ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์วัดที่...หลวงปู่สรวง วรสุทโธ"ศรัทธาสร้าง"  (อ่าน 5734 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

bomp

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์วัดที่...หลวงปู่สรวง วรสุทโธ"ศรัทธาสร้าง"








วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์วัดที่...หลวงปู่สรวง วรสุทโธ"ศรัทธาสร้าง" : ท่องไปในแดนธรรม โดย เรื่อง / ภาพ ไตรเทพ ไกรงู

            “พระครูสุทธิวราภรณ์” หรือ “หลวงปู่สรวง วรสุทโธ” อายุ ๗๕ ปี พรรษาที่ ๕๐ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลช่องสาริกา นับเป็นเกจิอาจารย์ร่วมสมัยแห่งในยุคนี้ที่ได้รับการยอมรับนับถือในฐานะ “พระดีศรีเมืองละโว้”

             หลวงปู่สรวง เป็นผู้ให้กำเนิดวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์เป็นเวลานานกว่า ๓๐ ปีแล้ว มีข้อวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัด จริยวัตรงดงาม และปฏิปทาน่าเลื่อมใส มีเมตตาธรรมสูง อยู่อย่างเรียบง่าย เป็นผู้มีจิตมุ่งมั่นในพระพุทธศาสนามาแต่สมัยเป็นสามเณร จนกระทั่งอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และมีความกล้าแกร่งทางจิตอันเกิดจากการฝึกฝน โดยออกธุดงค์แต่ครั้งยังเป็นพระหนุ่ม ได้พบเจอและได้รับการอบรมสั่งสอน พร้อมกับถ่ายทอดสรรพวิชาต่างๆจากพระอาจารย์สายกรรมฐานมากมายหลายองค์

             นอกจากนี้แล้วหลวงปู่สรวงยังเป็นพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากรรมฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หนึ่งเดียวในลพบุรี รวมทั้งยังเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคกลาง ได้รับการยกย่องให้เป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้า ที่ตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น

             พ.ศ.๒๔๙๖ มีโครงการอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติถวายในหลวงเนื่องในวโรกาสเสด็จนิวัติกลับประเทศไทย ท่านจึงตัดสินใจบวชครั้งแรก ณ วัดศรีบุรีรัตนาราม อ.เมือง จ.สระบุรี แล้วไปพักที่วัดบ้านทึ่ง อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี มีโอกาสได้ฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่แขม หรือ “อดีตเสือฝ้าย” เสือรุ่นเก่าก่อนเสือมเหศวร รวมทั้งได้ไปกราบสนทนาธรรมและเรียนวิชาจากหลวงปู่ขอม วัดไผ่โรงวัว

             พ.ศ.๒๔๙๗ ได้ลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ หลังจากนั้นได้กลับไปอุปสมบทเป็นพระฝ่ายมหานิกาย เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ ที่วัดบ้านโพนเมืองน้อย โดยมีเจ้าอธิการคำ อิณณมุตโต วัดบ้านชะแง เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วกลับไปจำพรรษากับหลวงปู่แขม ท่านได้สอนสรรพวิชาอาคมต่างๆ ให้จนหมดสิ้นตลอด ๒ พรรษา และยังได้เรียนวิชากับหลวงพ่อแขก วัดหัวเขา, เรียนสักยันต์กับอาจารย์ผาด หรือเสือผาด

             ต่อมาได้ออกธุดงค์ไปหาพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน โดยก่อนเดินทางได้กลับไปเยี่ยมบ้านและพบกับพระอาจารย์คำบุ ธัมมธโร สหธรรมิกของพระอาจารย์จวน ท่านจึงพาไปพบกับพระอาจารย์จวน และได้รับการแนะนำให้ญัติใหม่เป็นฝ่ายธรรมยุต เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๒ ที่วัดประชานิยม อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีพระครูพุฒิวราคม วัดบ้านหนองดินดำ เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการบุญมี จิตปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้อยู่จำพรรษาที่วัดประชานิยมซึ่งมีพระอาจารย์บุญ ชินวังโส เป็นเจ้าอาวาส

             ระหว่างที่ธุดงค์อยู่ตามชายฝั่งแม่น้ำโขงได้ถวายตัวเป็นศิษย์หลวงปู่ตาเดียว พระกรรมฐานในป่า ผู้เรียนวิชาจากสมเด็จลุน และญาท่านกรรมฐานแพง ได้เรียนวิชาตำราโบราณตะกรุดไก่แก้ว-ไก่เถื่อน สาลิกา สีผึ้งพญาหงส์ทองจาก อาจารย์ทา ฆราวาสชาวเขมรที่จังหวัดศรีษะเกษ และอาจารย์เพ็ง จังหวัดอุบลราชธานี ศิษย์ฆราวาสสมเด็จลุน หลังจากเดินธุดงค์มาสร้างวัดที่จังหวัดลพบุรีแล้ว หลวงปู่สรวงยังได้มีโอกาสถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก ได้รับการถ่ายทอดวิชาการสร้างพระยันต์ นะ ครอบจักรวาลกับหลวงปู่ดู่ด้วย

             เมื่อครั้งที่ท่านธุดงค์เดี่ยวมาถึง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี ได้ปักกลดอยู่ใต้ต้นมะเดื่อริมคลองพร้อมอธิษฐานจิตจำพรรษา จากนั้นได้นั่งสมาธิบริกรรมภาวนา ปรากฏในนิมิตมีเทวดา ๓ องค์มานิมนต์ให้ไปโปรดญาติโยม (อดีตชาติ) ที่อยู่ในถ้ำพรหมสวัสดิ์ ท่านจึงกำหนดจิตไปตามเทวดา ได้พบเห็นสภาพภายในถ้ำที่มีหินงอกหินย้อย หลืบห้องสลับซับซ้อนสวยงามวิจิตรและถ้ำห้องโถงใหญ่ที่มีองค์เทพคอยพิทักษ์รักษา เป็นที่สัปปายะ จึงคิดสร้างวัดขึ้น ณ สถานที่แห่งนี้ โดยเริ่มบุกเบิกพื้นที่ ก่อสร้างถาวรวัตถุ ศาสนวัตถุ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องรวมเวลาถึง ๒๖ ปี จนกระทั่งกลายเป็น “วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์” ที่มีกุฏิเสนาสนะ และสถานที่ปฏิบัติธรรมร่มรื่นกลมกลืนกับธรรมชาติ

 

 “เทพเจ้าแห่งขุนเขาสาลิกา”


              "สรวง พรหมสวัสดิ์" เป็นชื่อและสกุลเกิดของหลวงปู่สรวง วรสุทฺโธ เกิดเมื่อวันพุธที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๗๖ ปีระกา ณ บ้านน้อยนาเวิน เลขที่ ๗ หมู่ ๑๐ ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน  จ.อุบลราชธานี (ปัจจุบัน จ.อำนาจเจริญ) บิดา นายประสาร มารดา นางสอน พรหมสวัสดิ์ มีพี่น้องทั้งหมด ๘ คน

             หลวงปู่สรวง เป็นพระที่สมถะ เรียบง่าย สงบ นิ่งบริสุทธิ์ สุขุม แม้จะไม่ใช่พระสายพุทธาอาคมขลัง  เพราะโด่งดังมาตามเส้นทางสายป่าวิปัสสนากรรมฐานศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต แต่ความเชื่อความศรัทธาในบุญบารมี และ “ของดี” ที่ท่านสร้างสรรค์ขึ้น  ล้วนมีกระแสตอบรับที่ดีเหนือคำบรรยาย ท่านได้รับสมญานามว่า เจ้าตำรับ “ไก่ฟ้าพญาเลี้ยง” และ “เทพเจ้าแห่งขุนเขาสาลิกา” ที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร วัตถุมงคลเครื่องรางของขลังทุกรุ่น เป็นที่นิยมแพร่หลาย มากด้วยประสบการณ์เข้มขลังในด้านแคล้วคลาดปลอดภัย เมตตามหานิยม โชคลาภ

             พลังศรัทธาในตัวหลวงปู่สรวงนั้นมีมากมาย ส่งผลให้มีลูกศิษย์ลูกหาหลากหลายสาขาอาชีพ  และมีการจัดสร้างพระเครื่อง-วัตถุมงคลเป็นที่ระลึกในโอกาสต่างๆ เพื่อนำปัจจัยรายได้ใช้ในพัฒนาความเจริญรุ่งเรืองให้วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ดั่งที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน

ขอบคุณเนื้อหาจาก
www.komchadluek.net/detail/20110923/109891/วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์วัดที่...หลวงปู่สรวงวรสุทโธศรัทธาสร้าง.html
บันทึกการเข้า

bomp

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
หลวงปู่สรวง วรสุทโธ พระกัมมัฏฐานลพบุรี
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 07, 2013, 08:27:16 pm »
0
หลวงปู่สรวง วรสุทโธ พระกัมมัฏฐานลพบุรี

โดย ข่าวสด วัน เสาร์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2551 08:35 น.
คอลัมน์ มงคลข่าวสด

หลวงปู่สรวง วรสุทโธ หรือ พระครูสุทธิวราภรณ์ เป็นพระอาจารย์ด้านวิปัสสนากัมมัฏฐาน สายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หนึ่งเดียวในลพบุรี

นอกจากนี้ ยังเชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วภาคกลาง ได้รับการยกย่องให้เป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้า

หลวงปู่สรวง ตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงาม เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็น

ปัจจุบัน อายุ 75 พรรษา 50 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนา นิคม จ.ลพบุรี และที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลช่องสาริกา

อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า สรวง พรหมสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ 2476 ณ บ้านน้อยนาเวิน ต.โพนเมืองน้อย อ.หัวตะพาน จ.อุบลราช ธานี (ปัจจุบันเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ) โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายสาร และนางสอน พรหมสวัสดิ์

ในวัยเยาว์ เรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในหมู่บ้าน แล้วออกมาช่วยครอบครัวประกอบสัมมาชีพเกษตรทำนา

กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ได้เข้าพิธีอุปสมบท เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสเสด็จ นิวัติประเทศไทย ที่พัทธสีมาวัดปากเพรียว จ.สระบุรี

หลังอุปสมบท ย้ายไปจำพรรษาที่วัดเมืองสุพรรณบุรี เนื่องจากขาดแคลนพระภิกษุ โดยจำพรรษา ที่วัดสำเภาร่ม อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี

ระหว่างจำพรรษาที่วัดดังกล่าว ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนสรรพวิทยาคมต่างๆ จาก หลวงปู่แขม หลวงพ่อเนียม วัดน้อย พระอาจารย์ผาด และพระเกจิอาจารย์ชื่อดังอีกมากมายใน จ.สุพรรณ บุรี สมัยนั้น

อย่างไรก็ตาม ด้วยความศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา กอปรกับมีความใฝ่รู้สนใจศึกษาด้านปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน จึงกราบลาครูบาอาจารย์ที่สุพรรณบุรี เพื่อไปศึกษาต่อด้านปฏิบัติกัมมัฏฐาน โดยได้ออกเดินท่องธุดงค์ไปกับพระอาจารย์คำบุ ธัมมธโร พระป่าสายพระอาจารย์มั่น ออกเดินทางไปยัง จ.สกลนคร และไปพำนักจำวัดที่สำนักสงฆ์ถ้ำจันทร์ อ.บึงกาฬ จ.หนองคาย โดยมีพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ เป็นเจ้าสำนักสงฆ์

ต่อมา พระอาจารย์จวน ขอให้ท่านไปสวดญัตติใหม่เป็นพระสายธรรมยุต ในปีพ.ศ.2502 ณ วัดประชานิยม ต.ค้อใต้ อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร โดยมีพระครูพุฒิวราคม วัดบ้านหนองดินดำ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าอธิการบุญ ฐิตปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ได้รับฉายาใหม่ว่า วรสุทโธ แปลว่า ผู้บริสุทธิ์อย่างประเสริฐ

หลังจากสวดญัตติแล้วก็กลับมาจำพรรษากับท่านพระอาจารย์จวน พระอาจารย์จวนได้พาออกเดินธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ และได้นำพาไปถวายตัวเป็นลูกศิษย์ ศึกษาธรรมปฏิบัติในสำนักของครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน อาทิ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล, หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี, หลวงปู่ฝั้น อาจาโร, หลวงปู่ชอบ ฐานสโม หลวงปู่บุญจันทร์ จันทวโร, หลวงปู่คำดี ปภาโส, พระอาจารย์วัน อุตตโม พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร, พระอาจารย์คำบุ ธัมมธโร และอีกหลายท่าน ซึ่งพระวิปัสสนาจารย์ทั้งหลายล้วนแล้วแต่เป็นศิษย์สืบสายธรรมหลวงปู่มั่นด้วยกันทั้งสิ้น

หลังจากเที่ยวธุดงค์ไปทั่วจนกระทั่ง พ.ศ.2524 หลวงปู่สรวงได้กราบลาครูบาอาจารย์ เพื่อเดินทางกลับมายังภาคกลาง ระหว่างทางได้แวะพักฟังข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงพ่อพุธ ฐานิโย วัดป่าสาลวัน อยู่พักใหญ่แล้วจึงออกเดินธุดงค์ต่อ และได้จำพรรษา ณ ริมคลอง ใต้ต้นมะเดื่อ อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี

ในปีนั้น พอถึงช่วงออกพรรษา หลวงปู่สรวงไม่รู้ว่าจะเดินธุดงค์ไปทางไหนต่อ เพราะหลวงปู่ไม่เคยเดินธุดงค์มาแถวนี้ ค่ำวันหนึ่งหลังจากทำวัตรสวดมนต์เสร็จ หลวงปู่ก็นั่งสมาธิภาวนาตามปกติ และก็ได้ตั้งสัจจะ อธิษฐานว่า ถ้าเราเคยมาอยู่แถวนี้ ได้เคยสร้างวัดวาอาราม ในแถวนี้ก็ขอให้เทพเทวา เจ้าที่เจ้าทาง รุกขเทวดาทั้งหลายจงมานิมนต์ ด้วยเทอญ

เมื่อจิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิดีแล้ว ก็เกิดภาพนิมิต

ครั้นพอถอนจิตออกจากสมาธิก็เป็นเวลาเกือบตีสี่ หลวงปู่สรวงทำวัตรสวดมนต์ พอฉันข้าวเสร็จได้อำลาญาติโยมออกเดินทางมาตามนิมิตที่ได้เห็น และก็ถึงภูเขาลูกดังกล่าว เมื่อได้เห็นต้นโพธิ์ที่หน้าถ้ำยิ่งทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ต้องใช่สถานที่ที่เห็นในนิมิตแน่นอน


ต่อมา หลวงปู่สรวง จึงได้เริ่มสร้างวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2525 จนกระทั่งแล้วเสร็จ

ลำดับสมณศักดิ์ ล่าสุด พ.ศ.2550 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์พัดยศ จากพระครูชั้นเอก เป็นพระครูที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลชั้นพิเศษ ในราชทินนามที่ พระครูสุทธิวราภรณ์

ด้วยท่านได้ให้ความสนใจศึกษาด้านวิทยาคม ค้นคว้าด้านปฏิบัติจิตตภาวนา เพื่อให้จิตบังเกิดสมาธิและได้กราบฝากตัวเป็นศิษย์พระเกจิอาจารย์ชื่อดังมากมาย

ปัจจุบัน ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคล รุ่นไตรมงคล อันเกิดจากการที่คณะศิษยานุศิษย์ได้ขออนุญาตสร้างรูปเหมือนหลวงปู่สรวง เพื่อเป็นองค์แทนหลวงปู่สำหรับเคารพสักการะในบ้านเรือน เนื่องในโอกาสรับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เมื่อปี 2550

วัตถุมงคล รุ่นไตรมงคล มีด้วยกันทั้งหมด 6 พิมพ์ คือ พระรูปเหมือนขนาดบูชา หน้าตัก 5 นิ้ว, พระสมเด็จจักรพรรดิ รุ่นคู่ใจ, พระยอดขุนแผน รุ่นสืบทอดศาสนา บรรจุในพระอุโบสถ, ล็อกเกต รุ่นรวย ล้น เหลือ, เหรียญเจ้าสัวมหาลาภ รุ่นเสวยสุขตลอดกาล และพญาราชสีห์ รุ่นปราบอันธพาลบ้านเมือง 76 คู่

แม้ปัจจุบัน จะอายุ 75 ปีแล้ว แต่สุขภาพร่างกายยังคล่องแคล่ว แข็งแรง เพียบพร้อมไปด้วยข้อวัตรปฏิบัติที่สมถะ เรียบง่าย น่าเลื่อมใสยิ่ง

เกียรติคุณ บารมี รวมทั้งพุทธาคมอันศักดิ์สิทธิ์ พลังจิตของท่าน ทำให้ท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นพระวิปัสสนาธุระ ที่มีบารมีทางกระแสจิตแก่กล้า ระดับแนวหน้าของลพบุรีรูปหนึ่ง

http://news.sanook.com/crime/crime_310563.php
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 07, 2013, 08:37:50 pm โดย bomp »
บันทึกการเข้า

bomp

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 72
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0




พระครูสุทธิวราภรณ์ (หลวงปู่สรวง วรสุทโธ) เจ้าอาวาสวัดถ้ำพรหมสวัสดิ์ ต.ช่องสาริกา อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี หรือ หลวงปู่สรวง วรสุทฺโธ นามเดิม สรวง นามสกุล พรหมสวัสดิ์ เกิดเมื่อวันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา ณ บ้านเลขที่ 1 หมู่ 10 บ้านน้อยนาเวิน ตำบลโพนเมืองน้อย อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ)

ตัดสินใจอุปสมบทตามเพื่อนครั้งที่ 1 ณวัดศรีบุรีรัตนาราม ตำบลปากเพียว อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี เมื่อ พ.ศ. 2496 อายุ 20 ปีบริบูรณ์ เพื่อถวายเป็นพระราชชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสเสด็จนิวัติกลับประเทศไทยหลังจากเรียนจบจากประเทศอังกฤษ แล้วได้แยกกันไปจำพรรษา ณ วัดบ้านพึ่ง อำเภอ เดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี มีโอกาสได้ถวายตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่แขม หลวงปู่แขมได้สอนวิชาอาคมต่างๆ อยุ่จวบจนตลอดพรรษา พ.ศ.2497 ปลายปีออกพรรษาเสร็จก็ได้ลาสิกขาและได้ไปทำงานต่อที่กรุงเทพฯ

หลังจากลาสิกขาแล้วก็ไดไปทำงานต่อที่กรุงเทพฯ ใช้ชีวิตในวัยหนุ่มอย่างสนุกสนานไม่ได้สนใจอะไรเที่ยวเล่นไปวันๆ ด้วยความที่เคยบวช และมีอุปนิสัยในการบวช อยู่มาวันหนึ่งก็เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตฆราวาส เบื่อหน่ายในหน้าที่การงาน ชีวิตเรานอกจากจะกินเที่ยวแล้วก็หาสาระแก่นสาระอะไรไม่ได้เลย ไม่มีคุณค่าและความหมายสมกับได้เกิดมา มีแต่ชักนำไปในทางที่ผิดมีแต่คิดไปในสิ่งที่ตกต่ำ ต่อไปนี้สิ่งใด ที่มันอยากทำเราก็จะไม่ทำ สิ่งไหนที่มันต้องการมากๆ เราก็จะไม่หามาให้มันลองดูสิทำไม่มันหลงมัวเมาอยู่อย่างนี้พอหนักๆ เข้ามันหลายปีก็มาหวนคิดอยากบวชให้โยมพ่อโยมแม่

พ.ศ. 2500 ได้เข้าพิธีอุปสมบทโดยมีเจ้าอธิการคำ อิณณมุตโต วัดบางชะแงะ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนเข้าพรรษาได้ลาญาติโยมไปจำพรรษากับหลวงปู่แขม ที่วัดสำเภาร่ม อำเภอเดิมบางยางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี เพราะยังมีความสนใจในสรรพเวทย์วิทยาคมต่างๆ ตามประสาความนิบมของคนในสมัยนั้น ได้จำพรรษากับหลวงปู่แขม 2 พรรษาแล้วได้ตัดสินใจกราบลาหลวงปู่แขมเพออกเดินธุดงคืไปหาพระอาจารย์ฝ่ายกรรมฐาน และตั้งใจจะไปหาพระเอาจารย์จวนซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น และหลวงปู่คำบุ ธมมธโร ซึ่งท่านเป็นสหธรรมิกกับพระอาจารย์จวนซึ่งเป็นศิษย์หลวงปู่มั่น ซึ่งท่านมึความชำนาญในเรื่องการฝึกกรรมฐาน และจาริกธุดงค์ หลวงปู่สรวงท่านได้มาพักปฏิบัติธรรมกับหลวงปู่คำบุอยู่ป่าช้าใกล้บ้านเหล่าขวาวเป็นป่าดงใหญ่ซึ่งอยู่ติดกับเขตบ้านโคกเลาะและบ้านเหล่าขวาว ก่อนเข้าพรรษาในปีนั้นได้อำลาญาติโยมออกธุดงค์ไปพร้อมกับพระอาจารย์คำบุ เพื่อไปหาพระอาจารย์จวน ณ ถ้ำจันทร์ อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย

พ.ศ.2502 อายุ 24 ปี พรรษา 1 ได้ญัตติใหม่เป็นธรรมยุค ณ วัดประชานิยม ตำบลค้อใต้ อำเภอสว่างดินแดน จังหวัดสกลนครเพื่อศึกษาในด้านกรรมฐานแล้วได้ออกธุดงค์ไปหาหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกองเพล

พ.ศ.2503-พ.ศ.2507 อายุ 27-31 ปี พรรษ 2-6 จำพรรษาที่วัดโพนเมืองน้อยและวัดป่าบ้านเหล่าขวาว ตำบลโพนเมืองน้อย จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันจังหวัดอำนาจเจริญ) กลับมาจำพรรษาอยู่ที่บ้านเพื่ออยู่อุปการะโยมแม่ซึ่งแก่ชรา แล้วนำญาติโยมชาวบ้านก่อสร้างศาลาการเปรียญ และเสนาสนะต่างๆ อีกเป็นจำนวนมากเช่น ศาลาบ้านโพนเมืองน้อย ศาลาบ้านเหล่าขวาว และศาลาบ้านโคกเลาะ เป็นต้น ในระหว่างออกพรรษาของแต่ละปีหลวงปู่จะออกธุดงค์ไปหาครูบาอาจารย์และได้ร่วมเดินไปด้วยกัน 4 องค์คือ พระอาจารย์จวน พระอาจารย์วัน พระอาจารย์คำบุ พระอาจารย์สิงห์ทอง และบางครั้งก็เดินธุดงค์ไปพร้อมกับ พระอาจารย์วัน อุตตโม เพียงสององค์


www.amuletat7.com/เกจิสายภาคกลาง/ประวัติ-หลวงปู่สรวง-วัดถ้ำพรหมสวัสดิ์.html
บันทึกการเข้า