ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อนัตตา มีความหมายอย่างไร คะ  (อ่าน 6300 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

whanjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 106
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
อนัตตา มีความหมายอย่างไร คะ
« เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2010, 09:15:54 am »
0
ได้ฟังเรื่อง อนัตตลักขณสูตร แล้ว

แต่ก็ยังไม่เข้าใจคำว่า อนัตตา

อนัตตา ที่แท้เป็นเป้าหมายที่เราต้องเข้าใจหรือป่าวคะ

:25:
บันทึกการเข้า

นิรนาม_พุทโธ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 48
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อนัตตา มีความหมายอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 05:32:38 am »
0
อนัตตา มีคุณลักษณะ 4 อย่าง ผมฟังจาก รายการ RDN

เรื่อง อนัตตลักขณสูตร แต่จดจำมาได้ 3 นะครับ ที่เหลือใครรู้ก็ช่วยต่อให้ครบนะครับ

1. ไม่อยู่ในอำนาจบังคับ บัญชา

2.  มีัลักษณะตรงกันข้าม กับ อัตตา

3. เมื่อย่อยไปแล้ว ก็มีแต่ สุญญตา

4..........

 :25:
บันทึกการเข้า
เมื่อ......แสงธรรม เจิดจรัส สว่างจ้าในใจ เมื่อนั้น ก็จะเห็นพระพุทธองค์
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ตถาคต

chatchay

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 244
  • เกิดเป็นคนต้องมีดี บวชทั้งทีต้องสร้างดีให้กับตน
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อนัตตา มีความหมายอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 26, 2010, 10:22:03 pm »
0
ข้อที่ 4 น่าจะเป็น

   4. ประักอบด้วย อนิจจัง และ ทุกขัง


( ปล่อยไก่หรือป่าวนี่ ) :13:
บันทึกการเข้า
ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
โทษอันใดที่ข้าพเจ้าล่วงเกินแล้วต่อพระรัตนตรัย ด้วย กาย ด้วยวาจา ด้วยใจ
ขอพระรัตนตรัย โปรดจงงดซึ่งโทษล่วงเกินนั้นแก่ข้าพเจ้า ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ด้วยเทอญ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: อนัตตา มีความหมายอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2010, 09:52:09 pm »
0
พึงอ่านและทำความเข้าใจใน อนัตตลักขณสูตร เถิด

พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 20

 ทรงแสดงอนัตตลักขณสูตร 

        [๒๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็น 
อนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้ารูปนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว รูปนี้ไม่พึงเป็นเพื่ออาพาธ และบุคคล 
พึงได้ในรูปว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุ 
ทั้งหลาย ก็เพราะรูปเป็นอนัตตา ฉะนั้นรูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในรูปว่า 
รูปของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. 

        เวทนาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าเวทนานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว เวทนานี้ไม่พึง 
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในเวทนาว่า เวทนาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของ 
เราจงอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเวทนาเป็นอนัตตา ฉะนั้น เวทนาจึง 
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาว่า เวทนาของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด เวทนา 
ของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. 

        สัญญาเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัญญานี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว สัญญานี้ไม่พึง 
เป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา 
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะสัญญาเป็นอนัตตา ฉะนั้น สัญญาจึงเป็นไป 
เพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาว่า สัญญาของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา 
อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. 

        สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าสังขารเหล่านี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว 
สังขารเหล่านี้ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของ 
เราจงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะ 
สังขารทั้งหลายเป็นอนัตตา ฉะนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ 
ในสังขารทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเราอย่าได้ 
เป็นอย่างนั้นเลย. 

        วิญญาณเป็นอนัตตา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าวิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตาแล้ว วิญญาณนี้ 
ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลพึงได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด 
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะวิญญาณเป็นอนัตตา ฉะนั้น 
วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ และบุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณว่า วิญญาณของเราจงเป็นอย่างนี้เถิด 
วิญญาณของเราอย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย. 

                        ตรัสถามความเห็นของพระปัญจวัคคีย์ 
        [๒๑] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน 
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
        พระปัญจวัคคีย์ทูลว่า ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า.   

        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? 
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง 
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? 
        ป. ข้อนั้น ไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? 
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง 
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? 
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. สัญญาเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? 
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่งนั้น 
ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? 
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. สังขารทั้งหลายเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? 
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง 
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? 
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า.   
        ภ. วิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง? 
        ป. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? 
        ป. เป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าข้า. 
        ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็นสิ่ง 
นั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตนของเรา? 
        ป. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า. 

                        ตรัสให้พิจารณาโดยยถาภูตญาณทัสสนะ 

        [๒๒] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล รูปอย่างใด 
อย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ 
ประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่ารูป เธอทั้งหลายพึงเห็นรูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบ 
ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตนของเรา. 

        เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก 
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลาย 
พึงเห็นเวทนานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา 
นั่นไม่ใช่ตนของเรา. 

        สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก หยาบ 
หรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าเวทนา เธอทั้งหลายพึง 
เห็นสัญญานั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่น 
ไม่ใช่ตนของเรา. 

        สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก 
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าสังขาร เธอทั้งหลาย 
พึงเห็นสังขารนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา 
นั่นไม่ใช่ตนของเรา. 

        วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ภายในหรือภายนอก 
หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ไกลหรือใกล้ ทั้งหมดก็เป็นแต่สักว่าวิญญาณ เธอทั้งหลาย 
พึงเห็นวิญญาณนั้นด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา 
นั่นไม่ใช่ตนของเรา. 

        [๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ 
ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร 
ทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัด จิตก็พ้น 
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้นทราบชัดว่า  ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว 
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. 

        [๒๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว พระปัญจวัคคีย์มีใจยินดี เพลิดเพลิน 
ภาษิตของผู้มีพระภาค. ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของพระปัญจวัคคีย์ 
พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น. 

                                อนัตตลักขณสูตร จบ 
        ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์

บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

TCnapa

  • สมาชิก
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 82
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อนัตตา มีความหมายอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2010, 11:48:32 am »
0
ในเรื่องของ สุญญตา ต้องตามไปอ่านตรงนี้ด้วยคะ

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=403.0

 :25:
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นครูบ้านนอก แต่ก็ไม่ออกจากศีล และธรรม นะจ๊ะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อนัตตาไม่ได้แปลว่า “ไม่มีอะไรเลย”
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 18, 2010, 02:14:50 pm »
0
อนิจจัง
การที่มีแล้วไม่มี หรือเคยมีแล้วกลับไม่มี อันนี้เป็นอนิจจัง


ทุกขัง
และสิ่งที่มี แล้วมันมีอยู่ได้ไม่ตลอด เรียกว่า ทุกขัง
มันทนอยู่ไม่ได้ มันถูกบีบคั้นตลอดเวลา


อนัตตา
มันจะมีอยู่ มันจะตั้งอยู่ มันจะเกิดขึ้น มันจะดับไป
มันเป็นไปตาม “เหตุปัจจัย” ไม่ใช่ตามเราสั่ง
อันนี้เรียกว่า อนัตตา

อนัตตาไม่ได้แปลว่า “ไม่มีอะไรเลย”
อนัตตาหมายถึงว่า ถ้ามีเหตุแล้วก็มี  ถ้าไม่มีเหตุก็ไม่มี
เราสั่งไม่ได้ตามใจชอบ

เราอย่าไปแปล อนัตตาว่า “ว่างเปล่า” ไม่มีอะไรเลย
บางคน(บอกว่า)น้อมจิตไปอยู่กับอนัตตา อยู่กับความว่าง
อันนี้ไม่ไช่ พระพุทธเจ้าไม่ได้สอน


ที่มา   คำเทศนาของ พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชโช
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรนาม_พุทโธ

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 48
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อนัตตา มีความหมายอย่างไร คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 20, 2010, 03:20:10 am »
0
ผมนั่งฟังมาตอน 11.00 ถึง 12.30 น. ประมาณนี้ทุกวัน จะเป็นเสียงของพระอาจารย์กิตติศักดิ์ กิติสาโร

แห่งวัดป่าหนองหลุบ ท่านจะพูดสูตรนี้ประจำ ๆ

จาก พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๐ สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค - หน้าที่ 53 - 54

                                       สุญญสูตร

         [๑๐๒] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ฯลฯ ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ที่เรียกว่าโลกว่างเปล่าๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า

 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่างเปล่า จากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลก

ว่างเปล่า อะไรเล่าว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน จักษุแลว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน

รูปว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน จักษุวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆตน จักษุสัมผัส

ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะ

จักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็ว่างเปล่าจากตน หรือจากของๆ ตน ฯลฯ ใจว่างเปล่าจากตนหรือจาก

ของๆ ตน ธรรมารมณ์ว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน มโนวิญญาณว่างเปล่าจากตนหรือจาก

ของๆ ตน  มโนสัมผัสว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขม

สุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัยก็ว่างเปล่าจากตนหรือจาก ของๆ ตน ดูกรอานนท์

เพราะว่างเปล่าจากตนหรือจากของๆ ตน ฉะนั้นจึงเรียกว่า โลกว่างเปล่า ฯ

                                         จบสูตรที่ ๒

 :25: :25:
บันทึกการเข้า
เมื่อ......แสงธรรม เจิดจรัส สว่างจ้าในใจ เมื่อนั้น ก็จะเห็นพระพุทธองค์
ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ตถาคต