ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: กล่าวกันว่า รูปหล่อของหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน หน้าโบสถ์วัดพลับ ไม่เหมือนองค์จริง  (อ่าน 8760 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
องค์นี้อยู่หน้าโบสถ์วัดราชสิทธาราม(พลับ)


กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงขอพระบรมราชานุญาต รัชกาลที่ ๒
ปั้นพระรูปเหมือน สมเด็จพระญาณสังวร

ครั้งนั้นมีช่างปั้น ช่างแกะ เป็นฝรังชาวยุโรป นำรูปปฏิมากรรม รูปเหมือนคนจริงมาถวาย กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ พระองค์ท่านทรงทอดพระเนตรรูปปั้นนั้นแล้ว ทรงพอพระทัยมาก จึงทรงสอบถามช่าง ฝรังชาวยุโรปไปว่า
    ท่านสามารถที่จะปั้นรูปพระสงฆ์ให้เหมือนรูปคนจริงอย่างนี้ได้ไหม.?
    ช่างปั้น แกะสลัก ชาวยุโรป ก็ถวายพระพรว่า การที่ข้าพระองค์ จะทำการปั้นนั้น ต้องมีแบบ ถ้าปั้นรูปเหมือนมนุษย์ ต้องให้ผู้นั้นมานั่งเป็นแบบ

ครั้งกรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ทรงตั้งพระทัยว่า จะทรงให้ช่างปั้นพระรูปเหมือนสมเด็จพระญาณสังวร(สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งต่อไปภายหน้า สมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน)สิ้นพระชนม์ลงแล้ว จะไม่ได้พบเห็นพระองค์อีก



องค์นี้อยู่คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม(พลับ)


ต่อมากรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ จึงไปขอพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ ว่าจะขอบรมราชานุญาต ปั้นพระรูปเหมือน สมเด็จพระญาณสังวร (สุก ไก่เถื่อน) ครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๒ ไม่ทรงอนุญาตให้ทำการปั้นพระรูป ทรงตรัสว่า
      "ไม่มีอย่างที่จะปั้นรูปคนที่ยังมีชีวิตอยู่ เหมือนเป็นการแช่งพระอาจารย์"
      ซึ่งการปั้นรูปเหมือนคนที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น คนไทยโบราณถือมากว่าเป็นการแช่งบุพพการี สมัยนั้นจะปั้นรูปเหมือนครูบาอาจารย์ได้ ท่านต้องสิ้นพระชนมายุก่อนจึงจะปั้นได้ ครั้งนั้นการที่จะปั้นพระรูปเหมือน สมเด็จพระญาณสังวร ก็ระงับไป

กาลต่อมาเมื่อสมเด็จพระญาณสังวรสิ้นพระชนม์แล้ว กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์จึงทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ช่างปั้น ช่างแกะชาวยุโรปมาปั้นพระรูปเหมือน สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร แต่ช่างปั้นถวายพระพรว่า พระสงฆ์ที่จะเป็นแบบไม่มีแล้ว เห็นจะปั้นให้ไม่ได้



องค์นี้หน้าตัก ๙ นิ้ว กับ ๗ นิ้ว รุ่น ๑๖๙ ปี วัดราชสิทธาราม(พลับ)เป็นเจ้าภาพหล่อ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๔
กล่าวกันว่า รุ่นนี้หลวงปู่โต๊ะมีส่วนร่วมในการปลุกเสก ทั้งสององค์เป็นของ คุณ Roj khonkaen


ครั้งนั้นจึงให้ช่างฝีมือไทยปั้นไว้ แต่ไม่เหมือนพระรูปคนจริงเท่าไร เพราะช่างไทยสมัยนั้นไม่มีฝีมือในการปั้นรูปเหมือนมนุษย์ ต่อมาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เอาพระรูปเหมือน สมเด็จพระญาณสังวรที่ช่างไทยปั้นไว้นั้นไปประดิษฐานไว้ที่กุฎิวิปัสสนา หน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม จนถึงทุกวันนี้


ที่มา : พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) หน้าที่ ๓๓๗
http://www.somdechsuk.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 15, 2016, 09:38:52 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
องค์นี้อยู่ภายในอุโบสถวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพฯ

การหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก ไก่เถื่อน)

ระหว่างบำเพ็ญพระราชกุศล พระศพสมเด็จพระสังฆราช ๑๐๐ วัน ทางราชสำนัก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ทรงมอบหมายภารกิจให้กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงเป็นแม่งานฝ่ายฆราวาส ทางคณะสงฆ์มี สมเด็จพระพนรัต(ด่อน) วัดสระเกศ ซึ่งเป็นศิษย์สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ องค์ประธานฝ่ายสงฆ์มอบให้ พระญาณวิสุทธ์เถร(ชิต) หรือท่านเจ้าคุณหอไตร รักษาการเจ้าอาวาสวัดพลับ เป็นแม่งานฝ่ายสงฆ์ ปรึกษาหารือทำการหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน

เดือน ๑๒ ต้นเดือน เริ่มทำการปั้นหุ่นพระรูป สมเด็จพระสังฆราช(สุก ไก่เถื่อน) ณ บริเวณหลังพระอุโบสถ วัดพลับ ทางราชสำนักมีช่างหลวงสองท่าน คือ หลวงบรรจงรจนามัย มีนามเดิมว่า สา อีกท่านหนึ่งไม่ปรากฏนาม
    ช่างของทางคณะสงฆ์หรือทางวัด คือ ปะขาวสกตามี มีบ้านอยู่ข้างวัดแจ้งมาถือศีล บำเพ็ญภาวนาพระกัมมัฏฐานอยู่กับสมเด็จฯ ที่วัดพลับ
    ช่างอีกท่านคือ ท่านขรัวตาดำ ช่างที่เคยแกะแบบพระพิมพ์ พระอรหังถวายสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน
    การปั้นหุ่นสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อนครั้งนั้น ใช้เวลาประมาณเกือบเดือนจึงแล้วเสร็จ



องค์นี้อยู่ที่ วัดหนองบัวหิ่ง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี หล่อเมื่อเดือนธันวาคม 2546(ข้อมูลจากคุณ sumboon)


ถึง ณ. วันพฤหัสบดี ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปลายเดือน ๑๒ พระพุทธศักราช ๒๓๖๕ เพลาเช้า เก้าบาท ทำพิธีเททองหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อนมี กรมหมื่นเจษฏาบดินทร์ ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายราชสำนัก พร้อมด้วยขุนนางผู้น้อย ผู้ใหญ่ ทางคณะสงฆ์มีสมเด็จพระพนรัต(ด่อน)เป็นองค์ประธาน พร้อมด้วยพระมหาสังฆเถร ผู้ใหญ่ผู้น้อย รวมพระมหาโตด้วย

ขณะทำเททองหล่อพระรูป พระพิรุณได้โปรยปรายตลอด มีฟ้าผ่าลงเป็นช่วงๆ หล่อพระรูปเรียบร้อยแล้ว อัญเชิญไปประดิษฐานที่ข้างพระประธานในพระอุโบสถ ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างกุฏิวิปัสสนารายล้อมรอบพระอุโบสถ จึงทรงกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำพระรูปสมเด็จพระสังฆราช ไปประดิษฐานไว้ที่กุฏิวิปัสสนา บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถ



องค์นี้อยู่ วัดแก่งขนุน อ.เมือง จ.สระบุรี

องค์นี้อยู่ภายในโบสถ์ วัดกำแพง อ.เมือง จ.นนทบุรี


ที่มา : พระประวัติ สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) หน้าที่ ๓๗๘-๓๗๙
http://www.somdechsuk.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 14, 2021, 12:34:28 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
วัดมหาธาตุ
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙

.......ตำแหน่งพระสังฆราชนั้น ทรงพระราชดำริว่า สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) วัดราชสิทธาราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะผู้ใหญ่และได้เป็นพระอาจารย์ เป็นที่เคารพในพระราชวงศ์ จึงโปรดให้แห่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) มาสถิต ณ วัดมหาธาตุ เมื่อ ณ วันพฤหัสบดีเดือน ๑๒ ขึ้น ๔ ค่ำ ครั้งถึง ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑ ขึ้น ๒ ค่ำ ปีมะโรง โทศก จุลศักราช ๑๑๘๒ พ.ศ. ๒๓๖๓ จึงทรงตั้งสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช (๒๓)

มีสำเนาประกาศที่ทรงตั้ง ดังนี้



    “ศริศยุภอดีตกาล พระพุทธสักราช ชไมยสหัสสสังวัจฉรไตรสตาธฤกไตรสัตฐีสัตมาศ ปัตยุบันกาล นาคสังวัจฉรมฤคศฤระมาศ ศุกขปักขคุรุวาระนวมีดิถี ปริจเฉทกาลอุกฤษฐ สมเด็จบรมธรรมมฤกะมหาราชารามาธิราชเจ้า ผู้ทรงทศพิธราชธรรม์ อนันตคุณวิบุลยปรีชาอันมหาประเสริฐ มีพระราชโองการมารพระบัณฑูรสุรสิงหนาทดำรัสสั่งพระราชูทิศถาปนา ให้สมเด็จพระญาณสังวรเปน
     สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวรา สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก
     ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร
     วรทักษิณาสฤทธิสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี

    เป็นประธานถานาทุกคณาธิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตในพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหารพระอารามหลวง (๒๔)



อ้างอิง
(๒๓) - พระราชพงศาวดารฯ รัชกาลที่ ๑-๒ อ้างแล้ว. หน้า ๕๙๘-๕๙๙
(๒๔) - เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ อ้างแล้ว. หน้า ๘๔
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก  http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm


ข้อความบางส่วนที่ฐานรูปหล่อนี้ น่าจะเป็นข้อความนี้ครับ
 "สมเด็จพระอริยวงษญาณปริยัติวรา สังฆราชาธิบดีศรีสมณุตมาปรินายก
     ติปิฎกธราจารย์ สฤทธิขัติยสารสุนทร มหาคณฤศร
     วรทักษิณาสฤทธิสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี "
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด

สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
วัดมหาธาตุ
นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๓๙

.....สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชอยู่ ๑ ปีกับ ๑๐ เดือน ก็สิ้นพระชนม์ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ ปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕ มีพระชนม์มายุได้ ๘๙ โดยปี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระราชทานพระโกศทองใหญ่ให้ทรงพระศพ เมื่อตั้งที่พระเมรุท้องสนามหลวง

     พระโกศองค์นี้ นอกจากสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับพระบรมวงศานุวงศ์ที่พระเกียรติยศสูงบางพระองค์ มีปรากฏว่าได้ทรงแต่พระศพสมเด็จพระสังฆราชพระองค์นี้พระองค์เดียว (๒๗) นับเป็นการถวายพระเกียรติอย่างสูงด้วยเหตุที่ทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือ อย่างยิ่งนั้นเอง ส่วนการพระเมรุนั้นโปรดให้ทำเมรุผ้าขาวที่ท้องสนามหลวง พระราชทานเพลิงพระศพเมื่อเดือน ๑๒ พ.ศ. ๒๓๖๕ นั้น (๒๘)

    ครั้นพระราชทานเพลิงพระศพแล้ว ได้โปรดให้ปั้นพระรูปบรรจุพระอัฐิ ประดิษฐานไว้ในกุฏิกรรมฐานหลังหนึ่ง บริเวณด้านหน้าพระอุโบสถวัดราชสิทธาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาตลอดจนสานุศิษย์และผู้เคารพนับถือ สืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้.

    ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้ช่างหล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ขนาดย่อมขึ้นอีก ประดิษฐานไว้ในหอพระนาก พร้อมกันกับรูปสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) วัดโมลีโลกยาราม ซึ่งเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ของพระองค์

    ในปีมะโรง พ.ศ. ๒๓๘๗ ได้โปรดให้หล่อพระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) อีกองค์หนึ่งขนาดเท่าพระองค์จริง, พระราชดำริเดิม เข้าใจว่าคงจะทรงสร้างขึ้นสำหรับประดิษฐานไว้ ณ วัดมหาธาตุ อันเป็นที่สถิตของพระองค์เมื่อทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช, แต่ยังไม่ทันได้เชิญไปประดิษฐาน เพราะการบูรณะปฏิสังขรณ์ วัดมหาธาตุยังไม่แล้วเสร็จบริบูรณ์ พระองค์ก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน, พระรูปสมเด็จพระสังฆราช (สุก) องค์ดังกล่าวนี้ จึงค้างอยู่ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

    ต่อมาในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้แห่ไปประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ (๒๙) ปรากฏตามหมายรับสั่งในรัชกาลที่ ๔ ว่า โปรดให้เชิญไปเมื่อวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด จัตวาศก จ.ศ. ๑๒๑๔ พ.ศ. ๒๓๙๕ (๓๐)
   และโปรดให้สร้างแท่นจำหลักมีลวดลายเป็นรูปไก่เถื่อนเป็นที่รองรับพระรูปเพิ่มเติมขึ้น และยังคงสถิตอยู่ในพระวิหารวัดมหาธาตุมาจนบัดนี้.(๓๑)



อ้างอิง
(๒๗) เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ฯ อ้างแล้ว หน้า ๘๔
(๒๘) พระราชพงศาวดารฯ รัชกาลที่ ๑-๒ อ้างแล้ว หน้า ๖๙๐
(๒๙) ตามที่กล่าวไว้ในหนังสือ เรื่องประวัติวัดราชสิทธาราม (ฉบับกรมศิลปากร) อ้างแล้ว หน้า ๕๒ ว่า “ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้แห่ไปประดิษฐาน ณ วัดมหาธาตุ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๕ ” นั้น ผิดพลาด เพราะ พ.ศ. นั้นยังเป็นรัชกาลที่ ๔ อยู่ ทั้งมีหมายรับสั่งในรัชกาลที่ ๔ ยืนยันอยู่ด้วย ดังอ้างไว้แล้วในที่นี้.
(๓๐) ประวัติวัดราชสิทธาราม อ้างแล้ว. หน้า ๑๔๑
(๓๑) เรื่องเดียวกัน หน้า ๕๑-๕๒
ที่มา http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm
ขอบคุณภาพจาก http://province.m-culture.go.th/


    จากประวัติสมเด็จสุกข้างต้น จะเห็นว่า ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ระหว่างรัชกาลที่ ๒ ถึง รัชกาลที่ ๔ ได้มีการหล่อรูปสมเด็จสุก ทั้งหมด ๓ องค์ กระจายไปอยู่สามวัด คือ
                         ๑. วัดราชสิทธาราม
                         ๒. วัดมหาธาตุฯ
                         ๓. วัดพระแก้ว อยู่ที่หอพระนาก



หอพระนาก
หอพระนาก มีความสำคัญคือ เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปหล่อและแผลงด้วยนาก ซึ่งอัญเชิญมาจากพระนครศรีอยุธยา และถือพระนากเป็นพระประธานในการ “เปตพลี” (การอุทิศกุศลแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว) และใช้เป็นที่เก็บพระอัฐิของพระราชวงศ์


พระวิหารยอด
พระวิหารยอด ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระนาก ซึ่งคงจะย้ายมาจากหอพระนากอีกที  แต่จะเป็นด้วยเหตุใดก็ไม่มีหลักฐานบอกไว้


แผนผังวัดพระแก้ว
                         
                          ๑. พระอุโบสถ
                          ๒. ศาลาราย ๑๒ หลัง
                          ๓. หอพระคันธารราษฎร์
                          ๔. หอระฆัง
                          ๕. หอราชพงศานุสร
                          ๖. หอพระโพธิธาตุพิมาน
                          ๗. หอราชกรมานุสร
                          ๘. รูปฤษีนั่ง
                          ๙ .ปราสาทพระเทพบิดร
                          ๑๐. พระเจดีย์ ๒ องค์
                          ๑๑. พระมณฑป
                          ๑๒. พระศรีรัตนเจดีย์
                          ๑๓. รูปจำลองปราสาทนครวัด
                          ๑๔. พระราชานุเสาวรีย์ที่ ๑,๒,๓
                          ๑๕. พระราชานุเสาวรียที่ ๔
                          ๑๖. พระราชานุเสาวรีย์ที่ ๕
                          ๑๗. พระราชานุเสาวรีย์ที่ ๖,๗,๘,๙
                          ๑๘. หอพระมณเฑียรธรรม
                          ๑๙. วิหารยอด
                          ๒๐. หอพระนาก
                          ๒๑. พระปรางค์ ๘ องค์
                          ๒๒. พระระเบียง



    รูปหล่อสมเด็จสุกที่วัดพระแก้ว ผมไม่เคยเห็น เท่าที่ค้นข้อมูลได้ อาจจะถูกย้ายมาที่วิหารยอด เรื่องนี้ผมเดาเอาเองนะครับ อย่าซีเรียส ใครมีข้อมูลอย่างไร ช่วยแถลงด้วยครับ





องค์นี้อยู่ที่วัดราชสิทธาราม


องค์นี้อยู่ที่วัดมหาธาตุฯ


องค์นี้อยู่วัดหนองบัวหิ่ง อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี


องค์นี้อยู่วัดแก่งขนุน สระบุรี
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

feel-sad

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด


        สาธุครับ

                 ว่ากันว่า  ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ท่าน มีชื่อเสียง

      โด่งดัง เป็นที่ยอมรับ ในยุคนั้นมากเลยครับ

           เพราะท่านเป็นพระปรามาจารย์ใหญ่  และเป็นพระอาจารย์พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา