ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม  (อ่าน 8268 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

saithong

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2010, 09:43:33 am »
0
ตอนที่ดิฉันไปร่วมงาน มุทิตา ก็ได้หนังสือว่าด้วยเรื่องสุญญตา และได้สนทนากับพระอาจารย์ ตอนพบท่าน

ท่านก็แนะนำให้ไปอ่านเรื่อง สุญญกถา ในพระไตรปิฏกเพิ่ม บอกเล่ม บอกหน้าไว้ด้วย ดิฉัน ได้นั่งอ่านมาตั้งแต่วันนั้นมาจนถึงวันนี้  ก็เลยนำมาโพสต์ให้ท่านทั้งหลายได้อ่านด้วย เนื้อหาต้องขอบคุณ คุณทินกร เพราะดิฉันก็ไปเอามาจาก 84000.org คะ
===============================
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค

ยุคนัทธวรรค สุญกถา
             [๖๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอแล พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ ฯ
             พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่
เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตน
และสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
รูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จักขุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่
เนื่องด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ
กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญ
จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
โลกสูญ ฯ
             [๖๓๔] สิ่งที่สูญสูญ สังขารสูญ วิปริณามธรรมสูญ อัคคบทสูญ
ลักษณะสูญ วิกขัมภนสูญ ตทังคสูญ สมุจเฉทสูญ ปฏิปัสสัทธิสูญ
นิสสรณะสูญ ภายในสูญ ภายนอกสูญ ทั้งภายในและภายนอกสูญ ส่วนที่
เสมอกันสูญ ส่วนที่ไม่เสมอกันสูญ ความแสวงหาสูญ ความกำหนดสูญ
ความได้เฉพาะสูญ การแทงตลอดสูญ ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็น
ต่างๆ สูญ ความอดทนสูญ ความอธิษฐานสูญ ความมั่นคงสูญ การครอบงำ-
*ความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคลสูญ มีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฯ
             [๖๓๕] สิ่งที่สูญสูญเป็นไฉน จักษุสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
หูสูญ ฯลฯ จมูกสูญ ลิ้นสูญ กายสูญ ใจสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา
นี้สิ่งที่สูญสูญ ฯ
             [๖๓๖] สังขารสูญเป็นไฉน สังขาร ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญา
ภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร สูญจากอปุญญาภิสังขารและ
อเนญชาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร
อเนญชาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร นี้สังขาร ๓ ฯ
             สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร
กายสังขาร สูญจากวจีสังขารและจิตตสังขาร วจีสังขาร สูญจากกายสังขารและ
จิตตสังขาร จิตตสังขาร สูญจากกายสังขารและวจีสังขาร นี้สังขาร ๓ ฯ
             สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ สังขารส่วนอดีต สังขารส่วนอนาคต
สังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอดีต สูญจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วน
ปัจจุบัน สังขารส่วนอนาคต สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน
สังขารส่วนปัจจุบัน สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต นี้สังขาร ๓
นี้สังขารสูญ ฯ
             [๖๓๗] วิปริณามธรรมสูญเป็นไฉน รูปเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ
(ปรกติเดิม) รูปหายไป แปรปรวนไปและสูญไป เวทนาเกิดแล้ว ฯลฯ สัญญา
เกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ ภพเกิดแล้ว
สูญไปจากสภาพ ภพหายไป แปรปรวนไปและสูญไป นี้วิปริณามธรรมสูญ
             [๖๓๘] อัคคบทสูญเป็นไฉน บทนี้ คือ ความสงบแห่ง-
*สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส
ความดับ นิพพาน เป็นบทเลิศ เป็นบทประเสริฐ เป็นบทวิเศษ
นี้อัคคบทสูญ ฯ
             [๖๓๙] ลักษณะสูญเป็นไฉน ลักษณะ ๒ คือ พาลลักษณะ ๑
ปัณฑิตลักษณะ ๑ พาลลักษณะสูญจากปัณฑิตลักษณะ ปัณฑิตลักษณะสูญจาก
พาลลักษณะ ลักษณะ ๓ คือ อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น)
วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อมไป) ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่
แปรเป็นอื่นไป) อุปปาทลักษณะ สูญจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ
วยลักษณะ สูญจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ ฐิตัญญถัตตลักษณะ
สูญจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งรูป สูญจาก
ลักษณะความเสื่อมไปและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความ
เสื่อมไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปร
เป็นอื่นไป ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความ
เกิดขึ้นและจากลักษณะความเสื่อมไป ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งเวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเสื่อมไปและ
จากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความเสื่อมไปแห่งชราและมรณะ
สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะ
เมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและ
จากลักษณะความเสื่อมไป นี้ลักษณะสูญ
             [๖๔๐] วิกขัมภนสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้วและ
สูญไป พยาบาทอันความไม่พยาบาทข่มแล้วและสูญไป ถีนมิทธะอันอาโลก
สัญญาข่มแล้วและสูญไป อุทธัจจะอันความไม่ฟุ้งซ่านข่มแล้ว และสูญไป
วิจิกิจฉาอันการกำหนดธรรมข่มแล้วและสูญไป อวิชชาอันญาณข่มแล้วและสูญไป
อรติอันความปราโมทย์ข่มแล้วและสูญไป นิวรณ์อันปฐมฌานข่มแล้วและสูญไป
ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคข่มแล้วและสูญไป นี้วิกขัมภนสูญ ฯ
             [๖๔๑] ตทังคะสูญเป็นไฉน กามฉันทะเป็นตทังคะสูญ (สูญเพราะ
องค์นั้นๆ) เพราะเนกขัมมะ ... นิวรณ์เป็นตทังคะสูญเพราะปฐมฌาน ฯลฯ
ความถือผิดเพราะกิเลสเครื่องประกอบไว้ เป็นตทังคะสูญเพราะวิวัฏนานุปัสสนา
นี้ตทังคะสูญ ฯ
             [๖๔๒] สมุจเฉทสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะตัดแล้วและ
สูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานตัดแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรค
ตัดแล้วและสูญไป นี้สมุจเฉทสูญ ฯ
             [๖๔๓] ปฏิปัสสัทธิสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะระงับแล้ว
และสูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานระงับแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวง
อันอรหัตมรรคระงับแล้วและสูญไป นี้ปฏิปัสสัทธิสูญ ฯ
             [๖๔๔] นิสสรณะสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะสลัดออกแล้ว
และสูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานสลัดออกแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวง
อันอรหัตมรรคสลัดออกแล้วและสูญไป นี้นิสสรณะสูญ ฯ
             [๖๔๕] ภายในสูญเป็นไฉน จักษุภายในสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่อง
ด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวน
เป็นธรรมดา หูภายใน ฯลฯ จมูกภายใน ลิ้นภายใน กายภายใน ใจภายใน
สูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง
และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายในสูญ ฯ
             [๖๔๖] ภายนอกสูญเป็นไฉน รูปภายนอกสูญ ฯลฯ ธรรมารมณ์
ภายนอกสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน
ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายนอกสูญ ฯ
             [๖๔๗] ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน จักษุภายในและรูป
ภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความ
ยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายในและเสียง
ภายนอก ฯลฯ จมูกภายในและกลิ่นภายนอก ลิ้นภายในและรสภายนอก
กายภายในและโผฏฐัพพะภายนอก ใจภายในและธรรมารมณ์ภายนอก ทั้งสอง
นั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง
และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ทั้งภายในและภายนอกสูญ ฯ
             [๖๔๘] ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนเสมอ
กันและสูญไป อายตนะภายนอก ๖ ... หมวดวิญญาณ ๖ ... หมวดผัสสะ ๖
... หมวดเวทนา ๖ ... หมวดสัญญา ๖ ... หมวดเจตนา ๖ เป็นส่วนเสมอกัน
และสูญไป นี้ส่วนเสมอกันสูญ ฯ
             [๖๔๙] ส่วนไม่เสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วน
ไม่เสมอกันกับอายตนะภายนอก ๖ และสูญไป อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วน
ไม่เสมอกันกับหมวดวิญญาณ ๖ และสูญไป หมวดวิญญาณ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอ
กันกับหมวดผัสสะ ๖ และสูญไป หมวดผัสสะ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับ
หมวดเวทนา ๖ และสูญไป หมวดเวทนา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวด
สัญญา ๖ และสูญไป หมวดสัญญา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดเจตนา ๖
และสูญไป นี้ส่วนไม่เสมอกันสูญ ฯ
             [๖๕๐] ความแสวงหาสูญเป็นไฉน ความแสวงหาเนกขัมมะสูญจาก
กามฉันทะ ความแสวงหาความไม่พยาบาทสูญจากพยาบาท ความแสวงหา
อาโลกสัญญาสูญจากถีนมิทธะ ความแสวงหาความไม่ฟุ้งซ่านสูญจากอุทธัจจะ
ความแสวงหาการกำหนดธรรมสูญจากวิจิกิจฉา ความแสวงหาญาณสูญจากอวิชชา
ความแสวงหาปฐมฌานสูญจากนิวรณ์ ฯลฯ ความแสวงหาอรหัตมรรคสูญจาก
กิเลสทั้งปวง นี้ความแสวงหาสูญ ฯ
             [๖๕๑] ความกำหนดสูญเป็นไฉน ความกำหนดเนกขัมมะสูญจากกาม
ฉันทะ ฯลฯ ความกำหนดอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความกำหนดสูญ ฯ
             [๖๕๒] ความได้เฉพาะสูญเป็นไฉน ความได้เนกขัมมะ สูญจากกาม
ฉันทะ ฯลฯ ความได้อรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความได้เฉพาะสูญ ฯ
             [๖๕๓] การแทงตลอดสูญเป็นไฉน การแทงตลอดเนกขัมมะ สูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ การแทงตลอดอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้การแทง
ตลอดสูญ ฯ
             [๖๕๔] ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญเป็นไฉน
กามฉันทะเป็นความต่าง เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว ความที่เนกขัมมะเป็น
อย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกามฉันทะ พยาบาทเป็นความต่าง ความไม่
พยาบาทเป็นอย่างเดียว ความที่ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่
สูญจากพยาบาท ถีนมิทธะเป็นความต่าง อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียว ความที่
อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากถีนมิทธะ อุทธัจจะเป็น
ความต่าง วิจิกิจฉาเป็นความต่าง อวิชชาเป็นความต่างอรติเป็นความต่าง นิวรณ์
เป็นความต่าง ปฐมฌานเป็นอย่างเดียว ความที่ปฐมฌานเป็นอย่างเดียวของบุคคล
ผู้คิดอยู่ สูญจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นความต่าง อรหัตมรรคเป็น
อย่างเดียว ความที่อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกิเลส
ทั้งปวง นี้ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญ ฯ
             [๖๕๕] ความอดทนสูญเป็นไฉน ความอดทนในเนกขัมมะสูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ ความอดทนในอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความ
อดทนสูญ ฯ
             [๖๕๖] ความอธิษฐานสูญเป็นไฉน ความอธิษฐานในเนกขัมมะ สูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ ความอธิษฐานในอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความ
อธิษฐานสูญ ฯ
             [๖๕๗] ความมั่นคงสูญเป็นไฉน ความมั่นคงแห่งเนกขัมมะ สูญจาก
กามฉันทะ ฯลฯ ความมั่นคงแห่งอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความมั่น
คงสูญ ฯ
             [๖๕๘] การครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์
อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวงเป็นไฉน สัมปชานบุคคลครอบงำความเป็นไปแห่ง
กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ครอบงำความเป็นไปแห่งพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท
ครอบงำความเป็นไปแห่งถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ครอบงำความเป็นไปแห่ง
อุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ครอบงำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาด้วยการกำหนด
ธรรม ครอบงำความเป็นไปแห่งอวิชชาด้วยญาณ ครอบงำความเป็นไปแห่งอรติ
ด้วยความปราโมทย์ ครอบงำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ครอบงำ
กิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ
             อีกประการหนึ่ง เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
*นิพพานธาตุ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุ
อื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นไป
แห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความ
เป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล
สูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ
จบสุญกถา
จบยุคนัทธวรรคที่ ๒
======================================================
แต่พอดิฉัน ไปอ่านเพิ่มเติมในฉบับ มหาจุฬา เล่มสีฟ้า ลงทุนไปซื้อเล่มหนึ่ง ที่จุฬาบรรณาคาร ที่วัดมหาธาตุ
================================
อ่านแล้ว เข้าใจคำว่า สังขารมาก ขึ้นเลยคะ เหมือนเปิดดวงตาที่มืดมิดทีเดียว


ข้อความ ที่ชื่นชอบ

มาติกา 25 ของ สุญญกถา
1.สุญญสุญญะ
2.สังขารสุญญะ
3.วิปริณามสุญญะ
4.อัคคะสุญญะ
..........
เป็นต้น
จะนำมาเล่าเป็น ตอน ๆๆ นะคะ






บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 03, 2010, 11:02:01 pm »
0
อนุโมทนา กับคุณโยมสายทอง

ถามแล้วก็ไปจัดการจริง ๆ เ้หมือนกัน อ่านแล้ว ปฏิบัติด้วยนะ


สาธุ สาธุ สาธุ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม ( ไม่ควรมองข้ามจริง ๆ )
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 21, 2010, 04:57:55 am »
0
ผมลองมาได้อ่าน เรื่องนี้แล้ว มีประโยชน์มาก ๆ ได้เข้าใจเรื่อง สุญญตา

หลงเข้าใจผิด มาเสียตั้งนาน

 :25:
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
เข้าใจ สุญญตา พระดำรัสของพระพุทธองค์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มิถุนายน 28, 2010, 07:40:58 am »
0
ความน่าสนใจ ในเรื่องสุญญตา เป็นเรื่องที่ผมสนใจมาก ๆ ในตอนนี้เพราะเนื่องด้วย อนัตตา



เปิดเรื่องจากการที่ พระอานนท์ เข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว ทูลถามว่า

อ้างถึง
ท่านพระอานนท์
ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระองค์ตรัส ว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุ
เพียงเท่าไร หนอแล พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ ฯ

พระพุทธดำรัส ตรัสตอบดังนี้
อ้างถึง
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่
เนื่อง ด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตน
และสิ่ง ที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
รูปสูญ จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จักขุ สัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ
อทุก ขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่
เนื่อง ด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ
กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญ
จากตนและ สิ่งที่เนื่องด้วยตน มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็น ปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า
โลก สูญ ฯ

ผมขอกระจาย ในที่นี้ที่ละอย่าง

ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่เนื่อง ด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ

ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตนและสิ่ง ที่เนื่องด้วยตน

ดูกรอานนท์ จักษุสูญ  จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูปสูญ จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
จักขุ สัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่อง ด้วยตน

หูสูญ  จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เสียงสูญ จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
โสตวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
โสต สัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะโสตะสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่อง ด้วยตน

จมูกสูญ กลิ่นสูญ
ฆานะวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
ฆานะ สัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะฆานะสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่อง ด้วยตน

ลิ้นสูญ รสสูญ
ชิวหาวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
ชิวหา สัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่อง ด้วยตน

กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ
สัมผัสวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
สัมพัส สัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะสัมผัสสัมผัสเป็นปัจจัย
ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่อง ด้วยตน

ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญจากตนและ สิ่งที่เนื่องด้วยตน
มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน
แม้สุข เวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัย
ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน

เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า

โลก สูญ





ดังนั้น คำตอบว่า โลกสูญ นั้น มาจากเหตุที่ว่า

จักษุสูญ รูปสูญ

หูสูญ เสียงสูญ

จมูกสูญ กลิ่นสูญ

ลิ้นสูญ รสสูญ

กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ

ใจสูญ ธรรมารมณ์สูญ





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 28, 2010, 07:55:40 am โดย lastman »
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2010, 05:51:46 am »
0
อ้างถึง
สิ่งที่สูญสูญ สังขารสูญ วิปริณามธรรมสูญ อัคคบทสูญ
ลักษณะสูญ วิกขัมภนสูญ ตทังคสูญ สมุจเฉทสูญ ปฏิปัสสัทธิสูญ
นิสสรณะสูญ ภายในสูญ ภายนอกสูญ ทั้งภายในและภายนอกสูญ ส่วนที่
เสมอกันสูญ ส่วนที่ไม่เสมอกันสูญ ความแสวงหาสูญ ความกำหนดสูญ
ความได้เฉพาะสูญ การแทงตลอดสูญ ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็น
ต่างๆ สูญ ความอดทนสูญ ความอธิษฐานสูญ ความมั่นคงสูญ การครอบงำ-
*ความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญ มีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง

สิ่งที่สูญสูญ

สังขารสูญ

วิปริณามธรรมสูญ

อัคคบทสูญ

ลักษณะสูญ

วิกขัมภนสูญ

ตทังคสูญ

สมุจเฉทสูญ

ปฏิปัสสัทธิสูญ

นิสสรณะสูญ

ภายในสูญ

ภายนอกสูญ

ทั้งภายในและภายนอกสูญ

ส่วนที่เสมอกันสูญ

ส่วนที่ไม่เสมอกันสูญ

ความแสวงหาสูญ

ความกำหนดสูญ

ความได้เฉพาะสูญ

การแทงตลอดสูญ

ความเป็นอย่างเดียวสูญ

ความเป็นต่างๆ สูญ

ความอดทนสูญ

ความอธิษฐานสูญ

ความมั่นคงสูญ

การครอบงำ-*ความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญ มีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สุญญตา บทที่ 1 - สิ่งที่สูญ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2010, 05:54:38 am »
0
สิ่งที่สูญสูญ เป็นไฉน

จักษุสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความ เที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

หูสูญ จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความ เที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

จมูกสูญ จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความ เที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

ลิ้นสูญ จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความ เที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

กายสูญ จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความ เที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

ใจสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตนจากความ เที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา

นี้  สิ่งที่สูญสูญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 29, 2010, 06:00:30 am โดย lastman »
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สุญญตา บทที่ 2 - สังขารสูญ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2010, 05:59:23 am »
0
สังขารสูญ เป็นไฉน

สังขาร ๓ คือ  ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร


ปุญญาภิสังขาร สูญจากอปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร


อปุญญาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร


อเนญชาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร

นี้  สังขาร ๓ ฯ


สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร

กายสังขาร สูญจากวจีสังขารและจิตตสังขาร

วจีสังขาร สูญจากกายสังขารและจิตตสังขาร

จิตตสังขาร สูญจากกายสังขารและวจีสังขาร

นี้สังขาร ๓ ฯ

สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ สังขารส่วนอดีต สังขารส่วนอนาคต สังขารส่วนปัจจุบัน

สังขารส่วนอดีต สูญจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วนปัจจุบัน

สังขารส่วนอนาคต สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน

สังขารส่วน ปัจจุบัน สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต

นี้สังขาร ๓


นี้สังขาร สูญ
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2010, 06:35:31 am »
0
อนุโมทนา ด้วย ทำให้อ่านง่ายขึ้น และ มองเห็นภาพได้ดีขึ้น

อย่างไรเสีย ทะยอย ทำให้หมดเลยนะ เป็นบุญกุศลมาก ๆ

 ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
สุญญตา บทที่ - 3
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2010, 10:42:33 pm »
0
วิปริณามธรรมสูญ เป็นไฉน
รูปเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ(ปรกติเดิม) รูปหายไป แปรปรวนไปและสูญไป

เวทนาเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ(ปรกติเดิม) เวทนาหายไป แปรปรวนไปและสูญไป

สัญญาเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ(ปรกติเดิม) สัญญาหายไป แปรปรวนไปและสูญไป

สังขารเกิดแล้ว สูญไปจากสภาพ(ปรกติเดิม) สังขารหายไป แปรปรวนไปและสูญไป

วิญญาณเกิดแล้ว สูญไปจากสภาพ(ปรกติเดิม) วิญญาณหายไป แปรปรวนไปและสูญไป

จักษุเกิดแล้ว สูญไปจากสภาพ(ปรกติเดิม) จักษุหายไป แปรปรวนไปและสูญไป

ภพเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ ภพหายไป แปรปรวนไปและสูญไป

 นี้  วิปริณามธรรมสูญ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 29, 2010, 11:20:00 pm โดย lastman »
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

lastman

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 158
  • สระบุรี มีอรอยพระพุทธบาทมากที่สุด.................
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มิถุนายน 29, 2010, 10:47:05 pm »
0
อัคคบทสูญ เป็นไฉน
บทนี้ คือ ความสงบแห่ง-*สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส
ความดับ นิพพาน เป็นบทเลิศ เป็นบทประเสริฐ เป็นบทวิเศษ


นี้  อัคคบทสูญ
บันทึกการเข้า
อนันตริยกรรม ๖ พึงงดเว้น
มีเพื่อนบอกว่าคุณจะเลวอย่างไรก็ได้ แต่อย่าทำผิดศีล ๕

ทิด...คนหนึ่งที่นับถืออาจารย์

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2011, 09:17:10 am »
0
น่าจะมาโพสต์ ให้จบนะครับ คุณ lastman ถ้าไม่ได้ ต้องขอให้ คุณ Natthaponson ช่วยโพสต์ให้จบได้หรือไม่ครับ

 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2011, 09:53:39 pm »
0
อย่างนั้นตามไปอ่านในพระสูตร ดีหรือไม่ครับ เพราะน่าจะหาคนโพสต์ ส่วนนี้ยากนะครับ

  :s_hi: :08:
บันทึกการเข้า

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: สุญญตา ธรรมที่ไม่ควรมองข้าม
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: ตุลาคม 19, 2011, 09:01:02 am »
0
อนุโมทนา ธรรมยามเช้า ครับ

บันทึกการเข้า