฐ
             มีดและกล่องเข็มอยู่ที่กรุงอินทปัตถ์ ในกาลนั้น
     [๑๗] บริขารที่เหลืออยู่ที่อปรันตชนบท
             หมู่มนุษย์ในกาลนั้นจักบูชาบริขารที่พระมุนีทรงใช้สอย
     [๑๘] พระบรมสารีริกธาตุของพระโคดมผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ กระจายแผ่กว้างขวางไป เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย เป็นของเก่าในกาลนั้น ฉะนี้แล


     ธาตุภาชนียกถาที่ ๒๗ จบ
     พุทธวงศ์ จบ

________________________________________________
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า)
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓๓ หน้า :๗๒๔ - ๗๒๖
http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd33.htm

    (ยังมีต่อ..โปรดติดตาม) 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 04, 2013, 12:44:25 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 thk56
บันทึกการเข้า

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 thk56 st11 st12
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพจาก http://www.konjaiboon.com/


'พระธาตุ' มีลักษณะอย่างไร ปรากฏในพระไตรปิฎกหรือไม่.?

ask1 ถามว่า ลักษณะของพระธาตุเป็นอย่างไร ในพระไตรปิฎกบอกไว้หรือไม่.?
ans1 ตอบว่า พระไตรปิฎกภาษาไทย(ฉบับหลวง) ไม่ปรากฏ แต่ได้อธิบายไว้ในชั้นอรรถกถาของมหาปรินิพพานสูตร มีข้อความดังนี้

     บทว่า สรีราเนว อวสิสฺสึสุ ความว่า เมื่อก่อนได้ชื่อว่าสรีระ ก็เพราะตั้งอยู่ด้วยโครงร่างอันเดียวกัน บัดนี้ ท่านกล่าวว่าสรีระทั้งหมดกระจัดกระจายไปแล้ว.
     อธิบายว่า พระธาตุทั้งหลายก็เสมือนดอกมะลิตูม เสมือนแก้วมุกดาที่เจียรนัยแล้ว และเสมือนจุณทองคำยังเหลืออยู่.
     จริงอยู่ สรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืนทั้งหลาย ย่อมติดกันเป็นพืดเช่นกับแท่งทองคำ.
     ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานพระธาตุให้กระจายว่า เราอยู่ได้ไม่นานก็จะปรินิพพาน ศาสนาของเรายังไม่แพร่หลายไปในที่ทั้งปวงก่อน เพราะฉะนั้น เมื่อเราแม้ปรินิพพานแล้ว มหาชนถือเอาพระธาตุแม้ขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดทำเจดีย์ในที่อยู่ของตนๆ ปรนนิบัติ จงมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

     ถามว่า พระธาตุอย่างไหนของพระองค์กระจัดกระจาย อย่างไหนไม่กระจัดกระจาย.
     ตอบว่า พระธาตุ ๗ เหล่านี้ คือ
                         - พระเขี้ยวแก้ว ๔
                         - พระรากขวัญ ๒
                         - พระอุณหิส ๑
     ไม่กระจัดกระจาย นอกนั้นกระจัดกระจาย.

     บรรดาพระธาตุเหล่านั้น พระธาตุเล็กๆ ทั้งหมดได้มีขนาดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด.
     พระธาตุใหญ่ขนาดเท่าเมล็ดข้าวสารหักกลาง
     พระธาตุขนาดใหญ่ยิ่งมีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียวหักกลาง.

__________________________________________________
ที่มา มหากสฺสปตฺเถรวตฺถุวณฺณนา อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=5

ans1 ในอรรถกถาพักกุลสูตรได้กล่าวถึง"พระธาตุของพระพักกุลเถระ ที่มีลักษณะดังดอกมะลิตูม" ดังนี้
   "พระเถระดำริว่า แม้เรามีชีวิตอยู่อย่าได้เป็นภาระแก่ภิกษุเหล่าอื่น
    สรีระของเราแม้ปรินิพพานแล้ว อย่าให้ภิกษุสงฆ์ต้องเป็นกังวลเลย
    จึงเข้าเตโชธาตุ ปรินิพพานแล้วเปลวไฟลุกขึ้นท่วมสรีระ
    ผิวหนัง เนื้อและโลหิตถูกเผาไหม้สิ้นไป เหมือนเนยใส.
    ยังคงเหลืออยู่แต่ธาตุ ที่มีลักษณะดังดอกมะลิตูม"

________________________________________________
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ สุญญตวรรค พักกุลัตเถรัจฉริยัพภูตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=380


ภาพจาก http://www.watdevaraj.com/


ans1 แต่ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๔๕ เล่ม (ปกสีฟ้า) ได้ระบุไว้ใน"ธาตุภาชนียกถา" ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เป็นพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ สุตตันตปิฎกที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ พุทธวงศ์ จริยาปิฎก ขอยกมาแสดงดังนี้

     [๖] พระบรมสารีริกธาตุ ๗ อย่าง คือ พระอุณหิส ๑ พระทาฐธาตุทั้ง ๔ และพระรากขวัญ ๒ ข้าง ไม่แตก
พระบรมสารีริกธาตุที่เหลือแตกออกจากกัน
     [๗] พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่เท่ากับเมล็ดถั่วเขียว ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสารหัก ขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีสีต่าง ๆ กัน
     [๘] พระบรมสารีริกธาตุขนาดใหญ่มีสีเหมือนทองคำ ขนาดกลางมีสีเหมือนแก้วมุกดา และขนาดเล็กมีสีเหมือนดอกมะลิ รวมทั้งหมดมีประมาณ ๑๖ ทะนาน
     [๙] พระบรมสารีริกธาตุเหล่านั้นทุกขนาด คือ ขนาดใหญ่มี ๕ ทะนาน ขนาดกลางมี ๕ ทะนาน ขนาดเล็กมี ๖ ทะนานเท่านั้น
     [๑๐] พระบรมสารีริกธาตุเหล่านี้แม้ทั้งหมด ประดิษฐานอยู่ในที่ต่าง ๆ กัน คือ พระอุณหิสอยู่ที่เกาะสีหล
พระรากขวัญเบื้องซ้ายอยู่ที่พรหมโลก และพระรากขวัญเบื้องขวาอยู่ที่เกาะสีหล

________________________________________________
ที่มา http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd33.htm


ภาพจาก http://www.watthamfad.com/


ask1 ถามว่า แล้วจะเชื่อพระไตรปิฎกเล่มไหนดี.?
ans1 ตอบว่า เรื่องนี้จนด้วยเกล้าครับ ปัญญาไปไม่ถึง แต่ขอยกเอาบาลีใน "พระไตรปิฎก ภาษาบาลี (ฉบับสยามรัฐ) เล่มที่ ๓๓ สุตฺตนฺตปิฏเก เล่มที่ ๒๕ ขุทฺทกนิกายสฺส อปทานํ ภาค ๒ พุทฺธวํโส จรยาปิฏกํ" ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่เก่าแก่และได้รับการยอมรับมากที่สุด มาแสดงดังนี้

ธาตุภาชนียกถา
[๒๘] มหาโคตโม ชินวโร  กุสินารมฺหิ นิพฺพุโต
ธาตุวิตฺถาริกํ อาสิ  เตสุ เตสุ ปเทสโต ฯ
เอโก อชาตสตฺตุสฺส  เอโก เวสาลิยา ปุเร
เอโก กปิลวตฺถุสฺมึ  เอโก จ อลฺลกปฺปเก ฯ
เอโก จ รามคามมฺหิ เอโก จ เวฏฺฐทีปเก
เอโก ปาเวยฺยเก มลฺเล เอโก จ โกสินารเก ฯ
ตุมฺพสฺส (๑) ถูปํ กาเรสิ  พฺราหฺมโณ โทณสวฺหโย
องฺคารถูปํ กาเรสุํ  โมริยา ตุฏฺฐมานสา ฯ
อฏฺฐ สารีริกา ถูปา  นวโม ตุมฺพเจติโย (๒)
องฺคารถูโป ทสโม  ตทาเยว ปติฏฺฐิโต ฯ (๓)
เอกา ทาฐา ติทสปุเร  เอกา นาคปุเร อหุ
เอกา คนฺธารวิสเย  เอกา กาลิงฺคราชิโน ฯ


จตฺตาฬีสสมา ทนฺตา  เกสา โลมา จ สพฺพโส
เทวา หรึสุ เอเกกํ  จกฺกวาฬปรมฺปรา ฯ
วชิรายํ ภควโต  ปตฺโต ทณฺโฑ จ จีวรํ
นิวาสนํ กุลฆเร (๑)  ปจฺจตฺถรณํ สิลวฺหเย (๒) ฯ
ปาฏลีปุตฺตนคเร  กรกํ กายพนฺธนํ
จมฺปายํ อุทกสาฏกา(๓) อุณฺณโลมญฺจ โกสเล ฯ
กาสาวกํ (๔) พฺรหฺมโลเก เวฐนํ ติทเส ปุเร
[ปาสาณเก (๕) ปทํ เสฏฺฐํ ยถาปิ กจฺฉตํ ปุรํ]
นิสีทนํ อวนฺตีสุ (๖) เทวรฏฺเฐ (๗) อตฺถรณํ ตทา ฯ
อรณิ จ มิถิลายํ วิเทเห (๘) ปริสาวนํ
วาสี สูจิฆรญฺจาปิ  อินฺทปตฺถปุเร (๙) ตทา ฯ
ปริกฺขารา (๑๐) อวเสสา  ชนปทนฺตเก (๑๑) ตทา
ปริภุตฺตานิ มุนินา  มเหสฺสนฺติ มนุชา ตทา ฯ
ธาตุวิตฺถาริกํ อาสิ  โคตมสฺส มเหสิโน
ปาณีนํ อนุกมฺปาย  อหุ โปราณิกํ ตทาติ ฯ


ธาตุภาชนียกถา นิฏฺฐิตา ฯ
พุทฺธวํโส นิฏฺฐิโต ฯ


#๑ ม. ยุ. กุมฺภสฺส ฯ  #๒ ม. ยุ. กุมฺภเจติโย ฯ  #๓ ม. อุณฺหีสํ จตสฺโส ทาฐา ฯเปฯ สพฺพาเปตา ปติฏฺฐิตา ฯ
#๔ ยุ. กุสฆเร ฯ #๕ ม. ยุ. กปิลฺหเย ฯ #๖ ม. จมฺปายุทกสาฏิยํ ฯ ยุ. จมฺปายํ #อุทกสาฏิกา ฯ
#๗ ม. ยุ. กาสาวญฺจ พฺรหฺมโลเก ฯ #๘ ยุ. ปาสาณเก ปทํ เสฏฺฐํ #ยญฺจาปิ อจฺจุติ ปทํ ฯ #๙ ยุ. อวนฺติปุเร ฯ
๑๐ ม. ยุ. รฏฺเฐ ... ฯ #๑๑ ยุ. เวเทหิ ... ฯ ๑๒ ย. อินฺทรฏฺเฐ ฯ
๑๓ ยุ. ปริกฺขารํ อวเสสํ ฯ #๑๔ ม. ยุ. ชนปเท อปรนฺตเก ฯ
___________________________________________________________
ที่มา http://etipitaka.com/compare?utf8=%E2%9C%93&lang1=thai&volume=33&p1=368&lang2=pali&commit=%E2%96%BA#
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 07, 2013, 01:04:14 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12

   เป็นเรื่องแตะต้องได้ยาก เพราะ บางครั้ง ก็ อดแปลกใจไม่ได้ ว่า บางคน มีเป็นกระสอบ ผมไปเห็นมาแล้ว ตอนเขาตักและหยิบแจก ให้คนที่ต้องการ 

     ใส่ ไว้เป็นถัง ก็ มีครับ

    เลยไม่รู้ว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ทำไม มีมากมาย ขนาดนั้น

            :49:
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อานิสงส์การบูชาพระธาตุ จากพระไตรปิฎก
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: ตุลาคม 09, 2013, 07:56:09 am »
0
ภาพจาก http://www.jedeethai.com/

ว่าด้วยผลแห่งการบำรุงพระธาตุ

     [๒๔๙]    เมื่อพระโลกนาถพระนามว่าสิทธัตถะ ผู้สูงสุดกว่านระ เสด็จนิพพานแล้ว เราได้พระธาตุองค์หนึ่ง ของพระผู้มีพระภาคจอมสัตว์ ผู้คงที่ เราเก็บพระธาตุของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นเผ่าพันธ์พระอาทิตย์นั้นไว้บูชาตลอด ๕ ปี ดังพระองค์ผู้สูงสุดกว่านระยังดำรงอยู่ ในกัลปที่ ๙๔
     แต่กัลปนี้ เราได้บูชาพระธาตุใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลเพราะบำรุงพระธาตุ
     คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.                         
     ทราบว่า ท่านพระธาตุปูชกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.


     จบ ธาตุปูชกเถราปทาน.

____________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒  บรรทัดที่ ๕๖๑๐ - ๕๖๒๐.  หน้าที่  ๒๖๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=5610&Z=5620&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=32&i=249


ภาพจาก http://www.jedeethai.com/

ธาตุปูชกเถราปทานที่ ๖
ว่าด้วยผลแห่งการบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

      [๗๖] เมื่อพระโลกนาถผู้นำของโลกพระนามว่าสิทธัตถะปรินิพพานแล้ว เราได้นำพวกญาติของเรามาทำการบูชาพระธาตุ ในกัปที่ ๙๔
      แต่กัปนี้ เราได้บูชาพระธาตุใด ด้วยการบูชานั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระธาตุ
      เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนา เราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.
      ทราบว่า ท่านพระธาตุปูชกเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.


      จบ ธาตุปูชกเถราปทาน.

_______________________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓  บรรทัดที่ ๑๖๗๘ - ๑๖๘๖.  หน้าที่  ๗๔.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=1678&Z=1686&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=76
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

พระสารีบุตรธาตุ จากเว็บ http://www.relicsofbuddha.com/

๗. เสสวดีวิมาน
ว่าด้วยผลบุญที่ทำให้ไปเกิดในเสสวดีวิมาน

    เมื่อพระวังคีสเถระจะไต่ถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้น จึงสรรเสริญวิมานของเธอเสียก่อนเป็นปฐม ด้วยคาถา ๗ คาถา ความว่า

    [๓๕] ดูกรแม่เทพธิดา อาตมาได้เห็นวิมานของท่านนี้ อันมุงและบังด้วยข่ายแก้วผลึก ข่ายเงินและข่ายทองคำ มีพื้นที่เต็มไปด้วยต้นไม้มีผลวิจิตรนานาพรรณเป็นระเบียบเรียบร้อย น่ารื่นรมย์ เป็นวิมานซึ่งเกิดกับสำหรับบุญ มีซุ้มประตูแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ.....ฯลฯ......   
     .....เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงมาเกิดในวิมานนี้
     ดูกรนางเทพธิดาผู้มีขนตางอนงาม ขอท่านจงตอบถึงผลกรรม เป็นเหตุได้วิมานที่ท่านได้แล้วนี้ เป็นไปตามที่อาตมาถามท่านแล้วตามลำดับด้วยเถิด.?......ฯลฯ......


     ans1 ans1 ans1

    ......ดิฉันได้วิมานเหตุนี้ด้วยเหตุผลอันใด ดิฉันจะเล่าเหตุผลอันนั้นถวายพระคุณเจ้านิมนต์ฟังเถิด คือ
     มีหมู่บ้านหมู่หนึ่งชื่อนาฬกคาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระนครราชคฤห์ ดิฉันเป็นบุตรสะใภ้ประจำตระกูลของบ้านนั้นอันตั้งอยู่ภายในบุรี ชุมนุมในหมู่บ้านนั้นเรียกดิฉันว่า เสสวดี ดิฉันมีใจชื่นบาน ได้ก่อสร้างกุศลกรรมไว้ในชาตินั้น คือ ได้บูชาพระธาตุพระธรรมเสนาบดี(พระสารีบุตร) นามว่า อุปติสสะ
     ซึ่งเป็นที่บูชาของทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลายผู้มากไปด้วยคุณความดีมีศีล เป็นต้น หาประมาณมิได้
     ซึ่งนิพพานไปแล้ว ด้วยเครื่องสักการะหลายอย่าง ล้วนแต่รัตนะและดอกคำ


     ก็แหละครั้นบูชาพระธาตุของพระผู้แสวงหาซึ่งคุณอย่างยอดยิ่ง
     ผู้ถึงอนุปทิเสสนิพพานธาตุแล้ว ซึ่งในที่สุดยังเหลืออยู่แต่พระธาตุเท่านั้น
     ครั้นดิฉันละกายมนุษย์นั้นแล้ว จึงได้มาเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ชั้นไตรทศ อยู่ประจำวิมานในเทวโลก.

__________________________________________________________
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๖  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๘ ขุททกนิกาย วิมาน-เปตวัตถุ เถร-เถรีคาถา
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓  บรรทัดที่ ๖๔๘๓ - ๖๕๒๗.  หน้าที่  ๒๗๘ - ๒๘๐.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=33&A=6483&Z=6527&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33&i=176
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ฟ้าใหม่แจ่มใส

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 226
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นานา จิตตัง เรื่องของความเชื่อ ด้วย
 st12 st12 st12

ขอบคุณเนื้อหาที่นำมาให้ได้อ่านกัน :58: thk56
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ ถ้าไม่ถูกใจก็ต้องว่า ยายกบ เพราะชวนมาศึกษาธรรมะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

28 รัฐ ในอินเดีย

แผนที่แสดงรัฐต่างๆของอินเดีย


ในพระสูตรกล่าวถึง "รอยพระบาทที่กัจฉตบุรี" แล้ว "เมืองกัจฉตบุรี" อยู่ที่ไหน.?

ในพระสูตรไม่ได้ให้รายละเอียด ในอรรถกถาก็ไม่มีคำอธิบาย ผมค้นข้อมูลจากเว็บมัชฌิมาฯ ในกระทู้ "มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล" ก็ไม่ปรากฏชื่อเมือง "กัจฉตบุรี" ข้อมูลตามหลักฐานที่ปรากฏในปัจจุบัน แคว้นและเมืองหลวงในอดีต พอสรุปได้ดังนี้




ข้อมูลจากเว็บ http://www.vichadham.com/buddha/city16.html จากหัวข้อ "แคว้น ๑๖, แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล" ปรากฏดังนี้

   สรุปเกี่ยวกับที่ตั้งของแคว้น เทียบกับปัจจุบัน
   - อังคะ มคธะ วัชชี รวม ๓ แคว้น อยู่ในเขตรัฐพิหาร
   - กาสี โกสละ มัลละ วังสะ ปัญจาละ สุรเสนะ รวม ๖ แคว้นอยู่ในรัฐอุตตรประเทศ
   - เจตี อยู่ในเขตของรัฐมัธยประเทศ กับรัฐอุตตรประเทศต่อกัน
   - กุรุ ได้แก่เขตของกรุงเดลี กับบางส่วนของรัฐอุตตรประเทศและรัฐหรยานะ
   - มัจฉะ อยู่ในรัฐราชสถานอัสสกะ อยู่ในรัฐมหาราษฏร์
   - อวันตี อยู่ในรัฐมัธยประเทศคันธาระ อยู่ในประเทศปากีสถาน
   - กัมโพชะ อยู่ในรัฐแคชเมียร์ของอินเดีย รวมส่วนหนึ่งของปากีสถานและอาฟฆานิสสถาน





    การประทับรอยพระบาทของพระพุทธเจ้า ความน่าจะเป็น ควรอยู่ในพื้นที่ชายแดนมากกว่า สำนวนบาลีใช้คำว่า "ปัจจันตประเทศ" กล่าวคือ ไม่ควรอยู่ใจกลางประเทศอินเดีย(มัธยมประเทศ) น่าจะอยู่ขอบๆหรือรอยต่อระหว่างประเทศมากกว่า นั่นหมายถึง อาจจะเป็นสุวรรรภูมิก็ได้ การสืบหาเมืองนี้คงต้องเริ่มจากคำแปลของคำว่า "กัจฉตบุรี" แน่นอนครับ "บุรี" หมายถึงเมือง ส่วน "กัจฉต" ไม่ทราบจริงๆ จนด้วยเกล้าขอรับ

    สรุปก็คือ ไม่รู้ว่า "กัจฉตบุรี" อยู่ที่ไหน ที่แปลกใจก็คือ ตามพระสูตรแล้ว ในธาตุภาชนียกถา ว่าด้วยการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ ใช้คำว่า "รอยพระบาทอันประเสริฐอยู่ที่หิน เหมือนมีอยู่ที่กัจฉตบุรี"
    คำว่า "เหมือนมีอยู่" สามารถตีความได้ว่า ผู้บันทึกไม่แน่ใจ จำได้คลับคล้ายคลับคลา
    คุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

     :25: :25: :25:



    กระทู้แนะนำ
    - มหาชนบท ๑๖ ในสมัยพุทธกาล
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12422.0
    - ทบทวนกันหน่อย..รอยพระพุทธบาทที่สำคัญ 5 แห่ง อยู่ที่ไหน.?
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=12303.0
    - รอยพระพุทธบาท นัมะทานที ที่เกาะแก้ว จ.ภูเก็ต
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7044.0
    - "เจดีย์ และสถูปสำคัญเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า"(ยกเครดิตให้ศิษย์ครูนภา)
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1088.0

   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 02, 2015, 11:10:45 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วรรคผิด ความหมายผิด

รอยพระบาทอันประเสริฐอยู่ที่หิน เหมือนมีอยู่ที่กัจฉตบุรี"

อ่านถูกต้อง ตามอรรถการแปล อย่างนี้

รอยพระบาทอันประเสริฐอยู่ที่หินเหมือนมี อยู่ที่กัจฉตบุรี"

เหมือนที่เขาพูดขายของเลยนะ

   "ยานี้ดี กินแล้วแข็ง แรงไม่มี โรคภัยเบียดเบียน" 
   คนอ่านเขาอ่านอย่างนี้ ความหมายเพี้ิยน

   "ยานี้ดี กินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน" 
   อ่านถูกต้อง อ่านแล้วฮาเลย


พิจารณาจากคำแปล

ปทํ เสฏฺฐํ ยถาปิ กจฺฉตํ ปุรํ
รอยเท้าอันประเสริฐ ย่อมตั้งอยู่ ที่เมือง กัจฉตะ แม้ฉันนั้น
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ