ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ขอโทษ ขออภัย ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ ? ให้ผลต่างกันอย่างไร  (อ่าน 6275 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

DANAPOL

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-1
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 332
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอโทษ ขออภัย ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ ? ให้ผลต่างกันอย่างไร
สมมุตว่า ผมเดินไป เตะเพื่อนผม แล้ว ผม ทำการขอโทษ  ขออภัย หรือ ขอขมา เวรจะหายหรือไม่ครับ

 st11 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
รหัสธรรม ต้องใช้ปัญญาคือความรู้ ผู้ถือกุญแจคือใครหนอ...

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



อภัยทาน

    อภัยในที่นี้ก็หมายถึง ทานอย่างที่สอง เรียกว่า อภัยทาน
    แม้สิ่งที่เรียกว่า “อภัยทาน” นี้ ก็ต้องมีปฏิคาหก มีผู้รับเหมือนกัน
    อภัยทาน หมายถึง ให้อภัย
    คำว่า อภัย นี้แปลว่า ไม่ต้องกลัว
    ให้อภัย คือ เราให้ความไม่ต้องกลัวแก่บุคคลนั้น แปลว่า บุคคลนั้นไม่ต้องกลัวเรา นี่คือ ให้อภัย
 

     ทีนี้บางคนอาจจะคิดว่า นี้มันไม่ใช่ให้ทาน.... นี่มันไม่รู้ เขาพูดไปทั้งที่ไม่รู้การให้อย่างนี้ เรียกว่า ให้ทาน
     แต่เขาเรียกว่า “อภัยทาน” เป็นสิ่งที่ให้กันได้ ให้ได้ทั้งทางกาย ให้ได้ทั้งทางวาจา ให้ได้ทั้งทางจิตใจ
     ทางร่างกาย เขามาขอขมาขออภัยเราก็รับ
     ทางวาจา บอกอโหสิกรรม
     ทางจิตใจ เราก็สลัดความโกรธ ความอาฆาตจองเวร

     อย่างนี้ก็เรียกว่า “อภัยทาน” ทั้งนั้นมีได้ทั้งทางกาย ทางวาจา ทางใจ

    ทีนี้แยกประเภทให้เห็นชัดว่าอภัยทานนี้ อย่างน้อยก็มีอยู่สัก ๓ อย่าง

    อภัยทานอย่างแรก คือ การให้อภัยโทษ ให้ขมาโทษ คือ ยอมรับการขมาโทษ
    เรียกว่า ให้อภัยโทษ รับการขอขมานี่ เข้าใจกันดีแล้วไม่ต้องอธิบายก็ได้

    อย่างที่สองเราไม่เบียดเบียน ไม่ประทุษร้ายใคร นั่นแหละ คือให้อภัยทานเหมือนกัน
    เราจงเป็นอยู่อย่างไม่เบียดเบียน อย่างไม่ประทุษร้ายใคร ที่เขาเรียกกันว่า “ศีล”
    ศีล นั่นแหละคือ อภัยทาน เราไม่ประทุษร้าย ไม่เบียดเบียนแก่ชีวิตแก่ร่างกาย หรือแก่น้ำใจ ไม่เบียดเบียนเนื้อตัวของเขา ไม่เบียดเบียนจิตใจของเขา ไม่ทำลายชีวิตของเขาทุกระดับ นับตั้งแต่สัตว์เดรัจฉานขึ้นมา จนถึงมนุษย์ จนกระทั่งเทวดา หรือพรหมอะไร
    ถ้ามันจะมี แปลว่า สิ่งที่มีชีวิต มีความรู้สึกนึกคิดแล้ว เราไม่เบียดเบียนให้เขารู้สึกกระทบกระทั่งเป็นทุกข์
    นี้เรียกว่า ให้ความไม่เบียดเบียน ความไม่ประทุษร้าย

    อย่างที่สามแผ่เมตตาจิตอยู่เป็นปกติ ทุกวันทุกคืน ทุกลมหายใจเข้าออก นี้ก็คือ อภัยทาน

     นึกดูแล้วก็น่ารวย ในข้อที่ว่าอภัยทานนี้ ไม่ต้องลงทุนสักสตางค์หนึ่งก็ได้ ต้องเสียหลายแสนนะ
     แต่ว่าทำอภัยทานนี้ ไม่ต้องให้สตางค์สักสตางค์หนึ่งก็ทำได้ แล้วยังจะมีผลสูงกว่าเสียด้วย

     อนึ่ง ขอให้รู้ไว้ว่า อภัยทานนี่มันทำยากกว่าที่จะให้วัตถุ เพราะมันเป็นเรื่องจิตใจมากขึ้นไปอีก คนถือตัว ใครมาขอขมาก็ไม่ยอมให้ แถมทำผู้อื่นเดือดร้อนอยู่เรื่อย ไม่รักผู้อื่น ไม่เห็นใจผู้อื่น นี่เรียกว่า ไม่มีอภัยทาน
     ขอให้ตัดสินใจแน่ลงไปว่า เรานี้ตั้งแต่วันนี้ไป จะสะสางเรื่องอภัยทานนี้ให้เป็นชิ้นเป็นอัน
     สำหรับวัตถุทานก็ทำมามากแล้ว แต่เรื่องอภัยทานนี้ดูยังโหรงเหรง
     นี่ขอให้ไปชำระสะสาง คือ ทำให้มันมีขึ้น ให้มันครบถ้วน ให้มันถูกต้องว่า
           ๑. ให้อภัยโทษ ยอมรับขมา
           ๒. ไม่เบียดเบียน ไม่กระทบกระทั่ง ไม่ประทุษร้ายใครหมด
           ๓. อยู่ด้วยจิตที่แผ่เมตตา ทั้งกลางวัน กลางคืน
     ทั้งหมดนี้ ก็เป็นอภัยทาน


          อภัยทานเป็นการทำทานอันประเสริฐ
          อะวัชเช วัชชะมะติโน วัชเช จะ อะวัชชะทัสสิโน
          มิจฉาทิฏฐิสะมาทานา สัตตา คัจฉันติ ทุคคะติง


          เมื่อหมู่ชนพวกใดใจคิดผิด   วิปริตจากธรรมคำสั่งสอน
          ไม่รู้โทษรู้คุณบุญบาปจร     จึงสับสนสำส่อนเสียสัมมา
          เขาจึงถึงทุกข์มหันต์ในบั้นปลาย จะโชคร้ายแดดิ้นสิ้นยศฐา
          ต้องลำบากยากเข็ญเห็นทันตา  ในโลกหน้ามีนรกไว้หมกตน

                                    กวีโดย..พระราชกวี วัดราชาธิวาส


ที่มา http://piggyoui.multiply.com/journal/item/6
http://www.kroobannok.com/blog/16403
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ขมา
    [ขะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ เช่น ไปขมาศพ.น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด เช่น ขอขมา, ษมา ก็ใช้. (ป.; ส. กฺษมา).


สมา
    [สะมา] ก. ขมา.


ขอโทษ, ขอประทานโทษ
    ก. ขอให้ยกเว้นโทษ, ใช้เป็นคำสุภาพเมื่อรู้สึกว่าจะเป็นการล่วงเกินผู้อื่น.


อโหสิ
    [อะ-] ก. เลิกแล้วต่อกัน, ยกโทษให้.


อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
       ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เลิกให้ผล เหมือนพืชที่หมดยาง เพาะปลูกไม่ขึ้นอีก
       (ข้อ ๔ ในกรรม ๑๒)


อภัย, อภัย-
    [อะไพ, อะไพยะ-] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษให้ ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้.ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.


อภัยทาน
    [อะไพยะทาน] น. การให้ความไม่มีภัย เช่น ให้อภัยทาน.ว. ที่ให้ความไม่มีภัย เช่น เขตอภัยทาน. (ป.).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ขมาโทษ สมาโทษ : คำวัด โดยพระธรรมกิตติวงศ์

        การบวชนาค แห่นาค การบวชนาค และแห่นาค ประเพณีไทยแต่โบราณนานมาแล้วไม่เรียกพิธีอุปสมบทว่าบวชคนให้เป็นพระ แต่เรียกบวชนาค (ให้เป็นพระ) ในพระวินัยของพระพุทธเจ้าไม่มีเรื่องบวชนาค (ให้เป็นพระ) ฉะนั้นพิธีบวชนาค จึงไม่มีในชมพูทวีป (คืออินเดียโบราณ) แต่เป็นประเพณีพื้นเมืองของภูมิภาคอุษาคเนย์ โดยเฉพาะบริเวณผืนแผ่นดินที่เป็นพม่า (มอญ) เขมร ลาว และไทย
 
        การเตรียมตัวก่อนบวชผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลี หรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน
 
        นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ เครื่องอัฏฐบริขาร เครื่องอัฏฐบริขารของที่ต้องใช้ในการบวช ของที่ต้องเตรียมใช้ในพิธีคือ คำขอขมาเพื่อลาบวช คำขอขมาบิดา
   
        ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า นาค แปลว่า ผู้ประเสริฐ, ผู้ไม่มีทุกข์, ผู้ไม่ทำบาป
 
        นาค ในที่ทั่วไปหมายถึง ผู้ไปอยู่วัดเพื่อเตรียมตัวเพื่อจะบวช หรือเรียกผู้ปลงผมนุ่งห่มชุดนาคตอนจะเข้าโบสถ์ เรียกว่า เจ้านาค ก็มีที่นำคำว่า นาค มาใช้เรียกผู้จะบวชนั้น ต้นเค้ามาจากนิทานที่ว่ามีพญานาคปลอมตัวมาบวชเป็นพระตอนหลังถูกจับได้จึงต้องสละสมณเพศไป พญานาคมีความเสียดายและเสียใจที่เป็นพระไม่ได้เพราะเป็นสัตว์ดิรัจฉาน จึงขอฝากคำว่า นาค สำหรับเรียกคนที่จะบวช เพื่อเป็นเคล็ดว่านาคสามารถบวชพระได้
 
       ส่วนความหมายของคำว่า "ขมาโทษ" คือ การกล่าวคำขอโทษต่อผู้ที่ตนทำผิด
       หรือล่วงเกินด้วย กาย วาจา ใจ ใช้ว่า "สมาโทษ" ก็มี

 
       ขมาโทษ นิยมปฏิบัติในหลายกรณี เช่น นาคไปขมาโทษต่อญาติผู้ใหญ่ก่อนอุปสมบท
       พระสงฆ์ไป "ทำวัตร" พระผู้ใหญ่ในเทศกาลเข้าพรรษา
       "คำทำวัตร" ก็คือ "คำขอขมาโทษ" กล่าวคำขอขมาโทษต่อพระรัตนตรัย
       ก่อนปฏิบัติกรรมฐาน หรือในเวลาทำวัตรเย็น
เป็นต้น
 
    ขอขมาโทษ ในแต่ละกรณีจะมีคำว่าเป็นพิเศษต่างหาก แต่ใจความเป็นแบบเดียวกัน คือ
    ขออภัยหากล่วงเกินด้วย กาย วาจา ใจ หรือ ด้วยการทำผิด คิดร้ายต่อหน้าและลับหลัง ทั้งที่จำได้และจำไม่ได้

 
       มักจะกล่าวว่า
       "กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่าน
       ต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี
       ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้า
       นับแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนตราบเท่านิพพานเทอญ"


ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20120727/136217/ขมาโทษสมาโทษ:คำวัดโดยพระธรรมกิตติวงศ์.html#.UBNkHqDjrnU
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอโทษ ขออภัย ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ ? ให้ผลต่างกันอย่างไร
สมมุตว่า ผมเดินไป เตะเพื่อนผม แล้ว ผม ทำการขอโทษ  ขออภัย หรือ ขอขมา เวรจะหายหรือไม่ครับ

 st11 st12 st12 st12



    ans1 ans1 ans1
   
   ความส่วนตัวเห็นว่า ความหมายและจุดประสงค์เหมือนกัน แต่อาจใช้ต่างกรรมต่างวาระ
   การยกโทษให้หรือสำนึกผิด ไม่ได้หมายความว่า วิบากกรรมนั้นจะสิ้นสุด
   วิบากกรรมจะสิ้นสุดก็ต่อเมื่อเข้านิพพาน หรือกรรมนั้นกลายเป็นอโหสิกรรม
   เรื่องกรรมวิบากนี้ เป็นเรื่องอจินไตย พระพุทธเจ้าไม่ให้คิดมาก
   ตัวอย่างมีให้เห็น พระพุทธเจ้าให้อภัยพระเทวฑัต และก่อนตายก็ได้สำนึกผิดแล้ว
   แต่พระเทวฑัตก็ยังลง"อเวจีมหานรก"


   แต่กรณีของพระเจ้าอชาตศัตรูฆ่าบิดา ซึ่งเป็นอนันตริยกรรมเหมือนพระเทวฑัต
   จากหนังสือ ตายแล้วไม่สูญ...แล้วไปไหน ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ระบุว่า
    หลังจากการฆ่าพระราชบิดาตายแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูก็เข้าหาพระ ทำบุญเป็นการใหญ่ ต่อมาได้ขอขมาต่อพระรัตนตรัยและเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตั้งแต่ปฐมสังคายนาเป็นต้นมา ความจริงโทษอันนี้องค์สมเด็จพระจอมไตรตรัสว่า "จะต้องตกอเวจีมหานรก แต่อาศัยบุญใหญ่อันนี้จึงช่วยให้พระเจ้าอชาตศัตรูไม่ต้องลงอเวจีมหานรก มาตกอยู่แค่โลหะกุมภีซึ่งเป็นยมโลกียนรกขุมที่ ๑"

     ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากที่จะระบุว่า ในเมื่อขออภัยหรือขอโทษกัน
     พร้อมทั้งได้รับอภัยทานหรือการยกโทษให้กันแล้ว
     ผลกรรมหรือวิบากกรรม จะมีอยู่หรือไม่มี หรือไม่ อย่างไร.?


     อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการปรามาสพระรัตนตรัย แม้ผลกรรมจะมีอยู่
     แต่ถ้าบุคคลผู้กล่าวปรามาสนั้น ยังปรารถนา มรรค ผล นิพพาน อยู่
     ก็ให้กล่าวคำขอขมาต่อพระรัตนตรัยทุกครั้งเมื่อจะปฏิบัติธรรม
     จะช่วยให้บุคคลนั้นสามารถเข้าถึงมรรค ผล นิพพานที่ปรารถนาได้
     ขอคุยเท่านี้ครับ

     

      :25: :25: :25:
     
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 02, 2013, 12:02:06 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จะยากยังไง ผลกรรมก็ไม่ได้สูญหรอกครับ

 
 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า