ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ตามดูผลกระทบ 'แผ่นดินไหว' ยิ่งใกล้เพื่อนบ้าน...ไทยเสี่ยง?!?  (อ่าน 3317 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ข่าวการเกิดแผ่นดินไหวที่ประเทศนิวซีแลนด์ที่ผ่านมาสร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ทำ ให้เกิดความเศร้าสลดไปทั่วโลก และต่อมาเพียงวันเดียวก็เกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ประเทศลาว ซึ่งเรารับรู้ได้ถึงการไหวสะเทือนในหลายจังหวัด ถ้าดูเผิน ๆ จะรู้สึกว่าพิบัติภัยแผ่นดินไหวจะเกิดขึ้นบ่อยและถี่ขึ้นทุกวันทั่วโลก เพราะล่าสุดก็ยังมีการเกิดอยู่อย่างต่อเนื่องที่ภาคเหนือของไทย ถึงแม้จะไม่รุนแรงแต่ก็สร้างความตื่นตระหนกได้ไม่น้อยว่าพิบัติภัยจะรุนแรง ขึ้นในบ้านเราเมื่อใด...?!?
   
ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล สาขาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ให้ความรู้ว่า ในเชิงสถิติอาจกล่าวได้ว่าแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลกมีจำนวน ครั้งที่ค่อนข้างคงที่ใกล้เคียงกันในแต่ละปี โดยแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง 7-8-9 เกิดขึ้นเฉลี่ยประมาณปีละ 18 ครั้ง 3 ครั้งและน้อยกว่า 1 ครั้งตามลำดับ ส่วนแผ่นดินไหวที่มีขนาดความรุนแรงน้อยกว่านั้นเกิดขึ้นรวมกันทั่วโลกนับ ล้านครั้งในแต่ละปี   
   
แม้เราจะทราบว่าแผ่นดินไหวรุนแรงส่วนใหญ่เกิดขึ้นในบริเวณหรือใกล้เคียงรอย ต่อหรือรอยตะเข็บระหว่างแผ่นธรณีและบริเวณรอยเลื่อนมีพลังที่เกี่ยวเนื่อง แผ่นดินไหวรุนแรงส่วนน้อยมากที่เกิดลึกเข้าไปในทวีป แต่ทั้งหมดก็สัมพันธ์กับแรงที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นธรณีทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่น ภูมิภาคที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหวรุนแรงลำดับต้น ๆ ของโลก ได้แก่ ประเทศที่ตั้งอยู่บริเวณขอบมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เรารู้จักกันดีว่าเป็นแนววงแหวนไฟ เช่น ฝั่งตะวันตกของประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก เปรู ชิลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฯลฯ ประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกใต้ เช่น ฟิจิ นิวซีแลนด์ ประเทศอื่น ๆ เช่น พม่า บังกลาเทศ เนปาล อินเดีย จีน และประเทศในแถบทะเลเมดิเตอเรเนียน เช่น อิหร่าน ตุรกี ฯลฯ
   
สำหรับประเทศไทยเองเป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินซุนด้าที่ประกอบด้วย กัมพูชา ลาว มาเลเซีย เกาะสุมาตรา ชวา บอร์เนียว และส่วนที่เป็นไหล่ทะเลตื้น ซึ่งแผ่นธรณีส่วนนี้อยู่ภายใต้แรงบีบอัดที่เกิดการเคลื่อนตัวของแผ่นธรณีรอบ ด้าน จึงทำให้มีความเสถียรสูง ซึ่งอาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้พื้นที่ส่วนใหญ่ของแผ่นดินซุนด้าค่อนข้าง ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว ยกเว้นบริเวณขอบ ๆ ของแผ่นดินซุนด้าที่มีแรงเฉือนมาก เกิดรอยเลื่อนมีพลังแนวระดับและเกิดแผ่นดินไหวหนาแน่นกว่าพื้นที่อื่น ๆ จึงเห็นได้ชัดว่าในส่วนของประเทศไทยรอยเลื่อนมีพลังและพื้นที่ที่เคยเกิด แผ่นดินไหวขนาดรุนแรงน้อยถึงปานกลางเกิดหนาแน่นในภาคเหนือ ตะวันตกเฉียงเหนือ ตะวันตกและภาคใต้
   
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีแหล่งน้ำพุร้อนที่พบแล้วกว่า 90 แห่ง ส่วนใหญ่พบในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันตกและภาคใต้ แหล่งน้ำพุร้อนทั้งหมดเกิดในบริเวณรอยเลื่อนมีพลังหรือมีความสัมพันธ์กับรอย เลื่อนมีพลังโดยตรง จากการศึกษาอุณหภูมิของน้ำพุร้อนที่ผิวดินพบว่า อุณหภูมิน้ำพุร้อนในแหล่งภาคเหนือและภาคใต้มีอุณหภูมิประมาณ 80-100 องศาเซลเซียส และ 60-79 องศาเซลเซียสตามลำดับ ส่วนน้ำพุร้อนภาคตะวันตกและภาคกลางมีอุณหภูมิต่ำกว่ามากประมาณ 37-59 องศาเซลเซียส ลักษณะที่ปรากฏนี้สะท้อนให้เห็นว่ารอยเลื่อนมีพลังที่สัมพันธ์กับน้ำพุร้อน ในภาคเหนือและภาคใต้มีการขยับตัวบ่อยและรุนแรงมากกว่าส่วนของภาคตะวันตกและ ภาคกลาง
   
แต่สำหรับการศึกษาแนวการวางตัวของแหล่งน้ำพุร้อนตามแนวรอยเลื่อนเจดีย์สาม องค์และตำแหน่งความร้อนใต้พิภพ จากข้อมูลของการสำรวจปิโตรเลียมในอ่าวไทยพบว่า แนวการวางตัวของรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์พาดลงอ่าวไทยผ่านบ้านเขาหลาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี โดยส่วนที่อาจต่อเนื่องยาวลงไปในอ่าวไทยมีลักษณะการเหลื่อมเหมือนถูกตัดผ่าน ด้วยรอยเลื่อนระนองที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือ-ตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งลักษณะเช่นนี้ทำให้รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ถูกทอนพลังลงมามากไม่สามารถ เคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ นอกจากนั้นข้อมูลธรณีฟิสิกส์ไม่แสดงว่ามีแนวรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ซ่อนอยู่ ใต้ผิวดินแต่อย่างใด ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับชาวเมืองหลวง
   
การเปรียบเทียบสถานการณ์แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นบริเวณต่าง ๆ ของโลกกับประเทศไทย ถือว่าได้ประโยชน์เพื่อนำไปประเมินโอกาสการเกิดแผ่นดินไหวขนาดความรุนแรง ต่าง ๆ แต่ประเด็นที่สำคัญที่สุด คือสภาพธรณีแปรสัณฐานของพื้นที่ โครงสร้างทางธรณีวิทยา สถิติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต ทิศทางความเร็วการเคลื่อนที่ของแผ่นธรณีที่เกี่ยวข้อง โดยทั่วไปพื้นที่ที่มีสภาพธรณีแปรสัณฐานแบบเดียวกันหรือคล้ายกันมีโอกาสที่ จะเกิดแผ่นดินไหวขนาดรุนแรงแบบเดียวกันก็เป็นไปได้มาก เช่น นิวซีแลนด์ แอลเอ ซาน        ฟรานซิสโก หมู่เกาะอันดามัน-นิโคบาร์ และบริเวณแนวเลื่อนสะกาย (Sagiang) ในเมียน มาร์ เมื่อกลไกการเกิดแผ่นดินไหวเป็นเช่นนี้ ปัจจุบันแผ่นดินไหวที่ไทยเผชิญอยู่จึงมีขนาดรุนแรงต่ำถึงปานกลาง
   
อย่างไรก็ตามนอกจากเหตุแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ส่งผลกระทบโดย ตรงแล้วการเกิดแผ่นดินไหวในประเทศข้างเคียงที่ไหวสะเทือนมีความรุนแรงพอก็ สามารถส่งผลกระทบต่อประเทศไทยได้ โดยสถิติการเกิดแผ่นดินไหวทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านที่ส่งผลกระทบต่อ พื้นที่ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2455-2547 จำนวน 4,310 ครั้ง และระหว่างปี  2547-2549 จำนวน 5,799 ครั้ง แต่จำนวนครั้งของการเกิดแผ่นดินไหวแถบเกาะสุมาตราระหว่างปี  2547-2549 มีสัดส่วนสูงมากขึ้นภายหลังเกิดแผ่นดินไหวใหญ่เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547
   
จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าแผ่นดินไหวในประเทศเพื่อนบ้านที่ส่งผลกระทบต่อประเทศ ไทยมากได้แก่ แผ่นดินไหวขนาดรุนแรงมากกว่า 7 ริคเตอร์ ที่เกิดตามแนวรอยตะเข็บระหว่างแผ่นธรณีอินเดีย-ออสเตรเลียและแผ่นซุนด้าใน ทะเลอันดามันและแนวรอยเลื่อนสะกายในเมียนมาร์ที่ต่อเชื่อมกับรอยเลื่อนเกาะ สุมาตราบนเกาะสุมาตราและแผ่นดินไหวรุนแรงที่เกิดบริเวณรอยต่อระหว่างเมีย นมาร์และจีนและทางตอนใต้ของจีน ส่วนแผ่นดินไหวในประเทศลาวที่เชื่อมต่อกับรอยเลื่อนเดียนฟู และรอยเลื่อนแม่น้ำแดงมีแผ่นดินไหวขนาดปานกลางและเล็กที่อาจรู้สึกได้ในหลาย พื้นที่และอาจส่งผลกระทบต่อประเทศไทยตามจังหวัดชายแดน เช่น อุตรดิตถ์ น่าน และพื้นที่ข้างเคียงได้บ้าง
   
ดังนั้นเมื่อพิบัติภัยแผ่นดินไหวในประเทศเพื่อนบ้านรอบ ๆ ประเทศไทยแม้จะมีขนาดความรุนแรงก็จะไม่ส่งผลกระทบถึงไทยได้ในวงจำกัด จากข้อมูลการเกิดแผ่นดินไหวที่ได้ติดตามศึกษาในประเทศไทยเองในภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตกและภาคกลางมีความเสี่ยงต่อพิบัติภัยแผ่นดินไหวน้อยลงตามลำดับ แต่ในส่วนของกรุงเทพมหานครเองนั้นแม้ว่าจะอยู่ไกลจากพื้นที่ที่มีการเกิด แผ่นดินไหวก็ตาม เนื่องจากสภาพดินเป็นดินอ่อนชั้นหนามากมนที่ราบภาคกลางตอนล่างอาจส่งผลให้ เกิดการขยายคลื่นของแผ่นดินไหวเป็น 3 เท่าของการเกิดแผ่นดินไหว ฉะนั้นในการก่อสร้างอาคารหรือบ้านเรือนต่าง ๆ ในพื้นที่เสี่ยงภัยจะต้องปฏิบัติตามประกาศกรมโยธาธิการอย่างเคร่งครัดเพื่อ ช่วยลดความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้.

ทีมวาไรตี้
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=486&contentId=125363
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ