ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ผู้ปรารถนา "พุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ สาวกภูมิ" ต้องบำเพ็ญบารมีนานแค่ไหน อย่างไร.?  (อ่าน 23956 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


       ขอยกข้อธรรมใน "อรรถกถาขัคควิสาณสูตร" มาแสดงบางส่วน

     ครั้งนั้นแล พระอานนท์ผู้มีอายุไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ได้เกิดปริวิตกในใจอย่างนี้ว่า ความปรารถนาและอภินิหารย่อมปรากฏแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาปรากฏแก่พระสาวกทั้งหลาย แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนั้นไม่ ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามเรื่องนี้ตามลำดับ.

     ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสปุพพโยคาวจรสูตรแก่ท่านพระอานนท์ว่า
     ดูก่อนอานนท์ อานิสงส์ ๕ เหล่านี้ คือ
      - บุคคลย่อมบรรลุอรหัตผลในทิฏฐธรรมใน เพราะปุพพโยคาวจรก่อนทีเดียว
      - ถ้าไม่บรรลุอรหัตผลในทิฏฐธรรมก่อนทีเดียว ต่อมาก็บรรลุอรหัตผลในเวลาตาย ฯลฯ
      - ต่อมาเป็นเทวบุตรก็บรรลุอรหัตผล
      - ต่อมาก็เป็นขิปปาภิญญบุคคล ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
      - ต่อมาก็ย่อมเป็นพระปัจเจกสัมพุทธะในกาลภายหลัง.
      ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสอีกว่า
      ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร มีปุพพโยคาวจรธรรม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะ และสาวกทั้งหลาย พึงประสงค์ความปรารถนาและอภินิหาร.




ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ

      ท่านพระอานนท์นั้นทูลว่า
      ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานเท่าไร.?
      พระองค์ตรัสว่า
      ดูก่อนอานนท์ ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายควรนาน
           - โดยการกำหนดอย่างต่ำที่สุดถึง สี่อสงไขยและแสนกัป
           - โดยกำหนดปานกลาง แปดอสงไขยและแสนกัป.
           - โดยการกำหนดอย่างสูง สิบหกอสงไขยและแสนกัป.
      ประเภททั้ง ๓ นั้น พึงรู้ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้า ผู้ปัญญาธิกะ ผู้สัทธาธิกะ และ ผู้วิริยาธิกะ.
      จริงอยู่ พระพุทธเจ้าผู้ปัญญาธิกะ มีศรัทธาน้อย แต่มีปัญญามาก.
      ผู้สัทธาธิกะ มีปัญญาปานกลาง แต่มีศรัทธามาก.
      ผู้วิริยาธิกะ มีศรัทธาและปัญญาน้อย แต่มีความเพียรมาก.


       :25: :25: :25: :25:

      ก็ข้อที่ บุคคลให้ทานเช่นกับด้วยทานของพระเวสสันดรทุกๆ วันก็ดี สั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้น อันสมควรแก่ญาณนั้นก็ดี ยังไม่ถึงสี่อสงไขยแสนกัปแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้าในระหว่าง นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
      เพราะเหตุไร.?
      เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ เปรียบเหมือนข้อที่ข้าวกล้าจะออกรวงได้ โดยล่วงไป ๓ เดือน ๔ เดือน หรือ ๕ เดือน ไม่ถึงกาลนั้นๆ แล้ว บุคคลจะปรารถนาวันละแสนครั้งทุกๆ วันก็ดี รดน้ำวันละแสนครั้งทุกๆ วันก็ดี จะให้ออกรวงได้โดยภายใน ๑ ปักษ์ หรือ ๑ เดือน นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
      เพราะเหตุไร.?
      เพราะข้าวกล้ายังไม่ตั้งท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ ชื่อฉันใด.

      ข้อที่บุคคลให้ทานเช่นกับด้วยทานของพระเวสสันดรทุกๆ วันก็ดี สั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้น อันสมควรแก่ญาณนั้นก็ดี ยังไม่ถึงสี่อสงไขยแสนกัปแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้าในระหว่าง นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้
      เพราะเหตุไร.?
      เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบฉันนั้นเหมือนกัน.





     เพราะฉะนั้น พึงทำการบำเพ็ญบารมีตลอดกาลตามที่กล่าวนั่นเทียว เพื่อประโยชน์แก่ความแก่รอบแห่งญาณ. ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าโดยกาลแม้ประมาณเท่านี้ ก็พึงปรารถนาสมบัติ ๘ ประการ ในการสร้างอภินิหาร.

     จริงอยู่ อภินิหารนี้ย่อมสำเร็จได้ ก็เพราะการประชุมธรรม ๘ ประการ คือ
             ความเป็นมนุษย์ ๑
             ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑
             เหตุ ๑
             การเห็นพระศาสดา ๑
             การบรรพชา ๑
             ความถึงพร้อมแห่งคุณ ๑
             อธิการ ๑
             ความพอใจ ๑.
       คำว่า อภินิหาร นั่นเป็นชื่อแห่งมูลปณิธาน.

        st12 st12 st12 st12

       ในการประชุมธรรม ๘ ประการนั้น
       คำว่า ความเป็นมนุษย์ ได้แก่ มนุษยชาติ. ด้วยว่านอกจากมนุษยชาติแล้ว ปณิธานของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในชาติที่เหลือทั้งหลาย แม้ในชาติเทวดาก็ตาม ก็ย่อมสำเร็จไม่ได้ เพราะบุคคลที่ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น เมื่อปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ทำบุญกรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้นแล้ว พึงปรารถนาความเป็นมนุษย์เท่านั้น ผู้ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้นพึงตั้งปณิธาน ด้วยว่าอภินิหารย่อมสำเร็จอย่างนี้.

      คำว่า ความถึงพร้อมด้วยเพศ ได้แก่ ความเป็นบุรุษ.
      ก็ปณิธานของสตรี กะเทยและอุภโตพยัญชนก แม้ดำรงอยู่ในมนุษยชาติ ก็ย่อมสำเร็จไม่ได้ ด้วยว่าบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น เมื่อปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ทำบุญกรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้นแล้ว พึงปรารถนาความเป็นบุรุษเท่านั้น ผู้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษนั้น พึงตั้งปณิธาน อภินิหารย่อมสำเร็จได้ด้วยประการฉะนี้.


      คำว่า เหตุ ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่งอุปนิสัยแห่งพระอรหัต.
      ก็บุคคลใดพยายามอยู่ในอัตภาพนั้น สามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตได้ อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคลนั้น หาสำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ไม่ เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิต ฉะนั้น ด้วยว่าสุเมธบัณฑิตนั้น บรรพชาที่บาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ได้เป็นผู้สามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตโดยอัตภาพนั้นได้.

      คำว่า การเห็นพระศาสดา ได้แก่ การเห็นเฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
      ด้วยว่าอภินิหารย่อมสำเร็จด้วยประการนี้ หาสำเร็จโดยประการอื่นไม่ เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น เพราะสุเมธบัณฑิตนั้นเห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร เฉพาะพระพักตร์แล้ว ได้ตั้งความปรารถนา.


      คำว่า การบรรพชา ได้แก่ ความเป็นอนาคาริก.
      ก็ความเป็นอนาคาริกนั้นแล ย่อมควรในศาสนา หรือในนิกายของดาบสและปริพาชกผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที เหมือนควรแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น ด้วยว่าสุเมธบัณฑิตนั้นเป็นดาบส ชื่อสุเมธ จึงตั้งปณิธาน.


      คำว่า ความถึงพร้อมแห่งคุณ ได้แก่ การได้คุณธรรมมีฌาน เป็นต้น.
      ก็อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคลแม้บวชแล้ว ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณเท่านั้น ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น ด้วยว่าสุเมธบัณฑิตนั้นได้อภิญญา ๕ และได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงตั้งปณิธาน.

      คำว่า อธิการ ได้แก่ การกระทำที่ยิ่ง. อธิบายว่า การบริจาค.
      จริงอยู่ อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้ทำการบริจาควัตถุมีชีวิตเป็นต้น แล้วตั้งปณิธานไว้เท่านั้น หาสำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ไม่เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น.
      ก็สุเมธบัณฑิตนั้นทำการบริจาคชีวิตแล้วตั้งปณิธานอย่างนี้ว่า
      "ขอพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยศิษย์ทั้งหลาย จงทรงเหยียบข้าพเจ้าไป อย่าได้ทรงเหยียบเปือกตมเลย ขอการกระทำยิ่งนี้จักเป็นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า.


      คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำ ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้นของบุคคลใดมีกำลัง อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคลนั้น.
      ก็ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้น พึงทราบว่า ถ้าบางคนพึงกล่าวว่า ใครเล่าไหม้ในนรกตลอดสี่อสงไขยและแสนกัปแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าดังนี้ไซร้ บุคคลใดได้ฟังคำนั้นแล้วย่อมอุตสาหะเพื่อจะกล่าวว่าเรา ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำของบุคคลนั้นชื่อว่ามีกำลัง.

      อนึ่ง ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้น พึงทราบว่า ถ้าบางคนพึงกล่าวว่าใครเล่าเหยียบข้ามสกลจักรวาลอันเต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ใครเล่าเหยียบข้ามสกลจักรวาลอันเกลื่อนกล่นด้วยหอกและหลาวแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ใครเล่าลุยข้ามสกลจักรวาลอันเต็มด้วยน้ำปริ่มฝั่งแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ใครเล่าย่ำยีก้าวล่วงสกลจักรวาลซึ่งดารดาษด้วยกอไผ่ชั่วนิรันดร์แล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ไซร้ บุคคลใดได้ฟังคำนั้นแล้วย่อมอุตสาหะเพื่อจะกล่าวว่าเรา ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำของบุคคลนั้นชื่อว่ามีกำลัง.
     สุเมธบัณฑิตประกอบพร้อมด้วยฉันทะ คือความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำเห็นปานนี้ ได้ตั้งปณิธานแล้วแล.





     พระโพธิสัตว์ผู้มีอภินิหารสำเร็จแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่ถึงอภัพฐานะ ๑๘ ประการ.
     จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้น จำเดิมแต่นั้นย่อมไม่เป็นคนบอดแต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนหนวกแต่กำเนิด ๑
     ไม่เป็นคนบ้า ๑ ไม่เป็นคนใบ้ ๑ ไม่เป็นคนแคระ ๑ ไม่เกิดในชนชาติมิลักขะ ๑
     ไม่เกิดในท้องของนางทาสี ๑ ไม่เป็นคนนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑ ไม่เป็นคนกลับเพศ ๑
     ไม่ทำอนันตริยกรรมห้าอย่าง ๑ ไม่เป็นคนโรคเรื้อน ๑ อัตภาพสุดท้ายไม่เวียนมาในกำเนิดดิรัจฉาน ๑
     ไม่มีอัตภาพใหญ่กว่าช้าง ๑ ไม่เกิดในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌามตัณหิกเปรต ๑
     ไม่เกิดในจำพวกกาลกัญชิกาสูรทั้งหลาย ๑ ไม่เกิดในอเวจีนรก ๑ ไม่เกิดในโลกันตริกนรก ๑
     ไม่เป็นมารในสวรรค์ชั้นกามาวจร ไม่เกิดในอสัญญีภพในรูปาวจรภูมิ ไม่เกิดในภพสุทธาวาส ไม่เกิดในอันติมภพ ไม่ก้าวไปสู่จักรวาลอื่น ๑.


      :96: :96: :96: :96: :96:

     ก็พุทธภูมิ ๔ เหล่านี้ใด คือ อุตสาหะ ๑ อุมมัคคะ ๑ อวัฏฐานะ ๑ หิตจริยา ๑.
     พระโพธิสัตว์เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธภูมิเหล่านั้น.
     ในพุทธภูมิ ๔ ประการนั้น
          - ความเพียร เรียกว่า อุตสาหะ.
          - ปัญญา เรียกว่า อุมมัคคะ.
          - อธิษฐาน เรียกว่า อวัฏฐานะ.
          - เมตตาภาวนา เรียกว่า หิตจริยา.


       :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

      ก็อัธยาศัย ๖ ประการ แม้เหล่านี้ใด คือ
         - อัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ
         - อัธยาศัยเพื่อปวิเวก
         - อัธยาศัยเพื่อความไม่โลภ
         - อัธยาศัยเพื่อความไม่โกรธ
         - อัธยาศัยเพื่อความไม่หลง
         - อัธยาศัยเพื่อความสลัดออก
      ย่อมเป็นไปเพื่อบ่มโพธิญาณ เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลายประกอบพร้อมด้วยอัธยาศัยเหล่าใด.

      พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย
      ผู้มีอัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในกาม.
      ผู้มีอัธยาศัยเพื่อปวิเวก เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในการคลุกคลี.
      ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่โลภ เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในโลภะ.
      ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่โกรธ เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในโทสะ.
      ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่หลง เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโมหะ และ
      ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความสลัดออก เรียกว่ามีปกติเห็นโทษในภพทั้งปวง.
      สุเมธบัณฑิตผู้โพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัยเหล่านั้น.





      ผู้ปรารถนาปัจเจกภูมิ

      ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานเท่าไร.?
      ตอบว่า การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ควรนานถึงสองอสงไขยและแสนกัป ต่ำกว่านั้นไม่ควร พึงทราบเหตุในการปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านี้โดยนัยที่กล่าวแล้วในบทก่อนนั่นแล.

      ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า โดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้ พึงปรารถนาสมบัติ ๕ ประการในการสร้างอภินิหาร.
      จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นมีเหตุแห่งอภินิหารเหล่านี้ คือ
          ความเป็นมนุษย์ ๑
          ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑
          การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ๑
          อธิการ ๑
          ความพอใจ ๑.
          บทว่า การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ได้แก่ การเห็นพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวกองค์ใดองค์หนึ่ง.





ผู้ปรารถนาสาวกภูมิ
     
      ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระสาวกทั้งหลายควรนานเท่าไร.?
      ตอบว่า การปรารถนาเป็นพระอัครสาวกทั้งสอง ควรนานหนึ่งอสงไขยและแสนกัป
      การปรารถนาเป็นพระอสีติมหาสาวกควรนานแสนกัป
      ความปรารถนาเป็นพระมารดาพระบิดา อุปัฏฐากและพระโอรสของพระพุทธเจ้า ควรนานแสนกัปเหมือนกัน
      ต่ำกว่านั้นไม่ควร เหตุในการปรารถนานั้นมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นเทียว.
      ก็พระสาวกเหล่านั้นทั้งหมดมีอภินิหารสมบูรณ์ด้วยองค์ ๒ อย่าง คือ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑ เท่านั้น.





ความแตกต่างระหว่าง "พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า"

      พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลายตลอดกาลมีประเภทตามที่กล่าวแล้ว ด้วยการปรารถนานี้ ด้วยอภินิหารนี้นั้นแลอย่างนี้ เมื่อจะทรงอุบัติในโลก ก็ทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์หรือตระกูลพราหมณ์.
      พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมอุบัติในตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ หรือตระกูลคหบดี ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง. ส่วนพระอัครสาวกทั้งหลายย่อมเกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์เท่านั้น เหมือนพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

      พระพุทธเจ้าทั้งปวงย่อมไม่ทรงอุบัติในกัปกำลังเสื่อม ย่อมทรงอุบัติในกัปกำลังเจริญ
      พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่พบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมอุบัติในกาลอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น.


       :25: :25: :25: :25:

      พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เองด้วย ทรงสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ด้วย.
      พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เอง แต่ไม่อาจสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ ย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ย่อมไม่แทงตลอดธรรมรส

      เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นย่อมไม่สามารถเพื่อจะยกโลกุตรธรรมเป็นบัญญัติขึ้นแสดงได้. การบรรลุธรรมย่อมมีแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น เหมือนความฝันที่คนใบ้ฝัน และเหมือนกับรสแห่งกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมืองฉะนั้น.
      พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมบรรลุธรรมทั้งหมดอันต่างโดยอิทธิ สมาบัติและปฏิสัมปทา แต่เพราะมีคุณพิเศษจึงต่ำกว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แต่เหนือพระสาวกทั้งหลาย ย่อมยังบุคคลเหล่าอื่นบรรพชา ให้ศึกษาอภิสมาจาร ด้วยอุเทศนี้ว่า พึงทำความขัดเกลาจิต ไม่พึงท้อถอย หรือย่อมทำอุโบสถ ด้วยเหตุเพียงพูดว่า วันนี้ อุโบสถ และเมื่อจะทำอุโบสถย่อมประชุมกันทำที่รัตนมาลา โคนต้นไม้มัญชุสะ ในภูเขาคันธมาทน์แล.


      :96: :96: :96: :96: :96:

     พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสการปรารถนาและอภินิหาร อันบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แก่ท่านพระอานนท์แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นๆ แล ผู้ถึงพร้อมด้วยการปรารถนานี้และอภินิหารนี้ จึงตรัสขัคควิสาณสูตรนี้


อ้างอิง :-
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค ขัคควิสาณสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=296&p=1
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=6971&Z=7101
ขอบคุณภาพจาก
http://innovation.lotusnoss.com/
http://www.mahamodo.com/
http://www.dmc.tv/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2015, 01:26:41 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
"ปัจเจกโพธิสัตวภูมิ" ต้องบำเพ็ญ "คตปัจจาคตวัตร"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2015, 01:55:10 pm »
0
 

"ปัจเจกโพธิสัตวภูมิ" ต้องบำเพ็ญ "คตปัจจาคตวัตร"

     ขอยกข้อธรรมใน "อรรถกถาขัคควิสาณสูตร" มาแสดงบางส่วน
    ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้หยั่งลงสู่ปัจเจกโพธิสัตวภูมิ บำเพ็ญบารมีทั้งหลายตลอดสองอสงไขยแสนกัป บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป เป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร ได้ทำสมณธรรม.

      ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่บำเพ็ญวัตรนั่นแล้ว ชื่อว่า บรรลุปัจเจกโพธิ ไม่มี.
      ก็วัตรนั้นเป็นอย่างไร.
      การนำกรรมฐานไปและการนำกรรมฐานกลับมา ชื่อว่า คตปัจจาคตวัตร.

      ข้าพเจ้าพึงกล่าว คตปัจจาคตวัตรนั้น โดยประการแจ่มแจ้ง.
      ภิกษุในศาสนานี้
          - บางรูปนำไปแต่ไม่นำกลับ
          - บางรูปนำกลับแต่ไม่นำไป
          - บางรูปทั้งไม่นำไปทั้งไม่นำกลับ
          - บางรูปนำไปด้วยนำกลับด้วย.






      ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดตื่นแต่เช้าตรู่ ทำเจติยังคณวัตรและโพธิยังคณวัตร รดน้ำที่ต้นโพธิ์ ตักน้ำเต็มหม้อน้ำดื่ม ยืนที่โรงน้ำดื่ม ทำอาจาริยวัตร อุปัชฌายวัตร สมาทานประพฤติวัตรเล็ก ๘๒ วัตรใหญ่ ๑๔ ภิกษุนั้นทำบริกรรมร่างกายเข้าไปสู่เสนาสนะ ยังเวลาให้ล่วงไปในอาสนะสงัดจนถึงเวลาภิกขาจาร รู้เวลา นุ่ง คาดประคดเอว ห่มอุตราสงค์ พาดสังฆาฏิ สะพายบาตร ใส่ใจกรรมฐาน
      ถึงลานเจดีย์แล้วไหว้เจดีย์และต้นโพธิ์ ห่มในที่ใกล้บ้าน อุ้มบาตรเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ และภิกษุเข้าไปอย่างนี้แล้วได้ลาภ มีบุญอันอุบาสกอุบาสิกาสักการะเคารพแล้ว กลับในตระกูลอุปัฏฐาก หรือในศาลาพัก ถูกอุบาสกอุบาสิกาถามปัญหานั้นๆ อยู่ ทิ้งมนสิการนั้นด้วยการแก้ปัญหา และด้วยฟุ้งซ่านในการแสดงธรรมแก่อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นแล้วออกไป
      แม้กลับมาสู่วิหารแล้ว ถูกภิกษุทั้งหลายถามปัญหาแล้วกล่าวแก้ แสดงธรรมถึงความขวนขวายนั้นๆ ต้องเนิ่นช้ากับภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ตลอดปัจฉาภัตรบ้าง ปุริมยามบ้าง มัชฌิมยามบ้าง ถูกความประพฤติชั่วหยาบทางกายครอบงำ ย่อมนอนแม้ในปัจฉิมยาม ย่อมไม่มนสิการซึ่งกรรมฐานเลย.
ภิกษุนี้เรียกว่า นำไปแต่ไม่นำกลับ.

       :25: :25: :25: :25:

      ส่วนภิกษุใดมากด้วยพยาธิ ฉันอาหารแล้ว ย่อมไม่ย่อยไปโดยชอบ ในสมัยใกล้รุ่ง ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ไม่อาจเพื่อทำวัตรตามที่กล่าวแล้ว หรือเพื่อมนสิการกรรมฐาน ปรารถนายาคู หรือเภสัชเท่านั้น ถือบาตรและจีวรเข้าบ้านตามกาลนั้นเทียว ได้ยาคูหรือเภสัช หรือภัตรในบ้านนั้นแล้ว ล้างบาตรนั่งในอาสนะที่ปูแล้วมนสิการกรรมฐาน บรรลุคุณวิเศษหรือไม่บรรลุ กลับวัดอยู่ด้วยมนสิการนั้นเท่านั้น. ภิกษุนี้เรียกว่า นำกลับแต่ไม่นำไป.

       st12 st12 st12 st12

     ก็ภิกษุทั้งหลายผู้เช่นนี้ ดื่มยาคู ปรารภวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัตในพระพุทธศาสนา นับไม่ถ้วน. ภิกษุดื่มยาคูแล้วบรรลุพระอรหัตไม่มีในอาสนะใด อาสนะนั้นไม่มีในอาสนศาลา ในบ้านนั้นๆ ในเกาะลังกา.

     ส่วนภิกษุใดเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท ทอดทิ้งธุระ ทำลายวัตรทุกอย่าง มีจิตพัวพันด้วยธรรมดุจตะปูตรึงจิต ๕ อย่าง ไม่ตามประกอบกรรมฐานมนสิการ เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตแล้ว ถูกความเนิ่นช้าเพราะคฤหัสถ์ให้เนิ่นช้าแล้ว เป็นผู้เปล่ากลับออกมา.
ภิกษุนี้เรียกว่า ทั้งไม่นำไป ทั้งไม่นำกลับ.





     ส่วนภิกษุใดลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้ว บำเพ็ญวัตรทุกอย่างโดยนัยก่อนนั่นเทียว นั่งขัดสมาธิ มนสิการกรรมฐานอยู่จนถึงเวลาภิกขาจาร.

     ก็กุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ประโยชน์บวชในศาสนาแล้ว อยู่รวมกันตลอด ๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้าง ๑๐๐ ปีบ้าง กระทำกติกวัตรอยู่ว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่มีหนี้สิน ไม่มีภัย ไม่ได้บวชเพื่อประโยชน์แก่ชีวิต บวชเพื่อประสงค์จะพ้นจากทุกข์ เพราะฉะนั้น กิเลสเกิดแล้วในการไป ก็จงข่มในการไปนั้นเทียว กิเลสเกิดแล้วในการยืนในการนั่ง ก็จงข่มในการยืนการนั่งนั่นแล กิเลสเกิดแล้วในการนอน ก็จงข่มในการนอนนั่นแหละ.

     กุลบุตรเหล่านั้นกระทำกติกวัตรอย่างนี้แล้วไปภิกขาจาร ในระหว่างที่ห่างกันกึ่งอุสุภะ กึ่งคาวุต และคาวุตหนึ่ง มีพลานหิน ก็มนสิการกรรมฐานตามสัญญานั้นแลไปอยู่ ถ้าในการไปกิเลสเกิดขึ้นแก่ใคร ผู้นั้นย่อมข่มกิเลสนั้นในการไปนั้น เมื่อไม่อาจอย่างนั้นก็ยืนอยู่.

     ลำดับนั้น ผู้แม้มาภายหลังเขาก็ยืนอยู่ เธอก็เตือนตนว่า ภิกษุนี้รู้วิตกอันเกิดขึ้นแก่เจ้าแล้ว เจ้าทำกรรมอันไม่สมควรดังนี้ จึงเจริญวิปัสสนาหยั่งลงสู่อริยภูมิในที่นั้นแหละ เมื่อไม่อาจอย่างนั้นก็นั่ง. ลำดับนั้น แม้ผู้มาภายหลังเขาก็นั่งลง มีนัยนั้นเหมือนกัน. แม้เมื่อไม่อาจเพื่อหยั่งลงสู่อริยภูมิ ก็ข่มกิเลสนั้น มนสิการกรรมฐานไปอยู่ย่อมไม่ยกเท้าขึ้นด้วยจิตปราศจากกรรมฐาน ถ้ายกขึ้นก็ต้องกลับมาสู่ประเทศก่อนนั่นแล เหมือนพระมหาปุสสเทวเถระผู้อยู่ที่อาลินทกะในเกาะลังกา ฉะนั้น.

     ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่อย่างนี้ถึง ๑๙ ปี. ข่าวว่า แม้พวกมนุษย์เมื่อหว่านและนวดข้าวทำการงานอยู่ในระหว่างทาง เห็นพระเถระไปอย่างนั้น ก็พูดกันว่า พระเถระนี้กลับไปบ่อยๆ คงจะหลงทางหรือลืมอะไรหนอแล. ท่านไม่สนใจเรื่องนั้น กระทำสมณธรรมด้วยจิตที่ประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น ก็บรรลุพระอรหัตในภายใน ๒๐ พรรษา
     ก็ในวันที่บรรลุพระอรหัต เทวดาผู้สิงสถิตที่สุดท้ายที่จงกรมของพระเถระนั้น ยืนส่องประทีปด้วยนิ้วมือทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะจอมเทวินท์ และสหัมบดีพรหมก็ได้ไปสู่ที่บำรุง และพระติสสเถระผู้อยู่ในป่าเห็นแสงสว่างนั้น จึงถามพระเถระนั้นในวันที่สองว่า ในส่วนราตรีได้มีแสงสว่างในสำนักของท่านผู้มีอายุ นั้นแสงสว่างอะไร. เถระทำไม่สนใจ กล่าวคำมีอาทิว่า ธรรมดา แสงสว่างอาจเป็นแสงประทีปก็ได้ แสงแก้วมณีก็ได้. พระติสสเถระนั้นเรียนว่า ท่านปกปิดหรือ. พระมหาปุสสเทวเถระปฏิญาณว่า ไม่ปกปิดครับ แล้วได้บอก.

      และเหมือนพระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาลวัลลิมณฑป. ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร คิดว่าเราจะบูชามหาปธานของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นครั้งแรกก่อนแล้ว อธิษฐานการเดินจงกรมตลอด ๗ ปี บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรตลอด ๑๖ ปีอีก ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อยกเท้าขึ้นด้วยจิตประกอบด้วยกรรมฐานอย่างนี้แล
      เมื่อยกเท้าขึ้นด้วยจิตปราศจากกรรมฐาน ก็จะกลับไปที่ใกล้บ้าน ยืนอยู่ในประเทศที่พึงรังเกียจว่า แม่โคหรือหนอ บรรพชิตหรือหนอ ห่มสังฆาฏิอุ้มบาตร ถึงประตูบ้านแล้ว ตักน้ำจากหนองน้ำ อมน้ำเข้าบ้านด้วยตั้งใจว่า ขอความฟุ้งซ่านในกรรมฐาน อย่าได้มีแก่เรา แม้ด้วยเหตุสักว่าพูดกะมนุษย์ทั้งหลายผู้เข้ามาเพื่อถวายภิกษา หรือไหว้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงมีอายุยืน ดังนี้.
      ก็ถ้ามนุษย์ทั้งหลายถามถึงวันว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ วันนี้เป็นวัน ๗ ค่ำหรือวัน ๘ ค่ำ ท่านก็จะบ้วนน้ำแล้วบอก ถ้าไม่มีผู้ถามถึงวัน ในเวลาออกไปก็จะบ้วนที่ประตูบ้านไป.


     เหมือนภิกษุ ๕๐ รูปผู้เข้าจำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร ในเกาะลังกานั้นแหละ. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้ทำกติกวัตรในวันวัสสูปนายิกาอุโบสถว่า พวกเรายังไม่บรรลุพระอรหัตแล้วจักไม่พูดกัน เมื่อเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ก็จะอมน้ำที่ประตูบ้านแล้วเข้าไป เมื่อเขาถามถึงวัน ก็จะกลืนน้ำบอก เมื่อไม่มีใครถามถึงวัน ก็จะบ้วนที่ประตูบ้านแล้วมาวัด มนุษย์ทั้งหลายในที่เหล่านั้น เห็นสถานที่บ้วนน้ำ ก็รู้ว่าวันนี้พระมาหนึ่งรูป วันนี้พระมาสองรูปดังนี้ และคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่พูดกับพวกเราเท่านั้น หรือว่าไม่พูดแม้กะกันและกัน ผิว่า ไม่พูดแม้กะกันและกันไซร้ จักเป็นผู้ทะเลาะกันแน่ เอาเถิด พวกเราจักให้ภิกษุเหล่านั้นขอขมากะกันและกันดังนี้ ทั้งหมดพากันไปวัด.

    ครั้นภิกษุ ๕๐ รูปจำพรรษาในวัดนั้นแล้ว ภิกษุ ๒ รูปไม่อยู่ร่วมในโอกาสเดียวกัน แต่นั้น บรรดามนุษย์เหล่านั้น บุรุษผู้มีปัญญาจึงเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสสำหรับผู้ทะเลาะกันย่อมไม่เป็นเช่นนี้ ลานเจดีย์ ลานโพธิ์ก็สะอาดดี ไม้กวาดทั้งหลายก็เก็บไว้ดี น้ำดื่มน้ำใช้ก็ตั้งไว้ดี ดังนี้ มนุษย์เหล่านั้นจึงพากันกลับจากวัดนั้น. ภิกษุเหล่านั้นปรารภวิปัสสนาในภายในพรรษานั้นแหละก็บรรลุพระอรหัต ปวารณาวิสุทธิปวารณาในวันมหาปวารณา.

     ภิกษุพึงเป็นดุจพระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาลวัลลิมณฑป และดุจพวกภิกษุผู้จำพรรษาในกลัมพติตถวิหารอย่างนี้ ย่างเท้าด้วยจิตอันประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น ไปถึงที่ใกล้บ้าน อมน้ำ สังเกตถนน ดำเนินไปสู่ถนนที่ไม่มีพวกทะเลาะเบาะแว้งกัน มีพวกนักเลงสุราเป็นต้น หรือไม่มีพวกสัตว์มีช้างและม้าที่ดุร้ายเป็นต้น และเมื่อไปบิณฑบาตที่ถนนนั้น ก็ไม่ไปโดยรีบด่วนเหมือนคนรีบร้อน ชื่อว่าปิณฑปาติกธุดงค์ โดยรีบด่วนหามีไม่ แต่ย่อมเดินไปไม่หวั่นไหว เหมือนกับเกวียนที่บรรทุกน้ำเต็ม ถึงสถานที่ซึ่งขรุขระฉะนั้น.
     ภิกษุนั้นเข้าไปตามลำดับเรือนแล้ว รอเวลาที่สมควรแก่เรือนนั้น เพื่อสังเกตุผู้ประสงค์จะถวาย หรือไม่ประสงค์จะถวาย รับภิกษาแล้วนั่งในโอกาสอันสมควร มนสิการกรรมฐาน เข้าไปตั้งปฏิกูลสัญญาในอาหาร พิจารณาด้วยอำนาจแห่งอุปมาด้วยน้ำมันหยอดเพลา ผ้าพันแผลและเนื้อบุตร ฉันอาหารอันประกอบด้วยองค์แปด ไม่ฉันอาหารเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา ฯลฯ และฉันแล้ว ก็ทำกิจด้วยน้ำ บรรเทาความกระวนกระวายด้วยภัตสักครู่หนึ่ง มนสิการกรรมฐานในภายหลังภัตตลอดปฐมยามและมัชฌิมยามเหมือนในเวลาก่อนภัต. ภิกษุนี้เรียกว่า นำไปและนำกลับ.

     การนำกรรมฐานไปและการนำกรรมฐานกลับนั่น เรียกว่า คตปัจจาคตวัตร ด้วยประการฉะนี้.





     ภิกษุเมื่อบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอย่างนี้
       - ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย ก็จะบรรลุพระอรหัตในปฐมวัยนั้นแล
       - ถ้าไม่บรรลุในปฐมวัยไซร้ ก็จะบรรลุในมัชฌิมวัย.
       - ถ้าไม่บรรลุในมัชฌิมวัยไซร้ ก็จะบรรลุในมรณสมัย.
       - ถ้าไม่บรรลุในมรณะสมัยไซร้ ก็จะเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ
       - ถ้าไม่เป็นเทพบุตรบรรลุไซร้ ก็จะเป็นพระปัจเจกสัมพุทธะแล้วจะปรินิพพาน
       - ถ้าไม่เป็นพระปัจเจกสัมพุทธะแล้วจะปรินิพพานไซร้ ก็จะเป็นผู้มีขิปปาภิญญา เหมือนพระพาหิยเถระบ้าง หรือเป็นผู้มีปัญญามาก เหมือนพระสารีบุตรเถระบ้าง ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.


อ้างอิง :-
อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต อุรควรรค ขัคควิสาณสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=296&p=1
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=6971&Z=7101
ขอบคุณภาพจาก
http://saisampan.net/
http://www.dmc.tv/
http://rungthienvienkhong.files.wordpress.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2015, 01:57:40 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

sinjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 144
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

naka-54

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขอเรียนถาม นะคะ
  เว็บนี้เป็น พันธมิตร กับ วัดธรรมกาย ใช่หรือไม่ จ๊ะ
 ดีใจมาก เลย คะ เห็นเนื้อหา และรูปภาพ  ของวัดธรรมกาย มาอยู่ในเว็บนี้มากเลย คะ
 นำมาเสริม กำลังเว็บนี้ให้เข้มแข็ง ขึ้นมาก ๆ นะคะ โดยเฉพาะ คุณน้า raponsan น่าจะเป็นศิษย์วัดธรรมกาย ด้วยใช่หรือไม ่คะ

 และช่วยกันรักษา วิชา ธรรมกาย ไปด้วยกันคะ ขอบคุณมากคะ


  :58: thk56 thk56 like1
บันทึกการเข้า

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้อ ที่แท้ ท่านธัมมะวังโส เป็นศิษย์วัดธรรมกาย นี่เอง เห็นมีสอนเรื่อง 18 กายเหมือนวัดธรรมกาย เลย มิน่าละ อย่างนี้ก็ต้องได้รับการสนับสนุนจากวัดธรรมกาย ด้วยใช่หรือไม่ ครับ

  :25: :25: :25: st12 st12 st12
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นไหม บอกแล้ว ไม่เชื่อ พวก สัมมาอรหัง เป็นพวกวัดธรรมกาย อยู่แล้ว


  :49:
บันทึกการเข้า

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ก่อนอื่น อนุโมทนา กุศล กับเนื้อหา ที่ จขกท. โพสต์ก่อนนะครับ เป็นการชี้แจงเรื่อง ของพระโพธิสัตว์ ที่ มีอยู่ 3 พวก คือ พวก สัทธาธิกะ วิริยธิกะ และ ปัญญาธิกะ

  ส่วนเนื้อหา วิชา 18 กาย ที่ธัมมะวังโส ถ่ายทอด รู้สึกว่า จะไม่เหมือนกับของวัดปากน้ำนะครับ ผมว่า มีกระทู้ในห้อง ส่งจิตออกนอกด้วยนะครับ ของวัดปากน้ำ ลองไปเทียบกับวิชาศิษย์สายตรง ดูสิครับ ไม่เหมือนกันนะครับ


  ส่วนที่นี่เป็น พันธมิตร กับ วัดธรรมกาย หรือ ไม่ ก็รอ ท่านธัมมะวังโส มาชี้แจงเอง เถอะครับ

  ถ้าเป็นจริง ผมก็ไม่ร่วมด้วยกับพวกธรรมกาย อยู่แล้วครับ

 :49: thk56 :25:
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12

 ใช่หรือ ? ที่พระอาจารย์สนธยา เป็นศิษย์สายวัดพระธรรมกาย

  :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 st11 st12 st12 กับเนื้อหา ที่เป็นเรื่องราว ชี้แจงเรื่องของการบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อการเป็นพระพุทธเจ้า ถึงในกระทู้จะมีภาพประกอบ มาจากเว็บ DMC บ้าง ก็เป็นเพิ่มสิสันให้กับกระทู้น่าอ่านยิ่งขึ้น ส่วนการนำภาพเขามาใช้ ปกติเราก็มีระเบียบให้วางลิงก์ เจ้าของภาพกลับไปด้วยเป็นการให้เกรียติ แก่ผู้จัดทำ

ส่วนเรื่องการแก้ต่าง ว่าฉันเป็นศิษย์วัดพระธรรมกายหรือไม่ ? นั้นถ้าตอบตอนนี้เลยยังไม่ควร
จะเหมือนว่าฉันกินปูนร้อนท้อง ใช่มั้ย ?
นั้นรอคอยคนรู้จริง ที่รู้จักฉันมาตอบก่อน ดีกว่านะ

 ;)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2015, 06:48:42 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
st11 st12 st12 กับเนื้อหา ที่เป็นเรื่องราว ชี้แจงเรื่องของการบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์ เพื่อการเป็นพระพุทธเจ้า ถึงในกระทู้จะมีภาพประกอบ มาจากเว็บ DMC บ้าง ก็เป็นเพิ่มสิสันให้กับกระทู้น่าอ่านยิ่งขึ้น ส่วนการนำภาพเขามาใช้ ปกติเราก็มีระเบียบให้วางลิงก์ เจ้าของภาพกลับไปด้วยเป็นการให้เกรียติ แก่ผู้จัดทำ


ส่วนเรื่องการแก้ต่าง ว่าฉันเป็นศิษย์วัดพระธรรมกายหรือไม่ ? นั้นถ้าตอบตอนนี้เลยยังไม่ควร
จะเหมือนว่าฉันกินปูนร้อนท้อง ใช่มั้ย ?
นั้นรอคอยคนรู้จริง ที่รู้จักฉันมาตอบก่อน ดีกว่านะ

 ;)

สรุปว่าต้องรอ แต่ส่วนตัวคิดว่า พระอาจารย์สนธยา ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย นะ

 :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2015, 06:49:37 pm โดย saieaw »
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ans1 ans1 ans1 ans1

ผมไม่ได้เป็นศิษย์ธรรมกายขอรับ ผมเป็นศิษย์กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
พระอาจารย์ของผมคือ อาจารย์สนธยา ธัมมะวังโส
การนำภาพของเว็บธรรมกายมาวาง ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เป็นการนำมาประกอบเนื้อหาเท่านั้นเอง

การนำเสนอเนื้อหาของธรรมกาย(๑๘ กาย) ก็ไม่ได้หมายความว่า ผมเรียนวิชาธรรมกาย ของวัดปากน้ำหรือวัดธรรมกาย ห้องส่งจิตออกนอกนี้มีจุดประสงค์หลักๆ ก็คือ คุยเป็นเพื่อน อยากคุยอยากถามอะไร เราก็หาคำตอบมาให้ ไม่ขัดใจ (ไม่จำเป็นต้องกรรมฐานมัชฌิมาฯ ก็ได้) เราคุยได้ทุกแนว

 :s_good: :s_good: :s_good: :s_good:

ประเด็นสำคัญที่อยากให้ทราบ ก็คือ หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ผู้ให้กำเนิดวิชาธรรมกาย เป็นศิษย์ของพระสังวรานุวงษ์ (เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม และแน่นอนที่สุด หลวงพ่อสดได้เรียนกรรมฐานมัชฌิมาฯ มาจากวัดราชสิทธาราม
     ขอให้ไปอ่านกระทู้นี้ครับ
    ‘หลวงพ่อสด’ วัดปากน้ำภาษีเจริญ (ศิษย์..พระสังวรานุวงษ์(เอี่ยม) วัดราชสิทธาราม)
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=17833.0

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไปในหมู่ศิษย์กรรมฐานมัชฌิมาฯ ว่า หลวงพ่อสดนำกรรมฐานมัชฌิมาฯไปดัดแปลงเป็นวิชาขอตน จะเห็นได้จากคำบริกรรมว่า "สัมมาอรหัง" ซึ่งกรรมฐานมัชฌิมาฯก็ใช้คำนี้ แม้แต่คำว่า "พุทโธ" ในสายของพระป่า หลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นก็นำไปจากกรรมฐานมัชฌิมาฯ เช่นกัน เพราะหลวงปู่เสาร์และหลวงปู่มั่นก็เป็นศิษย์กรรมฐานมัชฌิมาฯ เหมือนกัน

สรุปก็คือ คำภาวนาว่า "สัมมาอรหัง และพุทโธ" มีต้นกำเนิดมาจากกรรมฐานมัชฌิมาฯ กรรมฐานนี้มีประวัติการสืบทอดมายาวนาน มีบันทึกมาตั้งแต่สมัยอยุธยา


 :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144:

อนึ่ง เว็บนี้พยายามที่จะเป็นมิตรกับทุกเว็บ ไม่คิดจะเป็นศัตรูกับเว็บใด เว็บที่เป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด มีเว็บเดียวคือเว็บสมเด็จสุก อีกอย่างเว็บธรรมกายและเว็บในเครือมีข้อดีหลายอย่าง ที่ช่วยในการเผยแผ่พุทธศาสนา เช่น มีเนื้อหาข้อธรรมที่น่าสนใจ มีแบบเรียนที่อ่านง่าย มีภาพประกอบที่สวยงาม อีกทั้งวัดธรรมกายยังส่งเสริมการบรรพชาอุปสมบท รวมทั้งการปฏิบัติธรรมของเหล่าพุทธบริษัท ดังนั้น บางโอกาส เราจึงนำเนื้อหาข้อธรรมที่ดี ภาพที่สวยงาม จากเว็บในเครือธรรมกาย มาตอบคำถามและใช้ประกอบข้อธรรมต่างๆ ตามแต่ความเหมาะสม

ส่วนท่านใดจะยินดีหรือไม่ยินดี ในข้อปฏิบัติอื่นๆของวัดธรรมกาย ก็เป็นเรื่องส่วนตัว ผมเคารพและให้เกียรติในความคิดเห็นใดๆ ของทุกท่าน

แจ้งเพื่อทราบตามนี้ครับ ขอบพระคุณที่ติดตามและให้ความใส่ใจ.....


 :welcome: :49: thk56 :25:
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 22, 2015, 10:23:07 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คุณ nirvanar55 กับคุณ modtanoy ตัวเกรียนประจำบอร์ด จะไม่ก่อกวนซักครั้งจะได้มั้ย บาปปปนะรู้ตัวมั้ย
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 thk56 like1

ต้องอย่างนี้สิครับ แน่นอนคำตอบ ของ คุณ raponsan เยี่ยม
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
     ตอบได้กระจ่าง ครับ สาธุ

       ในเมืองสยามประเทศนี้ไม่มีสายไหนหรอกครับ

           มีสายเดียว คือสายวัดพลับ ทั้งประเทศ  มาเรียนที่นี่ทั้งหมด

           ช่วงรัชกาลที่1-3 นั้น  ใครจะสอนกรรมฐานต้องมีใบตราตั้งจากพระเจ้าแผ่นดิน

           ใครฝ่าฝืนจับสึก และรับโทษ  เหนือหัวสังคายนาแล้วกลัวพระกรรมฐานสายมรรคผลจะสูญ

         จึงมีกฏ  กรรมฐานสายนี้สืบมาจากพระราหุลครับ  สืบทอดมาโดยพระโสนะ พระอุตตระ

                 มาเปลียนแปลงให้มีสายธรรมยุต  ตอนรัชกาลที่4ครับ

             พระอาจารย์สายพระป่ามาเรียนที่นี่ทั้งหมด ครับ ศิษย์วัดพลับทั้งนั้นครับ

                           ขออนุโมทนาสาธุ
                       
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2015, 01:36:45 am โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st12      คุณ RAPONSAN


เรามีกรรมเป็นของตน  เป็นผู้รับผลของกรรม  มีกรรมเป็นกำเนิด

     มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์  มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย  เราทำกรรมใดไว้จะเป็น

          กรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม  ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

ดนัย

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 179
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
                                                                       
                   
                                                                                                                                                             

ธรรมะของ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
เป็นธรรมที่ท่านพอใจ



ที่เผยแผ่โดย
พระอรหันต์ราหุลเถระเจ้า



สืบทอดในยุคสมัยรัตนโกสินทร์โดย
สมเด็จพระสังฆราช
(สุก ญาณสังวร)



ผมเองก็เป็นศิษย์ของ ท่านพระอาจารย์ สนธยา ธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2015, 01:34:12 am โดย danai_siriangkawoot »
บันทึกการเข้า
"พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน"

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

         ขออนุโมทนาสาธุ ครับ 
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
พุทธภูมิ ปัจเจกภูมิ สาวกภูมิ
อย่างไหนที่คุณเป็น

                 
   
ดวงจิตจะมีขั้นตอนการเวียนว่ายตายเกิดทั้ง ๕ ระยะ ซึ่งกว่าจะได้บรรลุธรรม พ้นความทุกข์นั้น จะต้องผ่านการเวียนว่ายตายเกิดมายาวนานแตกต่างกัน หากหลงทางก่อกรรมทำเข็ญมาก และไม่มีสติรู้สำนึก ก็จะต้องเวียนว่ายตายเกิดชดใช้กรรมต่อไปอีกยาวนาน กว่าที่กรรมจะเบาบางจนเกิดดวงตาเห็นธรรมได้

ดวงจิตต่างๆ ทั้งสามประเภท คือ พุทธภูมิ, ปัจเจกภูมิ และสาวกภูมิ นี้ ต่างก็ต้องผ่านกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดนี้เช่นกัน โดยช่วงแรกดวงจิตจะยังไม่มีความแตกต่างกัน ดวงจิตจะมาจากแหล่งเดียวกันก่อน มีความบริสุทธิ์ประภัสสรเหมือนกันมาก่อน เมื่อได้รับการเพาะบ่มพลังจนพร้อมที่จะเวียนว่ายตายเกิดแล้ว จึงเริ่มเข้าสู่สังสารวัฏ หรือกระบวนการเวียนว่ายตายเกิด จากนั้น ก็จะเข้าสู่ช่วงทีมีความหลากหลายเกิดขึ้น โดยผลจากกระบวนการเวียนว่ายตายเกิดของดวงจิต ก็เริ่มถูกพัฒนาให้แตกต่างกันไปเป็นสามแบบดังกล่าว มีดังนี้




พุทธภูมิ
      

คือ บุคคลที่มี "มโนธาตุ" หรือจิต ที่มุ่งช่วยเหลือสรรพสัตว์ ยังไม่ยอมหลุดพ้นไปเพียงผู้เดียว บางครั้งบางชาติ ยังไม่ได้มีการปรารถนาพุทธภูมิ กล่าวคือ ยังนึกไม่ออกว่าจะต้องบรรลุนิพพานก่อนจึงจะสอนให้คนหมดทุกข์ได้อย่างแท้จริง จึงช่วยเหลือคนทั่วไป เช่น ช่วยชีวิตคนไข้ แม้ไม่ได้อยู่ในหน้าที่หรือตนไม่ได้มีตำแหน่งก็ตาม ฯลฯ และไม่ยอมหลุดพ้นสู่นิพพาน ดังนั้น จึงเกิดและตายวนเวียนในสังสารวัฏ ตราบเมื่อได้พบพระพุทธเจ้า และได้ฟังธรรม จนเห็นหนทางที่ตนจะบรรลุความปรารถนาแล้ว ก็เกิดความมั่นใจศรัทธาตรงต่อการเป็นพระพุทธเจ้า ในชาตินั้น จึงปรารถนาพุทธภูมิ เป็นพระโพธิสัตว์เต็มองค์ บุคคลที่เวียนว่ายตายเกิดหลายชาติเพื่อเป็นพระพุทธเจ้า แบ่งออกเป็น ๕ ระยะ ดังนี้คือ

ก่อนพุทธภูมิ

เมื่อจุติในสังสารวัฏแรกๆ จวบจนกระทั่งเริ่มมีบารมีโดยธรรมชาติ ได้เกิดเป็นหัวหน้าคณะ ช่วงนี้ยังไม่รู้ตัว และยังไม่มีความปรารถนาพุทธภูมิ ยังหลงทางในสังสารวัฏ ยังไม่รู้จะเวียนว่ายตายเกิดไปเพื่ออะไร แต่จะเป็นหัวหน้าที่ดี มีความเมตตาดูแลบริวารในปกครองอย่างดี จึงจะเป็นพุทธภูมิได้ ยกตัวอย่างเช่น พระสารีบุตรในอดีตชาติ ที่ได้เกิดเป็นหัวหน้าคนมากมาย เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรดจนบริวารสำเร็จอรหันต์ทั้งหมด ตนเองมีปัญญาสูงกว่าแต่ยั้งใจ เพราะปรารถนาเป็นอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าสมณโคดม จึงได้มาเกิดเป็นพระสารีบุตร ซึ่งยังไม่รู้ว่าตนเองปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า จนเมื่อได้เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาแล้ว พระพุทธเจ้าสมณโคดม ก็ได้แสดงธรรมโดยอ้อมถึงสุขาวดี ในที่สุดพระสารีบุตรก็รู้ตัวว่าปรารถนาพุทธภูมิ นอกจากนี้พุทธภูมิบางท่าน ก็จุติมาจากภาคแบ่งของดวงจิตพระมหาโพธิสัตว์ หรือพระพุทธเจ้าบางพระองค์ ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้ดีมากกว่าดวงจิตคนอื่นๆ และบำเพ็ญเพียรได้รวดเร็วกว่า จะดวงจิตลักษณะนี้ จะไม่ลัดเข้าแย่งลำดับการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากพระโพธิสัตว์อื่นๆ จะหลีกทางให้ผู้อื่นเป็นพระพุทธเจ้าแทนตน
 
เลือก-ลอง-หลง (แรกรู้ตน)

เมื่อรู้ตนเองว่าปรารถนาพุทธภูมิแล้ว จะรู้สึกเบื่อสิ่งต่างๆ ทางโลก รอหรือเริ่มค้นหาสิ่งที่เหนือกว่าขึ้นไป แต่ยังไม่รู้ว่าจะอยู่ไปเพื่ออะไร สมควรจะทำอะไร จวบจนได้พบพระพุทธเจ้า ก็จะทำการปรารถนาพุทธภูมิ ยกตัวอย่างเช่น พระสังขจักร เมื่อได้ข่าวว่ามีพระพุทธเจ้าสิริมิตรเกิดขึ้นแล้วในโลก ก็สละราชบัลลังก์ แล้วเดิมทางมุ่งไปยังที่ประทับของพระพุทธเจ้า และตัดเศียรบูชาพระพุทธเจ้า จึงได้จุติเป็นพระโพธิสัตว์ที่สวรรค์ชั้นดุสิต หลังจากรู้ตนนี้ จะไม่หลงในสังสารวัฏอีก เพราะเข้าใจว่าจะตายเกิดในสังสารวัฏไปเพื่ออะไร และจะเริ่มเข้าสู่การบำเพ็ญเพียรทศบารมีเพื่อพุทธภูมิอย่างชัดเจน ในขั้นแรกรู้ตนนี้ บางท่านยังไม่ได้ทำการถวายพุทธบูชาด้วยสิ่งต่างๆ แต่บางท่านก็ถวายสิ่งต่างๆ เป็นพุทธบูชาเลย ตั้งแต่ ทรัพย์, อวัยวะ, และชีวิต เป็นต้น ซึ่งแม้ถวายชีวิตแล้วก็ยังบารมีไม่ถึง ๓๐ ทัศ ยกตัวอย่างเช่น อดีตชาติของพระโพธิสัตว์พระยามาราธิราช ซึ่งได้เกิดเป็นขุนนางของพระราชาที่ประกาศห้ามผู้อื่นใดไปถวายพุทธบูชาก่อนตน หากฝ่าฝืนต้องโทษประหาร แต่ขุนนางผู้นั้นไม่สนใจ จึงถวายข้าวห่อเป็นพุทธบูชาประกอบกับพระพุทธเจ้าเพิ่งเสด็จออกจากนิโรธสมาบัติ ผลบุญจึงมีมากมาย สุดท้ายต้องโทษประหาร ยอมตายเพราะพุทธบูชานั้น และยังผลให้ไปเกิดเป็นพระยามาร จวบจนหลังพุทธกาล ๒๐๐ ปีแล้ว พระอุปคุตจึงมาปราบพระยามารลง พระโพธิสัตว์จึงทรงละทิฐิมานะ และพ้นจากความเป็นมาร มีบารมีเต็ม ๓๐ ทัศ (หากบารมีเต็ม ๓๐ ทัศ จะได้อานิสงค์ไม่เกิดเป็นพระยามาร) ดังนั้น แม้จะฆ่าตัวตายเป็นพุทธบูชาแล้ว ยังต้องเกิดอีกเพื่อชดใช้กรรมและบำเพ็ญบารมีตัวอื่นๆ ให้เต็มด้วย

บำเพ็ญพุทธภูมิ

ในการบำเพ็ญบารมีของพุทธภูมินั้น จะบริจาคทรัพย์จนหมดก่อนจึงเรียกว่า บารมี ๑๐ ทัศ จากนั้นจะอุทิศแรงกายจนอาจต้องเสียสละเลือดเนื้อหรืออวัยวะ เช่น การออกศึก ปกป้องประเทศ ช่วยเหลือมวลมนุษย์ หรือ การบริจาคอวัยวะถวายเป็นพุทธบูชาจึงเรียกว่า บารมี ๒๐ ทัศ จากนั้น จะเข้าสู่การเสียสละชีวิต เช่น การยอมตายเพื่อผู้อื่น, ฆ่าตัวตายถวายพุทธบูชา จึงได้เข้าสู่บารมี ๓๐ ทัศ ช่วงนี้แบ่งได้เป็นสามระยะคือ
 
บารมีต้น ช่วงเสวยบุญเป็นเศรษฐี มีทรัพย์ในการทำบุญทำทานได้มากมาย เป็นช่วงที่ดวงจิตหลังได้รู้ตนเองว่าปรารถนาพุทธภูมิแล้ว จะบำเพ็ญ "ทศบารมี" ในขั้นต้น ในขั้นนี้พระโพธิสัตว์ จะทรงใช้ "ทรัพย์สิน" ในการบำเพ็ญเพียรเสียโดยมาก จะเกิดมาร่ำรวย เป็นผลบุญจากการได้ถวายพุทธบูชา จะได้มาเกิดในพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงพุทธศาสนาด้วยทรัพย์ของตนนั้น แต่ยังไม่สามารถที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลงหรือบริหารงานด้านพุทธศาสนามากนัก ช่วงนี้ จะไม่ได้พบพระพุทธเจ้า จำต้องบำเพ็ญเพียรด้วยความคิดของตนเอง ไม่มีผู้ใดสั่งสอน จึงมีทั้งทำดีและทำพลาดไปบ้าง แต่ผลยังไม่ขยายวงกว้างนัก ได้ทั้งผลบุญและบาปกรรมเปื้อนติดตัวไประดับหนึ่ง ยังไม่มีบริวารมากนัก ความเสี่ยงที่จะทำงานผิดพลาดจึงยังน้อย เพียงสะสมคุณงามความดีเบื้องต้นไปก่อน ยังไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมที่เลวร้ายได้ กำลังบารมียังไม่พอ
 
บารมีกลาง ช่วงเสวยบุญเป็นราชามีอำนาจและบริวารมากมายทำกิจได้มาก เป็นช่วงที่ดวงจิตมีบุญบารมีมากมาย เหนือกว่ามารในสวรรค์ชั้นสูงสุด เป็นผลจากการบำเพ็ญบารมีที่สะสมมา จะมีทั้งบริวารมากมาย และทรัพย์มากมาย ในขั้นนี้ จะเริ่มเปลี่ยนแปลงสังคมตามความคิดของตนเอง ทำให้พระโพธิสัตว์อาจจะเริ่มหลงทาง เพราะหลงในผลบุญที่มีมากมายนั้น เริ่มได้รับอนุญาตให้เกิดมาพร้อมทรัพย์สินและบริวาร และเริ่มได้ปกครองประเทศ ได้เกิดเป็นพระราชา ซึ่งหากปกครองประเทศได้ดี ก็จะได้ผลบุญมากก็จะยิ่งต่อยอดบุญได้มากขึ้นไปอีก หากหลงทางก็จะกลายเป็นมารได้ จะต้องไปจุติยังสวรรค์ชั้นมาร เพื่อปกครองพวกมารอยู่ยาวนาน ต้องเป็นมารเพื่อปกครองมารได้ และรอเวลาอีกยาวนานกว่าจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์อีกรอบหนึ่ง
 
บารมีปลาย เป็นช่วงที่ดวงจิตมีบุญบารมีสูงสุด พร้อมที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว เนื่องจากได้พ้นภพมารแล้ว ได้ละเลิกทิฐิจากความเป็นมารแล้วเพราะได้พบกับคู่ปรับแล้ว แต่ยังมีกรรมที่สะสมมาในแต่ละชาติต้องชดใช้ จากนั้น จึงมาเกิดเป็นคนยากจน ไร้ทรัพย์สินและบริวาร เพื่อแสวงหาสิ่งที่เป็นพื้นฐานธรรมดา เหมือนพระพุทธเจ้าช่วงที่ทรงสละราชสมบัติเพื่อออกผนวช ซึ่งไม่สนใจลาภยศเงินทอง หรือเรื่องราวความวุ่นวายทางโลก ใช้เพียงลำพังตัวคนเดียว ด้วยกำลังสติปัญญา ยังความเมตตาโปรดสัตว์ ตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าในชาติที่ทรงปราบ "รากษส" ทรงเกิดเป็นคนยากจน และมีแม่ที่อดอยาก ดังนั้น จึงทรงอาสาปราบรากษสเสี่ยงตายเพื่อหาเงินเลี้ยงแม่ จนในที่สุด ปราบรากษสได้ด้วยตัวคนเดียว เป็นต้น ช่วงบารมีปลายนี้ยิ่งต้องระวังกรรมที่เปื้อนไปสู่ชาติที่ได้ตรัสรู้ให้มาก เพราะหากยังมีเศษกรรมเปื้อนไป ก็จะยังผลให้พระศาสนาในชาติที่ตรัสรู้นั้น ได้รับผลกรรมไปด้วย เช่น การฆ่ารากษสของพระพุทธเจ้าในชาติที่บำเพ็ญเพียร ยังผลให้ท่านมีอายุเพียง ๘๐ พรรษา ไม่อาจทำกิจตามพุทธศาสนาได้สมปณิธานที่ตั้งใจ ในชาติที่บำเพ็ญบารมีปลาย จึงต้องใช้ "ปัญญาและเมตตา" ให้มากขึ้น แม้มีสิ่งยั่วยุก็ตาม เพื่อไม่ให้กรรมเปื้อนติดตนไปในชาติสุดท้าย

 
ไถ่ถอนกรรมเก่า

นอกจากจะได้บารมีครบ ๓๐ ทัศแล้ว ในระยะต่อมายังต้องมาเติมบารมีตัวอื่นในทศบารมีให้เต็มอีกด้วย จากนั้นยังต้องชดใช้กรรมเก่าที่ได้สร้างสมมาในชาติต่างๆ ให้เบาบางลงไป เพื่อไม่ให้ผลกรรมเปื้อนและกระทบชาติสุดท้ายที่ตรัสรู้ ดังนั้น เมื่อบารมีครบ ๓๐ ทัศแล้ว ยังต้องบำเพ็ญบารมีต่ออีกสองระยะ จุดนี้จะมีความแตกต่างกันระหว่างพุทธภูมิ ที่ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งจะเรียกว่า "พระโพธิสัตว์" กับพุทธภูมิที่ปรารถนาช่วยสรรพสัตว์ตลอดไป ไม่หวังเป็นพระพุทธเจ้า ที่เรียกว่า "พระมหาโพธิสัตว์" เนื่องจากพระโพธิสัตว์ จะบำเพ็ญทศบารมีให้เต็ม จะก่อกรรมน้อย จะเปลี่ยนแปลงสังคมที่ผิดไปน้อยกว่า และชดใช้กรรมให้เบาบาง แต่สำหรับพระมหาโพธิสัตว์แล้ว จะบำเพ็ญดุจดั่งเช่น พระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อันเป็นแนวการสอนของพระอมิตาภพุทธเจ้า ที่ให้พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย ช่วยสรรพสัตว์เช่นนั้น ดังนั้น พระมหาโพธิสัตว์จะมีบทบาทปราบมาร เปลี่ยนแปลงสังคมมากกว่าพระโพธิสัตว์
 
ซักฟอกมโนธาตุ

เมื่อผ่านระยะการชดใช้กรรมจนเบาบางสิ้นแล้ว ชาวพุทธภูมิจะเริ่มเดินตามความปรารถนาของตน ทั้งนี้ เมื่อพุทธภูมิมีบารมีครบ ๓๐ ทัศ กล่าวคือ นับจากชาติที่ได้สละชีวิตถวายเป็นพุทธบูชาแล้ว พุทธภูมิจะมีแนวทางในการบำเพ็ญสองสาย สายที่หนึ่ง จะบำเพ็ญตรงทางไปตามเดิมคือ บำเพ็ญทศบารมีที่เหลือให้เต็มและหลีกเลี่ยงกรรม ชดใช้กรรมในอดีตที่ติดตัวมาให้มาก เพื่อรอคิวตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ในยุคสมัยที่เหมาะสมกับความปรารถนาของตน จนได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก็จะซักฟอกมโนธาตุให้บริสุทธิ์ และทำหน้าที่พระพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ ส่วนสายการบำเพ็ญแบบที่สอง จะไม่รอคิว และไม่สนใจที่จะได้เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่ แต่จะทำกิจดุจดั่งเช่น พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในชาติต่อไปทันที คือ การบำเพ็ญ "ยูไล" หรือ การอุทิศชีวิตเคลื่อนพระธรรมจักร ให้พุทธศาสนาดำเนินต่อไปอย่างถูกมรรคถูกผล ได้ถึงนิพพาน ไม่หลงออกไปสู่ทางอื่น และจะบำเพ็ญเช่นนี้เรื่อยๆไป จึงเรียกว่า "มหาโพธิสัตว์" ซึ่งจะซักฟอกมโนธาตุจนบริสุทธิ์จากกิเลสและยังสามารถเกิดใหม่ได้อีก

                                                                                                              

ปัจเจกภูมิ


คือ บุคคลที่มี "มโนธาตุ" หรือจิต ที่มุ่งไปสู่ความเป็นหนึ่งแต่เพียงผู้เดียว ด้วยตนเอง ไม่ยอมเป็นสาวกใคร และไม่สนใจช่วยเหลือผู้ใด ในช่วงชาติแรกๆ และกลางๆ ของดวงจิตปัจเจกภูมินี้ ยังมีธาตุแท้แห่งมโนธาตุไม่มาก จะไม่เด่นชัดถึงความไม่ขอความช่วยเหลือผู้ใดและความไม่ยินดีช่วยเหลือผู้ใด แต่เมื่อชาติหลังๆ ที่ใกล้จะได้หลุดพ้นจะมีความเป็นปัจเจกบุคคลสูงมาก มีความสามารถสูงมีปัญญาสูง แต่ไม่สนใจช่วยผู้ใด แต่เมื่อละความทะนงตน ละความเย่อหยิ่งในความสามารถของตนได้แล้ว ก็จะตรัสรู้ พบความสุขพื้นฐานที่เรียบง่ายธรรมดา ละความปรารถนาที่ยิ่งใหญ่เกินตัวลง จะเริ่มมีจิตที่อ่อนน้อมสุขุม และมีเมตตา ทว่า ในชาติที่ได้ตรัสรู้ธรรมนี้ จะพบแต่บุคคลที่สั่งสอนได้ยาก ดื้อด้าน, ปัญญาต่ำ, หรือมีความจิตใจต่ำทราม ไม่ควรแก่การสอน ทั้งยังไม่มีสาวกผู้อุปการะหรืออุปถัมภ์ค้ำจุน ทำให้ไม่สามารถประกาศศาสนาได้ สุดท้ายแม้ตรัสรู้ได้ "สัพพัญญูญาณ" แต่กลับต้องเก็บตัวหลบซ่อนแต่ตามลำพัง หลีกลี้หนีออกจากผู้คน ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้คนได้ ดุจดั่ง "นอแรด" ที่ฉลาดหลักแหลมโดดเดี่ยวอยู่นอเดียว ทั้งนี้จำต้องผ่านขั้นตอนดังนี้
 
ก่อนปัจเจกภูมิ

เมื่อจุติในสังสารวัฏแรกๆ จวบจนกระทั่งเริ่มมีบารมีโดยธรรมชาติ ได้เกิดเป็นหัวหน้าคณะ ช่วงนี้ยังไม่รู้ตัว และยังไม่มีความปรารถนาอะไร ยังหลงทางในสังสารวัฏ ยังไม่รู้จะเวียนว่ายตายเกิดไปเพื่ออะไร แต่จะเป็นหัวหน้าที่ไม่ดี ไม่มีความเมตตา ไม่ดูแลบริวารในปกครอง หรือกดขี่ข่มเหงบริวารของตนเอง จึงไม่สามารถเป็นพุทธภูมิได้ ในที่สุดบริวารจะหนีถอยห่างไป จนตนเองไม่มีบริวารอีกในชาติต่อๆ ไป จากนั้น จึงพยายามเอาบริวารของตนคืนมาให้ได้ ยังไม่ละความอยากเป็นหัวหน้า ไม่ละความอยากเป็นเลิศเหนือผู้อื่นใด จึงพยายามใช้อำนาจต่างๆ ใช้อิทธิฤทธิ์ ในการทำให้คนนับถือบูชาตน เพื่อให้บริวารกลับมาหลงตน และเชื่อถือตนเหมือนดังเช่นในอดีตอีก ยกตัวอย่างเช่น พระเทวทัต ก็ยุยงให้พระสงฆ์แตกแยก แล้วนำพระสงฆ์คณะหนึ่งแยกออกไป เพื่อตั้งตนเป็นหัวหน้าคนใหม่ แต่ภายหลังก็ไม่มีผู้ใดนับถือเลย
 
เลือก-ลอง-หลง

ชาติต่อๆ มาได้พบพระโพธิสัตว์ ก็มีจิตคิดปรารถนาเป็นแบบพระโพธิสัตว์บ้าง ก็ทดลองทำตามพระโพธิสัตว์ แต่เนื่องจากจิตไม่มีความเมตตา มีแต่ความอยากเหนือผู้อื่น อยากเป็นคนเหนือคน เป็นยอดคน แต่ไม่สนใจคน ไม่ดูแลคน ไม่ช่วยเหลือคน จึงได้เลือกทางเดิน ทดลองทำตามพระโพธิสัตว์ หลงทางแก่งแย่งแข่งขันกับพระโพธิสัตว์ ช่วงนี้ "ปัจเจกภูมิ" จะหลงตนเอง คิดว่าตนเองเป็นพุทธภูมิ แต่ไม่มีความจริงใจและความพยายามในการเปลี่ยนแปลงตนเอง เพื่อปรับเปลี่ยนจากปัจเจกภูมิ เป็นพุทธภูมิ ยังไม่เข้าใจว่าการสร้างบุญบารมีนี้เพื่อยังประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น ยังคงมีความคิดเห็นแก่ตัว สร้างทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อตนเอง สนองความต้องการตนเอง ไม่สนใจคิดทำเพื่อผู้อื่นใด ในช่วงนี้ จึงชอบครอบงำผู้คนให้หลงเชื่อตนไปหลายชาติ เพราะไม่ยอมละทิ้งความอยากเด่นอยากดังเหนือคน และไม่มีความสามารถในการดูแลผู้คน ยังคงหลงในอดีตชาติที่ตนเองได้เป็นผู้นำ ได้เป็นใหญ่เหนือคนอยู่อีก ในช่วงชาตินี้ ยังไม่ได้พบพระโพธิสัตว์ เพียงแต่สะสมบริวารของตนจนมีมากมาย
 
บำเพ็ญปัจเจกภูมิ

จากนั้น ในชาติต่อๆ มาจะเริ่มก่อกรรมหนักมากขึ้น และบำเพ็ญเสมือนว่าตนก็เป็นพระโพธิสัตว์ไปด้วย และช่วงในระยะว่างชาตินี้ จะได้พบกับพระโพธิสัตว์และได้บำเพ็ญบารมีแข่งกัน หรืออาจเปลี่ยนใจเป็นพุทธภูมิได้ ยกตัวอย่างเช่น พระเทวทัตในชาติที่บำเพ็ญเพียรคู่กับพระพุทธเจ้า ทั้งคู่ต่างเป็นหัวหน้าคนและมีบริวารมากมาย และมักทะเลาะเบาะแว้งกัน เพราะพระเทวทัตมีความอยากเด่นอยากดัง อยากเหนือกว่าพระพุทธเจ้า ในช่วงระหว่างหลายชาตินี้ ปัจเจกภูมิ จึงบำเพ็ญความเด่นดังให้เหนือคน เช่น ปัญญาบารมี พร้อมกับพระโพธิสัตว์ไปด้วย แต่ไม่ได้สนใจบำเพ็ญเมตตาบารมีเลย จึงมักก่อกรรมและเป็นเครื่องช่วยในการบำเพ็ญบารมีให้กับพระโพธิสัตว์ และจะทำเช่นนี้วนเวียนซ้ำหลายชาติ จนกว่าจะ "สำนึกผิดกลับตัวกลับใจ" จึงพ้นได้
 
ไถ่ถอนกรรมเก่า (แรกรู้ตน)

เมื่อได้สำนึกผิดกลับตัวกลับใจแล้ว จะเริ่มต้นใหม่ แต่เพราะกรรมที่ทำมาทับถมทวีมากมาย จำต้องเกิดมาชดใช้กรรม ไถ่ถอนกรรมที่ทำไว้มากมายนั้น ต้องทนทุกข์ทรมานเพราะเกิดมากี่ชาติๆ ก็ไม่มีดีเลยสักชาติ ต้องพบแต่ความพินาศหายนะของชีวิตซ้ำแล้วซ้ำอีก แม้ไม่อยากเกิดอีก แม้อยากนิพพาน แต่ก็ยังไม่อาจมีดวงตาเห็นธรรม ด้วยเพราะกรรมมากมายนั้นบังตา แต่ก็ยังไม่ละทิ้งความต้องการเป็นคนเหนือคน ยังอยากเป็นยอดคนอยู่เสมอ ทว่า ไม่คิดอยากช่วยเหลือผู้อื่นให้รอดพ้นตามตน เพราะกรรมที่หนักหนาสาหัสนั้น แม้แต่ตนเองก็ไม่อาจช่วยตนเองให้พ้นได้เลย ตราบเมื่อ "กรรมเบาบาง" แล้ว เริ่มได้ "สติ" คิดได้ว่า "นิพพาน" คือที่สุดที่ค้นหา แสดงว่ากรรมเริ่มเบาบางและใกล้หมดแล้ว ชาตินี้จะเป็นชาติที่ชดใช้กรรมเก่าเป็นชาติสุดท้าย
 
ซักฟอกมโนธาตุ

เมื่อมีสติระลึกได้ว่า "นิพพาน" คือสูงสุดที่ตนค้นหา คือ ทางที่หลุดพ้นแห่งทุกข์ทั้งมวลที่ตนได้รับมา ก็จะมาเกิดเพื่อบรรลุธรรมเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าในชาติสุดท้าย อนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกพระองค์จะมีกรรมมากเพราะปรารถนาเป็นยอดคน แต่ไม่ปรารถนาช่วยสรรพสัตว์ จึงมีช่วงกลางของการบำเพ็ญเพียรที่ก่อกรรมไว้มาก (การก่อกรรมมากมีทุกดวงจิต ทั้งพระโพธิสัตว์ในชาติกลางๆ ก็ก่อกรรมมากเช่นกัน) และเหนื่อยหน่ายกับบาปกรรมที่ได้รับ จึงไปไม่ถึงดวงดาว ต้องอำลาพุทธภูมิ สู่ปัจเจกภูมิเสียก่อน และด้วยผลบุญที่น้อยนั้น แม้จะตรัสรู้ได้ด้วยตนเองเพราะปัญญาบารมีสูง มีความรู้มากมายไพศาล แต่ก็ไม่อาจอยู่ในฐานะที่จะสร้างพระศาสนาขึ้นมาได้ ด้วยเพราะอาจเกิดในประเทศกันดาร ห่างไกลจากผู้คนที่มีปัญญา มีศีลธรรม หรือ เกิดในช่วงที่โลกกำลังตกต่ำมีแต่คนไม่เข้าใจธรรม เมื่อแสดงธรรม คนก็หยามหมิ่นหาว่าบ้าบ้าง สุดท้ายจำต้องปลีกเร้นซ่อนกาย หลบกรรม เข้าป่าเสพสุขอยู่อย่างเดียวดาย

     

สาวกภูมิ


คือ บุคคลที่มี "มโนธาตุ" หรือจิต ที่มุ่งไปสู่ความเป็นสาวกผู้อื่น นิยมพึ่งพิง พึ่งพาอาศัย หรือยินยอมคล้อยตามผู้อื่น มากกว่าที่จะเป็นตัวของตัวเองแบบปัจเจกภูมิ และไม่นิยมที่จะรับผิดชอบชีวิตผู้อื่นแบบพุทธภูมิ หากจะช่วยเหลือผู้อื่นก็จะช่วยตามควรที่ตนเองไม่เดือดร้อนเท่านั้น เป็นผู้ตามไม่ใช่ผู้นำ แม้ว่าจะมีตำแหน่งเป็นผู้จัดการหรือไม่ก็ตาม ยังมีความเป็นลูกน้องอยู่ดี บุคคลที่เป็นสาวกภูมินี้ปกติไม่รู้ตนเองว่าตนเองมี "มโนธาตุ" แบบใด จวบจนในชาติสุดท้ายที่ได้หลุดพ้นจึงได้รู้ จึงแตกต่างจากพุทธภูมิที่จะรู้ตนเอง และตั้งความปรารถนาในชาติที่มีการลอง, การเลือก และการหลง จนรู้ตนเองจึงบำเพ็ญเพียรได้ถูกต้อง ส่วนปัจเจกภูมิ จะรู้ตนเองหลังจากนั้น เมื่อตนเองคิดว่าเป็นพุทธภูมิ ก็หลงบำเพ็ญเพียรตามพุทธภูมิ แต่ทำได้ไม่ครบ ทั้งยังสะสมกรรมมามาก จนสุดท้ายต้องลัดเข้าสู่การพ้นทุกข์ จึงไม่อาจสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งจะรู้ตนเองว่าไม่ใช่พุทธภูมิ เป็นปัจเจกภูมิก็ในชาติที่เริ่มเหนื่อยล้าและตัดสินใจหาทางพ้นทุกข์ (ช่วงรับกรรมมากๆ) ในส่วนสาวกภูมิมีกระบวนการเวียนว่ายตายเกิด ๕ ขั้นเช่นกัน แต่แตกต่างจากแบบอื่น ดังนี้
 
ก่อนสาวกภูมิ

เมื่อจุติในสังสารวัฏแรกๆ จวบจนกระทั่งเริ่มมีบารมีโดยธรรมชาติ ได้เกิดเป็นหัวหน้าคณะ ช่วงนี้ยังไม่รู้ตัว และยังไม่มีความปรารถนาอะไร ยังหลงทางในสังสารวัฏ ยังไม่รู้จะเวียนว่ายตายเกิดไปเพื่ออะไร และเป็นหัวหน้าที่ไม่ดี ไม่มีความเมตตาดูแลบริวารในปกครอง ขาดความรับผิดชอบ ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ขาดความเป็นผู้นำ ไม่กล้าตัดสินใจ ไม่กล้านำพาผู้คน ไม่กล้าเปลี่ยนแปลงผู้คนไปในทางที่ดี จึงเป็นพุทธภูมิไม่ได้ ผลจากกรรมนี้ ทำให้ชาติต่อๆ มา บริวารต่างพากันหนีไปหมด จนเกิดมาไม่ได้เป็นหัวหน้าคนอีก จนในที่สุด ก็พอใจและยอมรับสภาพที่ไม่ต้องเป็นหัวหน้าใคร รู้สึกดีกว่าต้องรับผิดชอบชีวิตคนอื่น และเริ่มต้องฝ่าฟันอุปสรรคในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏเพียงผู้เดียว เริ่มมีความกลัว เริ่มคิดหาทางออกให้ตัวเอง แต่ไม่สามารถเข้าใจสรรพสิ่งได้ด้วยตนเอง จำต้องพึ่งพาอาศัยผู้นำทางจิตใจเป็นต้น
 
เลือก-ลอง-หลง

ในช่วงของการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏถัดมา เป็นช่วงแห่งการเลือกทางเดิน, การทดลอง และการหลงทาง ในช่วงนี้จะไหลตามกรรมไปพบผู้นำหลายคน ให้ได้เลือกตามแต่ใจปรารถนา บ้างก็ไปเป็นสาวกบริวารผู้นำผู้หนึ่ง แล้วก็อาจได้โอกาสเปลี่ยนไปเป็นสาวกบริวารของผู้นำผู้อื่นต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับเป็นช่วงที่พุทธภูมิเองก็เริ่มสะสมบริวารเช่นกัน ด้านพุทธภูมิต่างแย่งกันแสวงหาผู้ตาม มาเป็นบริวารของตน ส่วนสาวกภูมิก็เลือกหัวหน้าของตนเช่นกัน บ้างเปลี่ยนไปมา บ้างเริ่มคงที่ เมื่อขาดนายตนเองก็ลำบาก ทั้งภพโลกและภพสวรรค์ เมื่อได้นายก็พ้นลำบากสลับไป
 
แสวงหาที่พึ่งพิง

เมื่อถึงระยะนี้ สาวกภูมิ จะรู้ตนว่าแท้แล้วตนไม่มีกำลังความสามารถที่จะไปรอดได้ด้วยตัวคนเดียวแบบปัจเจกภูมิ, และไม่สามารถช่วยเหลือผู้อื่นหรือแม้แต่ตัวเองได้แบบพุทธภูมิ เหล่าสาวกภูมิ จึงมีความตั้งใจแน่วแน่ชัดเจนแล้วว่าจำต้อง "แสวงหาที่พึ่งพิงเป็นหลักแหล่งแน่นอน" ช่วงนี้จะเปลี่ยนจากยุค "เลือกนายอย่างเสรี" มาสู่ยุค "การเป็นบริวารตลอดไป" ดังนั้น คำว่า "จงรักภักดีมีนายเดียว" จึงได้เกิดขึ้น เมื่อถึงจุดนี้ สาวกภูมิจะไม่ต้องแร่ร่อนในสังสารวัฏทั้งสามภพอย่างไม่มีที่พึ่งพิงอีกต่อไป เพราะจะมีที่อาศัยทั้งภพโลก, ภพสวรรค์ เมื่อทำความดีได้จุติยังสวรรค์ ก็จะไปอาศัยในวิมานของนายของตน เมื่อมาเกิดบนโลกมนุษย์ก็ได้อาศัยนายของตน เป็นผู้ชุบเลี้ยงดูแล ช่วงนี้ สาวกภูมิจึงเวียนว่ายตายเกิดเพื่อช่วยพุทธภูมิในการบำเพ็ญเพียรบางส่วน และเสวยผลบุญบนสวรรค์รอนายของตนเป็นส่วนใหญ่ เรียกว่ามีหลักแหล่งแน่นอนแล้ว และมักจะไม่เปลี่ยนใจไปภักดีต่อนายอื่นอีก จัดเป็นสาวกแท้จริง
 
ไถ่ถอนกรรมเก่า

ในระยะนี้ เหล่าสาวกภูมิจะต้องรับกรรมที่ตนเองทำในช่วงก่อนๆ หากตนเองเคยทำผิดพลาดมามากก่อนจะพบนายที่ดีสั่งสอน ก็ต้องไปเกิดร่วมกับนายของตนเพื่อไถ่ถอนกรรมและช่วยนายในการบำเพ็ญบารมี ดังนั้น ในการไปเกิดเพื่อสะสมบุญบารมีและไถ่ถอนกรรมของพุทธภูมิหนึ่งดวงจิต จะมีการนำสาวกของตนไปเกิดด้วย เพื่อช่วยงานและเป็นการเปิดโอกาสให้สาวกภูมิ ชดใช้ไถ่ถอนกรรมและบำเพ็ญบุญบารมีบ้าง ดังนั้น เหล่าสาวกจะได้รับการอนุญาตให้ไปเกิดช่วยกันบำเพ็ญบารมีแตกต่างกันไป หมุนเวียนเปลี่ยนไปในแต่ละชาติ สาวกภูมิจึงเกิดน้อยกว่าพุทธภูมิ และเฝ้าอยู่บนสวรรค์ในวิมานนานกว่า รออยู่แบบสบายๆ ไม่ต้องเสี่ยงมากกว่า แต่พุทธภูมินายของตนนั่นเองที่ต้องลงไปบำเพ็ญบุญบารมีอยากมากมาย ช่วงนี้สาวกภูมิเพียงแต่ผ่อนแรงผลัดเปลี่ยนกันลงไปช่วยนายของตนเท่านั้น ซึ่งทำให้ได้ชดใช้ไถ่ถอนกรรมด้วย
 
ซักฟอกมโนธาตุ

ในชาติสุดท้ายเท่านั้น สาวกภูมิจึงจะได้ซักฟอกมโนธาตุ หรือไม่ก็ไม่เกิน ๗ ชาติ ที่จะทำการซักฟอกมโนธาตุ ซึ่งจะสั้นกว่าพุทธภูมิและปัจเจกภูมิ เนื่องจากการซักฟอกมโนธาตุของสาวกภูมินั้น จำต้องมีผู้สั่งสอน จึงจะสามารถซักฟอกมโนธาตุของตนได้ นอกจากนี้ ส่วนใหญ่สาวกภูมิจะบรรลุธรรมง่ายและสบายกว่าพุทธภูมิและปัจเจกภูมิ



http://www.saimahayana.com/Default.aspx?tabid=520&language=th-TH

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2015, 03:05:45 am โดย ธุลีธวัช (chai173) »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

kittisak

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +42/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 653
  • พุทธัง อะระหัง พุทโธ นะโมพุทธายะ นะมะพะทะ จะภะกะสะ
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
อนุโมทนา สาธุ รถด่วนจะออกก่อน คนแก่ไปถึงหรือไม่ ?
« ตอบกลับ #21 เมื่อ: กรกฎาคม 23, 2015, 08:38:25 am »
0
ผมเอง ก็พยายามจะไปให้ทัน แต่ เรียวแรง กำลังวังชา มันไม่อำนวยแบบเมื่อก่อน ถ้าผมได้พบพระอาจารย์เร็วกว่านี้สัก 20 ปี ผมคงถึงไหน ถึงกัน จะติดตามครูที่หาได้ยาก และภาวนาตามที่สอน

 แต่อย่างไร ข้อแนะนำที่พระอาจารย์ส่งมอบมาให้เป็นพิเศษนั้นประทับใจผมและทำให้ผมก้าวหน้าในการภาวนาเป็นอย่างมาก แต่ภาวนาที่ต้องใช้ำลังผมเองนั้น มันก็ค่อนข้างจะช้า เพราะโรครุมเร้า ความชราเข้าเล่นงาน

  thk56 st11 st12 st12 like1
บันทึกการเข้า
ความสุขอันเกิดจากการแบ่งปัน ดีกว่าความทุกข์ที่มีแต่จะเอา

naka-54

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 84
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st12 st12 st12 st12

  ส่วนตัว ว่าวิชาธรรมกาย ฝึกง่ายกว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นะคะ
 ลองทดสอบ ดูสิคะ แล้วจะรู้ว่า ง่ายกว่ามาก ๆ เลยคะ

 แต่ตำนาน เรื่องพ่อสด ไปเรียนที่วัดราชสิทธาราม ถามรุ่นพี่ ที่ไปวัดปากน้ำ และวัดธรรมกายด้วยกัน ไม่เห็นมีใครทราบเลยคะ มีแต่บอกว่า ทางวัดราชสิทธาราม น่าจะเป็นผู้เอาวิชาธรรมกายมาสอนมากกว่า คะ

   ( ถูกผิด ขออภัยนะคะ พยายามตามไปอ่าน แต่ พวกรุ่นพี่ล้วนแล้วบอกว่า วิชาธรรมกาย ดีกว่า คะ)

   :49: :25: :25:
บันทึกการเข้า

bajang

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 325
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นี่คุณน้อง naka-54 คะ
  วิชาธรรมกาย ที่นี่ เขาเป็น ขั้นที่ 1 นะจ๊ะ เรียกว่า กายธรรม อยู่ที่ห้องพระธรรมปีติเอง
 ตัววิชา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เรียกว่า ระดับ อนุบาล เท่านั้นคะ ไม่เชื่อไปอ่าน ดูดี ๆ นะคะ

  ส่วนวิชา 18 กาย ลองเทียบ วิชา 18 กายในห้องศิษยืสายตรง ดูนะคะ คนละชั้น นะคะ
  พระอาจารย์สนธบา กล่าวเรื่อง พุทธคุณ 108 ประการ อย่างชัดเจน ส่วนของวัดปากน้ำไม่มีรายละเอีดยเรื่องพุทธคุณ ถึงแม้จะใช้คำภาวนา ว่า สัมมาอรหัง แต่ ของกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ใช้ อรหัง เป็นที่สุดนะคะ

 ที่พูดนี่ เพราะว่ารู้จักกันนะ จ๊ะ อย่าเข้าใจผิด สิคะ เสียหาย ทางวิชาที่นี่หมด
และอย่าเหมามั่ว ด้วย

   ขออภัยที่พูดตรง ๆ รอบนี้

   :88: :88: :88:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

       หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ

       หลวงปู่โต๊ะ  วัดประดู่ฉิมพลี

        พระอาจารย์มั่น

        พระอาจารย์เสาร์

        หลวงปู่ขาว อนาลโย

       หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ

      หลวงพ่อแช่ม  วัดฉลอง ภูเก็ต

      หลวงพ่อคง วัดบางกระพ้อม

      หลวงพ่ออี๋  วัดสัตหีบ

      หลวงพ่อแพ   วัดพิกุลทอง

      หลวงพ่อพรหม  วัดช่องแค นครสวรรค์

      สมเด็จโต วัดระฆัง

      หลวงพ่อเนียม  วัดน้อย อยุธยา

     หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว

     หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก แปดริ้ว

     หลวงพ่อโหน่ง วัดอัมพวัน

     หลวงปู่ ศุข ปากคลองมะขามเฒ่า

     หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว

     หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีน

      หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน

      หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก

      ......เท่าที่นั่งนึกได้ นึกได้เท่านี้ แต่บอกตามตรงว่า ทั่วประเทศมีเยอะกว่านี้

        พระภิกษุที่มีชื่อเหล่านี้  มาเรียนศึกษา กรรมฐาน  มัชฌิมา  แบบลำดับ มีรายชื่ออยู่ในทำเนียบ วัดพลับ

            พระอาจารย์ต้นกรรมฐาน ก็คือ...สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน  พระปรามาจารย์

        ไม่ได้มีแต่ยุครัตนโกสินทร์ อยากดูย้อนหลัง ไป อยุธยา สุขโขทัย ก็มีรายชื่อแบบนี้ มาทุกยุค

                  อยากศึกษาเพิ่มเติม หรืออยากรู้ กรรมฐานโบราณ..ของพระพุทธเจ้า และ พระราหุล องค์ต้นกรรมฐาน

        ซึ่งพระองค์เป็นผู้เผยแผ่กรรมฐานนี้สืบมาจนถึง.....ข้าพเจ้า...และเราๆ ท่านๆ ได้สดับรับฟังอยู่ขณะนี้

             ขอเชิญ..เปิด...www.somdechsuk.org-เปิดหน้าเว็บเลือกหัวข้อ....ตำนานพระกรรมฐาน


                                 สาธุ  เจริญธรรม  ทุกท่าน

   

           

     






บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


พิจารณากันหรือยัง ว่าเรานั้นมีจริตกันแบบไหน ดำเนินไปตามวิถีใดแล้วกันบ้าง ผมเองนั้นไม่ใฝ่ใจไปในคติปัญญานำสักเท่าไหร่ ต้องเรียกว่าเจอะเจอใครปัญญาวาสนามากจะหนี ฟังได้แต่ไม่โต้ตอบแลกรู้เด็ดขาด หนักค่อนไปทางศรัทธาเสียมาก เรียกว่าชาตินี้รู้กูก็จะเร้นหนีประมาณนั้น เพราะเหตุที่เติบโตมากับการเปรียบเทียบเคียงคนอื่นให้ตนเองต้องต่ำต้อยเสมอมา ใจนั้นจึงทะเยอทะยานใฝ่สูงไม่เป็นที่หนึ่งนิพพานไม่ไปเด็ดขาด ผมนั้นยังคงเป็นศิษย์อาจารย์หนักไปข้างพุทธภูมิมหาสัตว์สร้างภูมิธรรมบารมีเรื่อยไปไม่จบสิ้น ถ้ามีโอกาสฟังธรรมเข้านิพพานหละก็จิ้งจกทักอวสานทันที คนวาสนาสูงกว่ามีมาเรานั้นหนีไม่อยากไปแปดเปื้อนด้วย เพราะรู้สู้ไม่ได้ ทำไงได้ ความบอบบางในใจเยื่องนี้ผมยังละไม่ได้ ดังนั้นในวันนี้จึงยังคงมีใจหนักไปในข้างฝ่าย "ปัจเจกภูมิ" นั้นมาก ลิ่มที่ปักอยู่ในใจมันยากที่จะถอนออกจริงๆ ครับ!


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 27, 2015, 01:39:33 pm โดย ธุลีธวัช (chai173) »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

whanjai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +10/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 106
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า