ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ฝากป่า ไว้กับ "วัด"  (อ่าน 401 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ฝากป่า ไว้กับ "วัด"
« เมื่อ: มิถุนายน 04, 2020, 05:53:05 am »
0



ฝากป่า ไว้กับ "วัด"

ปัญหาวัดกับป่า เป็นปัญหาที่เรื้อรังและสะสมมาอันยาวนาน พอ ๆ กับประชาชนที่ถูกกล่าวหาว่า “บุกรุกป่า”

เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้ยินข่าวมาว่า อธิบดีกรมป่าไม้ นายอรรพล เจริญชันษา กำลังจะหาทางแก้ไขปัญหาเหล่านี้
นานมาแล้วยุค คุณสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นรัฐมนตรีกระทรวงทรัพย์ ได้มีนโยบายแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือ ให้วัดอยู่กับป่าได้ แต่เงื่อนไขคือ ต้องขึ้นทะเบียน และเวลาจะสร้างอะไร ต้องขออนุญาตก่อน

ตอนนั้นมีการระดมความเห็นจากคณะสงฆ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ มีการขับเคลื่อนนโยบายที่เด่นชัด มีการออกข่าว ถ่ายทอดสด อันใหญ่โต...ถูกใจได้รับสาธุการจากคณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร

สุดท้าย..ไปไม่ถึงฝั่งเพราะติดตรงที่ว่า ต้องให้วัดหรือสำนักสงฆ์ขึ้นทะเบียนและเวลาจะสร้างอะไรต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ เจ้าหน้าที่กรมอุทยานก่อน ตรงนี้คือ..ปัญหาในทางปฎิบัติ

วัดบางวัดตั้งมาก่อน เกิดก่อนจะประกาศเป็นป่าสงวน เกิดมาก่อนประกาศเป็นเขตอุทยาน เมื่อมีเงื่อนไขแบบนี้...คณะสงฆ์และชุมชนจึงปฎิเสธ เพราะในทางปฎิบัติยุ่งยาก มีเรื่องเล่า..

@@@@@@

ยุคหนึ่งหลายสิบปีมาแล้ว ผมไปเป็นประธานสร้างเจดีย์ที่วัดแห่งหนึ่ง วัดนี้ตามประกาศของกรมการศาสนาเป็นวัดมาตั้งแต่ปี 2481 แต่ไม่มีเขตวัด ไม่มีโฉนด เพราะยุคนั้นคณะสงฆ์และชุมชน ชี้เขตวัดมีเชิงเขานี้ ลำห้วยนั้น ตรงนั้นคือ “เขตวัด” เป็นเพียงพอ

เวลาจะไปสร้างเจดีย์องค์ย่อม ๆ เจ้าหน้าที่อุทยานไม่ยอม อ้างว่าเป็นเขตอุทยาน รถไถ เครื่องจักรกลหนักเข้าไปไม่ได้..สุดท้าย ต้องอาศัยบารมีรัฐมนตรียุคนั้นจึงเริ่มสร้างได้ และให้อธิบดีกรมอุทยาน ฯ ประธานคณะกรรมาธิการสิ่งแวดล้อม รัฐสภา ไปบรรจุพระธาตุ ปัญหา “จึงจบ”

หรือแม้กระทั้งของบจากกรมทรัพยากรน้ำ ไปทำฝาย กักน้ำ อธิบดีอนุมัติงบแล้ว แต่เวลาเครื่องจักรใหญ่ลงไปทำ ก็ไม่สามารถทำได้...ติดเขตอุทยาน

@@@@@@

แต่ปัจจุบันวัดแห่งนี้...พัฒนาไปไกล แบบ วัดอยู่กับป่าได้ เพียงแต่ “น้ำพึ่งเรือ เสื่อพึ่งพา” หากใช้หลักกฎหมายยังเดียว ไม่ดูบริบทสังคมชุมชน ไม่ดูประวัติความเป็นมาของวัด ความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ วัดและชุมชนก็เกิดอยู่ “ร่ำไป”

ผมเห็นด้วยที่อธิบดีกรมป่าไม้ จะขับเคลื่อนนโยบาย “ฝากป่าไว้กับวัด” โดยกำหนดขอบเขตให้ชัดเชนว่า จะฝากป่าไว้กับวัด แค่ไหน อย่างไร แล้วให้คณะสงฆ์ ชุมชน ร่วมกันดูแล เหมือนกับ ป่าชุมชน ที่ฝากให้ชาวบ้านดูแลและร่วมกันบริหารจัดการเองได้

และเรื่องนี้ไม่ควรทำเฉพาะกรมป่าไม้อย่างเดียว ควรทำให้เป็นระดับกระทรวงไปเลย เพราะในกระทรวงทรัพย์ ยังมีอีกหน่วยงานหนึ่งที่เป็นไม้เบื่อไม้เมากับชุมชนและวัด คือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

ฝากเป็นการบ้านให้ คุณวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม..ไปพิจารณา



คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง ,โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com.
ขอบคุณภาพ : กรมป่าไม้
ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/article/777784
พุธที่ 3 มิถุนายน 2563 ,เวลา 10.00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ